Home > IT Laws > ชมรมนักข่าวไอทีพีซี-สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดเสวนา “พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ปรับร่างเพื่อประชาชน?”

ชมรมนักข่าวไอทีพีซี-สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดเสวนา “พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ปรับร่างเพื่อประชาชน?”

แนะรัฐให้ข้อมูลที่ถูกต้องหวั่นผู้ใช้กระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ เล็งดันข้อเสนอแนะให้กระทรวงไอซีทีคล้อยตาม

(28 มิ.ย.) ที่ อัมรินทร์ พลาซ่า ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดเสวนา “พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ปรับร่างเพื่อประชาชน” นายนิรันดร์ เยาวภาว์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าวว่า การยกร่าง พ.ร.บ.การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ…..ฉบับใหม่นี้ได้ผ่านการประชาพิจารณ์ไปแล้ว 2 รอบแต่อาจตกในเรื่องของการเผยแพร่ข่าวสาร เพื่อให้ความรู้กับผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต รวมถึงผู้ให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้ง ให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยหลังจากเสร็จสิ้นงานสัมมนาครั้งนี้ จะรวบรวมข้อมูลและข้อคิดเห็นเสนอต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)

นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชียวชาญด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายอาญาถือเป็นสิ่งสำคัญ และการแก้ไขร่างกฎหมายจึงเป็นสิ่งสำคัญ พ.ร.บ.ฉบับเก่าในการกระทำความผิดสามารถหลีกเลี่ยงได้ ผู้เชี่ยวชาญมองไม่เหมือนกัน เช่น กฎหมายบางมาตราที่ยอมความไม่ได้ แต่ มาตรา 16 มาตราเดียวที่ยอมความได้ อย่างกรณีเจ้าของเครื่องโทรศัพท์ไม่ล็อคหน้าจอมือถือ แล้วมีเพื่อนหรือคนรู้จักมาใช้โทรศัพท์ ตามกฎหมายถือว่าผิด แต่กรณีนี้เจ้าของยินยอมหรือไม่ถือเป็นเรื่องที่ลำบากมาก ถ้าไม่ล็อคหน้าจอตามกฎหมายเก่าถือว่าผู้เข้าดูข้อมูลไม่มีความผิด แต่ร่างฉบับใหม่ตัดมาตราการเข้าถึงความปลอดภัย จึงผิดกฎหมาย เป็นต้น

ส่วนปัญหาการทำสำนวน และถ้าในปกติเป็นคนธรรมดานำข้อมูลทำซ้ำและไปเผยแพร่ให้ผู้อื่น และทุกครั้งธรรมชาติอินเทอร์เน็ตเมื่อส่งข้อมูลจะมีการทำซ้ำถือว่าผิดกฎหมายทันที ดังนั้นหลักเกณฑ์ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารถูกตัดลอนในสิ่งนี้ไป อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการได้ข้อมูลส่วนหนึ่งมาจากต่างประเทศ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อตื่นเช้ามาแล้วจะไม่เข้าอินเทอร์เน็ต ดังนั้น โดยรวมการแก้ไข พ.ร.บ.ถือเป็นความจำเป็นและการแก้ไขต้องตรงปัญหาและต้องเหมาะกับยุค 2013 ด้วย

นายอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ นายกสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.ยังอีกยาวไกล ที่ผ่านมาการปฏิบัติด้านกฎหมายจะยาก แท้จริงแล้วทุกคนที่ถูกบังคับใช้กฎหมายขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ มีการปิดกั้นข่าวสารหรือไม่ และที่ผ่านมามีความลำบากไหม ถ้าต้องปฏิบัติตามคำสั่ง ทั่วโลกเค้าก็ปิดหมด ไม่สนใจ สมัยโบราญเวียดนามอีเมล์ทุกฉบับถูกปิดหมด ดังนั้นจะเห็นว่าปัญหาดังกล่าวเกิดทั่วโลก

ทั้งนี้ จึงอยากให้มองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นรับได้หรือไม่เปล่า แต่แท้จริงก็ต้องยอมรับ จะเห็นได้จากปัญหาการบล็อกเว็บไซต์ที่หน่วยงานหนึ่งบอกให้บล็อก และอีกหน่วยงานบอกไม่ให้บล็อกเพราะจะจับผู้ทำผิด ดังนั้นกฎหมายจึงไม่ตรงเสมอไป ควรยืดหยุ่นกันได้ การทำงานต้องร่วมกันต้องอยู่กันได้ และหากกฎหมายฉบับใหม่ออกก็ตอบไม่ได้แต่ก็คงต้องชัดเจนขึ้นและก็ต้องอยู่ร่วมกันได้

พันตำรวจเอก ศิริพงษ์ ติมุลา รองผู้บังคับการกองปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กล่าวว่า ปัจจุบันมีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์จำนวนมาก ทั้งผู้เสียหาย ผู้ต้องสงสัย อย่างกรณีง่ายๆ การปลอมเฟสบุ๊คหมิ่นประมาท หลอกลวงซื้อของบนอินเทอร์เน็ต การพนันออนไลน์ ล่อลวง เป็นต้น โดยต่างประเทศก็เกิดปัญหาเช่นกันเนื่องจากความเร็วของเทคโนโลยี คนเข้าถึงง่าย มีคนร้ายเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในฐานะเป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย ต้องรักษาและคุ้มครองเหยื่อ คุ้มครองสืบสวนสอบสวน นำตัวคนทำผิดมาดำเนินการ และป้องกันสื่อกับประชาชนว่าการปราบปรามไม่ใช่เป็นวิธีการสุดท้ายจริงๆ แล้วเป็นการป้องกันของตนเองมากกว่า เพราะปัญหามีมาก ปัญหาคือการรับรู้และการเข้าใจ มี 2 ประเด็น คือข้อเท็จจริงทางคอมพิวเตอร์ เรารู้และเข้าใจไม่เหมือนกัน และ บริบททางคอมพิวเตอร์ ตัวอย่าง ปัญหาการเข้าใจในทั้ง 2 กรณีไม่ใช่จะต้องเข้าใจแค่ตำรวจ ทั้งนี้ ต้องถามว่าเราเข้าใจในข้อเท็จจริงและข้อบริบทจริงหรือไม่ ซึ่งบางคนไม่ทราบว่าการใส่ร้ายกันบนเฟสบุ๊กนั้นมีความผิดทาง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

นายสุรชัย นิลแสง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญพิเศษ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า จริงๆ แล้ว พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พูดถึงคอมพิวเตอร์แต่ปัญหามาจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต กลายเป็นทั้งโลกเข้าสู่ปัญหาการละเมิดสิทธิบนอินเทอร์เน็ต พอกฎหมายฉบับแรกปี 2550 ออก ได้ยกร่างมาจากต่างประเทศ พบผู้เสียหายเดือดร้อนทั้งเรื่องโดนว่า ขู่ นำภาพไปโพสต์ โดยผู้เกี่ยวข้องมี 3 ส่วน คือ ผู้เสียหาย ผู้ละเมิด และพยานหลักฐาน โดยผู้ให้บริการถือเป็นตัวกลางที่จะหาพยานหลักฐานเพราะเป็นเส้นทางการเชื่อมต่อ หลายๆ เวที ผู้เสียหายไม่มีสิทธิมาเรียกร้องเพราะอาย จึงไม่ทราบมุมมองผู้เสียหาย
“การแก้ปัญหาพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่จะเป็นการแก้ปัญหาให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น แต่ทุกวันนี้เทคโนโลยีมาเร็ว ทุกคนกลายเป็นยูสเซอร์เอง กฎหมายยังต้วมเตี้ยมไม่ทันเทคโนโลยี ปัจจุบันแค่พัฒนากฎหมายไม่ให้ละเมิดสิทธิยังยากเลย ทุกคนอยากให้คนผิดโดนทำโทษแต่ทุกคนก็ไม่อยากเป็นผู้ทำผิด ไม่อยากให้ล่วงละเมิด ดังนั้นจึงต้องเข้าใจให้มากขึ้น ทั้งนี้ ในช่วงนี้การแสดงความคิดเห็นถือว่าสำคัญมาก ควรเสนอก่อนข้อกฎหมายตัวจริงออกมาใช้จริง” นายสุชัย กล่าว

ขณะที่ นายณัฐวรรธน์ สุขวงศ์ตระกูล ผู้เชียวชาญสำนักกฎหมาย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ถือเป็นหน่วยงานสำคัญในการนำเสนอการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ กล่าวว่า คาดว่าจะรวมรวมข้อเสนอแนะส่งให้กระทรวงไอซีทีไม่เกินเดือน ก.ค.นี้ โดยหลังจากนี้ กระทรวงไอซีที จะเป็นผู้คัดกรองข้อเสนอแนะ ซึ่งอาจจะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นอีกครั้งหรือไม่ก็ต้องขึ้นอยู่กับกระทรวงไอซีที

สำหรับประเด็นหลักๆ ของข้อเสนอแนะที่ผ่านมา อาทิ ขอบเขตกฎหมายว่าจะอยู่แค่ไหน และครอบคลุมตรงจุดไหนบ้าง ควรจะครอบคลุมมากกว่านี้ และในส่วนของผู้ใช้บริการจะเข้าใจมากน้อยในระดับไหน ในขณะที่อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานควรมีอำนาจในระดับใด อีกทั้งบางหน่วยงานไม่เห็นด้วยกับการละเมิดสิทธิ แต่บางหน่วยงานก็เห็นด้วย เป็นต้น.

View :1468

Related Posts

  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.