Home > Software > เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค)ผนึกเครือข่ายพันธมิตร จัด Software Park Annual Conference 2013

เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค)ผนึกเครือข่ายพันธมิตร จัด Software Park Annual Conference 2013

ภายใต้แนว คิด Gateway to Global Market : ประตูสู่ตลาดโลก” พบกับผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร วิทยากรด้านไอทีและวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เปิดมุมมองหลากหลายมิติ ทั้งเรื่องธุรกิจ เทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากร ร่วมเรียนรู้เรื่องราวความสำเร็จจากผู้มีประสบการณ์จริงในการดำเนินธุรกิจไอ ที ภายใต้แนวคิด “ธุรกิจล้ำ ทำได้ ขายดี ตีตลาดโลก” เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันบุคลากรไอทีและผู้ประกอบการซอฟแวร์ไทย ในเชิงเทคนิคในการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอม รับในระดับสากล รวมถึงสร้างโอกาสทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ

นายเฉลิมพล ตู้จินดา ผู้อำนวยการ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือซอฟต์แวร์พาร์ค เปิดเผยว่า งาน ในปีนี้จะอยู่ภายใต้แนวคิดหลัก “Gateway to Global Market” หรือ “ประตูสู่ตลาดโลก” โดยซอฟต์แวร์พาร์คจะยึดหลักการเปิดมุมมองธุรกิจใน หลากหลายมิติ โดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่มีความพร้อมและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อร่วมกันพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ บุคลากรด้านไอทีและผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ทั้งในเชิงเทคนิคในการพัฒนา ซอฟต์แวร์ให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมถึงการสร้างโอกาสทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ “ซอฟต์แวร์ พาร์คประเทศไทย เห็นว่าตลาดของซอฟต์แวร์เป็นตลาดสากล ไม่ได้มีขีดจำกัดเฉพาะอาเซียน หรือเอเชีย ดังนั้นการพัฒนาผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ของไทยจำเป็นต้องใส่ชุดประสบการณ์ ระดับโลก พร้อมกับการจัดการต่างๆ เพื่อรองรับการเข้าสู่ตลาดโลกโดยทันที ซึ่งในงาน ในวันที่ 22 สิงหาคม 2556 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ครั้งนี้จึงเป็นเหมือนการนำชุดประสบการณ์สำเร็จรูป พร้อมการนำพาร์ตเนอร์ในระดับโลก ซึ่งเป็นโครงข่ายที่ซอฟต์แวร์พาร์คได้สร้างขึ้นในรอบหลายปีมาสนับสนุนเพื่อ ให้ผู้ประกอบการได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่”

การ จัดงานในครั้งนี้จะเป็นการจัดกระบวนทัพของธุรกิจซอฟต์แวร์ ไทยให้พร้อมออกสู่ตลาดต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นระดับภูมิภาคหรือระดับโลก โดยให้ความรู้และมุมมองหลากหลายมิติ ทั้งในเรื่อง ธุรกิจ,เทคโนโลยี และการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้เริ่มต้นและก้าวเข้าสู่สากลอย่างมีแบบแผน ในส่วนของธุรกิจนั้น ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายสองด้านคือ กลุ่มผู้ประกอบการซอฟต์แวร์โดยตรง และกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะนำซอฟต์แวร์มาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งทั้งสองกลุ่มจำเป็นที่จะต้องได้รับประสบการณ์คู่ขนาน กัน เพื่อทำให้ตลาดเติบโตไปอย่างมีเสถียรภาพ ดังนั้นชุดประสบการณ์ทางด้านธุรกิจนั้นทางซอฟต์แวร์พาร์คจะคัดเลือกความรู้ ทั้งสองมุมมองเพื่อทำให้ผู้ประกอบการเห็นภาพการทำธุรกิจ ที่ต้องขยายตลาดไปยังต่างประเทศอย่างชัดเจน และสามารถนำไปใช้ได้อย่างจริงจัง รวมถึงการแสดงเจตนารมย์ที่จะก้าวไปสู่ตลาดโลกในระดับต่างๆ ความพร้อมและเป้าหมายของการขยายตลาด ซอฟต์แวร์พาร์คจะมีการจัดกลุ่ม หรือ Grouping ในงาน และจะ Customize หรือปรับแต่งใน แต่ละกลุ่มให้ เหมาะสมกับความต้องการต่อไป เนื่องจากบริษัทซอฟต์แวร์ที่ต้องการจะรุกตลาดต่างประเทศ จะมีทั้งต้องการเพียงแค่ไปออกบูธจำหน่ายสินค้าเพียงครั้ง คราว, บางรายต้องการหาคู่ค้าในประเทศต่างๆ เพื่อขยายฐาน, บางรายเพียงต้องการแหล่งทุน และอื่นๆ ซึ่งจะทำให้หน่วยงานสนับสนุนเห็นภาพการรุกตลาดต่างประเทศของผู้ประกอบการได้ ชัดเจนมากขึ้น รวมไปถึงการมอบรางวัล Software Park Thailand’s Hall of Inspiration 2013 ให้กับผู้ประกอบการไอทีรุ่นใหม่เพื่อเป็นฑูต สร้างแรงบันดาลในให้คนรุ่นใหม่ หวังผลให้เกิดการกระตุ้นให้เกิดการแบ่งปันในอุตสาหกรรม

ใน ด้านเทคโนโลยีนั้น ซอฟต์แวร์พาร์คประเทศไทย ได้นำเสนอเทคโนโลยีจากพันธมิตรในระดับโลก เพื่อฉายภาพ ทิศทางที่สำคัญ รวมถึงตัวช่วยในด้านต่างๆ จากเจ้าของเทคโนโลยี ทั้งในส่วนของโปรแกรมใน ระดับสากลและโปรแกรมที่ปรับแต่งเฉพาะ ประเทศไทยเพียงแห่งเดียว ซึ่งในงานจะมีตัวช่วยจากพาร์ตเนอร์ที่สนับสนุนมากกว่า 10 โครงการ โดยผู้ประกอบการสามารถ เลือกโครงการที่ เหมาะสมกับการรุก ตลาดของ ตนเองได้

สำหรับการพัฒนาบุคลากรนั้น ซอฟต์แวร์พาร์คยังคงยึดแนวทางการพัฒนาบุคลากร ระดับกลาง โดยเน้น Soft Skill หรือการบริหารงานเชิงความสัมพันธ์ที่ มากกว่าการเน้นเรื่องเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว เนื่องจากกลุ่มระดับกลางนั้นจะต้องเป็นตัวเชื่อมโยงทรัพยากรกับกลุ่มประเทศ ในอาเซียนเพิ่มมากขึ้น โดยนอกจากโอกาสของ AEC แล้ว ซอฟต์แวร์พาร์คยังเห็นว่าแนวโน้มการสร้างบุคลากรไอทีของไทยในระดับ อุดมศึกษาเริ่มมีการ เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนแล้ว โดยคนรุ่นใหม่จะสนใจเรียนสายคอมพิวเตอร์หลักน้อยลง และสนใจที่จะเรียนคอมพิวเตอร์ประยุกต์มากขึ้น ซึ่งน่าจะสอดคล้องกับแผนงานของซอฟต์แวร์พาร์คในขณะนี้
นอก จากนั้น ซอฟต์แวร์พาร์คยังมุ่งมั่นที่จะสร้างศักยภาพในการดำเนินธุรกิจให้กับภาค ธุรกิจไทย ทั้งในเรื่องการสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และการส่ง เสริมการนำ IT ให้เข้าไปมีบทบาทในการเพิ่มศักยภาพธุรกิจ ของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยในงานนี้จะเป็นการเปิดตัว กิจกรรมของทางซอฟต์แวร์พาร์คที่ชื่อ Software Hunter เนื่องจากที่ผ่านมาซอฟต์แวร์พาร์ค ได้รับการติดต่อจากผู้ทีต้องการซอฟต์แวร์ไปใช้ในงานของตน เองหลากหลายโครงการ ทั้งในและต่างประเทศ โดยต่อไปนี้ซอฟต์แวร์พาร์คจะมีบุคลากรที่ดูแลด้านนี้ชัดเจน เมื่อมีความต้องการเข้ามา Software Hunter จะคัดเลือกบริษัทซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมจำนวน หนึ่งเพื่อนำไปสู่การคัดเลือก โดยทั้งหมดได้รับการยอมรับจากซอฟต์แวร์พาร์คแล้วว่าเหมาะสม และมีประบการณ์ในด้านนั้นๆ ซึ่งเท่ากับสำหรับผู้ประกอบการหรือองค์กรและภาคธุรกิจอื่นๆ ที่มองหาซอฟต์แวร์ไทยที่ดีและมีประสิทธิภาพ

นาย สุทัศน์ วงศ์วิเศษกุล, ผู้จัดการ ทั่วไป บริษัท ซีเอ โซลูชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า ในฐานะผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีซอฟต์แวร์บริหารจัดการองค์กร ซีเอ ได้เตรียมพร้อมให้การสนับสนุนธุรกิจของลูกค้าเพื่อก้าวสู่ตลาดโลกและเติบโต อย่างยั่งยืน ด้วยกลยุทธ์การบริหารจัดการดังต่อไปนี้
1. Accelerate IT : โซลูชั่น ที่จะช่วยงานไอทีของท่านพัฒนาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
2. Transform IT : โซลูชั่น ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น จากการไร้ขีดจำกัดด้านทรัพยากร
3. Secure IT : โซลูชั่น ที่ช่วยสร้างความมั่นใจด้านการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลสำคัญของ
ธุรกิจซึ่งกลยุทธ์ทั้งสามที่กล่าวมานี้ จะถูกถ่ายทอดเป็นรูปธรรมในภาพของเทคโนโลยีที่สอดคล้อง Trend ใน ปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยี DevOps (Development and Operations), Mobility, Cloud and SaaS, Big Data ทั้งนี้ ซีเอ มีความพร้อมและยินดีร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเติบโตของธุรกิจของลูกค้าในตลาด โลก สามารถสอบถามข้อมูลโซลูชั่นเพิ่มเติมได้ที่ บูธ ซีเอ ภายในงาน
นายจิรวิทย์ แม้ ประสาท, ผู้จัดการฝ่าย ซอฟแวร์ อีโค่ ซิสเต็ม บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้มีส่วนสำคัญในการ สนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศไทย โดยการเข้าถึงเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ล่าสุด สำหรับงาน Software Park Annual Conference ในปีนี้ บริษัท อินเทลเตรียมจัดแสดงแนวคิดการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อรองรับการ ทำงานสำหรับอุปกรณ์หลากหลายประเภท (cross platform application development) เช่น สมาร์ทโฟน, แท็ปเล็ต, อัลตร้าบุ๊ก™ จากการใช้ชุดเครื่องมือการพัฒนาของอินเทลสำหรับเทคโนโลยี HTML5, ระบบปฎิบัติการ Windows 8 และ Android นอกจากนั้นภายในบูธ จัดแสดงของอินเทล ได้จัดทำ software showcase สำหรับแนวทางใหม่ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ในอนาคต เช่นซอฟต์แวร์รองรับการสั่งการด้วยท่าทางภายใต้เทคโนโลยี Perceptual Computing
นายประดิษฐ์ ภิญโญ ภาสกุล, หัวหน้าสายงานพาณิชย์ บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด กล่าวว่า ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ ในฐานะผู้นำด้านธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ และคลาวด์คอมพิวติ้ง มาตรฐานระดับโลกแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระหว่าง ประเทศ ถึง 3 มาตรฐานคือ ISO 20000, ISO 27001 และ BS25999 พร้อมที่จะให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอ ทีแก่องค์กรทุกขนาดในประเทศไทยให้มีความพร้อมในการเปิดตลาด AEC โดยมีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นศูนย์ กลางของเนื้อหา และโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทรูไอดีซีมีแผนที่จะร่วมกับพันธมิตรระดับสากลในการสร้าง ดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ที่ได้มาตรฐานระดับโลก เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดกลุ่มลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ บริษัทข้ามชาติ ซึ่งต้องการดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีมาตรฐาน มีความปลอดภัยสูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และหวังเป็นอย่างยิ่งว่างานสัมมนาครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่ง ที่ช่วยผลักดันผู้ประกอบการไอทีของไทยประเทศไทยให้เตรียม ความพร้อมในก้าวเข้าสู่ตลาดสากล

นางสาวศิรินุช ศรารัชต์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาความสัมพันธ์พันธมิตรและผู้จัดการสำนักนวัตกรรม บริษัท ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว่า ทางไอบีเอ็มมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างอุตสาหกรรมไอทีให้มีการเติบโตขึ้นไปได้ อย่างต่อเนื่อง และมีความ มุ่งมั่นทุ่มเทในการนำเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญของบุคคล กรมาสร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่สังคม ดังนั้นเราจึง จัดตั้ง โปรแกรมด้านการศึกษาขึ้น หรือที่ เรียกว่า Academic Initiative Program เพื่อพัฒนาการศึกษาและเพิ่มพูนทักษะของเยาวชน ไทย โดยนำเสนอ solution และ เทคโนโลยีต่างๆ ของ ไอบีเอ็ม สู่มหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ และ ยังได้ริเริ่มที่จะให้การรับรองและเสริมสร้างทักษะความ เชี่ยวชาญให้กับนักศึกษาโดยร่วมมือกับสถานศึกษาชั้นนำ เพื่อจัดตั้ง ศูนย์บ่มเพาะความเป็นเลิศทางด้านเทคโนโลยี ในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง (Center of Excellent) เพื่อสร้างบุคลากรด้านไอทีที่มีคุณภาพสูง ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ไอ บีเอ็มได้ร่วมมือกับองค์กรภาคอุตสาหกรรมและได้ประสานงาน ร่วมกับมหาวิทยาลัยกว่า 20 แห่ง ในประเทศไทยเพื่อจัดการฝึกอบรมทางด้านไอทีให้แก่นักศึกษา ภายใต้โครงการ IBM Academic Initiative ส่งเสริมหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์การบริการ (Service Science, Management and Engineering – SSME) เพื่อสร้างบุคลากรในอุตสาหกรรมไอที ที่มีทักษะทั้งทางด้านเทคนิคที่แข็งแกร่งและ ยังมีความรู้ความเข้าใจทางด้านธุรกิจอุตสาหกรรมควบคู่กัน ไป รวมทั้ง ทางไอบีเอ็มยังมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างทรัพยากรทางด้าน IT เพื่อให้ทัดเทียมกับมาตรฐานนานาชาติด้วยการจัด ให้มีการสอบ Certification สำหรับ มืออาชีพอีกด้วย

นอกจากนี้ ยัง ได้มีการจัดตั้งกลุ่ม ISV และ Business Partner สำหรับ อุตสาหกรรมต่างๆ ขึ้นเพื่อพัฒนาและนำเทคโนโลยีของไอบีเอ็มไปใช้อย่างต่อเนื่อง และเพื่อขยาดตลาดไปสู่นานาชาติ และ ได้จัดให้มีโครงการ IBM Partner World เพื่อช่วยสนับสนุนกลุ่ม ISV เหล่านี้ให้มีความแข็งแกร่งยิ่งๆขึ้นอีกด้วย

View :1398

Related Posts

  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.