Home > 3G > ดีแทคคืบหน้าตามแผนให้บริการ 4G บนคลื่น 1800 MHz

ดีแทคคืบหน้าตามแผนให้บริการ 4G บนคลื่น 1800 MHz

3 ตุลาคม 2556 – ดีแทคประกาศวันนี้ว่าดีแทคกำลังเข้าสู่การเจรการกับ กสท เพื่อนำคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ที่ยังไม่ได้ใช้งานจำนวน 24.5 เมกะเฮิรตซ์ มาใช้งานในการให้บริการ 4G LTE โดยการให้บริการจะใช้รูปแบบธุรกิจขายส่งและขายต่อบริการตามแนวทางที่ กสท ได้เคยทำความตกลงกับกลุ่มบริษัทอื่นไปก่อนหน้านี้ ในขณะเดียวกัน หาก กสทช ประสงค์จะนำคลื่นความถี่ดังกล่าวไปประมูล ดีแทคก็ยินดีที่จะคืนคลื่นดังกล่าวเพื่อให้นำไปประมูลในปี 2557 ทั้งนี้ ดีแทคพร้อมที่จะดำเนินการให้บริการในทั้ง 2 แนวทางเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและพัฒนาการที่รวดเร็วของเทคโนโลยี 4 จี ที่เกิดขึ้น

นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เปิดเผยว่า การที่บริษัทเลือกดำเนินการในทั้ง 2 ทางเลือกข้างต้น ก็เพราะดีแทคมีความพร้อมและมุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยี 4G LTE ที่ทันสมัยมาสู่ประเทศไทย ด้วยเหตุนี้ ดีแทคจึงเลือกที่จะดำเนินการทั้ง 2แนวทางไปพร้อมๆ กัน

“ผู้บริหารระดับสูงของดีแทคได้เริ่มต้นเจรจากับทาง กสท แล้ว โดยพิจารณาการใช้รูปแบบธุรกิจแบบขายส่ง-ขายต่อบริการ คล้ายกับสัญญาที่ กสท ได้ลงนามกับกลุ่มบริษัทอื่นไปก่อนหน้านี้ โดยดีแทคจะหารือรูปแบบธุรกิจร่วมกับ กสทและทำงานร่วมกันกับ กสท รวมถึงผู้เกี่ยวข้องต่อไปเพื่อให้ได้ผลสรุปรูปแบบธุรกิจที่นำมาใช้ในการให้บริการ 4 จีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ดี การนำคลื่นความถี่ของดีแทคที่ยังไม่ได้ใช้งานดังกล่าวไปประมูลในเดือนกันยายน 2557 ยังคงเป็นทางออกที่ดีที่สุดในระยะยาว ดังนั้น หาก กสทช ประสงค์จะนำคลื่นความถี่ดังกล่าวไปประมูลในเดือนกันยายน 2557 นี้ ดีแทคก็ยินดีและไม่ขัดข้อง อนึ่งการจัดการประมูลล่วงหน้าก่อนหมดสัญญาสัมปทาน จะยิ่งส่งเสริมเรื่องความโปร่งใสและชัดเจนในการจัดการบริหารคลื่นความถี่จากกสทช. ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการสามารถที่จะวางแผนลงทุนล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกัน ผู้ใช้บริการก็สามารถมั่นใจได้ว่าจะได้ใช้บริการอย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องมีการกำหนดมาตรการเยียวยาอีก” นายจอน กล่าว

หากเทียบเคียงกับราคาประมูลขั้นต่ำ (Reserve Price) ที่ตั้งไว้สำหรับคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์ มูลค่าของคลื่นดีแทคที่ยังไม่ได้ใช้งานน่าจะมีมูลค่ามากกว่า 22,000 ล้านบาท หากรวมคลื่นดังกล่าวกับคลื่น จำนวน 25.2 เมกะเฮิรตซ์ ของทรูมูฟและดีพีซีและคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ของเอไอเอส จำนวน 20 เมกะเฮิรตซ์ และนำคลื่นทั้งหมดมาประมูลพร้อมกันในปี 2557 ก็จะสามารถสร้างรายได้ให้แก่รัฐได้มากกว่า 62,725 ล้านบาท

View :1442

Related Posts

Categories: 3G Tags:
  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.