Home > Technology > สวทช.ภาค เหนือ จัดงานประชุมประจำปี 57 ประกาศผลผญาดีศรีล้านนา “ คิดค้นเครื่องหยอดเมล็ดข้าวนาน้ำตม” พร้อมโชว์งานวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น สู่อาเซียน

สวทช.ภาค เหนือ จัดงานประชุมประจำปี 57 ประกาศผลผญาดีศรีล้านนา “ คิดค้นเครื่องหยอดเมล็ดข้าวนาน้ำตม” พร้อมโชว์งานวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น สู่อาเซียน

DSC_5529

เมื่อวัน ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ จ.เชียงใหม่ สวทช.ภาคเหนือ จัดงานประชุมจำปี 2557 “ช่วยกันคิด ร่วมกันทำ นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ท้องถิ่น” ตอบ โจทย์และสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคเหนือ วิสาหกิจชุมชน ที่ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มสามารถแข่งขันตลาดในประเทศและต่างประเทศ ภายในงานได้ประกาศผลผญาดีศรีล้านนา ประจำปี 2557 นาย ประเทือง ศรีสุข เกษตรกรทุ่งรวงทอง อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ นำภูมิปัญญาท้องถิ่นทำนาแบบดั้งเดิมสร้างนวัตกรรม “ การทำนาหยอด” ในการปลูกข้าวแบบนาน้ำตม เพื่อแก้ปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงานในการทำนาดำและปัญหาต้นทุน เมล็ดพันธุ์

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช.) กล่าวว่า สวทช.ภาค เหนือ ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี จัดงานประชุมประจำปี 2557 ด้วยแนวคิดหลัก “ช่วยกันคิด ร่วมกันทำ นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ท้องถิ่น” ซึ่งตลอดระยะเวลา 17 ปีที่ก่อตั้ง สวทช.ภาคเหนือ ได้ดำเนินงานเชิงรุกร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาในเขตภาคเหนือ รวมถึงผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชน มาร่วมทางสู่สังคมฐานความรู้ด้วยกัน โดยได้นำโจทย์หรือปัญหาผลกระทบของท้องถิ่นเป็นที่ตั้ง และนำองค์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาพัฒนาบูรณาการในการปัญหาต่างๆ ซึ่งแนวคิดและการปฏิบัติแบบพันธมิตรบูรณาการร่วมกันนั้นเป็นต้น แบบที่ดี สู่การพัฒนาภูมิภาคให้เกิดประโยชน์สูงสุดและประสบความสำเร็จด้านเศรษฐกิจและ สังคมที่ชัดเจน จึงก่อให้เกิดความเชื่อมั่นและให้ความสำคัญที่จะนำวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาพัฒนาอย่างต่อเนื่องในภูมิภาค

ในปีนี้ สวทช.ภาคเหนือ ก้าวขึ้นสู่ปีที่ 18 มีแผนดำเนินงานด้านถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาครัฐ ซึ่งดูแล พื้นที่ 17 จังหวัด ภาคเหนือ มีความพร้อมที่จะขยายผลการดำเนินงานให้ครอบคลุมพื้นที่ วงกว้างขึ้น โดยปรับกลไกการส่งมอบใหม่ๆ หลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น การร่วมทุนกับภาคการศึกษาเพื่อขยายขอบเขตงานวิจัยในประเด็นที่เกิดผลกระทบ ที่ตรงกับเป้าหมาย เพิ่มกลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยีมุ่งเป้าหมายให้มีส่วนร่วม สร้างวิทยากรชุมชนมืออาชีพ และ ขยายบริการภาคอุตสาหกรรมให้ครอบคลุมวงจรเศรษฐกิจที่มีคุณค่าต่อ ท้องถิ่นและตลาดโลก

สำหรับจุด เด่นในงานประชุมวิชาการ สวทช.ภาคเหนือ “ นางปิยะฉัตร ใคร์วานิช เบอร์ทัน ” ผู้อำนวยการ สวทช.ภาคเหนือ กล่าวว่า สวทช. ภาคเหนือ จัดการประชุมประจำปี 2557 นี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ประชาสัมพันธ์ บทบาท หน้าที่ และการบริการของหน่วยงาน เพื่อต่อยอดเชื่อมโยงกับหน่วยงานพันธมิตรภาครัฐบาลเอกชนและภาค การศึกษา ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการในพื้นที่ภาคเหนือ รวมถึงการแสดงผลงานการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ที่ได้ให้การสนับสนุนแก่นักวิจัย ชุมชน และภาคเอกชน ตลอดจนประชาชนในภาคเหนือ ซึ่งครั้งนี้จัดภายใต้ชื่องาน “ช่วย กันคิด ร่วมกันทำ นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ท้องถิ่น” โดยประกอบด้วยกิจกรรม 3 ส่วน หลัก ได้แก่ การมอบรางวัลผญาดีศรีล้านนา เพื่อเป็นการยกย่องคุณงามความดี เป็นขวัญและกำลังใจ ให้กับบุคคลต้นแบบผู้นำเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นไปเครื่องมือในการสืบ สานส่งต่อคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น การบรรยายพิเศษ “บทบาทของ สวทช. ในการเชื่อมโยงกับพันธมิตร นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่การพัฒนาและสร้างสังคมวิทยาศาสตร์ ในท้องถิ่น” การ เสวนา “ เปิดตะกร้าเทคโนโลยี เทคโนโลยีพร้อมเชื่อมโยงกับพันธมิตรสู่การใช้งานจริง”

ทั้งนี้ ภายในงานได้จัดแสดงผลงานวิจัยเพื่อเผยแพร่งานด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี อาทิ จุลินทรีย์ย่อยสลายฟางข้าว , ซังข้าวโพด , ระบบกำจัดฝุ่นเตาเผาขยะแบบไฟฟ้าสถิต , ระบบเฝ้าสังเกตสิ่งแวดล้อมและเตือนภัยพิบัติ สำหรับท้องถิ่น และงานที่สวทช.ภาค เหนือ ให้การสนับสนุน ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ 12 ปี iTAP กับ 12 เทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จจากการนำ ไปใช้จริงในภาคอุตสาหกรรม เช่น ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืช เทคโนโลยีนาโนสำหรับสิ่งทอ ระบบบำบัดน้ำเสีย และบำบัดกลิ่นและควัน และ อีก 22 เทคโนโลยีจากงานวิจัยที่พร้อม เชื่อมโยงกับพันธมิตรสู่การใช้งานจริง การแสดงผลงานค่าย วิทยาศาสตร์ สวทช.ภาคเหนือในปีที่ผ่าน มาและเปิดตัวค่ายวิทยาศาสตร์ที่จะเกิดขึ้นในปี 2557 นี้

นายประเทือง ศรีสุข ผู้ได้รับรางวัลผญาดีศรีล้านนา เกษตรกรทุ่งรวงทอง อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ บอกวว่า มีแนวคิดที่จะนำภูมิปัญญาการทำนา มาพัฒนาต่อยอดจากการทำนาดำแบบดั้งเดิม เป็น “การ ทำนาหยอด” เพื่อแก้ปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงานในการทำนาดำและต้น ทุนเมล็ดพันธุ์ จาก ที่ทำนา และมีประสบการณ์ด้านเครื่องจักรกล จึงคิดประดิษฐ์เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว สำหรับการปลูกข้าวแบบนาน้ำตม จะประหยัดต้นทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และใช้ปุ๋ยในปริมาณลดลงกว่า 30 – 40เปอร์เซ็นต์ จากการทำนาหว่าน ปกติ ซึ่งทำให้ต้นทุนการทำนาลดลง และเพิ่มผลผลิต นอกจากการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรดังกล่าวแล้ว ยังมีการพัฒนากลไกของรถเครื่องหยอดข้าวอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ รถมีประสิทธิภาพและใช้ประโยชน์หลากหลายมากขึ้น ได้ดัดแปลงส่วนประกอบของรถ ปรับเป็นเครื่องพ่นปุ๋ยน้ำ หรือ ฮอร์โมนให้กับพืชได้ด้วย

อย่างไรก็ตาม นายประเทือง ฯ นักคิดค้น และนักพัฒนาด้านเครื่องจักรกลเกษตร ถือเป็นต้นแบบเกษตรกรที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ในด้านการพัฒนา เทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้ได้เองอย่างเหมาะสมกับพื้นที่ ก่อให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับการเผยแพร่ออกไปในวงกว้างสู่ เกษตรกรทำนาในพื้นที่ต่างๆของประเทศไทย

View :1815

Related Posts

  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.