Home > Article > ออโตเดสก์ฟันธง 8 เทรนด์ฮิตของสิ่งก่อสร้างปี ‘57

ออโตเดสก์ฟันธง 8 เทรนด์ฮิตของสิ่งก่อสร้างปี ‘57

KHIDI Huangdeng Hydropower Station imageโดย มร.เจียนลูก้า แลงก์ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายอุตสาหกรรมประจำภูมิภาคอาเซียนของออโตเดสก์

จากหมู่บ้านเล็กๆ สู่ตึกสูงเทียมฟ้า สะท้อนให้เห็นถึงวิวัฒนาการทางด้านสิ่งปลูกสร้างที่กำลังเปลี่ยนแปลงและเติบโตขึ้นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เริ่มมีตึกสูงมากมาย เพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่ารวมถึงการขยายตัวของเขตเมืองที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ผ่านมาโดยได้แรงหนุนจากเหล่าชนชั้นกลางที่กำลังเพิ่มจำนวนขึ้น เช่นเดียวกันกับปัญหาทางด้านสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น ความแออัดที่ส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย ความไม่เพียงพอทางด้านพื้นที่สำหรับรองรับการจราจรที่เพิ่มขึ้น ความไม่แข็งแรงทางด้านโครงสร้างเมื่อต้องเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถร่วมกันเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ได้โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย อาทิ ระบบคลาวด์ฯ และโมบายเทคโนโลยีสำหรับการแสดงผลแบบเรียลไทม์ การจำลอง / ประมวลผลแบบเวอร์ชวลไลซ์เซชั่นเพื่อความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ถือหุ้น และผู้ที่มีส่วนได้ส่วยเสีย

การก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐานด้านโยธาเป็นตัวแทนของ 2 สิ่งที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดทางเศรษฐกิจของประเทศไทย สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานยังคงมีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ การสร้างสิ่งก่อสร้างที่ทันสมัยและเป็นระบบแบบบูรณาการอย่างเช่น เซียงไฮ้ทาวเวอร์, สิงคโปร์สปอร์ตฮับ, แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติอินโดนีเซีย (MP3EI) และการก่อสร้างส่วนขยายของรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ทั้งหมดนี้ไม่เพียงแต่หมายถึงการจ้างงานบุคลากรนับพัน แต่ยังเป็นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวอีกด้วย

เราจะเห็นอะไรในสิ่งก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐานในปี ‘57

กระแสการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างได้เริ่มเกิดขึ้นแล้วและกุญแจสำคัญต่อการประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมเหล่านี้ในปี 2557 และปีต่อๆ ไปก็คือเทคโนโลยีอันนำสมัยและนวัตกรรมทางการเงิน

อุตสาหกรรมการก่อสร้างในปี 2557 นี้จะเป็นปีแห่งการนำเทคโนโลยี BIM (Building Information Modeling ) มาปรับใช้ในงานเพื่อผลักดันให้เกิดผลผลิตอันยอดเยี่ยมมากยิ่งขึ้น และนี่คือกุญแจสำคัญของเทรนด์อุตสาหกรรมการก่อสร้างที่น่าจับตามองในปี 2557 นี้
1. ในปี 2556 ที่ผ่านมา เราได้เห็นศักยภาพของเทคโนโลยีคลาวด์ที่ได้นำมาใช้อย่างแพร่หลายในการทำงาน ซึ่งช่วยให้การทำงานนอกสถานที่มีความสะดวกมากขึ้น โดยเทคโนโลยีนี้จะยังคงมีการใช้อย่างแพร่หลายอย่างต่อเนื่องในปี 2557 ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลโครงการแบบเรียลไทม์จะช่วยให้ผู้จัดการโครงการตระหนักถึงประสิทธิภาพอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เรากำลังร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงจากรากฐานอุตสาหกรรมเดิมๆ ไปเป็นการใช้ BIM โดยลูกค้าจะค้นพบวิธีใหม่ในการเพิ่มศักยภาพของกระบวนการภาคสนามมากยิ่งขึ้น

2. การทำงานโดยใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่, คลาวด์และ BIM เป็นตัวช่วย จะมีส่วนสำคัญในการสร้างความร่วมมือในสายงานทางด้านวิศวกรรม, สถาปัตยกรรมและการก่อสร้าง บริษัทที่คิดการณ์ไกลจะเลือกใช้เทคโนโลยีเพื่อตรวจสอบการออกแบบและติดตามปัญหาในภาคสนาม ดังนั้นการนำ iPad และแทบเล็ตมาใช้งานในภาคสนามจะกลายมาเป็นมาตรฐานใหม่ที่เริ่มใช้งานกัน

3. ในปี 2557 และจากนี้ไปอีก 5 ปี เราคาดการณ์ว่าการใช้งาน BIM จะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เหล่าวิศวกร สถาปนิกและผู้ที่ทำงานก่อสร้างสามารถแบ่งปันข้อมูลโมเดลอันชาญฉลาดนี้ได้อย่างง่ายดาย โดย BIM จะมาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการออกแบบและการจัดการในแต่ละโครงการจากแบบเดิมๆ ไปอย่างสิ้นเชิง โดยในปีพ.ศ.2563 คาดว่า BIM จะก้าวเข้ามาเป็นเทคโนโลยีหลักของการออกแบบและก่อสร้างโดยทำการประสานข้อมูลของสิ่งก่อสร้างทั้งหมดให้มาอยู่ภายในโมเดลเดียว ในขณะเดียวกันก็จะมีการนำ BIM มาปรับใช้กับวงจรชีวิตของโครงการอีกด้วยทำให้ความเชื่อมต่อระหว่างการออกแบบและการก่อสร้างจะไหลลื่นและแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดการทำงานซ้ำซ้อนและมีความแม่นยำมากขึ้นอีกด้วย

4. เราเชื่อว่าภายในปี 2563 ระบบการส่งไฟล์จะมีความก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถสร้างชิ้นส่วนของสิ่งก่อสร้างได้จากนอกสถานที่ ซึ่งการผลิตแบบดิจิตอลทั้งจากในและนอกสถานที่จะกลายมาเป็นมาตรฐานการทำงานของระบบอุตสาหกรรม

ส่วนในด้านโครงสร้างพื้นฐานทางโยธานั้น BIM และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องจะยังคงร่วมกันเปลี่ยนแปลงการก่อสร้างไปในทางที่ดีขึ้น แต่ว่ากุญแจอื่นในด้านกระแสของเงินทุนโครงสร้างพื้นฐานจะยังคงพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง

การจัดหาแหล่งเงินทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม

เมื่อมองไปที่การเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องของเมือง ทางโกลด์แมน แซชส์ได้คาดการณ์เอาไว้ว่าโอกาสด้านโครงสร้างพื้นฐานในอาเซียนนั้นมีมูลค่ากว่าครึ่งล้านล้านดอลล่าร์ ด้วยเวลาเพียงใม่กี่ปี เศรษฐกิจของอาเซียนได้มีการเติบโตของ GDP สูงมากและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานยังคงเอื้อต่อความเจริญเติบโตและช่วยเพิ่มผลผลิตให้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย จากข้อมูลของเวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรั่ม ประเทศที่มีลักษณะเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตัวเองในอาเซียน เช่น มาเลเซียและไทยนั้น ได้มีการปรับปรุงคุณภาพโครงสร้างพื้นฐานในประเทศของตัวเอง ในขณะที่ประเทศอื่นๆ อย่างอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ยังคงมีความต้องการการลงทุนขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของตัวเอง

การเจริญเติบโตนั้นเชื่อมโยงไปยังการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งคาดว่าจะมีการก่อสร้างครอบคลุมไปทั่วภูมิภาคและเชื่อกันว่านวัตกรรมทางการเงิน เช่น ความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPPs) ที่เข้าใกล้กันมากขึ้นเรื่อยๆ นั้นจำเป็นต่อการแก้ปัญหาด้านการขาดแคลนเงินทุน เราจะได้เห็นภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมทั้งในด้านการก่อสร้างและการพัฒนาการเงินเท่าที่ความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายจะทำได้ ซึ่งนั่นจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนมากขึ้น การการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เพิ่มขึ้นจะเปิดโอกาสอันดีให้กับเหล่าผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์โครงสร้างพื้นฐาน

นี่คือ 4 ปัจจัยที่น่าจับตามองในปี 2557 และผลจาก PPP

1. เมื่อรัฐบาลมีปัญหาทางด้านการเงิน ความร่วมมือแบบ PPP จะมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่ง PPP คือการทำสัญญาระหว่างภาครัฐและเอกชนโดยมีทรัพยากร, ความเสี่ยง และผลตอบแทนต่างๆ ร่วมกันทั้งสองฝ่าย เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารงานที่มากกว่าเดิม ดีกว่าการที่ภาครัฐจะแบกรับค่าใช้จ่ายแต่เพียงผู้เดียว การโยกย้ายการจัดซื้อจัดจ้างออกจากงบดุลของภาครัฐไปยังภาคเอกชนถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากกว่าการเพิ่มภาษีหรือเพิ่มภาระทางหนี้สินให้กับทางภาครัฐ

2. ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของ PPP ได้รับการตอบสนองจากการแข่งขันที่มาจากทั่วโลก การลงทุนที่มาจากภาคเอกชนในท้องถิ่นนั้นจะไม่มีอีกต่อไปแล้ว ในทางกลับกัน การแข่งขันทางด้านเงินทุนจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล การเพิ่มขึ้นของการแข่งขันทางด้านเงินทุนจากทางภาคเอกชนจะส่งผลต่อทั่วโลกให้เปลี่ยนจากโครงการเงินทุนที่เป็นระบบใครมาก่อนได้ก่อนเป็นหลักแล้วค่อยให้ผลตอบแทนด้านการเงินไปเป็นโครงการธุรกิจที่ดีที่สุด ในตอนนี้ PPP ได้มีการดำเนินการไปแล้วในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, แคนาดา, สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, สเปน, โปรตุเกตุ, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศอื่นๆ และ PPP เองก็กำลังจะมีขึ้นในอีกหลากหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ไทย, ฟิลิปปินส์

3. จับตามองความสำคัญของเงินทุน PPP ที่จะให้ผลตอบแทนแบบองค์รวมที่ดีที่สุดให้ดี เพราะไม่เพียงแต่จะดีในด้านการเงิน, สังคมและสิ่งแวดล้อมในโครงการที่เฉพาะเจาะจงเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อความยืดหยุ่นของโครงสร้างพื้นฐานในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติได้อย่างสมดุลย์อีกด้วย เจ้าของโครงการจะสามารถดำเนินงานได้อย่างเต็มรูปแบบตลอดวงจรชีวิตของโครงการ ซึ่งพวกเขาสามารถเห็นภาพและจำลองเหตุการณ์ในอนาคตภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องยึดการออกแบบซึ่งอิงอยู่กับสภาพแวดล้อมที่มีอยู่อย่างเดียว

4. การวางแผน, การออกแบบที่ทันสมัยและการส่งมอบเครื่องมือจะส่งผลสำคัญต่อการพัฒนา PPP ในพ.ศ. 2557 การผูกการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาคเอกชนด้วยกลยุทธ์และนวัตกรรมจากเทคโนโลยี 3มิติ ไม่เพียงช่วยให้เจ้าของโครงสร้างพื้นฐานและนักลงทุนเห็นถึงความโปร่งใสของโครงการและสามารถเข้าใจถึงขอบเขตและความซับซ้อนในการลงทุนได้เท่านั้น แต่ยังช่วยให้พวกเขาสามารถพัฒนาปรับปรุงโครงการจัดหาเงินทุนโครงการในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
ในเมื่อความท้าทายทางด้านการก่อสร้างกับโครงสร้างพื้นฐานทางโยธาได้อยู่ตรงหน้าแล้ว ลูกค้าของเราจะสามารถเผชิญหน้ากับความท้าทายนั้นได้ด้วยเทคโนโลยีอันล้ำหน้าร่วมกับนวัตกรรมด้านการเงิน ด้วยความร่วมมือระหว่าง PPP, คลาวด์, อุปกรณ์เคลื่อนที่และเทคโนโลยี BIM จะมาทดแทนกระบวนการที่ล้าสมัย และสร้างหนทางที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และในปี พ.ศ. 2557 นี้ จะเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงสำหรับอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานของอาเซียนและเราเองก็รู้สึกตื่นเต้นที่จะได้เห็นเทรนด์เหล่านี้เผยโฉมออกมาในเร็วๆ นี้

View :1436

Related Posts

Categories: Article Tags:
  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.