Home > Press/Release > ฤาจะถึงกาลอวสานของ Fibre Channel (FC)

ฤาจะถึงกาลอวสานของ Fibre Channel (FC)

September 10th, 2010 Leave a comment Go to comments

บทความ โดย บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์

เกิดข้อโต้แย้งในชุมชนเทคโนโลยีมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว โดยฝั่งหนึ่งให้การสนับสนุนส่วนประกอบของ Serial Attached SCSI (SAS) ด้วยมุมมองที่เชื่อมั่นอย่างมากว่าเป็นก้าวของการพัฒนาจาก SCSI และกำลังจะเข้ามาแทนที่ ซึ่งเป็นเจ้าตลาดอยู่ในขณะนี้ ขณะที่อีกฝั่งยังคงให้การสนับสนุน FC อยู่โดยเชื่อว่าเทคโนโลยีนี้เหนือกว่าเทคโนโลยีอื่นๆ อยู่หลายขุม
กว่าทศวรรษมาแล้วที่ตลาดให้การยอมรับในความสามารถของ FC ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงและมีส่วนแบ่งในตลาดอย่างมากโดยเฉพาะในพื้นที่ของระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ แม้ว่าเทคโนโลยีนี้จะไม่ได้ถูกมองว่าเข้ามาแทนที่ SCSI ที่มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลช้ากว่า แต่ในไม่ช้าสิ่งนี้ก็อาจกลายเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่มีความรวดเร็วและมีความพร้อมใช้งานในระดับสูง โดยจะเห็นได้ว่าระบบจัดเก็บข้อมูลที่สำคัญสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ต่างให้การสนับสนุน FC แทบทั้งสิ้นและไม่มีแง่มุมใดเลยที่จะแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีนี้กำลังจะถูกมองข้ามและตกอันดับจากการเป็นโซลูชั่นที่สำคัญสำหรับองค์กร
อย่างไรก็ตาม รูปแบบโครงสร้างของตลาดกำลังเปลี่ยนแปลง โดยสิ่งที่เป็นข้อโต้แย้งทางทฤษฎีกำลังคุกคามฐานที่มั่นของ FC ที่มีอยู่ในตลาดแห่งนี้มาเป็นเวลากว่าสิบปีด้วยรูปแบบมาตรฐานของระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่กำลังเป็นที่ต้องการ และนี่เป็นเหตุผลสำคัญที่สามารถคลายความกังวลอันเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกในขณะนี้ได้
แม้ว่าประเด็นด้านประสิทธิภาพและความพร้อมใช้งานจะยังคงเป็นความกังวลหลักในทุกครั้งที่มีการออกแบบระบบจัดเก็บข้อมูล แต่ประเด็นด้านค่าใช้จ่ายก็กำลังกลายเป็นตัวผลักดันที่สำคัญ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ความกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายนั้นเกิดขึ้นอยู่แล้วโดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังฟื้นตัว และประเด็นนี้เองที่กระตุ้นให้ SAS ได้รับความสนใจในฐานะที่เป็นคู่แข่งสำคัญของ FC

ปัจจัยของการขยายตัว
เหตุใด SAS จึงเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่กำลังมีการขยายตัวอย่างมาก และเหตุใดเทคโนโลยีนี้จึงถูกมองว่าเป็นสิ่งที่กำลังคุกคาม FC อยู่ในขณะนี้ แม้ว่าจะมีหลายเหตุผลที่ได้รับการถกเถียงกันมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว แต่ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่ส่วนหลักๆ ที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่

เหตุผลที่ 1: ยิ่งกว่าความคุ้มค่าและคุ้มราคา
เมื่อเปรียบเทียบแบบตัวต่อตัวกับการออกแบบของ SAS ขนาด 3 กิกะบิตต่อวินาที จะพบว่า FC รุ่น 4 กิกะบิตต่อวินาทีให้อัตราการทำงานที่ดีกว่าเมื่อมีการเชื่อมต่อ ณ จุดเดียวกับ I/O เดียว อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของระบบจัดเก็บข้อมูลส่วนใหญ่มักจะไม่ได้พึ่งพาเฉพาะแค่ I/O เดียว แต่เป็นการพิจารณาทั้งระบบ ซึ่งประเด็นนี้เองที่ทำให้ SAS เหนือกว่าคู่แข่ง
ตัวอย่างเช่น เมื่อพิจารณาผลิตภัณฑ์ในตระกูล Hitachi Adaptable Modular Storage 2000 ซึ่งใช้การออกแบบของ SAS จะพบว่าแบนด์วิธทั้งหมดสำหรับการเข้าถึงดิสก์นั้นมีความโดดเด่นเหนือกว่าระบบจัดเก็บข้อมูลแบบโมดูลของคู่แข่งที่ใช้ระบบส่วนหลังของ FC นอกจากนี้ โซลูชั่นดังกล่าวยังมีการเชื่อมต่อกับระบบส่วนหลังเพิ่มเติม ซึ่งทำให้สามารถรับส่งข้อมูลเข้าออก (I/O) พร้อมกันได้มากขึ้น
นอกจากนี้ เวลาที่ต้องใช้ในการรอการเชื่อมต่อวงจรจะไม่เกิดขึ้นกับ Hitachi Adaptable Modular Storage 2000 ที่สนับสนุนสถาปัตยกรรมแบบสวิตช์ที่ใช้ SAS ด้วย โดยเมื่อเปรียบเทียบกันจะพบว่าระบบที่ใช้ FC-AL (Fibre Channel-Arbitrated Loop) จะใช้วงจรทั่วไปร่วมกันและนั่นก่อให้เกิดเวลาที่ต้องรอคอยและทำให้ต้องเสียเวลาในการรอการเชื่อมต่อ
SAS ยังให้การรับส่งข้อมูลแบบฟูลดูเพล็กซ์ หรือการรับส่งข้อมูลพร้อมกันทั้งสองด้าน (Full Duplex) เสมอ โดยการรับส่งข้อมูลในรูปแบบนี้จะช่วยให้อุปกรณ์ใดๆ ก็ตามสามารถส่งและรับ I/O ได้พร้อมกัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคุณลักษณะแบบฟูลดูเพล็กซ์ถือเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาด แต่ FC ก็อาจเป็นได้ทั้งแบบฟูลดูเพล็กซ์ หรือฮาล์ฟดูเพล็กซ์ (Half Duplex: การรับส่งข้อมูลแบบสองทางผลัดกัน) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถาปัตยกรรมของตัวระบบเอง

เหตุผลที่ 2: ความพร้อมใช้งานที่เหนือกว่า
ในตลาดปัจจุบัน ความพร้อมใช้งานของระบบถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากขณะนี้ระบบต้องทำงานตลอด 24 ชั่วโมงในทุกวัน และตลอดทั้ง 365 วันในแต่ละปี การล้มเหลวของระบบจึงไม่สามารถยอมรับได้ และสิ่งนี้เองที่ทำให้ลูกค้าหลายรายต้องสูญเสียเงินจำนวนมหาศาลอย่างไม่สู้จะเต็มใจนักเพื่อแลกกับการได้มาซึ่งระบบที่มีความพร้อมใช้งานสูง
SAS ไม่เพียงแต่ให้ทางเลือกในราคาที่ไม่สูงมากนัก แต่ยังสามารถจัดการกับความล้มเหลวของระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพเหนือกว่า FC โดยสามารถจัดทำรายงานได้ในระดับส่วนประกอบ (component) เมื่อเกิดภาวะล้มเหลวขึ้น นั่นหมายความว่าหากส่วนประกอบใดๆ ในการเชื่อมต่อของ SAS ล้มเหลว ก็จะมีการระบุและแจ้งให้ทราบผ่านเครื่องมือติดตามตรวจสอบระบบ สำหรับผู้ดูแลระบบแล้วนั้น สิ่งนี้ช่วยประหยัดทั้งแรงและเวลาได้อย่างมากในการค้นหาตำแหน่งที่เกิดจุดล้มเหลวขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบกับ FC จะพบว่า FC ไม่สามารถจัดทำรายงานในระดับส่วนประกอบได้ แต่จะรายงานความล้มเหลวที่เกิดขึ้นในระดับวงจร (loop) นั่นหมายความว่าการแก้ไขความล้มเหลวที่เกิดขึ้นของระบบจะใช้เวลานานกว่า ซึ่งส่งผลต่อความพร้อมใช้งานของระบบโดยตรง
นอกจากนี้ SAS ยังมีระบบสำรองเพิ่มเติมในตัวอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ในตระกูล Hitachi Adaptable Modular Storage 2000 จะมีชิพส่วนขยายของ SAS สองตัวที่จะเชื่อมต่อ SAS ทั้งหมด 8 จุดต่อถาดวางไดรฟ์ นั่นหมายความว่าภาวะที่ไม่สามารถเข้าถึงดิสก์ได้นั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อจุดเชื่อมต่อทั้ง 8 จุดหยุดทำงานหรือใช้งานไม่ได้พร้อมกัน

เหตุผลที่ 3: การอยู่ร่วมกับ SATA
Serial ATA (SATA) เป็นก้าวหนึ่งของการพัฒนาสำหรับไดรฟ์ ATA ซึ่งเหมือนกับการที่ SAS ให้การสนับสนุนไดรฟ์ SCSI อยู่ โดยทั้ง SATA และ SAS ต่างก็ใช้เทคโนโลยีแบบอนุกรม ดังนั้นการถ่ายโอนข้อมูลจึงสามารถดำเนินการได้เร็วกว่า ATA และ SCSI ซึ่งใช้เทคโนโลยีแบบขนานที่มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลช้ากว่า
SATA จะขยายเส้นทางการทำงานของ ATA และจะยังคงเป็นเทคโนโลยีหลักที่สำคัญสำหรับอินเตอร์เฟสดิสก์ที่มีประเด็นด้านค่าใช้จ่ายเป็นความกังวลหลัก เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและเซิร์ฟเวอร์ระดับเบื้องต้น ขณะที่ SAS จะขยายเส้นทางการทำงานของ SCSI และได้รับการพิจารณาว่าเป็นเทคโนโลยีสำหรับอินเตอร์เฟสดิสก์ของระบบจัดเก็บข้อมูลองค์กรขนาดใหญ่
จะเห็นได้ว่าด้วยตัวเชื่อมต่อไดรฟ์ SAS และ SATA ในปัจจุบันช่วยให้ผู้ดูแลระบบมีอิสระในการผสานรวมทั้งสองสิ่งเข้าด้วยกันหรือเลือกที่จะติดตั้งไดรฟ์ใดก็ได้ตามความต้องการและตามงบประมาณขององค์กร โดยพื้นฐานแล้ว ชิพ ICO จะเก็บคำสั่ง SATA ไว้ภายในแพ็คเก็ต SAS โดยใช้ SATA Tunneling Protocol ของข้อกำหนดเฉพาะสำหรับ SAS สิ่งนี้ช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถเลือกใช้ดิสก์ SATA และใช้ไดรฟ์ SAS ในภายหลังเมื่อจำเป็นต้องใช้งานได้
ตัวอย่างเช่น Adaptable Modular Storage 2000 สนับสนุนตัวเชื่อมต่อไดรฟ์ทั้ง SAS และ SATA อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถผสานรวมไดรฟ์ทั้งสองชนิดเข้าไว้ด้วยกันในตู้จัดเก็บดิสก์ขนาด 15 ตัว ซึ่งทำให้การเดินสายเป็นเรื่องง่ายและไม่จำเป็นต้องซื้อถาดใส่ดิสก์ที่มีราคาแพงแยกต่างหาก
แม้ว่าจะมีดองเกิลของตัวเชื่อมต่ออยู่แล้วหรือแม้ว่า FATA จะทำให้ไดรฟ์ FC และ SATA สามารถติดตั้งภายในถาดวางเดียวกัน แต่ก็จะต้องทำการแปลง I/O จาก FC เป็น SATA ซึ่งก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มและบั่นทอนประสิทธิภาพการทำงานได้ จึงไม่แปลกที่ SAS จะเหนือกว่าในจุดนี้

บทสรุป
แม้ว่าอาจยังไม่ถึงเวลาที่จะกล่าวว่า SAS กำลังจะเข้ามาแทนที่ FC ทั้งหมด แต่ด้วยความน่าเชื่อถือและความเร็วของ SAS ที่เทียบเท่ากับ FC ในขณะนี้ การเข้ามาแทนที่ของ SAS จึงต้องอาศัยบริษัทต่างๆ อย่าง บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ในการเดินหน้านำเสนอโซลูชั่น SAS ออกสู่ตลาดผสานร่วมกับเสียงตอบรับที่ดีจากลูกค้า
การเจาะตลาดที่ FC ถือครองมาเป็นเวลากว่าสิบปีนั้นอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับ SAS แต่เมื่อถึงเวลาที่ลูกค้าเริ่มพิจารณาว่า FC และ SAS มีความสามารถอยู่ในระดับเดียวกันบนสนามการแข่งขัน การชี้ชะตาของเทคโนโลยีก็จะเกิดขึ้นเมื่อลูกค้าตัดสินใจเทเงินให้กับเทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ด้วยประสิทธิภาพที่คุ้มค่าของ SAS จึงไม่น่าแปลกใจที่ SAS จะมีแนวโน้มที่ดีในการคว้าชัยจากการแข่งขันในครั้งนี้

View :1269

Related Posts

Categories: Press/Release Tags:
  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.