Home > Press/Release > นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติผ่านความเห็นชอบจากครม.แล้ววันนี้

นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติผ่านความเห็นชอบจากครม.แล้ววันนี้



๑. ความเป็นมา

รัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๗๘ ได้กำหนดให้รัฐดำเนินการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน รวมถึง การจัดทำและการให้บริการสาธารณะ ระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึง เท่าเทียมกันทั่วประเทศ และรัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ว่าจะพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมขั้นพื้นฐานให้ครอบคลุมทั่วประเทศและสร้างโอกาส ในการเข้าถึงบริการของประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งได้จัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสารของประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๕๖๓) หรือ ICT 2020 เพื่อใช้เป็นกรอบทิศทางในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งกำหนดเป้าหมายการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและการสื่อสาร ให้เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ มีคุณภาพและความมั่นคงปลอดภัยเทียบเท่ามาตรฐานสากล ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓

รัฐบาลได้ตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ ภายใต้กรอบนโยบาย ICT 2020 ในการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การบริการของรัฐ การรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงความมั่นคงและปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนช่วยส่งผลต่อการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศได้อย่างต่อ เนื่อง ทั้งยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกิจการโทรคมนาคม กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาบริการบรอดแบนด์ของประเทศ ปัจจุบันยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ โดยมีประชากรที่ใช้บริการบรอดแบนด์เพียงร้อยละ ๓.๕ ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเขตนครหลวงและเมืองใหญ่ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำและช่องว่างทางดิจิทัลระหว่างประชาชนในเขต เมืองและชนบท รวมทั้งเป็นปัจจัยที่กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

ใน การนี้ รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและใช้เป็นกรอบการดำเนินการและขับเคลื่อนการพัฒนา บริการบรอดแบนด์ ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่หลากหลาย มีความก้าวหน้าทันสมัย สอดคล้องกับบริบทและสภาพพื้นที่ของประเทศไทย และตอบสนองความต้องการการใช้บริการของทุกภาคส่วน โดยที่รัฐมีบทบาทเป็นผู้กำหนดนโยบายและสนับสนุนการให้มีและการใช้บริการ บรอดแบนด์อย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน รวมถึงส่งเสริมให้ภาคเอกชนและประชาชนร่วมดำเนินการไปสู่ความสำเร็จ โดยมีองค์กรกำกับดูแลที่เป็นอิสระตามกฎหมายทำหน้าที่กำกับดูแลการประกอบ ประกอบกิจการให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม

๒. นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ

๒.๑ ภาครัฐมีเจตนารมณ์ที่จะสนับสนุนการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ อันถือเป็นบริการที่มีความสำคัญเทียบเท่าบริการที่เป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้น ฐานของประชาชน ให้ทั่วถึง เพียงพอ ในราคาที่เหมาะสม ภายใต้การแข่งขันเสรีและเป็นธรรม

๒.๒ ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ได้ อย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำและลดช่องว่างทางดิจิทัล ทั้งในเชิงภูมิศาสตร์และเชิงกลุ่มประชากร สามารถกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคทั่วประเทศ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

๒.๓ ภาครัฐและภาคธุรกิจสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการพัฒนาบรอดแบนด์ได้ อย่างเต็มที่ เพื่อเพิ่มผลิตภาพ และความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน
๒.๔ ในการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ รัฐจะบริหารจัดการทรัพย์สินด้านโทรคมนาคมที่รัฐได้ลงทุนไปแล้วและอาจจะลงทุน เพิ่มเติม เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการโทรคมนาคมทุกรายอย่างเสมอภาค โดยการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และรัฐจะไม่ผูกขาดที่จะเป็นผู้ลงทุนในการจัดให้ม บริการต่าง ๆ แต่เพียงผู้เดียว แต่จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทุกรายที่พึงประสงค์และมีศักยภาพที่จะลงทุน เพื่อให้บริการ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดโครงข่ายบรอดแบนด์ทั่วประเทศ โดยให้มีการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมในการให้บริการ

๒.๕ ในเรื่องที่เกี่ยวกับเขตอำนาจอธิปไตยของชาติ เช่น ตำแหน่งวงโคจรของดาวเทียม จุดขึ้นฝั่งของเคเบิลใต้น้ำ หรือจุดเชื่อมต่อโครงข่ายข้ามพรมแดน ถือว่าเป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของชาติและเป็นสิทธิหรือทรัพยากร ที่รัฐจะส่งเสริมให้มีการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในแง่ของการนำมาใช้งานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการภายในประเทศ และการนำมาใช้งานเพื่อเพิ่มศักยภาพและโอกาสในการที่จะพัฒนาความร่วมมือและ การค้าระหว่างประเทศรัฐจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและกำกับดูแลการดำเนินการ ตามนโยบาย โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุนจัดให้มีบริการดัง กล่าว

๒.๖ รัฐจะส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมส่วนปลายทางทั้งแบบใช้สายและ ไร้สาย ผู้ประกอบการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ผลิตเนื้อหา ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ และผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

๓. เป้าหมาย

๓.๑ พัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ให้ครอบคลุมประชากร ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ ภายในปี ๒๕๕๘ และไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๙๕ ภายในปี ๒๕๖๓ โดยมีคุณภาพบริการที่ได้มาตรฐานและมีอัตราค่าบริการที่ เหมาะสม รวมทั้งให้มีบริการบรอดแบนด์ความเร็วสูงผ่านเคเบิลใยแก้วนำแสงในเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 Mbps ภายในปี ๒๕๖๓

๓.๒ ประชาชนสามารถได้รับบริการผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ ทั้งในด้านการศึกษา สาธารณสุข การเฝ้าระวังและเตือนภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ และบริการสาธารณะอื่น ๆ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ โดย

๓.๒.๑ ขยายโอกาสทางการศึกษา โดยโรงเรียนในระดับตำบลสามารถเข้าถึงบริการ บรอดแบนด์ที่มีคุณภาพ ภายในปี ๒๕๕๘ และโรงเรียนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงบริการดังกล่าวได้ภายในปี ๒๕๖๓

๓.๒.๒ ขยายบริการสาธารณสุข โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือสถานีอนามัยทุกแห่งสามารถเข้าถึงบริการ บรอดแบนด์ที่มีคุณภาพเดียวกับโรงพยาบาลประจำจังหวัดหรือเทียบเท่า รวมทั้งมีการเชื่อมโยงและให้บริการระบบประกันสุขภาพและประกันสังคมผ่านโครง ข่ายบรอดแบนด์ ภายในปี ๒๕๕๘

๓.๒.๓ ขยายการให้บริการระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่งของประเทศสามารถเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ที่ มีคุณภาพในระดับเดียวกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด และหน่วยงานของรัฐในส่วนกลาง เพื่อให้ประชาชนในทุกตำบลสามารถใช้บริการต่าง ๆ ที่จะมีในระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ได้ตลอดเวลาภายในปี ๒๕๕๘

๓.๒.๔ ให้ประเทศมีระบบการเฝ้าระวังเตือนภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ และเหตุฉุกเฉินผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ ให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที

๓.๓ ภาคธุรกิจไทยสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากโครงข่ายบรอดแบนด์ได้อย่างทั่ว ถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และการเติบโตของเศรษฐกิจไทยอย่างสมดุลและต่อเนื่อง รวมทั้งให้โครงข่ายบรอดแบนด์เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดย รวม โดย

๓.๓.๑ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีโดยรวมให้อยู่ในกลุ่ม Top 25% ของประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุดในการจัดลำดับ World Competitiveness Rankings

๓.๓.๒ เกิดการขยายตัวของธุรกิจที่ใช้การสร้างสรรค์ การออกแบบ และบริการใหม่ ๆ ที่ดำเนินการได้ทุกพื้นที่ในประเทศไทยผ่านเครือข่ายบรอดแบนด์ ส่งผลให้เกิดการกระจายรายได้ไปยังพื้นที่ที่ มิใช่เขตเมือง

๓.๓.๓ สัดส่วนมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อ GDP เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๑๐ ภายในปี ๒๕๕๘

๓.๔ ลดการใช้พลังงานและการใช้ทรัพยากร โดยใช้การสื่อสารหรือเข้าถึงข้อมูลร่วมกันผ่านบริการ บรอดแบนด์ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ ซึ่งจะส่งผลในการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดภาวะโลกร้อน

๓.๕ ลดต้นทุนการให้บริการบรอดแบนด์โดยรวม โดยเฉพาะด้านการเชื่อมต่อวงจรออกต่างประเทศและการนำบรอดแบนด์เข้าถึงผู้ใช้ บริการ เพื่อให้อัตราค่าใช้บริการบรอดแบนด์ลดต่ำลง ประชาชนผู้บริโภคโดยทั่วไปสามารถเข้าถึงบริการได้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น

๓.๖ เกิดการพัฒนาเนื้อหาสาระ ( Content) และโปรแกรมประยุกต์ ( Application) ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา การสาธารณสุข การป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน ศาสนาและวัฒนธรรม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการดำรงชีวิตประจำวัน รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินธุรกิจให้มีขีดความสามารถทางการแข่งขันมากยิ่งขึ้น

๓.๗ ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจถึงคุณค่า และความเสี่ยงของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เร่งตัวเร็วขึ้น อันเป็นผลเนื่องมาจากการขยายการใช้บริการบรอดแบนด์ รวมถึงมีความรู้และทักษะในการใช้งานบรอดแบนด์อย่างสร้างสรรค์และเกิด ประโยชน์

๓.๘ อุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีการพัฒนา เกิดการขยายตัว และยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ไปสู่ระดับสากล

๔. แนวทางดำเนินการ

๔.๑ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการบรอดแบนด์

๔.๑.๑ ส่งเสริมให้มีการแข่งขันในธุรกิจบริการบรอดแบนด์ บนพื้นฐานการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม ซึ่งจะไม่มีการผูกขาด รวมถึงการเปิดกว้างทางเทคโนโลยี เพื่อก่อให้เกิดการลงทุนในโครงข่ายและขยายการให้บริการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทั่วถึง มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม

๔.๑.๒ สนับสนุนให้มีการขยายบริการบรอดแบนด์ไปสู่พื้นที่ชนบทห่างไกล ภายใต้หลักการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม

๔.๑.๓ สนับสนุนให้มีการลงทุนพัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ในทุกระดับ ให้มีปริมาณเพียงพอ คุณภาพได้มาตรฐานสากล และมีต้นทุนต่ำ ด้วยการลงทุนของภาคเอกชนหรือภาครัฐร่วมเอกชน และส่งเสริมให้เกิดการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการ เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อน ทั้งนี้ เพื่อให้
ผู้ประกอบธุรกิจบริการสามารถใช้ประโยชน์ได้โดยการกำกับดูแลด้วยกติกาการแข่ง ขันเสรีเป็นธรรม ไม่มีการผูกขาดหรือการใช้อำนาจเหนือตลาดที่กีดกันการแข่งขัน

๔.๑.๔ สนับสนุนการดำเนินการขององค์กรกำกับดูแลในการจัดสรรคลื่นความถี่อันเป็น ทรัพยากรสื่อสารของชาติ เพื่อกิจการโทรคมนาคม กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

๔.๑.๕ สนับสนุนผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการในท้องถิ่นให้สามารถลงทุนในเทคโนโลยีทางเลือกและวิธี การสื่อสารที่เหมาะสมที่มีการลงทุนไม่สูงมาก เพื่อสร้าง เชื่อมต่อ และให้บริการโครงข่ายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๔.๑.๖ ปรับโครงสร้างและบทบาทของรัฐวิสาหกิจสาขาโทรคมนาคม กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ในการให้บริการโครงข่ายให้เอื้อต่อการให้บริการบรอดแบนด์อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมของผู้ประกอบการทุกราย

๔.๑.๗ ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมโทรคมนาคมให้อยู่ภายใต้ระบบใบอนุญาตและมีการแข่งขัน บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน เพื่อกระตุ้นให้มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและระบบโครงข่ายหลักที่จำเป็นต่อ การจัดให้มีบริการบรอดแบนด์อย่างทั่วถึง

๔.๑.๘ ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านโทรคมนาคม รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ด้านโครงข่ายและบริการบรอดแบนด์ที่ทันสมัยให้สามารถใช้งานเชิงพาณิชย์ เพื่อลดต้นทุนในการให้บริการ บรอดแบนด์แก่ประชาชน ลดการพึ่งการนำเข้า และสนับสนุนการพัฒนาของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม กิจการ กระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์

๔.๒ การพัฒนาการใช้ประโยชน์จากบรอดแบนด์

๔.๒.๑ สนับสนุนให้มีการใช้งานบรอดแบนด์อย่างกว้างขวาง เพื่อขยายตลาดและฐานผู้ใช้งาน โดยส่งเสริมการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ ( Applications) และเนื้อหา ( Content) ที่หลากหลาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิตประจำวันของ ประชาชน รวมทั้ง เชื่อมโยงระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ บริการการศึกษา บริการสาธารณสุข บริการข้อมูลข่าวสาร และบริการอื่นของภาครัฐ ผ่านบริการบรอดแบนด์ เพื่อสร้างอุปสงค์ในบริการบรอดแบนด์อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ ภาครัฐจะต้องระมัดระวังมิให้ส่งผลกระทบหรือเกิดการบิดเบือนของกลไกตลาด

๔.๒.๒ ส่งเสริมการพัฒนาทักษะและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ( IT Literacy) และการรู้เท่าทันและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารอย่างสร้างสรรค์ ( Information literacy) ของประชาชน ชุมชนและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ( SMEs) ให้สามารถใช้ประโยชน์จากบริการบรอดแบนด์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และใช้เป็นโอกาสในการสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเอง โดยเฉพาะประชาชนในชนบท กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มเกษตรกร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ

๔.๒.๓ ส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการในธุรกิจทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับบริการบรอด แบนด์ เช่น ผู้ประกอบการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ผลิตโปรแกรมประยุกต์ ผู้ผลิตเนื้อหา ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

๔.๒.๔ กำหนดมาตรการสนับสนุนและจูงใจในการใช้บรอดแบนด์ เพื่อลดการใช้พลังงานและการใช้ทรัพยากร ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ โดยเฉพาะในภาคการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์

๔.๓ การประกันความมั่นคงปลอดภัยของโครงข่ายบรอดแบนด์และความปลอดภัยของสังคมโดยรวม

๔.๓.๑ พัฒนายกระดับบุคลากรผู้เชี่ยวชาญความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศและโครงข่ายทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ

๔.๓.๒ มีการสร้างโครงข่ายทางเลือกหลายเส้นทางที่ใช้เชื่อมโยงประเทศไทยไปสู่ประเทศ ในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก โดยไม่จำกัดรูปแบบไม่ว่าจะเป็นเคเบิลใต้น้ำ เคเบิลพื้นดิน หรือดาวเทียม และจะเปิดกว้างให้มีการลงทุนในลักษณะดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยภาครัฐ ภาคเอกชน หรือการร่วมลงทุน

๔.๓.๓ กำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบเชิงลบและภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ บริการบรอดแบนด์อย่างแพร่หลาย โดยสร้างความเข้าใจแก่ทุกภาคส่วนเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบเชิง ลบที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งการดำเนินมาตรการอย่างจริงจังในการป้องกันอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต
การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล และการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

๔.๓.๔ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบ และบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับข้อมูลที่มีความสำคัญ เช่น ข้อมูลดิน น้ำ อากาศ จราจร หรือข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติต่าง ๆ และพัฒนาระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ เหตุฉุกเฉิน ผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ ให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างทันท่วงที และเชื่อถือได้ รวมทั้งมีแผนฉุกเฉิน รองรับในกรณีที่โครงข่ายบรอดแบนด์นี้ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติดังกล่าว

๔.๓.๕ สร้างความตระหนักและให้ความรู้แก่ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน ภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศถึง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ด้านสารสนเทศ

๔.๔ การบริหารจัดการขับเคลื่อนนโยบายและการประสานการกำกับดูแล

๔.๔.๑ ให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ บูรณาการคณะทำงานในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและจัดตั้งคณะอนุกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีหน้าที่ (๑) จัดทำกรอบแผนการดำเนินการเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายตามนโยบายบรอดแบนด์ แห่งชาติ (๒) กำหนดตัวชี้วัดและวิธีประเมินผลที่จำเป็นสำหรับการติดตามความสำเร็จของ นโยบาย (๓) เสนอองค์กรที่รับผิดชอบดำเนินการตามแผนปฏิบัติการข้างต้น (๔) จัดทำรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินการตามนโยบายฯ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี และสาธารณะเป็นระยะ ๆ

๔.๔.๒ จัดให้มีการประสานงานกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน รวมทั้งองค์กรกำกับดูแล เพื่อสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันการให้บริการ ภายใต้หลักเกณฑ์การกำกับดูแลที่เอื้อต่อการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม รวมทั้ง บูรณาการเป้าหมายและแผนงาน ทรัพยากรโทรคมนาคม และทรัพยากรการลงทุนของประเทศในภาพรวม เพื่อจัดให้มีบริการบรอดแบนด์อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม อันจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาประเทศและการยกระดับคุณภาพ ชีวิตของประชาชน

๔.๔.๓ การดำเนินงานตามนโยบายนี้ จะได้รับการสนับสนุนจากการลงทุนโดยมาตรการสนับสนุนของภาครัฐ หรือผู้ประกอบการทุกราย หรือจากกองทุนตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ….

View :1429

Related Posts

  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.