Home > Press/Release > ส่องโลกไอทีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและประเทศไทย แกะรอยความท้าทายและโอกาสในปี 2553 และวิเคราะห์ทิศทางตลาดไอทีปี 2554

ส่องโลกไอทีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและประเทศไทย แกะรอยความท้าทายและโอกาสในปี 2553 และวิเคราะห์ทิศทางตลาดไอทีปี 2554

โดย ดร. เบง เทค เลียง
กรรมการผู้จัดการ และผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจเอ็นเทอร์ไพรส์ บิสิเนส
บริษัท ฮิวเลตต์ – แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัด

ความท้าทายและโอกาสของไอทีในปี 2553 มีดังต่อไปนี้

การใช้เทคโนโลยีศูนย์ข้อมูลแบบผนวก
ในปี 2553 เป็นปีที่องค์กรหลายแห่งเริ่มติดตั้งอุปกรณ์ศูนย์ข้อมูลเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับ
การขยายตัวของธุรกิจ ส่งผลให้เกิดปัญหาการอัดแน่นของเทคโนโลยี ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและดูแลระบบไอทีเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 70 ของงบประมาณด้านไอทีทั้งหมด ดังนั้น องค์กรต่างๆ จึงหันมาแก้ไขปัญหาการขยายตัวอย่างไร้ระเบียบของไอที ด้วยการลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบผนวก (converged infrastructure solutions) ซึ่งคาดว่าจะช่วยสร้างโอกาสทางการตลาดทั่วโลกคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 35,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2555

ตลอดปีที่ผ่านมา เอชพีเดินหน้าส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบผนวกอย่างครบวงจร ซึ่งรวมระบบคอมพิวติ้ง อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และอุปกรณ์เครือข่ายเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ลูกค้าสามารถนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้สร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมเพี่อสนับสนุนการทำธุรกิจของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

แนวทางการดำเนินการดังกล่าวของเอชพีจะช่วยธุรกิจต่างๆ เร่งพัฒนาสภาพแวดล้อม
การทำงานได้อย่างรวดเร็ว สามารถคาดการณ์ และทำซ้ำได้ ส่งผลให้มีการนำทรัพยากรไอที สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และพนักงานมาใช้สร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยองค์กรต่างๆ สามารถใช้แอพพลิเคชั่นได้ทุกที่ ทุกเวลา ทั้งยังใช้ทรัพยากรได้อย่างยืดหยุ่นและคล่องตัวตามต้องการในแนวทางที่คุ้มค่าสูงสุด เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน ระบบ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ตลอดจนให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง และสร้างความคุ้มค่าจากการลงทุนด้านไอทีได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

การมุ่งพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่ล้ำสมัย
ในปี 2553 นี้ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านไอทีหรือซีไอโอหลายรายได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับปรุงระบบไอทีที่ไร้ประสิทธิภาพเพื่อลดค่าใช้จ่ายและนำงบประมาณไปสร้างสรรค์ระบบการทำงานใหม่ๆ ได้มากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้คนในปัจจุบันที่เน้น
การให้บริการตนเองมากขึ้น ดังนั้น แอพพลิเคชั่นที่ใช้ในการประกอบธุรกิจของบริษัทต่างๆ จึงต้องรองรับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งสามารถก้าวไปในระดับเดียวกัน หรือล้ำหน้าคู่แข่ง เพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทมีความต่อเนื่อง ราบรื่น ไม่สะดุด

อย่างไรก็ตาม องค์กรหลายแห่งมีการทำงานในสภาพแวดล้อมที่ซ้ำซ้อน ไม่คล่องตัว ทั้งยังต้องใช้งบประมาณในการดูแลรักษามาก ขณะที่การอัพเดทระบบให้ทันสมัยก็มีค่าใช้จ่ายสูง
องค์กรเหล่านั้นจึงได้ปรับปรุงและยกระดับแอพพลิเคชั่นต่างๆ ให้ทันสมัยมากขึ้น ซึ่ง
การปรับเปลี่ยนนี้สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้องค์กรต่างๆ มีค่าใช้จ่ายใน
การบำรุงรักษาระบบเดิมลดลง ทั้งยังมีงบประมาณเหลือนำไปลงทุนสร้างสรรค์นวัตกรรม
ล้ำสมัยเพิ่มขึ้น

การวางระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง

ซีไอโอในองค์กรธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐต่างเผชิญกับความกดดันในการมอบบริการที่รองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของผู้บริโภค หนึ่งในโซลูชั่นที่ได้รับความนิยมขององค์กรธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐต่างๆ คือ ระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ที่ส่งเสริมการทำคอลลาบอเรชั่น พร้อมทั้งเพิ่มความรวดเร็วและคล่องตัวในการทำงานอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

ในการที่จะนำเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้งมาใช้ให้ได้ประโยชน์มากสุด องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องรู้ว่า ระบบไอทีของตนนั้นสามารถใช้ประโยชน์จากระบบคลาวด์จากแหล่งใดและอย่างไร พร้อมพิจารณาคุณสมบัติของเทคโนโลยีคลาวด์เปรียบเทียบกับระบบการให้บริการแบบเดิม และเลือกสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อนำมาใช้สนับสนุนการดำเนินงานของตนให้บรรลุเป้าหมายได้ตรงตามงบประมาณที่วางไว้

สุดยอดเทรนด์ที่มีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมไอทีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและประเทศไทยในปี 2554

การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบเคลื่อนที่รวมทั้งระบบปฏิบัติการคลาวด์ คอมพิวติ้ง ก่อให้เกิดการทำงานและการติดต่อสื่อสารที่ฉับไว เพราะว่าได้เชื่อมโยงทุกสิ่งไว้ด้วยกัน ลูกค้าและประชาชนจึงคาดหวังที่จะได้รับบริการที่รวดเร็ว สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างทันทีทันใด ไม่ต้องใช้เวลารอนานเป็นวันๆ หรือหลายสัปดาห์ดังเช่นที่ผ่านมา

จากผลการวิจัยล่าสุดที่จัดทำขึ้นโดยเอชพีบ่งชี้ถึงบทบาทของไอทีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปัจจุบันว่า มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมซึ่งมีบทบาทสนับสนุนเพียงแค่งานบริหารขององค์กรมาเป็นบทบาทของการเป็นศูนย์กลางที่สนับสนุนการทำงานทุกอย่างขององค์กร(1)
• ผู้บริหารระดับอาวุโสในภาครัฐและธุรกิจร้อยละ 80 ตระหนักว่า องค์กรของตนต้องมีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วเพื่อให้บริการแก่ลูกค้าและประชาชนได้ดีขึ้นและตรงตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค
• ขณะที่ร้อยละ 73 ระบุว่า เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมในภาครัฐและธุรกิจ
• และอีกร้อยละ 76 กล่าวว่า ความสำเร็จในการดำเนินงานเกิดจากการนำเทคโนโลยีมาใช้สนับสนุนการให้บริการของภาครัฐและธุรกิจ

มุ่งหน้าสู่ Instant-On Enterprise
วิสัยทัศน์การสร้างองค์กรแบบ Instant-On Enterprise จะทำให้องค์กรต่างๆ มีแต้มต่อใน
การแข่งขันที่เหนือกว่า ทั้งยังให้บริการตรงตามความต้องการของลูกค้า พนักงาน พันธมิตร และประชาชนได้อย่างฉับไวและทันที ทั้งนี้ เอชพีได้เปิดตัวโซลูชั่น Hybrid Delivery เพื่อสนับสนุนลูกค้าให้ทำงานแบบ Instant-On อย่างมีประสิทธิภาพ โดยช่วยลูกค้าวางกลยุทธ์สำหรับการให้บริการของตน พร้อมทั้งการศึกษาวิเคราะห์ปริมาณงานและการใช้งานภายในองค์กร เพื่อกำหนดความเหมาะสมภายในสภาพแวดล้อมแบบผสมหรือ Hybrid นอกจากนี้ยังทำให้ลูกค้ามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภารกิจหลักที่ต้องทำเพื่อปรับเปลี่ยนสู่รูปแบบ
การให้บริการแบบผสม

เนื่องจากองค์กรธุรกิจและภาครัฐต่างมุ่งยกระดับขึ้นเป็นองค์กรแบบ Instant-On Enterprise เอชพีเล็งเห็นว่า เทคโนโลยีระดับองค์กรที่มีแนวโน้มจะได้รับความนิยมสูงในอนาคต มีดังนี้

โซลูชั่น Application Transformation

ระบบ Instant-On Enterprise ทำงานบนแอพพลิเคชั่นที่มีความพร้อมในการใช้งานตลอดเวลาและสามารถปรับให้เข้ากับโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ได้อย่างง่ายดาย ปัจจุบัน แอพพลิเคชั่นที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวในการใช้งานเป็นที่ต้องการอย่างแพร่หลายมากกว่าที่ผ่านมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งแอพพลิเคชั่นที่เป็นหัวใจสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับองค์กรธุรกิจและภาครัฐ อย่างไรก็ตาม แอพพลิเคชั่นที่ใช้กันในปัจจุบัน
ทำให้องค์กรต่างๆ ไม่สามารถให้บริการใหม่ๆ เพื่อเพิ่มแต้มต่อในการแข่งขันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
• โซลูชั่นเดิมไม่สามารถตอบสนองความต้องการทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังไม่มีความยืดหยุ่น ทำให้มีงบประมาณบานปลายในการลงทุนทางด้านเทคโนโลยี ผลการศึกษาล่าสุดที่จัดทำขึ้นโดยเอชพีเผยว่า องค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เข้าร่วมการสำรวจมากกว่าร้อยละ 50 ใช้แอพพลิเคชั่นที่มีอายุนานกว่า 8 ปี ขณะที่กลุ่มตัวอย่างมากกว่าร้อยละ 15 มีแอพพลิเคชั่นที่มีอายุนานกว่า 16 ปี และอีกมากกว่าร้อยละ 50 มีความเห็นว่า ค่าใช้จ่าย ทรัพยากรและเวลาที่ต้องใช้ในการปรับปรุงและดูแลรักษาแอพพลิเคชั่นรุ่นเดิมเป็นอุปสรรคที่ทำให้องค์กรต่างๆ ไม่สามารถให้บริการใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
• พอร์ทโฟลิโอแอพพลิเคชั่นมีขนาดเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้เกิดปัญหา
การขยายตัวอย่างไร้ระเบียบของแอพพลิเคชั่นต่างๆ โดยเฉลี่ยแล้วบริษัทที่ติดอันดับฟอร์จูน 100 ส่วนใหญ่มีขนาดของซอฟต์แวร์ (Line of Code) สูงถึง 35 ล้านหน่วย และมีอัตราการเติบโตร้อยละ 10 ต่อปี
• เนื่องจากองค์กรต่างๆ มีการขยายตัวของแอพพลิเคชั่นเป็นจำนวนมาก และ
ส่วนใหญ่เป็นแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานมานานแล้ว นอกจากนี้ยังมีโมเดล
การให้บริการด้านไอทีรูปแบบใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบโมบายล์และ
คลาวด์ คอมพิวติ้ง ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งใหม่และท้าทายสำหรับองค์กรต่างๆ ทำให้หลายๆ องค์กรจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี Application Transformation ที่เหมาะสม โดยกลุ่มตัวอย่างเกือบร้อยละ 60 ระบุว่า การใช้เทคโนโลยี Application Transformation เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ตนจะทำเป็นอันดับแรก
ในปี 2554

ดังนั้น เอชพีจึงเชื่อมั่นในการพัฒนาและยกระดับแอพพลิเคชั่นและกระบวนการต่างๆ สู่ยุคอนาคต เพื่อช่วยธุรกิจต่างๆ ควบคุมและบริหารจัดการแอพพลิเคชั่นที่ล้าสมัย ตลอดจนกระบวนการทำงานที่ไม่มีความคล่องตัวให้เป็นการทำงานที่เปี่ยมประสิทธิภาพ เพื่อรองรับ
การพัฒนานวัตกรรมและเพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินงาน ตอบสนองความต้องการและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที

โซลูชั่น Converged Infrastructure

ระบบ Instant-On Enterprise คือ การพัฒนาต่อยอดจากเทคโนโลยีที่สามารถปรับขยายและปรับลดให้ตรงตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอได้อย่างรวดเร็วและเหมาะสม โดยจะต้องมีเทคโนโลยีในปริมาณที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป แต่มีปริมาณที่เหมาะสมและสามารถตอบสนองความต้องการขององค์กรธุรกิจต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

สำหรับองค์กรธุรกิจหลายแห่ง โครงสร้างพื้นฐานทั้งแบบปกติและแบบเสมือนที่ไม่มี
ความยืดหยุ่น และมีการขยายตัวอย่างไร้ระเบียบ ทำให้ธุรกิจต่างๆ มีการทำงานที่ไม่สะดวกและคล่องตัว ส่งผลให้การทำงานและการบำรุงรักษาระบบไอทีต้องใช้ทรัพยากรไอทีมากกว่าร้อยละ 70 และเหลืออีกร้อยละ 30 สำหรับนำไปใช้สร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ

โซลูชั่น HP Converged Infrastructure คือ พิมพ์เขียวสถาปัตยกรรมโครงสร้างศูนย์ข้อมูลแห่งอนาคตที่ได้รับออกแบบให้อุดช่องว่างระหว่างความต้องการขององค์กรและบริการไอที จึงช่วยลูกค้าขจัดปัญหาความอัดแน่นของเทคโนโลยี ทั้งยังสามารถผนวกรวมอุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และอุปกรณ์เครือข่ายเข้าไว้ด้วยกันเป็นศูนย์รวมทรัพยากรที่สามารถทำงานร่วมกันได้ นอกจากนี้ ยังช่วยประหยัดไฟและควบคุมระบบทำความเย็นได้เป็นอย่างดี ด้วยแพลทฟอร์มการบริหารจัดการทรัพยากรที่ใช้ร่วมกันดังกล่าว

โซลูชั่น HP Enterprise Security

ประธานเจ้าหน้าที่ด้านไอที (ซีไอโอ) และประธานเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยี (ซีทีโอ) ที่มีระบบไอทีขององค์กรแบบ Instant-On Enterprise ล้วนตระหนักดีว่า โซลูชั่น Enterprise Security เป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งประกอบด้วยระบบและโซลูชั่นต่างๆ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของข้อมูลระหว่างองค์กรธุรกิจและลูกค้า หรือระหว่างภาครัฐและประชาชน

ปัจจุบัน องค์กรธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐเลือกใช้แนวทางการเชื่อมโยงกับลูกค้าและประชาชนแบบเปิด โดยใช้แอพพลิเคชั่นแบบเคลื่อนที่ ระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ และบริการคลาวด์ สำหรับโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยดังกล่าวถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง รายงานผลการสำรวจล่าสุดของฟอร์เรสเตอร์ รีเสิร์ช อิงค์ ระบุว่า กระแสบริโภคนิยม (consumerism) คือเทรนด์ทางด้านเทคโนโลยีที่สร้างความวิตกกังวลให้แก่ผู้บริหารระบบรักษาความปลอดภัย โดยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นองค์กรธุรกิจเกือบครึ่ง (ร้อยละ 46) เผยว่า มีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในระบบสมาร์ทโฟน ขณะที่อีกร้อยละ 38 มีความวิตกกับความปลอดภัยของเทคโนโลยี Web 2.0

สำหรับการเป็นองค์กรแบบ Instant-On Enterprise ฝ่ายไอทีจำเป็นต้องจัดทำระบบรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจร เพื่อปกป้องสินทรัพย์ทางธุรกิจของบริษัท และเปิดให้ผู้ที่ได้รับอนุญาตเข้าใช้งานได้เท่านั้น การศึกษาล่าสุดที่จัดทำขึ้นในนามของเอชพี ระบุว่า ในปีที่ผ่านมา ผู้บริหารระดับสูงในองค์กรธุรกิจ ภาครัฐ และด้านเทคโนโลยีทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ทุก 1 ใน 2 คน เผชิญอุปสรรคในการพัฒนานวัตกรรม การเพิ่มความคล่องตัวของเทคโนโลยี และการให้บริการลูกค้า ซึ่งมีสาเหตุจากปัญหาระบบการรักษาความปลอดภัย

โซลูชั่น HP Enterprise Security จะทำให้องค์กรธุรกิจและหน่วยงานของรัฐสามารถรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและทรัพยากร รวมทั้งบริหารความเสี่ยงและขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมได้อย่างต่อเนื่อง

โซลูชั่น Information Optimization

องค์กรธุรกิจและหน่วยงานของรัฐเผชิญความท้าทายที่เกิดจากการขยายตัวของข้อมูลอย่างรวดเร็ว ระบบไอทีมีการออกกฎหมายและข้อบังคับการควบคุมการใช้งานเพิ่มขึ้น ขณะที่งบประมาณที่ใช้ในการบริหารจัดการมีอยู่เท่าเดิมหรือลดลง ขณะเดียวกัน ผู้นำในองค์กรภาครัฐและธุรกิจต้องการการให้บริการข้อมูลที่ตรงตามกำหนดเวลาเพื่อให้สามารถตัดสินใจได้แบบเรียลไทม์

ผลการวิจัยล่าสุดของเอชพีบ่งชี้ว่า ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีผู้บริหารระดับสูงด้านเทคโนโลยีและธุรกิจเพียงร้อยละ 18 เท่านั้นที่ระบุว่า ฝ่ายไอทีได้ให้ข้อมูลตามที่เขาต้องการตลอดเวลา ปัญหานี้จะเลวร้ายยิ่งขึ้น เนื่องจาก
- ในปี 2548 มนุษย์สร้างข้อมูลดิจิตอลจำนวน 150 เอ็กซาไบด์ แต่สามารถเพิ่มขึ้นมากกว่า 8 เท่าในปี 2553
- ผู้บริหารระดับสูงทั้งทางด้านไอทีและธุรกิจร้อยละ 88 เชื่อว่า อุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลจะเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ในอีก 2 ปีข้างหน้า ขณะที่มากกว่าร้อยละ 86 เชื่อว่า อุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลจะเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 30
- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านกฎหมายมีมูลค่าประมาณ 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐต่อข้อมูล 1 เทราไบด์

การจะเอาชนะความท้าทายดังกล่าว องค์กรต่างๆ สามารถเลือกใช้โซลูชั่น HP Information Optimization เพื่อสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมด้านไอทีให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อให้มีการบริหารจัดการข้อมูลที่เป็นเอกภาพ มีประสิทธิภาพ และมีความถูกต้องตรงตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่างๆ ทั้งยังช่วยสนับสนุนองค์กรนั้นๆ ให้มีแต้มต่อในการแข่งขันที่เหนือกว่าคู่แข่งอีกด้วย ดังนั้น การใช้โซลูชั่น HP Information Optimization จึงทำให้องค์กรต่างๆ สามารถควบคุมและศึกษาทำความเข้าใจข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

View :1404

Related Posts

  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.