Home > Press/Release > โทลล์เวย์ผนึกไทยสมาร์ทคาร์ดในกลุ่มซีพี ออลล์ พลิกโฉมร่วมทดลองการชำระค่าผ่านทางด้วยบัตรสมาร์ทเพิร์ส

โทลล์เวย์ผนึกไทยสมาร์ทคาร์ดในกลุ่มซีพี ออลล์ พลิกโฉมร่วมทดลองการชำระค่าผ่านทางด้วยบัตรสมาร์ทเพิร์ส

จับมือไทยสมาร์ทคาร์ด บริษัทในกลุ่มซีพี ออลล์ ร่วมกันศึกษาและทดลองการชำระค่าผ่านทางด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ สมาร์ทเพิร์ส โดยเปิดทดลองให้บริการชำระค่าผ่านทางโทลล์เวย์รูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า แบบ Mix Mode โดยสามารถชำระค่าผ่านทางด้วยบัตรสมาร์ทเพิร์ส () หรือ เงินสด หรือคูปองค่าผ่านทางของโทลล์เวย์ในช่องทางเดียวกัน รับแนวโน้มความต้องการใช้บัตรเงินสดอิเล็กทรอนิกส์เติบโตอย่างต่อเนื่องทุก ปี ชูจุดเด่นความสะดวกรวดเร็วพร้อมเตรียมแผนดัน “ อี – คูปอง ” ( ) เป็นทางเลือกนอกจากการใช้คูปองผ่านทางเป็นเล่มแบบเดิม เผยอนาคตต่อยอดโปรโมชั่นมากมาย

นายกรวุฒิ ชิวปรีชา รองกรรมการผู้จัดการ-ฝ่ายธุรกิจและการเงิน บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) หรือ DMT เปิดเผยว่า โทลล์เวย์ได้ประสานความร่วมมือกับบริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด ( TSC ) ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) (CP ALL) ผู้บริหารเซเว่น – อีเลฟเว่น ร้านอิ่มสะดวกของคนไทย เพื่อร่วมกันศึกษาและทดลองการชำระค่าผ่านทางด้วยบัตรสมาร์ทเพิร์ส โดยเปิดทดลองช่องทางการชำระค่าผ่านทางโทลล์เวย์รูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า แบบ Mix Mode โดยสามารถชำระค่าผ่านทางด้วยบัตรเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ “ สมาร์ทเพิร์ส ” หรือเงินสดหรือคูปองค่าผ่านทางของโทลล์เวย์ในช่องทางเดียวกัน โดยได้เริ่มทดลองให้บริการภายใต้ชื่อ “ โทลล์เวย์ สมาร์ทเพิร์ส ” ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมา โดยใช้ระยะเวลาทดลองประมาณ 6 เดือน จนถึงเดือนเมษายนปีหน้า ทำให้ผู้ใช้บริการทางยกระดับโทลล์เวย์ สามารถชำระเงินค่าผ่านทางด้วยบัตร “ สมาร์ทเพิร์ส ” ทุกประเภทของบริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด ( TSC ) ทั้งนี้ หากผู้ใช้บริการยังไม่มีบัตร “ สมาร์ทเพิร์ส ” ก็ยังคงสามารถชำระด้วยเงินสดหรือคูปองผ่านทางของโทลล์เวย์ในช่องชำระเงินที่ทดลองใช้บัตร “ สมาร์ทเพิร์ส ” ได้ตามปกติ

ทั้ง นี้ ในระยะแรกของการทดลองเปิดให้บริการดังกล่าว โทลล์เวย์ได้นำร่องเปิดให้บริการ 4 ช่องรับชำระค่าผ่านทางผ่านบัตรสมาร์ทเพิร์สใน 2 ด่านหลัก ได้แก่ ด่านเก็บค่าผ่านทางดอนเมือง และด่านเก็บค่าผ่านทางดินแดง เนื่องจากทั้งสองด่านเป็นด่านหลักด้านขาเข้าและขาออกที่มีผู้ใช้ทางต่อวัน จำนวนมาก ทั้งนี้จะมีการวัดผลเป็นระยะ ถ้ามียอดการใช้บัตรสมาร์ทเพิร์สเป็นจำนวนมากและไม่กระทบต่อการจราจรติดขัด บริเวณหน้าด่าน ทางโทลล์เวย์จะศึกษาร่วมกับไทยสมาร์ทคาร์ด ในการวางเครื่องรับบัตรสมาร์ทเพิร์สเป็นจุดรับบัตรในด่านอื่นๆ หรือเพิ่มช่องรับชำระค่าผ่านทางผ่านบัตรสมาร์ทเพิร์สแล้วแต่ความเหมาะสม

สำหรับการศึกษาพัฒนาการให้บริการในครั้งนี้ โทลล์เวย์เล็งเห็นถึงแนวโน้มของเทคโนโลยีบัตรเงินสดอิเล็กทรอนิกส์มี อัตราการเติบโตของฐานจำนวนผู้ใช้งานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ที่สำคัญยังเป็นเทคโนโลยีที่กำลังเข้ามามีบทบาทในเรื่องการอำนวยความสะดวก ให้กับผู้ใช้บริการเส้นทางโทลล์เวย์มากขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกัน ยังเพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการสำหรับลูกค้า โดยไม่ต้องรอรับเงินทอนอีกต่อไป ที่สำคัญทางโทลล์เวย์ได้รับประโยชน์จากการทำธุรกรรมทางการเงินที่สะดวก การบริหารเงินสด การเก็บเงินสด ลดความเสี่ยงของธนบัตร หรือธนบัตรปลอม ตลอดจนลดภาระในการนำเงินเข้าบัญชีธนาคาร รวมไปถึงลดภาระด้านบริหารการขาย การเก็บ และการตรวจนับคูปองกระดาษ เป็นต้น

นอก จากนี้ ยังถือว่าเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ใช้บริการในการชำระค่าผ่านทางแทนการใช้ เงินสดและสามารถต่อยอดไปสู่การร่วมทำโปรโมชั่นกับคู่ค้าอื่นๆ ของซีพี ออลล์ อย่างกว้างขวาง ซึ่งปัจจุบันมีเครือข่ายร้านอิ่มสะดวกเซเว่น-อีเลฟเว่นทั่วประเทศ

ทั้งนี้ ความร่วมมือกันในโครงการระยะทดลองดังกล่าว บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด ( TSC ) บริษัทในกลุ่มซีพีออลล์ จะเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนของอุปกรณ์และความสมบูรณ์ของระบบ ขณะที่โทลล์เวย์มีบทบาทในฐานะเป็นผู้ร่วมการทดลองการให้บริการก่อนจะพิจารณา ในขั้นต่อไปว่าเหมาะสมกับการให้บริการผู้ใช้ทางหรือไม่ โดยจะให้ความสำคัญกับความพึงพอใจของผู้ใช้ทางเป็นปัจจัยหลัก

“ หากมีการขยายความร่วมมือระยะยาว ในอนาคตโทลล์เวย์ยังมองไปถึงการพัฒนาบริการสู่การใช้โทลล์เวย์ อี – คูปองแทนคูปองเป็นเล่มในปัจจุบัน ซึ่งนับเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการ โดยสามารถซื้ออี – คูปองได้ผ่านช่องทางของร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น รวมทั้งยังเป็นการลดการใช้กระดาษ ปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาโลกร้อนด้วย ” นายกรวุฒิ กล่าว

ด้านนาย โกษา พงศ์สุพัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด (TSC) กล่าวว่า ความร่วมมือกับบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) ครั้งนี้ จะทำให้ประเทศไทยติดอันดับที่ 7 ของภูมิภาคเอเชีย ที่มีการนำเทคโนโลยีเงินสดอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้ในการชำระค่าผ่านทาง ETC (Electronic Toll Collecting) โดยปัจจุบันบริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด (TSC) มีจำนวนผู้ถือบัตรสมาร์ทเพิร์สแล้วมากกว่า 3 ล้านใบ และมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องในทุกๆปี

“ แนวโน้มการใช้บัตรเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ลักษณะเดียวกับ สมาร์ทเพิร์สในการชำระค่าใช้จ่ายและค่าใช้บริการต่างๆ เติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยมีปัจจัยหนุนที่สำคัญ คือ ความสะดวก และรวดเร็ว ซึ่งบัตรสมาร์ทเพิร์สใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า RFID Contactless คือ แค่แตะบัตรกับเครื่องรับ ก็ชำระเงินเสร็จแล้ว และยังรองรับปริมาณการใช้งานจำนวนมากต่อวันได้เป็นอย่างดี ” นายโกษา กล่าว

จุดเด่นที่สร้างความแตกต่างของโครงการ “ โทลล์เวย์ สมาร์ทเพิร์ส ” คือ เมื่อผู้ใช้บริการโทลล์เวย์ชำระค่าผ่านทางผ่านบัตรสมาร์ทเพิร์สจะใช้เวลา จ่ายเงินลดลงกว่าการใช้เงินสด นอกจากนี้ หากในอนาคตโทลล์เวย์ต่อยอดไปสู่การใช้ “ อี-คูปอง ” ( e-Coupon ) แทนคูปองกระดาษเป็นเล่ม โทลล์เวย์ก็สามารถใช้เครือข่ายร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ที่มีสาขากว่า 5,700 แห่งทั่วประเทศเป็นหน้าร้านจำหน่ายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลมีสาขาเกือบ 3,000 สาขา มีลูกค้าใช้บริการกว่า 1,200 ครั้งต่อสาขาต่อวัน

นายโกษา พงศ์สุพัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวต่อไปว่า “ วิสัยทัศน์ของไทยสมาร์ทคาร์ด คือ เพื่อสร้างสรรค์สังคมที่ปราศจากการใช้ธนบัตรและเหรียญ หรือ cashless society โดยการเจาะตลาดกลุ่มขนส่งมวลชนที่เป็นเป้าหมายหลักของสมาร์ทเพิร์ส นอกจากร้านอิ่มสะดวกเซเว่น – อีเลฟเว่น ดังนั้นการบรรลุถึงความร่วมมือกับโทลล์เวย์ จึงเป็นการเติมเต็มเป้าหมายการเจาะตลาดกลุ่มธุรกิจขนส่ง ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทมีคู่ค้าอยู่แล้ว 1 ราย คือ เมโทรบัส ”

นาย โกษา พงศ์สุพัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวว่าความร่วมมือระหว่างโทลล์เวย์ และไทยสมาร์ทคาร์ดจะมีการจัดทำโปรโมชั่นร่วมกันในอนาคต สำหรับผู้ใช้ อี-คูปอง ( e-Coupon ) หรือบัตรสมาร์ทเพิร์ส นอกจากการชำระค่าผ่านทางโทลล์เวย์แล้ว ยังจะขยายไปสู่การให้ส่วนลดร่วมกับพันธมิตรต่างๆ ของสมาร์ทเพิร์ส และโปรโมชั่นจากร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น เป็นต้น

ทั้งนี้ ในช่วงระหว่างการศึกษาและทดลองบริการใหม่นี้ ยังเปิดกว้างรับคำแนะนำจากผู้ใช้บริการ ซึ่งสามารถโทรมาที่ Tollway Your way หมายเลข 02 792 6500 หรือ Call Center ของสมาร์ทเพิร์ส หมายเลข 02 677 9999 เพื่อนำข้อมูลไปพิจารณาในขั้นต่อไปว่า เหมาะสมกับการให้บริการผู้ใช้ทางมากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตามโทลล์เวย์มีแนวคิดที่ไม่ปิดกั้น ที่จะศึกษาและทดลองการให้บริการเก็บค่าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบอื่นๆ กับผู้ให้บริการรายอื่นอีก โดยจะให้ความสำคัญกับความพึงพอใจของผู้ใช้ทางเป็นปัจจัยหลัก

View :1411

Related Posts

  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.