Home > Press/Release > ก.ไอซีที ร่วมมือคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ฯ ระดมสมองบริหารจัดการ CCTV หวังลดอาชญากรรม

ก.ไอซีที ร่วมมือคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ฯ ระดมสมองบริหารจัดการ CCTV หวังลดอาชญากรรม

นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังการสัมมนาระดมสมองครั้งที่ ๒ เรื่อง “การบริหารจัดการระบบโทรทัศน์วงจรปิด () เชิงบูรณาการเพื่อป้องกันและลดอาชญากรรม” ว่า สืบเนื่องจากคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร และโทรคมนาคม วุฒิสภา ได้จัดการสัมมนาระดมสมองเรื่อง “โทรทัศน์วงจรปิด () ช่วยลดอาชญากรรมได้อย่างไร” ไปเมื่อปลายปี ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา ซึ่งผลสรุปจากการสัมมนาครั้งดังกล่าวนั้นแสดงให้เห็นโดยชัดเจนว่า มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ในการลดอาชญากรรม อีกทั้งยังสามารถลดการสูญเสียทางสังคมและ เศรษฐกิจได้อีกด้วย ซึ่งการที่ระบบ จะสามารถใช้ประโยชน์ได้จริงนั้นต้องสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายอย่างเป็นระบบ โดยที่ภาคเอกชน ประชาชน และชุมชนจะต้องเห็นความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วมในระบบด้วย รวมทั้งจะต้องมีการกำหนดให้ เป็นเสมือน สาธารณูปโภคชนิดหนึ่ง ที่ภาครัฐต้องทำหน้าที่ลงทุนด้าน infrastructure เพื่อความมั่นคงและปลอดภัย
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีของระบบ CCTV นี้มีการเปลี่ยนแปลงและหมดสภาพในเวลาอันรวดเร็ว จึงไม่เหมาะสมกับระบบจัดซื้อ จัดจ้างของภาครัฐที่มีขั้นตอนและใช้เวลานาน รวมทั้งไม่ควรมีความซ้ำซ้อนในการดำเนินการติดตั้งระบบ CCTV ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมี องค์กรหลักในการบริหารจัดการ CCTV เชิงนโยบาย มีงบประมาณดูแลระบบได้อย่างเป็นเอกเทศ ซึ่งต้องไม่ใช่หน่วยงานภาครัฐ แต่ควรเป็นลักษณะขององค์การมหาชนที่มีกฎหมายรองรับ โดยอาจจะทำในรูปของเทศบัญญัติ กฎกระทรวง หรือ พระราชบัญญัติตามแต่ความเหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อให้ระบบ CCTV ของประเทศโดยรวมมีประสิทธิภาพ
“จากผลสรุปของการสัมมนาระดมสมองครั้งที่ผ่านมา ทำให้คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ฯ ต้องดำเนินการต่อยอดการจัดสัมมนาเกี่ยวกับเรื่อง CCTV อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การบริหารจัดการและการบูรณาการระบบ CCTV เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ดังนั้น กระทรวงไอซีที จึงได้ร่วมกับคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ฯ จัดการสัมมนาเพื่อพิจารณาแนวทาง มาตรการ ตลอดจนแผนการดำเนินงาน และติดตามความคืบหน้าการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้มีการกำหนดเป้าหมายไว้ว่าจะให้ได้ผลการดำเนินงานโดยภาพรวมในเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดสรรงบประมาณ และความฉับไว ทันการณ์ต่อการป้องกัน ปราบปรามอาชญากรรม ตลอดจนลดความสูญเสียทางสังคมและเศรษฐกิจ อันจะส่งผลต่อความสงบสุขของสังคมโดยรวม” นายธานีรัตน์กล่าว
สำหรับการสัมมนาระดมสมองครั้งที่ ๒ เรื่อง “การบริหารจัดการระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) เชิงบูรณาการเพื่อป้องกันและลดอาชญากรรม” นี้ จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนร่วมกันพิจารณาถึงแนวทาง มาตรการ ตลอดจนแผนการดำเนินงานเพื่อเร่งรัดติดตามการดำเนินการบูรณาการระบบ CCTV ของประเทศให้มีความคืบหน้าและบรรลุเป้าหมายตามข้อเสนอแนะของการสัมมนาครั้งที่ ๑ รวมทั้งบรรลุเป้าหมายที่ต้องการให้โครงการติดตั้ง CCTV จำนวน ๒๐,๐๐๐ กล้องของกรุงเทพมหานคร แล้วเสร็จก่อนกำหนดในปี ๒๕๕๕ ซึ่งกระทรวงไอซีที รวมทั้งหน่วยงานในสังกัด คือ บมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคม เป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพในการผลักดันให้ CCTV เกิดขึ้นได้รวดเร็วมากขึ้น เนื่องจากมีปัจจัยเกื้อหนุน ได้แก่ เครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Government Information Network : GIN) ซึ่งมีอุปกรณ์และบุคลากรที่น่าจะดำเนินการได้โดยทันที อันจะช่วยลดความซ้ำซ้อนด้านงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐลงได้
นอกจากนั้นการสัมมนาครั้งที่ ๒ นี้ยังจะมีการระดมสมองเพื่อให้ได้ข้อมูลข้อกำหนดต่างๆ ไปใช้ในการยกร่างกฎหมายรองรับให้ถูกต้อง และเร่งดำเนินการให้สามารถบังคับใช้ได้อย่างรวดเร็ว โดยอาจกำหนดเป็นเทศบัญญัติเรื่องกล้องโทรทัศน์วงจรปิด พร้อมกันนี้ยังจะมีการพิจารณาเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางและมาตรการด้านภาษี เพื่อสร้างแรงจูงใจในกรณีที่จะให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตั้งกล้อง CCTV ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้ได้วางเป้าหมายเชิญผู้เข้าร่วมสัมมนาจากภาคส่วนต่างๆ จำนวน ๓๐๐ คน อาทิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผู้กำกับการสถานีตำรวจในพื้นที่กรุงเทพฯ ผู้แทนกระทรวงไอซีที กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร บมจ.กสทฯ และบมจ.ทีโอที เป็นต้น
“การจัดทำระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ด้วยการติดตั้งกล้อง CCTV นี้ ถือเป็นหนึ่งในโครงการตามนโยบายรัฐมนตรีทางด้านความปลอดภัยสาธารณะ (Public Safety) ที่จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มความสามารถในการป้องกันและลดอาชญากรรม อันเป็นการสร้างความเข้มแข็งของประเทศ และส่งผลต่อความร่มเย็นเป็นสุขของประชาชน อย่างไรก็ตาม การมีระบบ CCTV ของภาครัฐเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้สังคมเกิดความสงบสุขได้ แต่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนร่วมสอดส่องดูแลให้ข้อมูล และร่วมกันติดตั้งระบบ CCTV เพื่อสร้างระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งความร่วมมือร่วมใจเอาใจใส่ต่อสังคมโดยรวมจากผู้ที่เกี่ยวข้องนี้ ถือเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้สังคมพบกับความสงบสุขอย่างยั่งยืน” นายธานีรัตน์ กล่าว

View :1391

Related Posts

  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.