Home > Press/Release > ทิศทางอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลในปี 2554

ทิศทางอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลในปี 2554

ในปี 2554 นี้ เอชพีเชื่อว่า ปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดทิศทางของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลคือ ความต้องการที่จะเอาชนะสิ่งท้าทายสำคัญนานัปการ ซึ่งหากทำสำเร็จจะช่วยบริษัททั่วโลกให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คล่องแคล่วรวดเร็ว และมีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น ซึ่งความท้าทายต่างๆ ได้แก่ การบริหารระบบโครงสร้างองค์กรที่ไม่มีความยืดหยุ่นให้มีความคล่องตัวเพิ่มขึ้น การพัฒนาสถาปัตยกรรมไอทีที่อัดแน่นให้มีความคล่องตัวขึ้น การจัดการปัญหาการขยายตัวอย่างไร้ระเบียบของระบบไอที การบริหารระบบจัดเก็บข้อมูลที่ซับซ้อนให้มีการทำงานที่สะดวกและง่ายดาย และการยกระดับระบบโครงสร้างพื้นฐานของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

เพิ่มความยืดหยุ่นและคล่องตัวให้แก่ระบบโครงสร้างองค์กร
องค์กรที่ต้องการประสบความสำเร็จในปัจจุบันจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับระบบไอที หมายรวมถึงระบบจัดเก็บข้อมูลว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งของโครงสร้างทางไอที มิใช่เป็นเพียงเครื่องมือช่วยจัดเก็บข้อมูลเท่านั้น ทั้งนี้ ทิศทางดังกล่าวได้นำเสนอไว้ในงานวิจัยชิ้นใหม่ที่จัดทำขึ้นในนามของเอชพี โดยระบุว่าผู้บริหารในภาครัฐและเอกชนร้อยละ 76 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (และร้อยละ 85 ทั่วโลก) กล่าวว่า องค์กรที่ต้องการประสบความสำเร็จจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินธุรกิจหรือการให้บริการของภาครัฐ 1

เทคโนโลยีสื่อสารเคลื่อนที่และคลาวด์คอมพิวติ้ง ได้รับการยอมรับและนำมาใช้งานเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีความคาดหวังจากลูกค้าเพิ่มขึ้นว่า องค์กรภาครัฐและธุรกิจจะมีสมรรถนะที่สามารถตอบสนองและให้บริการได้โดยทันที ไม่จำเป็นต้องใช้เวลานานเป็นวันๆ หรือหลายสัปดาห์เหมือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ เพื่อตอกย้ำทิศทางที่ชัดเจนและโดดเด่นดังกล่าว เอชพีจึงประกาศวิสัยทัศน์ Instant-On Enterprise ในเดือนพฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมา โดยนำเสนอแนวคิดสำหรับองค์กรให้นำเทคโนโลยีต่างๆ อาทิ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เซิร์ฟเวอร์ ระบบเครือข่าย และซอฟต์แวร์มาใช้ในการดำเนินงานอย่างเหมาะสมทุกด้าน เพื่อตอบสนองความต้องการแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

หลักการทำงานขององค์กรแบบ Instant-On Enterprise คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงานทุกด้าน ส่งผลให้องค์กรต่างๆ มีแต้มต่อในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ทั้งยังสามารถให้บริการตรงตามความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ทันที และเข้าใจถึงความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ดีขึ้น

พัฒนาสถาปัตยกรรมไอทีที่อัดแน่นให้มีความคล่องตัวขึ้น

ระบบสถาปัตยกรรมไอทีที่ล้าสมัย ไร้ความยืดหยุ่น และอัดแน่นด้วยข้อมูลมากเกินไป ทำให้องค์กรต่างๆ มีปัญหาในการบริหารคลังข้อมูลหลากหลายแห่ง นอกจากนี้ เครื่องเซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และระบบไอทีต่างๆ ที่ติดตั้งกระจายอยู่ตามสายงานต่างๆ จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของไอทีภายในองค์กร

ในปี 2554 ความท้าทายด้านนี้ขององค์กรสามารถแก้ไขได้โดยใช้ระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบผนวกของเอชพี (HP Converged Infrastructure) ซึ่งเป็นการผนวกรวมอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เครื่องเซิร์ฟเวอร์ และระบบเครือข่ายเข้าไว้ด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว ทำให้คลังข้อมูลเหล่านี้เป็นทรัพยากรที่สามารถทำงานร่วมกันได้และมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวทางด้านไอทีเพิ่มขึ้น ทั้งยังมีความรวดเร็วและคล่องตัวในการทำงานมากขึ้น ทำให้สามารถนำไปใช้งานได้มากขึ้นอีกด้วย

ระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบผนวกของเอชพี (HP Converged Infrastructure) คือ ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีความเรียบง่ายในการทำงาน มีการผนวกรวมระบบการทำงานต่างๆ อย่างเป็นเอกภาพ และมีการทำงานแบบอัตโนมัติซึ่งเป็นคุณสมบัติที่โดดเด่นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้ธุรกิจต่างๆ ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น ดังนั้น จึงเร่งระยะเวลาในการสร้างรายได้จากการดำเนินงานโดยใช้ระบบไอทีที่มีประสิทธิภาพ มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวในการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจด้วยระบบบริหารจัดการที่เรียบง่าย และมีความเสี่ยงลดลงเนื่องจากมีระบบสำรองข้อมูลและการกู้ระบบที่มีเสถียรภาพมากขึ้น

มุ่งจัดการปัญหาการขยายตัวอย่างไร้ระเบียบของระบบไอที

การขยายตัวของปริมาณข้อมูลในอัตราที่แพร่กระจายและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิดปัญหาการล้นทะลักของข้อมูลตามมา ทำให้องค์กรต่างๆ ต้องเผชิญกับความท้าทายว่าจะจัดเก็บและจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิผลและคุ้มค่าได้อย่างไร โดยที่ยังคงสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเสถียรภาพสูงสุดเช่นเดิม

ดังนั้น ในปี 2554 องค์กรต่างๆ จึงควรให้ความสำคัญกับการจัดการความซ้ำซ้อนของข้อมูล ซึ่งจะช่วยควบคุมปัญหาการขยายตัวอย่างไร้ระเบียบของข้อมูล (data sprawl) ช่วยให้เกิดความต้องการระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีสมรรถนะเพิ่มขึ้น การกำจัดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนจะทำให้ระบบจัดเก็บข้อมูลมีสมรรถนะในการจัดเก็บ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้องค์กรต่างๆ สามารถจัดเก็บข้อมูลสำคัญๆ ได้มากขึ้น และมีค่าใช้จ่ายลดลงไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนทิศทางการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าว เอชพีจึงพัฒนาซอฟต์แวร์กำจัดข้อมูลซ้ำซ้อน HP StoreOnce data deduplication software ที่ได้รับการออกแบบให้ทำงานบนสถาปัตยกรรมแบบเดี่ยวแต่มีสมรรถนะสูงและดี เยี่ยม สามารถขจัดความซ้ำซ้อนของข้อมูลภายในองค์กร ทั้งยังทำให้การบริหารจัดการข้อมูลมีความง่ายดาย และปกป้องข้อมูลได้อย่างดีเยี่ยม โดยสามารถรันระบบสำรองข้อมูล (backup) ได้พร้อมๆ กันหลายที่ และทำสำเนาข้อมูลได้ทุกที่ทั้งจากสำนักงานย่อยที่ตั้งอยู่ห่างไกลจนถึงศูนย์ ข้อมูลที่ตั้งอยู่ในส่วนกลาง

บริหารระบบจัดเก็บข้อมูลที่ซับซ้อนให้มีการทำงานที่สะดวกและง่ายดาย

ปัจจุบัน องค์กรต่างๆ ประสบปัญหาด้านระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ไม่สามารถปรับขยายหรือลดให้ตรงตามความต้องการ และมีการใช้ทรัพยากรอย่างไม่คุ้มค่า องค์กรหลายแห่งต้องนำงบประมาณไอทีมาใช้ในการบริหารจัดการระบบโครงสร้างพื้น ฐานการจัดเก็บข้อมูลที่ล้าสมัยและมีขนาดเทอะทะ ทั้งยังทำให้เกิดความซับซ้อนในการดำเนินงานเป็นระยะเวลานาน

สำหรับองค์กรที่ต้องการพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลให้ทำงานง่ายและคล่องตัว จำเป็นต้องใช้ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบเสมือน (storage virtualization) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานทั่วทั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านฮาร์ดแวร์ไอทีทั้งหมด โดยสามารถกำหนดหรือปรับเปลี่ยนสมรรถนะการทำงานอย่างรวดเร็วและทันทีเพื่อสนับสนุนแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจหลากหลายประเภท ส่งผลให้ลูกค้าสามารถบริหารและดำเนินการเปลี่ยนแปลงต่างๆ แบบเรียลไทม์

เพื่อให้ธุรกิจต่างๆ ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีเสมือนหรือเวอร์ช่วลไลเซชั่นมากที่สุด เอชพีจึงเปิดตัวโซลูชั่น P4000 ซึ่งสนับสนุนธุรกิจต่างๆ ให้นำทรัพยากรการจัดเก็บข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าสูงสุด โดยมีสมรรถนะในการใช้งานเพิ่มขึ้น และมีแอพพลิเคชั่นแบบเสมือนหรือเวอร์ช่วลเพื่อรองรับการจัดเก็บข้อมูลที่มีความพร้อมในการใช้งานสูง

ยกระดับระบบโครงสร้างพื้นฐานของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า

ระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ดีจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นและมีเสถียรภาพทั้งทางด้านการจัดเก็บและการเข้าถึงข้อมูล ระบบโครงสร้างพื้นฐานการจัดเก็บข้อมูลที่ล้าสมัยเป็นระบบที่ขาดความคล่องตัว มีการใช้ทรัพยากรอย่างไม่คุ้มค่า และไม่มีความคุ้มทุน องค์กรต่างๆ จึงจำเป็นต้องมองหาแนวทางการจัดเก็บข้อมูลใหม่ๆ ที่สามารถจัดการสิ่งท้าทายต่างๆ ได้อย่างดีเยี่ยม และตอบสนองความต้องการในการจัดเก็บข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

เทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง คือ หนึ่งในทิศทางไอทียอดนิยมสูงสุดตลอดปี 2553 และยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2554 สำหรับการจัดเก็บข้อมูล เทคโนโลยีคลาวด์ได้ถูกนำมาใช้พัฒนาโซลูชั่นจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพซึ่งทำให้องค์กรต่างๆ ไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลอีกต่อไป จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน นอกจากนี้ ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบคลาวด์ยังมีความยืดหยุ่นสูง และสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ใช้ร่วมกันได้จากทุกที่ ส่งผลให้องค์กรต่างๆ มีการดำเนินงานที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง

เอชพีพัฒนาโซลูชั่นจัดเก็บข้อมูล HP 3PAR utility storage system ใหม่ มุ่งเน้นให้องค์กรต่างๆ ที่ต้องการเพิ่มแต้มต่อในการแข่งขันโดยนำเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งมาใช้ สนับสนุนระบบการจัดเก็บข้อมูลของตน ทั้งนี้ HP 3PAR utility storage system คือ ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบเสมือนหรือเวอร์ช่วลที่สนับสนุนระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง ทั้งแบบสาธารณะและแบบส่วนตัว ทั้งยังเป็นแพลทฟอร์มจัดเก็บข้อมูลเดียวที่มาพร้อมกับฟีทเจอร์อันโดดเด่นของ เทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง ซึ่งได้แก่ สามารถใช้งานร่วมกันหลายราย (multi-tenancy) มีการทำงานแบบอัตโนมัติ และมีการทำงานแบบเสมือนหรือเวอร์ช่วล ซึ่งฟีทเจอร์เหล่านี้ไม่มีในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบเดิม

ปัจจุบัน โซลูชั่นจัดเก็บข้อมูล HP 3PAR utility storage system ช่วยองค์กรต่างๆ กว่า 6,000 รายให้สามารถรันแอพพลิเคชั่นของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังเร่งการปรับเปลี่ยนสู่ระบบคลาวด์คอมพิวติ้งทั้งแบบสาธารณะและแบบส่วนตัวได้อย่างรวดเร็ว และสนับสนุนการให้บริการไอที (IT–as-a-Service) ให้มีประสิทธิภาพและแพร่หลายยิ่งขึ้น

View :1500

Related Posts

  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.