Home > Press/Release > กระทรวงไอซีทีประกาศผลงานวิจัยไอซีทีดีเด่นประจำปี

กระทรวงไอซีทีประกาศผลงานวิจัยไอซีทีดีเด่นประจำปี

กระทรวงไอซีทีเผยยุทธศาสตร์ด้านงานวิจัย มุ่งพัฒนาบุคลากร และยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันด้านไอซีที พร้อมประกาศผลงานวิจัยดีเด่นประจำปี 2553  ประเภทฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เนคเทคคว้ารางวัลชนะเลิศทั้งประเภทฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
 
          ตามที่สำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและการสื่อสาร    กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ดำเนินการกิจกรรมส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรม ICT ไทย ระยะที่ ๒ หรือ โครงการ “ICT Award ๒๐๑๐” ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 โดยกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์การยกระดับขีดความสามารถด้านการแข่งขันของอุตสาหกรรม ICT โดยมุ่งรวบรวมข้อมูลผลงานวิจัยที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อประเทศ อันสามารถนำไปพัฒนาหรือต่อยอดเชิงพาณิชย์ต่อไป
 
นายวรพัฒน์ ทิวถนอม กล่าวถึง “โครงการ “ICT Award ๒๐๑๐” ว่า “เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ส่งเสริม
งานวิจัยด้านการพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพอันก่อให้เกิดผลงานวิจัยที่สร้างสรรค์ และต่อเนื่องไปสู่การสร้างรายได้และเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากกิจกรรมการประกวดแล้ว กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับหน่วยงานภาคี อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงแรงงาน เป็นต้น ดำเนินกิจกรรมการฝึกอบรมทักษะ การศึกษาดูงาน การฝึกงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยี การสนับสนุนชุมชนเครือข่าย เช่น Open Source Embedded Software เพื่อพัฒนากำลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปด้านการสร้างสรรค์ และผลิตงานอย่างมีวิจารณญาณ”
 
“ด้านการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ICT เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ โดยสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างงานวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมภายในประเทศจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษาและภาคเอกชน ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกิดจากงานวิจัยสู่ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งซอฟต์แวร์และดิจิตอลคอนเทนต์ การสนับสนุนประกอบด้วยการสนับสนุนด้านเงินทุน เงินช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ เช่น เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ การจัดให้มี R & D Matching ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลงานด้านภาคการผลิตและบริการที่ประเทศไทยมีศักยภาพ การส่งเสริมธุรกิจด้าน Open Source ในภาคการศึกษาและภาครัฐ ยุทธศาสตร์ดังกล่าวข้างต้นมุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจบนพื้นฐานองค์ความรู้ เพื่อการยกระดับขีดความสามารถด้านการแข่งขันและเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน” นายวรพัฒน์ กล่าวเพิ่มเติม
                     
 
 
            นายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ ผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวถึงกระบวนการคัดเลือกผลงานวิจัยว่า “กระบวนการคัดเลือกผลงานแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่
 
-          ขั้นตอนที่ ๑  เป็นการประชาสัมพันธ์เชิญชวนร่วมส่งผลงานวิจัยและรวบรวมผลงานวิจัย ซึ่งแบ่งงานวิจัยออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ โดยสามารถรวบรวมผลงานวิจัย จำนวน ๒๐๒ ผลงาน
 
-                    ขั้นตอนที่ ๒ การคัดเลือกผลงานวิจัย โดยคณะกรรมการประเมินผลงานวิจัย ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้าน  ICT จากภาคการศึกษา ภาครัฐ และเอกชน โดยได้กลั่นกรองผลงานวิจัยเข้าสู่รอบสุดท้าย จำนวน ๒๐ ผลงาน
 
-          ขั้นตอนที่ ๓ การนำเสนอผลงานและการประกาศผล โดยนักวิจัยที่เข้าสู่รอบสุดท้ายจะต้องนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการประเมินผลงานวิจัย
 
สำหรับรางวัลผลงานดีเด่น แบ่งออกเป็น
 
รางวัลที่ 1 เงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จำนวน 2 รางวัล ประเภทฮาร์ดแวร์ 1 รางวัล
และประเภทซอฟต์แวร์ 1 รางวัล
 
รางวัลที่ 2 เงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จำนวน 2 รางวัล ประเภทฮาร์ดแวร์ 1 รางวัลและประเภทซอฟต์แวร์ 1 รางวัล
 
          รางวัลที่ 3 เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จำนวน 2 รางวัล ประเภทฮาร์ดแวร์ 1 รางวัลและประเภทซอฟต์แวร์ 1 รางวัล
 
          รางวัลชมเชย ประเภทฮาร์ดแวร์และประเภทซอฟต์แวร์ จะได้รับเกียรติบัตร  
ผลการประกวดโครงการ “ICT Award ๒๐๑๐” ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ประเภทฮาร์ดแวร์
          รางวัลที่ 1 ผลงานชื่อ เครื่องตรวจบัตรเครดิตด้วยหลักการประมวลผลภาพหลายความยาวคลื่น    โดย ดร. ศรัณย์  สัมฤทธิ์เดชขจรและนายยุทธนา  อินทรวันณี  ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ                           
 
รางวัลที่ 2 ผลงานชื่อ  Development of Compact Microstrip Antennas Using
Metamaterials โดย ผศ.ดร. นันทกานต์  วงศ์เกษมและคณะ  คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 
 
 
 
 
รางวัลที่ 3 มี 2 รางวัล ได้แก่ ผลงานชื่อ  โครงการการออกแบบและพัฒนาสายอากาศ  Radio
Frequency Identification (RFID) สำหรับระบบการลงทะเบียนสัตว์ โดย รศ.ดร. ดนัย  ต. รุ่งเรืองและคณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเอเซียน
 
รางวัลที่ 3 อีกหนึ่งผลงาน ได้แก่  การสร้างสัญญาณอลวนด้วยแบบจำลองอนุพันธ์ของความเร่งที่มี
อันดับชนิดแยกลำดับส่วน โดยใช้ความไม่เป็นเชิงเส้นของ ไฮเพอร์โบลิกแทนเจนต์  โดย รศ.ดร.บรรลือ  ศรีสุชินวงศ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 
รางวัลชมเชย มี 3 รางวัล ได้แก่
 
ผลงานชื่อ การออกแบบเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าแบบไร้สายและพัฒนาอัลกอริทึมสำหรับวิเคราะห์เพื่อวางแผนการใช้กระแสไฟฟ้าภายในอาคารและบริเวณอาคาร โดย ดร. จักรกฤษณ์  เสน่ห์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
 
ผลงานชื่อ ระบบส่งและรับคลื่นแบบอะเรย์แปดสมาชิกผลัดกันทำงานด้วยสวิตซ์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการสร้างภาพด้วยคลื่นไมโครเวฟ โดย รศ. อนุพงศ์ สรงประภา ห้องปฎิบัติการวิจัย ไมโครเวฟประยุกต์ ภาควิชาฟิสิกส์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
 
ผลงานชื่อ การพัฒนาระบบโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต(VoIP) บนพื้นฐานของโพรโทคอลเริ่มต้น เซสซัน โดย รศ. ดร. วาทิต  เบญจพลกุล  ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
ประเภทซอฟต์แวร์
 
รางวัลที่ 1 ผลงานชื่อ ซอฟต์แวร์ช่วยวางแผนการผ่าตัดรากฟันเทียม นำทีมโดย ดร. เสาวภาคย์    ธงวิจิตรมณี หน่วยปฎิบัติการวิจัยเทคโนโลยีภาค ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
 
รางวัลที่ 2 ผลงานชื่อ ซอฟต์แวร์ Web Application ระบบบริหารจัดการงานบำรุงรักษาเครื่องจักรแบบทวีผลสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม โดย ทีมงานนักวิจัย บริษัท เอ็กซ์ตร้า โซลูชั่น เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
 
รางวัลที่ 3 ผลงานชื่อ ระบบจัดการข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้เสียงพูดบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ (VAPO) พัฒนาโดย นายธนพล นรเสฏฐ์และคณะ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล
 
รางวัลชมเชย มี 6 รางวัล ได้แก่
 
ผลงานชื่อ อับดุล เพื่อนคุยที่รู้ใจ โดย หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา  ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
 
ผลงานชื่อ Building a Large Scalable Internet Superserver for Academic Services with Linux Cluster Technology โดย ผศ. ดร. ภุชงค์  อุทโยภาศ  รศ.สุรศักดิ์  สงวนพงษ์  และรศ. ยืน  ภู่วรวรรณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
ผลงานชื่อ การสกัดความรู้กรรมวิธีจากเอกสารภาษาไทยเพื่อการแก้ไขปัญหา โดย ผศ.ดร.ฉวีวรรณ  เพ็ชรศิริและทีมงาน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
 
ผลงานชื่อ ซอฟต์แวร์ช่วยวัดอุณหภูมิร่วมกับอินฟาเรด โดย ดร.ศรัณย์  สัมฤทธิ์เดชขจร และนายโกษม ไชยถาวร ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
 
ผลงานชื่อ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับตรวจจับเปลวไฟด้วยกล้องวงจรปิด โดย นายมิติ        รุจานุรักษ์ และนายประพิน แสงเงิน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับบริษัท พิโคเทคโนโลยีเวิลด์ จำกัด
 
ผลงานชื่อ อไลน์แบร็กเก็ต 3D พัฒนาโดยทีมงานวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีทางทันตกรรมขั้นสูง (สวทช)
 

View :1554

Related Posts

  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.