Home > Press/Release > ก . ไอซีที ร่วมนำร่อง โครงการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของทางราชการ

ก . ไอซีที ร่วมนำร่อง โครงการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของทางราชการ

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิด เผยภายหลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบใน กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของทางราชการ ระหว่างนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานภาครัฐนำร่อง ว่า กระทรวงฯ ได้ตอบรับเข้าร่วมโครงการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบในกระบวนการจัดซื้อ จัดจ้างของทางราชการ ที่จัดทำขึ้นตามข้อเสนอของสำนักงาน ก.พ.ร. โดยสำนักงาน ก.พ.ร.ได้เชิญชวนหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมเป็นหน่วยงานนำร่องตามความสมัครใจ ซึ่งมีหน่วยงานที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 18 ส่วนราชการ และ 1 รัฐวิสาหกิจ

“กระทรวง ไอซีที ได้เล็งเห็นความสำคัญของโครงการดังกล่าว ที่จัดทำขึ้นเพื่อเสริมสร้างบทบาทความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาค เอกชนในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของทาง ราชการ และเพื่อสร้างความโปร่งใสในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของทางราชการ รวมทั้งเสริมสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนในการบริหารราชการแผ่นดิน ให้ดีขึ้น จึงได้สมัครใจเข้าร่วมเป็นหน่วยงานภาครัฐนำร่องด้วย โดยได้คัดเลือกโครงการจัดซื้อจัดจ้างที่มีความสำคัญและมีมูลค่าสูงจากทั้ง ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดเข้าร่วมโครงการป้องกันการทุจริตประพฤติมิ ชอบฯ นี้

ซึ่ง โครงการที่กระทรวงฯ นำมาเข้าร่วม คือ โครงการจัดซื้อครุภัณฑ์และวัสดุสำนักงานโครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เพื่อพ่อหลวงจำนวน 1,000 ศูนย์ และโครงการติดตั้งและพัฒนาหอเตือนภัย สถานีทวนสัญญาและหน่วยงานรับข่าวในพื้นที่เสี่ยงภัย อุทกภัย และดินถล่ม ของสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โครงการจัดหาครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในรายการของเครื่องมือตรวจอากาศชั้นบน 3 ชุด ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ของกรมอุตุนิยมวิทยา และโครงการจัดซื้อเครื่องมือทดสอบ Metro Net ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม และทั้ง 4 โครงการนี้มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 612,538,150 บาท” นายจุติ กล่าว

สำหรับ หน่วยงานภาครัฐนำร่องที่เข้าร่วมโครงการฯ นี้ ต้องดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ คือ 1.ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบในกระบวน การจัดซื้อจัดจ้างของทางราชการ ระหว่างนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานภาครัฐนำร่อง 2.เชิญชวนภาคเอกชนผู้สนใจเสนอราคาหรือเสนองานเข้าร่วมโครงการฯ 3.ปฏิบัติการตามเงื่อนไขข้อตกลงเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ได้แก่ ประกาศนโยบายองค์การในการกับดูแลตนเองที่ดีเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริต ประพฤติมิชอบ การวางข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติ ประมวลจริยธรรมการป้องกันและจัดการความเสี่ยงต่อการทุจริตประพฤติมิชอบ การฝึกอบรมและให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และการวางระบบควบคุมและตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และ 4.จัดทำรายงานประเมินผลหน่วยงานประจำปีเกี่ยวกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขของ ข้อตกลงดังกล่าวเพื่อเปิดเผยต่อสาธารณะ

“เมื่อ สิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการในเดือนธันวาคม 2554 แล้ว จะมีการสรุปปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ รวมทั้งข้อเสนอแนะจากหน่วยงานนำร่องและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลสำหรับการขยายผลโครงการฯ นอกจากนี้หน่วยงานภาครัฐนำร่องและภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ ที่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ก็จะได้รับประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติจากนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงการเป็นหน่วยงานที่สามารถยกระดับความโปร่ง ใส และนำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งความซื่อตรงได้อีกด้วย” นายจุติ กล่าว

View :1626

Related Posts

Categories: Press/Release Tags:
  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.