Home > Press/Release > ทรู ยื่นเอกสารต่อกระทรวงพาณิชย์

ทรู ยื่นเอกสารต่อกระทรวงพาณิชย์

สรุปประเด็นจากรายงานผลการพิจารณาของ คณะกรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร วันที่ 21 เมษายน 2554 

รายงานผลการพิจารณา เรื่องร้องเรียน กรณีปัญหาการถือหุ้น การครอบงำกิจการและการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยคนต่างด้าวที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมของคณะกรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร   ประกาศ ณ วันที่ 21 เมษายน 2554   พบว่าบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (ดีแทค) เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย ปัจจุบันประกอบธุรกิจให้บริการโทรคมนาคมแก่บุคคลทั่วไป แต่จากการตรวจสอบพบว่ามีคนไทยเป็นผู้ถือหุ้นคิดเป็นร้อยละ 28.65 ผู้ถือหุ้นต่างด้าวคิดเป็นร้อยละ 71.35 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากกว่าคนไทยที่ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าว  จึงน่าเชื่อได้ว่าบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส
คอมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (ดีแทค)  เป็น “คนต่างด้าว”

โดยมีรายละเอียดสรุปดังต่อไปนี้

1.       มีผู้ถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (“ดีแทค”)
ที่ถือโดยนิติบุคคลเป็นลำดับชั้น และเป็นการประกอบกิจการที่มีคนต่างด้าวถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 49 ตามที่พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวฯ อนุญาต

2.       นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมของดีแทค ยังได้จดทะเบียนและมีสำนักงานอยู่ที่เดียวกัน
ย่อมแสดงให้เห็นว่าเป็นหนทางหนึ่งที่จะหลีกเลี่ยงกฎหมาย และเป็นการอำพรางสถานะที่แท้จริงของ
นิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้น หรือมีการแอบแฝงเพื่อเข้ามามีสิทธิ์เกินสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด

3.       จากข้อมูลมีการจ่ายเงินปันผล แต่ละลำดับชั้น ตรวจพบความผิดปกติ เช่น ผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยจะได้รับเงินปันผลเป็นสัดส่วนน้อยกว่าผู้ถือหุ้นต่างด้าวมาก เป็นต้น เป็นข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นถึงการครอบงำการบริหารกิจการของดีแทค

4.       มีการจ่ายเงินปันผลที่มีจำนวนมากกว่าทุนชำระของบริษัทที่เป็นผู้ถือหุ้นที่จดทะเบียนในประเทศไทย และกลุ่มบริษัทย่อย โดยมิได้คิดลดจำนวนเงินกู้ของกลุ่มลง แสดงให้เห็นว่ามติของกรรมการมีความผิดปกติ เชื่อได้ว่าเงินกู้ที่อ้างว่าได้รับจากนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย เพื่อเป็นเงินทุนเพิ่มเติมที่มาจากการหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นที่จดทะเบียนในประเทศไทยกับบริษัทย่อยจากไทยเป็นอื่น

5.       การกู้เงินมาลงทุนมากกว่าทุนจดทะเบียนของแต่ละบริษัทหลายร้อยเท่า โดยมีเงื่อนไขว่าเป็นเงินกู้แบบชำระคืนเมื่อทวงถาม (Call loan) และปลอดดอกเบี้ยนั้น เสมือนว่าผู้ให้กู้ยืมเงินเป็นบริษัทแม่และเชื่อได้ว่าเป็นหุ่นเชิด

6.       จากรายงานนี้ เงินปันผลที่ผู้ตรวจสอบบัญชีของหนึ่งในนิติบุคคลผู้ถือหุ้นในดีแทค ที่จดทะเบียนในประเทศไทย ได้ชี้แจงว่าได้รับการยกเว้นภาษีไม่ต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น เป็นเงินปันผลที่ได้รับยกเว้นนั้นขัดกับหลักของกฎหมายประมวลรัษฎากร

7.       การที่ดีแทค ได้กระจายการถือหุ้นออกเป็นลำดับชั้น ทั้งให้บุคคลธรรมดาถือ และถือผ่านนิติบุคคลหลายชั้น เป็นการหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวฯ ที่กำหนดสัดส่วนการถือหุ้นต่างด้าวให้ไม่เกินร้อยละ 49  เท่านั้น

8.       จากความเห็นของคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร และหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ได้สรุปว่าการพิจารณาว่าบุคคลหรือนิติบุคคลใดเป็นต่างด้าว จะต้องพิจารณาจากทุนหรือแหล่งเงินทุนของบุคคลหรือนิติบุคคลนั้นด้วย โดยในส่วนของดีแทค จากข้อมูลลำดับชั้นการถือหุ้น และงบการเงินของแต่ละนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นแต่ละลำดับชั้น ปรากฏข้อเท็จจริงเชื่อว่ามีการส่งเงินลงทุนทั้งหมดมาจากบริษัทที่เป็นต่างด้าว โดยมีบุคคลไทยให้ความช่วยเหลือสนับสนุนการกระทำความผิด

View :1634

Related Posts

Categories: Press/Release Tags: ,
  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.