Home > Press/Release, Software > ซิป้า ย้ำเร่งหาแหล่งเงินทุน และสนับสนุนความสามารถของเด็กไทย เพื่อพัฒนาวงการซอฟต์แวร์

ซิป้า ย้ำเร่งหาแหล่งเงินทุน และสนับสนุนความสามารถของเด็กไทย เพื่อพัฒนาวงการซอฟต์แวร์

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ จัดงานพบปะพูดคุยกับสื่อมวลชนในบรรยากาศเป็นกันเองในงาน “จิบน้ำชายามบ่ายกับ ดร.ศุภชัย ครั้งที่ 2” เมื่อวันอังคารที่ 21 มิถุนายนที่ผ่านมา ณ โรงแรม เรอเนซองส์ ราชประสงค์ โดยมี ดร.ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์ ประธานกรรมการบริหารซิป้า เป็นผู้ให้รายละเอียดโครงการและตอบข้อซักถามของสื่อมวลชน

สำหรับโครงการแรก ดร.ศุภชัยฯ ได้กล่าวถึงโครงการ “SME สินเชื่อเพื่อกิจการซอฟต์แวร์ไทย” ว่า “ซิป้าได้เล็งเห็นถึงปัญหาของการพัฒนาวงการซอฟต์แวร์ไทยว่ามีอยู่หลายปัจจัย และหนึ่งในนั้นคือปัญหาเรื่องแหล่งเงินทุน ซิป้าจึงได้ร่วมมือกับ จัดโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการซอฟต์แวร์หรือดิจิทัลคอนเทนท์ให้สามารถขอกู้เงินได้ง่ายขึ้น โดย

ซิป้าจะเป็นผู้กลั่นกรองความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค และการตลาดในขั้นต้นเพื่อทำให้ธนาคารมีความมั่นใจและปล่อยกู้ได้ง่ายขึ้น” โดยมี นายยิ่งยง อธิศิริกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารเงิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME Bank) ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า “โครงการนี้เป็นการปล่อยสินเชื่อรายย่อยวงเงินไม่เกิน 5 แสนบาทโดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ในการค้ำประกัน มีระยะเวลา (Term Loan) สูงสุดไม่เกิน 7 ปี ในอัตราดอกเบี้ยที่ MLR+1 หรือ MLR ต่อปีเมื่อผู้ขอกู้ผ่านการอบรมในโครงการต่างๆของซิป้า” สำหรับโครงการนี้ซิป้าชื่อว่าจะเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการรายย่อยได้ขยายธุรกิจของตนเองให้เติบโตขึ้น

โครงการที่สอง ดร.ศุภชัยฯ ได้กล่าวถึงการแข่งขัน “” (Association Computing Machinery – International Collegiate Programming Contest) ซึ่งเป็นการแข่งขันเขียนโปรแกรมที่มีชื่อเสียงและใหญ่ที่สุด โดยมีผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 88 ประเทศ ซึ่งการแข่งขั้นนี้จะจัดแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ Local Contest, Regional Contest และ World Contest ซึ่งในระดับ World Contest นี้ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขัน นายวีระกิจ โล่ทองเพชร ผู้จัดการพัฒนาธุรกิจ บริษัท IBM ประเทศไทย จำกัด ผู้ร่วมสนับสนุน กล่าวเพิ่มเติมว่า รูปแบบการแข่งขันจะเป็นแบบ “Battle of the Brains” ซึ่งใน 1 ทีมจะประกอบไปด้วยผู้เข้าแข่งขันจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน 3 คน เขียนโปรแกรมเพื่อแก้ไขโจทย์ปัญหาภายในเวลา 5 ชั่วโมงโดยใช้ Computer 1 เครื่อง ทีมที่แก้โจทย์ปัญหาได้เยอะที่สุดจะเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน

สุดท้าย ดร.ศุภชัยฯ ยังพูดถึงโครงการอื่นๆที่เน้นการเตรียมความพร้อมให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์รุ่นใหม่เพื่อก้าวสู่วงซอฟต์แวร์ เช่น โครงการ e-Learning และ โครงการ Open House Young Talent ส่วนรายละเอียดของทั้ง 2 โครงการนั้นสามารถติดตามได้ในงาน จิบน้ำชายามบ่าย ในครั้งต่อไป

View :1652

Related Posts

  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.