Home > Internet > อึ้ง! วิจัยภัยไซเบอร์เผยชายเสี่ยง-ล่อแหลม มากกว่าหญิง

อึ้ง! วิจัยภัยไซเบอร์เผยชายเสี่ยง-ล่อแหลม มากกว่าหญิง

ปัญญาสมาพันธ์ฯ เผยวิจัยภัยไซเบอร์ ช็อคผู้ชายถูกกระทำ 62% หญิง 38% ไม่รู้ว่าร้องเรียนที่ไหน 51.1% และ ไม่ทราบมาก่อนว่าพ.ร.บ.คอมฯ 35% ขณะที่ ยอดคดีอาชญากรรมคอมพิเตอร์พุ่ง 191 คดี…  
 
ปัญญาสมาพันธ์เพื่อการวิจัยความเห็นสาธารณะแห่งประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) จัดเสวนาพิเศษหัวข้อ “รู้เท่าทันกฎหมาย ชนะภัยไซเบอร์” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยชิ้นล่าสุดเรื่อง ภัยไซเบอร์:การรับรู้ และความเข้าใจของประชาชน เกี่ยวกับกฎหมาย และหน่วยงานที่รับผิดชอบ และนำข้อมูลที่ได้ไปเป็นแนวทางให้แก่ภาครัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตให้แก่ประชาชนได้ดียิ่งขึ้น โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ พ.ต.อ. สมพร แดงดี ผู้กำกับการ 3 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. นายวันฉัตร ผดุงรัตน์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์พันธิปดอทคอม (pantip.com) และนางสาวเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ คณะกรรมการบริหารนโยบายปัญญาสมาพันธ์เพื่อการวิจัยความเห็นสาธารณะแห่งประเทศไทย โดยมี นางสาวฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ
 
ทั้งนี้  กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 2 พัน คน ที่เคยใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน โดยใช้แบบสอบถามที่แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ 1.ข้อมูลทางด้านประชากรศาสตร์ 2.พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต 3.การรับรู้เกี่ยวกับกฎหมาย หน่วยงานที่รับผิดชอบและผลงานด้านการดูแลภัยทางไซเบอร์ และ 4.ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบและผลงานทางด้านการดูแลภัยทางไซเบอร์ โดยมุ่งศึกษาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต
 
นางสาวเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ คณะกรรมการบริหารนโยบายปัญญาสมาพันธ์เพื่อการวิจัยความเห็นสาธารณะแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากข้อมูลคดีอาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ตของประเทศไทยตั้งแต่เดือนก.ค.2550 ถึง เดือนก.ค.2553 พบว่ามีการดำเนินคดีตามกฎหมาย 185 คดีที่ขึ้นสู่ชั้นศาล จากการสำรวจกลุ่ม ตัวอย่างพบว่า ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนนักศึกษาที่มีอายุระหว่าง15-25 ปี  มีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตทุกวัน วันละประมาณ 1-2ชม. ใช้ที่บ้านมากที่สุด โดยพบว่าผู้ถูกกระทำเป็นผู้ชาย 62% ผู้หญิง 38% ขณะที่ พบว่า หากโดนกระทำผิดทางอินเทอร์เน็ตสามารถเรียกร้องเรียนได้ ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หรือ พ.ร.บ.คอมฯ 2550  แต่ไม่รู้ว่าร้องเรียนที่ไหน 51.1% รองลงมาไม่เคยทราบมาก่อนว่าร้องเรียนได้ 34% นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มตัวอย่าง 35% ไม่ทราบมาก่อนว่ามีกฎหมายนี้ แต่ไม่เคยอ่าน กว่า35.9% และเคยอ่านแต่ไม่เข้าใจในบางประเด็น 22%
 
พ.ต.อ. สมพร แดงดี ผู้กำกับการ 3 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. กล่าวว่า ในจำนวนเรื่องที่ร้องเรียนพบว่ามีเพียงบางเรื่องที่ผิดทางอาญา แต่เรื่องที่รับไว้ เสร็จสิ้นไปไม่ถึง 100 เรื่อง จาก 191 เรื่อง โดยปอท. ทำเอง 70 เรื่อง จบไปแล้ว 50 กว่าเรื่อง เพราะบางเรื่องถูกส่งไปยังพื้นที่ ส่วนตจว.ยังไม่ได้รับการตอบกลับ ขณะที่ มีเรื่องที่อยู่ในมือไม่ถึง 10 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นโทษปรับมากกว่าจำคุก ทั้งนี้ ความผิดบางเรื่อง พ.ร.บ.คอมฯ 2550 ยังไม่สามารถดำเนินคดีได้ ขณะที่บางเรื่องอยู่ระหว่างพิจารณา บางเรื่องที่น่าสนใจ คือ การสร้างตัวตนแอบอ้างบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก สำหรับ ระยะเวลาการพิจารณาคดีต่างๆ  ขึ้นอยู่กับหลักฐาน ส่วนเรื่องที่เกิดขึ้นจากเฟซบุ๊กนั้นต้องใช้เวลาเพราะเป็นเรื่องที่ต้องติดต่อระหว่างประเทศ 
 
นายวันฉัตร ผดุงรัตน์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์พันธิปดอทคอม กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่า พ.ร.บ.คอมฯ ยังมีความไม่สมบูรณ์ในบางเรื่อง ขณะที่ อินเทอร์เน็ตเข้ามาสร้างประโยชน์ และโทษ นอกจากนี้ ยังฝากถึงผู้ที่เข้าร่างพ.ร.บ.คอมฯ ว่าให้ดูความสมดุล เรื่องเสรีภาพ และอาชญากรรม
 
โดย @kanokrat_k นักข่าวไอที ไทยรัฐ ออนไลน์

ฉบับเต็มอ่านที่ http://www.thairath.co.th/content/tech/185815
 

View :3051

Related Posts

  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.