Home > Internet, Press/Release > ก.ไอซีที แนะวิธีหลีกเลี่ยงภัยจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ในลักษณะ Impersonation

ก.ไอซีที แนะวิธีหลีกเลี่ยงภัยจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ในลักษณะ Impersonation

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะรองประธานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เปิดเผยว่า การเกิดขึ้นของสังคมเครือข่าย () เช่น facebook, hi5, twitter ได้ทำให้เกิดช่องทางการสื่อสารรูปแบบใหม่ๆ ในลักษณะของการ “บอกต่อ” หรือ “ปากต่อปาก” ที่สามารถสร้างปรากฏการณ์ต่างๆ ให้เกิดขึ้นในสังคม รวมทั้งได้ ทำให้อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในการกำหนด และปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนไทยทั้งที่เป็นผู้รับสารรวมถึงผู้บริโภคมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม นอกจากการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายสังคมออนไลน์แล้ว ยังมีผู้ไม่ประสงค์ดีที่ใช้ไปในทางไม่เหมาะสม เช่น การเผยแพร่ข้อมูล เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของบุคคล สถาบัน หรือก่อความไม่สงบ โดยปัจจุบันมีภัยจากเครือข่ายสังคมออนไลน์รูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า หมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นจากการที่มิจฉาชีพสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ปลอมเพื่อหลอกลวงให้ผู้อื่นเชื่อว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์ดังกล่าวเป็นของผู้นั้นจริง โดยผู้ที่ทำการลอกเลียนแบบเครือข่ายสังคมออนไลน์นั้น จะพยายามสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ให้มีรูปลักษณ์คล้ายกับของผู้ที่ถูกทำ ส่งผลให้ผู้ใช้บริการคนอื่นเข้าใจผิดว่าสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำของผู้ที่ถูกทำฯ ซึ่งอาจส่งกระทบในทางลบทั้งในโลกออนไลน์และในชีวิตประจำวัน

ดังนั้น เมื่อประสบภัย Impersonation วิธีการปฏิบัติ คือ หากเป็นผู้ที่ถูกกระทำ Impersonation ใน twitter ที่จะมีคนติดตาม หรือ Follow ซึ่งระบบนี้จะมีกล่องข้อความแจ้งชื่อผู้ติดตามให้ทราบ โดยผู้ที่ถูกกระทำไม่ควรยกเลิกการแสดงข้อความดังกล่าว เพราะจะเป็นหลักฐานว่ามีใครบ้างที่ติดตามเรา ซึ่งปกติแล้วผู้ที่กระทำ Impersonation จะทำการติดตามผู้ที่ถูกกระทำ Impersonation เพื่อสังเกตพฤติกรรมและคอยติดตามลักษณะการพูดคุยและการดำเนินชีวิตประจำวันบนโลกออนไลน์ของบุคคลดังกล่าว ซึ่งข้อความเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานได้

ส่วนผู้ที่ถูกทำ Impersonation ในเครือข่ายสังคมออนไลน์อื่น ควรดำเนินการเก็บรวบรวมหลักฐานทันที เมื่อทราบว่ามีผู้กระทำ Impersonation โดยอ้างอิงชื่อเรา หลังจากดำเนินการเก็บรวบรวมหลักฐานเรียบร้อยแล้ว ควรจะแจ้งให้ผู้ใช้อื่นที่ติดตามเราในเครือข่ายทราบว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์ดังกล่าวไม่ใช่ตัวตนของเราพร้อมแจ้งให้ทราบว่าการสนทนาต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นการสนทนาของเรา

จากนั้นดำเนินการแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ เช่น สำนักป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย และให้หน่วยงานดังกล่าวดำเนินการออกหนังสือในการยื่นคำร้องขอ IP Address จากทางบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อเป็นหนึ่งในหลักฐานในการสืบหาตัวผู้กระทำผิดและเป็นหลักฐานในการดำเนินการทางกฎหมายต่อไป

View :1486

Related Posts

  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.