Home > Internet, Telecom > ศาลปกครองพิพากษา กทช. ทำงานล่าช้า

ศาลปกครองพิพากษา กทช. ทำงานล่าช้า

September 16th, 2011 Leave a comment Go to comments

พิพากษา ทำงานล่าช้าสั่งเร่งพิจารณาแบบสัญญาภายใน ๙๐ วันแก้ปัญหา พรีเพด ด้านว่าที่ ประวิทย์ ฝากการบ้านชุดใหญ่ จี้สำนักงานต้องขยับตัว แก้ปัญหาผู้บริโภคระบบเติมเงิน

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ว่าที่ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคมที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษา คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร โดยมีนายอนุภาพ ถิรลาภเป็นโจทย์ ยื่นฟ้อง คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เนื่องจากโจทย์ได้รับความเสียหายจากการที่ กทช. ไม่มีการบังคับใช้ กฎหมายมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยการพิจารณาแบบสัญญาการให้บริการโทรคมนาคม ฉบับใหม่ให้แล้วเสร็จเพื่อบังคับใช้ให้เป็นไปตามกฎหมาย ส่งผลให้การใช้บริการโทรศัพท์ระบบเติมเงินของผู้ร้องถูกกำหนดวันหมดอายุ และถูกระงับการใช้บริการ รวมถึงถูกยึดหมายเลขโทรศัพท์ซึ่งใช้งานมากว่า ๑๐ ปี ขณะที่ผู้ให้บริการอ้างว่า ได้ปฏิบัติตามสัญญาเดิมของการให้บริการ เนื่องจาก กทช. ยังพิจารณาสัญญาใหม่ไม่แล้วเสร็จ
“กรณีนี้ศาลพิเคราะห์แล้วว่า กทช. ใช้เวลาในการพิจารณาแบบสัญญานานเกินสมควร คือใช้เวลามากกว่า ๓ ปี ศาลจึงมีคำพิพากษาให้ กทช.ปฏิบัติหน้าที่กสทช. ดำเนินการให้ความเห็นชอบหรือกำหนดแบบสัญญาโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้าของบริษัท ให้แล้วเสร็จภายใน ๙๐ วัน ทั้งนี้เนื่องจากการไม่พิจารณาแบบสัญญาส่งผลให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือยังปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาเดิม คือ หากผู้ใช้บริการไม่มีการเติมเงินเข้าระบบหรือไม่มีการใช้งานภายในระยะเวลาที่กำหนด เลขหมายก็จะถูกระงับสัญญาณ ทั้งที่เป็นการฝ่าฝืนต่อ ข้อ ๑๑ ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม “นายประวิทย์กล่าว
นายประวิทย์กล่าวต่อไปว่า จึงขอฝากการบ้านไปถึง สำนักงาน กสทช.ให้เร่งพิจารณาแบบสัญญาให้เสร็จภายใน ๙๐ วัน หรือกำหนดแบบสัญญามาตรฐานขึ้นมาซึ่งจะช่วยคุ้มครองผู้บริโภคที่ร้องเรียนเรื่องการกำหนดวันหมดอายุโทรศัพท์ระบบเติมเงินได้ และเพื่อไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของศาลปกครอง

View :1525

Related Posts

  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.