Home > Press/Release > ดัชนีของ เมืองต่างๆที่มีความพร้อมทางด้าน ICT เพื่อชีวิตของพลเมืองที่ดีขึ้น (networked society index)

ดัชนีของ เมืองต่างๆที่มีความพร้อมทางด้าน ICT เพื่อชีวิตของพลเมืองที่ดีขึ้น (networked society index)

บริษัทอีริคสันและอาร์เธอร์ ดี. ลิตเติลจัดอันดับเมืองที่มีสังคมแบบเครือข่ายและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือ ICT เพื่อประโยชน์ของพลเมืองของเมืองนั้นๆ

สามเมืองแรกที่ได้รับอันดับสูงสุด ได้แก่กรุงโซล สิงคโปร์และลอนดอน ซึ่งต่างก็ได้สะท้อนให้เห็นถึงประโยชน์ของการมีส่วนร่วมของสังคมแบบเครือข่ายโดยรวม (networked society)

เมืองที่อยู่ในสิบอันดับแรกที่เหลือคือ สตอกโฮล์ม นิวยอร์ก ปารีส ลอส แองเจลิส โตเกียว เซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง

โปรแกรมประยุกต์ต่างๆที่ใช้ระบบ ICT เช่นรัฐบาลอีเล็กทรอนิกส์ (e-government) และการขนส่งอัจฉริยะนั้นสามารถทำให้ชีวิตของพลเมืองดีขึ้น ช่วยให้สามารถลดปัญหาต่างๆที่มีเหมือนกันในสภาวะแวดล้อมแบบเมืองใหญ่ได้

การทำดัชนีเมืองที่มีสังคมแบบเครือข่ายของบริษัทอีริคสันในฉบับที่สองนี้ได้จัดอันดับเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก 25 อันดับตามความสามารถของเมืองในการเปลี่ยนแปลง ICT เพื่อประโยชน์ทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม

เมืองที่อันดับสูงที่สุดสามเมืองแรก ซึ่งคือกรุงโซล สิงคโปร์และลอนดอนสามารถตอบสนองเป้าหมายด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมหลายเรื่องได้อย่างประสบความสำเร็จโดยการลงทุนในระบบ ICT อย่างกว้างขวางครอบคลุม ตัวอย่างเช่น สิงคโปร์กำลังผลักดันนวัตกรรมด้านการบริการสาธารณสุขอิเล็กทรอนิกส์ (e-health) อย่างแข็งขันและเป็นผู้บุกเบิกด้านการบริหารจัดการความคับคั่งของการจราจร ในขณะเดียวกัน โซลก็ได้ใช้ ICT จัดทำการริเริ่มด้านเทคโนโลยีขั้นสูงในการทำให้ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมเป็นจริงได้จำนวนมาก

การศึกษายังได้แสดงว่าเมืองหลายเมืองในกลุ่มประเทศ BRIC (ซึ่งประกอบด้วยประเทศบราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน) เช่น เซา เปาโลและเดลีมีการริเริ่มที่มีความหวังหลายโครงการเพื่อปิดช่องว่างทางเศรษฐกิจสังคมอย่างรวดเร็วโดยผ่านการทำข้อตกลงด้าน ICT ที่มีผู้มีส่วนได้เสียหลายราย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เซา เปาโลได้รับรางวัลในระดับประเทศและระหว่างประเทศหลายรางวัลสำหรับโครงการที่สนับสนุนชุมชนหรือสังคม (e-inclusions) การริเริ่มเหล่านี้ได้เน้นการรับรู้ความต้องการในการปรับปรุงความสามารถในการใช้งานระบบ ICT ที่ดียิ่งขึ้นและบทบาทหลักที่ ICT สามารถทำให้เกิดการพัฒนามากขึ้น

ในเมืองกรุงเดลี มีการริเริ่มที่ดีในหลายโครงการโดยมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากระบบ ICT เพื่อประโยชน์สูงสุดของพลเรือน ตัวอย่างที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งของโครงการที่มีผู้ได้ผลประโยชน์จำนวนมาก คือ เอกโก (Eko) ซึ่งทำให้สามารถทำธุรกรรมทางการเงินที่มีมูลค่าต่ำโดยใช้โทรศัพท์มือถือหรือร้านค้าปลีกได้ โครงการเอกโกนั้นให้บริการกับลูกค้ามากกว่า 1.3 ล้านคนและได้ดำเนินการวงเงิน 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐด้านการฝากเงิน การชำระเงินและการส่งเงินขั้นต่ำ ในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเดลี ชาวเมืองจะได้รับประโยชน์จากการได้รับการเข้าถึงบริการทางการเงินพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น โดยการใช้บริการเหล่านี้ในการดำเนินกิจกรรมการประกอบธุรกิจและรับการชำระเงินสำหรับงานของพวกเขาทำ

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีต่อพลเมืองหนึ่งคนที่เพิ่มขึ้นมักจะเทียบเท่ากับการบริโภคที่เพิ่มขึ้น และดังนั้นจึงทำให้ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น เช่น อันเนื่องมาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มากขึ้น ส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของดัชนีนี้จะระบุวิธีการที่สามารถใช้ ICT เพื่อแบ่งการเติบโตของจีดีพีและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากกัน เช่น เมืองที่มีจีดีพีสูงสามารถใช้ ICT ในการลดการบริโภคของเมือง ตัวอย่างเช่น ด้วยการเดินทางไปมาที่ชาญฉลาด หรือวิธีการที่เมืองใหญ่ในประเทศหรือเมืองที่กำลังพัฒนาสามารถเลือกเส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืนมากขึ้น โดยการได้รับบริการประเภทเดียวกัน แต่โดยทางเสมือน ที่ตรงกันข้ามกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นจริง

“การวิเคราะห์ทัศนคติของพลเรือนแต่ละบุคคลเป็นเรื่องที่สำคัญมาก” แพทริค เรการ์ดห (Patrik Regårdh) แห่ง Networked Society Lab ของบริษัทอีริคสันกล่าว “เมืองที่ประสบความสำเร็จต่างๆ สามารถดึงดูดความคิด เงินทุนและบุคคลที่มีความสามารถได้อย่างยอดเยี่ยม การดึงดูดเชิงบวกดังกล่าวจำเป็นต้องมีความก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนภายในบริบทด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม”

การศึกษาใหม่จะดูที่ประโยชน์ต่างๆที่ ICT สามารถทำได้ในเมืองต่างๆ ในเรื่องต่างๆ เช่น การสาธารณสุข การศึกษา เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและความมีประสิทธิภาพ ตลอดจนปฏิกิริยาโต้ตอบของพลเรือนต่อ ICT

“เมื่อผู้คนได้รับความต้องการขั้นพื้นฐานที่พวกเขาต้องการอย่างมากแล้ว ความสนใจจะเปลี่ยนไป เช่นไปเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตที่สมดุล สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมที่อุดมสมบูรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งและการติดต่อทางธุรกิจที่ดี สุขภาพที่ดีในบั้นปลายของชีวิต การพึงพอใจในชีวิต อาทิ ในแง่ของการมีการศึกษาสูงขึ้นและสภาพแวดล้อมที่สะอาดทั่วทั้งเมือง” อีริค อัลมวิสต์ (Erik Almqvist) ผู้อำนวยการแห่งอาร์เธอร์ ดี. ลิตเติล กล่าว “ICT มีศักยภาพในการปรับปรุงคุณภาพของชีวิตในหลายสาขาเหล่านี้ให้ดียิ่งขึ้น และความสามารถในการเชื่อมโยงระบบในทุกที่ทุกเวลาจะได้รับการถือว่าเป็นสิทธิของพลเรือนขั้นพื้นฐานเพิ่มมากขึ้น”

ดัชนีเมืองที่มีสังคมแบบเครือข่ายเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยให้บรรดาเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของเมืองและบรรดาผู้ตัดสินใจตรวจสอบตำแหน่งและความก้าวหน้าของเมืองตามเส้นโค้งการพัฒนา-ICT ควรใช้ดัชนีนี้เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการสนทนาแบบเปิด แทนที่จะเป็นคำชี้ขาดของวิธีการที่เมืองต่างๆสามารถทำให้เกิดความสมดุลกับมุมมองทั้งสามด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของเมืองก้าวหน้าได้อย่างไร

View :1458

Related Posts

  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.