Home > Press/Release, Telecom > กสทช. มุ่งผลักดันอุตฯ โทรคมนาคมไทย ให้เกิดการซื้อขายในงาน CommunicAsia 2011 ที่ผ่านมา

กสทช. มุ่งผลักดันอุตฯ โทรคมนาคมไทย ให้เกิดการซื้อขายในงาน CommunicAsia 2011 ที่ผ่านมา

ผลงานวิจัยและพัฒนาด้านโทรคมนาคมของประเทศ ได้รับการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนา ต่อยอด ตลอดระยะเวลากว่า 4 ปีที่ผ่านมา โดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน ) หรือ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทช.) เดิม ซึ่งได้ริเริ่มขึ้นการสนับสนุนมาตั้งแต่ปี 2551 ผ่านทาง กลุ่มภารกิจด้านการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม หรือ ชื่อเดิมที่รู้จักกันในนาม “ทริดี้” ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนนักวิจัยให้สร้างสรรค์ผลงานวิจัยด้านโทรคมนาคมที่มีศักยภาพไม่แพ้ผลงานในต่างประเทศ จนได้ยื่นจดสิทธิบัตร,ส่งเสริมห้องแล็บโทรคมนาคมในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ, สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม และหน่วยงานด้านการวิจัยชั้นนำหลายแห่งในต่างประเทศ, พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถผ่านทางการให้ทุนการศึกษา NTC Scholarship พร้อมเผยแพร่ความรู้ด้วยการจัดฝึกอบรม สัมมนา อย่างสม่ำเสมอตลอดมา และในปีนี้ ทริดี้ ยังได้เปิดโอกาสทางการค้าระดับสากลให้กับผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมไทยได้ขยายตลาด โชว์ศักยภาพของสินค้าไทยในเวทีโลกที่งาน ณ ประเทศสิงค์โปร์ การก่อตั้งกลุ่ม MT2 (เอ็มทีสแควร์) เป็นการรวมกลุ่มของภาคกิจโทรคมนาคม เพื่อต่อยอดธุรกิจในภาพรวมของประเทศ อีกทั้งนำผลงานที่ได้จากการพัฒนาไปช่วยเหลือคนพิการ อาทิ อุปกรณ์คลื่นสมองช่วยคนพิการ จากมหาวิทยาลัยมหิดล

ทริดี้ มองเห็นถึงโอกาสทางธุรกิจภาคอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยที่จะผลักดันออกสู่ตลาดโลกได้ ซึ่งการแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านโทรคมนาคมในเวทีระดับนานาชาติ หรือ CommunicAsia 2011 ณ ประเทศสิงคโปร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้ในเวทีโลกว่า ไทยก็เป็นประเทศผู้ผลิตด้านโทรคมนาคม และสร้างโอกาสให้กับบริษัทผู้ผลิตสัญชาติไทย อันจะนำไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จากงานวิจัยที่ สำนักงาน กสทช. สนับสนุน การออกงานครั้งแรกใน CommunicAsia นี้ มีผู้เข้าชมผลงานที่จัดแสดงกว่า 1,200 คน โดยผลงานวิจัยที่ได้รับความสนใจมาก ได้แก่ เครื่องตัดสัญญาณวิทยุ หรือ Jammer ของบริษัท DRC (ซึ่งเคยได้รับรางวัลจาการประกวดนวัตกรรมโทรคมนาคม ปี 2553 ของสำนักงาน กทช. มาแล้ว) ระบบวินิจฉัยทางการแพทย์ระยะไกล (Telediag) ของบริษัท Prodigi และ ผลงานอื่นๆ อีกจากหลากหลายบริษัทฯ ที่ต่างชาติให้ความสนใจเป็นอย่างสูง นอกจากนี้ บริษัทที่ร่วมแสดง สามารถจับคู่ธุรกิจได้สำเร็จแล้วหลายราย สร้างมูลค่าเป็นเม็ดเงินเข้าประเทศนับร้อยล้านบาท

การเปิดตลาดในครั้งนี้ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย โดยมีสะท้อนในทางที่ดีกลับมายังผู้ประกอบการหลายราย เกิดการซื้อขาย สามารถนำไปใช้งานจริงผ่านกลุ่มทุนต่างชาติ ตลอดระยะเวลา 4 ปีในการเดินทางของทริดี้ ตั้งแต่เริ่มต้นจวบจนปัจจุบันได้ดำเนินงานตามภารกิจ นโยบายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่วางเอาไว้ คือ ส่งเสริม สนับสนุน ผลักดัน และมุ่งให้เกิดการนำไปใช้งานจริงในอนาคต ผลงานวิจัยจึงไม่เพียงแต่อยู่บนหิ้งอีกต่อไป แต่ได้รับการผลักดันเข้าสู่ห้าง และต่อยอดจากห้าง ไปสู่ห้างในระดับที่ใหญ่ขึ้นต่อไปอีก ทั้งหมดคือความมุ่งมั่นและตั้งใจของ สำนักงาน กสทช. ผ่านทาง กลุ่มภารกิจด้านการวิจัยฯ หรือ “ทริดี้” ที่ผ่านมา ต้องขอขอบคุณ “ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ” ผู้นำทีมการดำเนินงานต่างๆ ให้ประสบผลสำเร็จและก่อเกิดประโยชน์ต่อการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมานี้

View :1518

Related Posts

  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.