Home > Application, Press/Release > สวทช. จับมือ สามารถ ร่วมเฟ้นหานักคิดหัวกะทิ สู่ ”เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี”

สวทช. จับมือ สามารถ ร่วมเฟ้นหานักคิดหัวกะทิ สู่ ”เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี”

“ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ” ภายใต้ “สวทช.” และ โครงการ โดย “” ร่วมกันเปิดประตูสู่โอกาสทางธุรกิจให้แก่นักพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ด้วยการจัดโครงการ“เถ้าแก่น้อย” Idea to Market เฟ้นหาผลงานเด่นจากนักคิดระดับหัวกะทิของไทยที่มีความคิดสร้างสรรค์ และมีผลงานที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยพร้อมจะผลักดันให้เกิดการต่อยอดในเชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรม

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า “สวทช. ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ส่งเสริมให้มีการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นกลไกหลักในการสร้างความเข้มแข็งให้ภาคอุตสาหกรรมไทย เราจึงให้ความสำคัญกับการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการทางด้านเทคโนโลยีขึ้น เพราะเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมไทยได้เปรียบเหนือคู่แข่ง และพร้อมขยายผลโดยนำผลงานออกสู่ตลาดสากล”

สวทช.และกลุ่มบริษัทสามารถ เป็นพันธมิตรกันมายาวนาน โดย เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย ได้ร่วมมือและให้การสนับสนุนการประกวด Samart Innovation Awards ตั้งแต่ปีแรกของการประกวด มาในปีนี้ เราได้ยกระดับความร่วมมือกันในการส่งเสริมให้ผลงานด้านเทคโนโลยีชั้นเลิศเหล่านั้น ได้ก้าวสู่เชิงพาณิชย์หรือเป็นผู้ประกอบธุรกิจเทคโนโลยี (Technopreneur) อย่างจริงจัง ภายใต้โครงการ “เถ้าแก่น้อย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “เถ้าแก่น้อย” โดยมีศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ภายใต้สวทช. ซึ่งมีประสบการณ์ในการให้ความรู้เรื่องของธุรกิจเทคโนโลยี มากว่า 10 ปี เป็นผู้ดำเนินการ

มีความโดดเด่นและแตกต่างจากโครงการอื่นๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นโครงการแรกในภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ที่มีการผลักดันผลงานที่มีแนวคิดและความพร้อม มีความเป็นไปได้ทางการตลาด สู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีรุ่นใหม่ที่จับต้องได้แล้วนั้น ยังเป็นโครงการที่เน้นการสร้างคนคุณภาพ ที่มีการกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ไว้อย่างเข้มข้นคือ 1. มีการคัดเลือกแนวคิดที่มีความเป็นไปได้สูงจากผลงานของนักพัฒนาหัวกะทิ 2. เติมเต็มความรู้ความชำนาญจากผู้เชี่ยวชาญทั้งในเรื่องเทคโนโลยี การตลาด การขายให้เกิดความเข้าใจถึงความต้องการของผู้ใช้บริการ 3. สนับสนุนทุนวิจัยเพื่อพัฒนาผลงานต้นแบบ จากกลุ่มบริษัทสามารถ เพื่อต้องการให้เห็นผลงานเป็นรูปธรรมมากขึ้น 4. การได้พบปะและนำเสนอผลงานโดยตรงกับองค์กรต่างๆทั้งในและต่างประเทศ ที่เป็นทั้งเจ้าของธุรกิจ หรือแหล่งเงินทุน เพื่อต่อยอดในการดำเนินธุรกิจ ที่สำคัญยังรองรับการทำธุรกิจต่อเนื่องผ่านศูนย์บ่มเพาะ ของสวทช. ที่จะสร้างความมั่นใจได้ว่าจะไม่ใช่แค่การประกวดธรรมดา แต่จะเป็นโครงการที่ส่งเสริมการสร้างเถ้าแก่น้อยอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด

นายเจริญรัฐ วิไลลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลา 9 ปี ที่กลุ่มบริษัทสามารถได้จัดโครงการ Samart Innovation Awards เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมนักพัฒนาซอฟต์แวร์ของไทย โดยนอกเหนือจากการประกวดแล้ว เรายังมุ่งเน้นในการเพิ่มเติมความรู้และทักษะทางการตลาด อาทิ การจัดอบรมพิเศษต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่โลกธุรกิจให้แก่นักพัฒนารุ่นใหม่อีกด้วย โดยในปี 2554 ที่ผ่านมา ทางโครงการฯ ได้มีการกำหนดโจทย์ในการสร้างสรรค์ซอฟต์แวร์ด้านการท่องเที่ยว โดยได้รับความร่วมมือจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและสมาคมโรงแรมไทย ในการถ่ายทอดความต้องการของตลาดและร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน ซึ่งเมื่อพิจารณาจากจำนวนและคุณภาพของผลงานที่ส่งเข้าร่วมประกวดแล้ว ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ โดยมีจำนวนผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งสิ้นกว่า 150 ผลงาน มีผลงานที่ได้รับรางวัล 13 ผลงาน ซึ่งในจำนวนนั้น มีผลงานที่ได้รับรางวัล Gold awards ถึง 4 รางวัล แสดงให้เห็นถึงการตอบรับและความตื่นตัวของนักพัฒนาซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ที่พร้อมจะเปิดรับโอกาสในการก้าวสู่โลกของมืออาชีพอย่างแท้จริง

มาในปีนี้ ซึ่งเป็นการเข้าสู่ปีที่ 10 ของโครงการ Samart Innovation Awards บริษัทฯ มีเป้าหมายในการสนับสนุนให้เกิดการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ยิ่งขึ้นสำหรับผลงานที่มีความพร้อม ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวก็สอดคล้องกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่มุ่งผลักดันให้เกิด “คนคุณภาพ” ในโลกของเทคโนโลยี จึงเป็นที่มาของความร่วมมือในการจัดโครงการ “เถ้าแก่น้อย” โดยกลุ่มสามารถ พร้อมให้การสนับสนุน ด้วยการเติมเต็มความรู้ธุรกิจและเทคโนโลยีที่เรามีประสบการณ์ สนับสนุนทุนพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และพร้อมมอบเงินรางวัล มูลค่า 2 แสนบาท สำหรับสุดยอดเถ้าแก่น้อยจากการประกวดในปี 2555 นี้

นายเจริญรัฐฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า “ผมมองเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีกลายมาเป็นส่วนหนึ่งที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต ต่อกิจกรรมทางธุรกิจ และเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ผมหวังว่าการผสานความร่วมมือกันในครั้งนี้จะสร้างโอกาสระยะยาวให้กับคนรุ่นใหม่ ตอกย้ำนโยบายด้าน CSR ของกลุ่มสามารถในปี 2012 ที่ยังคงต้องการเสริมความสามารถ และสร้างคนคุณภาพ โดยจัดโครงการ Samart Innovation Awards อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งส่งเสริมเป็น 3 รูปแบบ คือ 1.รูปแบบของการเสริมทักษะความรู้ หรือเข้าอบรมให้ความรู้แก่องค์กรต่างๆ ตามความถนัด 2.การให้ทุนการศึกษาหรือทุนวิจัยด้านเทคโนโลยี และ3.ส่งเสริมการประกวดความคิดสร้างสรรค์โดยผสานความร่วมมือเข้าร่วมกับองค์กรใดๆที่มีแนวคิดร่วมกันเป็นสำคัญ”

View :1281

Related Posts

  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.