Home > Press/Release > 14 เรื่องบนเวทีออสการ์กับหนึ่งสิ่งที่เหมือนกัน ดิจิตอลอาร์ตทิสทั่วโลกใช้ออโตเดกส์ซอฟต์แวร์ในการสร้างภาพยนตร์ชื่อดังหลายเรื่องในปี 2554

14 เรื่องบนเวทีออสการ์กับหนึ่งสิ่งที่เหมือนกัน ดิจิตอลอาร์ตทิสทั่วโลกใช้ออโตเดกส์ซอฟต์แวร์ในการสร้างภาพยนตร์ชื่อดังหลายเรื่องในปี 2554

ซอฟต์แวร์จากออโตเดสก์ (NASDAQ: ADSK) ได้รับความไว้วางใจจากศิลปินดิจิตอลอาร์ต ทิสผู้อยู่เบื้องหลังความบรรเจิดทั้งจอแก้วและจอเงินทั่วโลก ที่ได้ทุ่มเทสร้างสรรค์ผลงานที่โลดแล่นบนจอภาพยนตร์ และได้ออกมาร่ายเวทมนตร์จนได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลในออสการ์ปีนี้โดยเฉพาะสาขาเทคนิคสมจริงยอดเยี่ยมและสาขาภาพยนตร์อะนิเมชั่นยอดเยี่ยม ออโตเดสก์ขอคารวะดิจิตอลอาร์ตทิสทั้งหลายที่เลือกใช้ Digital Entertainment Creation (DEC) ในการร่ายเวทมนตร์บนจอ

“ภาพยนตร์ที่ดีขึ้นอยู่กับการเล่าเรื่องที่ดีและเทคโนโลยีของเราที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อให้เป็นไปตามจิตนการทางศิลปะ” กล่าวโดยมาร์ค เปติ รองประธานอาวุโสของออโตเดสก์มีเดียและเอ็นเตอร์เทนเมนต์ “เราขอแสดงความยินดีกับทีมศิลปินผู้สร้างอัจฉริยะจากอเมริกาเหนือ, นิวซีแลนด์, ยุโรปและเอเชีย พวกเรามีความภาคภูมิใจเป็นอย่างมากที่ซอฟต์แวร์ของออโตเดสก์เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ทีมสร้างภาพยนตร์ที่สุดพิเศษเหล่านั้นได้”

สาขาเทคนิคสมจริงยอดเยี่ยม
“Harry Potter and the Deathly Hallows Part 2” — แฮร์รี่พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต 2 โดยอะนิเมชั่นสตูดิโอ Double Negative, MPC และ Framestore ต่างก็ใช้ Autodesk Maya ซอฟต์แวร์ 3D อะนิเมชั่นและซอฟต์แวร์การให้แสงและเงาในการช่วยสร้างเอฟเฟคสุดอลังการสำหรับตอนสุดท้ายของภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์อย่างแฮร์รี่พอตเตอร์ เดวิด วิคเคอรี่ หัวหน้าฝ่ายของ Double Negative VFX กล่าวว่า “ซอฟต์แวร์ Maya จากออโตเดสก์เป็นแกนหลักของการสร้างตั้งแต่ “แฮร์รี่พอร์ตเตอร์กับถ้วยอัคนี” สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ซอฟต์แวร์ Maya ouhช่วยเราสร้าง CG แบบเต็มรูปแบบในการสร้างสภาพแวดล้อมอันกว้างใหญ่ของโรงเรียนเวทมนตร์คาถาฮอกวอตส์ รวมไปถึงทิวเขาและลมหายที่ลุกเป็นไฟของมังกรที่สร้างโดยซอฟต์แวร์ Autodesk Mudbox” เกรก บัทเลอร์ หัวหน้าฝ่ายของ MPC VFX กล่าวว่า “จากภาพยนตร์เรื่องแรกในภาพยนตร์ชุด “แฮร์รี่พอตเตอร์” จนถึงฉากสุดท้าย MPC ไว้วางใจซอฟต์แวร์ Maya จากออโตเดสก์ในการทำต้นแบบ, เครื่องแต่งกายและการให้แสงต่างๆ” นอกจากนี้ หัวหน้าฝ่ายของ Framestore VFX ยังกล่าวเสริมอีกว่า “ซอฟต์แวร์ Maya จากออโตเดสก์ เป็นเครื่องมือสู่ความสำเร็จและมอบเวทมนตร์ให้กับห้องแห่งความลับที่รอนและเฮอร์ไมโอนี่มีจูบแรกกัน เช่นเดียวกับตอนที่แฮร์รี่เห็นสรวงสวรรค์ เราไม่สามารถจบภาพยนตร์ทั้ง 8 ตอนนี้ได้โดยปราศจากมนตร์ขลังซอฟต์แวร์จากออโตเดสก์”

“Hugo” — ฮิวโก้ โดย Pixomondo สตูดิโอ ที่สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้โดยมีทีมงานกระจายอยู่ทั่วโลก 11ที่ทั้งอเมริกาเหนือ, ยุโรปและเอเชีย ฮิวโก้เป็นภาพยนตร์ที่มีรายละเอียดสูงและเป็นภาพยนตร์ที่ทำให้คิดถึงปารีสในช่วงปี 2473 ทีมงานทั่วโลกทำงานเป็นปีในกระบวนการผลิตโดยใช้ออโตเดสก์ Maya และ Autodesk 3ds Max สำหรับภาพเคลื่อนไหว, การให้แสงเงา, เครื่องแต่งกายของตัวละครและแบบจำลองต้นร่าง เช่นเดียวกับซอฟต์แวร์ Autodesk MotionBuilder สำหรับการจับภาพเคลื่อนไหว “การทำงานร่วมกับเครื่องมือจากออโตเดสก์ช่วยให้เราทำงานตามตารางเวลาที่เคร่งครัดและนำเวทมนตร์ของ มาร์ติน สกอร์เซซี่สู่จอเงิน” กล่าวโดย เบน กรอนแมน หัวหน้าฝ่ายวิชช่วลเอฟเฟค

“Real Steel” – สร้างโดย Digital Domain, Giant Studios และ Technoprops ที่ทำให้ “Real Steel” เป็นผลงานที่มีประสิทธิภาพและน่าประทับใจที่มีกระบวนการผลิตเพียง 71วันสำเร็จได้ตามเป้าหมายเวลาที่กำหนด การประสานงานด้วยกันอย่างใกล้ชิดระหว่าง 3 บริษัทและเครื่องมือจากออโตเดสก์ช่วยสร้างภาพยนตร์ที่สมจริงและแอคชั่นที่น่าตื่นตาตื่นใจกับหุ่นยนต์คู่ใจที่แสนมีเสน่ห์และความสัมพันธ์กับมนุษย์ อิริค แนช หัวหน้าฝ่ายวิชช่วลเอฟเฟคกล่าวว่า “การทำงานร่วมกันบนฉากแบบเรียลไทม์ของ Maya และ MotionBuilder มอบความอิสระในการทำงานอย่างมากให้กับทีมผู้ผลิตของเรา”

“Rise of the Planet of the Apes” – Caesar ลิงชิมแปนซีที่สร้างโดยคอมพิวเตอร์กราฟิกที่แสดงโดย แอนดี้ เซอร์คิส สร้างสิ่งสำคัญหรับเวต้าดิจิตอล (Weta Digital) ในนิวซีแลนด์เป็นอย่างมาก เวต้าใช้ Maya และ MotionBuilder เป็นแกนหลักของกระบวนการผลิตสำหรับการค้นพบวิธีการแสดงภาพและประสิทธิภาพการจับภาพ โดยเซบาสเตียน ซิลแวน ประธานคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโยโลยีที่เวต้า ดิจิตอล กล่าวว่า “การสร้างตัวละคร CG ที่สมจริงและดูน่าเชื่ออย่างซีซาร์ต้องการให้ศิลปินของเราใช้เครื่องมือที่เหมาะสมและใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีที่อนุญาตให้พวกเขาเน้นย้ำและแสดงออกความคิดสร้างสรรค์ของพวกเขาได้ เราพัฒนาซอฟต์แวร์ของเราเองเพื่อประสิทธิภาพการจับภาพที่สมบูรณ์แบบ, เส้นผม, ดวงตาและกล้ามเนื้อ การใช้ Maya และ MotionBuilder จึงเปรียบเหมือนกระดูกสันหลังของเรา”

“Transformers: Dark Side of the Moon” – รายละเอียดพิเศษสำหรับหุ่นยนต์ใน Transformers มีความละเอียดถึง 50,000 ล้านโพลีกอนแสดงในรูปแบบ 3D ที่สร้างโดย Industrial Light & Magic (ILM) ในซานฟรานซิสโกและสิงคโปร์และ Digital Domain โดย ILM ใช้ Autodesk DEC ซอฟต์แวร์ในกระบวนการสร้าง ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์ 3ds Max จากออโตเดสก์สำหรับการสร้างสิ่งแวดล้อมแบบดิจิตอล, ซอฟต์แวร์ Autodesk Flame ซึ่งในส่วนนี้เป็นส่วนหนึ่งของ SABRE คอมโพสิตของระบบความเร็วสูง และซอฟต์แวร์ Maya ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์หลักสำหรับภาพเคลื่อนไหว, เครื่องแต่งกายและโครงร่าง สก็อต ฟาร์ร่า หัวหน้าฝ่ายวิชช่วลเอฟเฟคของ ‘Transformers: Dark Side of the Moon’ “งานด้านเอฟเฟคต่างๆ มีความซับซ้อนขึ้น มันสำคัญที่ว่าที่ศิลปินของเราจะสามารถเข้าถึงเครื่องมือการสร้างที่ดีที่สุดได้หรือไม่และด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ Autodesk’s Digital Entertainment Creation ILM สามารถสร้างก้าวใหม่ให้กับวงการวิชช่วลเอฟเฟคได้”

สาขาภาพยนตร์อะนิเมชั่นยอดเยี่ยม
“Kung Fu Panda 2” และ “Puss in Boots” – ภาพยนตร์ทั้ง 2 เรื่องนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลในรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์อะนิเมชั่นยอดเยี่ยมสำหรับ Dreamworks Animation (DWA) ไม่เพียงเท่านี้แต่ยังเป็น 2 ใน 3 ภาพยนตร์อะนิเมชั่นที่มีรายได้รวมสูงสุดในปี 2554* อีกด้วย DWA ยังคงสร้างสรรค์ผลักดันเทคโนโลยีเพื่อปลูกฝังตัวละครที่เคลื่อนไหวด้วยบุคลิกที่น่าเกรงขาม และภาพยนตร์ทั้ง 2 เรื่องนี้ใช้ซอฟต์แวร์ Maya จากออโตเดสก์ในการสร้าง ฟิล แม็คเนลลี่ หัวหน้าด้านภาพสามมิติของภาพยนตร์ 2 เรื่องนี้กล่าวว่า “ทั้งการระดมความคิดจากฝ่ายเราเองและร่วมกับออโตเดสก์ เราสามารถพัฒนาเครื่องมือใน Maya เพื่อจัดการปัญหาที่เจาะจงซึ่งเป็นความท้าทายของภาพสามมิติ Maya ให้ความยืดหยุ่นหรือให้เราสามารถมองเห็นว่าเรากำลังทำอะไร ในขณะที่เรากำลังทำมันอยู่ในรูปแบบ 3 มิติ”

“Rango” – เรื่องราวของกิ้งก่าสุดแปลกที่กำลังตามหาตัวตนของตัวเอง ซึ่งเป็นภาพยนตร์อะนิเมชั่นเรื่องแรกของ ILM เป็นภาพยนตร์ที่นำเสนอความคิดสร้างสรรค์และความท้าทายทางทคนิค เพียงใบหน้าของแรงโก้อย่างเดียวก็ใช้ตัวควบคุมมากกว่า 300 ตัว เพื่อให้บรรลุตามความต้องการสำหรับ 1,100 ฉากที่เขาต้องปรากฎในเรื่อง นอกจากนี้แรงโก้ถือเป็นตัวละครที่ดีเหนือกว่าประชากรในเรื่องทั้งหมด “ตัวละครทั้งหมดเหล่านี้เป็นการรวมสเกล, ฟีเจอร์ หรือขนสัตว์และเสื้อผ้าทั้งหมด เราพยายามสร้างโลกที่สัมผัสได้ให้กับแรงโก้” กล่าวโดย ฮัล ฮิคเคล หัวหน้าฝ่ายอะนิเมเตอร์บนภาพยนตร์ที่ ILM “เราต้องการสร้างภาพลวงตาที่คุณสามารถเข้าถึงและสัมผัสกับวัตถุได้ในจอ ที่คุณต้องการรู้ว่าสิ่งที่พวกเขารู้สึกอยู่นั้นเป็นอย่างไร ดังนั้นมันจึงสำคัญมากที่ซอฟต์แวร์ของเราทำให้เราสามารถแสดงรายละเอียดที่เป็นไปได้ให้มากที่สุดในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการ สิ่งนี้ทำให้เราสามารถแปลงสิ่งที่จะแสดงลงบนหน้าจอใหญ่ได้ Maya เป็นซอฟต์แวร์ที่ดีมากที่ทำให้เราสามารถทำอย่างนั้นได้”

ในสาขาอื่นๆ
• “The Fantastic Flying Books of Mr. Morris Lessmore” — ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลในสาขาภาพยนตร์อะนิเมชันสั้นยอดเยี่ยม โดย Moonbot Studios ในหลุยส์เซียน่า ใช้ซอฟต์แวร์ Maya จากออโตเดสก์ ในการสร้างภาพยนตร์ที่เป็นการเปรียบเทียบอารมณ์สะเทือนใจและอารมณ์ขันไปพร้อมๆ กัน
• “The Girl With the Dragon Tattoo” — ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลถึง 5 สาขา สร้างโดย Digital Domain สร้างดิจิตอลดับเบิ้ล, การลงสีพื้นผิวและฉากที่ใช้ทั้ง Maya และ 3ds Max โดย Method Studios มีส่วนร่วมในวิชช่วลเอฟเฟคถึง 101 ฉากซึ่งรวมไปถึงขบวนรถไฟ CG ที่วิ่งผ่านพื้นที่ที่ปกคลุมไปด้วยหิมะที่ใช้ Maya, Flame และ Autodesk Flare ในการสร้าง และ Blur Studios สร้างลำดับที่น่าตื่นตาตื่นใจโดยใช้ 3ds Max สำหรับอะนิเมชั่นและ Autodesk Softimage สำหรับฉาก
• “La Luna” — ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงในสาขาภาพยนตร์อะนิเมชันสั้นยอดเยี่ยม Pixar ใช้ Maya และซอฟต์แวร์ Renderman ของPixar เองในการสร้างเรื่องราวลึกลับนี้
• “The Muppets” — ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลในสาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม โดย Look Effects ใช้การผสมผสานระหว่าง Flame, Flare และ Maya ในการนำชีวิตให้กับเรื่องราวของตัวละครอันเป็นที่รักนี้ติดอยู่ในบ็อกซ์ออฟฟิศ
• “The Tree of Life” — ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลถึง 3 รางวัลด้วยกันซึ่งรวมถึงสาข ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ด้วย Method Studios ใช้ Maya ในการสร้าง CG แบบเต็มรูปแบบสำหรับภาพยนตร์ของ “Microbial” ที่แสดงประสิทธิภาพควบคู่ไปกับแนวทางปฎิบัติและเทคนิคการผสมผสาน โดย EBP Dan Glass ของ Method ก็ถ่ายทำโดยใช้ Maya, 3ds Max และ Mudbox เป็นแกนหลักเพื่อสร้างเหล่าไดโนเสาร์ที่น่าพิศวงที่สร้างโดย 50 ศิลปินที่ทำให้บรรลุความต้องการของ Terrence Malick ในฉากนี้
• “War Horse” — ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลถึง 6 รางวัลด้วยกันซึ่งรวมถึงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม Framestore ใช้ Maya ช่วยในการสร้างม้าดิจิตอล, ลวดหนามที่บูรณาการเป็นแบบวิชช่วลเอฟเฟค, สภาพแวดล้อมแบบดิจิตอลและเตรียมฉากถึง 200 ฉากสำหรับภาพยนตร์ดราม่ามหากาพย์ให้กับสตีเฟ่น สปีลเบิร์ก Hollywood และ London-based The Third Floor ยังได้ดูภาพก่อนโดยใช้ชุดเครื่องมือนั้นรวมไปถึง Maya ด้วย

View :1267

Related Posts

  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.