Home > Press/Release > ไอซีทีร่วมสรอ.เปิดคลาวด์ภาครัฐเวอร์ชันสมบูรณ์ ดึง 30 หน่วยงานรัฐประเดิม ระดมฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เน็ตเวิร์ค ฯลฯ รองรับ มั่นใจระบบง่ายถึงยากเอาอยู่

ไอซีทีร่วมสรอ.เปิดคลาวด์ภาครัฐเวอร์ชันสมบูรณ์ ดึง 30 หน่วยงานรัฐประเดิม ระดมฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เน็ตเวิร์ค ฯลฯ รองรับ มั่นใจระบบง่ายถึงยากเอาอยู่

พร้อมเจรจาสำนักงบประมาณหวังให้หน่วยงานรัฐขอใช้งบไอที ต้องพิจารณาสาธารณูปโภคส่วนกลางก่อน

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า ทางกระทรวงไอซีทีร่วมกับสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือสรอ. ได้ร่วมเปิดตัวระบบ Government Cloud Service ในเวอร์ชันสมบูรณ์แบบครั้งแรก ถือเป็นการดำเนินการแบบเต็มตัว ทั้งทางด้านเทคโนโลยี แผนงานการบริการเต็มรูปแบบ การเพิ่มโครงสร้างสาธารณูปโภค งบประมาณ และการเข้าไปร่วมแก้ไขกฎระเบียบทางด้านการจัดซื้อจัดจ้าง กฎหมาย ให้รองรับมากที่สุด เพื่อนำไปสู่การสร้างความเข้าใจและเพิ่มปริมาณการให้บริการมากยิ่งขึ้นในปีต่อๆ ไป จนทำให้ระบบนี้กลายเป็นระบบหลักทางด้านไอทีของประเทศในอนาคตอันใกล้
โครงการนี้ได้เลือกแอพพลิเคชันจาก 30 หน่วยงานในการเข้าร่วม Government Cloud Service เป็นจำนวนที่สมเหตุสมผล ทั้งในเงื่อนของเวลา ความเชี่ยวชาญจากฝ่ายไอทีของสรอ.และฝ่ายไอทีของหน่วยงานนั้นๆ การติดตั้งเพิ่มเติมของโครงสร้างพื้นฐานและระบบต่างๆ ของระบบคลาวด์ การเลือกดาต้าเซ็นเตอร์รายอื่นๆ เข้ามาเป็นพันธมิตร ทั้งหมดจะนำไปสู่ความพร้อมก่อนที่จะเร่งเครื่องให้บริการมากกว่านี้ได้ในปีต่อๆ ไป

ภาพรวมที่จะได้เห็นในปีนี้ก็คือ จะมีแอพพลิเคชันใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยถูกพัฒนามาก่อนของหน่วยงานรัฐ จะถูกผลักดันขึ้นสู่ระบบคลาวด์ตั้งแต่แรกเริ่ม เพราะการเขียนแอพพลิเคชันนั้นรองรับอยู่แล้ว ขณะเดียวกันแอพพลิเคชันเดิมที่เคยทำงานอยู่แล้ว จะมีการทยอยนำเข้าสู่ระบบคลาวด์แบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งในกรณีต้องใช้เวลา และไม่กระทบกับการปฎิบัติงานเดิม ซึ่งคาดว่าระบบคลาวด์จะยังเป็นแค่ส่วนน้อยอยู่ แต่คาดว่าภายใน 5 ปีแอพพลิเคชันที่ทำงานผ่านระบบคลาวด์ของภาครัฐจะมีมากกว่า 50% และนั่นจะทำให้ลดการลงทุนทางด้านไอทีของภาครัฐไปได้จำนวนมาก

สำหรับเวอร์ชันทดลองเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ในครั้งนั้นได้สร้างปรากฎการณ์ใหม่ขึ้นในระบบไอทีราชการไทย มีการติดต่อเพื่อที่จะนำระบบแอพพลิเคชันต่างๆ ของแต่ละหน่วยงานมาเข้าโครงการ แต่เนื่องจากในเวอร์ชันทดลองนั้นทางสรอ.มีความสามารถเปิดรับในเบื้องต้นเพียงแค่ 10 ระบบเท่านั้น ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือกกต., กรมปศุสัตว์, โครงการชัยพัฒนา, สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือสพธอ., กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, กรมธนารักษ์, สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือสสวท., สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISDA, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกรมการพัฒนาชุมชน

และเมื่อทำการสำรวจการใช้งานจริง ผลสำรวจของสรอ. จาก 9 ใน 10 ของหน่วยงานที่เข้ามาใช้ระบบพบว่า คะแนนรวมความพึงพอใจเท่ากับ 69% แบ่งเป็น 1. ด้านคุณภาพบริการ คะแนนเฉลี่ย 78% ประเด็นที่ได้คะแนนสูงที่สุด คือ ความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานบริการ 89% 2. การใช้งานบริการ Government Cloud คะแนนเฉลี่ย 73% ประเด็นที่ได้คะแนนสูงที่สุด คือ ความสะดวกในการใช้งานผ่านหน้าเว็บไซต์สำหรับจัดการ 78% และ ความสามารถดูแลและตรวจสอบการใช้งานของผู้ใช้บริการเว็บไซต์สำหรับจัดการ 78%
จากการสำรวจทั้งหมด ส่วนใหญ่ไม่เคยใช้บริการคลาวด์กับผู้ให้บริการรายอื่นมาก่อน มีเพียงรายเดียวที่เคยใช้บริการของ AMAZON EC2 โดยรายนี้ให้คะแนนสรอ. เท่ากับ 3 คะแนน และ AMAZON เท่ากับ 5 คะแนน ซึ่งทำให้เห็นว่าภาครัฐเองยังไม่มีความคุ้นเคยกับการใช้คลาวด์มาก่อน ดังนั้นจึงมีถึง 5 หน่วยงานที่ยังไม่แน่ใจว่าจะใช้บริการ Government Cloud Service ต่อไปหรือไม่ ส่วนหน่วยงานที่จะนำระบบขึ้นใช้บริการต่อไปจำนวน 4 หน่วยงานได้แก่ กรมธนารักษ์, สำนักส่งเสริมและพัฒนาการใช้ ICT, กรมป้องกันและบรรเทาฯ, สวทช. โดยหน่วยงานที่สนใจยังต้องการได้รับการสนับสนุนหลายด้านเกี่ยวกับการบริการคลาวด์ เช่น ความรู้ด้านรายละเอียดเกี่ยวกับการบริการทั้งหมดของคลาวด์ และการสนับสนุนด้านความช่วยเหลือในการถ่ายโอนข้อมูลและโอนย้ายระบบขึ้นใช้บริการคลาวด์
สรุปภาพรวมที่จะเห็นได้ในปีนี้ก็คือ ระบบ GIN เข้าสู่เวอร์ชัน 2.0, ระบบ Government Cloud Service ที่เริ่มใช้งานจริง, เกิดระบบ Smart Province รุ่นแรกๆ มีระบบ Application Market Place รองรับทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา และอื่นๆ เพื่อเป็นที่รองรับการพัฒนาแอพพลิเคชันและ Content ของประเทศ โดยมีระบบโทรคมนาคมที่ทันสมัยที่จะเริ่มมีการประมูลในปลายปีนี้มารองรับ จะทำให้ภาพไอทีของประเทศมีความเด่นชัดมากขึ้น และจะนำไปสู่การก้าวกระโดดในไม่ช้า

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือสรอ. เปิดเผยว่า จากการที่สรอ.ได้ดำเนินการระบบ Government Cloud Service ในชั้นทดลอง และได้ข้อมูลความต้องการ และได้ประเมินระบบทั้งหมดออกมา เมื่อเข้าสู่ระบบจริงตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทางสรอ.ได้พัฒนาระบบคลาวด์ขึ้นมาให้เทียบกับมาตรฐานสากลมากขึ้น โดยได้เสริมตั้งแต่ระบบฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เน็ตเวิร์ค ระบบรักษาความปลอดภัย และอื่นๆ เข้ามาอย่างมาก

ในส่วนของฮาร์ดแวร์นั้นมีการเพิ่มเติมเข้ามาอย่างมาก ตั้งแต่ระบบสภาพแวดล้อมใหม่ จากเดิมจะเน้นใช้ระบบภายในของสรอ.เอง ขณะนี้ได้กระจายเข้าใช้ใน IDC หรือศูนย์อินเทอร์เน็ตแหล่งต่างๆ ในประเทศมากขึ้น ดังนั้นฮาร์ดแวร์ที่ใส่ไปยังศูนย์เหล่านี้สรอ.ได้เพิ่มประสิทธิภาพ และมีความทันสมัย โดยในขั้นต้นมีการเพิ่มทั้งความเร็ว และความจุของระบบมากกว่า 2 เท่า

นอกจากนั้นแล้วทางสรอ.ยังได้วางสถาปัตยกรรมให้การเพิ่มความจุของฮาร์ดดิสก์ หรือความสามารถในการทำงานของระบบเพิ่มขึ้นตามความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา ซึ่งในชั้นนี้สรอ.ยังให้บริการเพียงแค่ IaaS หรือ Infrastructure as a Service หรือการทำให้หน่วยงายรัฐสามารถใช้โครงสร้างพื้นฐานทางอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลากับแอพพลิเคชันของตนเอง แต่ยังไม่ถึงขั้น SaaS หรือ Software as a Service ซึ่งเป็นมาตรฐานของระบบ Cloud Service ทั่วไป เนื่องจากทางสรอ.ยังไม่ได้ทำความตกลงกับหน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วม โดยทั้งหมดต้องกำหนดมาตรฐานร่วมกัน ซึ่งคาดว่าเมื่อหน่วยงานรัฐมีความคุ้นเคยกับระบบ IaaS แล้วภายในปีนี้ ในปีหน้าสรอ.จะสามารถเริ่มต้นเข้าสู่ระบบ SaaS ได้

สำหรับแผนดำเนินการของ Government Cloud Service ในรุ่นนี้ทางสรอ.จะรับระบบของหน่วยงานเข้ามาดูแลประมาณ 30 ระบบ โดยเฉลี่ยจะมีเซิร์ฟเวอร์รองรับในแต่ละระบบประมาณ 3 เครื่อง ตามแผนที่วางไว้จะมีการขึ้นเซิร์ฟเวอร์ในแต่ละเดือนประมาณ 20 เครื่อง หรืออย่างน้อย 5 หน่วยงาน ซึ่งจะทำให้เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ขึ้นกับระบบในปีนี้จะมีสูงถึง 80-100 เครื่องเลยทีเดียว

ปัจจุบันมีหน่วยงานที่แจ้งจะเข้าร่วมแล้วเกินกว่า 30 หน่วยงาน มากกว่าที่ทางสรอ.กำหนดเอาไว้ ดังนั้นหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกช่วงนี้จะเน้นรายที่นำเสนอเข้ามาก่อน และจะมีการพิจารณาถึงความพร้อมในการนำระบบขึ้นสู่อินเทอร์เน็ตของหน่วยงานนั้นๆ ซึ่งในขณะนี้การพิจารณาและการนำระบบขึ้นทั้งหมดเป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้ ส่วนรายที่พลาดจากปีงบประมาณนี้ ทางสรอ.ก็พร้อมจะให้คำปรึกษาในการเตรียมความพร้อมที่จะพัฒนาระบบให้สามารถขึ้นสู่คลาวด์ได้ในปีงบประมาณต่อๆ ไป

ส่วนระบบคลาวด์ในเวอร์ชันใหม่ของสรอ.ในครั้งนี้ มีตั้งแต่การมอบหมายให้ระบบคลาวด์ทำงานเป็น Backup Site หรือเป็นระบบสำรองของหน่วยงานทั้งหมด, การเป็น Web Hosting หรือการเป็นเซิร์ฟเวอร์หลักของเว็บไซต์หน่วยงานนั้นๆ, การสร้างระบบเฉพาะกิจเร่งด่วน ซึ่งเป็นระบบใหม่ที่ยังไม่เคยติดตั้งในหน่วยงานนั้นมาก่อน, การตั้งให้ระบบคลาวด์เป็นฐานข้อมูลหลักและสำรองของหน่วยงาน และสุดท้ายคือเป็นแอพพลิเคชันบนเว็บให้กับหน่วยงานต่างๆ ซึ่งระบบทั้งหมดมีทั้งความยาก ที่ซับซ้อนอย่างมาก เช่น การเป็น Backup Site ไปจนถึงระบบที่ง่ายๆ อย่างการเป็น Web Hosting ซึ่งการได้ดูแลทั้งหม

View :1191

Related Posts

Categories: Press/Release Tags:
  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.