Home > Press/Release > การจัดอันดับสุดยอดมหานครไอซีทีที่เอื้ออำนวยต่อภาคธุรกิจโดยอีริคสัน

การจัดอันดับสุดยอดมหานครไอซีทีที่เอื้ออำนวยต่อภาคธุรกิจโดยอีริคสัน


· ดัชนีชี้วัดมหานครแห่งสังคมเครือข่าย ฉบับพิมพ์ครั้งที่สาม (Networked Society City Index, third edition) ของอีริคสัน ได้จัดอันดับให้ นิวยอร์ค สต็อกโฮล์ม และลอนดอน เป็นเมืองที่มีการใช้เทคโนโลยีไอซีทีเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจได้มากที่สุด

· ภาคประชาชน (แทนที่จะเป็นภาคธุรกิจหรือองค์กรอื่นๆ) กลับกลายเป็นผู้ผลักดันให้เกิดการพัฒนาในด้านต่างๆ อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางไอซีที

· รายงานสรุปว่าภาคธุรกิจจะได้ประโยชน์จากไอซีที เมื่อมีกฏหมายและข้อกำหนดทางการเงินที่ชัดเจน รวมทั้งมีกระบวนการที่เรียบง่ายและรวดเร็ว ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม

ในวันนี้ อีริคสัน ได้เปิดตัวรายงานและดัชนีชี้วัดมหานครแห่งสังคมเครือข่าย ฉบับพิมพ์ครั้งที่สาม (Networked Society City Index, third edition) ซึ่งได้ทำการศึกษาประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีไอซีทีในมหานครขนาดใหญ่ 25 แห่ง ในฉบับที่พิมพ์ออกมาก่อนหน้านี้สองฉบับ ได้นำเสนอประโยชน์ของไอซีทีที่มีต่อเมืองและประชากรตามลำดับ แต่ฉบับนี้ได้มีการศึกษาเพิ่มเติมในส่วนของประโยชน์ที่มีต่อภาคธุรกิจ โดยครอบคลุมปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับวงจรธุรกิจในมหานครเหล่านี้ รวมทั้งมีการศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างความก้าวหน้าทางไอซีที และความสามารถในการใช้ไอซีทีเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจอีกด้วย จากการจัดอันดับพบว่า นิวยอร์ก สต็อกโฮล์ม และลอนดอน ได้คะแนนสูงสุดสามอันดับแรก

จากผลการศึกษาพบว่า เทคโนโลยีไอซีทีมีส่วนช่วยส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และสนับสนุนภาคธุรกิจให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ประการที่หนึ่ง ไอซีทีช่วยเพิ่มโอกาสในการเป็นเจ้าของธุรกิจ เช่น ทำให้เกิดสินค้าและบริการใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น music streaming, video streaming, e-commerce หรือบริการที่เกี่ยวข้องกับ cloud services เป็นต้น ประการที่สอง ไอซีทีทำให้สามารถเข้าถึงตลาดใหม่ๆได้ เช่น ในกรณีที่เจ้าของธุรกิจมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางแต่มีกลุ่มลูกค้าในวงจำกัด ก็สามารถขยายฐานลูกค้าออกไปสู่บริเวณที่กว้างขึ้นได้ และประการที่สาม ไอซีทีช่วยลดต้นทุนในการทำการค้าระหว่างบริษัทห้างร้าน เช่น บริษัทที่มีธุรกิจระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผู้ผลิต บริษัทคู่ค้าหรือพันธมิตร และกลุ่มลูกค้า ไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่ใกล้กันเสมอไป

คุณ Patrik Regårdh จาก Networked Society Lab ของอีริคสัน กล่าวว่า “ผู้เป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาในด้านต่างๆ อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไอซีที มักมาจากภาคประชาชน มากกว่าภาครัฐหรือภาคธุรกิจ โดยรัฐบาลมักปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้คน และภาคธุรกิจมักจะนำนวัตกรรมทางไอซีที มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานภายในองค์กร และสิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ การตัดสินใจด้านนโยบายของรัฐบาลมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีไอซีทีในภาคธุรกิจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบาย ข้อบังคับ การวางแผน รวมไปถึงการวิจัยและการสนับสนุนด้านเงินลงทุน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงทางธุรกิจ จากภาครัฐ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีไอซีทีให้เจริญก้าวหน้า รวมทั้งช่วยส่งเสริมให้องค์กรต่างๆ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ได้มีโอกาสเชื่อมต่อถึงกัน พัฒนาความร่วมมือ และแข่งขันกัน อย่างมีประสิทธิภาพ”

ความเกี่ยวข้องในเชิงบวกระหว่างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไอซีทีและการพัฒนาทางเศรษฐกิจนั้น เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ทั้งจากรายงานทางวิชาการหลายฉบับ และผลการวิจัยอื่นๆมากมาย เช่น จากรายงานของ Stockholm School of Economics ในปี 2012 สรุปว่า หากมีการเพิ่มของ broadband penetration เพียง 1 เปอร์เซ็นต์ จะทำให้มีการจดทะเบียนธุรกิจเพิ่มขึ้นถึง 3.8 เปอร์เซ็นต์ เลยทีเดียว

นอกจากสามเมืองหลักที่กล่าวข้างต้นแล้ว (นิวยอร์ก สต็อกโฮล์ม ลอนดอน) เมืองดังต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของการหาดัชนีชี้วัดครั้งนี้ด้วย คือ ปักกิ่ง บัวโนสไอเรส ไคโร เดลฮี ดัคคา อิสตันบูล จาร์การ์ตา โยฮันเนสเบิร์ก การาจี ลากอส ลอสเองเจลิส มะนิลา เม็กซิโกซิตี มอสโค มุมไบ ปารีส เซาเปาโล โซล เซี่ยงไฮ้ ซิดนีย์ และโตเกียว โดยมีการศึกษาตัวบ่งชี้ 28 ประการ ที่สะท้อนถึงประโยชน์ของไอซีทีโดยรวม ในการหาดัชนีชี้วัดของแต่ละเมือง ตัวบ่งชี้เหล่านี้สามารถแบ่งออกได้เป็นสองจำพวก คือ พวกที่เกี่ยวข้องกับความก้าวหน้าทางไอซีทีภายในเมือง และที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์จากการลงทุนด้านไอซีที ทั้งจากมุมมองทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

View :1246

Related Posts

Categories: Press/Release Tags:
  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.