Archive

Author Archive

จอน เฟเดอริค บัคซอส ซีอีโอ ของเทเลนอร์ ได้รับเลือกเป็นประธาน GSMA

October 31st, 2013 No comments

jon-fredrik-baksaas-2
กรุงเทพฯ 30 ตุลาคม 2556, นายจอน เฟรดริค บัคซอส ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทเลนอร์ กรุ๊ป ได้รับเลือกเป็นประธานคนใหม่ของ GSMA สมาคมที่เป็นตัวแทนของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการสื่อสารไร้สายจากทั่วโลกเกือบ 800 ราย โดยนายจอน เฟรดริค บัคซอส เข้ารับตำแหน่งต่อจากนายฟรังโก้ แบคนาเบ้ โดยจะดำรงตำแหน่งไปจนสิ้นสุดวาระของคณะกรรมการชุดปัจจุบันในเดือนธันวาคม ปี 2557

ในฐานะประธานของ GSMA นายจอน เฟรดริค บัคซอส จะรับผิดชอบด้านทิศทางกลยุทธ์ของสมาคม ซึ่งนอกจากจะมีสมาชิกที่เป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการสื่อสารไร้สายจากทั่วโลกเกือบ 800 รายแล้ว ยังรวมไปถึงอีก 250 บริษัทที่อยู่ในแวดวงที่เกี่ยวข้อง เช่นบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริษัทผู้ผลิตซอฟท์แวร์ ผู้ให้บริการโครงข่าย บริษัทผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต และองค์กรที่อยู่ในอุตสาหกรรมอื่น เช่นสถาบันการเงิน เฮล์ธแคร์ ธุรกิจสื่อ การคมนาคม นอกจากนี้ GSMA ยังเป็นผู้จัดงานอีเว้นท์สำคัญๆ ของอุตสาหกรรม เช่น โมบายล์ เวิลด์ คองเกรส และ โมบายล์ เอเชีย เอ็กซ์โป อีกด้วย

“ผมยินดีที่จะได้ร่วมงานกับคณะกรรมการท่านอื่นๆ ทีมงานของ GSMA และสมาชิกทั้งหมดของเราเพื่อที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของเราให้ก้าวหน้าต่อไป ผมถือว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำงานในอุตสาหกรรมที่สร้างความแตกต่างให้กับทุกคนในสังคม เป้าหมายสูงสุดของเราวันนี้คือการที่จะเชื่อมต่อทุกชีวิตบนโลกด้วยอินเตอร์เน็ต และการที่จะบรรลุเป้าหมายนั้นได้ GSMA จะมุ่งมั่นพัฒนาระบบโครงข่าย พัฒนาบริการที่ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและความปลอดภัย รวมทั้งมุ่งมั่นที่จะเป็นตัวแทนของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมในการเจรจากับหน่วยงานรัฐบาลที่กำกับดูแล” นายบัคซอส กล่าว

“วันนี้เราอยู่ในช่วงรอยต่อที่สำคัญของอุตสาหกรรมการสื่อสารไร้สายที่ผู้คนจำนวนมากมีการเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ดิฉันมีความยินดีที่จะได้ร่วมงานกับคุณจอน เฟรดริค บัคซอส และคณะกรรมการของ GSMA ท่านอื่นๆ ในการร่วมกันพัฒนาโปรแกรมทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกเพื่อต่อยอดการเติบโตและการลงทุนในตลาดการสื่อสารไร้สาย เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับทุกๆคนบนโลกใบนี้” นางสาวแอนน์ บูแวโร่ ตำแหน่ง Director General ของ GSMA กล่าว

นายจอน เฟรดริค บัคซอส วัย 59 ปี เป็นชาวนอร์เวย์ และทำงานอยู่ในแวดวงโทรคมนาคมมากว่า 25 ปี โดยดำรงตำแหน่งประธานและซีอีโอของเทเลนอร์กรุ๊ปตั้งแต่ปี 2545 นายบัคซอสเป็นหนึ่งในคณะกรรมการของ VimpelCom , Svenska Handelsbanken AB, GSMA และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการที่ปรึกษาของ Det Norske Veritas นายบาคซาสจบการศึกษาปริญญาโทจาก Norwegian School of Economics and Business Administration และหลักสูตรเพิ่มเติมจาก IMD กรุงโลซาน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

View :1287
Categories: Press/Release Tags:

ดีแทคเผยผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2556 รายได้จากการให้บริการ เติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

October 30th, 2013 No comments

29 ตุลาคม 2556 – บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ เผยผลประกอบการยังคงเติบโตต่อเนื่อง ถึงแม้จะมีปัจจัยลบทางด้านเศรษฐกิจและการแข่งขันในตลาดที่สูงขึ้นประกอบกับการปรับลดอัตราค่าเชื่อมต่อโครงข่าย (Interconnection หรือ IC) ในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา รายได้จากการให้บริการ (ไม่รวม IC) เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 10.2 จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน (YoY) โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการเติบโตของบริการอินเทอร์เน็ตไร้สายที่เติบโตมากกว่าร้อยละ 80 จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน (YoY) เป็นไตรมาสที่ 7 ติดต่อกัน รายได้จากการขายเครื่องโทรศัพท์ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 32.6 จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน (YoY) แต่ปรับลดลงจากไตรมาส 2 ที่ผ่านมาเนื่องจากปัจจัยทางเศรษฐกิฐและการรอคอยการเปิดตัวไอโฟน 5s ในไตรมาส 4 สำหรับรายได้จากการดำเนินงานรวม 21.4 พันล้านบาท ปรับตัวขึ้นเพียงเล็กน้อยจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน เนื่องมาจากการปรับลดอัตราค่าเชื่อมโยงโครงข่ายทั้งระบบ 2G และ 3G ที่มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2556

จุดเด่นในไตรมาสที่ 3 ยังคงเป็นรายได้จากบริการเสริมที่เติบโตต่อเนื่อง ถึงร้อยละ 54.5 จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน (YoY) และร้อยละ 10.3 จากไตรมาสก่อน (QoQ) อยู่ที่ 5.9 พันล้านบาท แรงขับเคลื่อนหลักของรายได้จากบริการเสริมยังคงเป็นการใช้อินเทอร์เน็ตไร้สายที่เติบโตอย่างต่อเนื่องร้อยละ 85.8 จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน (YoY) และร้อยละ 14.1 จากไตรมาสก่อน (QoQ) ซึ่งเป็นผลจากความนิยมในสมาร์ทโฟนและแอพพลิเคชั่นสังคมออนไลน์ที่ยังคงมีสูงต่อเนื่อง และการขยายพื้นที่ให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ครอบคลุมพื้นที่การให้บริการได้ครบ 77 จังหวัดทั่วประเทศของดีแทค

EBITDA สำหรับไตรมาสที่ 3 ปี 2556 เท่ากับ 7.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน จากการเติบโตของรายได้และการบริหารจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิผล EBITDA margin ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 33.4 เนื่องจากการปรับลดอัตราค่าเชื่อมโยงโครงข่าย กำไรสุทธิสำหรับงวดเท่ากับ 2.7 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.7 จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายของค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและการลงทุนในระบบ 3G 2.1GHz

ในส่วนผู้ใช้บริการสมาร์ทโฟนต่อผู้ใช้บริการทั้งหมดของดีแทคเพิ่มขึ้นสู่ร้อยละ 29.1 ในไตรมาส 3 ของปี 2556 จากการทำตลาดดีแทค ไตรเน็ต โฟน และ ราคาสมาร์ทโฟนที่ลดลงในตลาด การเพิ่มขึ้นของผู้ใช้บริการสมาร์ทโฟนส่งผลดีให้ดีแทคในการเติบโตของรายได้บริการอินเทอร์เน็ตและความต้องการของลูกค้าปัจจุบันที่มีความประสงค์โอนย้ายสู่ระบบ 3G 2.1GHz

ดีแทค ไตรเน็ต ได้โอนย้ายลูกค้าตามความต้องการ ที่จะมาใช้งานไปแล้วจำนวน 3.7 ล้านราย โดยยังมีลูกค้าที่แจ้งความต้องการย้ายมาใช้บริการดีแทค ไตรเน็ตอีก 8.2 ล้านราย ซีงดีแทคมั่นใจว่า จะทำให้บรรลุเป้าหมายที่จะมีลูกค้าเข้ามาใช้ดีแทค ไตรเน็ตจนถึงสิ้นปีนี้ครบ 10 ล้าน

นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า “รายได้การให้บริการที่เติบโตต่อเนื่อง เป็นผลมาจากการใช้งานโมบายล์อินเทอร์เน็ต และสมาร์ทโฟนที่ได้รับความนิยมมากขึ้น และความแข็งแกร่งในการดำเนินธุรกิจและการทำตลาด ที่จัดแคมเปญต่อเนื่องเพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเครือข่ายอื่นย้ายเข้ามาใช้ดีแทค ไตรเน็ต

คาดว่าในปลายปีนี้ภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมจะทวีความเข้มข้นมากขึ้น จากความพร้อมทางด้านเครือข่าย 3G ของทุกค่ายที่ครอบคลุมทั่วประเทศ ทำให้แต่ละค่ายจะต้องออกแคมเปญมาช่วงชิงลูกค้ากันอย่างร้อนแรง สำหรับจุดยืนของดีแทค เรายังคงมุ่งเน้นในการขยายและพัฒนาคุณภาพเครือข่ายดีแทค ไตรเน็ต ซึ่งได้ดำเนินการติดตั้งและเปิดให้บริการได้ครบแล้วใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งด้วย ไตรเน็ต 3 โครงข่ายอัจฉริยะ จะช่วยให้การเชื่อมต่อสัญญาณ เพื่อการใช้งานเป็นไปอย่างราบรื่นไร้รอยต่อ ลูกค้าสามารถใช้งานต่อเนื่องบน 3G ได้โดยไม่สะดุดและสามารถทำให้ลูกค้าของเราได้รับบริการที่มีคุณภาพสูงตลอดการใช้งาน”

ปัจจุบันดีแทค และ ดีแทค ไตรเน็ต มีสถานีฐานรวมกันแล้วประมาณ 20,000 สถานีฐาน ซึ่งจะครอบคลุมประชากรร้อยละ 55 ได้ภายในสิ้นปีและจะยังคงขยายพัฒนาสถานีฐานต่อไป สร้างความพึงพอใจในการใช้บริการให้ลูกค้าดีแทคอย่างต่อเนื่อง

View :1623
Categories: Technology, Telecom Tags:

ไซแมนเทคเผยรายได้รวมไตรมาส 2 ปี 2014

October 30th, 2013 No comments

ไซแมนเทคผลประกอบการในปี 2014 แสดงให้เห็นถึงช่วงเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญที่กำลังดำเนินอยู่ โดยมีเป้าหมายการเติบโตในระยะยาว แม้ว่ารายได้จะลดลง แต่ไซแมนเทคสามารถสร้างผลตอบแทนในรูปของมาร์จินและรายได้ต่อหุ้นที่ดีกว่าคาด ไซแมนเทคคอร์ป (Nasdaq: SYMC) รายงานผลประกอบการไตรมาสสองของปีงบประมาณ 2014 สิ้นสุด ณ วันที่ 27 กันยายน 2013 ว่ามีรายได้รวม 1.64 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และลดลงร้อยละ 3 หลังการปรับอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว

MOUNTAIN VIEW, Calif. – October 28, 2013 : มร.สตีฟ เบนเน็ตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของไซแมนเทค กล่าวว่า นับตั้งแต่มีการประกาศกลยุทธ์ของไซแมนเทคในเดือนมกราคม ไซแมนเทคได้มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ ที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในธุรกิจ มีการการส่งมอบงานให้กับลูกค้า และคู่ค้ามากขึ้น ได้จัดสรร ทรัพยากรเพื่อพัฒนาข้อเสนอแบบบูรณาการใหม่ๆ การแยกหน่วยงานด้านการขายออกเป็นทีม ที่ดูแลการต่ออายุผลิตภัณฑ์ของลูกค้าเก่า และทีมขายสำหรับธุรกิจใหม่ ตลอดจนทำให้โครงสร้างการจัดการของไซแมนเทคให้มีความเรียบง่ายมากขึ้น ตัวเลขการเติบโตในไตรมาสนี้เป็นไตรมาสที่ท้าทายในปีแห่งการเปลี่ยนแปลงของไซแมนเทค ซึ่ง คาดหวังว่าการดำเนินธุรกิจของไซแมนเทคจะนำไปสู่การเติบโต ไซแมนเทคยังคง มุ่งมั่นที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ในปี งบประมาณ 2015- 2017 และ มั่นใจว่าจะกลับมาอยู่บนเส้นทางที่ถูกต้องได้อีกครั้ง

มร.ดริว เดล แมทโต รักษาการแทนหัวหน้าเจ้าหน้าที่การเงินของ กล่าวว่า “การปรับกลยุทธ์เป็นเรื่องที่มีความจำเป็น และจะ สร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการเติบโต ในระยะยาวต่อไป รายได้ของไซแมนเทคจะลดลงในไตรมาสที่สิ้นสุดเมื่อเดือนกันยายน แต่กลับทำรายได้จากการดำเนินงาน และกำไรต่อหุ้นได้มากขึ้น เนื่องจากการรายได้ที่ลดลงในไตรมาส ที่สอง และการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของไซแมนเทค กำลังดำเนินการอยู่ ทำให้มีรายได้ในปีงบประมาณ 2014 ต่ำกว่าที่คาดการณ์เอาไว้”

ผลประกอบการไตรมาสสองปีงบประมาณ 2014 ตามมาตรฐาน GAAP
· อัตรากำไรการดำเนินงานตามมาตรฐาน GAAP อยู่ที่ร้อยละ 15.1 เทียบกับร้อยละ 17.5 ในช่วงไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา
· กำไรสุทธิตามมาตรฐาน GAAP อยู่ที่ 241 ล้านดอลลาร์ เทียบกับกำไรสุทธิในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 189 ล้านดอลลาร์
· กำไรต่อหุ้นตามมาตรฐาน GAAP อยู่ที่ 0.34 ดอลลาร์ต่อหุ้น เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 26
· รายได้ล่วงหน้ามาตรฐาน GAAP ณ วันที่ 27 กันยายน 2013 อยู่ที่ 3.50 พันล้านดอลลาร์เทียบกับ3.62 พันล้านดอลลาร์ ณ วันที่ 28 กันยายน 2012 ลดลงร้อยละ 3 ต่อปี
· กระแสเงินสดจากการดำเนินงานมีมูลค่า 191 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ผลประกอบการไตรมาสสองปีงบประมาณ 2014 (non-GAAP)
· อัตรากำไรจากการดำเนินงานอยู่ที่ร้อยละ 27.6 เทียบกับร้อยละ 27.0 ในช่วงไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.60 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และเท่าเดิมหลังปรับอัตราแลกเปลี่ยน
· กำไรสุทธิอยู่ที่ 355 ล้านดอลลาร์เทียบกับกำไรสุทธิของปีที่ผ่านมา 318 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
· กำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 0.45 ดอลลาร์ต่อหุ้นเทียบกับ 0.42 ของไตรมาสเดียวกันในปีที่ผ่านมา เพื่อขึ้นร้อยละ 7

ข้อมูลโดยสรุปแยกตามกลุ่มธุรกิจ และภูมิภาคในไตรมาส
เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ 4.0 ของไซแมนเทค ดังนั้นไซแมนเทคได้แยกธุรกิจออกเป็น 3 กลุ่มใหม่ ต่อไปนี้เป็นรายงานผลประกอบการตามส่วนงาน และภูมิภาคที่ได้แบ่งไว้

ส่วนการป้องกัน และเพิ่มผลผลิตในการทำงานของผู้ใช้ (User Productivity & Protection)
ซึ่งประกอบด้วยการรักษาความปลอดภัยและการจัดการอุปกรณ์ปลายทาง (endpoint) , การเข้ารหัส และการให้บริการแก่ผู้ใช้งานแบบโมไบล์คิดเป็นร้อยละ 44 ของรายได้รวมทั้งหมด และลดลงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านม ร้อยละ( 2 หลังจากปรับอัตราแลกเปลี่ยน) ถึง 719 ล้านดอลลาร์

ส่วนการรักษาความปลอดภัยข้อมูล (Information Security)
ลดลงร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ( ร้อยละ 1 หลังจากปรับอัตราแลกเปลี่ยน) $ 316 ล้านดอลลาร์ ส่วนนี้คิดเป็นร้อยละ 19 ของรายได้รวม และรวมถึงความสามารถในการรักษาความปลอดภัยต่างๆ ของไซแมนเทค เช่น การรักษาความปลอดภัยอีเมล์ และเว็บของเรา บริการการตรวจสอบตัวตน การรักษาความปลอดภัยศูนย์ข้อมูล บริการรักษาความปลอดภัยแบบ Managed Security Services (MSS) บริการการรักษาความปลอดภัยแบบเช่าใช้ และการป้องกันการสูญหายของข้อมูลทางธุรกิจ (DLP )

ส่วนการจัดการข้อมูล (Information Managemen)
คิดเป็นร้อยละ 37 ของรายได้รวมทั้งหมด และลดลงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ( ละร้อย 6 หลังจากปรับอัตราแลกเปลี่ยน ) ถึง 602 ล้านดอลลาร์ ส่วนนี้จะ ประกอบไปด้วยการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการสำรอง และการกู้คืนข้อมูล ระบบข้อมูลอัจฉริยะ ซึ่งรวมถึงการเก็บรักษาข้อมูล และการค้นหาแบบอิเล็กทรอนิกส์ และความพร้อมในการใช้งานของข้อมูล ซึ่งก่อนหน้านี้ ที่ไซแมนเทค เรียกว่าการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูล
· รายได้ในระดับนานาชาติคิดเป็นร้อยละ 52 ของรายได้รวมทั้งหมด และลดลงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ร้อยละ( 2 หลังจากปรับอัตราแลกเปลี่ยน)
· ภูมิภาคยุโรปตะวันออกกลาง และแอฟริกา คิดเป็นร้อยละ 28 ของรายได้รวมทั้งหมด เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ( 1 หลังจากปรับอัตราแลกเปลี่ยน)
· ภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก / ญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 18 ของรายได้รวมทั้งหมด และลดลงร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา (ร้อยละ 5 หลังจากปรับอัตราแลกเปลี่ยน)
· อเมริกา รวมทั้งสหรัฐอเมริกา , ละตินอเมริกา และแคนาดา คิดเป็นร้อยละร้อยละ 54 ของรายได้รวมทั้งหมด และลดลงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา (ร้อยละ 4 หลังจากปรับอัตราแลกเปลี่ยน)
การจัดสรรเงินทุน
ไซแมนเทคปิดไตรมาสด้วยเงินสด รายการเทียบเท่าเงินสด และเงินลงทุนระยะสั้นที่ 3.8 พันล้านดอลลาร์เทียบกับ 4 พันล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 4 เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2013 ได้จ่ายเงินปันผลที่ 0.15 ดอลลาร์ต่อหุ้นรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 105 ล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ในระหว่างไตรมาส ไซแมนเทคได้ซื้อหุ้นคืนทั้งสิ้น 5 ล้านหุ้นด้วยเงิน 125 ล้านดอลลาร์ที่ราคาเฉลี่ย 24.99 ดอลลาร์ต่อหุ้น ณ วันสิ้นสุดไตรมาสสองไซแมนเทคยังมีเงินคงเหลือ 908 ล้านดอลลาร์สำหรับการซื้อหุ้นคืนในอนาคต ซึ่งขณะนี้แผนการซื้อหุ้นคืนได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการแล้ว

คณะกรรมการของไซแมนเทคได้ประกาศจ่ายเงินปันผลรายไตรมาสที่ 0.15 ดอลลาร์ต่อหุ้นสามัญที่จะจ่ายให้ในวันที่ 18 ธันวาคม 2013 แก่ผู้ถือหุ้นทั้งหมดที่ถือหุ้นไว้จนถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2013 วันที่ซื้อหุ้นโดยไม่ได้รับเงินปันผลจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2013

แนวทางปีงบประมาณ 2014
เนื่องจากรายได้จากไตรมาสเดือนกันยายนลดลง และการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจสำคัญๆ ที่ไซแมนเทคกำลังผลักดันอยู่ ได้ปรับลดตัวเลขการคาดการณ์รายได้ประจำปีลง โดยไซแมนเทคคาดว่า :
· รายได้จะลดลงร้อยละ 3-4 ในอัตราแลกเปลี่ยนคงที่
· กำไรจากการดำเนินงานแบบ non-GAAP ที่จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.30 ถึง 0.60
· กำไรต่อหุ้นแบบ non-GAAP จะอยู่ระหว่างร้อยละ -1.0 และ 1.5 เมื่อเทียบกับปีงบการเงินที่ผ่านมา
แนวทางปีงบประมาณ 2014 ไตรมาสสาม
สำหรับไตรมาสสามของปีงบการเงิน 2014 ไซแมนเทคคาดว่า:
· จะมีรายได้ 1.63 ถึง 1.67 พันล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับ 1.79 พันล้านในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
· จะมีกำไรจากการดำเนินงานแบบ GAAP ที่ร้อยละ 17.0 ถึง 17.6 เมื่อเทียบกับร้อยละ 17.0 ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
· จะมีกำไรจากการดำเนินงานแบบ non-GAAP ที่ร้อยละ 25.6 ถึง 26.2 เมื่อเทียบกับร้อยละ 25.9 ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
· จะมีกำไรต่อหุ้นแบบ GAAP อยู่ที่ 0.26 ถึง 0.28 ดอลลาร์ เมื่อเทียบกับ 0.31 ดอลลาร์ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
· จะมีกำไรต่อหุ้นแบบ non-GAAP อยู่ที่ 0.41 ถึง 0.43 ดอลลาร์ เมื่อเทียบกับ 0.45 ดอลลาร์ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

แนวทางอยู่บนสมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยนที่ 1.35 ดอลลาร์ต่อยูโร สำหรับไตรมาสเดือนธันวาคม 2013 เทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักจริงที่ 1.30 ดอลลาร์ และ ณ วันสิ้นสุดของระยะเวลาในอัตรา 1.32 ดอลลาร์ต่อยูโรสำหรับไตรมาสเดือนธันวาคม 2012 แนวทางของเราอยู่บนสมมติฐานว่าอัตราภาษีอยู่ที่ร้อยละ 28 และรายการเทียบเท่าหุ้นสามัญทั้งหมดสำหรับไตรมาสอยู่ที่ประมาณ 707 ล้านหุ้น

View :1262

เกมพลิกชีวิต การีน่า ออนไลน์ (ประเทศไทย) ปี 2556 โตพรวด 300 %

October 25th, 2013 No comments

(ประเทศไทย)” พลิกชีวิต พลิกคนเล่นเกม จากจุดเริ่มต้นจากแนวคิด ที่ต้องการเปลี่ยนมุมมองของการเล่นเกม จนปัจจุบันเกมออนไลน์สร้างรายได้ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ รวมรายได้ในแต่ละการแข่งขันหลายล้านบาท ด้านผู้บริหาร “นายสกลกรย์ สระกวี” เผย ปี 2556 รายได้โตพรวด 1,200 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 300% จากปีก่อน พร้อมตั้งเป้าปี 2557 โตอีก 150% เตรียมเปิดตัวเกมใหม่ ๆ เพิ่มอีก

นายสกลกรย์ สระกวี กรรมการผู้จัดการ บริษัท การีน่า ออนไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า การีนา ออนไลน์ (ประเทศไทย) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2552 ภายใต้ชื่อ “Playinter Group 2009” มีจุดเริ่มต้นจากแนวความคิดของกลุ่มคนรุ่นใหม่ 7 คน ที่ชื่นชอบและเล่นเกมเดียวกัน มีเป้าหมายที่จะสร้างสรรค์สังคมที่ดี ให้เกิดขึ้นในกลุ่มของคนเล่นเกม โดยเติบโตจากห้องเล็กๆ จนเป็นโฮมออฟฟิศ และกลายเป็นออฟฟิศขนาดใหญ่ที่มีพนักงานกว่า 150 คน ในที่สุด

และเมื่อปี พ.ศ. 2554 บริษัทได้มีโอกาสร่วมมือกับบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งวงการเกม Garena ซึ่งก่อตั้งขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ โดยเริ่มเปิดให้บริการเกมครั้งแรกในรูปแบบเซิร์ฟเวอร์ Southeast Asia ได้แก่เกม Heroes of Newerth ที่มีความพิเศษ ตรงที่ผู้เล่นในประเทศไทย สามารถเล่นกับผู้เล่นชาวต่างชาติได้ ในรูปแบบของภาษาไทย ภายใต้ชื่อบริษัทใหม่ว่า Playinter Co.,Ltd.

นายสกลกรย์ สระกวี  กรรมการผู้จัดการ บริษัท การีน่า ออนไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด

นายสกลกรย์ สระกวี กรรมการผู้จัดการ บริษัท การีน่า ออนไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด

โดยที่บริษัท Garena ได้ทำการขยายสาขาไปสู่ประเทศต่างๆ ทั้ง ไต้หวัน , เวียดนาม , ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย จนประทั่งเดือนสิงหาคมปี 2556 ได้มีการรวมตัวครั้งใหญ่อีกครั้งกับ Playinter Co.ltd. ภายใต้ชื่อ “การีนา ออนไลน์ (ประเทศไทย)” มาจนปัจจุบัน ซึ่งได้เปิดให้บริการเกมออนไลน์คุณภาพชั้นยอดทั้งหมด 4 เกม คือ League Of Legend , Heroes of Newerth , Point Blank และ FIFA Online 3 โดยแต่ละเกมได้รับความนิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ จนได้มีการจัดแข่งขัน E-Sports ที่มีเงินรางวัลมูลค่ามหาศาล

นายสกลกรย์ กล่าวต่อไปว่า จุดแข็งของเราคือ เราเป็น Multi-functional Platform ที่ไม่ได้มีแค่ไว้เล่นเกม แต่เป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง คล้ายๆ MSN ทำให้เกมเมอร์สามารถสื่อสารพูดคุยกันได้สะดวก ไม่ว่าจะเป็นเสียง หรือวีดีโอ และในอนาคตก็จะเป็นแหล่งรวมวีดีโอ, ช่องรายการอินเตอร์เน็ตทีวี หรือการถ่ายทอดสดเกมออนไลน์ผ่านระบบของเรา ด้วยจุดแข็งที่เรามี ทำให้เราต่อยอดไปได้ไกลมากกว่าจะเป็นแค่ผู้ให้บริการเกมออนไลน์เพียงอย่างเดียว และเรายังสามารถนำเกมออนไลน์ระดับโลก หรือ เกมออนไลน์ยอดนิยมในต่างประเทศมาให้บริการในประเทศไทยได้ง่ายกว่าผู้บริการรายอื่นๆ เนื่องจากการซื้อลิขสิทธิ์ทั่วทั้งโซน SEA ทำให้สามารถต่อรองราคา และทางผู้พัฒนาต่างประเทศ มีความเชื่อมั่นในการให้บริการของเราค่อนข้างสูง หลังจากเกมทุกเกมที่ให้บริการโดย Garena ประสบความสำเร็จทุกที่ ไม่แค่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น

“ตลาดเกมออนไลน์ มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีตลาดเกมออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟนเข้ามาเป็นกลไกกระตุ้นตลาด ซึ่งถือเป็นตลาดใหม่ที่ผู้ให้บริการเกมออนไลน์เล็งเห็นถึงโอกาส และ Garena ก็เล็งเห็นเช่นเดียวกัน ในอนาคต Garena มีแนวความคิดจะนำเกมออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน มาให้บริการเช่นเดียวกัน ซึ่งในปี 2556 บริษัทตั้งเป้าไว้ที่ 1,200 ล้านบาท เติบโตจากปีที่แล้ว 300% และคาดว่าในปี 2557 บริษัทฯ จะมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นมากกว่า 150 % เนื่องจากคอนเทนต์ของบริษัทฯ เพิ่มมากขึ้น แต่ยังคงเน้นเกมแนวแข่งขันเหมือนเดิม ซึ่งเป็นจุดเด่นของบริษัทฯ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเกมแนวอื่นๆ ทาง Garena จะไม่นำเข้ามา ซึ่งทางเรากำลังศึกษารอดูตลาดอยู่” นายสกลกรย์ กล่าว

สำหรับปัญหา และอุปสรรคของธุรกิจเกมออนไลน์ อยู่ที่ปัญหาสังคม และผู้ใหญ่บางคนยังมองเกมออนไลน์เป็นสิ่งมอมเมา แต่ผู้ใหญ่หลายๆ ท่านก็เริ่มรับได้แล้วถึงที่มาที่ไป และเริ่มทำความเข้าใจกับเกมออนไลน์มากขึ้นว่า เกมเป็นแค่ปัญหาบางส่วน ส่วนอุปสรรคอีกหนึ่งข้อ คือ ฐานลูกค้า หรือกลุ่มผู้เล่นเกมออนไลน์ ยังคงเป็นกลุ่มเดิม หากยังไม่มีการขยายฐานลูกค้าไปมากขึ้นกว่านี้ ผู้ประกอบการมีแต่จะต้องแบ่งส่วนแบ่งการตลาดกันเอง ทำให้ตลาดโตได้ไม่เต็มที่

“ เป้าหมายทางธุรกิจของ Garena ในอีก 3-5 ปี เรามองธุรกิจเกมออนไลน์ เป็นธุรกิจเอ็นเตอร์- เทนเม้นท์อย่างหนึ่ง ซึ่งเราขายคอนเทนต์ ดังนั้นไม่เพียงแต่ธุรกิจเกมออนไลน์ ที่เป็นธุรกิจหลักของเราแล้ว ในช่วงระยะ 3 – 5 ปีนี้ เราจะต่อยอดไปในด้านธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเม้นท์มากขึ้น ซึ่งล่าสุดได้เปิดตัวโปรแกรม Talk Talk โปรแกรมพูดคุยผ่านเสียง และวิดีโอ ที่กำลังเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นอยู่ในขณะนี้ โดยรูปแบบคล้าย Cam frog แต่เป็น Cam frog สีขาว ไม่มีการโชว์โป๊เปลือย หรืออนาจาร แต่มีการเปิดห้องพูดคุยกันผ่านเสียง ใครที่เป็น DJ ที่ได้รับการอนุญาตจากทางเราให้เปิดกล้อง webcam ได้ สามารถเป็น DJ จัดรายการ และตัว DJ นั้นจะมีรายได้จากการที่ผู้เล่นส่งของขวัญให้อีกด้วย” นายสกลกรย์ กล่าวปิดท้าย

View :1856

WD เปิดตัว WD Sentinel DS5100 และ DS6100

October 25th, 2013 No comments

WD Sentinel DS 5100 and 6100_PRN_re
อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลบนเครือข่ายพร้อมเซิร์ฟเวอร์ไซส์กะทัดรัดใหม่ เล็งเจาะตลาดธุรกิจขนาดเล็ก ในราคาที่เป็นเจ้าของได้

กรุงเทพฯ –24 ตุลาคม 2556– –WD® บริษัทในเครือของเวสเทิร์น ดิจิตอล คอร์เปอเรชั่น และเป็นผู้นำระดับโลกด้านอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลดิจิตอลประกาศขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์จัดเก็บข้อมูลสำหรับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMB) ระลอกใหม่ ด้วยการเปิดตัวอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลบนเครือข่ายพร้อมเซิร์ฟเวอร์ขนาดสุดกะทัดรัดใหม่ล่าสุดสองรุ่นคือ WD Sentinel™ DS5100 และ (ซีรีส์ S) โดยผลิตภัณฑ์ WD Sentinel ซีรีส์ S สำหรับเครื่องเดสก์ท็อปนี้ใช้ตัวประมวลผล Intel® Xeon® ประสิทธิภาพสูง มีช่องเสียบฮาร์ดดิสก์สี่ช่อง และมีการติดตั้งซอฟต์แวร์ Windows Server 2012 R2 Essentials พร้อมกับอุปกรณ์ล่วงหน้า นอกจากนี้แล้ว ผลิตภัณฑ์ WD Sentinel ทุกตัวยังใช้ฮาร์ดดิสก์ระดับองค์กรของ WD สามารถจัดเก็บข้อมูลได้สูงสุดถึง 16 TB และยังแตกต่างจากระบบ NAS แบบเดิมๆ ตรงที่เปิดโอกาสให้บรรดาธุรกิจขนาดเล็กสามารถรันแอพพลิเคชันในสายธุรกิจบนแพลตฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลบนเครือข่ายได้อย่างไม่ติดขัด

WD Sentinel ซีรีส์ S เป็นโซลูชันที่ได้รับการกำหนดค่าอย่างสมบูรณ์และเต็มรูปแบบ พร้อมการสำรองข้อมูลอัตโนมัติและการคืนค่าซอฟต์แวร์สำหรับผู้ใช้ได้สูงสุดจำนวน 25 ราย และคอมพิวเตอร์ได้สูงสุด 50 เครื่อง คุณสมบัติทั้งหมดนี้อยู่ในราคาที่เป็นเจ้าของได้ ราคาค้าปลีกแนะนำของผู้ผลิตเริ่มต้นที่ 109,000 บาท และด้วยการรวมโซลูชันที่เป็นหนึ่งเดียวสำหรับทั้งข้อกำหนดในการจัดเก็บข้อมูลและข้อกำหนดของเซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์ในซีรีส์ S นี้จึงถือเป็นสุดยอดระบบสำหรับธุรกิจขนาดเล็กใดๆ ก็ตามที่กำลังมองหาเซิร์ฟเวอร์ตัวแรกสำหรับบริษัท

การวางจำหน่าย
อุปกรณ์ WD Sentinel ซีรีส์ S นี้พร้อมวางจำหน่ายแล้ววันนี้โดยผ่านผู้ขายสินค้ามูลค่าเพิ่ม (VAR) บริษัทตัวแทนจำหน่ายและผู้จัดจำหน่ายทั่วโลกที่ได้รับการแต่งตั้ง โดย ซึ่งเป็นแบบ pre-populated จะมาพร้อมความจุสองขนาดคือ 4 TB และ 8 TB ขณะที่ WD Sentinel DS6100 มีจำหน่ายแล้วในรุ่นความจุ 8, 12 และ 16 TB

ราคาจำหน่าย
WD Sentinel ทั้ง 5 รุ่นจากซีรีส์ S นี้พร้อมวางจำหน่ายแล้ว ราคาแนะนำของผู้ผลิตเริ่มต้นที่ 109,000 บาท (สำหรับรุ่น WD Sentinel DS5100 ความจุ 4 TB) สำหรับ WD Guardian ™ ซึ่งเป็นบริการสนับสนุนด้านเทคนิคที่มีความยืดหยุ่น ราคาไม่แพงและไม่ยุ่งยาก มีให้บริการตามช่วงเวลาหนึ่งปีหรือมากกว่านั้น

View :1288

ทรูมูฟ เอช จัดงานเปิดตัว iPhone 5s และ iPhone 5c อย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้ชื่องาน “First for the Best” ตอกย้ำความเป็นผู้นำสมาร์ทโฟน

October 25th, 2013 No comments

IMG_1229
กรุงเทพฯ 25 ตุลาคม 2556 – โดย ดร.ปพนธ์ รัตนชัยกานนท์ (กลาง) หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มด้านการพาณิชย์ กลยุทธ์การขายและรีเทล / ทรูไลฟ์สไตล์รีเทล บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ส่งมอบ และ iPhone 5c จำนวน 5 เครื่องแรกในไทยให้กับลูกค้าที่ pre-order ไว้ล่วงหน้า พร้อมร่วมเค้าท์ดาวน์ฉลองการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ณ สกาย ฮอลล์ ชั้น 3 เซ็นทรัล พลาซา ลาดพร้าว โดยลูกค้าทั้ง 5 ท่านนี้จะได้รับของรางวัล พรีเมียม สุดพิเศษ หูฟัง DR. DRE HEADPHONE BEAT MIXR และ กระเป๋าเป้ RED POWERFUL จากทรูมูฟ เอช รวมมูลค่า 11,790 บาท

ทรูมูฟ เอช เป็นผู้ให้บริการเพียงรายเดียวที่จัดงานเปิดตัว iPhone 5s และ iPhone 5c อย่างเป็นทางการ โดยมีเหล่าศิลปิน และเซเลบชื่อดังร่วมงานอย่างคับคั่ง โดยมีเครื่องเปิดให้ลงทะเบียนสั่งจองจำนวน 4,500 และมีลูกค้าให้ความไว้วางใจจองซื้อ iPhone 5s และ iPhone 5c อย่างล้นหลาม โดยทรูมูฟ เอช ชูจุดเด่น 5 ประการ ตอกย้ำผู้นำสมาร์ทโฟน ได้แก่ 1. เครือข่าย 4G LTE รายแรกและรายเดียวที่แรงที่สุด พร้อมเครือข่าย 3G ที่ครอบคลุมมากที่สุดทั่วไทย 2. แพ็กเกจที่ครบครันทั้ง 4G LTE, 3G และ WiFi พร้อมมอบข้อเสนอที่คุ้มค่าที่สุด 3. แอพพลิเคชั่น และคอนเท้นต์ จากแอพเซ็นเตอร์ของทรูมูฟ เอช ผู้นำในการพัฒนาแอพใหม่ๆ ที่ตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ 4. การให้บริการเพื่อประสบการณ์ที่ดีที่สุดต่อลูกค้า ด้วยโปรแกรม ACEP () ซึ่งทรูมูฟ เอช เป็นผู้ให้บริการรายเดียวในไทย และรายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับเลือกจาก Apple ให้นำโปรแกรม ACEP () มาใช้ 5. บริการหลังการขายที่เหนือกว่า โดยมี iPhone Master ผู้เชี่ยวชาญการใช้งานสมาร์ทดีไวซ์ผ่าน iOS ที่พร้อมให้คำปรึกษาอย่างแม่นยำ
Caption_Social_Resize

รายชื่อลูกค้า 5 ท่านแรก ได้แก่

1. นายภุชงค์ พุ่มทองดี อายุ 25 ปี ซื้อ iPhone 5S รุ่น 32 GB สีเทา

2. นายขจร เจียรนัยพานิชย์ อายุ 32 ปี ซื้อ iPhone 5S รุ่น 32 GB สีเทา

3. นายธีรวัฒน์ เรืองศรีมั่น อายุ 31 ปี ซื้อ iPhone 5S รุ่น 32 GB สีทอง

4. นายเอกสกุล ม่วงศรี อายุ 30 ปี ซื้อ iPhone 5S รุ่น 16 GB สีขาว

5. นางสาวปาริชาติ ผดุงกิจ อายุ 23 ปี ซื้อ iPhone 5S รุ่น 16 GB สีดำ

ลูกค้าที่สนใจสามารถ จอง iPhone 5s และ iPhone 5c พร้อมทั้งค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ www.truemove-h.com/iPhone

View :1538

ดีแทค เร็ว แรง ซิ่งซูเปอร์คาร์ส่ง dtac iPhone 5s และ 5c ถึงบ้านลูกค้าทันใจก่อนใคร

October 25th, 2013 No comments

Photo1
ดีแทคเปิดตัว และ 5c เร็ว แรง กับแนวคิดสุดเซอร์ไพรส์ Fast & Feel Goood จัดทัพซูเปอร์คาร์ความเร็วสูงส่งสมาร์ทโฟนสุดฮ็อตพร้อมความรู้สึกดี ๆ ถึงมือลูกค้าก่อนใคร สื่อชัดถึงประสบการณ์สื่อสารที่รวดเร็วกว่าบน dtac TriNet – 3 โครงข่ายอัจฉริยะหนึ่งเดียวของไทย ก่อนเริ่มวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 ตุลาคม 2556 ที่ศูนย์บริการดีแทคทั่วประเทศ

นายปกรณ์ พรรณเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการตลาด บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น () กล่าวว่า “ด้วยกระแสที่ร้อนแรงของ dtac และ 5c เราจึงส่งมอบประสบการณ์สื่อสารที่ดีที่สุดถึงลูกค้าด้วยคอนเซ็ปต์ “Fast & Feel Goood” เร็ว แรง ชัดเจนทุกความรู้สึกดี ๆ จัดกองทัพม้าเร็วควบซูเปอร์คาร์นำ dtac และ 5c ส่งตรงถึงบ้านลูกค้าผู้โชคดีที่สั่งจองล่วงหน้า และสำหรับลูกค้าที่มารับเครื่องด้วยตัวเองที่ศูนย์บริการในกรุงเทพฯ, เชียงใหม่, ขอนแก่น และภูเก็ต ทุกคนจะได้รับบริการ การดูแลเอาใจใส่ที่รวดเร็วทันใจไม่แพ้กัน พร้อมของขวัญเซอร์ไพรส์ที่เตรียมไว้ให้ และแน่นอนว่าที่สุดแล้วลูกค้าจะได้สัมผัสกับประการณ์สื่อสารจากการใช้งาน iPhone ใหม่ทั้งสองรุ่นอย่างเต็มประสิทธิภาพบน dtac TriNet – 3 โครงข่ายอัจฉริยะ บนแบนด์วิธที่กว้างที่สุด ซึ่งเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ และกำลังขยายขอบข่ายไปทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องในขณะนี้”

เพื่อเป็นการพิสูจน์ความเร็วและแรงของดีแทค TriNet ลูกค้าดีแทคจะได้ร่วมการทดสอบ Speed Test ณ จุดทดสอบที่จัดขึ้นที่ดีแทคเฮาส์ อาคารจามจุรีสแควร์เพื่อสัมผัสประสบการณ์จริงในการใช้ dtac iPhone 5s และ 5c บนเครือข่าย dtac TriNet ทั้งคุณภาพเสียงที่คมชัดระดับ HD, บริการโมบายอินเตอร์เน็ตที่เร็ว แรง พร้อม ๆ ไปกับประสบการณ์ Feel Goood จากทีมงานดีแทค ที่คอยดูแลให้การบริการอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลารอ พร้อมคำแนะนำในการใช้งานจากผู้เชี่ยวชาญ แพ็กเกจค่าบริการสุดคุ้มใหม่ในราคาเริ่มต้นเพียง 374 บาทต่อเดือน พร้อมของขวัญสุดเซอร์ไพรส์ สำหรับลูกค้า dtac iPhone 5s และ 5c ที่มารับเครื่องเป็นคนแรกที่กรุงเทพฯ, เชียงใหม่, ขอนแก่น และภูเก็ต รับฟรี dtac iPhone 5c รุ่น 16GB สีฟ้าสดใส อีก 1 เครื่อง มูลค่า 20,730 บาท และลูกค้าทุกคนที่มารับเครื่องในงานยังได้รับพาวเวอร์แบงค์ ขนาด 5000 mAh มูลค่า 1,490 บาทฟรี เพื่อการใช้งานอย่างต่อเนื่องไม่สะดุดแม้ขณะเดินทางอีกด้วย

dtac iPhone 5s และ 5c เริ่มวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2556 เป็นต้นไป ที่ศูนย์บริการดีแทค และร้านค้าตัวแทนจำหน่ายที่ร่วมรายการทั่วประเทศ พร้อมรับข้อเสนอพิเศษผ่อน 0% นาน 10 เดือน เมื่อชำระผ่านบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ พร้อมหลากหลายแพ็กเก็จสุดคุ้มใหม่ ที่ตอบสนองทุกรูปแบบการใช้งานของลูกค้าดีแทค บนสุดยอดสมาร์ทโฟน อย่าง iPhone 5s และ 5c

ดูรายละเอียดราคาและแพ็กเกจเพิ่มเติมที่ www.dtac.co.th/iphone

View :1309

อสมท ส่งบิ๊กอีเวนท์ “ติด Tag By MCOT” เปิดประสบการณ์ใหม่ของการรับข้อมูล ข่าวสาร เจาะกลุ่มคนพันธุ์ดิจิทัล

October 25th, 2013 No comments

Print

อสมท รุกตลาดคอนเทนต์สื่อออนไลน์เต็มตัว ชวนชมมิติใหม่ของการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ผ่านทุกช่องทางสื่อ ในกิจกรรม “ติด ” (#MCOTTag) งานแสดงสื่อออนไลน์ในรูปแบบออนกราวน์เฟสติวัล สุดยิ่งใหญ่ อัดแน่นด้วยสื่อออนไลน์แบบจัดเต็ม ทั้ง แอพพลิเคชั่น เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม เว็บไซต์ ฯลฯ พร้อมร่วมสนุกกับกิจกรรม ลุ้นรับของรางวัลพิเศษ และกระทบไหล่ศิลปินดารา ผู้ประกาศข่าว และดีเจที่ตบเท้ามาร่วมงานอย่างคับคั่ง 1 – 3 พ.ย. นี้ ลานกิจกรรมเอสพลานาด รัชดาภิเษก

นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. อสมท กล่าวว่า “การใช้โซเชียลมีเดียของคนไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยหากดูข้อมูลจากโซเชียลแรงก์ (Zocial Rank) ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลและสถิติต่างๆ เกี่ยวกับโซเชียลเน็ตเวิร์คจะพบว่า ในปี 2556 ประเทศไทย มีผู้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คจำนวนกว่า 18 ล้านคน ในจำนวนดังกล่าวมีผู้ใช้เฟสบุ๊คมากที่สุด คิดเป็น 85% รองลงมาคือผู้ใช้ทวิตเตอร์ 10% ในด้านอัตราการเติบโต พบว่าเฟสบุ๊คมีการเติบโตของการใช้งานเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 24% ส่วนTwitter มีการใช้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 53% และ อินสตาแกรมมีการใช้งานเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 178%

นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังมีพฤติกรรมการรับสื่อที่เปลี่ยนไป คือ เป็นทั้งผู้รับสารและผู้ส่งสารในเวลาเดียวกัน และรับส่งข่าวสารผ่านสื่อหลากหลายช่องทางไปพร้อมๆ กันโดยในช่วงเวลาไพร์มไทม์ หรือ 22.00 น. ผู้บริโภคส่วนใหญ่มักจะดูโทรทัศน์ไปพร้อมกับการแชร์ข้อมูล รูปภาพ และ ข้อความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรายการที่ชมอยู่ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความต้องการของผู้บริโภค อสมท จึงได้พัฒนาการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ด้วยการเพิ่มช่องทางรับชมและรับฟังผ่านสื่อออนไลน์ ทั้งบนเว็บไซต์ และโซเชียลมีเดีย นอกจากนี้ยังมีแอพพลิเคชั่นต่างๆที่ให้บริการผ่านสมาร์ทดีไวซ์ ทั้งบนระบบไอโอเอส และ แอนดรอยด์ ให้แฟน อสมท สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ทุกที่ ทุกเวลา พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้ส่งข้อมูลเพื่อสะท้อน ความคิดเห็นหรือความต้องการในขณะนั้น กลับมายัง อสมท ซึ่งจะทำให้ อสมท สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างทันท่วงทีอีกด้วย”

อสมท จึงเดินหน้ารุกตลาดคอนเทนต์สื่อออนไลน์เพื่อขยายฐานผู้ชม ด้วยการจัดกิจกรรม ติด Tag By MCOT โปรเจกต์ยักษ์ ในรูปแบบออนกราวน์เฟสติวัลเต็มพื้นที่ลานกิจกรรมเอสพลานาด รัชดาภิเษก ซึ่งนายเอนก เผยถึงความคืบหน้าในการจัดงานว่า “อสมท ได้ผนึกกำลังกับพันธมิตรทางธุรกิจ อาทิ บริษัท กูเกิ้ล ประเทศไทย, ธนาคารไทยพานิชย์ และ บริษัทดีเอฟ มาร์เก็ตเพลส จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจร้านค้าออนไลน์ ดีลฟิช ฯลฯ ตลอดจนประสานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในทุกด้าน ทั้งการจัดแสดงนวัตกรรมทันสมัย การประชาสัมพันธ์การจัดงาน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ ผู้ที่จะมาร่วมงาน

สำหรับความพร้อมในการจัดงานนั้น อสมท ได้เตรียมพื้นที่เพื่อนำเสนอสื่อออนไลน์ต่างๆ ของ อสมท แบบจัดเต็ม ทั้งเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น ตลอดจนโซเชียลเน็ตเวิร์คของ ผู้ประกาศข่าว พิธีกร และ ดีเจ กว่า 200 แอคเคาท์ นอกจากนี้ยังได้รวบรวมร้านค้าออนไลน์
ชื่อดัง และ ร้านค้าของศิลปิน อาทิ เจ – เจตริน วรรธนะสิน, เชน – ธนา ลิมปยารยะ, นก – ศิขรินธาร กีรติ ฯลฯ ที่ยกขบวนกันมาออกร้าน ทั้งเสื้อผ้า เครื่องประดับ ขนม อาหาร และอุปกรณ์ไอที ให้ประชาชนที่มาร่วมงานได้ช้อปปิ้งกันแบบจุใจ นอกจากนี้ยังมีโชว์สุดพิเศษจากเซเลบริตี้ บนโลกออนไลน์ ที่โด่งดังบนยูทูบ และแฟนเพจ ตลอดจนร่วมกระทบไหล่ศิลปินดาราชื่อดัง ทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานสัมผัสกับสุดยอดเทคโนโลยีจาก บริษัท กูเกิ้ล ประเทศไทย พร้อมร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายอีกด้วย ตั้งเป้าว่าในการจัดกิจกรรมตลอดทั้ง 3 วัน จะมีแฟน อสมท และผู้ที่ชื่นชอบการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนผู้สนใจด้านไอทีร่วมงานกว่าหมื่นคน ซึ่งจะทำให้สื่อออนไลน์ อสมท ได้รับความนิยมมากขึ้น ทำให้สามารถขยายฐานผู้ชมและผู้ฟังได้เพิ่มขึ้น”

เตรียมตัวสัมผัสกับรูปแบบใหม่ของการรับข้อมูลข่าวสาร และร่วมเปิดประสบการณ์สุดพิเศษในงานมหกรรมการรวบรวมสื่อออนไลน์สุดยิ่งใหญ่พร้อมกันที่งาน “ติด Tag By MCOT” 1-3 พ.ย.นี้ ชั้น 1 ลานกิจกรรมเอสพลานาด รัชดาภิเษก ติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดของงานได้ที่ www.mcot.net/MCOTTag

View :1527

ทรูมูฟ เอช ได้รับคัดเลือกจาก Apple รายแรกในไทยและเอเชียตะวันออกฉียงใต้ เป็นช้อปต้นแบบ จัดทำโปรแกรม ACEP (Apple Channel Excellence Program)

October 24th, 2013 No comments

photo 02

กรุงเทพฯ 22 ตุลาคม 2556 – ผู้ให้บริการ 4G LTE รายแรก และ 3G ที่ดีที่สุดในไทย และในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการรายแรกที่นำ iPhone เข้ามาจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ได้มุ่งมั่นพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการขยายโครงข่าย และบริการอย่างครบวงจร เพื่อให้ลูกค้ามีประสบการณ์การใช้งานสมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ล่าสุดทรูมูฟ เอช เป็นผู้ให้บริการรายแรกในประเทศไทย และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รับสิทธิจาก Apple ให้จัดทำโปรแกรม ACEP () ซึ่งเป็นโปรมแกรมที่ Apple ทำขึ้นร่วมกับผู้ให้บริการที่มีความพร้อมในทุกด้าน ที่ผ่านการคัดเลือกจาก Apple เพื่อยกระดับช่องทางการจัดจำหน่ายให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลของ Apple Worldwide นับเป็นการยกระดับธุรกิจค้าปลีกครั้งใหญ่ในประเทศไทย นอกจากนี้ ทรูมูฟ เอชยังมุ่งมั่นพัฒนาบุคลากรจนได้ผ่านการทดสอบหลักสูตรเข้มข้นเกี่ยวกับความเชี่ยวชาญการใช้งานสมาร์ทดีไวซ์ผ่านระบบปฏิบัติการ iOS หรือที่เรียกว่า “iPhone Master” เพื่อเพิ่มความมั่นใจในเรื่องความแม่นยำให้กับลูกค้าและความน่าเชื่อถือของข้อมูล รวมถึงการแนะนำสินค้าและการให้คำปรึกษาต่างๆ ได้อย่างดีที่สุด

ดร.ปพนธ์ รัตนชัยกานนท์ หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มด้านการพาณิชย์ กลยุทธ์การขายและรีเทล / ทรูไลฟ์สไตล์รีเทล บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “ทรูมูฟ เอช ได้รับความไว้วางใจจาก Apple คัดเลือกให้เป็นช้อปต้นแบบ เพื่อจัดทำโปรแกรม ACEP เนื่องจากทรูมูฟ เอชเป็นผู้ให้บริการที่มีความพร้อมในทุกด้าน โดยทรูช้อปสาขาแรกที่ได้รับมาตรฐานตามโปรแกรม ACEP ของ Apple คือ สาขาดิจิตอลเกตเวย์ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2556 และยังมีสาขาที่เข้าร่วมโปรแกรมนี้อีก 46 สาขา ซึ่งจะติดตั้งแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2556 โดยวัสดุที่ใช้ประกอบตกแต่งในร้านทุกชิ้นผ่านการคิดค้นมาเป็นพิเศษโดยดีไซเนอร์ระดับโลกของ Apple โดยหนึ่งในนักออกแบบระบบความปลอดภัย คือ Jonathan Ive หัวหน้าทีมออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของ Apple ที่ได้รับความนิยมทั่วโลก อาทิ iMac, iPod, iPhone, iPad Mini และล่าสุดระบบปฏิบัติการ iOS 7 นอกจากนี้ ทรูมูฟ เอชมีความมั่นใจที่จะมอบประสบการณ์ที่ดีผ่านทางผู้เชี่ยวชาญกว่า 600 คน ไม่ว่าจะเป็น iPhone Master, iT Friends และ iT Friends Service ที่พร้อมให้บริการอยู่ในทรูช้อปสาขาต่างๆ ทั่วประเทศ”

“ทรูมูฟ เอช มุ่งมั่นพัฒนาทางด้านเครือข่ายและบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความแตกต่างของ True Retail Shop ให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่ามาตรฐานสากล เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานสมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ ที่สมบูรณ์แบบให้กับผู้บริโภคชาวไทย” ดร. ปพนธ์ กล่าวทิ้งท้าย

View :1325

มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพเพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการสาธารณสุขไทย

October 24th, 2013 No comments

โดย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(องค์การมหาชน)

ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ในทุกๆ ด้าน โดยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการอำนวยความสะดวกสบาย ความถูกต้องแม่นยำ และความรวดเร็ว ซึ่งด้านการสาธารณสุขก็เป็นอีกด้านหนึ่งที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ โดยปัจจุบันโรงพยาบาลได้มีการปรับเปลี่ยนระบบภายในต่างๆ จากระบบในรูปแบบกระดาษมาเป็นระบบในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ตัวอย่างเช่น เวชระเบียน ซึ่งเป็นเอกสารทางการแพทย์ที่ใช้บันทึกและรวบรวมประวัติของผู้ป่วย ทั้งประวัติส่วนตัว ประวัติการรักษา และประวัติการแพ้ยา โดยโรงพยาบาลมีการจัดเก็บเอกสารเวชระเบียนให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการให้มีความสะดวก รวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำ เพื่อประโยชน์สูงสุดในการรักษาและลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย รวมไปถึงใช้ประโยชน์ในการเชื่อมต่อข้อมูลด้วยการส่งข้อมูลเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ทางออนไลน์ระหว่างโรงพยาบาลในกรณีที่มีการส่งต่อผู้ป่วยเกิดขึ้น

โรงพยาบาลในประเทศไทยมีการจัดเก็บเวชระเบียนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้นทุกปี และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต อันเนื่องมาจากความสะดวกในการค้นหา และสามารถเรียกดูเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยวิธีการออนไลน์ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแนวโน้มของโรงพยาบาลในประเทศไทยจะมีการจัดเก็บเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น แต่บ่อยครั้งที่โรงพยาบาลประสบปัญหาในการรับส่งข้อมูลในกรณีที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลเกิดขึ้น เนื่องจากแต่ละโรงพยาบาลมีระบบสารสนเทศที่แตกต่างกัน ทำให้การส่งต่อข้อมูลจากโรงพยาบาลหนึ่งไปยังโรงพยาบาลที่รับการส่งต่อไม่สามารถอ่านข้อมูลที่ส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทำให้โรงพยาบาลที่รับการส่งต่อต้องเสียเวลาในการแปลงข้อมูล หรือต้องติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลที่ไม่สามารถอ่านได้ ซึ่งหากปัญหานี้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง หรือผู้ป่วยที่มีประวัติการแพ้ยาอย่างรุนแรง อาจส่งผลทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตได้ เพียงเพราะโรงพยาบาลที่รับการส่งต่อไม่สามารถอ่านข้อมูลจากโรงพยาบาลที่ส่งต่อผู้ป่วย ซึ่งทำให้ไม่ทราบข้อมูลการรักษาที่ควรระวังเป็นพิเศษ

จากปัญหาดังกล่าว มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสุขภาพจึงถูกพัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นมาตรฐานในการบริหารจัดการ การรับส่งข้อมูล และการเชื่อมต่อข้อมูลและเอกสารทางการแพทย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่เพื่อให้ทุกระบบในโรงพยาบาลสามารถเชื่อมโยงกันได้ ทั้งนี้ การสร้างมาตรฐานของข้อมูลไม่ได้เป็นการบังคับให้ทุกโรงพยาบาล ต้องมีระบบการเก็บข้อมูล และระบบการทำงานที่เหมือนกันทุกประการ ตรงกันข้าม การกำหนดมาตรฐานของข้อมูลให้ถือปฏิบัติเหมือนกัน เป็นการให้อิสระแก่หน่วยงานแต่ละแห่งในการทำงานภายใต้สิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ใช้ซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกันตามความเหมาะสม แต่ผลสุดท้าย ทุกโรงพยาบาลจะบันทึกข้อมูลด้วยรหัสที่มีความหมายอย่างเดียวกัน และจัดรวบรวมตัวแปรต่างๆ ที่กำหนดในข้อมูลชุดที่เป็นมาตรฐานเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน

Health Level Seven (HL7) เป็นมาตรฐานแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และเป็นมาตรฐานที่ไม่เฉพาะเจาะจง ถูกออกแบบมาเพื่อตีกรอบกว้าง โดยแต่ละโรงพยาบาลสามารถปรับลักษณะให้เหมาะสมกับกระบวนการทำงานของตัวเองที่ต่างกันได้ โดยสามารถกำหนดภาษา โครงสร้าง และชนิดข้อมูลที่จำเป็นในการบูรณาการ เพื่อให้ข้อมูลถูกส่งต่อจากระบบหนึ่งไปอีกระบบหนึ่งได้อย่างราบรื่น และสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในงานบริหารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารองค์กร (Administrative) หรือการบริหารงานด้านสุขภาพการแพทย์ (Health and Clinical) ได้

มาตรฐาน HL7 ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาอยู่เรื่อยๆ จนในปัจจุบันมีเวอร์ชั่น 3 เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด เรียกว่า HL7 V3 โดยมีการกำหนดรูปแบบของภาษาที่ใช้ในการสร้างวัตถุข้อมูลของ HL7 ให้ใช้ภาษา XML (Extensible Markup Language) เพื่อเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติการระหว่างระบบหรือองค์กร (Interoperability) ให้เป็นไปได้อย่างสะดวกราบรื่น แต่เนื่องจาก HL7 มีนโยบายการพัฒนามาตรฐานที่ยืดหยุ่นได้ ดังนั้นในอนาคตถ้ามีเงื่อนไขการใช้งานอื่นๆ ก็อาจมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของภาษาที่ใช้ในการเก็บชุดข้อมูลได้
ปัจจุบันมีประเทศที่นำมาตรฐาน HL7 ไปใช้และเข้าร่วมเป็นสมาชิกมากกว่า 55 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศหลักที่มีบทบาทในการประยุกต์ใช้และส่งเสริมเผยแพร่ HL7 ได้แก่

ประเทศแคนาดา ได้รับการสนับสนุนจาก HL7 Canadian Constituency ซึ่งอยู่ภายใต้ Canadian Health Infoway Standards Collaborative โดยการมีส่วนร่วมกับ HL7 ของแคนาดาส่วนมากอยู่ในรูปของการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับ HL7 ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ เช่น การเป็นพันธมิตรกับองค์กร HL7 International การให้คำตอบและข้อมูลแก่ HL7 international การสนับสนุนการประชุมทั้งในระดับประเทศและนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับ HL7 การดำเนินการและจัดการ forum ที่เกี่ยวกับ HL7 เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ซึ่งการประยุกต์ใช้ HL7 ที่เป็นที่รู้จักดีคือการใช้มาตรฐาน HL7 ในระบบ Prince Edward Island’s drug information system (DIS) ซึ่งเป็นระบบข้อมูลยาที่จัดเก็บภายใต้มาตรฐาน HL7

ประเทศฟินแลนด์ สำนักงานประกันสังคม (Social Insurance Institution) ร่วมกับหน่วยงานด้านสุขภาพและสวัสดิการของประเทศในการพัฒนาฐานข้อมูลด้านสุขภาพแห่งชาติ โดยยึดตามมาตรฐาน HL7 โดยให้ชื่อระบบฐานข้อมูลว่า KanTa ซึ่งระบบจะมีรายละเอียดของข้อมูลการสั่งจ่ายยาทางอิเล็กทรอนิกส์ และร้านขายยาทั้งหมดในฟินแลนด์ โดยประชาชนในประเทศสามารถล็อกอินเข้าไปในระบบผ่านอินเทอร์เน็ตและใช้ authentication service ทำการระบุตัวตนเพื่อดูข้อมูลของตัวเอง ซึ่งสามารถทำได้สองวิธี คือ

- ใช้ระบบการระบุตัวตนที่ควบคุมโดยรัฐบาล
- ใช้ระบบการระบุตัวตนเดียวกับที่ใช้กับระบบ online banking

ระบบการระบุตัวนี้เป็นการรักษาความปลอดภัย และลดความเสี่ยงจากการขโมยข้อมูลของผู้ป่วย ซึ่งระบบฐานข้อมูล KanTa ช่วยอำนวยความสะดวกในด้านสาธารณสุขของประเทศฟินแลนด์เป็นอย่างมาก นอกจากผู้ป่วยสามารถดูประวัติการรักษาและข้อมูลการสั่งจ่ายของแพทย์ได้แล้ว ด้วยการเชื่อมต่อฐานข้อมูลกับร้านขายยาทั้งประเทศทำให้สามารถควบคุมการซื้อยาของผู้ป่วยในประเทศ และยังสามารถใช้ควบคุมการใช้สวัสดิการการรักษาพยาบาลของประชาชนในประเทศได้อีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีประเทศสหรัฐอเมริกา เยอรมัน สเปน อิตาลี เนเธอร์แลนด์ ปากีสถาน อินเดีย เกาหลี เป็นต้น ได้มีการนำมาตรฐาน HL7 มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลสุขภาพของประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยน และจัดเก็บข้อมูลสุขภาพให้มีความราบรื่นและประสิทธิภาพ

สำหรับประเทศไทยนั้น สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. มีภารกิจในการสร้างความรู้ความเข้าใจ และส่งเสริมการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นรหัสยามาตรฐานไทย หรือมาตรฐาน HL7 โดยในอนาคต สพธอ. จะร่วมมือกับศูนย์พัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทย (ศมสท.) และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญที่ทำการศึกษามาตรฐานข้อมูลสุขภาพ โดยเฉพาะด้าน Health Informatics และมาตรฐาน HL7 ในการสนับสนุนการจัดสร้างมาตรฐานข้อมูลสุขภาพในระดับประเทศ

ทั้งนี้การมีมาตรฐานด้านข้อมูลสุขภาพที่ใช้ได้จริงในระดับประเทศจะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ซึ่งจะต้องสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นและความสำคัญของการมีมาตรฐานสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ซึ่ง สพธอ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชาได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ รวมถึงยังเป็นการส่งเสริมให้ประเทศไทยให้เป็น Medical Hub ในภูมิภาคอาเซียนต่อไปในอนาคต
เอกสารอ้างอิง:

View :1373