Archive

Archive for the ‘กระทรวงไอซีที’ Category

ก.ไอซีที เผยร่างแผนปฏิบัติการ e-Government หวังรวมบริการภาครัฐในกลุ่มประเทศอาเซียน

April 10th, 2013 No comments

นายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวถึง ความคืบหน้าการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียนว่า ตามที่ประเทศไทยโดยกระทรวงไอซีทีได้รับมอบหมายจากที่ประชุมอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เป็นเจ้าภาพดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (ASEAN e-Government Strategic Action Plan) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า และเคลื่อนย้ายบุคคลระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเป็นแนวทางและแผนการดำเนินงานร่วมกันสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียน ในการพัฒนาบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน

เพื่อให้การดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการดังกล่าวมีสาระสำคัญที่ครบถ้วน สอดคล้องกับบริบทการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศ กระทรวงไอซีทีจึงได้ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน Workshop on Developing ASEAN e-Government Strategic Action Plan เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วม 5 ประเทศ ประกอบด้วย สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ ไทย สิงคโปร์ และเวียดนาม ซึ่งที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบในหลักการของเค้าโครงร่างแผนปฏิบัติการดังกล่าว โดยมีกรอบการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1)Governance Provision Plan คือการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และกิจกรรมสำคัญ (Milestone) เพื่อเป็นแนวทาง และแผนการดำเนินงานสำหรับหน่วยงานของรัฐในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนสำหรับใช้พัฒนาระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ 2) Online Service Component คือการกำหนดแอพพลิเคชั่นบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Services) ที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า และเคลื่อนย้ายบุคคลระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ที่ควรดำเนินการจำนวน 15 บริการ แบ่งเป็นบริการด้านการทะเบียน (Registration) บริการด้านการขออนุญาตและใบรับรอง (Permits and License) บริการด้านภาษีอากร (Revenue Generating) และบริการตอบแทนสังคม (Social Returns)

3) Telecommunication Infrastructure กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม ทั้งในด้านคุณภาพของโครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีการสื่อสารที่ใช้ ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการอินเทอร์เน็ต การรักษาความมั่นคงปลอดภัย และกิจกรรมสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม 4) Laws and Regulation คือการปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และการดำเนินธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า และเคลื่อนย้ายบุคคลระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และ5) Human Capital Development เน้นเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ด้าน ทั้งในเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ระดับการเรียนรู้ด้านไอซีที ตลอดจนมาตรฐานวิชาชีพที่จะยอมรับร่วมกันในภูมิภาคอาเซียน

“แผนปฏิบัติการการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียนที่จัดทำขึ้นนี้ จะเป็นกรอบการดำเนินงานพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศสมาชิกอาเซียน ในการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าและเคลื่อนย้ายบุคคล เพื่อเตรียมการรองรับการพัฒนาและเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบบริการของแต่ละประเทศในอาเซียนเข้าด้วยกัน อันจะเป็นส่วนสนับสนุนสำคัญในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนต่อไป สำหรับในประเทศไทยกระทรวงไอซีทีจะจัดประชุมเพื่อนำเสนอร่างแผนปฏิบัติการฯ และประเด็นข้อเสนอแนะที่ประเทศไทยควรจะต้องเร่งดำเนินการให้หน่วยงานของรัฐได้รับทราบ รวมทั้งจัดการประชุมรับฟังข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นของภาคเอกชนที่มีต่อการบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากทุกภาคส่วนมาใช้ประกอบการจัดทำแผนการดำเนินงานพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ฉบับที่ 3 ต่อไป” นายไชยยันต์กล่าว

View :1293

ก.ไอซีที จับมือ ทีโอที และ กสท พัฒนาระบบ Wi-Fi ในโครงการแท็บเล็ตเพื่อเด็ก ป.1

March 6th, 2013 No comments

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามสัญญา “เช่าใช้บริการวงจรสื่อสารข้อมูลพร้อมอุปกรณ์ โครงการพัฒนาระบบโครงข่ายไร้สาย (Wi-Fi Network)” เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาแก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างกระทรวงไอซีที กับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ว่า เนื่องจากนโยบายของคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงไอซีทีจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ให้แก่โรงเรียนในโครงการ One Tablet per Child หรือ OTPC โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ควบคู่กับ การเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตร รวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานเพื่อให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ซึ่งปัจจุบันมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 27,231 โรงเรียน และ มีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประมาณ 858,886 คน แต่ยังขาดความพร้อมด้านระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายในห้องเรียน เพื่อใช้งานร่วมกับเครื่องแท็บเล็ตที่มีคุณสมบัติเฉพาะการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย Wi-Fi เท่านั้น ซึ่งจะสามารถสร้างโครงข่ายภายในห้องเรียนที่จะช่วยในเรื่องการบริหารจัดการเครื่องแท็บเล็ตให้ง่ายต่อการเรียนการสอนระหว่างครูกับกลุ่มนักเรียน และใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วที่เหมาะสม

กระทรวงไอซีทีเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร () ให้แก่การศึกษาไทย จึงได้ดำเนินโครงการดังกล่าวขึ้นโดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โครคมนาคม จำกัด (มหาชน) ให้เช่าใช้บริการวงจรสื่อสารข้อมูลพร้อมอุปกรณ์ เพื่อพัฒนาระบบโครงข่ายไร้สาย (Wi-Fi Network) เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เครื่องแท็บเล็ตไปยังห้องเรียนในโรงเรียนต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทั้ง 2 บริษัทได้ดำเนินการต่อยอดจากโครงการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ หรือ MOENet แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การค้นคว้าหาความรู้ของนักเรียน ครู และบุคลากรตามโรงเรียนต่างๆ

สำหรับการลงนามในสัญญาดังกล่าวเป็นความร่วมมือของทั้ง 2 บริษัทในลักษณะกิจการค้าร่วม เพื่อวางระบบโครงข่าย Wi-Fi Network ที่ถูกออกแบบไว้ให้เป็นแบบผสม (Hybrid Architecture) ที่ยังคงรูปแบบการบริหารจัดการจากศูนย์กลาง (Centralized Management) ที่ง่ายต่อการควบคุมดูแล การตรวจสอบติดตาม (Monitoring) การแก้ไขปัญหาต่างๆ (Troubleshooting) แต่สามารถลดปัญหาการคับคั่งของข้อมูลที่ศูนย์กลางเพราะมีอุปกรณ์ในการบริหารจัดการ (Traffic Management) ที่ติดตั้งอยู่บนโครงข่าย MOENet ตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ ซึ่งมีทั้งหมดจำนวน 27,231 วงจร แบ่งเป็น บมจ.ทีโอที 26,889 วงจร และ บมจ. กสท โทรคมนาคม 342 วงจร ผู้ใช้งานที่เป็น นักเรียน ครู และบุคลากรตามโรงเรียนต่างๆ รวมทั้งประชาชนทั่วไป ที่เข้าใช้งานผ่านโครงข่ายแบบสายและไร้สาย จะถูกกำหนดสิทธิ์การเข้าใช้งาน (Authentication) พร้อมระบบการจัดเก็บข้อมูลการจราจรทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (Log System) และระบบการบริหารจัดการข้อมูลที่แตกต่างกัน (Traffic Management) เช่น การจำแนกเส้นทางของข้อมูลในโครงข่ายภายใน (Intranet) และภายนอก (Internet) รวมถึงการมีอุปกรณ์ป้องกันการโจมตีเครือข่าย (Firewall) จากผู้ไม่หวังดี (Hacker) เข้าไปยังอุปกรณ์โครงข่ายภายในโรงเรียนต่างๆ ที่อยู่ภายในโครงการ MOEnet ได้ โดยทั้ง 2 บริษัทจะต้องจัดหาอุปกรณ์และดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพความเร็วของวงจรสื่อสารข้อมูล (Bandwidth) ให้ไม่ต่ำกว่า 4 Mbps และดำเนินการเปลี่ยนปรับปรุงรูปแบบของสื่อสัญญาณระบบอินเทอร์เน็ตให้มีความเสถียร โดยให้ใช้ระบบสื่อสัญญาณทางสายชนิดเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง ในคลื่นความถี่สำหรับรับส่งข้อมูลในย่านคลื่นความถี่ 2.4 GHz และต้องมี Operating Channel เป็นไปตามมาตรฐานของ Federal Communications Commission (FCC) และ European Telecommunications Institute (ETSI) รวมถึงบริหารระบบจัดเก็บข้อมูลการจราจรทางอิเล็กทรอนิกส์ (Log System) เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้ นอกจากนั้นต้องจัดอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบหรือพนักงานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พร้อมจัดทำคู่มือการใช้งานและการดูแลระบบเบื้องต้น อีกด้วย

สำหรับกระทรวงไอซีทีจะเป็นผู้ประสานงานเรื่องข้อมูลและสถิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการฯ ให้กับทั้ง 2 บริษัท พร้อมให้ความช่วยเหลืออำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายซึ่งคาดว่าโครงการนี้จะเสร็จสิ้นภายใน 300 วันหลังจากลงนามในสัญญา

“การลงนามสัญญาครั้งนี้จะช่วยให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กว่า 8 แสนคนในโรงเรียนสังกัด สพฐ. กว่า 2 หมื่นโรง ได้ใช้เครื่องแท็บเล็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเป็นการพัฒนาวงการศึกษาไทย และเป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559 ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพของเด็กวัยเรียน ให้มีความรู้ทางวิชาการ ทักษะและสติปัญญาที่สามารถศึกษาหาความรู้ และต่อยอดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถปรับตัวให้รู้เท่าทันกับข่าวสารภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่รวดเร็ว” น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าว

View :1543

ก.ไอซีที ร่วมมือกับหัวเว่ยฯให้ความรู้ด้าน ICTแก่ประชาชนไทย

January 2nd, 2013 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางการศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระหว่างกระทรวงไอซีทีกับบริษัท หัวเว่ยเทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด(Huawei Technology) ว่า “การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การสนับสนุนและยกระดับการพัฒนาการเรียนรู้ และการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในประเทศไทยซึ่งเป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภาในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อ 3.6.1ที่ระบุให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเร่งรัดพัฒนาโครงข่ายสื่อสารความเร็วสูงให้ครอบคลุม ทั่วถึง เพียงพอ มีคุณภาพ ด้วยราคาที่เหมาะสม และการแข่งขันที่เป็นธรรม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมแห่งความรู้ภูมิปัญญา นวัตกรรม และ ความคิดสร้างสรรค์ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างสังคมเมืองและชนบทส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลและข่าวสาร ยกระดับคุณภาพการศึกษา เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล รวมถึงการลดการใช้พลังงาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นการจะเป็นการเปิดโอกาสให้กับนักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป และผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้ ชุมชนที่มีกระจายอยู่ทุกภาคของประเทศไทย ในการแสวงหาประสบการณ์โดยตรงจากการปฏิบัติงานในสถานที่จริง ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ด้านICTทัดเทียมกับประเทศภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก

ทั้งนี้ บจ. จะให้การสนับสนุนความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารแก่กระทรวงไอซีที ในหลายมิติด้วยกัน อาทิ จัดการบรรยายทางวิชาการ ฝึกทดลองงาน ฝึกอบรม สัมมนาเชิงปฏิบัติ และกิจกรรมทางวิชาการอื่นเป็นระยะเวลารวมทั้งสิ้น 2,000 ชั่วโมงผ่านสถาบันการศึกษาหรือศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน รวมทั้งการจัดหาผู้บรรยาย เอกสารประกอบการบรรยายและสื่อการเรียนการสอน พร้อมประกาศนียบัตรให้กับนักเรียนที่สำเร็จการฝึกอบรมตามโครงการโดยกระทรวงไอซีทีจะให้ความช่วยเหลือเรื่องการประสานงานรวมถึงจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นให้กับ บจ. ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ จะมีระยะเวลาในการดำเนินการทั้งสิ้น 4 ปี

สำหรับบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว ไม่เพียงแต่ยืนยันความมุ่งมั่นร่วมกันในการที่จะส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงาน ให้ประสบความสำเร็จเท่านั้น แต่ยังจะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาบุคลากรของประเทศไทยให้มีทักษะ ความรู้ และความสามารถทางวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่การยกระดับคุณภาพชีวิตอีกด้วยนาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ กล่าว

View :1538

กระทรวงไอซีที เดินสายภาคใต้เปิดบริการ ICT Free WiFi by TRUE ประเดิมที่สงขลาแห่งแรก สานนโยบาย Smart Thailand

December 19th, 2012 No comments

19 ธันวาคม 2555: กระทรวงไอซีที โดย นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับ กลุ่มทรู โดย นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร นายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข กรรมการผู้จัดการธุรกิจโมบายล์ และนายเจริญ ลิ่มกังวาฬมงคล ผู้อำนวยการบริหารธุรกิจทรูออนไลน์ ประกาศความร่วมมือเปิดให้บริการ “ by TRUE” สู่จังหวัดสงขลาเป็นแห่งแรกของภาคใต้ ตอบรับนโยบาย ของรัฐบาลส่งเสริมการเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้ชาวสงขลาได้ใช้ประโยชน์สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เพื่อคุณภาพการศึกษา การเรียนรู้ ผ่านการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทุกที่ที่มีสัญลักษณ์ ICT by TrueMove H โดยมี นายพิรสสิญจ์ พันธุ์เพ็ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นเจ้าบ้านให้การต้อนรับ

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กลาง) นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น (ขวา) นายกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา (ซ้าย)


นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า “โครงการ ICT Free WiFi ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะกลุ่มทรู ที่ให้การสนับสนุนโครงการนี้อย่างจริงจัง โดยเปิดพื้นที่ให้บริการ ICT free WIFI by TRUE ที่ครอบคลุมมากถึง 50,000 จุดทั่วประเทศ รวมทั้งอำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถเข้าใช้บริการได้อย่างสะดวก เพียงเลือกชื่อเครือข่าย ICT Free WIFI by TRUE เท่านั้น โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตามนโยบาย Smart Thailand ของรัฐบาลโดยกระทรวง ICT เร่งขยายโครงการ ICT Free WiFi ให้ครอบคลุมพื้นที่สำคัญๆ ทั่วประเทศ และจะสามารถให้บริการพี่น้องประชาชนได้อย่างทั่วถึง สนับสนุนให้ประเทศไทยพร้อมก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 ทั้งนี้ มีเป้าหมายในภาพรวมของโครงการที่จะมีจุดให้บริการ ICT Free WiFi ทั้งหมดมากกว่า 300,000 จุด ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ภายในไตรมาสที่ 2 ของปีหน้าอย่างแน่นอน”

นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “กลุ่มทรู ชื่นชมเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลโดยกระทรวงไอซีทีให้ความสำคัญด้านเทคโนโลยีสื่อสาร โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สาย ในโครงการ ICT Free WiFi อันเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเพิ่มโอกาสการเข้าถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ให้ประชาชน นักเรียน นักศึกษาทั่วประเทศมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ทัดเทียมคนในเมืองใหญ่ กลุ่มทรู ในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการ WiFi ที่มีโครงข่ายใหญ่ที่สุดในประเทศ จึงยินดีและมีความพร้อมเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ความร่วมมือกับกระทรวงไอซีที อำนวยความสะดวกให้ชาวสงขลาสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายผ่านเครือข่าย WiFi by TrueMove H ได้ทุกเวลา ทุกที่ที่มีสัญลักษณ์ ICT Free WiFi by TrueMove H ในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งมั่นใจว่าจะร่วมสร้างประโยชน์ เพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ให้กับเยาวชน รวมทั้งมอบคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นในทุกๆ ด้านให้กับประชาชนอย่างแน่นอน”

นายกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า “จังหวัดสงขลานับเป็นเมืองแห่งการศึกษาของภาคใต้ที่มีมหาวิทยาลัยชั้นนำอยู่หลายแห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยสงขลา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ซึ่งการที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้ความสำคัญกับเมืองสงขลา โดยนำเทคโนโลยีสื่อสารทันสมัย อย่างอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สาย หรือ Wi-Fi เข้ามานั้น นับเป็นเรื่องที่ดีต่อชาวจังหวัดสงขลาที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการ ICT Free WiFi by TRUE โดยเฉพาะเรื่องของการเรียนรู้ให้กับนักศึกษา และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ นับเป็นก้าวสำคัญของการยกระดับจังหวัดสงขลาให้เป็นเมืองที่พร้อมรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น เพิ่มศักยภาพของจังหวัดสงขลาให้เป็นที่รู้จัก ทั้งเป็นเมืองแห่งวัฒนธรรม เป็นมหานครแห่งการค้า และเป็นเมืองแห่งไอที ที่มีเสน่ห์ น่าอยู่ น่าท่องเที่ยว น่าลงทุนและทันสมัย พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่”

ด้วยความพร้อมของกลุ่มทรูทั้งทางด้านการให้บริการ และศักยภาพของโครงข่ายที่มีคุณภาพ และครอบคลุมมากที่สุดในประเทศ จึงสามารถให้บริการ ICT Free WiFi by TRUE โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ผ่านฮอตสปอต WiFi by TrueMove H จำนวน 50,000 จุดทั่วประเทศ ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 2 Mbps ยิ่งไปกว่านั้น ทรูมูฟ เอช ได้สร้าง SSID ชื่อ ICT Free WiFi by TRUE เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้สนใจเข้าใช้บริการได้ทันที โดยสามารถลงทะเบียนรับ Username และ Password เมื่อเลือกโครงข่าย ICT WiFi by TRUE เพื่อใช้งานได้วันละ 30 นาที รวม 15 ชั่วโมงต่อเดือน และสามารถลงทะเบียนใหม่เพื่อต่ออายุการใช้งานได้ทุกๆ 3 เดือน และใช้งานได้ทุกที่ที่มีสัญลักษณ์

View :1585

ก.ไอซีที เดินสายจัดสัมมนา AEC and MICT Smart Thailand เผยแพร่ความรู้การเปิดตลาดการค้าบริการสาขา ICT ในกรอบอาเซียน แก่ผู้สนใจทั่วประเทศ

November 29th, 2012 No comments

นายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ร่วมมือกับ บริษัท ไบรอัน เคฟ (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินการจัดประชุมสัมมนา “ and ” ภายใต้โครงการสัมมนาเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังความคิดเห็นและเผยแพร่ความรู้ต่อข้อผูกพันการเปิดตลาดการค้าบริการสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไทยในกรอบอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ข้อผูกพันการเปิดตลาดการค้าบริการสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของไทยในกรอบอาเซียน และประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในสาขาการบริการคอมพิวเตอร์และบริการที่เกี่ยวเนื่อง ให้แก่ผู้ที่สนใจทั้งจากภาครัฐและเอกชนในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ทั้งหมด 4 ครั้ง ซึ่งขณะนี้ได้จัดไปแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 ณ จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2555 ณ จังหวัดชลบุรี ส่วนครั้งที่ 3 จะจัดในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556 ณ จังหวัดเชียงใหม่ และครั้งสุดท้ายวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556 ณ กรุงเทพมหานคร

ภายในงานสัมมนาฯ ทุกครั้งจะมีการเสวนาในหัวข้อ “ การเปิดตลาดการค้าบริการสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของไทยในกรอบอาเซียน : ประเทศไทยพร้อมหรือไม่” โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง และการจัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเฉพาะการเปิดตลาดการค้าบริการสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของไทย ให้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ พร้อมทั้งมีการบรรยายให้ความรู้ในประเด็นดังกล่าวด้วย ซึ่งสาระสำคัญของการบรรยายนั้น สรุปความหมายของการค้าบริการที่สามารถเกิดขึ้นได้ 4 รูปแบบ (Mode of Supply) ได้แก่ 1) การบริการข้ามพรมแดน (Cross-border Supply) เป็นการบริการจากพรมแดนของประเทศสมาชิกหนึ่งไปสู่พรมแดนของประเทศสมาชิกอื่นที่เป็นลูกค้า โดยผู้ให้บริการไม่ต้องปรากฏตัวอยู่ในพรมแดนของประเทศลูกค้า 2) การบริโภคในต่างประเทศ (Consumption Abroad) เป็นการให้บริการที่เกิดขึ้นในพรมแดนของประเทศผู้ให้บริการ โดยอาศัยการเคลื่อนย้ายของผู้บริโภคเป็นเงื่อนไขสำคัญ 3) การจัดตั้งธุรกิจเพื่อให้บริการ (Commercial Presence) เป็นการเข้าไปลงทุนตั้งนิติบุคคลประเภทต่างๆ เพื่อให้บริการในประเทศลูกค้า เช่น การจัดตั้งสาขา ตัวแทน หรือบริษัท และ 4) การให้บริการโดยบุคคลธรรมดา (Presence of Natural Persons) เป็นการเข้าไปทำงานประกอบอาชีพหรือวิชาชีพในสาขาบริการด้านต่างๆ เป็นการชั่วคราวในประเทศลูกค้า ทั้งนี้ บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะมีส่วนสำคัญในการอำนวยความสะดวกของการค้าสินค้าและบริการระหว่างภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะส่งผลให้รูปแบบและวิธีการทำธุรกรรมทางการค้าเปลี่ยนแปลงไป โดยในส่วนของการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะช่วยกระตุ้นให้ภาครัฐมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎระเบียบ

“สำหรับกระทรวงไอซีที เป็นผู้ดูแลสาขาบริการโทรคมนาคม บริการคอมพิวเตอร์และบริการที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งกระทรวงฯ ได้มีการเตรียมความพร้อมด้านนโยบายรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้แก่ กรอบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย (พ.ศ. 2554-2563) หรือ 2020 แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 2 ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556 และนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ นอกจากนี้กระทรวงฯ ยังได้มีการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานกำกับดูแล ได้แก่การจัดทำแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555-2559) โดยมียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมและการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของสำนักงาน กสทช. เพื่อเตรียมความพร้อมภายในสำนักงานฯ และได้จัดทำเว็บไซต์ http://asean.nbtc.go.th รวมถึงการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อกำกับการดำเนินโครงการศึกษาเรื่องการเตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และศึกษาผลกระทบเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี 2558 ต่อไป” นายไชยยันต์ฯ กล่าว

View :1398

รมว.ไอซีที – ผช.รมว.ศึกษาธิการเยี่ยมชมโครงการนำร่องใช้ Braincloud Solution บนแท็บเล็ต

November 23rd, 2012 No comments

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที และ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ เยี่ยมชมโครงการนำร่องทดลองใช้ แพล็ตฟอร์มอัจฉริยะและอินเตอร์เน็ตไร้สายความความเร็วสูง เพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนการสอนผ่านแท็บเล็ต ป.1

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 : บริษัท โอเพ่นเฟซ (ประเทศไทย) จำกัด แถลงข่าวเปิดตัวโครงการนำร่องทดลองใช้ Braincloud Solution ซึ่งเป็นแพล็ตฟอร์มระบบจัดการการเรียนรู้ เสริมประสิทธิภาพการเรียนการสอนผ่านแท็บเล็ตนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ควบคู่ไปกับเทคโนโลยี Virtual Fiber ซึ่งเป็นเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง สนองนโยบายแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย หรือ One Tablet Per Child (OTPC) โดยมี น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และ นางฉวีวรรณ คลังแสง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)ให้เกียรติเข้าเยี่ยมชมโครงการ

นายธันธเนศ สมบูรณ์ทรัพย์ ประธานบริหารโครงการ กล่าวว่า “โครงการทดลองระบบ Braincloud Solution เป็นการนำสองเทคโนโลยีสำคัญมาใช้เพื่อพัฒนาศักยภาพการทำงานของเครื่องแท็บเล็ต พีซี และระบบการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ โครงการทดลองระบบ Braincloud Solution ประกอบด้วย 1. การทดสอบอุปกรณ์ Braincloud Virtual Fiber ซึ่งทำหน้าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูงจากเสาสัญญาณของ TOT มาสู่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ และ 2. การใช้งานระบบการจัดการการเรียนรู้ หรือ Learning Management System (LMS) ภายใต้ชื่อระบบ Braincloud Platform

ระบบการจัดการการเรียนรู้ Braincloud Platform ประกอบด้วยสองส่วนสำคัญกล่าวคือส่วนแรกซึ่งเป็นระบบการจัดการการเรียนรู้ผ่าน Cloud Computing ที่เรียกว่า Braincloud LMS ซึ่งได้มีการพัฒนาให้กระทรวงศึกษาสามารถจัดการและคัดกรองเนื้อหา รวมถึงออกแบบแผนการเรียนการสอนและบทเรียนสำหรับนักเรียนได้โดยตรง โดยการจัดการแผนการเรียนการสอนเนื้อหาและบทเรียนนั้น ได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับกระทรวง ระดับโรงเรียนและระดับครูผู้สอน

ในการจัดการระดับกระทรวงนั้น Braincloud LMS สามารถช่วยให้กระทรวงศึกษาธิการบรรจุ แก้ไข หรือลบเนื้อหาและบทเรียนได้โดยตรง โดยไม่ต้องให้โรงเรียนในโครงการจัดส่งคืนเครื่องแท็บเล็ตพีซีกลับมายังกระทรวงทุกครั้งที่จะดำเนินการบรรจุเนื้อหาและบทเรียนใหม่ เป็นการประหยัดเวลาและงบประมาณที่อาจ

เสียไปกับการขนส่ง นอกจากนี้ Braincloud LMS ยังมีระบบการประเมินและรายงานผลการใช้งานขั้นสูง เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบการใช้งานแท็บเล็ตพีซีและติดตามความคืบหน้าในการเรียนของนักเรียน

ขณะเดียวกัน ในระดับโรงเรียน Braincloud LMS ออกแบบให้โรงเรียนสามารถออกแบบบทเรียนหรือเนื้อหาการเรียนการสอนเพิ่มเติมจากที่กระทรวงศึกษากำหนด รวมถึง ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมของโรงเรียนผ่านทางแท็บเล็ตพีซีแต่ละเครื่อง

ส่วนการจัดการในระดับครูผู้สอน Braincloud LMS มีระบบการจัดการห้องเรียนอัจฉริยะ เช่น การควบคุมแท็บเล็ตด้วยจอ Controller Surface หรือด้วยคอมพิวเตอร์ในระหว่างการเรียนการสอน เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถควบคุมการใช้งานแท็บเล็ตพีซีของนักเรียนในชั้นเรียน สามารถทำการส่งไฟล์หรือเนื้อหาเข้าสู่เครื่องแท็บเล็ต พีซี ของนักเรียนแต่ละคนได้โดยตรง รวมทั้งล็อกหน้าจอนักเรียนในระหว่างการเรียนการสอนได้ ทำให้นักเรียนไม่สามารถเข้าใช้งานเว็บไซด์ที่ไม่เหมาะสม หรือเล่นเกมส์ในระหว่างการเรียนได้

ในส่วนที่ 2 ของ Braincloud Platform นั้น คือการนำระบบ Braincloud Connect ซึ่ง ถูกพัฒนาขึ้นจากแนวคิดที่ต้องการนำคุณภาพการศึกษาและทรัพยากรครูของโรงเรียนเอกชนหรือโรงเรียนรัฐในกรุงเทพมหานครไปสู่โรงเรียนในต่างจังหวัด โดยการแบ่งปันทรัพยากรครู โดยเฉพาะครูที่เป็นเจ้าของภาษา จะทำให้นักเรียนในต่างจังหวัดได้รับโอกาสทางการศึกษาที่เพิ่มขึ้นโดยมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่น้อยลง

Braincloud Connect เป็นระบบห้องเรียนทางไกลอัจฉริยะ 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบห้องเรียนสู่ห้องเรียน รูปแบบห้องเรียนสู่นักเรียน และ รูปแบบครูสู่นักเรียน นอกจากจะมีประโยชน์ในเรื่องการแบ่งปันทรัพยากรครูผู้สอนแล้ว ยังเปิดโอกาสให้นักเรียนที่อยู่ต่างภูมิภาคหรือต่างโรงเรียนกันได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ มุมมองความคิด และวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นอีกด้วย

อย่างไรก็ดี เนื่องจาก Braincloud Platform เป็นระบบ Cloud Computing ที่ต้องมีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสำหรับการใช้งาน โดยเฉพาะการรับ-ส่งข้อมูลในรูปแบบวีดีโอผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลขั้นต่ำอยู่ที่ 5 Mbps แต่ในปัจจุบัน เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีความเร็วที่เหมาะสมสำหรับรองรับการใช้งานนั้น อาจยังไม่ได้มีการจัดสรรเข้าสู่ทุกโรงเรียนในประเทศไทย โดยเฉพาะโรงเรียนที่อยู่ในเขตชนบท

ดังนั้น เพื่อรองรับการใช้งานระบบปฏิบัติการ Braincloud Solution ในระหว่างระยะเวลาการดำเนินโครงการ บริษัทจะพัฒนาระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของโรงเรียนในเขตชนบทจำนวน 3 แห่งที่เข้าร่วมโครงการทดลอง โดยติดตั้งอุปกรณ์ Braincloud Virtual Fiber ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่สำหรับการพัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยจะทำการเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลให้แก่โรงเรียนเป็นความเร็ว 30 Mbps ทั้งนี้อุปกรณ์ทำการรับส่งข้อมูลในความเร็วได้สูงสุดถึง 100 Mbps ทำให้โรงเรียนในเขตชนบทที่อยู่ภายในรัศมี 100 กิโลเมตรสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่มีความเร็วเหมาะสมในการใช้งานระบบ Braincloud Solution ได้

ด้าน น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที กล่าวว่า “One Tablet PC per Child จะทำให้เด็กไทยทุกคนได้รับโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยีไอซีที ลดความเหลื่อมล้ำในการยกระดับการศึกษา และช่วยเตรียมความพร้อมสำหรับการสู่ก้าวสู่ยุคแห่งเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้วิธีเรียนรู้ของเด็กเปลี่ยนไป สามารถต่อยอดการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองเครื่องมือเหล่านี้

การเริ่มนำร่องใช้แพล็ตฟอร์ม Braincloud Solution มาช่วยจัดการการเรียนการสอน ทำให้การใช้งานแท็บเล็ตมีความยืดหยุ่นและใช้งานเต็มประสิทธิภาพมากขึ้นโดยเฉพาะการเรียนการสอนทางไกลที่ช่วยกระจายองค์ความรู้ไปสู่พื้นที่ชายขอบ ขณะเดียวกันกระทรวงไอซีทีกำลังเร่งดำเนินการติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแก่โรงเรียนทั้งหมด 31,334 แห่ง เพื่อรองรับการเรียนการสอนด้วยแท็บเล็ตแบบออนไลน์ในปีการศึกษาหน้า”

นางฉวีวรรณ คลังแสง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า “โครงการนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ ไอซีที และบริษัท โอเพ่นเฟซ เป็นเสมือนการติดอาวุธเพิ่มศักยภาพการใช้งานแท็บเล็ต และช่วยให้กระทรวงศึกษาธิการบริหารจัดการหลักสูตรการเรียนการสอนได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการบรรจุเนื้อหาๆใหม่ผ่านระบบ Cloud

นอกจากนี้ ยังยืดหยุ่นในการออกแบบเนื้อหาการเรียนเพิ่มเติมจากที่กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดไว้ ช่วยให้แต่ละโรงเรียนดีไซน์หลักสูตรให้มีความเฉพาะเหมาะสมกับพื้นที่และ วัฒนธรรมท้องถิ่นของตัวเองได้อีกด้วย”

เบื้องต้นจะมีโรงเรียนเข้าร่วมนำร่อง 6 โรงเรียน โดยโรงเรียนวัดเสถียรรัตนารามเป็นโรงเรียนแรกที่เข้ารับการทดลองการใช้งาน โดยโรงเรียน ทดลองใช้งานระบบตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2555 ถึง เดือนมีนาคม 2556 และจะประเมินสรุปผลโครงการในเดือนเดือนเมษายน 2556

View :2025

หน่วยงานภาครัฐ จับมือภาคเอกชน ประกาศจัดงาน ASEAN CSA Summit 2013 ยกระดับมาตราฐานการใช้คลาวด์ คอมพิวติ้ง ในไทยและอาเซียน

November 22nd, 2012 No comments

กรุงเทพฯ, -21 พฤศจิกายน 2555- ไทยมุ่งเป้าใหญ่รองรับคลาวด์โตทั้งระบบ เตรียมแผนแจ้งเกิดศูนย์ความปลอดภัยบนคลาวด์ระดับอาเซียน หวังไทยเป็นฐานอบรมระดับนานาชาติพร้อมสร้างมาตรฐานรับระยะยาว ดันสรอ.เป็นแม่ทัพจับมือกับภาคเอกชนทุกส่วนประเดิมงาน ต้นปีหน้า

นายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า กระทรวงไอซีทีร่วมกับสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือสรอ. สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือสพธอ. และหน่วยงานร่วมทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันจัดตั้ง Cloud Security Alliance Thailand Chapter หรือ ซีเอสเอประเทศไทย ขึ้น ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือด้านความั่นคงปลอดภัยในระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง โดยกำหนดพันธกิจให้เป็นหน่วยงานหลักในการตั้ง ซีเอสเอ อาเซียน ฮับ (CSA ASEAN Hub) ในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ไทยสามารถก่อตั้งศูนย์วิจัยและฝึกอบรม ( R&D Center) ได้ เพื่อดึงองค์ความรู้ระดับสากลในด้านระบบรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์มาใช้ประโยขน์ในมูลค่าที่ต่ำที่สุด มีสถานฝึกอบรมและมีผู้สอนระดับโลก และบุคลากรของไทยสามารถสอบเพื่อรับใบประกาศนียบัตรภายในประเทศไทยได้เลย

นอกจากนั้นซีเอสเอ อาเซียน ฮับ (CSA ASEAN Hub) ยังเป็นการยกระดับประเทศไทยในด้านไอซีที เพราะเมื่อเกิดองค์กรนี้ขึ้นมาแล้ว บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานนี้นอกจากการฝึกอบรมสร้างบุคลากรแล้ว ยังต้องดูแลเรื่องการจัดทำร่างกฎระเบียบเกี่ยวกับความปลอดภัยบนคลาวด์ (Regulation Draft) ขึ้นมา ดังนั้นไทยจะเข้าไปมีบทบาทในการกำหนดเรื่องราวต่างๆ ในระดับโลกได้ ถือเป็นประโยชน์ต่อไทยในระยะยาว อย่างไรก็ตามคงต้องรอการหารืออย่างเป็นทางการร่วมกับซีเอสเอในระดับโลก (Global CSA) ในการผลักดันอย่างเป็นรูปธรรมผ่านการลงนามความร่วมมือระหว่างกันต่อไป

กระทรวงไอซีทีได้กำหนดทิศทางทางด้านระบบรักษาความปลอดภัยในคลาวด์อย่างชัดเจนแล้ว และได้มอบหมายให้สรอ.เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนปัจจัยต่างๆ เพื่อให้องค์กร ซีเอสเอประเทศไทยมีความเข้มแข็งมากขึ้น และยังได้เร่งให้เกิดกิจกรรมต่างๆ โดยล่าสุดทางซีเอสเอประเทศไทยได้จัดงานวิชาการภายใต้ชื่อ ASEAN CSA Summit 2013 เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยบนคลาวด์ให้กับประเทศไทยและกลุ่มอาเซียนขึ้นมา และยังสนับสนุนผู้ให้บริการคลาวด์ (Cloud Operator) ในประเทศไทย และอาเซียน รวมทั้งเครือข่ายผู้ให้บริการคลาวด์ (Cloud Operator) ที่ได้มาตรฐาน ตลอดจนยืนยันความเป็นศูนย์กลาง อาเซียนของประเทศไทย ในวันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ 2556

“นี่คือจุดแรกของการสร้าง ซีเอสเอ อาเซียน ฮับ (CSA ASEAN HUB) ขึ้นในประเทศไทย ถึงวันนี้ ทั้งหน่วยงานภาครัฐที่มีระบบคลาวด์ และภาคเอกชนที่มีทั้งภาคผู้ให้บริการ (Operator) และผู้ใช้งาน ต่างก็ผลักดันให้งานนี้เกิดขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใหญ่ของประเทศในระยะยาว” นายไชยยันต์ กล่าว

สำหรับความคืบหน้าในด้านคลาวด์ภาครัฐ หลังจากต้นปีที่ผ่านมากระทรวงไอซีทีได้มอบหมายให้ (องค์การมหาชน) หรือสรอ. จัดตั้งระบบบริการคลาวด์ภาครัฐ (Government Cloud Service) ขึ้นมา ตั้งแต่การทำระบบทดลองภายใน 4 เดือนแรก และเริ่มใช้งานเต็มรูปแบบตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา ต้องถือว่าได้รับการตอบรับจากหน่วยงานราชการเป็นอย่างดี มีหน่วยงานที่เข้าสมัครและติดตั้งบริการของตนเองบนคลาวด์ของสรอ.จำนวนมาก ซึ่งในครั้งแรกตัวโครงการนี้สามารถรับได้ประมาณ 30 ราย แต่ในความเป็นจริงหน่วยงานที่เข้าร่วมมีมากกว่า 40 ราย และยังมีหน่วยงานอื่นๆ ต้องการเข้าร่วมในโครงการนี้อีกจำนวนมากในปีหน้า

แม้ในขณะนี้คลาวด์ทั้งภาครัฐและเอกชนของไทยจะเติบโตไปอย่างมาก แต่อาจจะยังขาดมาตรฐานหรือผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยของคลาวด์ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะคนส่วนใหญ่ทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการ ต่างก็ยังขาดความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยของบริการและประเด็นข้อมูลลับหรือข้อมูลสำคัญของหน่วยงาน รวมถึงกระบวนการบริหารความเสี่ยง และความต่อเนื่องในการให้บริการ

ขณะเดียวกันในองค์กรระดับโลกที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงก็คือ เครือข่ายความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยในระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Security Alliance) หรือ CSA ซึ่งเป็นองค์กรไม่หวังผลกำไร ก็เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในการเข้ามาช่วยเหลือด้านการรักษาความปลอดภัยในบริการคลาวด์มากขึ้น เพราะหากให้จุดใดจุดหนึ่งได้รับผลกระทบก็อาจเกิดปัญหาเป็นลูกโซ่ตามมาได้ ดังนั้นทางกระทรวงไอซีทีจึงมอบหมายให้ทางสรอ.เป็นหน่วยงานรัฐที่คอยประสานงานกับซีเอสเอในเรื่องความปลอดภัยบนคลาวด์ทุกรูปแบบโดยตรง

ความคืบหน้าล่าสุดนั้นทางซีเอสเอประเทศไทย ได้นำเสนอองค์ความรู้ของเรื่อง คลาวด์ ซีเคียวริตี้ (Cloud Security) ซึ่งมีอยู่ในประกาศนียบัตร หรือ CCSK Certificate (Certificate of Cloud Security Knowledge Certification Course) ของซีเอสเอ โดยอาจจะขอความร่วมมือเรียนเชิญวิทยากรจากซีเอสเอมาให้ความรู้กับหน่วยงานพันธมิตรทั้งหมด เพื่อเป็นการให้ความรู้ ความสามารถในการทำประโยชน์ต่อสังคมประเทศไทย ที่ยังขาดผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ และต้องการจำนวนมาก เช่น การตรวจสอบผู้ให้บริการคลาวด์ (audit cloud provider) ทั้งของภาครัฐ หรือ เอกชน การสร้างการรับรู้ในเรื่องความปลอดภัยบนคลาวด์ (Cloud security awareness) การฝึกอบรมผู้ฝึกอบรม (Train the trainer) การเป็นผู้ร่วมติดตั้งระบบคลาวด์ (Cloud co-implementer) เป็นต้น

ดร. ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือสรอ. และ ประธานกลุ่ม CSA Thailand Chapter เปิดเผยว่า หลังจากที่ทางสรอ.ได้รับเลือกจากผู้ร่วมก่อตั้งซีเอสเอประเทศไทย (CSA Thailand Chapter) ให้เป็นประธานกลุ่ม ได้มีการหารือเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยบนระบบคลาวด์ของประเทศไทยจำนวนมาก และสิ่งที่ทุกหน่วยงานเห็นตรงกันก็คือประเทศไทยควรเป็น ซีเอสเอ อาเซียน ฮับ (CSA ASEAN Hub) โดยต้องมีกิจกรรมสนับสนุนเพื่อประกาศทิศทางของประเทศขึ้นมา
งานสัมมนาวิชาการภายใต้ชื่อ ASEAN CSA Summit 2013 จึงเกิดขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ คลาวด์ ซีเคียวริตี้ (Cloud Security) ให้กับประเทศไทยและกลุ่มอาเซียน และสนับสนุนผู้ให้บริการคลาวด์ (Cloud Operator) ในประเทศไทย และอาเซียนรวมทั้งการสร้างเครือข่ายผู้ให้บริการคลาวด์ (Cloud Operator) ที่ได้มาตรฐานตลอดจนยืนยัน ความเป็นศูนย์กลางอาเซียนของประเทศไทย โดยงานประชุมสัมมนาเชิงวิชาการได้ถูกวางแผนดำเนินการเป็นเวลา 2 วันเต็ม มีเป้าหมายผู้เข้าร่วมงานประมาณ 500 คน ทั้งจากภายในและประเทศในกลุ่มอาเซียน

ในฐานะประธานกลุ่มซีเอสเอประเทศไทย และคณะทำงานซีเอสเอเห็นร่วมกันที่จะสร้างความร่วมมือและความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มเป้าหมายที่จะใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ทั้งในประเทศไทย และอาเซียน ในด้านคลาวด์ ซีเคียวริตี้ (Cloud Security) โดยจะให้สอดคล้องกับแผนเออีซี 2015 และแผนแม่บทด้านเทคโนโลยีสารสนเศ ( Master Plan) โดยทาง สรอ. จะเป็นผู้ให้การสนับสนุน ในด้านของงบประมาณและค่าใช้จ่ายการจัดประชุมกลุ่มคณะทำงานซีเอสเอประเทศไทย ซึ่งจัดเป็นประจำทุกเดือน เพื่อหารือสำหรับการเตรียมความพร้อมในการจัดงานสัมมนาวิชาการ ASEAN CSA Summit 2013 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ 2556
ส่วนในเรื่องของผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดงานในครั้งนี้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ที่ทางซีเอสเอในระดับโลก (Global CSA) จะได้รับจากเราคือ การเข้ามาทำการตลาดในประเทศไทยเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมซีเอสเอ และเป็นการเปิดโอกาสสำหรับตลาดในประเทศไทย ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้มีศูนย์อบรมตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์เท่านั้น ดังนั้นไทยจึงควรยกระดับทำให้ประเทศเป็นซีเอสเอ อาเซียน ฮับ (CSA ASEAN Hub) ต่อไป

นายไชยเจริญ อติแพทย์ นายกสมาคมซีไอโอ 16 ในฐานะประธานจัดงาน ASEAN CSA Summit 2013 เปิดเผยว่า ขณะนี้แผนการพัฒนาระบบคลาวด์ทั้งภาครัฐและเอกชนถูกระบุในแผนพัฒนาไอทีของประเทศย่านอาเซียนอย่างเป็นทางการและมีแนวทางที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศแรกในย่านนี้ที่เปิดบริการคลาวด์ภาครัฐและมีหน่วยงานเข้าร่วมจำนวนมาก อีกทั้งมีความเคลื่อนไหวประสานเสริมของภาคเอกชนในการเข้ามาดูแลเรื่องระบบรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์อย่างจริงจัง และการเป็นซีเอสเอ อาเซียน ฮับ (CSA ASEAN Hub) จะทำให้ต้นทุนของภาคเอกชนไทยลดลงอย่างมาก

นายไชยกรณ์ อภิวัฒโนกุล กรรมการ สมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ หรือ TISA เปิดเผยว่า ระบบความปลอดภัยบนคลาวด์ถือเป็นเรื่องใหญ่และเป็นแนวโน้มใหม่ที่ไทยต้องให้ความสนใจโดยเร่งด่วน เพราะขณะนี้แอพพลิเคชันรุ่นใหม่ต่างทำงานผ่านระบบนี้ทั้งหมด แม้ขณะนี้ทิศทางของการพัฒนาจะมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนแอพพลิเคชันเดิมเข้าสู่ระบบคลาวด์ แต่หลังจากนี้ไทยจะเข้าสู่ช่วงของการขาดแคลนบุคลากรทางด้านระบบรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ ซึ่งทั้งภาครัฐและเอกชนต้องเตรียมการแต่เนิ่นๆ การเข้าร่วมกับซีเอสเอถือเป็นยุทธศาสตร์ที่ดี และเป็นการสร้างฐานการยอมรับให้กับระบบไอทีของประเทศในระยะยาว

View :1292

ก.ไอซีที เดินหน้าส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการ SMEs ICT ไทย

November 15th, 2012 No comments


นายสมบูรณ์ เมฆไพบูลย์วัฒนา ที่ปรึกษาด้านการสื่อสาร กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า ปัจจุบัน GDP ของประเทศไทยส่วนใหญ่มาจากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ โดยประเทศไทยมีผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กรวมแล้วกว่า 2 ล้านราย มีการจ้างแรงงานกว่า 8 ล้านคน และผู้ประกอบการไอซีทีของประเทศมีมากกว่า 3,000 ราย เป็นผู้ประกอบการไอซีทีขนาดกลางและขนาดเล็กกว่า 96%ซึ่งมูลค่าของอุตสาหกรรมไอซีทีในประเทศไทยมีมูลค่าเกือบล้านล้านบาท ส่วนใหญ่มูลค่านั้นจะเป็นอุตสาหกรรมโทรคมนาคมจากผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้งสิ้น แต่เมื่อมองปัญหาในปัจจุบันของอุตสาหกรรมไอซีทีที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมโทรคมนาคม ประกอบกับจากการที่กระทรวงฯ ได้มีศึกษาความต้องการของผู้ประกอบการในด้านการลงทุน และสถาบันทางการเงินในเรื่องหลักเกณฑ์และแนวทางในการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม () พบว่าผู้ประกอบการไอซีทีที่มีขนาดกลางและขนาดเล็ก ประสบปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาอุตสาหกรรม ได้แก่ ปัญหาด้านแหล่งเงินทุนที่เป็นปัญหาสำคัญที่สุด รองลงมาเป็นเรื่องการตลาด และท้ายสุดที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คือ ปัญหาบุคลากรที่ไม่มีคุณภาพ

นอกจากนั้น ด้านสถานภาพทางการเงิน พบว่าจำนวนผู้ประกอบการที่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบยังมีไม่มาก เนื่องจากสถาบันการเงินได้มองอุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูง ไม่มีหลักทรัพย์ในการค้ำประกันและไม่มีการรับประกันความมั่นคงของการดำเนินธุรกิจ จึงเป็นเรื่องยากมากที่สถาบันการเงินจะปล่อยสินเชื่อให้ อีกทั้งผู้ประกอบการยังขาดความรู้ด้านธุรกิจ การเขียนแผนธุรกิจ การทำการตลาดที่เป็นรูปธรรม ซึ่งกระทรวงฯ ได้รับทราบถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาธุรกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการไอซีทีไทยสู่สากล กิจกรรมส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการเทคโนโลยีสารสนเทศขนาดกลางและขนาดย่อม และจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 โดยกระทรวงฯ จะให้การสนับสนุนอย่างจริงจังในการพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีสารสนเทศขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้อย่างกว้างขวาง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ต่อไป

View :1221

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ประเดิมจับมือกรมบังคับคดี หวังปูฐานจับระบบไอทีกระบวนการยุติธรรมเข้าคลาวด์และ GIN

October 4th, 2012 No comments

ประเดิมใช้ 4 บริการ เชื่อมโยงทั้งในและนอก ประชาชนเกิดประโยชน์อื้อ

ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ อธิบดีกรมบังคับคดี หรือ กบค. เปิดเผยว่า ขณะนี้กบค.ได้นำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและบริการประชาชนเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะการพัฒนาระบบงานการบังคับคดีแพ่ง ซึ่งเป็นระบบการปฏิบัติงานในระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดทุกภาค ที่สำคัญได้วางโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอทีเพื่อรองรับการปฏิบัติงานของระบบการบริหารทั้งหมด โดยต้องลดภาระค่าใช้จ่ายในส่วนของงบดำเนินงาน การตรวจสอบและระบบรักษาความปลอดภัยของระบบ การเตรียมความพร้อมในส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่จะต้องใช้งานเพื่อรองรับการปฏิบัติงานที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต รวมถึงการส่งเสริมให้ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Service ที่เป็น Portal กลางของภาครัฐสามารถบริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง จึงร่วมกันทำงานกับสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือสรอ. จนนำมาสู่การลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อใช้งานบริการระบบคลาวด์ภาครัฐ หรือ Government Cloud Computing ระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Government Information Network : GIN) ระบบ Government Monitoring และระบบ e-Portal

หลังจากทำบันทึกข้อตกลงกับสรอ.แล้ว ทางกบค.จะเริ่มนำระบบทั้งหมดมาใช้ทันที โดยเบื้องต้นจะเน้นที่ 3 ระบบก่อนคือ 1. ระบบ Government Cloud Computing เพื่อเป็นการตรวจสอบระบบรักษาความปลอดภัยทางด้านไอทีทั้งหมดของกบค.อีกชั้นหนึ่ง โดยเฉพาะในเรื่องของการเข้าใช้ข้อมูลที่น่าสงสัย ซึ่งสรอ. มีเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบแบบ 24/7 หรือตลอดเวลาไม่มีหยุดพัก โดยจะตรวจสอบการใช้งาน หรือ Log File และการใช้งานระบบเครือข่าย เป็นการช่วยเพิ่มความมั่นคงและปลอดภัยในระบบไอทีของกบค. 2. ระบบ e-Portal ในเบื้องต้นจะใช้เชื่อมต่อระบบตรวจสอบบุคคลล้มละลาย ซึ่ง กบค. มีบริการในส่วนนี้อยู่แล้ว และเป็นที่ใช้งานอย่างแพร่หลาย ส่วนระยะถัดไประบบจะเข้ามาตรวจสอบสถานะคดีแพ่ง ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบสิทธิ์ในการเข้าใช้หรือ Authorize ของบุคคลให้สามารถตรวจสอบได้เฉพาะข้อมูลที่บุคคลนั้นเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เป็นต้น

ส่วนระบบที่ 3 คือ ระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ หรือ GIN ในระยะนี้ กบค.ตั้งเป้าหมายหลักในการนำระบบนี้มาใช้คือ ลดค่าใช้จ่ายระบบเครือข่าย ซึ่งเดิมกบค.ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก สำหรับเป้าหมายต่อไปนั้น กบค.จะใช้งานระบบแบบเต็มรูป จะมีการตรวจสอบ Concurrent และ Traffic การใช้งานว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ โดยการใช้บริการของ GIN สามารถเพิ่มแบนด์วิธได้ตามการใช้งานจริง จึงมีความยืดหยุ่นและเหมาะสม รวมถึงประหยัดงบประมาณภาครัฐด้วย
ระบบของสรอ.ที่กบค.จะนำใช้งานในอนาคต ได้แก่ ระบบคลาวด์ภาครัฐ เนื่องจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์และระบบปฏิบัติการที่สรอ. มีในขณะนี้ยังไม่สนับสนุนกับระบบของ กบค. ซึ่งใช้อยู่ในขณะนี้ ดังนั้นจำเป็นต้องประสานงานระหว่างสองหน่วยงานต่อไปอีกช่วงระยะหนึ่งเพื่อทดสอบการใช้งาน ทั้งนี้ระบบคลาวด์ภาครัฐที่กบค. ต้องการใช้ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายทำหน้าที่ฐานข้อมูล มีระบบปฏิบัติการแบบ Solaris 9 ขึ้นไป หรือแบบ HP-UX ซึ่งมีระบบฐานข้อมูลแบบ Oracle Enterprise 10g ขึ้นไป เพื่อใช้งานระบบงานบังคับคดีแพ่งที่พัฒนาโดยภาษา Java และระบบ Business Intelligent หรือ BI ในการวิเคราะห์วางแผนการปฏิบัติงาน

ปัจจุบันกบค. มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงหรือ MOU เชื่อมโยงกับหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในส่วนของภาครัฐที่กบค. ต้องตรวจสอบข้อมูล เช่น ข้อมูลที่เชื่อมโยงกับกรมการปกครอง ข้อมูลกับกรมที่ดิน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นต้น การเข้ามาใช้ระบบ GIN จะสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในการเช่าระบบเครือข่าย Lease Line ลงได้ และในส่วนของการส่งข้อมูลที่จะต้องประสานงาน เช่น สตม. กรมที่ดิน หน่วยงานอื่นสามารถเชื่อมโยงระบบของ กบค. ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จายในการเช่าระบบเครือข่าย รวมถึงเป็นการประหยัดพื้นที่ในการจัดวางอุปกรณ์ระบบเครือข่าย และการดำเนินการอื่น ๆ ด้วย

“จำนวนสาขากบค. รวมทั้งหมด 108 สาขาทั่วประเทศ และมีสถานรักษาทรัพย์และโกดังเก็บสำนวนอีก 2 แห่ง รวม 110 แห่ง ซึ่งหากใช้งานระบบเครือข่าย GIN แบบเต็มรูปแบบจะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ไม่ต่ำกว่า 15 ล้านบาท” ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ กล่าว

การเชื่อมโยงระบบของกบค. กับ สรอ. หลังจากลงบันทึกข้อตกลงแล้วประชาชนจะได้ประโยชน์ในการเข้าถึงระบบแบบเบ็ดเสร็จ รวมถึงสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ระบบมีความปลอดภัย น่าเชื่อถือ นอกจากนั้นยังทำให้กระบวนการบังคับคดีสามารถเข้าถึงได้ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนการปฏิบัติงาน และสถานะการปฏิบัติงานว่าดำเนินการถึงขั้นตอนใด สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านทางเว็บไซต์ที่เปิดให้บริการสำหรับการปฏิบัติงานด้านการบังคับคดีแพ่งได้ ทำให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ และสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการบังคับคดีในสังคมได้มากยิ่งขึ้น

สำหรับแอพพลิเคชันใหม่ๆ ที่กบค. จะนำมาไว้บนบริการของสรอ. หลักๆ ได้แก่ระบบงานบังคับคดีแพ่ง ซึ่งเป็น Operation ของกบค. ส่วนระบบอื่นๆ ที่เป็นระบบการให้บริการประชาชน เช่น ระบบตรวจสอบข้อมูลบุคคลล้มละลาย กบค. ก็จะนำไปอยู่บนบริการของสรอ. เช่นกัน ในอนาคตกบค. จะนำระบบงานบังคับคดีล้มละลาย และระบบงานอื่นๆ ตามภารกิจหลักขึ้นบนบริการของสรอ. ทั้งหมด

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือสรอ. เปิดเผยว่า การลงนามบันทึกข้อตกลง หรือ MOU กับกรมบังคับคดี หรือกบค. ในครั้งนี้ถือเป็นยุทธศาสตร์ของสรอ. ในการที่จะนำข้อมูลของกระบวนการยุติธรรมมาอยู่ในบริการของสรอ.ทั้งหมดในอนาคตอันใกล้ ซึ่งที่ผ่านมาหน่วยงานยุติธรรมทั้งหมดได้จัดทำโครงการศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกระบวนการยุติธรรม หรือ DXC อยู่แล้ว เมื่อกบค.เข้าสู่ระบบของสรอ.แล้วโอกาสที่อีก 14 หน่วยงานในโครงการ DXC จะเข้ามาด้วยก็มีความเป็นไปได้สูง

จากเป้าหมายของสรอ.ในโครงการ DXC นั้นจะประกอบไปด้วย 1. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มี ฐานข้อมูลประกาศสืบจับ, ฐานข้อมูลผู้กระทำผิดกฎหมาย, ฐานข้อมูลคดีรถหาย, ฐานข้อมูลคดีคนหาย 2. สำนักงานอัยการสูงสุด ที่มีฐานข้อมูลสาระบบคดี 3. กรมราชทัณฑ์ ที่มี ฐานข้อมูลผู้ต้องขัง 4. กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ที่มี ฐานข้อมูลเยาวชนผู้กระทำผิด5. กรมคุมประพฤติ ที่มี ฐานข้อมูลผู้ถูกคุมประพฤติ, ฐานข้อมูลอาสาสมัครคุมประพฤติ

6. กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI 7. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) ที่มี ฐานข้อมูลผู้ต้องหาคดียาเสพติด 8. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ที่มี ฐานข้อมูลคดี 9. กรมการปกครอง ที่มี ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร 10. กรมการขนส่งทางบก ที่มี ฐานข้อมูลทะเบียนรถยนต์, ฐานข้อมูลใบขับขี่รถยนต์

11. สำนักงานกิจการยุติธรรม 12. สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม 13. กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า) ที่มี ฐานข้อมูลข้อมูลบุคคล (ครัวเรือน), ฐานข้อมูลข้อมูลบุคคล (ศบย.), ฐานข้อมูลข้อมูลบุคคล (หมายจับ ป.วิอาญา), ฐานข้อมูลข้อมูลบุคคล (เป้าหมาย), ฐานข้อมูลข้อมูลบุคคล (ปปส.), ฐานข้อมูลข้อมูลบุคคล (ใบขับขี่), ฐานข้อมูลข้อมูลบุคคล (ทะเบียนรถ), ฐานข้อมูลข้อมูลบุคคล (หนังสือเดินทาง)

14. ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มี ฐานข้อมูลการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบฯ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้, ฐานข้อมูลบุคคลสูญหาย, ฐานข้อมูลร้องเรียนความไม่เป็นธรรม ซึ่งมีหลายหน่วยงานเริ่มเข้ามาใช้บริการของสรอ.แล้ว และหากฐานข้อมูลเหล่านี้ทั้งหมดสามารถเชื่อมโยงถึงกันบนบริการของสรอ. ก็จะทำให้เกิดประโยชน์ทั้งทางด้านการลดต้นทุน การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และความปลอดภัย

View :1365

ก.ไอซีที จับมือ ทรู เพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต อีก 50,000 จุดทั่วประเทศ

October 3rd, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานงานแถลงข่าว by TRUE ความร่วมมือระหว่างกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ว่า โครงการ ICT by TRUE เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาล โดยเป็นส่วนหนึ่งภายใต้นโยบายหลัก ที่มุ่งหวังให้ประชาชนทั่วประเทศ มีโอกาสใช้บริการอินเทอร์เน็ตกันอย่างทั่วถึง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งครั้งนี้กระทรวงไอซีที ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มบริษัท ทรู ร่วมเปิดพื้นที่ให้บริการ ICT free WIFI by TRUE ครอบคลุมมากถึง 50,000 จุดทั่วประเทศ ทั้งนี้ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถเข้าใช้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายได้อย่างสะดวก ผ่านทางเครือข่าย ICT free WIFI by TRUE พร้อมกันนี้ยังได้ร่วมประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าวให้ประชาชนได้รับทราบอีกด้วย

“กระทรวงไอซีที ได้ดำเนินการโครงการ ICT free WIFI by TRUE มาตั้งแต่ปลายปี 2554 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มอัตรา การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรไทย อันเป็นการเพิ่มศักยภาพของทรัพยากรบุคคลในประเทศ ยกระดับการศึกษา และ ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถหาความรู้ได้ทุกที่ด้วยตนเองแม้อยู่นอกห้องเรียน อันเป็นการลดการใช้พลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังเป็น การสนับสนุนนโยบายการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ตลอดจนช่วยเพิ่มอันดับของประเทศไทยในการ จัดอันดับความพร้อมด้าน ICT ทั้งในภูมิภาคและระดับโลก ทั้งนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2558 อย่างสมบูรณ์

การดำเนินโครงการ ICT free WIFI by TRUE นี้ ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่ต้องการช่วยเพิ่มโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวัน และประกอบอาชีพของตนเอง ทั้งนี้ กระทรวงฯ ได้วางเป้าหมายรวมของโครงการฯ เอาไว้ คือ ขยายจุดให้บริการ ICT free WIFI by TRUE รวมทั้งสิ้น มากกว่า 300,000 จุด ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ

สำหรับการใช้บริการ ICT free WIFI by TRUE นั้น ประชาชนสามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านสัญญาณ Wi-Fi ของทรู ในความเร็ว 2 Mbps โดยเลือกเครือข่าย ICT free WIFI by TRUE เพื่อลงทะเบียนรับ username และ password ขอใช้บริการดังกล่าว ได้นานครั้งละ 30 นาทีต่อวัน และลงทะเบียนใหม่เพื่อต่ออายุการใช้งานได้ทุกๆ 3 เดือน ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ

“กระทรวงฯ หวังว่า ความร่วมมือในโครงการ ICT free WIFI by TRUE ที่ได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะกลุ่มบริษัท ทรู ในครั้งนี้ จะช่วยขยายโอกาสในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตให้แก่ประชาชน และจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทุกพื้นที่ทั่วประเทศ รวมถึงเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยเชื่อว่าเมื่อมีโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้น ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และการสาธารณสุข ก็จะมีมากขึ้นด้วยเช่นกัน” นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ฯ กล่าว

View :1334