Archive

Archive for the ‘กระทรวงไอซีที’ Category

ก.ไอซีที เตรียมเปิด Royal Pavilion เพื่อเทิดพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัวในงาน Bangkok International ICT Expo 2012

July 21st, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยถึงรายละเอียดการจัดงาน “” ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 – 6 สิงหาคม 2555 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ว่า งาน ครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด Smart Thailand Towards AEC โดยได้กำหนดรูปแบบการจัดงานเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1.ส่วนนิทรรศการ 2.ส่วนแสดงสินค้า 3.ส่วนการประชุมสัมมนา และ 4.กิจกรรมร่วมสนุกต่าง ๆ

โดยในส่วนการจัดนิทรรศการนั้นจะประกอบด้วย Royal Pavilion ซึ่งเป็นการจัดซุ้มนิทรรศการเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนพรรษา 85 พรรษา รวมทั้งเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่จะทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา และเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา ในรูปแบบ Royal Gallery การถวายพระพรผ่าน Online Kiosk, Multimedia Theatre และ Mapping Projection
“กระทรวงฯ จะมีการจัดนิทรรศการแสดงพระราชกรณียกิจด้าน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ด้วยแนวคิด “พระราชกรณียกิจด้าน สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ภายใน Royal Pavilion รวมทั้งเปิดให้มีการร่วมถวายพระพรผ่าน Online Kiosk ด้วยการเลือก Template แบบที่ต้องการ พร้อมลงชื่อและกดถวายพระพร จากนั้นถ้อยคำถวายพระพรจะถูก Random ขึ้นแสดง สลับบนจอภาพใน Gallery ตลอดช่วงเวลางาน” นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ กล่าว
นอกจากนั้น ยังมีการจัดนิทรรศการในส่วนของ MICT Pavilion เพื่อแสดงผลงานของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แสดงวิสัยทัศน์ และทิศทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทาง ICT ของประเทศ ตามแนวคิด Smart Thailand 2020 ที่จะก่อให้เกิดการบูรณาการด้านการศึกษา เกษตรกรรม การท่องเที่ยว รวมถึงธุรกิจบริการและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนไทยอย่างยั่งยืน เพื่อเตรียมพร้อมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) พร้อมกันนี้ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับภัยพิบัติ (Disaster Pavilion) โดยมุ่งเน้นภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นและมีผลกระทบกับประเทศไทย เช่น แผ่นดินไหว ซึ่งอาจก่อให้เกิดสึนามิในประเทศไทย และภัยพิบัติน้ำท่วม เป็นต้น รวมทั้งมีการจัดแสดงนิทรรศการของหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงฯ เช่น TOT, CAT SIPA กรมอุตุนิยมวิทยา และหน่วยงานอื่น ๆ ด้วย

ส่วนต่อมาเป็นส่วนแสดงสินค้า ที่ประกอบด้วยการแสดงนวัตกรรมเทคโนโลยีจากภาคเอกชน อาทิ AIS, TRUE, DTAC, Thaicom, ZTE, Huawei เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีส่วนแสดงสินค้าจากผู้ประกอบการ ATCI ที่มุ่งเน้นการจับคู่ทางธุรกิจ การแสดงสินค้าราคาพิเศษจากผู้ประกอบการไอทีและผู้ให้บริการด้านไอที ส่วนที่ 3 คือ ส่วนการประชุมสัมมนา เป็นการเปิดเวทีเพื่อให้ความรู้และนวัตกรรมด้าน ICT โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐ รวมทั้งภาคเอกชน และสุดท้ายเป็นส่วนของกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งกิจกรรมพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการ กิจกรรมร่วมสนุกบนเวทีผ่านเทคโนโลยีด้าน ICT ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมงานได้มีส่วนร่วม

“กระทรวงฯ จึงขอเชิญชวนประชาชนทุกท่านได้ร่วมงาน “Bangkok International ICT Expo 2012” ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 – 6 สิงหาคม 2555 นี้ เพื่อร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ และร่วมกันสัมผัสปรากฏการณ์ใหม่แห่งโลกไอที พร้อมช่วยยกระดับเทคโนโลยีไทยให้ก้าวไกล สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างภาคภูมิด้วยกัน ณ ชาเลนเจอร์ 3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี” นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ กล่าว

View :1269

ก.ไอซีที เตรียมจัดงาน Bangkok International ICT Expo 2012 โชว์นวัตกรรมด้าน ICT

July 12th, 2012 No comments


นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า กระทรวงฯ ได้ร่วมกับ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เตรียมจัดงาน “Bangkok International Expo 2012” ขึ้นระหว่างวันที่ 3 – 6 สิงหาคม 2555 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี เพื่อเป็นการแสดงศักยภาพของประเทศไทยในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร () และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อชาวต่างชาติในสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศไทย รวมทั้งเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ภายหลังประสบอุทกภัย
“งาน ในปีนี้ กระทรวงฯ ได้กำหนดแนวคิดของการจัดงานเอาไว้ คือ Smart Thailand Towards AEC ซึ่งเป็นการแสดงวิสัยทัศน์ และทิศทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ของประเทศตามแนวทาง Smart Thailand 2020 ที่จะก่อให้เกิดการบูรณาการเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการศึกษา เกษตรกรรม การท่องเที่ยว รวมถึงธุรกิจบริการและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อันจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนไทยอย่างยั่งยืน เพื่อเตรียมพร้อมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC
โดยรูปแบบของการจัดงาน Bangkok International ICT Expo 2012 จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1.ส่วนนิทรรศการ ซึ่งจะมีการจัดนิทรรศการใน Royal Pavilion และ MICT Pavilion 2.ส่วนแสดงสินค้า จะเป็นการแสดงนวัตกรรมเทคโนโลยีจากภาคเอกชน ผู้ประกอบการต่างๆ รวมทั้งการจำหน่ายสินค้าราคาพิเศษ 3.ส่วนการประชุมสัมมนา เป็นการเปิดเวทีเพื่อให้ความรู้และนวัตกรรมด้าน ICT และ 4.กิจกรรมร่วมสนุกต่าง ๆ ผ่านเทคโนโลยีด้าน ICT ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมงานได้มีส่วนร่วมด้วย” นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ กล่าว
สำหรับงาน Bangkok International ICT Expo นั้นจัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2547 เพื่อเป็นกิจกรรมให้ประชาชนทั่วไป ระลึกถึงวันสื่อสารแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันที่ 4 สิงหาคม ของทุกปี รวมทั้งเพื่อเป็นการแสดงศักยภาพการแข่งขันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของไทยในภูมิภาค ตลอดจนเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และนวัตกรรมด้าน ICT โดยได้มีการจัดนิทรรศการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี แต่ในปี พ.ศ. 2551 กระทรวงฯ ได้ร่วมกับ International Telecommunication Union (ITU) จัดงาน “ITU Telecom Asia 2008” ขึ้น ระหว่างวันที่ 2 – 5 กันยายน 2551 แทน จึงไม่ได้มีการจัดงานฯ ในปีดังกล่าว หลังจากนั้น จึงได้ว่างเว้นจากการจัดงาน Bangkok International ICT Expo มาถึง 3 ปี
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนั้นกระทรวงไอซีที ได้มีการจัดงาน MICT สร้างคน สร้างชาติ ซึ่งเป็นนิทรรศการเผยแพร่ความรู้ รและนำเสนอเทคโนโลยีต่างๆ ด้าน ICT ตลอดจนนำเสนอผลงาน บทบาท ภารกิจต่างๆ ของกระทรวงฯ และหน่วยงานในสังกัดให้แก่ประชาชนในส่วนภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการยกระดับการเรียนรู้ด้าน ICT แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนนำความรู้ที่ได้ไปใช้พัฒนาตนเอง และพัฒนาชุมชน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาชาติต่อไป

View :1674

ก.ไอซีที เปิดเว็บไซต์ถวายพระพรออนไลน์ และแสตมป์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ

July 10th, 2012 No comments


นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า ในโอกาสมหามงคลต่างๆ ที่ผ่านมา กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และหน่วยงานในสังกัด ได้ตระหนักในพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ และได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมพระเกียรติขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการขยายช่องทางการแสดงความจงรักภักดีด้วยการถวายพระพรโดยการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์เชิญชวนชาวไทยทุกหมู่เหล่าร่วมกันถวายพระพรออนไลน์จนเป็นที่แพร่หลาย

โดยในปี 2553 กระทรวงฯ และหน่วยงานในสังกัด ได้ร่วมกันจัดทำโครงการถวายพระพรออนไลน์ขึ้น 2 วาระโอกาส ได้แก่ “โครงการถวายพระพรออนไลน์ 5 ธันวาคม 2553” เนื่องในโอกาส 60 ปี พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผ่านทางเว็บไซต์ www.9forking.com และ “โครงการถวายพระพรออนไลน์ 12 สิงหาคม 2553” เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 78 พรรษา 12 สิงหาคม 2553 ผ่านทางเว็บไซต์ www.ourking.in.th ต่อมาในปี 2554 กระทรวงฯ และหน่วยงานในสังกัด ได้ร่วมฉลองในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 โดยการร่วมจัดทำ “โครงการถวายพระพรออนไลน์เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา” ผ่านทางเว็บไซต์ www.welovekingonline.com

“และเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารนี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และหน่วยงานในสังกัด ก็ได้ร่วมดำเนินการจัดทำ “โครงการถวายพระพรออนไลน์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร”ผ่านทางเว็บไซต์ www.crownprince60.com ขึ้น โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระฉายาลักษณ์ในฉลองพระองค์ชุดต่างๆ จำนวน 6 ภาพ มาจัดทำเป็นภาพโปสการ์ดในการถวายพระพร โดย สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA เป็นผู้จัดทำเว็บไซต์ถวายพระพร และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นผู้สนับสนุนระบบการจัดเก็บข้อมูลการ ถวายพระพร ส่วนหน่วยงานอื่นในสังกัด ได้ทำการเชื่อมโยงเว็บไซต์ถวายพระพรออนไลน์ดังกล่าวบนหน้าแรกเว็บไซต์ของทุกหน่วยงาน เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมถวายพระพรอย่างทั่วถึง

โดยประชาชนทุกหมู่เหล่าสามารถร่วมลงนามถวายพระพรได้ ด้วยการเข้าไปที่เว็บไซต์ www.crownprince60.com ซึ่งจะพบกับพระฉายาลักษณ์และวีดีทัศน์พระราชกรณียกิจ จากนั้นให้คลิกที่คำว่า “ลงนามถวายพระพร” จะปรากฏหน้าโปสการ์ดจำนวน 6 ภาพ และเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการถวายพระพรออนไลน์ ที่จะมีอยู่ 2 ขั้นตอน คือ 1. เลือกรูปแบบการ์ดถวายพระพร โดยสามารถคลิกลงบนการ์ดใดการ์ดหนึ่งขั้นตอนที่ 2 เลือกคำถวายพระพร ที่ด้านล่าง แล้วพิมพ์ชื่อ – สกุล และหมายเลขรหัส ที่ปรากฏ จากนั้นก็ให้คลิกที่ “ลงนามถวายพระพร” ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการลงนามถวายพระพร

และนอกจากประชาชนทุกภาคส่วนจะสามารถลงนามถวายพระพรออนไลน์ด้วยตนเองได้แล้ว กระทรวงฯ และหน่วยงานในสังกัด ยังได้จัดมุมถวายพระพรออนไลน์ไว้ ณ ที่ตั้งของหน่วยงาน เพื่อให้ประชาชนที่เข้ามาติดต่อรับบริการต่างๆ ได้มีโอกาสลงนามถวายพระพรออนไลน์ได้นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม จนถึงเดือนธันวาคม 2555 ด้วย จึงขอเชิญชวนประชาชนทั่วประเทศร่วมกันถวายพระพรออนไลน์ทาง www.crownprince60.com โดยพร้อมเพรียงกันเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555” นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ กล่าว

พร้อมกันนี้ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ยังได้จัดสร้างตราไปรษณียากรชุด 60 พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติ โดยได้รับพระราชทานภาพฉลองพระองค์เครื่องแบบทหาร มาจัดพิมพ์เทคนิคพิเศษด้วยการปั๊มฟอยด์ทองของอักษรบรรยาย ซึ่ง ไปรษณีย์ไทย ได้จัดพิมพ์ทั้งสิ้นจำนวน 700,000 ดวง และจะเริ่มจำหน่ายในวันที่ 28 กรกฎาคม 2555 เป็นวันแรก

View :2023

ก.ไอซีที ตั้งคณะกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรม ICT วางแนวทาง และนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรม ICT ของไทย

June 29th, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งขึ้นตามข้อเสนอของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธาน และมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมเป็นคณะกรรมการ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทาง นโยบาย และมาตรการในการพัฒนาอุตสาหกรรม ของไทยให้สามารถแข่งขันในระดับสากล รวมทั้งสนับสนุนการเชื่อมโยงพัฒนาอุตสาหกรรม ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ
นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ICT ได้พัฒนาทั้งบุคลากร ผลิตภัณฑ์ และบริการ ให้มีมาตรฐานสากลสามารถแข่งขันกับนานาชาติได้ ตลอดจนประสานการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม ICT ของประเทศให้สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และพิจารณากำหนดแผนเตรียมความพร้อมสำหรับอุตสาหกรรม ICT ของไทยให้มุ่งสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)

สำหรับการประชุมของคณะกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครั้งแรกนี้ ได้มีการพิจารณาในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ การจัดตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (องค์การมหาชน) เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้าน ICT ในเชิงคุณภาพ ให้แก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนของไทย รวมทั้งปัญหาการขาดหน่วยงานหลักในการบูรณาการด้านการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ของประเทศ ซึ่งต้องเป็นหน่วยงานอิสระที่มีระบบงานเอื้อต่อ การดึงทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นบริการสาธารณะที่ไม่แสวงหากำไร

สถาบันพัฒนาบุคลากร ICT นี้ จะทำหน้าที่พัฒนาบุคลากรภาครัฐ ทั้งในส่วนของ IT และ Non IT รวมถึงบุคลากรภาคเอกชน ผู้ประกอบการและนักศึกษาในสถาบันการศึกษาอื่นๆ ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส และประชาชนในท้องถิ่นห่างไกล มุ่งเน้นการเสริมสร้างความเชี่ยวชาญและทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้เข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะสาขาที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการ และเน้นการต่อยอดจากสถาบันการศึกษาปกติ เพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานด้วยสมรรถนะที่เหมาะสมสามารถทำงานได้ทันที พร้อมกันนี้ยังช่วยวางแผนกำลังคนด้าน ICT เพื่อกำหนด demand ของตลาดแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ICT ทั้งปริมาณและคุณภาพ ติดตามแนวโน้มของเทคโนโลยีเพื่อการ Retrain บุคลากรภาคอุตสาหกรรมให้สามารถพัฒนาตนเองได้ ตามการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี
นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณาแนวทางผลักดันโครงการต่างๆ ภายใต้นโยบาย Smart Thailand ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ โดย Smart Thailand เป็นนโยบายในการพัฒนาประเทศด้าน ICT ที่สอดรับกับนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ และกรอบนโยบาย ICT 2020 ซึ่งการขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวจำเป็นต้องผลักดันภารกิจในหลายๆ ส่วนงาน โดยหนึ่งในนั้นคือ การส่งเสริมการใช้งานบัตรประชาชนแบบอเนกประสงค์ หรือ Smart Card ให้เกิดประโยขน์สูงสุด และโครงการ Smart City ที่ได้คัดเลือกจังหวัดนครนายกเป็นจังหวัดนำร่องของเมืองต้นแบบในการบริหารงาน e-Government เต็มรูปแบบ

View :1490

ก.ไอซีที เข้าร่วมประชุมการใช้ประโยชน์อวกาศส่วนนอกโดยสันติ ครั้งที่ 55

June 21st, 2012 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เข้าร่วมการประชุมสมัชชาคณะกรรมการว่าด้วยการใช้ประโยชน์อวกาศส่วนนอกโดยสันติ ครั้งที่ 55 (The 55th Session of General Assembly of The Committee on Peaceful Uses Outer Space) ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย โดยการประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมใหญ่ประจำปีของคณะกรรมการว่าด้วยการใช้ประโยชน์อวกาศส่วนนอกโดยสันติ (COPUOS) ซึ่งเป็นองค์กรภายใต้สำนักงานเลขาธิการสหประชาชาติ ที่มีบทบาทสำคัญทางด้านกิจการอวกาศทุกสาขา ได้แก่ ด้านการสื่อสาร ด้านการกำหนดพิกัดทางภูมิศาสตร์ การสำรวจทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และด้านกฎหมายอวกาศ ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก เมื่อปี 2547 โดยปัจจุบัน COPUOS มีจำนวนสมาชิก 71 ประเทศ และมีประเทศในกลุ่มอาเซียนร่วมเป็นสมาชิก 5 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

สำหรับการประชุมฯ ครั้งนี้ กระทรวงไอซีที ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมเพื่อรายงานกิจกรรมการใช้ประโยชน์อวกาศ ที่กระทรวงฯ ได้ดำเนินการตลอดปี 2554 ที่ผ่านมา ได้แก่ 1. โครงการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากดาวเทียม SMMS (Small Multi-Mission Satellite) ซึ่งกระทรวงไอซีที ได้ร่วมกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำข้อมูลดาวเทียม SMMS มาใช้เพื่อการประมาณเนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตพืชเศรษฐกิจ โดยได้นำร่องในโครงการพยากรณ์ผลผลิตข้าว ด้วยการใช้ข้อมูลดาวเทียมร่วมกับการตั้งแปลงสังเกต ซึ่งการดำเนินงานจะมีการนำข้อมูลดาวเทียม SMMS มาใช้ในการวิเคราะห์เนื้อที่เพาะปลูกข้าว และค่าดัชนี พืชพรรณ (Vegetation Index : VI) เพื่อหาความอุดมสมบูรณ์ของต้นข้าว และมีการวัดค่าการสะท้อนแสงจากเครื่องมือ Spectrometer ในทุกระยะการเจริญเติบโตของข้าว เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ช่วงการเจริญเติบโตของข้าว ซึ่งถือเป็นแนวทางใหม่ในการพัฒนาการพยากรณ์ผลผลิตให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นต่อไป

นอกจากนี้ ยังได้มีการตั้งสถานีรับสัญญาณดาวเทียมจุฬาภรณ์ขึ้น ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยใช้งบประมาณดำเนินการจัดสร้างสถานีจำนวน 60 ล้านบาท เพื่อนำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม SMMS ที่เป็นภาพในเวลาจริง หรือ Real Time ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ภายใน 1 ชั่วโมง และยังทำให้สามารถเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของภูมิประเทศได้อย่างชัดเจน จึงได้มีการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเตือนภัยพิบัติ สำรวจทรัพยากรธรรมชาติ การคาดการณ์การเพาะปลูก การเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมก่อนและหลัง การคาดคะเนผลผลิตทางการเกษตร และการบุกรุกป่า

2. โครงการความร่วมมือภายใต้อนุสัญญา APSCO ประเทศไทยในฐานะรัฐสมาชิกขององค์การ APSCO ได้สนับสนุนกิจกรรมและโครงการความร่วมมือภายใต้อนุสัญญา APSCO มาโดยตลอด ซึ่งได้แก่ 1) Proposal for Spatial Data Sharing Service Platform and Its Application Pilot Project. 2) Proposal for APSCO Applied High Resolution Satellite Project. 3) Research on Atmospheric Effects on: Ka Band Rain Attenuation Modelling; and Ionospheric Modelling through Study of Radio Wave Propagation and Solar Activity. 4) Development of Asia-Pacific Ground Based Optical Satellite Observation System (APOSOS). 5) Feasibility Study of the Applications of Compatible Navigation Terminal System. และ 6) Education and Training in the Applications of Satellite Remote Sensing Data, in particular from HJ-1 (SMMS) and Thailand Earth Observation Satellite (THEOS).

พร้อมกันนี้ ประเทศไทย ยังได้รับเกียรติจากที่ประชุมคณะมนตรีองค์การ APSCO ให้เป็นแกนนำในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ Research on Atmospheric Effects ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้โครงการดังกล่าว
3. โครงการดาวเทียมไทยคม 6 กระทรวงไอซีที ได้เห็นชอบให้ บมจ.ไทยคม ในฐานะผู้รับสัมปทานดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ดำเนินการจัดสร้างดาวเทียมไทยคม 6 ซึ่งเป็นดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 5 โดยคาดว่าจะส่งขึ้นสู่วงโคจรที่ 78.5 องศาตะวันออก ประมาณกลางปี 2556 ดาวเทียมดังกล่าวจะมีอายุการใช้งาน 15 ปี มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป และใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัย หรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง

โดยกิจกรรมการใช้ประโยชน์อวกาศดังกล่าว ที่กระทรวงฯ ได้ดำเนินการในปี 2554 นั้น จะได้รับการรวบรวมและจัดทำเป็นรายงานประจำปีเกี่ยวกับกิจกรรมทางอวกาศของประเทศไทยต่อไป

View :1279

กรมการปกครองจับมือสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ผลักระบบเลข 13 หลักของบัตรชาชน เข้าสู่ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง

June 16th, 2012 No comments


หวังให้ทุกหน่วยงานดึงฐานข้อมูลหลักผ่านอินเทอร์เน็ต เชื่อประหยัดงบประมาณ และสร้างมาตรฐานการใช้งานภาครัฐใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการบริการประชาชนในระยะยาว

นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า แนวทางการพัฒนาระบบบริการภาครัฐให้เป็นระบบดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการประชาชน โดยต้องอิงจากฐานข้อมูลจริงเพื่อยืนยันการเป็นตัวตนของแต่ละคน
ดังนั้นข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร จากฐานข้อมูลทะเบียนกลาง กระทรวงมหาดไทย จึงมีความสำคัญอย่างมาก และเป็นความท้าทายของกระทรวงมหาดไทย ที่จะต้องพัฒนาให้มีความก้าวหน้า ปลอดภัย และรองรับการใช้งานของทุกส่วนราชการต่อไป
การเชื่อมต่อกับระบบไอทีของสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือสรอ.ในครั้งนี้จึงเป็นแนวทางที่สำคัญอย่างยิ่งของกระทรวงมหาดไทยที่ผ่านมากรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้วางรากฐานข้อมูลประชากรมาตั้งแต่ปี 2525 โดยการจัดเก็บข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร ไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ และสร้างดัชนีให้กับรายการบุคคลทุกคนที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูล ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 103 หน่วยงาน ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงในการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรเช่น กรมการกงสุล ใช้ในการบริการประชาชนด้านการออกหนังสือเดินทาง
กรมการขนส่งทางบก ใช้ในการออกใบอนุญาตขับรถ โดยเฉพาะกรมสรรพากรได้มีการปรับเปลี่ยนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
มาเป็นเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักแทน

นอกจากนั้น กระทรวงมหาดไทย ยังให้ความสำคัญกับคนไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ ให้สามารถจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนได้ ไม่ต้องเดินทางกลับมาทำที่ประเทศไทย ซึ่งในปี 2555 จะดำเนินการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนนำร่อง ณ สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ และสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย จำนวน 6 แห่ง รวมทั้งได้สนับสนุนคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในการพัฒนาระบบการเลือกตั้งทั่วไป สำหรับคนไทยที่อาศัยอยู่ต่างประเทศให้สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้ด้วย ซึ่งนับได้ว่า ในยุคของความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร จากฐานข้อมูลทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น การได้ร่วมมือกับสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครั้งนี้ จึงเป็นก้าวสำคัญในการขยายการใช้ประโยชน์จากข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรไปสู่การให้บริการต่อประชาชนอย่างแท้จริง

นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า หนึ่งในพันธกิจเร่งด่วนของกระทรวงไอซีทีในขณะนี้คือ การสร้างระบบการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบบริการภาครัฐโดยใช้ประโยชน์จากบัตรประจำตัวประชาชน หรือ Citizen Smart Info ขึ้นมา โดยเป้าหมายสูงสุดของระบบนี้คือ การที่ประชาชนทั่วไปสามารถนำข้อมูลของตนเองที่เกี่ยวกับธุรกรรมภาครัฐมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสะดวกสบายและทั่วถึงนโยบาย Citizen Smart Info นั้นต้องการทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบดิจิทัลแบบ Single Sign On หรือการใช้รหัสผ่านครั้งเดียว ก็สามารถดึงข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองขึ้นมาได้
ทำให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลของตน เพื่อทำให้เกิดการวางแผนและบริหารกิจกรรมต่างๆ ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งต้องนำข้อมูลบัตรประชาชนจากกรมการปกครองมาเป็นตัวอ้างอิงหลัก ไปสู่บริการของหน่วยงานรัฐต่างๆ ได้ง่ายขึ้น จากเดิมหากหน่วยงานใดต้องการใช้ข้อมูลของกรมการปกครองก็จำเป็นต้องเดินสายต่อเชื่อมข้อมูลเข้าหากรมการปกครองโดยตรง ซึ่งสร้างภาระงบประมาณทั้งกรมการปกครองและหน่วยงานต่างๆ และยังทำให้เกิดความยุ่งยากในการบริหารจัดการสถาปัตยกรรมทางด้านไอซีทีเป็นอย่างมาก

การลงนามสัญญาบันทึกข้อตกลงหรือ การทำ MOU ระหว่างกรมการปกครองกับสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือสรอ.จึงเป็นการจัดระบบและสร้างความร่วมมือให้เกิดระบบ Citizen Smart Info ด้วยการที่สรอ.จะเข้าไปเพิ่มขนาดเครือข่ายจากกรมการปกครอง
ซึ่งเป็นปลายทางหลักเข้ากับเซิร์ฟเวอร์ฟาร์มของสรอ. ผ่านระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ หรือ Government
Information Network หรือ GIN แล้วสร้างระบบเซิร์ฟเวอร์ของสรอ.ให้เป็นระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง

ดังนั้นสรอ.จะกลายเป็นแม่ข่ายหลักในการเชื่อมต่อกับหน่วยงานต่างๆ แทนกรมการปกครอง หน่วยงานต่างๆ ที่ต้องการใช้ฐานข้อมูลบัตรประชาชนก็สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในรูปแบบของข้อมูลดิบ หรือผ่านระบบแอพพลิเคชันที่เขียนขึ้นมาครอบฐานข้อมูลนี้

ในทางปฏิบัติต่อจากการลงนามบันทึกข้อตกลงนี้เสร็จแล้ว ทุกหน่วยงานหากจะใช้ข้อมูลจากบัตรประชาชนเพียงแค่ทำความตกลงกับกรมการปกครอง หลังจากนั้นไม่จำเป็นต้องลงทุนทางด้านไอทีเพิ่มเติมก็สามารถเชื่อมต่อข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยระบบ GIN ซึ่งไม่มีค่าบริการ ขณะเดียวกันเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพทุกหน่วยงานก็จะต้องเร่งพัฒนาแอพพลิเคชันของตนเองเป็นระบบ Web Services เพื่อเรียกการใช้งานผ่านคลาวด์คอมพิวติ้งของสรอ. ได้เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นจะเกิดมาตรฐานกลางของแอพพลิเคชันต่างๆขึ้นมา
ซึ่งทำให้การเชื่อมต่อฐานข้อมูลข้ามหน่วยงานด้วยกันทำได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกันถ้าหากแอพพลิเคชันและข้อมูลเหล่านั้นติดตั้งอยู่บนระบบคลาวด์คอมพิวติ้งของสรอ.ด้วยแล้วก็จะทำให้เกิดความรวดเร็วในการเรียกใช้บริการง่ายขึ้นอีกด้วย จากแผนงานหลักของสรอ.ในการเร่งพัฒนาระบบ GIN และคลาวด์คอมพิวติ้งให้มีประสิทธิภาพแล้ว คาดว่าภายในปีนี้จะมีบริการหลักของหน่วยงานรัฐมาเข้าสู่ระบบเพื่อบริการประชาชนได้ทันที ไม่ว่าจะเป็น โครงการพัฒนาระบบตรวจสอบข้อมูลสิทธิประโยชน์คนพิการ สปสช.,โครงการพัฒนาระบบตรวจสอบข้อมูลประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม เป็นต้น ซึ่งเมื่อหน่วยงานเข้ามาใช้บริการแล้ว จะดึงดูดให้บริการส่วนอื่นๆ เข้ามาต่อเชื่อมเพื่อใช้ฐานข้อมูลร่วมกันได้ง่ายขึ้น และคาดว่าภายในปีหน้าจะมีหน่วยงานไม่ต่ำกว่า 30 หน่วยงานเข้ามาเชื่อมต่อฐานข้อมูลร่วมกันได้ และคาดว่าภายใน 3 ปีนี้จะมีหน่วยงานรัฐที่พร้อมจะเข้ามาร่วมในโครงการ Citizen Smart Info มากกว่า 50%

นอกจากการผลักดัน Citizen Smart Info กระทรวงไอซีทียังดำเนินการในส่วนอื่นๆ ไปพร้อมกันไม่ว่าจะเป็น smart province, โครงการ Free Wifi และอื่นๆ เพื่อทำให้เกิดสภาวะแวดล้อมในการใช้ Citizen Smart Info ได้อย่างสมบูรณ์แบบไปพร้อมๆ กัน

นายสุกิจ เจริญรัตนกุล อธิบดีกรมการปกครอง เปิดเผยว่า งานทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชนเป็นด่านแรกของการให้บริการภาครัฐ เนื่องจากข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพิสูจน์ ยืนยัน และรับรองตัวบุคคล เพื่อการเข้าถึงบริการภาครัฐและเอกชนได้ ดังนั้น หากมีการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของส่วนราชการต่าง ๆ กับกรมการปกครองแล้ว จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนได้อย่างแท้จริง ปัจจุบันกรมการปกครอง ได้อนุญาตให้ส่วนราชการต่าง ๆ เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ประโยชน์ข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรจากฐานข้อมูลทะเบียนกลาง จำนวน 103 หน่วยงาน ซึ่งในแต่ละปีจะมีปริมาณการใช้งานจากการเชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรของกรมการปกครอง มากกว่าปีละ 100 ล้านรายการ โดยหน่วยงานที่มีการใช้งานมากที่สุดคือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ใช้สูงถึง 24,500,547 รายการต่อปี รองลงมาคือ กรมการขนส่งทางบก 14,296,246 รายการ ขณะที่หน่วยงานอันดับสามคือ กรมสรรพากร 13,131,703 รายการ ทุกหน่วยงานมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น

สำหรับภาคเอกชน ที่กฎหมายยังไม่อนุญาตให้สามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ได้นั้น กรมการปกครองได้ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ การอนุญาตให้ใช้โปรแกรมสำหรับอ่านข้อมูลจากบัตรประจำตัวประชาชนแบบ Smart Card แทน หรือเรียกว่า Smart Card Off-line
ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้ลงนามข้อตกลงว่าด้วยการขอใช้โปรแกรมสำหรับอ่านข้อมูลจากบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว
จำนวน 86 หน่วยงาน เพื่อต้องการอ่านข้อมูลตามรายการที่ปรากฏตามหน้าบัตรประจำตัวประชาชนที่กรมการปกครองได้จัดเก็บไว้ใน IC Chip ซึ่งรวมถึงภาพใบหน้า

นอกจากนั้นยังได้จัดเก็บข้อมูลของส่วนราชการอื่น ๆ ที่จำเป็นไว้ในบัตรประจำตัวประชาชนด้วย เช่น ข้อมูลการแสดงสิทธิการรักษาพยาบาล ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้ประชาชนสามารถแสดงสิทธิการรักษาพยาบาลต่อสถานพยาบาลได้ ในส่วนของภาคเอกชน เช่น ธนาคาร รวมทั้งสถาบันการเงิน ได้เห็นประโยชน์ในการใช้งานโปรแกรมสำหรับอ่านข้อมูลจากบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อป้องกันการทุจริตในการแอบอ้าง สวมตัวเจ้าของรายการบุคคล ซึ่งการอ่านข้อมูลจาก IC Chip ในบัตรฯ สามารถพิสูจน์ ยืนยัน ตัวตนที่แท้จริงได้ และช่วยลดขั้นตอนการบันทึกข้อมูลใหม่ที่อาจเกิดความผิดพลาดได้ ลดการใช้กระดาษ ลดความเสี่ยงการใช้เอกสารปลอม ที่สำคัญประชาชนได้รับบริการที่ถูกต้อง สะดวก รวดเร็วมากขึ้น

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือสรอ. เปิดเผยว่า แผนดำเนินการ 3 ขั้นตอนเพื่อทำให้โครงการ การพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบบริการภาครัฐโดยใช้ประโยชน์จากบัตรประจำตัวประชาชน (Citizen Smart Info) ลุล่วงนั้นประกอบด้วย ขั้นที่ 1 คือการลงนามในบันทึกข้อตกลง หรือ MOU กับกรมการปกครองในครั้งนี้ จุดมุ่งหมายเพื่อให้ทุกหน่วยงานภาครัฐสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลของกรมการปกครองและนำไปใช้ได้ทันที โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ในขั้นตอนนี้ทางสรอ.ใช้วิธีบริหารจัดการระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Government Information Network: GIN) ขึ้นมาใหม่
จากเดิมเป็นการเชื่อมต่อระหว่างหน่วยงานรัฐในปริมาณที่เท่ากัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง

จากจุดเริ่มนี้สรอ.ได้เข้ามาตั้งค่าการใช้งาน GIN ให้กับหน่วยงานหลักที่มีความจำเป็นมากขึ้นตามความต้องการใช้งานจริง ในกรณีของระบบคอมพิวเตอร์ของกรมการปกครองที่จะต้องเป็นฐานข้อมูลหลัก ทางสรอ.ได้เพิ่มปริมาณขนาดของเครือข่ายเป็น 50 MPs ในปีนี้
และหากมีความต้องการดึงฐานข้อมูลจากหน่วยงานรัฐต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ทางสรอ.ก็พร้อมจะเพิ่มขนาดเครือข่ายให้เป็น 100 MPs ในปีหน้า ซึ่งถือเป็นขนาดเครือข่ายที่ใหญ่มากขณะเดียวกันฐานข้อมูลทั้งหมดของกรมการปกครองจะเข้ามาใช้ระบบคลาวด์คอมพิวติ้งของสรอ.
ที่เป็นศูนย์กลาง ดังนั้นหน่วยงานต่างๆ ที่ใช้ระบบ GIN อยู่แล้วสามารถดึงฐานข้อมูลผ่านเครือข่ายภายในนี้ได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องต่อสายตรงไปยังกรมการปกครองเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ประหยัดงบประมาณไปได้อย่างมาก

การดำเนินการประการที่สอง ทางสรอ.มีข้อตกลงกับทางกรมการปกครองในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด รวมถึงมีระบบความปลอดภัยสูงสุดด้วย ขณะเดียวกันก็สามารถขยายฐานการใช้งานไปได้อย่างไม่จำกัด
โดยมีสถาปัตยกรรมที่ทันสมัยมาสนับสนุน และยังทำให้หน่วยงานรัฐอื่นๆ ที่เข้ามาใช้งานสามารถเข้ามาใช้โครงสร้างพื้นฐานนี้ร่วมกัน
เพื่อทำให้เกิดเอกภาพในการใช้งานระหว่างกันในอนาคต โดยงบประมาณในส่วนของการพัฒนาศูนย์ดาตาเซ็นเตอร์และระบบคลาวด์คอมพิวติ้งนั้น ทางสรอ.จะเป็นผู้ดำเนินการและจัดหา โดยในปีแรกจะใช้ประมาณ 50 ล้านบาท และจะเร่งเพิ่มเติมงบประมาณมากขึ้นในปีต่อๆ ไป ซึ่งในปัจจุบันมีหน่วยงานรัฐ 30 หน่วยงานอยู่ระหว่างการติดตั้งระบบ

ดังนั้นทิศทางจากนี้ไป จะมีทั้งหน่วยงานรัฐที่เข้ามาใช้ฐานข้อมูลของกรมการปกครองมากขึ้น โดยลงทุนระบบคอมพิวเตอร์น้อยลง ขณะเดียวกันแต่ละหน่วยงานก็สามารถแบ่งปันข้อมูลของหน่วยงานตัวเองเข้ามาในระบบมากขึ้น และกรมการปกครองรวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ก็สามารถนำไปใช้งานได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งทางสรอ.จะทำหน้าที่ในการประสานงาน และเข้าไปเป็นที่ปรึกษาในการวางระบบสถาปัตยกรรมในส่วนนี้ต่อไปอีกประการหนึ่งที่เป็นหน้าที่ของสรอ.ในโครงการ Citizen Smart Info คือ การทำต้นแบบให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลของตนเองได้ง่าย โดยสรอ.จะนำไปเชื่อมโยงกับโครงการ Smart Province หรือจังหวัดอัจฉริยะ ด้วยการจัดทำกล่องอัจฉริยะต้นแบบไปติดตั้งที่จังหวัด เพื่อเป็นเครืองทดลองใช้ หรือ demo ซึ่งในกล่องนี้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลของรัฐทุกรูปแบบ โดยอิงกับฐานข้อมูลบัตรประชาชนของตนเอง ซึ่งในอนาคตกล่องรับสัญญาณนี้จะเหมือนกล่องรับชมทีวีดาวเทียมปกติ และสามารถไปติดตั้งตามบ้านได้ หรือเป็นแอพพลิเคชันเสริมให้กับผู้ผลิตกล่องรับสัญญาณที่นอกจากจะดูทีวีตามปกติ ยังสามารถใช้งานฐานข้อมูลส่วนบุคคลได้ต่อไป

View :1777

ก.ไอซีที จับมือ สภาการศึกษา จัดทำแผนแม่บท ICT สำหรับการศึกษาของไทย

June 16th, 2012 No comments

นายณัฐพงศ์ ศีตวรรัตน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ให้การต้อนรับคณะกรรมการ บริหารโครงการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับการศึกษาของประเทศไทย สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ชุดที่มีนายอานนท์ ทับเที่ยง ที่ปรึกษาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นประธาน โดยได้มีการประชุมหารือร่วมกันในเรื่อง “การจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับการศึกษาของประเทศไทย” เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาและลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับการศึกษาของประเทศ

นายอานนท์ ทับเที่ยง ที่ปรึกษาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาฯ กล่าวว่า แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับการศึกษาของประเทศไทย ถือเป็นงานสำคัญที่ต้องมีการตั้งคณะกรรมการที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์จาก ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็น กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้ามาร่วมดำเนินการขับเคลื่อน และพัฒนาเนื้อหาสาระให้เกิดขึ้น เพื่อให้ได้แผนแม่บทฯ ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ

ด้าน นางเมธินี เทพมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในช่วงของการใช้แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 2 ของประเทศไทย (พ.ศ.2552 -2556) โดยในแผนแม่บทฯ ฉบับนี้มียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา คือ การพัฒนากำลังคน ซึ่งมีเป้าหมาย คือ การเพิ่มทักษะการใช้ประโยชน์สารสนเทศ ที่กำหนดระดับทักษะการใช้ไว้ 5 ระดับ และมีโครงการเร่งด่วนรองรับ อาทิ โครงการนำร่องการจัดการเรียนการสอนสหกิจศึกษา ที่เน้นการปฏิบัติงานจริงกับภาคอุตสาหกรรม โครงการส่งเสริมการผลิตบุคลากรระดับปริญญาโทสายวิศวกรรมซอฟท์แวร์และวิทยาการซอฟต์แวร์ โครงการจัดตั้งสถาบันเฉพาะทางด้าน เพื่อผลิตบุคลากรที่มีทักษะสูง เป็นต้น

นายณัฐพงศ์ ศีตวรรัตน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับโครงการสำคัญที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กำลังดำเนินการร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประกอบการเรียนการสอนอยู่ในขณะนี้ ก็คือ โครงการจัดซื้อคอมพิวเตอร์แบบพกพา (แท็บเล็ต) ให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั่วประเทศ (One Tablet PC per Child) ซึ่งได้มีการส่งมอบเครื่องแท็บเล็ตครั้งแรกจำนวน 2,000 เครื่อง ในเดือนพฤษภาคม 2555 เพื่อการทดสอบการใช้งาน จากนั้นจึงจะทยอยส่งมอบจนครบจำนวนภายในสิ้นปีงบประมาณ 2555 เพื่อแจกจ่ายให้แก่โรงเรียนที่มีความพร้อมในด้านเครือข่ายสัญญาณและสามารถรองรับการใช้งานเป็นลำดับแรก โดยจะดำเนินการควบคู่ไปกับการเร่งปรับปรุงความพร้อมของโครงข่ายบริการในพื้นที่โรงเรียนต่างๆ ตามกลุ่มเป้าหมาย

View :1687

คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เร่งผลักดันหน่วยงานรัฐจัดทำแนวนโยบายรักษาความปลอดภัยด้านสารสนเทศ

June 5th, 2012 No comments

นางจีราวรรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะรองประธานกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐ โดยที่ประชุมได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแก่หน่วยงานของรัฐเพิ่มเติมอีก 1 หน่วยงาน คือ กรมสรรพากร ทำให้ขณะนี้มีนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของหน่วยงานของรัฐ ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการธุรกรรมฯ แล้ว จำนวน 30 หน่วยงาน ส่วนหน่วยงานของรัฐที่ยังไม่ได้จัดทำแนวนโยบายและแนวปฏิบัติดังกล่าว คณะกรรมการธุรกรรมฯ จะพิจารณาดำเนินการใช้มาตรการในเชิงบริหารต่อไป

นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการธุรกรรมฯ ยังได้กำหนดกลไกการติดตามและผลักดันหน่วยงานของรัฐในการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติในเรื่องนี้ ตามประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2553 โดยให้หน่วยงานของรัฐจัดทำรายงานประเมินความเสี่ยงของตน (Self – evaluation) เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงพัฒนาระบบสารสนเทศของหน่วยงานตนเอง พร้อมทั้งให้ส่งรายงานการประเมินความเสี่ยงของตนเองแก่คณะกรรมการธุรกรรมฯ เพื่อนำผลการประเมินฯ ดังกล่าวมาพิจารณาดำเนินการประสานงานกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เพื่อพิจารณาหาแนวทางในการช่วยเหลือหน่วยงานของรัฐในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศต่อไป

โดยคณะกรรมการฯ ได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) จัดทำแผนการเข้าตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงเฉพาะหน่วยงานของรัฐที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อทำให้หน่วยงานของรัฐมีระบบสารสนเทศที่มีความมั่นคงปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานของรัฐที่มีความสำคัญต่อโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

พร้อมกันนี้ ที่ประชุมฯ ยังได้มีการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจการให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใด หรือผ่านเครือข่าย ตามบัญชี ค (3) แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 แก่ บริษัท เพย์เพด จำกัด ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอ โดยจนถึงปัจจุบันคณะกรรมการฯ ได้ออกใบอนุญาตให้กับผู้ให้บริการไปแล้ว จำนวน 76 ราย แบ่งเป็นผู้ให้บริการที่เป็นสถาบันทางการเงิน จำนวน 31 ราย และผู้ให้บริการที่มิใช่สถาบันทางการเงิน จำนวน 45 ราย รวมใบอนุญาต จำนวน 115 ฉบับ

นอกจากนั้น คณะกรรมการฯ ยังได้เห็นชอบในหลักการให้มีการกำหนดขั้นตอนการพิจารณามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการผลักดันมาตรฐานด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว เพื่อรองรับการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 (AEC 2015) โดยจะนำเอามาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และหน่วยงานรับผิดชอบที่ต้องการให้มีผลบังคับใช้ มาเข้าสู่กระบวนการจัดทำเป็นประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อไป

View :1442

ก.ไอซีที จับมือ สรอ. เปิดรับฟังความคิดเห็น “มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ”

May 31st, 2012 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นในวงกว้าง (Public hearing) เรื่อง “” ว่า กระทรวงฯ ได้ร่วมกับ สำนักงานรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. ดำเนินการจัดทำ “” (Government Website Standard) โดยมุ่งหวังให้หน่วยงานภาครัฐได้มีแนวทางในการพัฒนา และปรับปรุงเว็บไซต์ของหน่วยงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับหน่วยงาน อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างภาคประชาชน หน่วยงานราชการ ตลอดจนองค์กรธุรกิจ และยกระดับความสามารถของการให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐ ให้สามารถก้าวไปสู่จุดหมายของการบูรณาการเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Connected Government) ที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง

“ในการสำรวจเพื่อจัดอันดับการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Government ของกลุ่มประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations e-Government Readiness) ในปี 2012 พบว่า ประเทศไทยจัดอยู่ในลำดับที่ 92 จากจำนวนประเทศสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ ซึ่งลดลงจากปี ค.ศ. 2010 ที่ประเทศไทยจัดอยู่ในลำดับที่ 76 และลำดับที่ 64 ในปี ค.ศ. 2008 ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้เพิ่มมากขึ้น ด้วยการนำมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ มาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาระบบการให้บริการผ่านเว็บไซต์ อันจะช่วยยกระดับการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยให้ก้าวไปสู่การเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Connected Government) โดยยึดเอาประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen Centric) และให้ประชาชนมีส่วนร่วมผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Participation) ตลอดจนช่วยให้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ก้าวหน้าไปสู่ระดับมาตรฐานสากล เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับหน่วยงาน” นางจีราวรรณ กล่าว

ด้าน นายศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า เพื่อให้การดำเนินการจัดทำ “มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ” บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ จำเป็นต้องมีกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน และเล็งเห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ทั้งในระดับหน่วยงานผู้ให้บริการ ตลอดจนผู้รับบริการทุกภาคส่วน โดยที่ผ่านมา สรอ. ได้มีการหารือกับหน่วยงานภาคเอกชน กลุ่มสมาคม ที่รับพัฒนาเว็บไซต์ให้กับหน่วยงานราชการ และจัดให้มีการสัมมนาเพื่อระดมความคิดเห็น (Focus Group) เกี่ยวกับมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ 2 ครั้ง ในเดือนเมษายน 2555 โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ประมาณ 60 หน่วยงาน ร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนามาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐให้มีความเหมาะสม ครอบคลุม และสมบูรณ์มากที่สุด

พร้อมกันนี้ยังได้ทำการศึกษาข้อมูลด้านต่างๆ ที่อาจเป็นกรอบตั้งต้นในการจัดทำมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ อาทิ ข้อมูลจัดอันดับการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ของกลุ่มประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations e-Government Readiness) ในรายงาน United Nations E-Government Survey กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลจากการสำรวจเชิงสถิติ การให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ของหน่วยงานภาครัฐ ประเทศไทย และกรณีศึกษาของต่างประเทศ ทั้งมาตรฐานเว็บไซต์ที่แต่ละประเทศมีการจัดทำ และการให้บริการผ่านเว็บไซต์ของภาครัฐ เป็นต้น

“ขณะนี้ สรอ. ได้ทำการยก ร่างมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ เรียบร้อยแล้ว จึงได้การจัดประชุมประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นในวงกว้าง (Public hearing) ครั้งนี้ขึ้น เพื่อเชิญหน่วยงานภาครัฐระดับกรมขึ้นไป มาร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นต่อร่างมาตรฐานฯ ดังกล่าว ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีที่หน่วยงานภาครัฐจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ ประสบการณ์ ในมุมมองของผู้ที่ดูแลรับผิดชอบและผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเว็บไซต์ ทั้งนี้ เพื่อนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ มาใช้ในการพัฒนา ปรับปรุงมาตรฐานฯ ให้สมบูรณ์ และเหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป” นายศักดิ์ กล่าว

View :1523

ก.ไอซีที ร่วมประชุม ICT Summit ในงาน World Economic Forum on East Asia 2012

May 31st, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังร่วมเป็นประธานการประชุมสุดยอดด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( Summit) ภายใต้การประชุม World Economic Forum on East Asia ปี 2555 ว่า ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม World Economic Forum on East Asia (WEFEA) ปี 2555 ขึ้น ระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2555 ณ โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพมหานคร เพื่อให้เป็นเวทีการประชุมนานาชาติของผู้นำระดับสูงทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ และสื่อมวลชน จำนวนประมาณ 500 คน รวมทั้งให้เป็นเวทีที่มีอิทธิพลต่อการชี้นำทิศทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลก

“การประชุมฯ ครั้งนี้ได้กำหนดหัวข้อหลักเอาไว้ คือ “Shaping the Region’s Future through Connectivity” โดยในวันแรก เป็นการจัดการประชุมแบบ Private Session ใน 5 หัวข้อหลัก ได้แก่ การประชุมสุดยอดด้านการท่องเที่ยว (Tourism Summit) การประชุมสุดยอดด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Summit) การประชุมด้านสุขภาพ (Healthcare) การประชุมด้านเกษตรกรรม (Agriculture) และการประชุมด้านพลังงาน (Energy) ซึ่งกระทรวงไอซีที มีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนของการประชุม ICT Summit” นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ กล่าว

สำหรับการประชุมในส่วนนี้แบ่งออกเป็น 3 Sessions คือ Session I : The Power of Data to Fuel Technological, Social and Economic Innovations Session II : Connectivity for Growth : Digital and Physical และ Session III : Partnering for Cyber Resilience : Individual Action, Collective Good โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทำหน้าที่เป็นประธานร่วม (Co-Chair) กับ Mr. Masami Yamamoto, President and Representative Director, Fujitsu, จากญี่ปุ่น โดยมีผู้แทนจากภาครัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องทางด้าน ICT ซึ่งได้รับเชิญจาก World Economic Forum (WEF) เข้าร่วมการประชุม

“นอกจากการจัดประชุม World Economic Forum on East Asia ดังกล่าว ตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีกับ WEF แล้ว นายกรัฐมนตรี ยังได้มีสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมเสริมเพื่อเพิ่มพูนผลประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งนี้ เช่น การจัดเลี้ยงผู้เข้าร่วมงาน การจัดกิจกรรมส่งเสริมการลงทุนรายสาขา/ อุตสาหกรรม การจัดทำแผ่นพับข้อมูลต่างๆ ของประเทศไทย การตั้งซุ้มข้อมูล และแพคเกจการท่องเที่ยวต่างๆ เป็นต้น โดยในส่วนของกระทรวงไอซีที ได้จัด ให้มีกิจกรรมเสริม คือ การจัดเลี้ยงอาหารค่ำ “ICT Networking Dinner” รับรองผู้เข้าร่วมงาน ในวันพุธที่ 30 พฤษภาคม 2555 ณ โรงแรมเพนนินซูล่า กรุงเทพมหานคร” นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ กล่าว

งาน “ICT Networking Dinner” นี้ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นประธาน โดยจัดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการด้าน ICT ที่เข้าร่วมการประชุม ICT Summit จากต่างประเทศได้มีโอกาสพบปะและทำความรู้จักกับผู้ประกอบการด้าน ICT ไทย ซึ่งจะเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยได้สร้างเครือข่ายทางธุรกิจกับผู้ประกอบการ ICT ชั้นนำจากต่างประเทศ และสร้างโอกาสในด้านการลงทุน รวมทั้งสนับสนุนการท่องเที่ยว สร้างความมั่นใจ ตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยอีกทางหนึ่งด้วย

View :1584