Archive

Archive for the ‘3G’ Category

เอไอเอสผนึกกำลังพาร์ทเนอร์ หนุนพลัง Ecosystem ไปอีกขั้น กับ E3- Enhanced Ecosystem Experience

July 28th, 2011 No comments

เอไอเอสผนึกพลังพาร์ทเนอร์ ผ่าน แนวคิด Ecosystem เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์การใช้บริการ โดยเปิดเครือข่าย ในกรุงเทพฯ และอีก 7 จังหวัด เสริมศักยภาพการบริการไร้รอยต่อผ่าน 3 เครือข่าย (, Wifi, EDGE+) พร้อมให้บริการ 3 Applications ใหม่ล่าสุด (AIS Music Store, AIS Book Store, AIS App Store) และประกาศเปิดตัว 3 Device ใหม่ล่าสุด (Samsung Galaxy Tab 10.1, Nokia N9, HTC EVO 3D) ที่ exclusive เฉพาะกับ เอไอเอส

นายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า “ครึ่งปีแรกภาพรวมของอุตสาหกรรมยังคงเติบโต โดยในไตรมาส 1 ที่ผ่านมาเอไอเอสครองส่วนแบ่งรายได้อยู่ที่ 54.5% ทั้งนี้หากมองไปที่รายละเอียดสำคัญๆจะพบว่า ปริมาณลูกค้าที่ใช้โมบาย อินเตอร์เน็ต มีสูงถึง 7.5 ล้านคน , ความนิยมดาวน์โหลดคอนเท็นต์มากกว่า 48 ล้านครั้งต่อปี เช่นเดียวกับการส่งมอบสิทธิพิเศษจากพาร์ทเนอร์มากกว่า 5 ล้านครั้งในแต่ละปีให้แก่ลูกค้า เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งยืนยันแนวความคิด Ecosystem ที่เราได้มุ่งมั่นมาตลอดในช่วงที่ผ่านมา”

“สิ่งที่ผู้ประกอบการมุ่งหวังคือ โอกาสทางการเติบโตอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคมซึ่งเป็นอีกหนึ่งโครงสร้างพื้นฐานหลัก (Infrastructure) ที่เป็นรากฐานมีผลต่อการเติบโตของภาพรวมเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งหากภาครัฐมีการบริหารจัดการด้านกฏเกณฑ์อย่างชัดเจน ปี 2013 จะได้เห็นมูลค่าการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ถึงกว่า 240,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามระหว่างที่รอความชัดเจนของการเปิดประมูล ของภาครัฐ เราจึงเดินหน้าพัฒนาเครือข่ายเพื่อส่งมอบให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์การใช้งาน Data บนเครือข่าย Hi Speed คือ 3G, Wifi, EDGE+ ที่จะทำให้ลูกค้าสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่โลก online ได้อย่างต่อเนื่อง สะดวกสบาย ทุกที่ ทุกเวลา กับเครือข่ายดาต้าไร้สายที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อันประกอบด้วย 3G บนคลื่นความถี่ 900 MHz ที่ขยายเพิ่มเติมในพื้นที่กรุงเทพและอีก 7 จังหวัด (จะเป็น 9 จังหวัดในสิ้นปี ’54) ประกอบด้วย กรุงเทพ, เชียงใหม่ ,ชลบุรี, หาดใหญ่-สงขลา, ภูเก็ต, ชะอำ-หัวหิน-ปราณบุรี และนครราชสีมา รองรับมาตรฐานความเร็วสูงสุดถึง 21.6 Mbps , Wifi มากกว่า 30,000 จุด (จะเป็น 50,000 จุดภายในสิ้นปี’54) และ EDGE+ ครอบคลุมทั่วไทย ให้คุณอัพโหลดข้อมูลสูงสุดถึง 236 Mbps. (เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ) และดาวน์โหลดข้อมูลสูงสุดถึง 296 Mbps. (เพิ่มขึ้นเป็น 25% ) พร้อมโทรออก-รับสายได้แม้ขณะท่องโลกออนไลน์ จึงไม่พลาดทุกการติดต่อ

นายมาร์ค ชอง ชิน ก๊อก หัวหน้าผู้บริหาร ด้านปฏิบัติการ เอไอเอส เปิดเผยเพิ่มเติมว่า “มุมมองของเอไอเอสในการพัฒนาเครือข่าย คือ เดินหน้านำทุกเทคโนโลยีมามอบให้ลูกค้าได้ใช้งานอย่างตอบโจทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ความต้องการใช้งาน Hi speed Data เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ดังเช่นเทคโนโลยี 3G บนคลื่นความถี่ 900 MHz ที่ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2551 และขยายพื้นที่ครอบคลุมต่อเนื่อง จนปัจจุบันได้พร้อมให้บริการแล้วในกรุงเทพและ 7 จังหวัดดังกล่าว ด้วยแนวคิดที่จะให้ลูกค้าใช้งาน Data ได้ต่อเนื่องทุกที่ ทุกเวลา โดยลูกค้าที่มีโทรศัพท์รองรับ 3G 900จะได้รับการ upgrade ความเร็วสูงสุดพื้นฐานไปถึง 384 Kpbs. และสำหรับลูกค้าที่ต้องการความเร็ว 3G อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ตตามเวลาไปจนถึงการใช้งานที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลาอย่างสมาร์ทโฟน ก็สามารถสมัครแพ็กเกจ 3G – Wifi – EDGE+ ที่หลากหลาย เริ่มต้นเดือนละ 150 บาท พิเศษสำหรับลูกค้าที่สมัครแพ็กเกจ iPhone , Blackberry 300 บาท และ 799 บาท รวมถึงลูกค้าที่อยู่ในแพ็กเกจการใช้งาน unlimited 799 บาท จะได้รับการ upgrade ใช้ 3G อัตโนมัติ ภายในรอบบิลถัดไป โดยไม่ต้องสมัคร”

อย่างไรก็ตามสิ่งที่เอไอเอสให้ความสำคัญมาโดยตลอดคือ Quality DNAs ที่ต้องส่งมอบไปพร้อมๆกัน ดังนั้นย่อมไม่ได้หมายความเพียง เครือข่าย หากแต่ต้องมี สุดยอด Applications ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อลูกค้าเอไอเอส ซึ่งในครั้งนี้ได้เปิดตัว 3 Application ล่าสุด คือ

1. AIS Bookstore ครั้งแรกของการเปิด E-Book Store เคาน์เตอร์จำหน่ายหนังสือบนโลก online ที่ใหญ่ที่สุด โดยร่วมมือกับสำนักพิมพ์ชั้นนำในประเทศเปิดให้ลูกค้าสามารถดาวน์โหลดนิตยสารและพ็อคเก็ตบุ๊คชั้นนำกว่า 200 หัว จากกว่า 40 สำนักพิมพ์ ได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ทั้งบน iOS และ Android

2. AIS Music Store ครั้งแรกในการร่วมกับทุกค่ายเพลงในเมืองไทยให้ลูกค้าดาวน์โหลด ฟัง และแชร์ได้เพียงปลายนิ้ว ไม่อั้นกว่า 60,000 เพลงในราคาสุดคุ้มแบบเหมาจ่าย ที่รวมค่าบริการ Data ไว้ด้วย

3. AIS App Store ประตูสู่โลก Application ที่ดีที่สุดทั้งไทย และต่างประเทศที่รองรับทุกระบบปฏิบัติการ อำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าได้เข้าถึง application ง่ายขึ้น

พร้อมประกาศ 3 Smart Devices ที่ exclusive เฉพาะลูกค้าเอไอเอส ประกอบด้วย

1. Samsung Galaxy Tab 10.1 ที่มาพร้อมแพ็กเกจสุดคุ้มที่รวม E-Magazine จาก AIS Book Store 10 เล่มต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน

2. Nokia N9 มือถือ Smart Phone ที่ดีที่สุดของ โนเกีย และ

3. HTC Evo ED มือถือที่สามารถถ่ายภาพ 3 มิติเครื่องแรก

ทั้ง 2 รุ่นจะวางตลาด เร็วๆ นี้

อีกด้านที่ เอไอเอสพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งคือ ช่องทางการส่งมอบบริการ ที่พัฒนาอย่างสอดคล้องกับความต้องการที่เพิ่ม Trend ข้างต้น พร้อมทีมพนักงาน Smart Expert กว่า 300 คนทั่วประเทศ ที่พร้อมให้คำแนะนำและอยู่เคียงข้างเสมอ”

“ทั้งหมดนี้คือ คุณภาพในทุกด้าน ที่ทีมงานเอไอเอสทั้งหมดขออาสาเป็นตัวกลางที่จะทำงานร่วมกับทุกส่วนใน Ecosystem ในการสร้างพลังให้แก่ E3 – Enhanced Ecosystem Experience

ทั้งนี้นายวิเชียร กล่าวย้ำตอนท้ายว่า “ขณะนี้ลูกค้ามีความต้องการใช้งาน Hi speed Data เป็นอย่างมาก 3G บนคลื่นความถี่ 900 MHz จึงเป็นเพียงเทคโนโลยีเท่าเทียมกันในปัจจุบันที่เอไอเอสสามารถนำมาให้บริการได้ แต่ก็จะตอบสนองความต้องการได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น เอไอเอสจึงขอเรียกร้องให้ภาครัฐมองเห็นความสำคัญของการวางแผนนโยบายบรอดแบนด์ แห่งชาติ เริ่มจากการกำหนดช่วงเวลาเปิดประมูลใบอนุญาต 3 จี ให้เร็วที่สุดเพื่อจะได้ส่งมอบบริการ 3จี ที่แท้จริง บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพบริการ Data บนเครือข่าย High Speed ที่สมบูรณ์แบบ และการพัฒนาศักยภาพทางการแข่งขันของไทยให้ทัดเทียมกับประเทศอื่นๆต่อไป”

เกี่ยวกับการพัฒนาบริการ 3G บนคลื่นความถี่ 900 MHz ของเอไอเอส

ปี 2551 พบว่าความต้องการใช้งาน Data ของลูกค้าเริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด เอไอเอสจึงเดินหน้าสรรหาเทคโนโลยีที่จะมาตอบสนองความต้องการดังกล่าวเบื้องต้น ในระหว่างรอความชัดเจนจากภาครัฐเกี่ยวกับแนวทางให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 กิ๊กกะเฮิร์ตซ์ เอไอเอสจึงนำเทคโนโลยี HSPA (High Speed Packet Access)บนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิร์ตซ์ ปัจจุบันมาให้บริการ โดยถือเป็นการทำงานบนสัญญาที่รับสิทธิอยู่ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง TOT และ เอไอเอส ที่ได้ทำ MOU ร่วมกันในการพัฒนากิจการโทรคมนาคมไทย ซึ่ง เอไอเอสได้รับสิทธิจาก TOT ในการปรับปรุงโครงข่ายจากที่ให้บริการอยู่ปัจจุบัน เพื่อที่จะใช้เทคโนโลยีใหม่บนความถี่เดิมให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ TOT เองก็ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ในเวลาดังกล่าว) ให้ทำการปรับปรุงโครงข่ายโดยใช้เทคโนโลยี HSPA บนคลื่นความถี่ 900 เม็กกะเฮิร์ตซเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

3 แอพพลิเคชั่นเพื่อลูกค้าเอไอเอส

บริการ AIS Music Store

คลังเพลงล่าสุดบนเอไอเอส สมาร์ทโฟน ที่ให้คุณโหลดเพลงได้ไม่จำกัดกว่า 50,000 เพลง จากทุกค่ายเพลงชั้นนำของเมืองไทย ทั้ง GMM Grammy, RS, Sony Music, Small Room, Spicy Disc, Universal, Warner, KPN ฯ ภายใต้คอนเซ็ปท์ “Unlimited Load, Play, Share” ที่โหลดเพลงได้ไม่อั้น ทั้งเต็มเพลง และมิวสิควิดีโอ ผ่านทางแอพพลิเคชั่น AIS Music Store และเล่นเพลงได้ทั้งแบบ on line และ off line ที่ไหน เมื่อไรก็ได้ หรือจะแชร์เพลงโปรดให้เพื่อนผ่านทาง Facebook หรือ Twitter ก็ได้ง่ายๆ ทั้งหมดนี้ไม่ต้องกังวลเรื่องค่า 3G/EDGE Plus/GPRS อีกต่อไป

ลูกค้าเอไอเอสเพียงดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น AIS Music Store มาเก็บไว้ที่เครื่องฟรี จากนั้นก็สมัครใช้บริการแบบรายเดือน เพียงโทร *272# เพื่อดาวน์โหลดเพลงมาฟังได้แบบไม่อั้น ในอัตราสุดคุ้ม เพียง 99 บาท/เดือน โดยค่าบริการนี้เป็นราคาเหมาจ่าย ที่รวมทั้งค่าคอนเทนต์และค่าเชื่อมต่อ 3G/EDGE Plus/GPRS ไว้แล้ว เมื่อใช้บริการ ไม่ว่าจะโหลด เล่น แชร์เพลง ลูกค้าไม่ต้องเสียค่าเชื่อมต่อ 3G/ EDGE Plus /GPRS เพิ่มแต่อย่างใด ซึ่งรองรับบนเอไอเอส iPhone, Android และ BlackBerry

บริการ AIS Bookstore

ร้านหนังสือออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ซึ่งเอไอเอสได้รวบรวมนิตยสารชั้นนำในเมืองไทย และพ็อกเก็ตบุ๊ค กว่า 200 เล่มมาให้ดาวน์โหลดไปอ่านบน iPad, iPhone, Android และ Tablet โดยหนังสือที่ขายอยู่บน AIS Bookstore จะวางจำหน่ายพร้อมกับแผงหนังสือทั่วไป

ลูกค้าสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น AIS Bookstore ได้ฟรี ส่วนราคาหนังสือแต่ละเล่ม ขึ้นอยู่กับสำนักพิมพ์ มีทั้งแบบโหลดฟรี และคิดค่าบริการ โดยสามารถซื้อได้ทั้งแบบเล่มเดี่ยว และแบบสมัครสมาชิก พร้อมกันนี้ เอไอเอสยังได้จัดแพ็คเกจพิเศษ สำหรับผู้ที่สมัครใช้แพ็ค Unlimited 3G / WiFi / EDGE Plus 899 บาท จะได้รับฟรี e-magazine จาก AIS Bookstore เดือนละ 10 เล่มเป็นระยะเวลา 3 เดือน ได้แก่ Image, ดิฉัน, Men’s Health, Seventeen, Mother&Baby, GM, GM Car, Hello, T3 และ Maxim

บริการ AIS APP Store

แหล่งรวมแอพลิเคชั่นเพียงแห่งเดียว ที่รวมทั้งแอพจากไทยและทั่วโลก สามารถรองรับ มือถือได้ทุกรุ่น เพียงโทร *900 ภายใต้คอนเซ็ปท์ Life Work Play จัดเต็มทุกไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ทั้งขาช้อป คอหุ้น ดูหนังฟังเพลง อัพเดทข่าวสาร ท่องเที่ยว รวมทั้งแอพฯ ที่ช่วยบริหารจัดการการใช้งานมือถือของคุณได้ด้วยตัวเอง เพื่อให้การใช้งานสมาร์ทโฟนจากเอไอเอสเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ อาทิ AIS Music store, AIS Bookstore, AIS eService, AIS SoccerLive, Serenade Mag, Layar, mPAY, SE-ED, ASTVManager, Nation Super News, Major, Blue, Central, Shoppening และยังมีแอพและเกมจากทั่วโลกอีกเพียบ

พื้นที่ให้บริการ _กรุงเทพ

พื้นที่ให้บริการ AIS 3G_ชลบุรี

พื้นที่ให้บริการ AIS 3G_ชะอำ หัวหิน ปราณบุรี และภูเก็ต

พื้นที่ให้บริการ AIS 3G_เชียงใหม่

พื้นที่ให้บริการ AIS 3G_นครราชสีมา

พื้นที่ให้บริการ AIS 3G_สงขลา

View :2396

ดีแทคเตรียมพร้อมเต็มพิกัดเปิดตัว 3จี ในเดือนสิงหาคม

July 21st, 2011 No comments

ดีแทคเตรียมพร้อมเต็มพิกัดเปิดตัว ในเดือนสิงหาคม
เสริมศักยภาพเครือข่ายต่อเนื่อง ตั้งเป้า 2,000 สถานีฐานปรับปรุงเสร็จสิ้นในปี 55
 
บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ “ดีแทค” ประกาศความพร้อมในการเปิดตัวบริการ 3จี เอชเอสพีเอ บนคลื่น 850 เมกะเฮิร์ตซ์ในเดือนสิงหาคม 2554 ด้วยเทคโนโลยี 3จี ดีแทคสามารถให้บริการบรอดแบนด์โมบายอินเทอร์เน็ตอย่างเต็มรูปแบบแก่ผู้บริโภคในประเทศไทยอย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมเริ่มต้นก้าวสำคัญเพื่อมุ่งสู่ความเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายดาต้าที่ดีที่สุดของไทย

นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า  “การเปิดตัวบริการ 3จี ของดีแทค ทำให้เราสามารถตอบสนองความต้องการที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของ บรอดแบนด์ความเร็วสูงและโมบายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เราเชื่อว่าลูกค้าจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากบริการสื่อสารความเร็วสูง ตลอดจนจากโซลูชั่นและบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งจะเกิดขึ้นตามมา นอกจากนั้น บริการ 3จี ยังเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งสำหรับดีแทคในตอบสนองความต้องการของลูกค้า และเพื่อการก้าวสู่ความเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในด้านบริการเครือข่ายดาต้าในประเทศไทย”  

ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ดีแทคได้ประกาศแผนการลงทุนจำนวน 1,200 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงเครือข่ายสู่ระบบ 3จี ครอบคลุมสถานีฐานทั้งหมด 1,220 แห่ง และขณะนี้การปรับปรุงเครือข่ายระยะแรกสำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ  ได้เสร็จสิ้นแล้ว โดยพนักงานดีแทคจะได้ใช้บริการ 3จี ในวันที่ 25 กรกฎาคม เพื่อรับรองคุณภาพของบริการ และเพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถมอบประสบการณ์สื่อสารที่ดีที่สุดแก่ลูกค้าได้เมื่อบริการ 3จี เปิดตัวในเดือนสิงหาคม ส่วนการปรับปรุงเครือข่ายขั้นต่อไป ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งหมด รวมทั้งจังหวัดสำคัญๆ อีกหลายจังหวัด จะดำเนินการต่อไปและคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในปีนี้ โดยบริการ 3จี จากดีแทค จะเริ่มให้บริการในช่วงแรกในพื้นที่กรุงเทพฯ ในช่วงกลางเดือนสิงหาคม 2554

“เรามีแผนการที่จะลงทุนอย่างต่อเนื่องในเทคโนโลยีที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าของเรา โดยตั้งเป้าหมายที่จะให้บริการ 3จี ครอบคลุมในสถานีฐานทั้งหมด 2,000 สถานี ภายในปี 2555  และใช้งบเพิ่มเติมอีก 750 ล้านบาทสำหรับการปรับปรุงเครือข่ายใน 780 สถานีฐาน ครอบคลุมพื้นที่โดยรวมใน 40 จังหวัด” นายอับดุลลาห์กล่าว

การเปิดให้บริการ 3จี จากดีแทค นับเป็นก้าวย่างสำคัญของดีแทคสู่การเป็นผู้นำอันดับหนึ่งของบริการเครือข่ายดาต้าในอนาคตอันใกล้นี้ และด้วยความมุ่งมั่นที่จะมอบบริการที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า ดีแทคจะเปิดตัวแคมเปญ  Life network เพื่อสื่อให้เห็นถึงคุณค่าหลักของผลิตภัณฑ์และบริการทั้งหมดของดีแทค โดยรายละเอียดของแคมเปญจะทยอยปรากฏในช่องทางการสื่อสารการตลาดต่างๆ ที่หลากหลายอย่างต่อเนื่องในเร็วๆ นี้

View :2680
Categories: 3G Tags:

ทริดี้ เปิดวิสัยทัศน์ระดมความคิด มองทิศทาง แนวโน้มอนาคตของโทรคมนาคม วิทยุโทรทัศน์ กับนักวิชาการภาคการศึกษากว่า 30 มหาวิทยาลัย

July 5th, 2011 No comments

สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม หรือ ทริดี้ จัดประชุมระดมความคิด ครั้งที่ 2 หาทิศทางและแนวโน้มในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแพร่ภาพ การกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ข้อคิดเห็น และเป็นแนวทางในการจัดทำแผนการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแพร่ภาพ การกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของประเทศในอนาคต โดยการเปิดเวทีระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานต่างๆ ในครั้งนี้ ทริดี้เชื่อว่าจะได้ทราบถึงทิศทางและแนวโน้ม  การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแพร่ภาพ การกระจายเสียง  โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีอื่นๆ  ที่เกี่ยวข้อง    รวมถึงรับทราบถึงศักยภาพของนักวิจัยไทยในด้านดังกล่าว

โดยการระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ถือเป็นการรวมกลุ่มจากภาคการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 30 มหาวิทยาลัย ที่ต้องการหาทางออก ปฏิรูปสื่อในประเทศ ให้เกิดการกระจายในระดับมหภาคอย่างเสรีและมีกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจน พร้อมสู่ภาคประชาชนอย่างแท้จริง

ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม หรือ ทริดี้ กล่าวว่า การประชุมระดมความคิดเรื่อง “Road map for Broadcasting and Telecommunications Research & Development ครั้งที่ 2” ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ ทริดี้และสำนักงาน กสทช. มุ่งตรงที่จะได้ทราบถึงทิศทางและแนวโน้มการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแพร่ภาพ การกระจายเสียง เทคโนโลยีโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง  ทั้งในส่วนของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม   ตลอดจนประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ  เพื่อเป็นแผนการสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา และการส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพร่ภาพกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องของ  และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงาน กสทช.  ตามขอบเขตในภารกิจและการส่งเสริมและสนับสนุนตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553    โดยกิจกรรมในครั้งนี้  ได้รับความร่วมมือจากผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่มีการเรียนการสอนในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น   ซึ่งตอกย้ำถึงความร่วมมืออระหว่าง ทริดี้  สำนักงาน กสทช.  กับสถาบันการศึกษาและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง  ในการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาที่ผ่านมา  และยังมุ่งต่อยอดนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องต่อไปในอนาคตด้วย

ดร.สุพจน์ กล่าวอีกว่า การประชุมครั้งนี้ ยังเผยภารกิจในการดำเนินงานของทริดี้ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม  และการพัฒนาบุคลากรที่ผ่านมา รวมไปถึงทิศทางและแนวโน้มในอนาคต  พร้อมแผนการสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา  การส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพร่ภาพกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง   รวมถึงแผนการพัฒนาบุคลากร   และทราบถึงความพร้อมของสถาบันการศึกษาภายใต้ขอบเขต พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ฯ พ.ศ.2553 เพื่อเป็นการรองรับการแข่งขัน AEC ที่จะมีขึ้นในปี 2015 ซึ่งในครั้งนี้จะมีนักวิจัย รวมถึงผลงานวิจัยในเทคโนโลยีในด้านที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น และสามารถต่อยอดนวัตกรรมเทคโนโลยีการแพร่ภาพ การกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในอนาคตได้ สามารถช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโตขึ้นอีกด้วย

“ในการระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ ทริดี้เชื่อว่าจะสามารถผลักดันให้เกิดแผนและแนวทางการพัฒนาการวิจัยและพัฒนา  การส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพร่ภาพกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง   รวมถึงแผนการพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพของประเทศ   และในอนาคตเชื่อว่าภาคอุตสาหกรรมด้านโทรคมนาคม วิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์จะเติบโตไปอีกมาก  ซึ่งประเทศที่มีการพัฒนาแล้วจะให้ความสำคัญอย่างจริงจังในส่วนของงานวิจัย บุคลากร และการมองหาทิศทางของผลิตภัณฑ์ ตลาดทั้งในและต่างประเทศ  ดังนั้นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการเริ่มพัฒนาคือภาคการศึกษาที่จะสามารถช่วยให้เกิดบุคลากรคุณภาพ เกิดการใช้ในประเทศ ตลอดจนการส่งออกในต่างประเทศในภาคอุตสาหกรรมดังกล่าว”  ดร.สุพจน์ กล่าวสรุป

มุมมองของภาคการศึกษา “ความคิดเห็นของกลุ่มนักวิชาการในระดับมหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งนี้ มองถึงความสำคัญของการปฎิรูปในอนาคตที่ชัดเจนและจริงจัง สู่ภาคประชาชนอย่าง “รู้ทันสื่อ” โดยโครงของสื่อในอนาคต กลุ่มนักวิชาการมองว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในภาพรวมในอนาคตหากเกิดการแข่งขันที่เสรีมากขึ้น และหากจะเกิดการพัฒนาในประเทศต้องมองถึงการวางโครงสร้างที่แข็งแรง ตลอดจนการร่วมมือกันอย่างมีศักยภาพทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคการศึกษาเอง โดยทั้งหมดต้องร่วมกันผลักดันให้เกิดการพัฒนา และยังมองถึงส่วนของการคุ้มครองผู้บริโภคจากสื่ออีกด้วย ซึ่งในอนาคตหากไม่มีแบบแผนที่ชัดเจนจะเกิดการก่อกวนหรือสร้างปัญหาจากสื่อได้

งานวิจัยถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สำคัญหากที่ผ่านมามีแต่การวางโครงการนำเสนอวิจัย แต่ไม่มีการนำโครงการต่าง ๆ ไปปฏิบัติงานหรือต่อยอด ซึ่งที่ผ่านมาเพิ่งมี ทริดี้ที่สนับสนุนให้นำงานวิจัยไปดำเนินงานต่อยอด แต่ในอนาคตหากเกิดการดำเนินงานในด้านโทรคมนาคม วิทยุโทรทัศน์ที่เสรีมากขึ้น ต้องช่วยกันในหลายภาคส่วนให้นำผลงานต่าง ๆ ไปต่อยอดให้เกิดการใช้งานจริง ซึ่งหากสามารถนำโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ไปปฏิงานได้จริง ไม่เพียงแต่ผลงานจะสะท้อนถึงทิศทางในอนาคต แต่จะเกิดการลดต้นทุนในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เกิดการจ้างงาน และภาครัฐเองต้องมองหาตลาดให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ (ภาคการศึกษา-สนับสนุน วิจัยผลงาน พัฒนาผลงาน, ภาครัฐ-สนับสนุนเงินทุน หาช่องทางตลาด ตลอดจนผลักดันให้เกิดมูงค่าในเชิงพาณิชย์ สร้างมาตรฐานของผลงานที่พัฒนาขึ้นมา, ภาคเอกชน-สนับสนุนการใช้ผลงาน อุปกรณ์ และผลักดันในตลาดทั้งในและต่างประเทศ) หากมองในตลาดปัจจุบันอุตสาหกรรมด้านโทรคมนาคม วิทยุโทรทัศน์ต้องเริ่มที่ พัฒนาความรู้ผลงาน ต่อยอด ใช้เอง และส่งขายตามลำดับ กอปรกับความร่วมมือจากนักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มวิศวะโทรคมนาคม นักวิจัย และลงพื้นที่พัฒนาให้ความรู้ในระดับท้องถิ่น และก้าวสู่การพัฒนาในระดับประเทศในอนาคต

หมายเหตุ :     มาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ.2553 มีบทบัญญัติ ดังนี้ “ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นในสำนักงาน กสทช. เรียกว่า “กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ” โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

(1)    ดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม อย่างทั่วถึง ตลอดจนส่งเสริมชุมชนและสนับสนุนผู้ประกอบกิจการบริการชุมชนตามมาตรา 51

(2)    ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรสื่อสาร การวิจัยและพัฒนาด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อ เทคโนโลยีด้านการใช้คลื่นความถี่ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ หรือผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง

(3)    ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการดำเนินการขององค์กร ซึ่งทำหน้าที่จัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมของการประกอบวิชาชีพหรือวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

(4)    สนับสนุน ส่งเสริม และคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

(5)    สนับสนุนการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ โดยจัดสรรเงินให้แก่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์”

View :2132

ก.ไอซีที เดินหน้าผลักดันนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ สานฝันให้ประชาชนไทย 95 % ได้ใช้บรอดแบนด์ ใน 10 ปี

June 16th, 2011 No comments

นางจีราวรรณ   บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า ภายใต้กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ.2554 – 2563 ได้มีการกำหนดนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติขึ้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนและใช้เป็นกรอบในการดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาบริการบรอดแบนด์   โดยที่ภาครัฐมีบทบาทเป็นผู้กำหนดนโยบายและสนับสนุนให้มีการใช้บริการบรอดแบนด์อย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน รวมทั้งส่งเสริมให้ภาคเอกชนและประชาชนร่วมดำเนินการไปสู่ความสำเร็จ โดยการตั้งองค์กรอิสระตามกฎหมายทำหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม

“นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ เป็นนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนการพัฒนาบริการโทรคมนาคมพื้นฐานของประเทศให้สอดคล้องกับสถานการณ์ธุรกิจโทรคมนาคมในปัจจุบันและทิศทางในอนาคต ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศ จึงจำเป็นที่กระทรวงฯ จะต้องวางแผนดำเนินงานผลักดันนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ด้วยการจัดทำโครงการจัดทำแผนดำเนินงานเพื่อผลักดันนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำข้อมูลและแนวทางพื้นฐานในการผลักดันนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติให้นำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งเพื่อจัดทำรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงาน” นางจีราวรรณ กล่าว

สำหรับการดำเนินโครงการฯ นี้ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ Demand Side และ Supply Side ในด้าน Demand Side จะดำเนินการวิเคราะห์ว่าภาครัฐจะมีรูปแบบการใช้งานที่ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างไร และต้องใช้เงินงบประมาณในการดำเนินการเท่าไร แล้วจัดทำเป็นแผนบูรณาการงบประมาณของกระทรวงต่างๆ ในการใช้โครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ และแผนการดำเนินงานในภาพกว้าง ( High-level) ของการใช้ประโยชน์โครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติโดยภาครัฐ   ส่วนด้าน Supply Side จะดำเนินการจัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะของรูปแบบธุรกิจ ( Business Model) ของหน่วยงานบรอดแบนด์แห่งชาติ ทั้งโครงสร้าง รูปแบบการดำเนินงาน แนวทางการลงทุน และจัดทำแผนแม่บทด้าน Supply Side ของโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติ ระยะเวลา 5 ปี ซึ่งจะมีทั้งแผนการขยายโครงข่ายในภาพกว้าง ( High-level) แผนการลงทุนและแผนการจัดหาเงินทุน เงินงบประมาณในการดำเนินโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติ ตลอดจนแผนการร่วมใช้สินทรัพย์โครงข่ายของประเทศไทย

“เป้าหมายสำคัญประการแรกของนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ   ก็คือ การพัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ให้ครอบคลุมประชากรได้ไม่น้อยกว่า 80% ใน 5 ปี และ 95% ใน 10 ปี ซึ่งจะทำอย่างไรที่จะให้สามารถเข้าถึงครัวเรือนของประชาชนได้ตามแผนฯ รวมทั้ง         ทำอย่างไรให้สามารถที่จะเกิดบรอดแบนด์ราคาถูกบนเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุด หรือทำอย่างไรที่จะให้ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมไอซีทีได้เข้ามามีส่วนร่วมได้มากที่สุด ดังนั้น จึงต้องมีการจัดทำแผนดำเนินงานเพื่อผลักดันนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ทั้งในส่วนของ Demand side และ Supply side นี้ขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างรวดเร็ว สามารถบรรลุเป้าหมายหลักของนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ คือ ต้องการให้คนไทยเข้าถึงไอซีทีได้อย่างเท่าเทียม และทั่วถึงกัน ทั้งนี้ เพื่อนำความเจริญ รวมถึงลดความเลื่อมล้ำในการเข้าถึงบรอดแบนด์ให้กับประชาชน” นางจีราวรรณ กล่าว

View :1383

ดีแทคยืนยันดำเนินธุรกิจถูกต้องตามกฏหมายไทยทุกประการ

June 14th, 2011 No comments

บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ “ดีแทค” ยืนยันชัดเจนว่าบริษัทได้ดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฏหมาย และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องของไทยทุกประการ
 
นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า “ดีแทคดำเนินธุรกิจภายใต้กฏหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องของไทยทุกประการ ในฐานะที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย เรามีการเปิดเผยข้อมูลโครงสร้างผู้ถือหุ้นต่อสาธารณชน และกระทรวงพาณิชย์อย่างชัดเจน ทั้งนี้ ดีแทคขอยืนยันในความมุ่งมั่นที่จะมอบประสบการณ์การสื่อสารที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า และคนไทยทุกคน และดำเนินธุรกิจภายใต้หลักธรรมาภิบาล ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงด้านกฏระเบียบข้อบังคับใดๆ เรายินดีที่จะปฏิบัติตาม”

View :1267
Categories: 3G Tags:

ทีโอที ออกตัวความเร็ว 42 Mbps. กับเทคโนโลยี 3.9G ตั้งเป้าเปิดให้คนไทยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ TOT3G ภายในสิงหาคมนี้

June 10th, 2011 No comments


ทีโอที จัดแถลงข่าวเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ TOT3G พร้อมจัดกิจกรรม “กล้า-ท้า-ลอง”  ให้คนไทยร่วมทดสอบความเร็ว ความแรงของ TOT3G ด้วยระบบ เทคโนโลยี ของแท้ที่     ทีโอที นำมาใช้เป็นรายแรกและรายเดียวของประเทศ  ด้วยความเร็วสูงสุด 42 Mbps. พร้อมประกาศเดินหน้านำประเทศไทยก้าวสู่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นครั้งแรก ซึ่งคาดว่าประมาณกลางไตรมาส   ที่ 4 ของปี 2554 ประชาชนคนไทยจะได้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เต็มรูปแบบในกรุงเทพฯ  ปริมณฑล และ 14 จังหวัดหลัก  หลังจากนั้นภายในกลางปี 2555 จะสามารถใช้งานได้ทุกจังหวัด   ทั่วประเทศ  ตั้งเป้าประเดิมตลาดครั้งแรกสิงหาคมนี้  มั่นใจตอบโจทย์และโดนใจวิถีชีวิตออนไลน์คนไทยทั่วประเทศ พร้อมเปิดโลกทัศน์ทุกมุมมองให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง

คณะกรรมการ บมจ.ทีโอที ร่วมงานเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ TOT3G ความเร็ว 42 Mbps. อย่างเป็นทางการ โดยมีนายอานนท์ ทับเที่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในพิธี ณ Hall of Fame  สยามพารากอน  ร่วมด้วย หลุยส์ สก๊อต ท้าลองความเร็ว ความแรงของ TOT3G        บนเทคโนโลยี HSPA+ (High Speed Packet Access Plus) หรือระบบ 3.9G  ซึ่งโครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของประเทศ ตามแผนแม่บท ICT ฉบับที่ 2 (2552-2556) เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ทุกที่ทั่วประเทศ ช่วยเพิ่มสัดส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตต่อประชากรให้สูงขึ้น ช่วยลดต้นทุนการผลิต พัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ  ทั้งในด้านการศึกษา เศรษฐกิจ การแพทย์ และสาธารณสุข  และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

นายอานนท์ ทับเที่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ทีโอที กล่าวว่า “ทีโอที ได้รับสิทธิในคลื่นความถี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G เป็นรายแรกและรายเดียวที่เป็น 3G ของแท้ของประเทศที่ให้บริการด้วยคลื่นความถี่ที่เป็นมาตรฐานสากล 2100 MHz. ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ   โดยทีโอทีเลือกใช้เทคโนโลยี HSPA+(High Speed Packet Access Plus) หรือระบบ 3.9G  ด้วยความเร็วสูงสุด 42 Mbps.    ในพื้นที่กรุงเทพฯ ส่วนพื้นที่เขตภูมิภาค จะสามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุด 21 Mbps. เพื่อให้สอดรับกับทิศทางการพัฒนาของเทคโนโลยี และแนวโน้มการเติบโตของตลาดบริการสื่อสารข้อมูลไร้สายความเร็วสูง รวมถึงต้นทุนของอุปกรณ์โครงข่ายและความคุ้มค่าในการลงทุนในช่วงเวลาที่เหมาะสม ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพ

การรับส่งข้อมูลเป็น  42 Mbps  และครอบคลุมพื้นที่ให้บริการเพิ่มขึ้นเกือบ 10 เท่า โดยการใช้ระบบรับส่งสัญญาณแบบ MIMO และการผสมผสานสัญญาณที่เร็วขึ้น (DL-64QAM, UL-16QAM) ทำให้สามารถรองรับจำนวนผู้ใช้งานพร้อมกันเพิ่มสูงขึ้น และรวมถึงคุณภาพบริการในการรับส่งข้อมูลได้พร้อมกันในลักษณะของ Triple Play คือ สามารถใช้งานโทรศัพท์   ใช้งานอินเทอร์เน็ต  และใช้งานรับส่งข้อมูลอื่นได้พร้อมกัน  นอกจากนี้ยังได้ปรับปรุงและแก้ไขปัญหาเรื่องดีเลย์ของสัญญาณให้ดีขึ้น โดยเฉพาะแอพพลิเคชั่นที่ไวต่อการดีเลย์ อาทิ VoIP, Video Telephony, VDO Conference , Hi-Density TV และ Game Online”

นายอานนท์ ทับเที่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที กล่าวเพิ่มเติมว่า การเปิดให้บริการ TOT3G ทั่วประเทศ ความเร็ว 42 Mbps. ครั้งนี้ เพื่อสร้างการรับรู้ใหม่เกี่ยวกับแบรนด์ TOT3G จากระบบ 3.5G  (HSDPA/HSUPA) หรือ HSPA รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วที่ดาวน์โหลด  7.2 เม็กกะบิทต่อวินาที และ 14.4  เม็กกะบิทต่อวินาที และพัฒนาต่อยอดเป็น HSPA+  หรือระบบ 3.9G ซึ่งระบบ 3.9G จะช่วยลดเวลา “การรอคอย” และเพิ่มช่วงเวลาแห่งความสุขให้กับชีวิตออนไลน์ของคนไทยทั่วประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตอบโจทย์พฤติกรรม และวิถีชีวิตของผู้บริโภคยุคใหม่ได้โดนใจมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ยังมีส่วนช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมและคนไทยให้ดีขึ้น  และเพื่อให้คนไทยมีโอกาสใช้เร็วขึ้น ทีโอทีได้ลดระยะเวลาการติดตั้งโครงข่าย จากเดิมการติดตั้งในกทม.  ปริมณฑล  และ 14 จังหวัดเศรษฐกิจกำหนดติดตั้งแล้วเสร็จภายใน 720 วัน เหลือเพียง 180 วัน  และติดตั้งทั่วประเทศภายใน 1 ปี เท่านั้น  ซึ่งวันนี้ทีโอทีพร้อมที่จะนำประเทศไทยก้าวสู่โทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G เป็นครั้งแรก โดยคาดว่าประมาณกลางไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 ประชาชนคนไทยจะได้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G เต็มรูปแบบใน 18 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ  ปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และ 14 จังหวัดหลัก ได้แก่ ชลบุรี ระยอง สงขลา  สุราษฎร์ธานี  ภูเก็ต เชียงใหม่  เชียงราย  ลำปาง  พิษณุโลก  อุดรธานี  นครราชสีมา  ขอนแก่น หนองคาย และอุบลราชธานี  หลังจากนั้นภายในกลางปี 2555 จะสามารถใช้งานได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ

“ผมมองว่าการเปิดตลาด TOT3G ช่วงนี้เป็นจังหวะที่ลงตัว เนื่องจากสภาพตลาด มีอัตราการเติบโตที่สูง โดยมีแนวโน้มการใช้งานดาต้าผ่านมือถือที่เพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากกระแสของการใช้สังคมออนไลน์ (Social Network) สมาร์ทโฟน แทบเล็ต และดีไวซ์ต่าง ๆ จะเห็นได้จากการเปิดตัวรุ่นใหม่ ๆ ออกมา ซึ่งมีกระแสความนิยมและกำลังซื้ออย่างต่อเนื่อง   โดยทีโอทีตั้งเป้าทำตลาดเพื่อเปิดให้คนไทยได้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ TOT3G ภายในสิงหาคมนี้”

สำหรับการจัดงานแนะนำ TOT3G ได้เปิดให้คนไทยได้ลองสัมผัสความเร็วสูงสุด 42 Mbps บนเทคโนโลยี HSPA+ (High Speed Packet Access Plus) หรือระบบ 3.9G ที่บริเวณโซน กล้า-ท้า-ลอง ทั้งยังจัดมุมกิจกรรมถ่ายภาพและส่งตรงถึงมือทันที ผ่านระบบการรับส่งด้วย Email พร้อมทั้งมินิคอนเสิร์ตจากศิลปินต่าง ๆ ระหว่างวันที่ 10 – 11 มิถุนายน นี้  พร้อมมีการออกร้านจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และเทคโนโลยีทางการสื่อสารที่ทันสมัยต่างๆ มากมาย

ปัจจุบัน บมจ.ทีโอที มีลูกค้าผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ TOT3G ประมาณกว่า 200,000 เลขหมาย โดยตั้งเป้าภายใน 1 ปี จะมีลูกค้าประมาณ 1.3 ล้านเลขหมาย และเพิ่มเป็น 7 ล้านเลขหมายในปี 2558 มีส่วนแบ่งตลาดไม่น้อยกว่า 8%

View :2373
Categories: 3G, Internet, Press/Release Tags: ,

ผู้ถือหุ้นสนับสนุนทรูเดินหน้า 3จี เต็มที่ เผยยอดจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนเกินคาด

June 10th, 2011 No comments

บมจ. เผยความสำเร็จในการจองหุ้นสามัญเพิ่มทุนเต็มจำนวน 13,119 ล้านบาท และมีผู้สนใจจองซื้อหุ้นโดยชำระเงินแล้วกว่า 14,506 ล้านบาท ซึ่งเกินกว่าจำนวนที่เสนอขายประมาณ 1,387 ล้านบาท  พร้อมขอบคุณผู้ถือหุ้นเดิมที่วางใจบริษัทไทย     สะท้อนความเชื่อมั่นศักยภาพการเติบโตของกลุ่มทรูทุกด้าน  ทั้งยังเสริมความแข็งแกร่งทางการเงินของกลุ่ม และเป็นโอกาสสำคัญสู่การเป็นผู้นำธุรกิจมือถือประกาศเดินหน้าขยายธุรกิจ ให้ประชาชนชาวไทยทั่วประเทศสามารถเข้าถึงความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ได้ทัดเทียมกัน กำหนดคืนเงินจองซื้อเกินสัดส่วนให้ผู้ถือหุ้นภายในวันที่ 17 มิถุนายนนี้ ด้วยวิธีการตามที่ผู้ถือหุ้นได้ระบุไว้ในใบจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน

นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า บริษัทขอขอบพระคุณผู้ถือหุ้นทุกท่าน ที่ให้ความไว้วางใจใช้สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนเกินความคาดหมาย ซึ่งสะท้อนความผูกพันต่อบริษัทอย่างต่อเนื่องยาวนาน รวมทั้งแสดงถึงความเชื่อมั่นในศักยภาพการดำเนินธุรกิจของกลุ่มทรู ตลอดจนเล็งเห็นโอกาสสำคัญในการลงทุนพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีล้ำสมัยที่บริษัทจะสามารถเติมเต็มการให้บริการ 3จี ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  ซึ่งเงินทุนที่ได้จากการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินให้กับบริษัท ซึ่งบริษัทจะนำเงินเพิ่มทุนดังกล่าวไปใช้เพื่อรองรับการเติบโตและการขยายตัวของธุรกิจใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายธุรกิจ 3จี ซึ่งมั่นใจว่าจะทำให้กลุ่มทรูซึ่งเป็นบริษัทไทย สามารถเปิดโลกการสื่อสารอย่างไร้พรมแดนกับผู้ใช้บริการทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนทั่วประเทศไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ห่างไกลใดๆ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างทัดเทียมกัน

“ความสำเร็จจากการเพิ่มทุนเกินความคาดหมายครั้งนี้ จะเป็นการปรับตัวครั้งสำคัญของกลุ่มทรู จากการเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายที่ 3 ก้าวสู่การเป็นผู้นำธุรกิจมือถือ ควบคู่ไปกับที่ปัจจุบัน กลุ่มทรูเป็นผู้นำในตลาดธุรกิจบรอดแบนด์ และเป็นผู้นำธุรกิจบริการโทรทัศน์บอกรับสมาชิก   ทั้งยังเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้คนไทยทั่วประเทศสามารถก้าวสู่เทคโนโลยีสื่อสารทั่วถึงทัดเทียมกัน ซึ่งปัจจุบันมีประชากรไทยเพียงร้อยละ 15 ของครัวเรือนทั่วประเทศเท่านั้น ที่สามารถเข้าถึงการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ”

ตามที่ บมจ. ทรูคอร์ปอเรชั่นได้เปิดให้ผู้ถือหุ้นจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน ระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม ถึง 3 มิถุนายน 2554  โดยเสนอขายทั้งสิ้น 6,727,436,752 หุ้น  หรือในอัตราส่วน 1 หุ้นเดิม : 0.865 หุ้นใหม่ ที่ราคา 1.95 บาทต่อหุ้น และหากมีหุ้นเหลือจากการจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนในรอบแรกแล้ว บริษัทฯจะจัดสรรหุ้นที่เหลือให้แก่ผู้ถือหุ้นซึ่งแสดงจำนงจองซื้อเกินสัดส่วน  ตามสัดส่วนการถือหุ้น แต่จำกัดเพียงไม่เกิน 2 เท่าของจำนวนหุ้นตามสิทธิของผู้ถือหุ้นนั้น   ปรากฏว่ามีผู้ถือหุ้นจองหุ้นสามัญคิดเป็นจำนวนเงิน 14,505,834,725.85 บาท หรือร้อยละ 110.58 ของจำนวนที่นำเสนอขายทั้งหมด    ซึ่งบริษัทจะดำเนินการคืนเงินจองหุ้นเพิ่มทุนส่วนเกินจำนวน 1,387,333,067.25 บาท ให้กับผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้รับการจัดสรรหรือได้รับการจัดสรรไม่ครบภายในวันที่ 17 มิถุนายน 2554 ( 2 สัปดาห์นับจากวันสุดท้ายของการจองสิทธิ์ซื้อหุ้นคือวันที่ 3 มิถุนายน 2554 )  ตามวิธีที่ผู้ถือหุ้นได้ระบุไว้ในใบจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน  โดยการโอนเงินผ่านระบบอัตโนมัติ เข้าบัญชีธนาคาร หรือ จ่ายเป็นเช็ค

“บริษัทขอขอบพระคุณผู้ถือหุ้นทุกท่าน ซึ่งเป็นผู้มีอุปการคุณ ที่มอบความไว้วางใจและให้การสนับสนุนบริษัทอย่างดียิ่งมาโดยตลอด  บริษัทจะเดินหน้าขยายธุรกิจด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าและมอบประโยชน์สูงสุดให้กับผู้ถือหุ้น ลูกค้า ประชาชนชาวไทย  รวมทั้งร่วมยกระดับเทคโนโลยีสื่อสารโดยรวมของประเทศให้พัฒนาก้าวทันนานาประเทศ ตลอดจนสามารถแข่งขันในเวทีระดับโลก” นายศุภชัยกล่าวในที่สุด

View :1769