Archive

Archive for the ‘Article’ Category

อีริคสันคาดการณ์เครือข่ายโมบายบรอดแบนด์จะครอบคลุม 85 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั่วโลกภายใน ปี 2560

June 12th, 2012 No comments

- รายงานสภาพตลาดโทรคมนาคมและข้อมูลดาต้าทราฟฟิกประจำปี 2555 ของอีริคสันคาดว่า เครือข่าย จะครอบคลุม 85 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั่วโลกภายในปี 2560
- เครือข่ายระบบ 4G จะขยายครอบคลุมกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั่วโลกภายในปี 2560
- ผู้ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนจะเพิ่มเป็น 3 พันล้านในปี 2560
- ในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 6.2 พันล้าน โดยมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นสุทธิ 170 ล้าน
- ข้อมูลการใช้งานดาต้าทราฟฟิกทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 15 เท่าภายในปี 2560 ณ ปัจจุบันผู้คนทั่วโลกต่างมองว่าโทรศัพท์มือถือเป็นวิธีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่สะดวกและง่ายที่สุดซึ่งก็สอดคล้องกับ รายงานสภาพ

ตลาดโทรคมนาคมและข้อมูลดาต้าทราฟฟิกประจำปี 2555 ของอีริคสันที่คาดการณ์ว่า ภายในปี 2560 เราจะมีเครือข่าย 3G ที่ครอบคลุม 85 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั่วโลก และยอดผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจะถึง 9 พันล้าน ซึ่งณ ปัจจุบัน มีผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือเพียง 6 พันล้านรายทั่วโลกเท่านั้น โดยจำนวนที่เพิ่มขึ้นอีก 3 พันล้านนั้นจะรวมไปถึงการใช้งานในลักษณะ M2M (Machine to Machine Communications) อีกด้วย

จำนวนผู้ใช้งานโมบายบรอดแบนด์ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจาก1 พันล้านในปี 2554 เป็น 5 พันล้านภายในปี 2560 เช่นกัน

นาย ดักลาส กิวสแตบ (Mr Douglas Gilstrap) รองประธานอาวุโสและหัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ ของอีริคสันกล่าวว่า “วันนี้ผู้คนต่างมีความคิดเหมือนกันที่ว่า การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้นคือฟังก์ชันพื้นฐานที่อุปกรณ์ต่างๆจำต้องมี และด้วยความคิดนี้เองที่ทำให้เกิดความต้องการใช้บรอดแบนด์มือถือเพิ่มมากขึ้นและส่งผลให้มีการใช้งานดาต้าทราฟฟิกทีสูงขึ้นอีกด้วย โดยผู้ให้บริการเครือข่ายหรือโอเปอเรเตอร์ต่างเริ่มมองเห็นโอกาสทางธุรกิจและได้เริ่มปรับปรุงและอัพเกรดระบบเครือข่ายของตนเพื่อรองรับการใช้งานที่สูงขึ้นและพัฒนารูปแบบบริการและใช้งาน (User interface) ให้สะดวกและง่ายขึ้น ณ ปัจจุบัน ประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ของเครือข่าย HSPA ทั่วโลกนั้นได้ถูกอัพเกรดให้มีความเร็วสูงสุดที่ 7.2 Mbps และอีกกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ยังสามารถรองรับความเร็วที่ 21 Mbps อีกด้วย ”

ในรายงานของอีริคสันยังคาดการณ์ว่า เครือข่าย LTE/4G จะครอบคลุมมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรทั่วโลกและจะมีการใช้งานโทรศัพท์สมาร์ทโฟนเพิ่มเป็น 3 พันล้านในปี 2560 และเมื่อเปรียบเทียบกับยอดผู้ใช้งานในปัจจุบัน 700 ล้านแล้วก็จะเห็นได้ว่าเป็นอัตราการเพิ่มที่สูงมาก

ณ ปัจจุบัน อัตราการใช้งานโมบายดาต้าทราฟฟิกยังคงเพิ่มขึ้นในสัดส่วนอย่างต่อเนื่องโดยการใช้งานในไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 นั้นเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2554 โดยส่งผลมาจากการใช้งาน VDO และโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่มากขึ้น และอีริคสันยังคาดการณ์ว่าการใช้โมบายดาต้าทราฟฟิกทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 15 เท่าภายในปี 2560 เช่นกัน

รายงานได้มีการแสดงข้อมูลเชิงเปรียบเทียบประเทศในภูมิภาคต่างๆด้วย ตัวอย่างเช่น เรื่องการเพิ่มผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือสุทธิ (Net Addition) ประเทศจีนมีผู้ใช้งานรายใหม่ 39 ล้านรายใน สามเดือนแรกของปี 2555 ซึ่งมากที่สุดในภูมิภาค และอันดับที่สองค์อประเทศอินเดียที่มี 25 ล้านราย โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมียอดผู้ใช้รายใหม่สูงที่สุดในโลกประมาณ 93 ล้าน และแอฟริกาที่เป็นอันดับสองจำนวน 30 ล้าน

นายบัญญัติ เกิดนิยม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์ บริษัท ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า “แนวโน้มอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั่วโลกจะยังคงมุ่งที่จะพัฒนาบริการต่างๆให้รองรับการใช้งานในลักษณะโมบายมากขึ้น ช่วยเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตง่ยขึ้น รองรับบริการวิดีโอคลาว์เบส (Cloud-Based Services) และการเชื่อมต่อ M2M (Machine to Machine Communications) เพื่ออำนวยความสะดวกให้พวกเราสามารถที่จะเข้าถึงและใช้บริการต่างๆนั้นได้ในทุกที่และทุกเวลา”

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมและดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มโปรดเยี่ยมชมที่ www.ericsson.com/traffic-market-report

View :2009

ไซแมนเทคเผยรายงานภัยคุกคามด้านความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต ระบุ การโจมตีเพิ่มขึ้น 81 เปอร์เซ็นต์

May 28th, 2012 No comments

ไซแมนเทค (Nasdaq: SYMC) เปิดเผยรายงานภัยคุกคามด้านความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต (Internet Security Threat Report) ฉบับที่ 17 ซึ่งระบุว่า แม้ว่าจำนวนช่องโหว่ของระบบลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ แต่จำนวนการโจมตียังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 81 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังเน้นย้ำว่าการโจมตีขั้นสูงแบบเจาะกลุ่มเป้าหมายกำลังแพร่ขยายไปสู่องค์กรทุกขนาดและบุคลากรหลากหลายกลุ่ม อีกทั้งปัญหาข้อมูลรั่วไหลยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และผู้โจมตีก็พุ่งเป้าไปที่อุปกรณ์พกพาเพิ่มมากขึ้น

“ในปี 2554 อาชญากรไซเบอร์ ทำให้เกิดการขยายตัวของจำนวนการโจมตีทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นถึง 81 เปอร์เซ็นต์ ไซแมนเทคยังตรวจพบว่าการโจมตีทางอินเทอร์เน็ตผ่านทางอุปกรณ์พกพาที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยอุปกรณ์ดังกล่าว ตกเป็นเป้าหมายการโจมตีเพื่อเจาะข้อมูลสำคัญๆ ดังนั้นองค์กรต่างๆ จึงจำเป็นต้องระมัดระวังมากขึ้นในการปกป้องข้อมูลลับบนอุปกรณ์เหล่านี้” นายประมุท ศรีวิเชียร ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ไซแมนเทค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

รายงานภัยคุกคามด้านความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตประจำปี 2554 – ไม่มียาครอบจักรวาลสำหรับป้องกันการโจมตีทั้งหมด
ปกป้องธุรกิจเอสเอ็มบีให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามบนอินเทอร์เน็ต

การโจมตียังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ไซแมนเทคปิดกั้นการโจมตีที่เป็นอันตรายกว่า 5,500 ล้านครั้งในช่วงปี 2554 เพิ่มขึ้น 81 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า นอกจากนี้ จำนวนมัลแวร์ยังเพิ่มเป็น 403 ล้านรูปแบบ ขณะที่จำนวนการโจมตีเว็บต่อวันเพิ่มขึ้น 36 เปอร์เซ็นต์

ขณะเดียวกัน ระดับของสแปมลดลงอย่างมาก และช่องโหว่ใหม่ๆ ที่ตรวจพบก็ลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ สถิติเหล่านี้เมื่อเทียบกับการเติบโตอย่างต่อเนื่องของมัลแวร์แสดงให้เห็นภาพรวมที่น่าสนใจ กล่าวคือ ผู้โจมตีได้ปรับใช้ชุดเครื่องมือการโจมตีที่ใช้งานง่ายเพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากช่องโหว่ที่มีอยู่ อาชญากรไซเบอร์ได้เปลี่ยนย้ายจากสแปมไปสู่เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อเริ่มการโจมตีเป้าหมาย ลักษณะของเครือข่ายเหล่านี้ทำให้ผู้ใช้เข้าใจอย่างผิดๆ ว่าตนเองไม่ได้ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงแต่อย่างใด และปัจจุบัน ผู้โจมตีก็ใช้ไซต์เครือข่ายเหล่านี้เพื่อล่อหลอกเหยื่อรายใหม่ๆ เนื่องจากเทคนิคการหลอกล่ออย่างแนบเนียนและลักษณะเฉพาะของเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เชื่อมโยงถึงกัน จึงเป็นเรื่องง่ายที่ภัยร้ายจะแพร่กระจายจากบุคคลหนึ่งไปยังคนอื่นๆ

การโจมตีขั้นสูงแบบเจาะกลุ่มเป้าหมายแพร่กระจายสู่องค์กรทุกขนาด
การโจมตีแบบเจาะกลุ่มเป้าหมายมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 77 ครั้งต่อวัน เป็น 82 ครั้งต่อวันเมื่อสิ้นปี 2554 การโจมตีแบบเจาะกลุ่มเป้าหมายใช้วิธีการล่อหลอกเหยื่อและมัลแวร์ที่ปรับแต่งเป็นพิเศษเพื่อเข้าถึงข้อมูลสำคัญ โดยในอดีต การโจมตีแบบนี้จะพุ่งเป้าไปที่องค์กรภาครัฐและหน่วยงานราชการ แต่ในช่วงปี 2554 การโจมตีแบบเจาะกลุ่มเป้าหมายมีลักษณะหลากหลายมากขึ้น

การโจมตีแบบเจาะกลุ่มเป้าหมายไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะองค์กรขนาดใหญ่อีกต่อไป ทั้งนี้ กว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของการโจมตีในลักษณะนี้พุ่งเป้าไปยังองค์กรที่มีพนักงานน้อยกว่า 2,500 คน และเกือบ 18 เปอร์เซ็นต์พุ่งเป้าไปยังบริษัทที่มีพนักงานไม่ถึง 250 คน องค์กรเหล่านี้อาจตกเป็นเป้าหมาย เพราะว่าอยู่ในห่วงโซ่อุปทานหรือเครือข่ายคู่ค้าและพันธมิตรของบริษัทขนาดใหญ่ และมีระบบรักษาความปลอดภัยที่อ่อนแอกว่า ยิ่งไปกว่านั้น 58 เปอร์เซ็นต์ของการโจมตีพุ่งเป้าไปที่พนักงานระดับล่างในส่วนงานต่างๆ เช่น ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฝ่ายประชาสัมพันธ์ และฝ่ายขาย พนักงานในตำแหน่งงานเหล่านี้อาจไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง แต่มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับบริษัท บุคลากรเหล่านี้สามารถค้นหาได้ง่ายบนระบบออนไลน์ และมักจะได้รับข้อซักถามและไฟล์แนบจากบุคคลที่ไม่รู้จัก

การเพิ่มขึ้นของปัญหาข้อมูลรั่วไหล อุปกรณ์สูญหาย นับเป็นเรื่องน่ากังวลใจสำหรับอนาคต
ในช่วงปี 2554 ข้อมูลประจำตัวผู้ใช้ราว 232 ล้านรายการได้ถูกโจรกรรมหรือโดยเฉลี่ยประมาณ 1.1 ล้านรายการต่อเหตุการณ์ ซึ่งนับว่าเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับปีอื่นๆ ก่อนหน้านี้ การเจาะระบบคือภัยร้ายที่สำคัญที่สุด ส่งผลให้มีการเปิดเผยข้อมูลประจำตัวผู้ใช้ 187 ล้านรายการในปี 2554 ซึ่งนับว่าเป็นการละเมิดความปลอดภัยที่มียอดตัวเลขสูงสุดเมื่อปีที่แล้วเมื่อเทียบกับการละเมิดประเภทอื่นๆ อย่างไรก็ดี สาเหตุหลักของปัญหาข้อมูลรั่วไหลซึ่งอาจนำไปสู่การแอบอ้างก็คือ คอมพิวเตอร์หรือสื่อบันทึกข้อมูลอื่นๆ สูญหาย เช่น , USB หรืออุปกรณ์แบ็คอัพ โดยการละเมิดที่เกี่ยวเนื่องกับการโจรกรรมหรือการสูญหายนี้ส่งผลให้ข้อมูลประจำตัวผู้ใช้ 18.5 ล้านรายการตกอยู่ในภาวะเสี่ยง

ขณะที่ยอดขายแทบเล็ตและสมาร์ทโฟนยังคงแซงหน้าพีซี ข้อมูลสำคัญๆ ก็จะพร้อมใช้งานบนอุปกรณ์พกพาเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันพนักงานมักจะนำสมาร์ทโฟนและแทบเล็ตติดตัวไปยังที่ทำงานอย่างกว้างขวางจนหลายๆ องค์กรไม่สามารถคุ้มครองและจัดการอุปกรณ์ดังกล่าวได้อย่างทั่วถึง สถานการณ์นี้อาจส่งผลให้เกิดปัญหาข้อมูลรั่วไหลเพิ่มมากขึ้น เพราะหากอุปกรณ์พกพาสูญหาย ก็ย่อมก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อข้อมูลหากไม่ได้รับการปกป้องอย่างเหมาะสม ผลการวิจัยล่าสุดของไซแมนเทคชี้ว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของโทรศัพท์ที่สูญหายจะไม่ได้รับคืน และ 96 เปอร์เซ็นต์ จะมีปัญหาข้อมูลรั่วไหลรวมถึงโทรศัพท์ที่ได้รับคืน

ภัยคุกคามต่ออุปกรณ์พกพาก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อองค์กรธุรกิจและผู้บริโภค
ช่องโหว่บนอุปกรณ์พกพาเพิ่มขึ้น 93 เปอร์เซ็นต์ในช่วงปี 2554 และในขณะเดียวกัน ภัยคุกคามต่อระบบปฏิบัติการ Android ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ขณะที่จำนวนช่องโหว่ในแพลตฟอร์มโมบายล์เพิ่มสูงขึ้น ผู้สร้างมัลแวร์ก็พยายามปรับแต่งมัลแวร์ที่มีอยู่เพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์พกพา ทั้งยังสร้างมัลแวร์สำหรับอุปกรณ์พกพาโดยเฉพาะอีกด้วย ดังนั้นปี 2554 จึงนับเป็นปีแรกที่มัลแวร์แบบโมบายล์กลายเป็นภัยร้ายที่จับต้องได้สำหรับองค์กรธุรกิจและผู้บริโภค โดยภัยคุกคามเหล่านี้ออกแบบเป็นพิเศษสำหรับกิจกรรมต่างๆ เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูล การส่งเนื้อหาคอนเทนต์ และการตรวจสอบติดตามผู้ใช้

View :1533

รายงานฉบับใหม่ของอีริคสันสะท้อนความพึงพอใจของผู้ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

May 28th, 2012 No comments

· ได้ทำการสำรวจความเห็นออนไลน์เรื่องคุณภาพของเครือข่าย ผู้ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนในประเทศฟินแลนด์และเนเธอร์แลนด์

· ความครอบคลุมและความเร็วของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่คือสองปัจจัยหลักที่มีผลกระทบโดยตรงกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ

· ผู้ให้บริการจำเป็นต้องรักษาระดับคุณภาพของเครือข่ายให้เกินความคาดหวังของลูกค้า

รายงานฉบับใหม่ของทีมงานวิจัย ConsumerLab ของบริษัทอีริคสันได้ทำการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยมีข้อสรุปที่น่าสนใจว่า กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ใช้สมาร์ทโฟนนั้นจะประสบกับปัญหาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในทุกๆสัปดาห์ โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ต่างคิดว่าปัญหานี้เกิดจากความบกพร่องในเครือข่ายของผู้ให้บริการของตน

รายงานวิจัยนี้เกิดขึ้นในปี 2011 เพื่อศึกษาประสบการณ์และความเห็นของผู้บริโภคในคุณภาพของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศฟินแลนด์และเนเธอร์แลนด์

โดยมีการสำรวจความเห็นออนไลน์เรื่องคุณภาพของเครือข่าย กับ 1,000 ผู้ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนในแต่ละประเทศ และยังได้มีการใช้ Application ติดตั้งบนโทรศัพท์ iPhone และ Android เพื่อรายงานปัญหาใด ๆ ที่พวกเขาพบในระหว่างการใช้โทรศัพท์

Mr Anders Kalvemar หัวหน้าทีมงานวิจัยของ ConsumerLab ได้กล่าวสรุปว่า จากปัญหาทั้งหมดที่ถูกรายงานผู้ใช้ส่วนใหญ่มองว่ามีประมาณสองสามประเด็นที่น่ารำคาญและเกิดขึ้นบ่อยๆ

และเป็นที่น่าสนใจที่ว่า 47 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามต่างคิดว่าต้นต่อของปัญหาต่างๆเกิดจากความล่าช้าของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ25 เปอร์เซ็นต์ คิดว่า application นั้นเป็นสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น และมีเพียง 11 เปอร์เซ็นต์ที่คิดว่าเกิดจากโทรศัพท์ของพวกเขา

ปัญหาส่วนใหญ่เกิดขึ้นเมื่อผู้บริโภคเข้าชมเว็บไซต์ (43 เปอร์เซ็นต์), ดาวน์โหลดไฟล์ (10 เปอร์เซ็นต์) ในขณะที่การส่งข้อความการสนทนาหรือ e-mail (ร้อยละ 9) หรือในขณะที่ดูวิดีโอ (8 เปอร์เซ็นต์)

โดยรายงานนี้ยังเปิดเผยให้เห็นว่า 51 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้มีความพึงพอใจมากกับเครือข่ายผู้ประกอบการของพวกเขา ในขณะที่ 47 เปอร์เซ็นต์ไม่มีแสดงความเห็น แต่อีก 3 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่าพวกเขาไม่พอใจ

ดังนั้นคำถามที่น่าสนใจก็คืออะไรเป็นที่เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจในเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ โดยรายงานฉบับนี้ได้มีการสรุปว่า สองปัจจัยหลักที่มีผลกระทบโดยตรงกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการคือ ความครบคลุมของเครือข่ายและความเร็วของเครือข่าย

Mr Kalvemark ยังได้กล่าวเสริมอีกว่า ผู้ใช้จำนวนมากต่างประสบปัญหานี้ค่อนข้างบ่อย โดยเราเห็น ผู้ใช้ที่มาร์ทโฟนเริ่มจะลอการยึดติด (loyalty) กับแบรนด์และเครือข่าย และผู้ใช้บริการที่มีความพึงพอใจมากก็จะแนะนำผู้ให้บริการของตนกับผู้อื่นอีกด้วย ซึ่งก็หมายความว่าผู้ให้บริการจำเป็นต้องรักษาระดับคุณภาพของเครือข่ายให้เกินความคาดหวังของลูกค้าและ การให้บริการในระดับปานกลางหรือพอใช้นั้นคงจะไม่เพียงพอในการที่จะรักษาลูกค้าที่มีอยู่ของพวกเขาไว้

แต่อย่างไรก็ตามความพึงพอใจในเครือข่ายยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความภักดีของผู้ใช้บริการและลดอัตราการย้ายออกของผู้ใช้บริการเช่นกัน จากผลการศึกษานี้ได้ชี้ให้เห็นว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีความพึงพอใจในระดับปานกลางกล่าวว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะอยู่กับผู้ให้บริการของพวกเขา แต่ว่า 78 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่มีความพึงพอใจอย่างมากต่่างยืนยันที่จะยังคงอยู่กับผู้ให้บริการของพวกเขาต่อไป

ซึ่งหมายความว่าหากผู้ให้บริการสามารถทำให้ลูกค้าที่มีความพึงพอใจในระดับปานกลางดีขึ้นเป็นพอใจมากแล้ว พวกเขาก็จะสามารถเพิ่มโอกาสหรือความเป็นไปได้ที่ผู้ใช้เหล่านั้นจะอยู่กับพวกเขาต่อไป 50 เปอร์เซ็นต์

นาย บัญญัติ เกิดนิยม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์ ได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การศึกษา ของConsumerLabนี้เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญและบทบาทของอีริคสันที่ช่วยสนับสนุนผู้ให้บริการต่างๆสามารถส่งมอบประสบการณ์การใช้งานในเครือข่ายให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโทรศัพท์สมาร์ทโฟนมาร์ทนั้นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของพวกเราแล้ว

View :1600

12 เทรนด์ สูตรสำเร็จของธุรกิจยุคโลกไร้พรมแดน

May 24th, 2012 No comments

ฟูจิตสึเผยรายงานพิเศษ บทวิเคราะห์แนวโน้มสำคัญทางธุรกิจที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในอนาคต

ฟูจิตสึ ผู้ให้บริการด้านไอทีรายใหญ่อันดับหนึ่งของญี่ปุ่น และอันดับสามของโลก ได้รวบรวมแนวคิดและวิสัยทัศน์ทางด้านเทคโนโลยีเพื่อองค์กรธุรกิจจากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก นำเสนอแนวโน้ม 12 ประการที่สำคัญ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและพฤติกรรมของผู้บริโภคในรูปแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ไว้ในรายงานพิเศษ “Technology Perspectives A thought-provoking look at key forces of change” ดังนี้

1. ยุคแห่งข้อมูลเชิงลึกแบบฉับพลัน ผ่าน “ คลาวด์ – HPC”

ในโลกของยุคข้อมูลข่าวสารนั้นความรวดเร็วในการเข้าถึงและความสามารถในการรวบรวมสารสนเทศจากรอบด้าน ถือเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จขององค์กร และคาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าระบบต่างๆจะมีความซับซ้อนมากขึ้นทั้งในแง่ของระบบและการพัฒนาการของการเชื่อต่อถึงกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งความต้องการข้อมูลเชิงลึกแบบฉับพลัน ก่อให้เกิดสถาปัตยกรรมด้านการประมวลผลรูปแบบใหม่ ขณะที่บทบาทของไคลเอ็ต/เซิร์ฟเวอร์ที่กำลังโดดเด่นมากว่า 30 ปี กำลังจะหายไป บทบาทสำคัญจะตกอยู่ที่ระบบคลาวด์ ระบบประมวลผลสมรรถนะสูง (HPC – High-Performance Computing) ระบบวิเคราะห์เชิงลึก และลักษณะการทำงานแบบอัตโนมัติระหว่างเครื่องจักรกลด้วยกันโดยที่มนุษย์ไม่ต้องเข้ามาดูและสั่งการแต่เป็นการนำเทคโนโลยียุคใหม่เข้ามาเสริมชีวิตประจำวันได้อย่างน่าสนใจ

2. ธุรกิจไร้พรมแดน “เชื่อมต่อแบบไร้ขีด”

ธุรกิจไร้พรมแดนมอบช่องทางในการเข้าถึงลูกค้าให้แก่ธุรกิจในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ขนาดเล็กสามารถให้บริการโซลูชั่นแก่ธุรกิจขนาดใหญ่ทั่วโลกได้โดยไม่ติดข้อจำกัด ก่อให้เกิดโอกาสเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย คลาวด์จะกลายเป็นรากฐานสำคัญของบริการยุคใหม่ ภายใต้ความยืดหยุ่นที่มากขึ้นแก่ผู้บริโภค

3. เทคโนโลยีเพื่อมนุษย์ “Human Centric”

ระบบประมวลผลที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลางถือเป็นการพัฒนาการอันยิ่งใหญ่แห่งยุคศตวรรษที่ 21 มีแนวคิดหลักอยู่ที่การสร้างสรรค์แนวทางการทำงานของระบบไอทีให้ผสานกลืนกับรูปแบบการดำรงชีวิตของมนุษย์ ถือเป็นการต่อยอดจากยุคที่มีคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายเป็นศูนย์กลาง และเป็นการพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ของมนุษย์ครั้งยื่งใหญ่อีกครั้ง โดยจะเข้ามาเปลี่ยนลักษณะการบริโภคและการดำเนินชีวิตของผู้คนให้มีความสะดวกขึ้น การนำเสนอสิ่งต่างๆ แก่ผู้บริโภคจะสอดคล้องกับความต้องการของแต่ละคนมากขึ้น อันเป็นผลมากจากความชาญฉลาดของระบบ ที่สามารถจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลของผู้บริโภคแต่ละคนได้อย่างละเอียด

4. ยุคแห่งสารสนเทศ ไม่ใช่เทคโนโลยี “Data Center not only Technology”

ในอนาคต สารสนเทศจะกลายเป็นทรัพย์สินใหม่ที่ช่วยสร้างสรรค์พัฒนาธุรกิจ ในการแข่งขันทางธุรกิจ ผู้ชนะคือผู้ที่ดึงประโยชน์ออกมาจากข้อมูลที่มีอยู่มากมายรอบข้างได้มากที่สุด ภายใต้อุปสรรคของปริมาณข้อมูลขนาดใหญ่ที่เพิ่มขึ้นที่ต้องเผชิญบนโลกนี้ถึง 5,000 ล้านกิกะไบต์ในทุกๆ 2 วันและมากขึ้นเรื่อยๆ ยุคต่อไปถือเป็นยุคแห่งการแข่งขันด้านข้อมูลข่าวสาร แข่งกันมากขึ้นเพื่อให้เข้าใจลูกค้าได้ดีกว่าเดิม องค์กรที่ไม่สามารถดึงประโยชน์จากสารสนเทศออกมาใช้งานได้จะกลายเป็นองค์กรที่ล้าหลังและขาดความแข็งแกร่งในการแข่งขันกับคู่แข่ง

5. โลกแห่งการเชื่อมต่อ “Internet of Thing”

เหมือนว่าทุกสสารของโลกนี้สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ ภายใต้นิยามว่า Internet of Thing หรือสิ่งที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ในอนาคตการโต้ตอบแบบอัตโนมัติระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์จะมีเพิ่มมากขึ้นจนสามารถทำงานได้เองโดยที่มนุษย์ไม่ต้องเกี่ยวข้องแต่อย่างใด ข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่ในอนาคตจะถูกสร้างขึ้นโดยจักรกลที่มีความสามารถที่ใกล้เคียงมนุษย์ไปทุกขณะ

6. รูปแบบทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป “Cloud Changing”

การดำเนินธุรกิจในยุคใหม่ แต่ละบริษัทมีอิสระในการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรซึ่งกระจายอยู่ทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่โลกเวอร์ช่วลที่จับต้องไม่ได้ แต่เป็นแรงผลักดันสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ ปัญหาการติดตั้งที่ซับซ้อนมีการลงทุนค่าฮารด์แวร์อย่างมหาศาลเริ่มหมดไปด้วยแนวคิดของคลาวด์ และจะเริ่มเห็นผู้ให้บริการโซลูชั่นต่างนำเสนอแพลตฟอร์ม ซอฟต์แวร์ และบริการต่างๆ ในลักษณะทีมีความเฉพาะเจาะจงในฟังก์ชั่นการทำงานมากขึ้น และที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือ บางครั้งลูกค้าก็กลับเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นได้เช่นเดียวกัน

7. ปัจจัยจากโลกภายนอก “Crowdsourcing or co-creation”

ในอีก 5 ปีข้างหน้า เส้นแบ่งกั้นระหว่างองค์กร ผู้บริโภค และซัพพลายเออร์ จะลดลงจนแทบนิยามไม่ได้ ด้วยแนวคิดใหม่อย่าง คราวด์ซอร์สซิ่ง (crowdsourcing) หรือ โค-ครีเอชั่น (co-creation) ธุรกิจต้องหันมามองปัจจัยภายนอกมากกว่าเดิม องค์กรไม่สามารถที่จะยืนหยัดอยู่อย่างโดดเดี่ยวเหมือนเมื่อก่อนได้อีกต่อไป รวมไปถึงเรื่องของระบบความปลอดภัยที่ต้องไม่ใช่เรื่องการครอบครอง ควบคุม แต่ต้องมองถึงการปกป้องบุคคลและสารสนเทศมากขึ้นกว่าเดิม

8. ปฏิบัติการแห่งการมอบทางเลือก “Way to Success”

ปัจจุบันแนวคิดของการให้พนักงานใช้อุปกรณ์ดิจิตอลส่วนตัวในที่ทำงานกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งบริษัทเองก็ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านซอร์ฟแวร์ไปได้พอสมควร แต่จะมีปัญหาอุปสรรคในดเนการควบคุมการใช้งานและปัญหาการรั่วไหลและความปลอดภัยต่างๆ ดังนั้นการให้พนักงานใช้เหมือนกันหมดไม่ไช่ทางออกที่เหมาะสมในอนาคตแต่ควรให้พนักงานเลือกอุปกรณ์ที่พึงพอใจได้เอง อย่างไรก็ดีหากวางแผนอย่างเหมาะสม ก็สามารถเปลี่ยนบทบาทของเทคโนโลยีที่สร้างปัญหาเรื่องความปลอดภัย ให้กลายเป็นคำตอบที่ต้องการได้ไม่ยาก โดยอาศัยเทคโนโลยีคลาวด์ เวอร์ช่วลไลเซชั่น หรือซอฟต์แวร์เชิงบริการ หลักการสำคัญคือ ควรรู้ว่าใครต้องการอะไร และจับคู่ทางเลือกให้เหมาะสมที่สุดกับผู้ใช้แต่ละคน

9. ปฏิวัติรูปแบบการทำงานในยุคโซเชียลมีเดีย “Social Media”

ยุคปัจจุบันทุกคนต่างกลายเป็นผู้เสพติดโซเซียลมีเดีย และได้ปฏิวัติรูปแบบการดำเนินธุรกิจลักษณะเดิมให้ยากต่อการควบคุมและหลายองค์กรต่างขยาดกับการขยับตัวเข้าหาสื่อดังกล่าว แต่ต้องไม่ลืมว่าพลังของโซเชียลมีเดีย คือ พลังแห่งการเชื่อมต่อ และหากใช้อย่างเหมาะสม ก็จะกลายเป็นเครื่องมือสำหรับสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและตอกย้ำภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้อย่างดี ที่ต้องตระหนักไว้ก็คือ ยุคแห่งการดำเนินธุรกิจจะก้าวเข้าสู่การข้ามเส้นแบ่งบทบาทของผู้คนที่เป็นไปอย่างอิสระบนโลกโซเชียลมีเดียที่นับวันจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

10. ขุมพลังแห่งฝูงชน “Power of Human”

โลกที่ทุกส่วนเชื่อมต่อถึงกันได้อย่างสะดวกบนโลกออนไลน์ และผู้คนทั่วโลกจะมีส่วนช่วยกันสร้างธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีต อาจกล่าวได้ว่าแนวคิดเรื่องการทำงานร่วมกับฝูงชนบนโลกออนไลน์ กำลังกลายเป็นเป็นมิติใหม่ที่จะช่วยสร้างจุดแข็งให้แก่บริษัท ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรและผู้บริโภค ในแบบที่ทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์ และยังเปิดมิติใหม่ที่ช่วยให้องค์กรเข้าถึงบริการ หรือองค์ความรู้ที่สามารถนำมาต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของธุรกิจตนเองได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดด้วย

11. โครงสร้างองค์กรที่เปลี่ยนไป “Flexible organization”

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีนั้นนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคอนาคตแนวคิดที่จะรวบทุกสิ่งไว้ในมืออาจไม่ไช่ทางออกที่ดี และไม่สำคัญเท่าการบริหารจัดการห่วงโซ่แห่งคุณค่าของธุรกิจให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เหมือนเดิมไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภครูปแบบใดก็ตาม ดังนั้นธุรกิจจำเป็นต้องมองรูปแบบการดำเนินกิจการใหม่ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวที่สุด และเพื่อรับมือกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ระบบบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานด้านสารสนเทศกลายเป็นเรื่องสำคัญในยุคระบบนิเวศน์แบบดิจิตอลที่เชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างเข้าด้วยกัน รูปแบบการดำเนินกิจการลักษณะเดิมๆจะไม่สามารถแข่งขันได้อีกต่อไป

12. สิ้นมนตร์ขลังแห่งโลกโมบาย “ Mobility Life”

ผู้บริโภคจะคุ้นเคยกับบริการบนระบบคลาวด์ผ่านอุปกรณ์พกพามากขึ้น และเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมการใช้งานครั้งใหญ่ เมื่อผสานกับหลากหลายทางเลือกด้านการเชื่อมต่อแบบไร้สาย ทั้ง , 4G หรือแม้แต่ 5G ที่เริ่มมีการพูดถึง ก็จะเร่งความเร็วในการเปลี่ยนแปลงให้มากกว่าเดิม โลกโมบายจะกลายเป็นสิ่งสามัญขั้นพื้นฐานสำหรับองค์กรธุรกิจ และผู้บริโภคทั่วไป เราจะได้เห็นอุปกรณ์หลากหลายที่ทำงานข้ามแพลตฟอร์มได้อย่างราบรื่น รวดเร็วขึ้น ทั้งในการประมวลผลและการเชื่อมต่อ รวมถึงเรื่องความปลอดภัยชั้นสูง และการเชื่อมต่อกับคลาวด์ ซึ่งทั้งหมดจะฝังกลบยุคแห่งพีซี และนำเราก้าวเข้าสู่โลกโมบายอย่างแท้จริง

View :1705

รายงานฉบับใหม่ของอีริคสันระบุว่าการเชื่อมโยงระหว่างความเป็นอยู่ผู้ที่อาศัยในเมืองใหญ่กับการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต

May 16th, 2012 No comments

ได้ทำการสำรวจผู้ที่อาศัยในเมืองใหญ่ 13 เมือง ซึ่งนับเป็นตัวแทนของประชากรกว่า 100 ล้านคน
• ประมาณร้อยละ 40 ของผู้คนในเมืองใหญ่ใช้สมาร์ทโฟนและพึ่งพาอาศัยข้อมูลทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการค้นหาข้อมูลและแก้ปัญหาในแต่ละวัน
• ความครอบคลุมของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ในลำดับที่สี่ของสิ่งที่ผู้คนในเมืองใหญ่ต้องการมากที่สุด
• การเดินทางไปกลับในแต่ละวันนั้นเป็นต้นเหตุที่มาของความหงุดหงิดและความเครียดของผู้คนในเมืองใหญ่มากที่สุด โดยข้อมูลข่าวสารและโปรแกรมทางโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นสามารถช่วยลดความเครียดได้

รูปที่ 1: สิ่งที่ผู้ที่อาศัยในเมืองพึงพอใจมากที่สุด/น้อยที่สุด


รายงานฉบับใหม่ของทีมงานวิจัย ConsumerLab บริษัทอีริคสันได้ทำการศึกษาและสรุปแง่มุมของความพึงพอใจผู้คนในการใช้ชีวิตในเมืองใหญ่โดยยึดตามสภาพแวดล้อมและสังคมแบบเครือข่าย

หนึ่งในหลายสิ่งที่การวิจัยครั้งนี้ได้ค้นพบคือผู้คนในเมืองขนาดใหญ่ให้ความครอบคลุมของเครือข่ายการให้บริการของโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ในลำดับที่สี่ของสิ่งที่ผู้คนในเมืองใหญ่ต้องการมากที่สุดถัดจากเรื่องการจ่ายน้ำและความพร้อมใช้งานของสถานที่ต่างๆทางสังคม โดยเรียงลำดับตั้งแต่จากร้านกาแฟจนถึงสถานความบันเทิง ในทางตรงกันข้าม คุณภาพอากาศที่เลวร้ายและการไม่มีที่จอดรถสามารถส่งผลต่อความรู้สึกไม่พึงพอใจเช่นกัน

“การขยายความเจริญในตัวเมือง (Urbanization) เป็นกลายเป็นกระแสโลก (Global Trend) โดยมีการคาดการณ์ว่า ประชากรในเมืองใหญ่มีการเพิ่มขึ้น 7,500 คนต่อชั่วโมง และผู้คนและสังคมกำลังรู้สึกตึงเครียดกับการมีประชากรมากเกินไปนี้เช่นกัน แต่เราก็ยังเห็นวิธีการที่ผู้คนในเมืองใหญ่ใช้ระบบ ICT เป็นวิธีการในการบริหารและบรรเทาความรู้สึกดังกล่าว และเพื่อทำให้ได้รับประสบการณ์ของชีวิตในเมืองที่ดียิ่งขึ้น” ไมเคิล บจอร์น หัวหน้าฝ่ายวิจัยของ ConsumerLab บริษัทอีริคสันกล่าว

รูปที่ 2: 13เมืองในรายงานของ ConsumerLab


สิ่งที่สำคัญและน่าสนใจของการอาศัยในเมืองใหญ่คือการสามารถเข้าถึงสิ่่งอำนวยความสะดวยต่างๆได้ง่ายขึ้นเช่น ภัตตาคาร ร้านกาแฟ สถานบันเทิงและตลาด ผู้คนในเมืองใหญ่จะชอบการติดต่อสังสรรค์กันทางสังคม โดยขอบเขตทางสังคมของพวกเขาก็จะขยายกว้างขึ้นมากกว่าผู้ที่ไม่ได้อาศัยในเมืองใหญ่

แต่สิ่งที่ผู้อาศัยในเมืองใหญ่ต้องเผชิญอยู่ด้วยกับฝูงชนและการจราจรที่เพิ่มมากขึ้น การสำรวจพบว่าเวลาที่ใช้ในการเดินทางไปกลับโดยเฉลี่ยใน 13 เมืองคือสองชั่วโมงยี่สิบนาทีต่อวัน บจอร์น กล่าวว่า “ผู้คนจะรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นเมื่อพวกเขาสามารถรู้ว่าการเดินทางไปมาของพวกเขาจะใช้เวลานานเท่าใด เนื่องเพราะนีัจะช่วยให้พวกเขาสามารถใช้และวางแผนเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสมาร์ทโฟนกำลังกลายเป็นเครื่องมือที่มีค่าในการเดินทางไปมาประจำวัน”

“ความเข้าใจในแนวทางและการเดินทางของผู้คนต่างๆมากขึ้นนั้นจะช่วยให้เราพัฒนาและนำเสนอบริการใหม่ๆที่พวกเขาสามารถเข้าใจถึงประโยชน์ได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น ผู้ที่เดินทางโดยจักรยานก็สามารถที่จะรู้ได้ว่าเส้นทางใช้เดินทางและสถานที่ต่างๆรวมถึงที่จอดรถจักรยานของพวกเขาได้ล่วงหน้า ผู้ที่ใช้ระบบการขนส่งสาธารณะก็สามารถรูัตารางเวลาที่มีการปรับปรุงข้อมูลแบบเรียลไทม์และ ผู้วางแผนการเดินทาง หรือสำหรับผู้ที่ขับรถยนต์ ผู้วางแผนการเดินทางโดยใช้ระบบ GPS ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลการจรจรแบบเรียลไทม์ก็จะช่วยให้ประหยัดเวลาและช่วยลดความตึงเครียดได้ค่อนข้างมาก”

รายงานนี้ได้ถูกนำเสนอในในการประชุมสุดยอดว่าด้วยเมืองใหม่ (New Cities Summit) ในกรุงปารีสด้วย

View :1419
Categories: Article Tags:

ข้อคิดเห็นต่อแผนการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานอย่างทั่วถึงของ กสทช.

February 2nd, 2012 No comments

โดย สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

กำลังจัดทำร่างแผนการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานอย่างทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมประจำปี 2555-2559 โดยมีเป้าหมายตามตารางประกอบ การจัดทำแผนดังกล่าวนับเป็นพัฒนาการด้านบวกที่สำคัญ เนื่องจากทำให้ ทราบค่าใช้จ่ายในการให้บริการอย่างทั่วถึง และสามารถจัดลำดับความสำคัญของโครงการต่างๆ ได้ จากเดิมที่มีหลักเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจนนัก

นอกจากนี้ กสทช. ยังเปลี่ยนมาใช้กลไกของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการ และน่าจะช่วยลดต้นทุนการจัดให้มีบริการได้ จากการใช้วิธีประมูลแข่งขันมาคัดเลือกผู้ให้บริการอย่างทั่วถึง

ตามแผนใหม่นี้ ค่าธรรมเนียมที่ กสทช. จะจัดเก็บเข้าสู่กองทุนฯ จะอยู่ที่ร้อยละ 4 ของรายได้ในการให้บริการของผู้รับใบอนุญาตทั้งที่มีและไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง จากเดิมที่เก็บในอัตราเดียวกันจากเฉพาะผู้รับใบอนุญาตที่มีโครงข่ายเป็นของตนเองเท่านั้น

เป้าหมายในการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานอย่างทั่วถึงประจำปี 2555-2559
- 99% ของพื้นที่ทั่วประเทศสามารถเข้าถึงบริการโทรศัพท์ส่วนบุคคลได้
- มีโทรศัพท์สาธารณะ 1 เลขหมายต่อหมู่บ้านเล็กและห่างไกลในพื้นที่ที่เหลือ 1%
- มีบริการอินเทอร์เน็ตชุมชน โรงเรียนและสถานีอนามัย ความเร็ว 2 Mbps ในพื้นที่ชนบท 20% ของประเทศ
- มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 2-10 Mbps และ WiFi ครอบคลุมโรงเรียน สถานีอนามัย อบต. และพื้นที่ไม่น้อยกว่า 80% ของประเทศ
- มีบริการอินเทอร์เน็ตสำหรับชุมชนรายได้น้อยในเขตเมือง สถานสงเคราะห์คนชรา และโรงเรียนสอนคนพิการ 500 แห่งทั่วประเทศ
- มีระบบการสื่อสารเฉพาะทางของคนพิการทางตาและการได้ยิน ไม่น้อยกว่า 1 แสนคน
- ส่งเสริมและพัฒนาเนื้อหาทางอินเทอร์เน็ตที่เป็นประโยชน์
- ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านโทรคมนาคม อาทิ การพัฒนาทักษะและฝีมือแก่แรงงาน การสนับสนุนทุนการศึกษา ตลอดจนฝึกอบรมประชาชนไม่น้อยกว่า 5 แสนคน

โดยรวมแล้ว ผู้เขียนเห็นว่า แผนดังกล่าวมีพัฒนาการในด้านดีหลายประการดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเห็นว่าการดำเนินการตามแผนดังกล่าวจะทำให้เกิดต้นทุนในการให้บริการอย่างทั่วถึงในระดับสูงกว่าที่ควรจะเป็น ด้วยเหตุผลหลายประการ

ประการที่หนึ่ง แม้แผนดังกล่าวมีแนวคิดในการแบ่งพื้นที่ซึ่งยังไม่มีบริการโทรคมนาคมออกเป็น พื้นที่ซึ่งไม่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์อย่างแท้จริง (true access gap) ซึ่งต้องการการอุดหนุนจากกองทุนฯ และพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพในเชิงพาณิชย์แต่ยังขาดบริการอยู่ (efficiency gap) ซึ่งการแข่งขันในตลาดจะทำให้เกิดบริการก็ตาม ในทางปฏิบัติ กสทช. ก็ยังมิได้แบ่งพื้นที่ของประเทศไทยออกมาตามแนวคิดดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้ต้องใช้เงินกองทุนฯ ไปอุดหนุนบางพื้นที่โดยไม่จำเป็น

ประการที่สอง ด้วยเหตุผลเดียวกับข้อแรก แผนดังกล่าวมุ่งใช้เงินจากกองทุนฯ เป็นหลักในการทำให้เกิดบริการอย่างทั่วถึง โดยไม่ได้ใช้มาตรการอื่นเท่าที่ควร โดยเฉพาะการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในตลาดเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการจากการออกใบอนุญาตใหม่ๆ และการกำกับดูแลที่ดี

ประการที่สาม แผนดังกล่าวกำหนดเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้อย่างตายตัว เช่น กำหนดว่าต้องมีบริการ WiFi ครอบคลุมพื้นที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของประเทศ
ทำให้ขาดทางเลือกในการใช้เทคโนโลยีอื่นเช่น WiMax หรือดาวเทียมบรอดแบนด์ ซึ่งอาจมีต้นทุนต่ำกว่าในบางพื้นที่

ข้อเท็จจริงที่ชี้ว่า การให้บริการอย่างทั่วถึงตามแผนดังกล่าวน่าจะมีต้นทุนสูงกว่าที่ควรจะเป็นก็คือ การที่ กสทช. จะเก็บค่าธรรมเนียมเข้ากองทุนฯ ที่อัตราร้อยละ 4 ของรายได้ของผู้รับใบอนุญาต ซึ่งสูงกว่าอัตราที่จัดเก็บอยู่ในต่างประเทศ เช่น ชิลี เปรู และแอฟริกาใต้ ต่างเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวในอัตราที่ต่ำกว่าร้อยละ
1 ของรายได้ของผู้ประกอบการ และไม่พบว่ามีประเทศใดที่เก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวถึงร้อยละ 2.5 เลย ยกเว้นอินเดีย (ดูภาพประกอบ)
ค่าธรรมเนียมในระดับสูงของไทยจะเป็นต้นทุนที่ผู้บริโภคทุกคนมีภาระต้องแบกรับ

จากการเหตุผลต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนขอเสนอแนะให้ กสทช. พิจารณาสั่งการให้ สำนักงาน กสทช. ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. จัดทำการประมาณการความแพร่หลายของบริการโทรคมนาคมพื้นฐานในประเทศไทยว่ามีแนวโน้มโดยธรรมชาติอย่างไร และจะมีความแพร่หลายเพิ่มขึ้นอย่างไรหากมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้และกำกับดูแลให้ตลาดมีการแข่งขันอย่างเต็มที่
2. ระบุพื้นที่ซึ่งไม่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์อย่างแท้จริงจากประมาณการข้างต้น ซึ่งจะทำให้ทราบพื้นที่ซึ่งควรได้รับการอุดหนุนอย่างแท้จริง
3. เปิดกว้างให้ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายในการแข่งขันกันให้บริการอย่างทั่วถึง โดยไม่ต้องระบุเทคโนโลยีอย่างตายตัว เช่น ไม่ควรระบุว่า ต้องเป็น WiFi เท่านั้น
4. ตัดโครงการที่ไม่เกี่ยวข้องกับบริการอย่างทั่วถึงออกเช่น การพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงาน และทุนการศึกษา เนื่องจากการใช้จ่ายในลักษณะดังกล่าวน่าจะขัดกับบทบัญญัติตามกฎหมาย ทั้งนี้ หากต้องมีค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมบุคลากร ก็ควรจำกัดเฉพาะกลุ่มบุคคลที่ขาดทักษะการใช้บริการโทรคมนาคมเท่านั้น
5. ควบคุมการใช้จ่ายของ กสทช. และสำนักงาน กสทช.ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น กำหนดอัตราเงินเดือน หรือสวัสดิการต่างๆ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และป้องกันการรั่วไหลต่างๆ ในการจัดซื้อจัดจ้าง ทั้งนี้เนื่องจากรายได้ของสำนักงาน กสทช. เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ข้างต้นแล้ว จะมีส่วนที่ถูกนำส่งเป็นรายได้ของกองทุนฯ ด้วย นอกจากนี้ การกำหนดเงินเดือนของ กสทช. ในระดับที่สูงมากโดยการแปลงโบนัสเป็นเงินเดือน น่าจะขัดกับเจตนารมย์ของกฎหมาย และก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อความน่าเชื่อถือในการทำงานเพื่อสาธารณะของ กสทช. เอง
6. ปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมกองทุนฯ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และใกล้เคียงกับมาตรฐานสากล เช่น ไม่ควรเกินร้อยละ 2.5 เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อผู้บริโภคมาก โดยรายได้ดังกล่าวของกองทุนฯ น่าจะเพียงพอต่อการให้บริการอย่างทั่วถึงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคิดถึงฐานรายได้ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีการขยายฐานของผู้จ่ายค่าธรรมเนียมไปยังผู้รับใบอนุญาตทุกประเภทแล้ว

ภาพเปรียบเทียบอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการอย่างทั่วถึงของประเทศต่างๆ

ที่มา: เอกสารประกอบการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะของ สำนักงาน กสทช.

View :1750

บาร์โค้ด…สำคัญไฉน

November 2nd, 2011 No comments


เทคโนโลยี สัญลักษณ์รหัสแท่งที่ใช้แทนข้อมูลตัวเลขหรือตัวอักษรบนสินค้า ส่วนมากเราจะเห็นบาร์โค้ดในการซื้อสินค้าตามร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป แต่ในความเป็นจริงบาร์โค้ดเป็นมากกว่าที่คุณคิดที่จะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้เกิดความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคได้ การบริโภคสินค้าแต่ละชนิดนั้น นอกจากความเชื่อมั่นในคุณภาพของผลิตภัณฑ์จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ผู้บริโภคใช้ในการเลือกซื้อสินค้าแล้ว รูปแบบบรรจุภัณฑ์ก็ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผู้บริโภคในปัจจุบันคำนึงถึงไม่แพ้กัน ซึ่งบาร์โค้ดก็เป็นส่วนสำคัญที่อยู่บนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ที่สามารถช่วยสร้างมูลค่าให้กับสินค้าได้ และช่วยเพิ่มความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ ทำให้สามารถทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้า ช่วยควบคุมระบบการจำหน่ายได้เป็นอย่างดี ส่วนประโยชน์ของบาร์โค้ดที่มีต่อผู้บริโภคนอกจากจะเป็นตัวช่วยแจ้งราคาสินค้า สามารถป้องกันการชำระเงินที่ผิดพลาด

บาร์โค้ดคือศูนย์รวมข้อมูลของสินค้านั้น ๆ ที่สามารรถทราบถึงรายละเอียดภายในสินค้า ส่วนประกอบ วันหมดอายุ ตลอดจนสืบค้นแหล่งที่มาต้นตอ ผู้ที่ผลิตสินค้าได้ ดังนั้นระบบเทคโนโลยีบาร์โค้ดในปัจจุบันถือเป็นระบบมาตรฐานสากลที่ทั่วโลกให้การยอมรับทั้งในภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมทุกภาคส่วน เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน วางแผนการผลิต และกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด ซึ่งสามารถสร้างมูลค่ามหาศาลให้กับตลาดในปัจจุบันและในอนาคต

ปัจจุบันบาร์โค้ดเข้ามามีบทบาทในการติดต่อสื่อสารระหว่างคู่ค้าหรือกลุ่มธุรกิจต่างๆ ทั่วโลกมากขึ้น รวมถึงประเทศไทยทั้งทางด้านการจัดเก็บสินค้า การขนส่งสินค้า และการจัดจำหน่าย ซึ่งในส่วนนี้ หรือ ภายใต้การกำกับดูแลของ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรระดับสากลที่จัดตั้งมาตรฐาน และให้การบริการ ให้คำปรึกษา สนับสนุนเทคโนโลยีบาร์โค้ดไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจที่จะเป็นภาษาเดียวกันทั่วโลก ที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าที่ส่งออกจากประเทศไทย ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ ผู้บริโภคในตลาดโลกที่จะทราบถึงรายละเอียด แหล่งที่มาของสินค้านั้นๆ อันหมายถึงการส่งออกที่จะมาอีกมหาศาล เม็ดเงินที่จะนำเข้าสู่ประเทศในอนาคต ภาษากลางทางธุรกิจ “บาร์โค้ด” ที่จะส่งต่อมูลค่าให้กับประเทศ

บาร์โค้ดปัจจุบันไม่ใช้เพียงแท่งรหัสสินค้า แต่จะเป็นสัญลักษณ์ทางธุรกิจหรือสินค้านั้น ที่จะเพิ่มมูลค่าผ่านความคิดสร้างสรรค์บนบรรจุภัณฑ์สินค้า ดังนั้นสถาบันรหัสสากลได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของบุคลากรไทย ในด้านการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พร้อมกับการสร้างตลาดสินค้าของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักในตลาดระดับสากล สู่ความเชื่อมั่นในสินค้าที่มาจากประเทศไทย จึงได้จัดโครงการ “การประกวดออกแบบบาร์โค้ดบนบรรจุภัณฑ์” ปี2554 ในหัวข้อ “Amazing Barcode Design for Food Package” ตามแนวความคิดของคอนเซ็ปต์ “ประเทศไทย แหล่งอาหารที่สำคัญของโลก ครัวของโลก” ซึ่งกลุ่มธุรกิจอาหารเป็นธุรกิจที่สามารถนำรายได้เข้าประเทศได้ปีละหลายพันล้านบาท และเป็นส่วนช่วยดึงดูดผู้บริโภคในระดับนานาชาติเกิดความต้องการในสินค้ากลุ่มอาหารของประเทศไทย พร้อมทั้งสร้างเอกลักษณ์ผ่านภาษากลางทางธุรกิจ “บาร์โค้ด” ที่มีความแตกต่างบนบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบโดยบุคลากรไทย เสริมศักยภาพเชิงแข่งขันในตลาดต่างประเทศ บาร์โค้ดมาตรฐานสากลที่เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงสินค้าที่เชื่อถือได้ มีเลขหมายประจำตัวสินค้า ทำให้ผู้สนใจสามารถทราบถึงแหล่งผู้ผลิต และติดต่อซื้อขายกันได้สะดวกโดยตรง รวมถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการส่งออกของประเทศให้เติบโต และเชื่อว่าเทคโนโลยีด้านบาร์โค้ดจะสามารถช่วยผลักดันในเชิงมูลค่า ความเชื่อมั่นทางภาคอุตสาหกรรมได้อย่างแน่นอน

ดังนั้นการออกแบบ “บาร์โค้ด” นอกจากจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าแล้ว สัญลักษณ์ชิ้นเล็กๆ เทคโนโลยีที่ไม่ควรมองข้ามจะสามรารถเพิ่มมูลค่าตลาดได้อย่างมหาศาล เพียงใส่ใจในสินค้า มองเห็นถึงศักยภาพของบุคลากรไทย พร้อมสนับสนุน ส่งเสริมในเทคโนโลยีบาร์โค้ดให้เป็นภาษากลางทางธุรกิจที่ใช้กันทั่วโลกในระดับสากลบนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ของไทย เชื่อได้ว่าจะเป็นส่วนช่วยยกระดับมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับ สร้างศักยภาพเชิงการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ พร้อมเป็นส่วนในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจในประเทศให้มีการเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพ

View :2093

ตลาดออนไลน์ Thaitrade.com ทางลัดสู่ตลาดโลก (ตอนที่1)

August 26th, 2011 No comments

ในยุคสังคมออนไลน์(Social Network) ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันทั่วทุกมุมโลก ทำให้ผู้ประกอบการจำนวนมาก มองเห็นถึงโอกาสในการทำตลาดบนโลกเสมือนจริงนี้ ขณะเดียวกันผู้ประกอบการหลายรายที่ยังมีข้อกังวลว่า จะต้องเตรียมตัวอย่างไรเพื่อก้าวเข้าสู่สนามการค้าในยุคสังคมออนไลน์

ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจในเบื้องแรกก่อนว่า การตลาดในปัจจุบันนั้น มีแนวทางการดำเนินการอยู่ 2 แนวทางคือ การตลาดแบบ Offline Marketing ซึ่งเป็นการทำการตลาดโดยใช้เครื่องมือต่างๆ ผ่านรูปแบบหรือกิจกรรม เช่น กิจกรรมทางโฆษณา การตลาดและการขายที่มองเห็นและจับต้องได้ อีกแนวทางหนึ่งคือการตลาดแบบ Online Marketing ซึ่งเป็นการตลาดที่มีกิจกรรมบนโลกไซเบอร์หรือผ่านระบบอินเตอร์เนตทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ การขาย การโฆษณาหรือการวางแผนการตลาด ซึ่งปัจจุบันมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และสามารถลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก

ทั้งนี้ในช่วงเริ่มต้น การตลาดแบบออนไลน์อาจเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ประกอบการหน้าใหม่ รวมถึงผู้ประกอบการที่กำลังดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว แต่การศึกษาหาข้อมูล และการทำความเข้าใจในวิธีการทำตลาดออนไลน์ที่ดี จะสามารถนำเอาข้อมูลดังกล่าวไปใช้เพิ่มเติมความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้ธุรกิจออนไลน์ของคุณ สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย การใช้อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือเชิงพาณิชย์นั้น สามารถช่วยให้ผู้ขายประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งในเรื่องของสินค้า พนักงานขาย และการให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง ใน 7 วัน บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคนทั่วโลก ทำให้ปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ทำผู้ประกอบการจำเป็นต้องศึกษาเรื่องของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์, ช่องทางการประชาสัมพันธ์ ตลอดจนการกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อให้การใช้สื่อสารประเภทนี้มีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด

กรณีศึกษาที่น่าสนใจจากผู้ประกอบการที่ดำเนินการตลาดแบบ Online Marketing เพียงอย่างเดียวคือ บริษัท Exportcity Group บริหารงานโดยคุณณัลลิกา ธนสรรค์นนท์ ที่สั่งสมประสบการณ์ด้านการทำธุรกิจออนไลน์มากว่า 10 ปี และปัจจุบันยังเป็นสมาชิกระดับ gold ของเว็บไซต์ Alibaba.com ต่อเนื่องมา 5 ปี (5th year gold supplier on Alibaba) ได้แนะนำขั้นตอนการทำธุรกิจออนไลน์ให้กับผู้ประกอบการไทยที่สนใจว่า สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องเริ่มทำคือ

1. มีรูปภาพของสินค้าที่สามารถบอกรายละเอียด และสัดส่วนได้อย่างชัดเจน
2. สมัครเข้าเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ B2B หลายๆ แห่งเพื่อสร้างเครดิตให้กับสินค้าและธุรกิจ โดยปัจจุบันเว็บไซต์ประเภทนี้มีมากกว่า 18,000 เว็บไซต์ ซึ่งผู้ประกอบการอาจเริ่มสมัครจากเว็บไซต์ในกลุ่มประเทศที่ต้องการจำหน่ายสินค้าเช่น ในแถบตะวันออกกลาง อย่าง อินเดีย ดูไบ ปากีสถาน ให้สมัครเป็นสมาชิกของกับ Alibaba และ go4worldbusiness.com สำหรับในเกาหลี มีเว็บไซต์ ezplaza.com ในญี่ปุ่นมี jetro ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เน้นทำธุรกิจ business matching และในไต้หวัน มีเว็บไซต์ tradkey.com เป็นต้น
3. จัดทำเว็บไซต์ของตัวเอง ซึ่งการลงทุนต่ำสุดประมาณ 6,000 บาท ทั้งนี้เพราะ เว็บไซต์เป็นเสมือนกับหน้าร้านที่สามารถบอกเล่าเรื่องราว ความเป็นมาของบริษัท รวมทั้งรายละเอียดของสินค้าได้มากกว่าเว็บไซต์ B2B ที่เป็นสมาชิก ซึ่งมีสมาชิกมากมายอยู่ในนั้น การจัดทำเว็บไซต์จึงเป็นการรองรับการทำธุรกิจอย่างแท้จริง

สิ่งสำคัญอีกประการสำหรับการทำธุรกิจออนไลน์ คือ สินค้าต้องมีจุดเด่นและความแตกต่าง เพราะเว็บไซต์เป็นเหมือนถนนที่คนต้องเดินผ่าน หากสินค้าไม่สะดุด คนก็ไม่หยุดดู ดังนั้นสินค้าต้องมีจุดเด่น และแตกต่าง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำธุรกิจออนไลน์ของคุณประสบความสำเร็จได้

ด้วยความสำคัญและเป็นรูปแบบการตลาดที่ยังเปิดกว้างไร้ขอบเขตให้กับผู้ประกอบการทุกราย กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ จึงได้จัดทำ โครงการตลาดกลางซื้อขายทางอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้เว็บไซต์ชื่อ ขึ้น เพื่อเป็นตลาดกลางการซื้อขายสินค้าไทยแบบ B2B (หรือ B2B E-Marketplace) อย่างเป็นทางการของประเทศไทย เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญของการค้าบนโลกออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันการดำเนินธุรกิจทั่วโลก หันมาใช้อีคอมเมิร์ซเป็นส่วนใหญ่ และมีแนวโน้มการเติบโตที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามจำนวนของผู้ที่เข้าใช้อินเตอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาศักยภาพผู้ส่งออกไทยให้ก้าวสู่โลกการค้าในตลาดออนไลน์แบบ B2B ให้ประสบผลสำเร็จ ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าการค้าแบบออฟไลน์

และจากข้อมูลสถิติ www.internetworldstats.com ปี 2551 พบว่าการดำเนินธุรกิจอีคอนเมิร์ซ ส่วนใหญ่ในประเทศไทย ร้อยละเฉลี่ย 80% อยู่ในรูปของ B2C แต่มีมูลค่าตลาด 45,951 ล้านบาท คิดเป็น 8.7 % ของมูลค่าตลาดรวมของอีคอมเมิร์ซทั่วประเทศเท่านั้น ในขณะที่มูลค่าตลาดของ B2B ในปีเดียวกัน สูงถึง 190.7 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 36 % ของตลาดรวมของอีคอมเมิร์ซทั่วประเทศ ดังนั้นกรมส่งเสริมการส่งออก จึงได้จัดทำเว็บไซต์thaitrade.com และตั้งเป้าให้เป็น Thailand B2B E-Marketplace เพื่อผลักดันให้สินค้าไทยออกไปสู่ตลาดโลก ซึ่งมีศักยภาพการซื้อขายสูง จึงนับเป็นโอกาสสำคัญของผู้ส่งออกไทย และโอกาสของการส่งออกไทยอีกช่องทางหนึ่งที่สำคัญยิ่ง.

View :2064

3G พลิกโฉมการสื่อสารไร้สายของไทย คนกรุงกว่าร้อยละ 89 มีแผนใช้งานในอนาคต

August 15th, 2011 No comments

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ปัจจุบัน การสื่อสารโทรคมนาคมได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนยุคใหม่ นอกเหนือจากการสื่อสารในรูปแบบเสียงแล้ว การสื่อสารในยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคการสื่อสารที่เน้นข้อมูลในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งมีทั้งภาพและเสียงหรือที่เรียกกันว่ามัลติมีเดียมากยิ่งขึ้น ปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งในการตอบสนองความต้องการในการสื่อสารของยุคนี้ คือ ความเร็วในการรับและส่งผ่านข้อมูล ซึ่งเป็นที่มาของเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงในยุคที่ 3 หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า (Third Generation)

ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เอกชนรายหลักได้มีการเปิดทดสอบให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิม (HSPA) มาตั้งแต่ปี 2552 โดยจำกัดขอบเขตในบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ ทำให้ผู้บริโภคบางส่วนเกิดความคุ้นเคยและได้ทดลองใช้งานบริการ 3G มาก่อนหน้านี้ ในขณะที่การเปิดประมูลใบอนุญาตให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1GHz จะต้องรอการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ () ซึ่งคาดว่าอย่างเร็วที่สุดน่าจะจัดตั้งได้ในช่วงปลายไตรมาส 3 ของปี 2554 และการประมูลน่าจะถูกจัดขึ้นได้ในช่วงกลางปี 2555 เป็นอย่างเร็ว อย่างไรก็ดี ผู้ให้บริการเอกชนรายหลักได้เริ่มทยอยเปิดตัวให้บริการ 3G เชิงพาณิชย์บนคลื่นความถี่เดิมในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 นี้ ซึ่งนับได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนแปลงสำคัญที่จะพลิกโฉมการสื่อสารโทรคมนาคมของไทยให้เข้าสู่ยุคการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ทำการสำรวจในหัวข้อพฤติกรรมการใช้งานบริการ 3G ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ โดยมีจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 629 ชุด เพื่อศึกษาความต้องการการใช้งานบริการ 3G และบริการเสริมด้านข้อมูลต่างๆบนอุปกรณ์เคลื่อนที่

 ผลสำรวจความต้องการใช้บริการ 3G…คนกรุงมีแผนใช้ 3G ในอนาคตสูงถึงร้อยละ 89.5

การเปิดทดสอบให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิมตั้งแต่ปี 2552 นับได้ว่ามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความคุ้นเคยในหมู่ผู้บริโภคในการใช้งานบริการ 3G นอกจากนี้ ยังมีส่วนสำคัญในการให้ข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผน และกำหนดยุทธวิธีการทำตลาดในช่วงระยะถัดไปที่จะมีการทยอยเปิดให้บริการ 3G เชิงพาณิชย์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 ไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนาบริการเสริมด้านข้อมูล หรือแม้แต่การพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่นใหม่ๆที่ต้องอาศัยการสื่อสารความเร็วสูง จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งานบริการ 3G ในระยะที่ผ่านมา พบประเด็นต่างๆ ดังนี้

 คนกรุงเทพฯกำลังใช้งานบริการ 3G อยู่ร้อยละ 36.6 ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้ใช้งานที่มีแผนจะใช้งานในอนาคตมีถึงร้อยละ 89.5

จากการสอบถามถึงการใช้งานบริการ 3G ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามราวร้อยละ 36.6 กำลังใช้งานบริการ 3G อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นสัดส่วนที่ไม่น้อย ในช่วงที่การเปิดให้บริการ 3G เชิงพาณิชย์เพิ่งจะอยู่ในระยะเริ่มต้น อย่างไรก็ดี ผู้ตอบแบบสอบถามราวร้อยละ 54.4 ให้ข้อมูลว่ายังไม่เคยใช้งานบริการ 3G มาก่อน โดยมีเหตุผลหลัก คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ของตนไม่รองรับระบบ 3G คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53.5 ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่มที่ให้เหตุผลดังกล่าวมีแผนที่จะใช้งานบริการ 3G ในอนาคตสูงถึงร้อยละ 85.2 แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ผู้บริโภคในกลุ่มดังกล่าวจะเปลี่ยนโทรศัพท์เคลื่อนที่ใหม่เพื่อให้สามารถใช้งาน 3G ได้

นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามยังให้เหตุผลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสาเหตุที่ยังไม่เคยใช้งานบริการ 3G อีกว่า พื้นที่ให้บริการ 3G ยังไม่ครอบคลุม คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 52.3 สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจาก การเปิดให้บริการ 3G ในช่วงก่อนหน้านี้ ยังคงเป็นลักษณะการทดสอบให้บริการ ซึ่งจำกัดอยู่เฉพาะบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่เท่านั้น อย่างไรก็ดี ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายหลักมีแผนที่จะเปิดให้บริการ 3G ครอบคลุมเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ ภายในสิ้นปี 2554 นี้ และจะครอบคลุมทั่วประเทศภายใน 3 ปี ทำให้ข้อจำกัดเกี่ยวกับพื้นที่ให้บริการ 3G มีแนวโน้มลดลงในอนาคต

จากผลการสำรวจยังพบอีกว่า โดยภาพรวมแล้ว ผู้ตอบแบบสอบถามที่ยังไม่เคยใช้บริการ 3G มีแผนที่จะใช้บริการในอนาคตสูงถึงร้อยละ 89.5 ของผู้ที่ยังไม่ได้ใช้บริการในปัจจุบัน สะท้อนถึงโอกาสทางการตลาดอันสำคัญสำหรับผู้ให้บริการโครงข่าย 3G รวมไปถึงผู้ให้บริการเสริมด้านคอนเทนต์ และนักพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่น ที่จะพัฒนาบริการหรือแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่ต้องอาศัยการสื่อสารความเร็วสูง

 ร้อยละ 80 ของผู้ใช้งานบริการ 3G ในปัจจุบัน ใช้บริการ 3G ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่

ปัจจุบัน การเชื่อมต่อเพื่อใช้งานบริการ 3G สามารถกระทำผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้หลากหลาย ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ เน็ตบุ๊ค แท็บเล็ต และโน๊ตบุ๊คผ่านแอร์การ์ด 3G จากผลการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯราวร้อยละ 80 ใช้บริการ 3G ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ และมีสัดส่วนการใช้บริการผ่านสมาร์ทโฟนสูงถึงร้อยละ 84.8 ของผู้ใช้บริการ 3G ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของผู้บริโภคในการถือครองสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่มีสมรรถนะสูง และสามารถใช้งานได้หลากหลายวัตถุประสงค์ผ่านทางโมบายล์แอพพลิเคชั่น ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการรองรับการพัฒนาบริการเสริมทางด้านข้อมูลใหม่ๆในอนาคตมากยิ่งขึ้น

ในขณะเดียวกัน อุปกรณ์เคลื่อนที่ประเภทแท็บเล็ต ซึ่งมีสัดส่วนผู้ใช้งานบริการ 3G ผ่านอุปกรณ์ดังกล่าวถึงร้อยละ 13.0 ก็เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่น่าจับตามองเช่นกัน เนื่องจาก ฟังก์ชั่นการทำงานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับสมาร์ทโฟน แต่ด้วยความเร็วในการประมวลผลข้อมูลที่สูงกว่า ขนาดของหน้าจอแสดงผลที่ใหญ่ และสามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นที่ถูกพัฒนาสำหรับสมาร์ทโฟนได้ ประกอบกับผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ไอซีทีในไทยเริ่มเข้ามาทำตลาดอย่างจริงจังตั้งแต่ช่วงปลายปี 2553 ทำให้ผู้บริโภคเริ่มให้ความสนใจใช้งานแท็บเล็ตในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

 ผลสำรวจบริการด้านข้อมูล…คนกรุงต้องการช่องทางสื่อสารรูปแบบใหม่ที่เน้นมัลติมีเดีย

ปัจจุบัน ผู้บริโภคมีแนวโน้มใช้งานบริการด้านข้อมูล (Non-Voice) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2553 บริการด้านข้อมูลมีมูลค่ากว่า 2.6 หมื่นล้านบาท ขยายตัวราวร้อยละ 24.4 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.2 ของมูลค่ารวมบริการด้านเสียงและข้อมูล ในขณะที่ปี 2554 บริการด้านข้อมูลมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยได้แรงสนับสนุนจากการทยอยเปิดตัวการให้บริการ 3G เชิงพาณิชย์ของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายหลักในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 ประกอบกับการเติบโตของตลาดสมาร์ทโฟนที่กำลังอยู่ในกระแสความนิยม ซึ่งจะมีส่วนผลักดันการใช้งานบริการด้านข้อมูลให้เพิ่มสูงยิ่งขึ้น โดยในปี 2554 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า บริการด้านข้อมูลจะมีมูลค่าราว 3.3 ถึง 3.5 หมื่นล้านบาท ขยายตัวราวร้อยละ 27.0 ถึง 34.6 คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 20.8 ของตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยรวม

จากผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยเกี่ยวกับพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯต่อบริการด้านข้อมูลบนระบบ 3G พบว่า บริการที่มีผู้ต้องการใช้ผ่านระบบ 3G มากที่สุด ได้แก่ เครือข่ายสังคมออนไลน์ (ร้อยละ 71.6) รองลงมาคือ ชมทีวีออนไลน์ (ร้อยละ 64.7) บริโภคข่าวสาร (ร้อยละ 59.3) และฟังเพลงออนไลน์ (ร้อยละ 54.7) สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของผู้บริโภคในการใช้งานเครือข่าย 3G เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารรูปแบบใหม่ในการส่งผ่านข้อมูลปริมาณมาก ทั้งในรูปแบบข้อความ ภาพและเสียง ทั้งนี้ เพื่อการอัพเดทข้อมูลกิจกรรมที่ตนทำอยู่ให้แก่เครือข่ายเพื่อนฝูง หรือเพื่อสร้างความบันเทิงส่วนตัว รวมไปถึงการบริโภคข่าวสารในรูปแบบมัลติมีเดีย ซึ่งบริการกลุ่มนี้ค่อนข้างเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคในวงกว้างได้ทุกเพศทุกวัย ขณะที่บริการที่ค่อนข้างมีวัตถุประสงค์ในการใช้ที่เฉพาะเจาะจง อย่างเช่น ธนาคารบนมือถือ การซื้อสินค้าออนไลน์ เป็นต้น จะมีผู้สนใจในสัดส่วนที่น้อยกว่า

เมื่อพิจารณาความต้องการใช้งานบริการด้านข้อมูลบนระบบ 3G แยกตามช่วงอายุ อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่ในช่วงอายุ 15 ถึง 29 ปี มีความต้องการใช้บริการด้านข้อมูลบนระบบ 3G ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ และบริการเพื่อความบันเทิงต่างๆ ในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มช่วงอายุอื่น นอกจากนี้ ยังเป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่ก็มีความสนใจบริการด้านข่าวสารเช่นกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นสัดส่วนที่ต่ำกว่ากลุ่มช่วงอายุอื่น แต่ก็มีสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 56.1

สำหรับกลุ่มที่มีอายุอยู่ในช่วง 30 ถึง 44 ปี ให้ความสนใจกับบริการด้านข้อมูลทุกประเภท และมีสัดส่วนปานกลางเมื่อเทียบกับผู้ตอบแบบสอบถามในช่วงอายุอื่น ยกเว้น บริการที่เกี่ยวกับการจับจ่ายซื้อสินค้าหรือบริการ ซึ่งกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามในช่วงอายุดังกล่าวมีผู้ให้ความสนใจสูงกว่าผู้ตอบแบบสอบถามในช่วงอายุอื่น สำหรับกลุ่มผู้มีอายุมากกว่า 44 ปี ให้ความสนใจใช้บริการเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร และธนาคารบนมือถือในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มช่วงอายุอื่น และไม่ค่อยให้ความสนใจในการจับจ่ายซื้อสินค้าหรือบริการมากนัก

 ผลสำรวจบริการด้านความบันเทิงออนไลน์…คนกรุงต้องการบริการที่มีคอนเทนต์หลากหลาย

ปัจจุบัน การบริโภคดิจิทัลคอนเทนต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่นั้น มักจะเป็นไปเพื่อความสนุกสนานบันเทิงใจ ไม่ว่าจะเป็นการชมทีวี ฟังเพลง หรือเล่นเกม โดยบริการเหล่านี้รวมเรียกว่า โมบายล์เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ (Mobile Entertainment) สำหรับประเทศไทย ในอดีตที่ผ่านมา บริการดังกล่าวมักมีข้อจำกัดจากความเร็วของโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งอยู่ระหว่าง 80 ถึง 200 กิโลบิตต่อวินาที ทำให้คุณภาพการให้บริการไม่ค่อยเป็นที่พอใจของผู้บริโภค อย่างไรก็ดี การทยอยเปิดให้บริการ 3G ในช่วงครึ่งหลังของปี ย่อมเป็นปัจจัยสำคัญที่จะพลิกโฉมการให้บริการโมบายล์เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ให้มีทั้งคุณภาพและความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดบริการด้านข้อมูลที่เกี่ยวกับความบันเทิงแบบออนไลน์ โดยผู้บริโภคสามารถชมทีวี ฟังเพลง หรือเล่นเกม ในขณะที่เชื่อมต่อการใช้บริการได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอการดาวน์โหลดเนื้อหามาเก็บไว้ที่อุปกรณ์เคลื่อนที่ก่อน จึงจะสามารถบริโภคเนื้อหาดังกล่าวได้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำการสำรวจความต้องการของผู้บริโภคต่อลักษณะเนื้อหาและการชำระเงินในการใช้บริการความบันเทิงแบบออนไลน์บนระบบ 3G โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้

 ผู้บริโภคสนใจชมภาพยนตร์มากที่สุด และอยากจะจ่ายรายเดือนเพื่อชมหนึ่งช่องรายการไม่อั้น

บริการทีวีออนไลน์เป็นบริการลักษณะมัลติมีเดียซึ่งมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและเสียง ข้อจำกัดที่สำคัญอย่างหนึ่งของการให้บริการดังกล่าว คือ ขนาดของข้อมูลมักจะใหญ่ ทำให้ความเร็วของโครงข่ายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดถึงคุณภาพของการให้บริการ โดยความเร็วขั้นต่ำที่พอจะเปิดให้บริการแบบออนไลน์ คือ 64 ถึง 80 กิโลบิตต่อวินาที จึงทำให้มีผู้ให้บริการบางรายเปิดให้บริการดังกล่าวบนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี ค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไปจากการที่ต้องรับส่งข้อมูลจำนวนมาก เมื่อเทียบกับอรรถรสของการชมที่ได้รับ ทำให้บริการดังกล่าวได้รับความนิยมไม่ค่อยสูงนัก ทั้งนี้ การเปิดให้บริการ 3G จะมีส่วนช่วยผลักดันให้คุณภาพของการให้บริการดีขึ้น รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการรับส่งข้อมูลที่ลดลง ซึ่งจะมีส่วนผลักดันให้บริการดังกล่าวขยายตัวยิ่งขึ้น

จากผลการสำรวจเกี่ยวกับรายการทีวีออนไลน์ที่ผู้บริโภคมีความต้องการชม พบว่า มีผู้ต้องการชมรายการภาพยนตร์มากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 78.6 รองลงมาคือ รายการข่าวและมิวสิกวีดีโอ ซึ่งมีสัดส่วนใกล้เคียงกันที่ราวร้อยละ 52 และเมื่อสอบถามถึงรูปแบบการชำระค่าชมรายการที่ต้องการจะเลือกชำระ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ราวร้อยละ 50 เลือกที่จะชำระแบบรายเดือนเพื่อชมหนึ่งช่องรายการแบบไม่อั้น ในขณะที่การจ่ายรายเดือนเพื่อชมหลายช่องรายการตามที่กำหนดไว้แบบไม่อั้น ซึ่งมักจะมีค่าใช้จ่ายรายเดือนสูงกว่านั้น กลับมีสัดส่วนที่ต่ำที่สุดคือร้อยละ 22.2 สะท้อนถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่อยากจะเลือกชมทีวีเฉพาะประเภทรายการที่ตนโปรดปรานจริงๆ และพร้อมที่จะจ่ายเฉพาะช่องรายการที่ชอบ เพื่อสามารถรับชมได้แบบไม่จำกัดในรอบเดือนนั้น

 ผู้บริโภคราวร้อยละ 30.5 ชอบเลือกเพลงจากค่ายใดก็ได้และซื้อเฉพาะเพลงที่ตนชอบ

ธุรกิจเพลงดิจิทัลบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ของไทยนั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น สืบเนื่องจาก ความเร็วของโครงข่ายสื่อสารไร้สายยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก ทำให้ธุรกิจเพลงดังกล่าวถูกจำกัดอยู่แต่เพลงที่ได้รับการตัดต่อความยาวประมาณ 30 ถึง 60 วินาที เพื่อนำมาใช้เป็นเพลงในบริการเสียงรอสาย หรือติดตั้งเป็นเพลงเสียงเรียกเข้าบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือถ้าเป็นเพลงฉบับเต็มก็จำเป็นต้องดาวน์โหลดมาไว้ที่อุปกรณ์เคลื่อนที่ของตนก่อนแล้วฟังแบบออฟไลน์ สำหรับธุรกิจบริการฟังเพลงออนไลน์ ซึ่งผู้บริโภคสามารถเลือกฟังเพลงและเก็บเพลงไว้บนอินเทอร์เน็ตได้นั้น ยังคงถูกจำกัดอยู่แต่บนอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐานเป็นหลัก อย่างไรก็ดี การเปิดให้บริการ 3G จะเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้เกิดบริการดังกล่าวได้

จากผลการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยเกี่ยวกับลักษณะการชำระค่าบริการฟังเพลงออนไลน์ที่ผู้บริโภคต้องการ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการชำระเป็นรายเพลงและเลือกเพลงจากค่ายใดก็ได้ เป็นสัดส่วนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 30.5 สะท้อนถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในการฟังเพลงที่มักจะเลือกเฉพาะเพลงที่ชอบจริงๆ จากความหลากหลายที่นำเสนอโดยค่ายต่างๆ โดยไม่อยากจะชำระแบบรายเดือน ซึ่งโดยรวมแล้วอาจมีค่าใช้จ่ายโดยเปรียบเทียบที่สูงกว่า ถ้าจำนวนเพลงที่ตนชื่นชอบมีไม่มากนัก

 ผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเนื้อหาและราคาของเกมออนไลน์มากกว่าแหล่งพัฒนาเกม

ลักษณะของรูปแบบธุรกิจเกมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน คือ การขายเกมโดยให้ผู้บริโภคดาวน์โหลดเกมที่ต้องการมาไว้ที่อุปกรณ์คลื่อนที่ก่อนแล้วเล่นแบบออฟไลน์ ไม่ได้เล่นกันแบบออนไลน์เหมือนเกมออนไลน์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีขนาดเกมที่ใหญ่และซับซ้อนกว่า ทั้งนี้ เนื่องจากข้อจำกัดด้านความเร็วของโครงข่ายสื่อสารไร้สาย อย่างไรก็ดี ข้อจำกัดดังกล่าวน่าจะหมดไปเมื่อมีการเปิดให้บริการ 3G

จากการสอบถามถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเกมออนไลน์บนระบบ 3G พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าร้อยละ 58 ต้องการเกมออนไลน์ที่เล่นง่ายและสนุก ประกอบกับราคาที่ไม่แพงจนเกินไปนัก ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ปัจจัยเกี่ยวกับแหล่งที่มาของเกม ได้แก่ ต้องเป็นเกมต่างประเทศมีผู้ตอบเพียงร้อยละ 7.8 และชื่อเสียงบริษัทเกมมีผู้ตอบเพียงร้อยละ 13.0 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับเนื้อหา และราคาเป็นสำคัญ โดยให้ความสำคัญกับแหล่งที่มาเป็นลำดับรองลงมา

บทสรุป
การเริ่มทยอยเปิดให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิมของผู้ให้บริการเอกชนรายหลักในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนโฉมหน้าการสื่อสารไร้สายของไทยให้เข้าสู่ยุคการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง และเป็นแรงผลักดันอันสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคการบริการด้านข้อมูลในหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดบริการด้านข้อมูลที่เกี่ยวกับความบันเทิงแบบออนไลน์ โดยผู้บริโภคสามารถชมทีวี ฟังเพลง หรือเล่นเกม ในขณะที่เชื่อมต่อการใช้บริการได้ทันที

จากผลการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยต่อผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯเกี่ยวกับการใช้บริการ 3G ซึ่งผู้ให้บริการเอกชนรายหลักได้เปิดทดสอบการให้บริการมาตั้งแต่ปี 2552 พบว่า ในเขตกรุงเทพฯมีผู้ที่กำลังใช้บริการ 3G อยู่ราวร้อยละ 36.6 ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้ใช้บริการ 3G ในปัจจุบันส่วนใหญ่ราวร้อยละ 80 ใช้งานผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ส่วนที่เหลือเป็นการใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค เน็ตบุ๊ค และแท็บเล็ต ในขณะที่ผู้ที่ยังไม่เคยใช้งานเลยมีอยู่ราวร้อยละ 54.4 อย่างไรก็ดี กลุ่มผู้ที่ยังไม่ได้ใช้งาน 3G ในปัจจุบันราวร้อยละ 89.5 มีแผนที่จะใช้งานในอนาคต สะท้อนถึงโอกาสทางการตลาดอันสำคัญสำหรับผู้ให้บริการโครงข่าย 3G และเครื่องลูกข่าย/ตัวเครื่อง รวมถึงผู้ให้บริการด้านคอนเทนต์ และนักพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่น ที่จะพัฒนาบริการเสริมหรือแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่ต้องอาศัยการสื่อสารความเร็วสูง

ความต้องการใช้งานบริการ 3G ของผู้บริโภคที่อยู่ในระดับสูงดังกล่าว ประกอบกับกระแสการเติบโตของตลาดสมาร์ทโฟนจะมีส่วนผลักดันให้บริการด้านข้อมูลมีการขยายตัวเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2554 บริการด้านข้อมูลจะมีมูลค่าราว 3.3 ถึง 3.5 หมื่นล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 27.0 ถึง 34.6 คิดเป็นสัดส่วนราว 20.8 ของมูลค่ารวมบริการด้านเสียงและข้อมูล

จากผลการสำรวจเกี่ยวกับความต้องการใช้งานบริการเสริมด้านข้อมูลบนระบบ 3G พบว่า บริการที่มีผู้ต้องการใช้ผ่านระบบ 3G มากที่สุด ได้แก่ บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ชมทีวีออนไลน์ บริโภคข่าวสาร และฟังเพลงออนไลน์ สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการช่องทางการสื่อสารแบบใหม่ของผู้บริโภค ที่สามารถส่งผ่านข้อมูลในปริมาณมาก ทั้งในรูปแบบข้อความ ภาพและเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการที่อยู่ในลักษณะความบันเทิงแบบออนไลน์ ที่ผู้บริโภคสามารถเชื่อมต่อการใช้บริการได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอการดาวน์โหลดเนื้อหามาเก็บไว้ที่อุปกรณ์เคลื่อนที่ก่อนจึงจะสามารถบริโภคเนื้อหาดังกล่าวได้

ความสนใจดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจของบริการด้านความบันเทิงแบบออนไลน์ หรือโมบายล์เอ็นเตอร์เทนเม้นท์บนระบบ 3G ในอนาคต ซึ่งจากแบบสอบถาม พบว่า ผู้ที่ต้องการใช้บริการทีวีออนไลน์ มีความต้องการชมรายการภาพยนตร์มากที่สุด รองลงมาเป็น ข่าว มิวสิกวีดีโอ ละคร เป็นต้น และส่วนใหญ่อยากใช้บริการแบบรายเดือน โดยสามารถชมเฉพาะช่องประเภทรายการที่ตนโปรดปรานได้แบบไม่อั้น ซึ่งแตกต่างจากบริการฟังเพลงออนไลน์ ที่ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ต้องการความหลากหลายของเพลง โดยสามารถเลือกได้จากหลายๆค่าย และต้องการซื้อเฉพาะเพลงที่ตนชอบจริงๆ ในขณะที่บริการเกมออนไลน์นั้น ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการเกมที่เล่นง่ายและสนุก ประกอบกับราคาที่ไม่แพงเกินไปนัก

จากแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการความบันเทิงรูปแบบใหม่ ซึ่งสามารถสร้างความบันเทิงแบบพกพาได้ทุกที่ทุกเวลา และยังพร้อมที่จะจ่ายค่าบริการ เพื่อสามารถเลือกคอนเทนต์ที่ตนชื่นชอบได้จากคลังคอนเทนต์ที่มีความหลากหลาย สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจของผู้ให้บริการคอนเทนต์ที่จะเข้ามาพัฒนาบริการด้านความบันเทิงบนช่องทางการสื่อสารรูปแบบใหม่ ที่มีศักยภาพในการเติบโตและมีโอกาสจะเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดบางส่วนจากช่องทางให้บริการความบันเทิงแบบดั้งเดิมได้ในอนาคต ขณะเดียวกัน พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มหันมาใช้เวลากับอุปกรณ์เคลื่อนที่มากขึ้น และฐานผู้ใช้ที่สามารถเข้าถึงเครือข่ายสื่อสาร (Coverage) ที่มีโอกาสขยายออกไปกว้างขึ้นในอนาคต อาจเป็นทิศทางที่ธุรกิจต่างๆต้องหันกลับมาพิจารณากลยุทธ์ทางการตลาด และโอกาสทางธุรกิจผ่านช่องทางอุปกรณ์เคลื่อนที่มากขึ้น

——————————————
Disclaimer
รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงข้อมูลได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณของตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็นหรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

View :2322

กฎหมายปัจจุบันกับการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า

August 12th, 2011 No comments

บทความ: อาจารย์รุจิระ บุนนาค
กรรมการผู้จัดการ สำนักงานกฎหมายมารุต บุนนาค

เมื่อเร็วๆนี้ ผมมีโอกาสร่วมฟังการประชุมนโยบายเรื่องการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า และความเหมาะสมของกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง จัดโดยสถาบัน Sasin Institute for Global Affairs (SIGA) ได้ฟังความเห็นของม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท รองประธานคณะกรรมการธุรกิจบริการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ซึ่งมีแง่คิดที่น่าสนใจ จึงอยากจะเล่าสู่กันฟัง

ม.ล.ชาญโชติ ให้ความเห็นเรื่องนโยบายส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าว่า พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า ที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน ล้าสมัยและไม่ตรงกับวัตถุประสงค์แรกเริ่มในการออกกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของพรบ.ฉบับนี้ ต้องการปกป้องเศรษฐกิจของประเทศ และป้องกันมิให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบผู้บริโภค แต่พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้าที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน กลับกลายเป็นกฎหมายที่ออกมากำกับดูแลระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ ซึ่งม.ล.ชาญโชติ มีความเห็นว่า รัฐไม่ควรเข้าไปกำกับผู้ประกอบการมากนัก ควรปล่อยให้ผู้ประกอบการแข่งขันกันโดยเสรี แต่กฎหมายฉบับนี้กลับออกมากำกับไม่ให้ผู้ประกอบการรายใหญ่เอาเปรียบผู้ประกอบการรายเล็ก ซึ่งควรจะปล่อยให้แข่งขันไปตามกลไกของตลาด ม.ล.ชาญโชติ จึงเห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่น่าจะให้ประโยชน์กับฝ่ายใดเลย แต่กลับเป็นเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการต่างๆยื่นข้อร้องเรียน แล้วเรียกร้องให้รัฐเป็นกรรมการตัดสิน แทนที่รัฐจะทำหน้าที่ในการป้องกันเศรษฐกิจของประเทศ และป้องกันมิให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค ตามวัตถุประสงค์เริ่มแรกในการออกพรบ.ฉบับดังกล่าว

ม.ล.ชาญโชติ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงความล้าหลังของกฎหมายฉบับต่างๆ ที่กว่าจะออกมาได้แต่ละฉบับ ใช้เวลาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1 ปี ในขณะที่พัฒนาการทางธุรกิจ ตลอดจนความต้องการของตลาดและผู้บริโภค เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วต่อเนื่องตลอดเวลา ดังนั้น กว่ากฎหมายแต่ละฉบับที่เกี่ยวข้องจะแล้วเสร็จ ธุรกิจนั้นๆก็เปลี่ยนแปลงรูปแบบ เงื่อนไขและรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญไปแล้ว ม.ล.ชาญโชติ จึงเห็นว่า การออกกฎหมายของประเทศไทยส่วนใหญ่มักไม่ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ยิ่งไปกว่านั้น การออกกฎหมายแต่ละฉบับควรเป็นกฎหมายที่สามารถปฏิบัติได้ด้วย

ม.ล. ชาญโชติ มีความเห็นว่า กฎหมายในบ้านเรามีมากมายหลายฉบับที่มีความซ้ำซ้อนกัน และบางฉบับยังมีข้อกำหนดที่หักล้างกันเอง แทนที่จะส่งเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้น กลับมีผลทำให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ

แต่กระนั้น ม.ล.ชาญโชติ ย้ำว่า ตนมิได้ไม่ต้องการให้มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวกับการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันทางการค้า แต่เห็นว่ากฎหมายที่ออกมาจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ตั้งแต่เริ่มแรก และที่สำคัญจะต้องสามารถนำมาปฏิบัติได้ด้วย เพราะหากกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวยังล้าหลัง ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการเสริมสร้างภาคธุรกิจไทยให้มีศักยภาพที่จะแข่งขันในระดับสากลอีกด้วย

ม.ล. ชาญโชติ ยังกล่าวถึง การเข้ามาของบริษัทต่างชาติในประเทศไทย โดยเห็นว่า เป็นสิ่งที่ดี แต่จำเป็น ต้องมีนโยบายในการกำกับดูแลบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจแข่งขันว่า การที่บริษัทต่างชาติต่างๆ เหล่านั้นเข้ามาใช้ทรัพยากรของประเทศ ก็ควรกำหนดเงื่อนไขค่าตอบแทนที่พึงจ่ายให้กับประเทศด้วย โดยรัฐสามารถออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องดังกล่าว โดยมีเงื่อนไขที่ไม่แตกต่างมากจนเกินไประหว่างบริษัทไทยกับบริษัทต่างชาติ ขณะเดียวกัน รัฐจะต้องมีนโยบาย ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการไทย รวมทั้งผู้ประกอบการขนาดเล็ก ตลอดจนผู้ประกอบการที่อ่อนแอกว่า เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขัน

นอกจากนี้ ม.ล. ชาญโชติ ยังได้กล่าวถึงนโยบายการเปิดเสรีว่า ความจริงแล้วไม่ใช่เป็นการเปิดเสรีจริงๆ เพราะแต่ละประเทศต่างก็มีกฎหมายแตกต่างกันในการกำกับดูแลกรณีต่างๆ เช่น กรณีที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน ก็มีกฎหมายที่ดินที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการกำกับการถือครองกรรมสิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ ม.ล.ชาญโชติกล่าวว่า ต้องยอมรับว่ากฎหมายยังมีความอ่อนแอมาก จึงทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่อยู่ในมือของต่างชาติ จึงจำเป็นที่จะต้อง พิจารณา สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และต้องวางแผน วางหลักเกณฑ์ในการออกกฎหมายใหม่ ตัวอย่างเช่น กรณี BOI ที่ต้องการจูงใจให้ต่างชาติที่เป็นนักลงทุนรายใหญ่เข้ามาลงทุนในประเทศ แต่กลับไม่มีการส่งเสริมสำหรับผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยให้ออกไปลงทุนแข่งขันในต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบการไทยขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งในความเป็นจริง BOI ควรมีมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยขนาดเล็กและขนาดกลางให้สามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศ มากกว่ามาตรการ ลด แลก แจก แถม เพื่อชักจูงให้ผู้ประกอบการต่างชาติรายใหญ่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ม.ล.ชาญโชติ มีความเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่เหมาะกับการลงทุน มีหลายประเทศให้ความสนใจเข้ามาลงทุนทำธุรกิจในไทย ยกตัวอย่าง บริษัทที่ปรึกษากฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโดยบริษัทที่ปรึกษากฎหมายต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อคนไทยไปปรึกษาข้อกฎหมาย ข้อมูลต่างๆที่เป็นข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลที่เป็นข้อพิพาทสำคัญๆ ก็จะกลายเป็นข้อมูลของบริษัทที่เป็นต่างประเทศดังกล่าว ดังนั้น รัฐจึงควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล เช่น การจ้างที่ปรึกษาทางกฎหมาย จะต้องเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายที่เป็นคนไทยเท่านั้น โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่น ซึ่งคนไทยมีความสามารถไม่ด้อยไปกว่าชาติอื่นๆ และไม่ควรกลัวต่างชาติ อาจจะยอมเสียเปรียบต่างชาติบ้าง แต่ต้องอยู่ในขอบเขต และที่สำคัญ ม.ร. ชาญโชติ ย้ำว่า จะต้องไม่ยอมให้ต่างชาติเอาเปรียบตลอดเวลา และจะต้องกำหนดประเภทธุรกิจ และข้อจำกัดการประกอบธุรกิจไว้ให้เป็นของคนไทยอย่างชัดเจน

และในตอนท้าย ม.ล.ชาญโชติ ยังกล่าวว่า ที่สำคัญที่สุดก็คือเรื่องบุคลากร ซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจต้องเอาคนเป็นที่ตั้ง โดยเริ่มจากประชาชนคนไทย คือการสร้างคนซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญ โดยพิจารณาถึงความสามารถ ว่าคนไทยมีความสามารถในด้านใด ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คนไทยมีความสามารถในด้านการให้บริการ ในด้านการบริหารจัดการซึ่งจะต้องพัฒนาให้คนไทยสามารถบริหารจัดการร่วมกันอย่างเป็นทีม แต่อย่างไรก็ตาม แผนเศรษฐกิจของประเทศไทยฉบับปัจจุบัน กลับไม่กล่าวถึงเศรษฐกิจภาคบริการ ทั้งๆที่ภาคบริการมีความสำคัญ นอกจากนี้ ต้องให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME) เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ90 ของประเทศเป็น SME ที่มีความสามารถทั้งสิ้น

ผมอยากจะฝากประเด็นแง่คิดของม.ล.ชาญโชติ ซึ่งเป็นรองประธานคณะกรรมการธุรกิจบริการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนพิจารณา เพราะธุรกิจปัจจุบันพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ก็ควรที่จะหันมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกรอบของกฎหมายให้ทันสมัย รองรับความต้องการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยเข้มแข็ง สามารถแข่งขันในเวทีระดับโลกได้อย่างแท้จริง

อาจารย์รุจิระ บุนนาค

กรรมการผู้จัดการ สำนักงานกฎหมายมารุต บุนนาค

View :1459