Archive

Archive for the ‘Cloud Computing’ Category

ก.ไอซีที จับมือ ทีโอที และ กสท พัฒนาระบบ Wi-Fi ในโครงการแท็บเล็ตเพื่อเด็ก ป.1

March 6th, 2013 No comments

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามสัญญา “เช่าใช้บริการวงจรสื่อสารข้อมูลพร้อมอุปกรณ์ โครงการพัฒนาระบบโครงข่ายไร้สาย (Wi-Fi Network)” เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาแก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างกระทรวงไอซีที กับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ว่า เนื่องจากนโยบายของคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงไอซีทีจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ให้แก่โรงเรียนในโครงการ One Tablet per Child หรือ OTPC โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ควบคู่กับ การเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตร รวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานเพื่อให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ซึ่งปัจจุบันมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 27,231 โรงเรียน และ มีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประมาณ 858,886 คน แต่ยังขาดความพร้อมด้านระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายในห้องเรียน เพื่อใช้งานร่วมกับเครื่องแท็บเล็ตที่มีคุณสมบัติเฉพาะการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย Wi-Fi เท่านั้น ซึ่งจะสามารถสร้างโครงข่ายภายในห้องเรียนที่จะช่วยในเรื่องการบริหารจัดการเครื่องแท็บเล็ตให้ง่ายต่อการเรียนการสอนระหว่างครูกับกลุ่มนักเรียน และใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วที่เหมาะสม

กระทรวงไอซีทีเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ให้แก่การศึกษาไทย จึงได้ดำเนินโครงการดังกล่าวขึ้นโดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โครคมนาคม จำกัด (มหาชน) ให้เช่าใช้บริการวงจรสื่อสารข้อมูลพร้อมอุปกรณ์ เพื่อพัฒนาระบบโครงข่ายไร้สาย (Wi-Fi Network) เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เครื่องแท็บเล็ตไปยังห้องเรียนในโรงเรียนต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทั้ง 2 บริษัทได้ดำเนินการต่อยอดจากโครงการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ หรือ MOENet แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การค้นคว้าหาความรู้ของนักเรียน ครู และบุคลากรตามโรงเรียนต่างๆ

สำหรับการลงนามในสัญญาดังกล่าวเป็นความร่วมมือของทั้ง 2 บริษัทในลักษณะกิจการค้าร่วม เพื่อวางระบบโครงข่าย Wi-Fi Network ที่ถูกออกแบบไว้ให้เป็นแบบผสม (Hybrid Architecture) ที่ยังคงรูปแบบการบริหารจัดการจากศูนย์กลาง (Centralized Management) ที่ง่ายต่อการควบคุมดูแล การตรวจสอบติดตาม (Monitoring) การแก้ไขปัญหาต่างๆ (Troubleshooting) แต่สามารถลดปัญหาการคับคั่งของข้อมูลที่ศูนย์กลางเพราะมีอุปกรณ์ในการบริหารจัดการ (Traffic Management) ที่ติดตั้งอยู่บนโครงข่าย MOENet ตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ ซึ่งมีทั้งหมดจำนวน 27,231 วงจร แบ่งเป็น บมจ.ทีโอที 26,889 วงจร และ บมจ. กสท โทรคมนาคม 342 วงจร ผู้ใช้งานที่เป็น นักเรียน ครู และบุคลากรตามโรงเรียนต่างๆ รวมทั้งประชาชนทั่วไป ที่เข้าใช้งานผ่านโครงข่ายแบบสายและไร้สาย จะถูกกำหนดสิทธิ์การเข้าใช้งาน (Authentication) พร้อมระบบการจัดเก็บข้อมูลการจราจรทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (Log System) และระบบการบริหารจัดการข้อมูลที่แตกต่างกัน (Traffic Management) เช่น การจำแนกเส้นทางของข้อมูลในโครงข่ายภายใน (Intranet) และภายนอก (Internet) รวมถึงการมีอุปกรณ์ป้องกันการโจมตีเครือข่าย (Firewall) จากผู้ไม่หวังดี (Hacker) เข้าไปยังอุปกรณ์โครงข่ายภายในโรงเรียนต่างๆ ที่อยู่ภายในโครงการ MOEnet ได้ โดยทั้ง 2 บริษัทจะต้องจัดหาอุปกรณ์และดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพความเร็วของวงจรสื่อสารข้อมูล (Bandwidth) ให้ไม่ต่ำกว่า 4 Mbps และดำเนินการเปลี่ยนปรับปรุงรูปแบบของสื่อสัญญาณระบบอินเทอร์เน็ตให้มีความเสถียร โดยให้ใช้ระบบสื่อสัญญาณทางสายชนิดเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง ในคลื่นความถี่สำหรับรับส่งข้อมูลในย่านคลื่นความถี่ 2.4 GHz และต้องมี Operating Channel เป็นไปตามมาตรฐานของ Federal Communications Commission (FCC) และ European Telecommunications Institute (ETSI) รวมถึงบริหารระบบจัดเก็บข้อมูลการจราจรทางอิเล็กทรอนิกส์ (Log System) เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้ นอกจากนั้นต้องจัดอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบหรือพนักงานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พร้อมจัดทำคู่มือการใช้งานและการดูแลระบบเบื้องต้น อีกด้วย

สำหรับกระทรวงไอซีทีจะเป็นผู้ประสานงานเรื่องข้อมูลและสถิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการฯ ให้กับทั้ง 2 บริษัท พร้อมให้ความช่วยเหลืออำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายซึ่งคาดว่าโครงการนี้จะเสร็จสิ้นภายใน 300 วันหลังจากลงนามในสัญญา

“การลงนามสัญญาครั้งนี้จะช่วยให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กว่า 8 แสนคนในโรงเรียนสังกัด สพฐ. กว่า 2 หมื่นโรง ได้ใช้เครื่องแท็บเล็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเป็นการพัฒนาวงการศึกษาไทย และเป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559 ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพของเด็กวัยเรียน ให้มีความรู้ทางวิชาการ ทักษะและสติปัญญาที่สามารถศึกษาหาความรู้ และต่อยอดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถปรับตัวให้รู้เท่าทันกับข่าวสารภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่รวดเร็ว” น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าว

View :1543

ไอบีเอ็มเปิดตัวบริการ SmartCloud Application Services

December 25th, 2012 No comments


ชี้ Big Data คือเหตุผลสำคัญที่สุด สำหรับใช้ แพลตฟอร์มคลาวด์ในรูปแบบของบริการ

25 ธันวาคม 2555: ไอบีเอ็มเปิดตัวบริการคลาวด์ Platform as a Service (PaaS) ภายใต้ชื่อ “IBM ” ช่วยให้องค์กรสามารถสร้างและปรับใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ของตนเองได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้แพลตฟอร์มคลาวด์คอมพิวติ้ง PaaS ของไอบีเอ็ม ซึ่งครอบคลุมทั้งในส่วนของมิดเดิลแวร์ ระบบตรวจสอบ เครือข่าย เซิร์ฟเวอร์ และสตอเรจอย่างครบวงจร เพื่อให้องค์กรพร้อมรับมือ กับโลกที่เกิดความยุ่งยากซับซ้อนจากการถาโถมด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาล และการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างรวดเร็วมากขึ้น ทำให้องค์กรมีความจำเป็นในการเพิ่มความคล่องตัวให้กับกระบวนการพัฒนาแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ซึ่งต้องอาศัยระบบคลาวด์คอมพิวติ้งในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า แพลตฟอร์มในรูปแบบของบริการ Platform as a Service

ภายใต้ SmartCloud Application Services ไอบีเอ็มได้รวมความเชี่ยวชาญไว้ในชุดบริการร่วมและแพทเทิร์นที่ผนวกรวมไว้แล้ว ซึ่งจะช่วยเร่งการพัฒนาและส่งมอบแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ พร้อมทั้งขจัดข้อผิดพลาดที่เกิดจากบุคลากร และช่วยให้ได้รับผลลัพธ์ที่สอดคล้องกัน แพทเทิร์นของแอพพลิเคชั่นเหล่านี้สามารถปรับใช้กับระบบคลาวด์สาธารณะ ด้วย IBM SmartCloud Enterprise หรือใช้กับระบบคลาวด์ภายในองค์กร ด้วย IBM PureApplication System หรือผ่านทาง IBM Workload Deployer เนื่องจากความต้องการของแต่ละแอพพลิเคชั่นย่อมแตกต่างกัน แพทเทิร์นที่ปรับแต่งได้และรองรับหลายแพลตฟอร์มนี้จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมการปรับใช้แอพพลิเคชั่นได้อย่างยืดหยุ่นและครบถ้วนสมบูรณ์

ผลการศึกษาชุดใหม่ของไอบีเอ็ม Center for Applied Insights จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารฝ่ายไอทีกว่า 1,500 คนจาก 18 ประเทศ พบว่าผู้บริหารฝ่ายไอทีที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลพร้อมที่จะปรับใช้ PaaS ในทันทีเพื่อเพิ่มความได้เปรียบทางด้านธุรกิจ พร้อมทั้งระบุว่าข้อมูลจำนวนมหาศาล หรือบิ๊กดาต้า (Big Data) คือเหตุผลสำคัญอันดับ 1 ในบรรดาโครงการสำคัญๆ ที่องค์กรตั้งเป้าหมายเอาไว้ นอกจากนี้ ผลการศึกษายังชี้ว่า เกือบ 20 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามกำลังใช้ PaaS อยู่ในปัจจุบัน และกว่าครึ่งหนึ่งรับทราบเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่นี้

ผู้บริหารในส่วนงานธุรกิจและเทคโนโลยีเริ่มที่จะมองหาระบบคลาวด์คอมพิวติ้งรูปแบบใหม่ เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านการประมวลผล และเร่งการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ทั้งนี้ PaaS แตกต่างจากบริการคลาวด์คอมพิวติ้งอื่นๆ เช่น โครงสร้างพื้นฐานในรูปแบบของบริการ (Infrastructure as a Service) และซอฟต์แวร์ในรูปแบบของบริการ (Software as a Service) โดย PaaS นำเสนอรากฐานของบริการแอพพลิเคชั่น เครื่องมือ และเทมเพลต สำหรับให้องค์กรต่างๆ เช่าและสร้างโปรแกรมซอฟต์แวร์ของตนเองได้อย่างรวดเร็ว และปรับใช้บนสภาพแวดล้อมได้อัตโนมัติ
ผลการศึกษาระบุว่า 49 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริหารฝ่ายไอทีตระหนักถึงความสำคัญของ PaaS ซึ่งเป็นหนทางที่จะช่วยผลักดันการสร้างสรรค์นวัตกรรมและปรับปรุงอายุการใช้งานแอพพลิเคชั่นทั้งหมดทั่วทั้งองค์กร ปัจจุบันผู้บริหารเหล่านี้กำลังพิจารณาเกี่ยวกับการใช้ PaaS เป็นแนวทางในทางปฏิบัติสำหรับการขยายระบบในอนาคต ผู้บริหารฝ่ายไอทีเชื่อว่า PaaS จะสร้างความแตกต่างและก่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจอย่างมาก เพราะจะสร้างมาตรฐานสำหรับการพัฒนา ปรับใช้ ผลิต และบำรุงรักษา

นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจบริการ บริษัทไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “เช่นเดียวกับที่ผู้ผลิตรถยนต์ใช้แพลตฟอร์มหรือแชสซีร่วมกันเพื่อผลิตรถยนต์หลากหลายรุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ PaaS จะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถกำหนดมาตรฐานสำหรับแพลตฟอร์มไอทีของตนเอง และนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้อย่างเหนือชั้น โดยไอบีเอ็มมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนแพลตฟอร์มคลาวด์ให้รองรับการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม เพื่อผลักดันการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางธุรกิจบนแอพพลิเคชั่นหลักๆ ขององค์กร หนึ่งในคุณประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของ PaaS ก็คือ ความสามารถในการใช้แพทเทิร์น ซึ่งช่วยให้มีเทมเพลตที่ผ่านการทดสอบแล้วสำหรับเริ่มต้นการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่เฉพาะเจาะจงได้ทันทีภายในเวลาอันรวดเร็ว ด้วยคุณสมบัติที่ดีของระบบคลาวด์ ถ้าคุณเป็นบริษัทผู้ให้บริการด้านการเงิน และคุณต้องการโมบายล์แอพพลิเคชั่นสำหรับลูกค้าที่ต้องการค้นหารายละเอียดเกี่ยวกับการออมเงินในรูปแบบต่างๆ คุณก็คงไม่อยากเริ่มต้นตั้งแต่ศูนย์ แพทเทิร์นของ PaaS จะช่วยให้คุณมีชุดเครื่องมือที่พร้อมสรรพสำหรับการสร้างโมบายล์แอพพลิเคชั่นได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากสำหรับเทคโนโลยี”

ดูรายงานวิจัยเกี่ยวกับ PaaS ของไอบีเอ็มได้ที่ www.ibm.com/cai/paas

View :1460

ซิป้าพร้อมหนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย แนะใช้เทคโนโลยีคลาว์ดขยายศักยภาพและโอกาส

December 19th, 2012 No comments

กรุงเทพฯ 19 ธันวาคม 2555 : สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ขานรับนโยบายรัฐพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้เติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมยกระดับภาพรวมและขยายรายได้การท่องเที่ยวไทย ด้วยโครงการ Cloud Studio: Tourism Solutions โดยเดินสายแนะนำซอฟต์แวร์โซลูชั่นและเทคโนโลยีคลาว์ดแก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวใน 9 เมืองด้านท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ เกิดมูลค่าทางธุรกิจกว่า 100 ล้านบาท นับเป็นมิติใหม่ในการรวมตัวของภาครัฐ ภาคเอกชน กลุ่มภาคธุรกิจด้านท่องเที่ยว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญถึงการส่งเสริมการนำซอฟต์แวร์ไปใช้ขยายศักยภาพการแข่งขัน โดย Tourism เป็นหนึ่งใน 6 อุตสาหกรรมหลักที่ซิป้าส่งเสริมพัฒนาซอฟต์แวร์โซลูชั่นและการให้บริการซอฟต์แวร์ (Software as a Services) อย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม

นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า “ยอมรับว่าซอฟต์แวร์มีบทบาทอย่างมากกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมในปัจจุบัน โดยซิป้าได้วางเป้าหมายที่จะพัฒนาซอฟต์แวร์โซลูชั่นและการให้บริการซอฟต์แวร์เพื่อรองรับ 6 อุตสาหกรรมหลัก คือ Tourism, Logistics, Food & Agriculture, Healthcare, Education และ Jewelry อันเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่สร้างรายได้แก่ประเทศหรือเป็นภาคส่วนที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพประชากรไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักที่นำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก ประกอบกับนโยบายรัฐบาลที่ประกาศให้ปี พ.ศ. 2554 – 2555 เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year) ซิป้าจึงร่วมกับสมาคมส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย จัดกิจกรรม Road Show ภายในประเทศ ภายใต้ชื่อโครงการ Cloud Studio: Tourism Solutions ด้วยแนวคิด ขับเคลื่อนท่องเที่ยวไทยด้วยคลาว์ด” เป็นการนำซอฟต์แวร์ด้านการท่องเที่ยวที่พัฒนาโดยผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยและให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตไปเผยแพร่และแนะนำให้เป็นที่รู้จักในแวดวงธุรกิจการท่องเที่ยวที่ครอบคลุมธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท บริษัททัวร์ สปา ร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยว รถเช่า ในจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวรวม 9 เมือง ได้แก่ พัทยา เชียงใหม่ เขาใหญ่ ภูเก็ต หัวหิน เกาะสมุย กาญจนบุรี อุดรธานี และกรุงเทพฯ โดยที่จุดเด่นของการให้บริการซอฟต์แวร์ผ่านคลาวด์เทคโนโลยีคือผู้ใช้ไม่ต้องจัดหาระบบซอฟต์แวร์เอง เพียงแต่ขอใช้ในลักษณะเป็นบริการและจ่ายเงินตามปริมาณการใช้งาน ผู้ประกอบการท่องเที่ยวไม่ต้องลงทุนมาก ขณะนี้ได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้รับการตอบรับอย่างดี และเกิดมูลค่าทางธุรกิจมากกว่า 100 ล้านบาท”

“กิจกรรม Road Show ภายในประเทศ Cloud Studio: Tourism Solutions เป็นหนึ่งในกิจกรรมเชิงรุกด้านการตลาดของซิป้าที่ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยการจัดงานแต่ละครั้งจะประกอบด้วยสัมมนาสำหรับผู้บริหารและด้านเทคนิค การแสดงโซลูชั่นด้านการท่องเที่ยวโดยผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย การ Networking การสาธิตการใช้ซอฟต์แวร์ (Demonstration) และการเข้าพบสมาคม หน่วยงานด้านการท่องเที่ยว ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างการรับรู้ของตลาดด้านเทคโนโลยีคลาว์ดแก่ธุรกิจท่องเที่ยวแล้ว ซิป้ายังมีบทบาทในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย และกิจกรรมนี้ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเห็นความสำคัญของซอฟต์แวร์ที่สามารถเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและขยายโอกาสด้านการตลาด” นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว กล่าวเพิ่มเติม

ดร.พีรสันต์ บุณยคุปต์ นายกสมาคมส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย กล่าวถึงการจัดกิจกรรมครั้งนี้ว่า “สมาคมส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยได้ร่วมดำเนินโครงการ Cloud Studio: Tourism Solutions กับซิป้า โดยนำซอฟต์แวร์ไทยด้านการท่องเที่ยวที่พัฒนาโดยผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยไปร่วมแสดงในการจัดงานแต่ละครั้ง และแบ่งออกเป็น 4 โซน ได้แก่ Hotel Solutions, Travelling, Spa & Restaurant และ Mobility and Digital Marketing เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนในโซลูชั่นที่สนใจ โดยได้รับผลตอบรับเป็นที่น่าพึงพอใจ และเนื่องจากแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน ความสนใจด้านโซลูชั่นและแนวทางการตลาดจึงแตกต่างกันไป กิจกรรมครั้งนี้นอกจากจะทำให้พบกับกลุ่มผู้ซื้อแล้ว ยังช่วยให้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยได้เห็นช่องทางการตลาดและภาพรวมของพื้นที่แต่ละแห่งชัดเจนขึ้น” ซึ่งผู้ประกอบการแต่ละรายมีลูกค้าให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามจะต้องติดตามในการให้บริการลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ในปี 2555 ซิป้าได้นำผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยร่วมแสดงโซลูชั่นภายในงานด้านการท่องเที่ยวและด้านเทคโนโลยีคลาว์ดในต่างประเทศ รวมทั้งสิ้น 4 งาน ได้แก่ งาน 3rd Expo ณ ประเทศญี่ปุ่น งาน Malaysian International Tourism Exchange ณ ประเทศมาเลเซีย งาน JATA Tourism Forum &Travel Showcase ณ ประเทศญี่ปุ่น และงาน ITB ณ ประเทศสิงคโปร์ และเป็นที่น่าสนใจว่าซอฟต์แวร์โซลูชั่นของไทยเป็นที่รู้จักและเกิดการยอมรับในตลาดต่างประเทศโดยเกิดมูลค่าซื้อขายทางธุรกิจ ประมาณ 328 ล้านบาท ซึ่งหากรวมกับมูลค่าส่วนตลาดในประเทศ มูลค่ารวมของตลาดของซอฟต์แวร์ด้านท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมมีมากกว่า 428 ล้านบาท

View :1585

ไซแมนเทคเผยผลสำรวจสถานะของดาต้าเซ็นเตอร์ ระบุโมบายล์คอมพิวติ้ง, เวอร์ช่วลไลเซชั่น และคลาวด์ ส่งผลให้ดาต้าเซ็นเตอร์ในไทยซับซ้อนมากขึ้น

December 7th, 2012 No comments

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – 7 ธันวาคม 2555 – บริษัท ไซแมนเทค คอร์ป (Nasdaq: SYMC) เปิดเผยว่า 79 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรรายงานถึงความซับซ้อนที่เพิ่มมากขึ้นในดาต้าเซ็นเตอร์ จากผลการสำรวจสถานะของดาต้าเซ็นเตอร์ (State of the Data Center Survey) ประจำปี 2555 ผลการสำรวจดังกล่าวซึ่งจัดหาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหาท้าทายสำคัญๆ ที่องค์กรทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าวฯ เมื่อดาต้าเซ็นเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นย้ำถึงปัจจัยหลักที่ทำให้ดาต้าเซ็นเตอร์มีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงผลกระทบต่อธุรกิจในปัจจุบัน และโครงการริเริ่มล่าสุดที่ฝ่ายไอทีกำลังดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา สาเหตุของความซับซ้อนในดาต้าเซ็นเตอร์เกิดจากหลายปัจจัย โดยผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าการปรับใช้แนวทางการบริหารจัดการข้อมูลอย่างโปร่งใสเป็นโครงการหลักที่องค์กรต่างๆ กำลังดำเนินการเพื่อรับมือกับปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นในดาต้าเซ็นเตอร์ แบบสำรวจสถานะของดาต้าเซ็นเตอร์เน้นย้ำถึงความสำคัญในการดำเนินมาตรการเพื่อจัดการทรัพยากรภายในองค์กรอย่างชาญฉลาด ควบคู่ไปกับการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และควบคุมปริมาณข้อมูลที่เพิ่มสูงขึ้น

นายประมุท ศรีวิเชียร ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ไซแมนเทค กล่าวว่า “ปัจจุบัน องค์กรธุรกิจในเมืองไทยมีการสร้างข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในดาต้าเซ็นเตอร์ ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจเปรียบเสมือนการขับเคลื่อนและผลักดันให้ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว หรืออาจฉุดรั้งองค์กรไม่ให้ก้าวไปข้างหน้า ความแตกต่างอยู่ที่ว่าองค์กรจะต้องสามารถรับมือกับปัญหาท้าทายที่รออยู่เบื้องหน้า ด้วยการปรับใช้แนวทางการควบคุม เช่น การกำหนดมาตรฐาน หรือสร้างกลยุทธ์การบริหารข้อมูลอย่างโปร่งใส เพื่อปกป้องข้อมูลให้ปลอดภัยและหลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น”

ความซับซ้อนของดาต้าเซ็นเตอร์เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง
องค์กรทุกขนาดในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมและทุกภูมิภาครายงานเกี่ยวกับความซับซ้อนที่เพิ่มมากขึ้นในดาต้าเซ็นเตอร์ จากผลสำรวจ พบว่าความซับซ้อนของดาต้าเซ็นเตอร์ส่งผลกระทบต่อทุกแง่มุมของการประมวลผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาความปลอดภัยและโครงสร้างพื้นฐาน รวมไปถึงการกู้คืนระบบ การจัดเก็บข้อมูล และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกให้คะแนนความซับซ้อนในทุกๆ ด้านในระดับที่ใกล้เคียงกัน (6.6 คะแนนขึ้นไป จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) โดยความปลอดภัยมีคะแนนสูงสุดที่ 7.1 คะแนน ระดับความซับซ้อนโดยเฉลี่ยสำหรับบริษัททั่วโลกอยู่ที่ 6.7 คะแนน ส่วนความซับซ้อนโดยเฉลี่ยในทวีปอเมริกาอยู่ในระดับสูงสุดที่ 7.8 ขณะที่เอเชีย-แปซิฟิกมีคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 6.2

ผลกระทบจากความซับซ้อนของดาต้าเซ็นเตอร์มีความหลากหลายและก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายสูงมาก
มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ดาต้าเซ็นเตอร์ซับซ้อนมากขึ้น ประการแรกคือ ผู้ตอบแบบสอบถามรายงานว่าต้องจัดการกับแอพพลิเคชั่นที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น และแอพพลิเคชั่นดังกล่าวมีความสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจ โดยในระดับโลก 65 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าแอพพลิเคชั่นที่สำคัญต่อธุรกิจมีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่วนในประเทศไทย 95 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทที่ตอบแบบสอบถามระบุว่าจำนวนแอพพลิเคชั่นที่สำคัญต่อธุรกิจมีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือเพิ่มขึ้นอย่างมาก และปัจจัยสำคัญอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดความซับซ้อนสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ในเมืองไทย ได้แก่ การเติบโตของแนวโน้มไอทีสำคัญๆ เช่น ปริมาณข้อมูลที่เพิ่มสูงขึ้น (54 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถาม), คลาวด์คอมพิวติ้งสาธารณะ (49 เปอร์เซ็นต์), เซิร์ฟเวอร์และเดสก์ท็อปเวอร์ช่วลไลเซชั่น (46 เปอร์เซ็นต์สำหรับแต่ละรายการ) และคลาวด์คอมพิวติ้งภายในองค์กร (46 เปอร์เซ็นต์)

ผลการสำรวจเผยให้เห็นว่าความซับซ้อนที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ในเมืองไทยก่อให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวาง โดยผลกระทบที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดในเมืองไทยก็คือ ต้องใช้เวลานานขึ้นในการค้นหาข้อมูล โดยเกือบครึ่งหนึ่ง (47 เปอร์เซ็นต์) ขององค์กรในประเทศไทยระบุว่าเป็นผลกระทบจากความซับซ้อน ผลกระทบอื่นๆ ได้แก่ ใช้เวลานานขึ้นในการจัดสรรสตอเรจ (40 เปอร์เซ็นต์), การโยกย้ายสตอเรจ (36 เปอร์เซ็นต์), ความคล่องตัวลดลง (36 เปอร์เซ็นต์), การละเมิดระบบรักษาความปลอดภัย (36 เปอร์เซ็นต์), ข้อมูลสูญหายหรือถูกจัดเก็บไว้ผิดที่ผิดทาง (36 เปอร์เซ็นต์), ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น (35 เปอร์เซ็นต์), ระบบหยุดทำงาน (35 เปอร์เซ็นต์) และความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องดำเนินคดี (33 เปอร์เซ็นต์)

องค์กรทั่วไปในระดับโลกประสบปัญหาดาต้าเซ็นเตอร์หยุดทำงานโดยเฉลี่ย 16 ครั้งในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายโดยรวม 5.1 ล้านดอลลาร์ โดยสาเหตุหลักที่พบเห็นได้มากที่สุดก็คือ ระบบหยุดทำงาน ตามมาด้วยข้อผิดพลาดของบุคลากร และภัยธรรมชาติ

ฝ่ายไอทีดำเนินมาตรการเพื่อบรรเทาปัญหาความยุ่งยากซับซ้อน
จากผลการสำรวจ พบว่าองค์กรต่างๆ ในประเทศไทยดำเนินมาตรการหลายอย่างเพื่อลดความยุ่งยากซับซ้อน รวมถึงการกำหนดมาตรฐานสำหรับระบบรักษาความปลอดภัย การฝึกอบรมบุคลากรเพิ่มเติม การกำหนดมาตรฐานสำหรับฮาร์ดแวร์ การเพิ่มงบประมาณ และการปรับใช้ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง ที่จริงแล้ว 69 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามในเมืองไทยมองว่าการเพิ่มงบประมาณและการจัดฝึกอบรมบุคลากรเพิ่มเติม (73 เปอร์เซ็นต์) ค่อนข้างมีความสำคัญหรือมีความสำคัญอย่างมากต่อการจัดการปัญหาความยุ่งยากซับซ้อนของดาต้าเซ็นเตอร์ อย่างไรก็ดี องค์กรในเมืองไทยดำเนินโครงการริเริ่มที่สำคัญที่สุดเพียงอย่างเดียว นั่นคือ การปรับใช้แนวทางการบริหารข้อมูลอย่างโปร่งใสและครบวงจร โดยเป็นโครงการที่จะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถจำแนกประเภท เก็บรักษา และค้นหาข้อมูล เพื่อลดความเสี่ยงที่เกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายในการจัดการข้อมูล กำหนดนโยบายการเก็บรักษา และเพิ่มความคล่องตัวให้กับกระบวนการสืบค้นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (eDiscovery) ทั้งนี้ 95 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรในประเทศไทยกำลังพูดคุยเรื่องการบริหารข้อมูลอย่างโปร่งใสหรือได้ดำเนินการทดลองหรือโครงการที่แท้จริง

ปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับการบริหารข้อมูลอย่างโปร่งใสในเมืองไทย ได้แก่ การรักษาความปลอดภัย (77 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าค่อนข้างสำคัญหรือสำคัญอย่างมาก), ความพร้อมใช้งานของเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการบริหารข้อมูลอย่างโปร่งใส (62 เปอร์เซ็นต์), ปัญหาเรื่องกฎระเบียบ (56 เปอร์เซ็นต์), ดาต้าเซ็นเตอร์มีความซับซ้อนมากขึ้น (55 เปอร์เซ็นต์), ปัญหาด้านกฎหมาย (46 เปอร์เซ็นต์) และการเพิ่มขึ้นของข้อมูล (43 เปอร์เซ็นต์)

องค์กรในเมืองไทยมีเป้าหมายหลายประการเกี่ยวกับการบริหารข้อมูลอย่างโปร่งใส รวมถึงการปรับปรุงความปลอดภัย (74 เปอร์เซ็นต์ระบุว่ามีความสำคัญ), การตั้งค่าการปกป้องตามคุณประโยชน์ของข้อมูล (71 เปอร์เซ็นต์), ความสะดวกในการค้นหาข้อมูลที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที (68 เปอร์เซ็นต์), ลดค่าใช้จ่ายในการจัดการและการจัดเก็บข้อมูล (63 เปอร์เซ็นต์สำหรับแต่ละรายการ) และลดความเสี่ยงทางกฎหมายและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (60 เปอร์เซ็นต์สำหรับแต่ละรายการ)

คำแนะนำของไซแมนเทค
ต่อไปนี้คือคำแนะนำที่จะช่วยให้องค์กรหลีกเลี่ยงผลกระทบจากความซับซ้อนของดาต้าเซ็นเตอร์:

- กำหนดให้ผู้บริหารระดับสูงเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารข้อมูลอย่างโปร่งใส เริ่มต้นด้วยโครงการที่ให้ผลตอบแทนสูง เช่น การป้องกันข้อมูลสูญหาย การจัดเก็บข้อมูลระยะยาว และ eDiscovery เพื่อเก็บรักษาข้อมูลสำคัญ รวมทั้งค้นหาข้อมูลที่คุณต้องการและลบข้อมูลส่วนที่เหลือ

- รองรับการตรวจสอบหลากหลายแพลตฟอร์ม เข้าใจบริการธุรกิจที่ฝ่ายไอทีจัดหา รวมถึงสิ่งต่างๆ ทั้งหมดที่เชื่อมโยง เพื่อลดปัญหาระบบหยุดทำงานและการสื่อสารผิดพลาด

- ทำความเข้าใจว่าคุณมีสินทรัพย์ไอทีอะไรบ้าง รวมไปถึงลักษณะการใช้งานและผู้ใช้ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและความเสี่ยง องค์กรไม่ต้องซื้อเซิร์ฟเวอร์และสตอเรจโดยไม่จำเป็น ขณะที่ทีมงานจะต้องรับผิดชอบต่อทรัพยากรที่ใช้ และบริษัทมั่นใจได้ว่าจะไม่ประสบปัญหาขาดแคลนทรัพยากร

- ลดจำนวนแอพพลิเคชั่นสำรองเพื่อรองรับการกู้คืนระบบตามข้อกำหนด และลดค่าใช้จ่ายในการลงทุน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม

- ปรับใช้เทคโนโลยีการขจัดข้อมูลซ้ำซ้อนในทุกๆ ที่ เพื่อรับมือกับข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการแบ็คอัพข้อมูล

-ใช้อุปกรณ์เพื่อเพิ่มความสะดวกในการแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูลบนเครื่องจริงและเวอร์ช่วลแมชชีน

การสำรวจสถานะของดาต้าเซ็นเตอร์ประจำปี 2555 ของไซแมนเทค
การสำรวจสถานะของดาต้าเซ็นเตอร์ (State of the Data Center Survey) ประจำปี 2555 ของไซแมนเทค ดำเนินการโดย ReRez Research เมื่อเดือนมีนาคม 2555 โดยผลการสำรวจอ้างอิงคำตอบจากบุคลากรฝ่ายไอที 2,453 คนจากองค์กรต่างๆ ใน 34 ประเทศ รวมถึง 100 องค์กรจากประเทศไทย ผู้ตอบแบบสอบถามประกอบด้วยพนักงานอาวุโสฝ่ายไอทีที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและกลยุทธ์รวมไปถึงพนักงานที่ดูแลเรื่องการวางแผนและการจัดการไอที

View :1797

รมว.ไอซีที – ผช.รมว.ศึกษาธิการเยี่ยมชมโครงการนำร่องใช้ Braincloud Solution บนแท็บเล็ต

November 23rd, 2012 No comments

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที และ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ เยี่ยมชมโครงการนำร่องทดลองใช้ แพล็ตฟอร์มอัจฉริยะและอินเตอร์เน็ตไร้สายความความเร็วสูง เพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนการสอนผ่านแท็บเล็ต ป.1

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 : บริษัท โอเพ่นเฟซ (ประเทศไทย) จำกัด แถลงข่าวเปิดตัวโครงการนำร่องทดลองใช้ Braincloud Solution ซึ่งเป็นแพล็ตฟอร์มระบบจัดการการเรียนรู้ เสริมประสิทธิภาพการเรียนการสอนผ่านแท็บเล็ตนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ควบคู่ไปกับเทคโนโลยี Virtual Fiber ซึ่งเป็นเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง สนองนโยบายแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย หรือ One Tablet Per Child (OTPC) โดยมี น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และ นางฉวีวรรณ คลังแสง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)ให้เกียรติเข้าเยี่ยมชมโครงการ

นายธันธเนศ สมบูรณ์ทรัพย์ ประธานบริหารโครงการ กล่าวว่า “โครงการทดลองระบบ Braincloud Solution เป็นการนำสองเทคโนโลยีสำคัญมาใช้เพื่อพัฒนาศักยภาพการทำงานของเครื่องแท็บเล็ต พีซี และระบบการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ โครงการทดลองระบบ Braincloud Solution ประกอบด้วย 1. การทดสอบอุปกรณ์ Braincloud Virtual Fiber ซึ่งทำหน้าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูงจากเสาสัญญาณของ TOT มาสู่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ และ 2. การใช้งานระบบการจัดการการเรียนรู้ หรือ Learning Management System (LMS) ภายใต้ชื่อระบบ Braincloud Platform

ระบบการจัดการการเรียนรู้ Braincloud Platform ประกอบด้วยสองส่วนสำคัญกล่าวคือส่วนแรกซึ่งเป็นระบบการจัดการการเรียนรู้ผ่าน ที่เรียกว่า Braincloud LMS ซึ่งได้มีการพัฒนาให้กระทรวงศึกษาสามารถจัดการและคัดกรองเนื้อหา รวมถึงออกแบบแผนการเรียนการสอนและบทเรียนสำหรับนักเรียนได้โดยตรง โดยการจัดการแผนการเรียนการสอนเนื้อหาและบทเรียนนั้น ได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับกระทรวง ระดับโรงเรียนและระดับครูผู้สอน

ในการจัดการระดับกระทรวงนั้น Braincloud LMS สามารถช่วยให้กระทรวงศึกษาธิการบรรจุ แก้ไข หรือลบเนื้อหาและบทเรียนได้โดยตรง โดยไม่ต้องให้โรงเรียนในโครงการจัดส่งคืนเครื่องแท็บเล็ตพีซีกลับมายังกระทรวงทุกครั้งที่จะดำเนินการบรรจุเนื้อหาและบทเรียนใหม่ เป็นการประหยัดเวลาและงบประมาณที่อาจ

เสียไปกับการขนส่ง นอกจากนี้ Braincloud LMS ยังมีระบบการประเมินและรายงานผลการใช้งานขั้นสูง เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบการใช้งานแท็บเล็ตพีซีและติดตามความคืบหน้าในการเรียนของนักเรียน

ขณะเดียวกัน ในระดับโรงเรียน Braincloud LMS ออกแบบให้โรงเรียนสามารถออกแบบบทเรียนหรือเนื้อหาการเรียนการสอนเพิ่มเติมจากที่กระทรวงศึกษากำหนด รวมถึง ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมของโรงเรียนผ่านทางแท็บเล็ตพีซีแต่ละเครื่อง

ส่วนการจัดการในระดับครูผู้สอน Braincloud LMS มีระบบการจัดการห้องเรียนอัจฉริยะ เช่น การควบคุมแท็บเล็ตด้วยจอ Controller Surface หรือด้วยคอมพิวเตอร์ในระหว่างการเรียนการสอน เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถควบคุมการใช้งานแท็บเล็ตพีซีของนักเรียนในชั้นเรียน สามารถทำการส่งไฟล์หรือเนื้อหาเข้าสู่เครื่องแท็บเล็ต พีซี ของนักเรียนแต่ละคนได้โดยตรง รวมทั้งล็อกหน้าจอนักเรียนในระหว่างการเรียนการสอนได้ ทำให้นักเรียนไม่สามารถเข้าใช้งานเว็บไซด์ที่ไม่เหมาะสม หรือเล่นเกมส์ในระหว่างการเรียนได้

ในส่วนที่ 2 ของ Braincloud Platform นั้น คือการนำระบบ Braincloud Connect ซึ่ง ถูกพัฒนาขึ้นจากแนวคิดที่ต้องการนำคุณภาพการศึกษาและทรัพยากรครูของโรงเรียนเอกชนหรือโรงเรียนรัฐในกรุงเทพมหานครไปสู่โรงเรียนในต่างจังหวัด โดยการแบ่งปันทรัพยากรครู โดยเฉพาะครูที่เป็นเจ้าของภาษา จะทำให้นักเรียนในต่างจังหวัดได้รับโอกาสทางการศึกษาที่เพิ่มขึ้นโดยมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่น้อยลง

Braincloud Connect เป็นระบบห้องเรียนทางไกลอัจฉริยะ 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบห้องเรียนสู่ห้องเรียน รูปแบบห้องเรียนสู่นักเรียน และ รูปแบบครูสู่นักเรียน นอกจากจะมีประโยชน์ในเรื่องการแบ่งปันทรัพยากรครูผู้สอนแล้ว ยังเปิดโอกาสให้นักเรียนที่อยู่ต่างภูมิภาคหรือต่างโรงเรียนกันได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ มุมมองความคิด และวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นอีกด้วย

อย่างไรก็ดี เนื่องจาก Braincloud Platform เป็นระบบ Cloud Computing ที่ต้องมีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสำหรับการใช้งาน โดยเฉพาะการรับ-ส่งข้อมูลในรูปแบบวีดีโอผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลขั้นต่ำอยู่ที่ 5 Mbps แต่ในปัจจุบัน เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีความเร็วที่เหมาะสมสำหรับรองรับการใช้งานนั้น อาจยังไม่ได้มีการจัดสรรเข้าสู่ทุกโรงเรียนในประเทศไทย โดยเฉพาะโรงเรียนที่อยู่ในเขตชนบท

ดังนั้น เพื่อรองรับการใช้งานระบบปฏิบัติการ Braincloud Solution ในระหว่างระยะเวลาการดำเนินโครงการ บริษัทจะพัฒนาระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของโรงเรียนในเขตชนบทจำนวน 3 แห่งที่เข้าร่วมโครงการทดลอง โดยติดตั้งอุปกรณ์ Braincloud Virtual Fiber ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่สำหรับการพัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยจะทำการเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลให้แก่โรงเรียนเป็นความเร็ว 30 Mbps ทั้งนี้อุปกรณ์ทำการรับส่งข้อมูลในความเร็วได้สูงสุดถึง 100 Mbps ทำให้โรงเรียนในเขตชนบทที่อยู่ภายในรัศมี 100 กิโลเมตรสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่มีความเร็วเหมาะสมในการใช้งานระบบ Braincloud Solution ได้

ด้าน น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที กล่าวว่า “One Tablet PC per Child จะทำให้เด็กไทยทุกคนได้รับโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยีไอซีที ลดความเหลื่อมล้ำในการยกระดับการศึกษา และช่วยเตรียมความพร้อมสำหรับการสู่ก้าวสู่ยุคแห่งเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้วิธีเรียนรู้ของเด็กเปลี่ยนไป สามารถต่อยอดการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองเครื่องมือเหล่านี้

การเริ่มนำร่องใช้แพล็ตฟอร์ม Braincloud Solution มาช่วยจัดการการเรียนการสอน ทำให้การใช้งานแท็บเล็ตมีความยืดหยุ่นและใช้งานเต็มประสิทธิภาพมากขึ้นโดยเฉพาะการเรียนการสอนทางไกลที่ช่วยกระจายองค์ความรู้ไปสู่พื้นที่ชายขอบ ขณะเดียวกันกระทรวงไอซีทีกำลังเร่งดำเนินการติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแก่โรงเรียนทั้งหมด 31,334 แห่ง เพื่อรองรับการเรียนการสอนด้วยแท็บเล็ตแบบออนไลน์ในปีการศึกษาหน้า”

นางฉวีวรรณ คลังแสง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า “โครงการนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ ไอซีที และบริษัท โอเพ่นเฟซ เป็นเสมือนการติดอาวุธเพิ่มศักยภาพการใช้งานแท็บเล็ต และช่วยให้กระทรวงศึกษาธิการบริหารจัดการหลักสูตรการเรียนการสอนได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการบรรจุเนื้อหาๆใหม่ผ่านระบบ Cloud

นอกจากนี้ ยังยืดหยุ่นในการออกแบบเนื้อหาการเรียนเพิ่มเติมจากที่กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดไว้ ช่วยให้แต่ละโรงเรียนดีไซน์หลักสูตรให้มีความเฉพาะเหมาะสมกับพื้นที่และ วัฒนธรรมท้องถิ่นของตัวเองได้อีกด้วย”

เบื้องต้นจะมีโรงเรียนเข้าร่วมนำร่อง 6 โรงเรียน โดยโรงเรียนวัดเสถียรรัตนารามเป็นโรงเรียนแรกที่เข้ารับการทดลองการใช้งาน โดยโรงเรียน ทดลองใช้งานระบบตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2555 ถึง เดือนมีนาคม 2556 และจะประเมินสรุปผลโครงการในเดือนเดือนเมษายน 2556

View :2025

แนวโน้มการให้บริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์กำลังเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นเทรนด์ไมโคร แจ้งเตือนผู้ใช้เพิ่มความปลอดภัยสำหรับข้อมูลส่วนบุคคล

October 9th, 2012 No comments

กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 9 ตุลาคม 2555 – รายงานจากบริษัทเทรนด์ไมโคร และศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บส์ เปิดเผยว่า ด้วยฟังก์ชันที่หลากหลายซึ่งช่วยจัดการงานต่างๆ ที่ปกติจะต้องใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์แบบดาวน์โหลดได้มาช่วยดำเนินการ ทำให้การสมัครใช้บริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลในระบบคลาวด์ส่วนบุคคลเกิดการขยายตัวอย่างเห็นได้ชัดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และจากผลการสำรวจเกี่ยวกับระบบคลาวด์ครั้งล่าสุดของบริษัท ไอดีซี พบว่า 19% ของร้านค้าปลีกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้เริ่มนำบริการการประมวลผลแบบคลาวด์บางอย่างมาปรับใช้แล้ว และมีอีกกว่า 30% กำลังประเมินการปรับใช้ระบบคลาวด์ในอีก 2 – 5 ปีจากนี้
การเพิ่มจำนวนของการใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลในระบบคลาวด์ส่วนบุคคลนั้น เป็นผลมาจากความสะดวกและความคุ้มค่า ตัวอย่างเช่น บริการจดบันทึกด้วยคลิกเดียวและบริการบุ๊กมาร์ก เช่น Evernote กำลังได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในประเทศญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน และเกาหลีใต้ โดยผู้ใช้จะใช้ฮาร์ดแวร์ในจำนวนที่น้อยลงเพื่ออัพโหลดข้อมูล ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและมีความสามารถด้านการประมวลผลที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากระบบคลาวด์จะเข้ามาช่วยจัดการปริมาณงานดั้งเดิมได้ในสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่ง โดยขณะนี้แอพพลิเคชั่นฟรีหรือราคาถูกที่อำนวยความสะดวกสำหรับการดาวน์โหลดสื่อข้อมูล การแบ่งปันข้อมูลทางสังคมออนไลน์ การธนาคาร และบริการโทรศัพท์มีพร้อมให้บริการอย่างแพร่หลาย
นางสาวไมลา ปิลาโอ ผู้อำนวยการฝ่ายการสื่อสารด้านการตลาด ศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บส์ กล่าวว่า “จากการวิจัยล่าสุดพบว่ากิจกรรมเกี่ยวกับระบบคลาวด์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อีเมลผ่านเว็บ การธนาคารออนไลน์ การช้อปปิ้งออนไลน์ การอัพโหลดรูปภาพ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผู้คนสมัยนี้นิยมจัดเก็บรูปถ่ายไว้บนเฟซบุ๊ก อินสตราแกรม หรือปิคาซ่า โดยไฟล์จะถูกอัพโหลดไปยังดร็อปบ็อกซ์ หรือกูเกิล ไดร์ฟ ในขณะที่ผู้ใช้กำลังเดินหน้าเข้าสู่ระบบคลาวด์อย่างต่อเนื่อง พวกเขาอาจยังไม่ทราบว่ามีภัยคุกคามรูปแบบใดบ้างที่พวกเขาจะต้องเผชิญ ปัจจุบันผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียโดยทั่วไปมักเต็มใจที่จะเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของตนเพื่อแลกกับบริการฟรีและโฆษณาที่ตรงตามเป้าหมายมากขึ้น ซึ่งนั่นอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดข้อมูลรั่วไหลได้”
สำหรับความเสี่ยงที่เป็นไปได้หลายอย่างที่ผู้ใช้อาจเผชิญในขณะที่ใช้บริการแบบคลาวด์ มีดังนี้
• แคมเปญภัยคุกคาม แคมเปญภัยคุกคามในจำนวนที่มากขึ้นจะกำหนดเป้าหมายไปที่ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ในรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยอาชญากรไซเบอร์สามารถเจาะระบบบัญชีที่ใช้รหัสผ่านที่คาดเดาง่ายหรือนำรหัสผ่านเดิมๆ กลับมาใช้ หรือข้อมูลที่ไม่มีการเข้ารหัสลับไว้
• ข้อบกพร่องในระบบหรือช่องโหว่ของแอพพลิเคชั่นอาจทำให้ข้อมูลตกอยู่ในภาวะเสี่ยงได้ เนื่องจากจะเปิดช่องให้อาชญากรไซเบอร์สามารถเข้ามาเจาะระบบ โดยช่องโหว่เหล่านี้สามารถเริ่มต้นได้จากอินเตอร์เฟสของแอพพลิเคชั่นเอง และแอพพลิเคชั่นฟรีที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่อาจทำให้ฐานข้อมูลผู้ใช้ในประเภทต่างๆ ตกอยู่ในความเสี่ยงได้เช่นกัน
• ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ผู้ใช้บริการอาจถูกเรียกเก็บค่าใช้จ่ายการใช้ข้อมูลหรือแอพพลิเคชั่นผ่านระบบมือถือ โดยแอพพลิเคชั่นที่เป็นอันตรายสามารถทำให้บริการระดับพรีเมียมเรียกเก็บค่าบริการในใบแจ้งหนี้ถัดไปได้
• การเข้าถึงที่ยากลำบาก การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีสัญญาณไม่แรงพอ การหยุดให้บริการของระบบ และภาวะไฟฟ้าดับอาจทำให้การเข้าถึงข้อมูลหรือซอฟต์แวร์ในระบบคลาวด์ล่าช้าได้
• ข้อมูลรั่วไหลของผู้ให้บริการ การใช้บริการแบบคลาวด์จะให้สิทธิ์ในการควบคุมแก่ผู้ให้บริการ โดยจะเห็นได้จากกรณีตัวอย่างของการโจมตีผู้ใช้ดร็อปบ็อกซ์ที่โดนสแปมโจมตี โดยมีสาเหตุมาจากไซต์ของบุคคลที่สามที่เชื่อมโยงอยู่กับบริการดังกล่าวนั่นเอง นอกจากนี้แฮคเกอร์ยังได้ปล่อยข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้อุปกรณ์ Apple จำนวน 1 ล้านราย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ถูกกล่าวอ้างว่ามาจากอุปกรณ์ Apple iOS ที่มีจำนวนมากกว่า 12 ล้านเครื่อง
• ปัจจัยด้านมนุษย์ บุคคลที่เป็นอันตรายหรือผู้โจมตีจะหลอกลวงพนักงานในองค์กรที่รู้ไม่เท่าทันโดยเลือกใช้เทคนิควิศวกรรมสังคม

บริษัทเทรนด์ไมโคร และศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บส์ ขอแนะนำเคล็ดลับสำหรับผู้ใช้บริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์ส่วนบุคคลเพื่อปกป้องตัวเอง ดังนี้:
• อัพเดตแอพพลิเคชั่นของคุณอยู่เสมอ ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นจะจัดการข้อบกพร่องของบริการและแก้ไขช่องโหว่ต่างๆ ในรูปของโปรแกรมอัพเดต
• ระวังลิงก์ที่ไม่รู้จัก อย่าคลิกลิงก์หรือเปิดสิ่งที่แนบมาจากอีเมลที่ดูน่าสงสัย เคล็ดลับเดียวกับที่ใช้ในบริการข้อความโต้ตอบแบบทันที (IM) และข้อความส่วนตัวบนไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์
• ใช้บริการแบบคลาวด์ เช่น เทรนด์ไมโคร เซฟซิงค์ ที่มีการเข้ารหัสข้อมูลที่คุณสามารถอัพโหลดได้โดยอัตโนมัติเช่นเดียวกับการสำรองข้อมูลและซิงค์ข้อมูลของคุณในพีซี, เครื่อง Mac, iOS, Android และด้วยการเชื่อมต่อตลอด 24 ชั่วโมงในทุกวันผ่านทางเครื่องเดสก์ท็อป ระบบมือถือ และไซต์ต่างๆ โดยใช้ศูนย์ข้อมูลของบริษัทเทรนด์ไมโคร ส่งผลให้การแบ่งปันข้อมูลทั้งหมดจะได้รับการรักษาความปลอดภัยด้วยอาศัยตัวเลือกต่างๆ เช่น รหัสผ่าน วันที่หมดอายุ และการปิดใช้งานลิงก์ต่างๆ
• ป้องกันอุปกรณ์มือถือของคุณ ใช้โปรแกรมรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบมือถือ เช่น เทรนด์ไมโคร โมบาย ซิเคียวริตี้ เพื่อป้องกันแอพพลิเคชั่นที่เป็นอันตราย
• ยกระดับการรักษาความปลอดภัยสำหรับรหัสผ่านของคุณ เปลี่ยนรหัสผ่านที่คาดเดาง่ายให้เป็นวลีที่ยากต่อการจดจำสำหรับบุคคลอื่นๆ โดยอาจะเลือกใช้ตัวจัดการรหัสผ่าน เช่น เทรนด์ไมโคร ไดเร็คพาสจะช่วยให้คุณสามารถใช้รหัสผ่านหลักเพียงรหัสผ่านเดียวสำหรับบัญชีทั้งหมดของคุณได้
• สำรองข้อมูลมือถือคุณ โดยเลือกใช้เทรนด์ไมโคร โมบาย แบ็คอัพ และรีสโตร์ ซึ่งจะพร้อมทำงานในทันทีที่อุปกรณ์ของคุณเกิดปัญหาหรือถูกขโมย

View :1362

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ประเดิมจับมือกรมบังคับคดี หวังปูฐานจับระบบไอทีกระบวนการยุติธรรมเข้าคลาวด์และ GIN

October 4th, 2012 No comments

ประเดิมใช้ 4 บริการ เชื่อมโยงทั้งในและนอก ประชาชนเกิดประโยชน์อื้อ

ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ อธิบดีกรมบังคับคดี หรือ กบค. เปิดเผยว่า ขณะนี้กบค.ได้นำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและบริการประชาชนเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะการพัฒนาระบบงานการบังคับคดีแพ่ง ซึ่งเป็นระบบการปฏิบัติงานในระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดทุกภาค ที่สำคัญได้วางโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอทีเพื่อรองรับการปฏิบัติงานของระบบการบริหารทั้งหมด โดยต้องลดภาระค่าใช้จ่ายในส่วนของงบดำเนินงาน การตรวจสอบและระบบรักษาความปลอดภัยของระบบ การเตรียมความพร้อมในส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่จะต้องใช้งานเพื่อรองรับการปฏิบัติงานที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต รวมถึงการส่งเสริมให้ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Service ที่เป็น Portal กลางของภาครัฐสามารถบริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง จึงร่วมกันทำงานกับสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือสรอ. จนนำมาสู่การลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อใช้งานบริการระบบคลาวด์ภาครัฐ หรือ Government ระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Government Information Network : GIN) ระบบ Government Monitoring และระบบ e-Portal

หลังจากทำบันทึกข้อตกลงกับสรอ.แล้ว ทางกบค.จะเริ่มนำระบบทั้งหมดมาใช้ทันที โดยเบื้องต้นจะเน้นที่ 3 ระบบก่อนคือ 1. ระบบ Government Cloud Computing เพื่อเป็นการตรวจสอบระบบรักษาความปลอดภัยทางด้านไอทีทั้งหมดของกบค.อีกชั้นหนึ่ง โดยเฉพาะในเรื่องของการเข้าใช้ข้อมูลที่น่าสงสัย ซึ่งสรอ. มีเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบแบบ 24/7 หรือตลอดเวลาไม่มีหยุดพัก โดยจะตรวจสอบการใช้งาน หรือ Log File และการใช้งานระบบเครือข่าย เป็นการช่วยเพิ่มความมั่นคงและปลอดภัยในระบบไอทีของกบค. 2. ระบบ e-Portal ในเบื้องต้นจะใช้เชื่อมต่อระบบตรวจสอบบุคคลล้มละลาย ซึ่ง กบค. มีบริการในส่วนนี้อยู่แล้ว และเป็นที่ใช้งานอย่างแพร่หลาย ส่วนระยะถัดไประบบจะเข้ามาตรวจสอบสถานะคดีแพ่ง ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบสิทธิ์ในการเข้าใช้หรือ Authorize ของบุคคลให้สามารถตรวจสอบได้เฉพาะข้อมูลที่บุคคลนั้นเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เป็นต้น

ส่วนระบบที่ 3 คือ ระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ หรือ GIN ในระยะนี้ กบค.ตั้งเป้าหมายหลักในการนำระบบนี้มาใช้คือ ลดค่าใช้จ่ายระบบเครือข่าย ซึ่งเดิมกบค.ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก สำหรับเป้าหมายต่อไปนั้น กบค.จะใช้งานระบบแบบเต็มรูป จะมีการตรวจสอบ Concurrent และ Traffic การใช้งานว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ โดยการใช้บริการของ GIN สามารถเพิ่มแบนด์วิธได้ตามการใช้งานจริง จึงมีความยืดหยุ่นและเหมาะสม รวมถึงประหยัดงบประมาณภาครัฐด้วย
ระบบของสรอ.ที่กบค.จะนำใช้งานในอนาคต ได้แก่ ระบบคลาวด์ภาครัฐ เนื่องจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์และระบบปฏิบัติการที่สรอ. มีในขณะนี้ยังไม่สนับสนุนกับระบบของ กบค. ซึ่งใช้อยู่ในขณะนี้ ดังนั้นจำเป็นต้องประสานงานระหว่างสองหน่วยงานต่อไปอีกช่วงระยะหนึ่งเพื่อทดสอบการใช้งาน ทั้งนี้ระบบคลาวด์ภาครัฐที่กบค. ต้องการใช้ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายทำหน้าที่ฐานข้อมูล มีระบบปฏิบัติการแบบ Solaris 9 ขึ้นไป หรือแบบ HP-UX ซึ่งมีระบบฐานข้อมูลแบบ Oracle Enterprise 10g ขึ้นไป เพื่อใช้งานระบบงานบังคับคดีแพ่งที่พัฒนาโดยภาษา Java และระบบ Business Intelligent หรือ BI ในการวิเคราะห์วางแผนการปฏิบัติงาน

ปัจจุบันกบค. มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงหรือ MOU เชื่อมโยงกับหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในส่วนของภาครัฐที่กบค. ต้องตรวจสอบข้อมูล เช่น ข้อมูลที่เชื่อมโยงกับกรมการปกครอง ข้อมูลกับกรมที่ดิน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นต้น การเข้ามาใช้ระบบ GIN จะสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในการเช่าระบบเครือข่าย Lease Line ลงได้ และในส่วนของการส่งข้อมูลที่จะต้องประสานงาน เช่น สตม. กรมที่ดิน หน่วยงานอื่นสามารถเชื่อมโยงระบบของ กบค. ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จายในการเช่าระบบเครือข่าย รวมถึงเป็นการประหยัดพื้นที่ในการจัดวางอุปกรณ์ระบบเครือข่าย และการดำเนินการอื่น ๆ ด้วย

“จำนวนสาขากบค. รวมทั้งหมด 108 สาขาทั่วประเทศ และมีสถานรักษาทรัพย์และโกดังเก็บสำนวนอีก 2 แห่ง รวม 110 แห่ง ซึ่งหากใช้งานระบบเครือข่าย GIN แบบเต็มรูปแบบจะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ไม่ต่ำกว่า 15 ล้านบาท” ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ กล่าว

การเชื่อมโยงระบบของกบค. กับ สรอ. หลังจากลงบันทึกข้อตกลงแล้วประชาชนจะได้ประโยชน์ในการเข้าถึงระบบแบบเบ็ดเสร็จ รวมถึงสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ระบบมีความปลอดภัย น่าเชื่อถือ นอกจากนั้นยังทำให้กระบวนการบังคับคดีสามารถเข้าถึงได้ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนการปฏิบัติงาน และสถานะการปฏิบัติงานว่าดำเนินการถึงขั้นตอนใด สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านทางเว็บไซต์ที่เปิดให้บริการสำหรับการปฏิบัติงานด้านการบังคับคดีแพ่งได้ ทำให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ และสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการบังคับคดีในสังคมได้มากยิ่งขึ้น

สำหรับแอพพลิเคชันใหม่ๆ ที่กบค. จะนำมาไว้บนบริการของสรอ. หลักๆ ได้แก่ระบบงานบังคับคดีแพ่ง ซึ่งเป็น Operation ของกบค. ส่วนระบบอื่นๆ ที่เป็นระบบการให้บริการประชาชน เช่น ระบบตรวจสอบข้อมูลบุคคลล้มละลาย กบค. ก็จะนำไปอยู่บนบริการของสรอ. เช่นกัน ในอนาคตกบค. จะนำระบบงานบังคับคดีล้มละลาย และระบบงานอื่นๆ ตามภารกิจหลักขึ้นบนบริการของสรอ. ทั้งหมด

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือสรอ. เปิดเผยว่า การลงนามบันทึกข้อตกลง หรือ MOU กับกรมบังคับคดี หรือกบค. ในครั้งนี้ถือเป็นยุทธศาสตร์ของสรอ. ในการที่จะนำข้อมูลของกระบวนการยุติธรรมมาอยู่ในบริการของสรอ.ทั้งหมดในอนาคตอันใกล้ ซึ่งที่ผ่านมาหน่วยงานยุติธรรมทั้งหมดได้จัดทำโครงการศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกระบวนการยุติธรรม หรือ DXC อยู่แล้ว เมื่อกบค.เข้าสู่ระบบของสรอ.แล้วโอกาสที่อีก 14 หน่วยงานในโครงการ DXC จะเข้ามาด้วยก็มีความเป็นไปได้สูง

จากเป้าหมายของสรอ.ในโครงการ DXC นั้นจะประกอบไปด้วย 1. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มี ฐานข้อมูลประกาศสืบจับ, ฐานข้อมูลผู้กระทำผิดกฎหมาย, ฐานข้อมูลคดีรถหาย, ฐานข้อมูลคดีคนหาย 2. สำนักงานอัยการสูงสุด ที่มีฐานข้อมูลสาระบบคดี 3. กรมราชทัณฑ์ ที่มี ฐานข้อมูลผู้ต้องขัง 4. กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ที่มี ฐานข้อมูลเยาวชนผู้กระทำผิด5. กรมคุมประพฤติ ที่มี ฐานข้อมูลผู้ถูกคุมประพฤติ, ฐานข้อมูลอาสาสมัครคุมประพฤติ

6. กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI 7. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) ที่มี ฐานข้อมูลผู้ต้องหาคดียาเสพติด 8. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ที่มี ฐานข้อมูลคดี 9. กรมการปกครอง ที่มี ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร 10. กรมการขนส่งทางบก ที่มี ฐานข้อมูลทะเบียนรถยนต์, ฐานข้อมูลใบขับขี่รถยนต์

11. สำนักงานกิจการยุติธรรม 12. สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม 13. กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า) ที่มี ฐานข้อมูลข้อมูลบุคคล (ครัวเรือน), ฐานข้อมูลข้อมูลบุคคล (ศบย.), ฐานข้อมูลข้อมูลบุคคล (หมายจับ ป.วิอาญา), ฐานข้อมูลข้อมูลบุคคล (เป้าหมาย), ฐานข้อมูลข้อมูลบุคคล (ปปส.), ฐานข้อมูลข้อมูลบุคคล (ใบขับขี่), ฐานข้อมูลข้อมูลบุคคล (ทะเบียนรถ), ฐานข้อมูลข้อมูลบุคคล (หนังสือเดินทาง)

14. ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มี ฐานข้อมูลการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบฯ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้, ฐานข้อมูลบุคคลสูญหาย, ฐานข้อมูลร้องเรียนความไม่เป็นธรรม ซึ่งมีหลายหน่วยงานเริ่มเข้ามาใช้บริการของสรอ.แล้ว และหากฐานข้อมูลเหล่านี้ทั้งหมดสามารถเชื่อมโยงถึงกันบนบริการของสรอ. ก็จะทำให้เกิดประโยชน์ทั้งทางด้านการลดต้นทุน การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และความปลอดภัย

View :1365

กระทรวงวัฒนธรรมจับมือสรอ. เชื่อมเครือข่าย GIN ทุกหน่วย ปรับโฉมไอทีทั้งระบบ ลดซ้ำซ้อนประหยัดงบ สรอ.เดินแผนต่อพร้อมจับมือเข้าคลาวด์ภาครัฐ

August 11th, 2012 No comments

กระทรวงวัฒนธรรมจับมือสรอ. เชื่อมเครือข่าย GIN ทุกหน่วย ปรับโฉมไอทีทั้งระบบ ลดซ้ำซ้อนประหยัดงบ สรอ.เดินแผนต่อพร้อมจับมือเข้าคลาวด์ภาครัฐ รับแนวโน้มวัฒนธรรมยุคดิจิตอลหลั่งไหล

ศาสตราจารย์อภินันท์ โปษยานนท์ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า การทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมกับสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือสรอ. เพื่อใช้งานเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Government Information Network : GIN) ในครั้งนี้ จะส่งผลอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของกระทรวงวัฒนธรรม
โดยทางสรอ.จะเข้ามาให้บริการโครงสร้างพื้นฐานโดยนำเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐมารองรับด้านการรับ-ส่ง
และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ถือเป็นการลดความซ้ำซ้อนของระบบฐานข้อมูลทั้งหมด และเป็นการเพิ่มฐานการให้บริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัยในระยะยาว

ปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่กับงานวัฒนธรรมของประเทศไทย เริ่มมีบทบาทต่อกันมากขึ้น โดยแบ่งเป็นสองส่วนนั่นคือ การบริหารงานภายในกระทรวงวัฒนธรรมเอง ที่มีการเชื่อมโยงระหว่างกรมต่างๆ กับหน่วยงานประจำจังหวัด และระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมกับกระทรวงอื่นๆ จนถึงการเชื่อมโยงกับรัฐบาล ส่วนที่สองคือส่วนของการเชื่อมโยงกับประชาชน ซึ่งนับวันความต้องการใช้เทคโนโลยีผ่านเครือข่ายเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมกำลังมีมากขึ้นจนเครือข่ายเดิมไม่สามารถรองรับได้ที่ผ่านมาการติดตั้งเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานของกระทรวงวัฒนธรรม ใช้ระบบจัดซื้อและติดตั้งตามงบประมาณประจำปี ทำให้การติดตั้งให้ครบทุกหน่วยงานทำได้ยาก
โดยในปัจจุบันมีสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกว่า 40 แห่งที่ยังไม่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต และเชื่อมโยงข้อมูลเข้าหากับหน่วยงานส่วนกลาง และเชื่อมโยงระหว่างสำนักงานได้อีกทั้งระบบการจัดซื้อในภาครัฐยังต้องอิงกับกฎระเบียบแบบเดิมคือ ต้องจัดหาผู้ให้บริการที่เสนอราคาต่ำสุด ทำให้ระบบของแต่ละสำนักงานที่ติดตั้งไปแล้ว มีผู้ให้บริการที่แตกต่างกัน ทั้งเครื่องมือ ความเร็ว ราคา และการบริการ

การเชื่อมโยงระหว่างกันทำได้แค่การใช้บริการพื้นฐานทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ขณะที่ในปัจจุบันความต้องการเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันระหว่างสำนักงานมีมากขึ้น ความต้องการใช้แบนด์วิธหรือความเร็วของระบบอินเทอร์เน็ตก็มีมากขึ้น แต่หากยังใช้ระบบเดิมคาดว่ากว่าจะเชื่อมโยงเครือข่ายครบทุกสำนักงานอาจใช้เวลาอีกหลายปี อีกทั้งการทำการเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นๆ เช่นการใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน
การเดินเอกสาร หรือการรับรองเอกสาร และอื่นๆ ก็จะมีความยุ่งยากอย่างมาก รวมถึงการลงทุนสร้างศูนย์ข้อมูลเองในแต่ละจุดก็เป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มต่อการใช้งานจริงอีกต่อไป

นอกจากนั้นในส่วนของบริการภาคประชาชนในส่วนของกระทรวงวัฒนธรรม เนื่องจากลักษณะงานตั้งอยู่บนพื้นฐานของการใช้งานด้านมัลติมีเดียอย่างมาก เพราะจำเป็นต้องสื่อสารให้เข้าใจ และเข้าถึง ดังนั้นขนาดของไฟล์ และรูปแบบการสื่อสารนั้นนอกจากจะต้องใช้พื้นที่มากกว่าแล้วยังต้องการความเร็วในการเข้าถึงมากกว่าอีกด้วย จึงจำเป็นต้องทำระบบให้มีความเสถียรและรองรับปริมาณความต้องการการใช้งานทั้งภายในและภายนอกอย่างครบถ้วนในเบื้องต้นสรอ.จะเข้ามาให้บริการ GIN กับกระทรวงวัฒนธรรม ในสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจำนวน 43 แห่งก่อน ซึ่งสำนักงานเหล่านี้ยังไม่เคยติดตั้งระบบเครือข่ายมาก่อน ดังนั้นนอกจากจะทำให้สำนักงานเป้าหมายสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเป็นพื้นฐานแล้ว ยังทำให้เกิดระบบอินทราเน็ตระหว่างสำนักงานด้วยกันได้ เกิดระบบเครือข่ายข้อมูลเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานเป็นเส้นทางในการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างหน่วยงาน และสามารถใช้งานให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง และจุดที่สำคัญคือสามารถเข้าไปใช้บริการพื้นฐานต่างๆ ที่สรอ.มี เช่นระบบ Mail go Thai หรือระบบการเชื่อมฐานข้อมูลกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น เลขทะเบียน 13 หลักในบัตรประชาชนของกรมการปกครอง เป็นต้น

ในระยะเวลาอันใกล้ต่อจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรมก็จะปรับเปลี่ยนการใช้งานระบบเครือข่ายในสำนักงานอีก 33 แห่ง ให้เข้ามาใช้ระบบ GIN ต่อไป และกระทรวงวัฒนธรรมก็จะเตรียมแผนการให้สรอ.เข้ามาพัฒนาและประยุกต์ใช้ระบบบริการภาครัฐที่ส่วนราชการสามารถใช้ร่วมกันอย่างเต็มระบบต่อไปสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อจ่ากไปของกระทรวงวัฒนธรรมคือ การบริหารงานภายในจะมีความสะดวกมากขึ้น เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพดีขึ้น และยังเป็นการประหยัดงบประมาณจำนวนมาก เป็นการลดความซ้ำซ้อนของการทำงานลง

นอกจากนั้นทางกระทรวงวัฒนธรรมจะก้าวเข้าไปอีกขั้นคือการเข้าไปใช้บริการคลาวด์ภาครัฐ หรือ Government
ของสรอ.ซึ่งจะทำให้กระทรวงวัฒนธรรมได้นำระบบศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นโครงการเก็บรวบรวมวัฒนธรรมของแต่ละจังหวัด และมีการแบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างดีมาให้บริการเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ให้กับประชาชนได้อย่างสะดวกมากขึ้น และยังได้นำโครงการไอเลิฟไทยคัลเจอร์ มาเข้าสู่บริการนี้พร้อมกันด้วย ซึ่งจะทำให้ระบบของกระทรวงวัฒนธรรมมีความเสถียรและมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มากขึ้น บริการแก่ประชาชนดีขึ้นนั่นเอง

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือสรอ. เปิดเผยว่า จากแผนงานของสรอ.ที่เน้นการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเครือข่ายให้กับภาครัฐ โดยหวังให้เกิดการใช้งานร่วมกับเครือข่ายข้อมูลที่หน่วยงานรัฐนั้นใช้อยู่ก่อนแล้ว และเข้าไปเป็นเครือข่ายหลักในจุดที่เครือข่ายยังเข้าไม่ถึง เพื่อให้ภาครัฐได้ใช้ประโยชน์จากเครือข่าย GIN ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ขณะที่กระทรวงวัฒนธรรมเองก็เข้าใจแนวทางนี้และเห็นว่าเครือข่าย GIN จะเข้ามาช่วยเรื่องการประหยัดงบประมาณสำหรับการติดตั้งเครือข่ายใหม่ และลดการซ้ำซ้อนด้านการเชื่อมโยงข้อมูลทั้งระบบของกระทรวงได้ ทำให้เกิดการร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในโครงการบูรณาการเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐขึ้นมาในครั้งนี้สิ่งที่สรอ.จะเข้าไปจัดการในส่วนแรกคือ
การเข้าไปให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเครือข่ายแก่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทุกแห่ง และกรมกองทั้งหมดของกระทรวงวัฒนธรรมในอนาคต โดยเริ่มต้นที่ความเร็วอินเทอร์เน็ตต่อแห่งที่ 2 Mbs หากเมื่อดำเนินการไปแล้วมีปริมาณการใช้งานแบนด์วิธเพิ่มขึ้นอย่างมีสาระสำคัญทางสรอ.ก็จะเพิ่มให้ตามจำนวนการใช้งานจริงโดยไม่คิมูลค่าแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม การดำเนินการติดตั้งระบบ GIN ของสรอ.ในครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีการเชื่อมโยงระบบของทั้งกระทรวงทั้งหมด ซึ่งจะทำให้เป็นตัวอย่างของการใช้โครงสร้างพื้นฐานทางอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงในที่เดียวกัน นอกจากจะประหยัดงบประมาณแล้ว ยังทำให้กระทรวงวัฒนธรรมลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการเครือข่าย และไม่ต้องมายุ่งยากเรื่องกฎระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างอีกด้วย ทำให้สามารถนำเวลามาพัฒนาบริการหรือแอพพลิเคชันใหม่ๆ ได้ทันที

สิ่งที่สองที่สรอ.จะเข้าไปดำเนินการคือ การทำหน้าที่ที่ปรึกษาระบบงานด้านไอทีให้กับกระทรวงวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นการวางโครงสร้างสถาปัตยกรรม การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่ต่อยอดจากระบบ GIN ในปัจจุบัน
เช่นระบบคลาวด์ภาครัฐ เป็นต้นนอกจากนั้นสรอ.จะเร่งประสานให้หน่วยงานในท้องถิ่น ซึ่งในที่นี้คือสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สามารถเชื่อมโยงกับระบบเครือข่ายในจังหวัดด้วยกันเอง ถือเป็นการทำงานข้ามหน่วยงาน แต่ยังอยู่บน GIN ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ทำให้การพัฒนาไปสู่ระบบ Smart Province ในอนาคตอันใกล้ทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งขณะนี้กำลังมีการทดลองดำเนินการที่จังหวัดนครนายก
ก็จะทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเชือมโยงข้อมูลเข้ากับงานของกระทรวงวัฒนธรรมในแต่ละจังหวัดได้โดยตรงในด้านการใช้งานที่สำคัญที่สรอ.จะต้องไปดำเนินการเร่งด่วนให้กับกระทรวงวัฒนธรรมในช่วงนี้คือ การวางระบบ GIN ให้ใช้งานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยต้องใช้งานโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ IP Phone ไปยังสำนักงานส่วนต่างๆ ได้
เพื่อทำให้พื้นที่เหล่านี้มีช่องทางการติดต่อสื่อสารที่หลากหลาย และเกิดการเคลื่อนย้ายเจ้าหน้าที่น้อยที่สุด มีผลต่อการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอย่างมากสิ่งหนึ่งที่ทางสรอ.เห็นเป็นแนวโน้มสำคัญต่อจากนี้ไปก็คือ งานที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมจะเข้ามาเกี่ยวเนื่องกับระบบไอทีมากขึ้น เพราะขณะนี้มีงานวัฒนธรรมที่หลากหลายถูกแปลงเข้าไปสู่รูปแบบดิจิตอล

ทั้งในเรื่องของวิดีโอ แอนิเมชัน หรือการเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ งานเหล่านี้ต้องการความพึงพอใจทางด้านการแสดงผลค่อนข้างสูง และจะถูกปฏิเสธหากมีโครงสร้างพื้นฐานในการแสดงผลที่ต่ำ การใช้งานช้า ดังนั้นการวางโครงสร้างพื้นฐานในส่วนนี้จึงมีความจำเป็นอย่างมาก และนับวันจะขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกทีแบบไม่มีขีดจำกัด สิ่งที่สรอ.เตรียมให้กับกระทรวงวัฒนธรรมในวันนี้และในอนาคตจึงเท่ากับเป็นการสนับสนุนการทำงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาวให้กับวัฒนธรรมของชาติที่จะได้ถ่ายทอดในรูปแบบดิจิตอล และสามารถขยายวงออกไปได้ในระดับโลกต่อไปนอกจากระบบ GIN และบริการพื้นฐานอื่นๆ ทั่วไปแล้ว ทางสรอ.ยังเปิดช่องให้กระทรวงวัฒนธรรมก้าวเข้าสู่ระบบ Government Cloud Computing ได้รวดเร็วขึ้นอีกด้วย โดยทางทีมที่ปรึกษาของสรอ.จะเข้าไปร่วมคัดกรอง
และช่วยให้เกิดการคิดค้นพัฒนาเว็บเบสแอพพลิเคชันเพื่อมาใช้งานในระบบคลาวด์มากขึ้น ทำให้การให้บริการของกระทรวงวัฒนธรรมต่อประชาชนทั่วไปมีความสะดวกมากกว่าเดิม ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเห็นผลภายในปีหน้า หรือปีงบประมาณ 2556

View :1492

การประปาส่วนภูมิภาคนำซอฟต์แวร์ “โปรแกรมบริการผู้ใช้น้ำ” ขึ้นระบบบริการคลาวด์ภาครัฐ

August 11th, 2012 No comments


ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. เปิดเผยว่า ทางสรอ.ได้ร่วมทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ หรือ กปภ.โดยจะนำซอฟต์แวร์ “” ของ กปภ. มาไว้ในระบบบริการคลาวด์ภาครัฐ หรือ ซึ่งสรอ.ได้เปิดใช้บริการจริงมาตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา เพื่อให้ผู้ใช้น้ำทั่วไปสามารถมาใช้บริการผ่านโปรแกรมแบบเว็บเบส ด้วยการนำโปรแกรมนี้ ซึ่งจะทำให้กปภ.ลดค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ ของการให้บริการลง และสามารถเปิดให้ผู้ใช้น้ำดาวน์โหลดได้ทันทีที่การพัฒนาโปรแกรมสำเร็จแล้วโปรแกรมบริการผู้ใช้น้ำสำหรับประชาชนครั้งนี้ถือเป็นโครงการนำร่องของ กปภ.ที่จะใช้คลาวด์ภาครัฐของสรอ. หลังจากนั้นจะมีการประเมินผล และนำไปสู่การนำแอพพลิเคชันใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับการให้บริการน้ำมาอยู่บนระบบคลาวด์ต่อไป รวมถึงสรอ.จะเข้าไปพิจารณาร่วมกับกปภ.ในการนำบริการต่างๆ ที่สรอ.มี เช่น
ระบบ Mail go Thai ระบบ GIN และอื่นๆ มาให้บริการต่อไปอีกด้วย

“การนำโปรแกรมบริการผู้ใช้น้ำมาไว้บนคลาวด์ของสรอ. จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้น้ำในระยะยาว เพราะจะทำให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเช็คยอดการใช้น้ำแบบทันที หรือ real time และสามารถใช้บริการต่างๆ ของกปภ.ได้อย่างต่อเนื่อง โดยสรอ.จะทำให้ผู้ใช้เกิดความเชื่อมั่นว่า ระบบคลาวด์ของสรอ.มีทั้งความเร็ว และความปลอดภัย” ดร.ศักดิ์กล่าว

นอกจากการนำแอพพลิเคชันทางด้านโทรศัพท์มือถือมาอยู่ในระบบคลาวด์ของสรอ.แล้ว ทาง กปภ.จะเข้ามาใช้บริการข้อมูลบัตรประชชาชน หรือตัวเลข 13 หลักของกรมการปกครอง ซึ่งปัจจุบันอยู่บนระบบคลาวด์ของสรอ.อยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้ข้อมูลการใช้น้ำและอื่นๆ สามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลของผู้ใช้ได้โดยตรง และสามารถโอนถ่ายข้อมูลระหว่างกันได้ ทำให้เกิดประโยชน์ด้านการใช้ข้อมูลอย่างมากตามมา

View :1439

ก.ไอซีที จับมือ กลุ่มบีเอสเอ ศึกษาแนวทางนำ Cloud Computing มาใช้พัฒนาเศรษฐกิจเพื่อรองรับ AEC 2015

May 29th, 2012 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในงานสัมมนาเชิงวิชาการ หัวข้อ “Thailand’s Economic Growth in Digital Environment and amid Transmission to AEC 2015: Readiness of Laws and Regulations” ว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ร่วมกับกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) จัดงานสัมมนาครั้งนี้ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทศึกษาเปรียบเทียบเรื่องนโยบายและกฎหมายของประเทศต่างๆ ทั้งหมด 24 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียน สำหรับการประเมินความพร้อมของนโยบายและกฎหมายของประเทศต่าง ๆ เหล่านี้ ในมุมมองที่เกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจในโลกยุคดิจิตอล (Digital Economy) บนสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการเติบโตของเศรษฐกิจระหว่างการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

“กระทรวงฯ มีหลักการและนโยบายที่ชัดเจนเพื่อใช้ประโยชน์จากระบบ Cloud Computing ในการส่งเสริมศักยภาพด้านการแข่งขันทางธุรกิจในตลาดภูมิภาคนี้ รวมถึงสร้างศักยภาพทางธุรกิจแก่ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจ ประชาชนโดยทั่วไป และภาครัฐ ซึ่งรายงานการศึกษาดังกล่าวถือเป็นเครื่องมือสำคัญอันหนึ่งที่จะช่วยให้ประเทศไทยมีความพร้อมในการส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจบนระบบ Cloud Computing และนำไปสู่การสนับสนุนภาคธุรกิจและระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศให้เดินหน้าเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” นางจีราวรรณ กล่าว

งานสัมมนาเชิงวิชาการครั้งนี้ เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากงานสัมมนาเชิงวิชาการ ในหัวข้อ “Digital Economy and Cloud Computing Scorecard” ซึ่งกระทรวงฯ ได้เคยร่วมกับ บีเอสเอ จัดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา โดยเนื้อหาหลักของงานสัมมนาปีนี้ได้เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับประเด็นด้านนโยบายและกฎหมาย เพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจในยุคดิจิตอล (Digital Economy) และ Cloud Computing รวมทั้งเน้นเรื่องการเชื่อมโยงเข้ากับการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศไทยและอาเซียน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักในการสัมมนาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารระดับสูง หรือผู้มีอำนาจสั่งการ (CIO) ของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน

สำหรับสาระสำคัญที่น่าสนใจของการสัมมนาฯ ครั้งนี้ ได้แก่ 1. เกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพของ Cloud Computing ที่ใช้สำหรับวัดความพร้อมของประเทศไทย และผลกระทบต่อการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย 2. Cloud Computing มีส่วนช่วยในการกำหนด ASEAN ICT Master Plan ได้อย่างไร 3.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศในโลก Cloud Computing และนโยบายด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสำหรับ Cloud Computing ในระดับชาติ เป็นต้น

ส่วน มร.โรเจอร์ ซัมเมอร์วิลล์ ผู้อำนวยการอาวุโส ด้านนโยบายภาครัฐของบีเอสเอ ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก กล่าวว่า Cloud Computing เป็นระบบใหม่ที่ใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก โดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาล หน่วยงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในประเทศต่างๆ ทั่วโลก จะต้องวางโครงสร้างพื้นฐานที่ดีเพื่อให้ระบบ Cloud Computing เติบโตต่อไป และสร้างประโยชน์สูงสุดในการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันให้แก่ประเทศนั้นๆ ในตลาดโลก ซึ่งรายงานการศึกษาที่จัดทำโดย บีเอสเอ ฉบับนี้ยังจะช่วยประเทศไทย และประเทศอื่นๆ อีก 23 ประเทศ สำรวจตรวจสอบสิ่งแวดล้อมด้านกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อดูว่ามีปัจจัยใดบ้างที่จะส่งผลกระทบทำให้ประเทศต่างๆ ไม่สามารถรับประโยชน์สูงสุดจากระบบ Cloud Computing ได้

รายงานการศึกษาดังกล่าวได้นำเสนอแนวทางการริเริ่มและวางนโยบายที่ประเทศต่างๆ สามารถนำไปใช้ และควรจะพิจารณานำไปใช้ เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากระบบ Cloud Computing และในรายงานยังนำเสนอการพิจารณาปัจจัยสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการสร้างงานบนระบบ Cloud Computing ที่จะเพิ่มโอกาสความได้เปรียบทางเศรษฐกิจได้อย่างมากมาย

นอกจากนี้ รายงานการศึกษาดังกล่าว ยังระบุว่าประเทศไทยได้รับคะแนนสูงในบางด้าน เช่น ความพร้อมของกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่สนับสนุนการทำธุรกรรมบนระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) และการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature) แต่สำหรับความพร้อมด้านอื่นๆ ได้แก่ ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เช่น การป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy Protection) กลับมีคะแนนไม่สูงมากนัก ถึงกระนั้น ประเทศไทยยังคงมีความพร้อมในเรื่องอาชญากรรมบนโลกไซเบอร์ (Cybercrime) เพราะมีการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้อง และประกาศใช้แล้ว ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจในการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลบนระบบ Cloud Computing โดยไม่ได้รับอนุญาต อย่างไรก็ตาม ยังต้องส่งเสริมและสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว รวมถึงการสืบสวน สอบสวนอาชญากรรมบนโลก ไซเบอร์ และการพัฒนาเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy) การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Rights) มาตรฐานการระงับและการคัดกรองข้อมูลข่าวสาร (Censorship, Filtering) รวมทั้งการบังคับใช้ระบบเทคโนโลยีเฉพาะทาง (Technology Mandates) อีกด้วย

View :1689