Archive

Archive for the ‘Cloud Computing’ Category

“ไอเน็ต”เล็งถูกจุดเตรียมแผน BCP ล่วงหน้าให้ลูกค้าทันรับน้ำท่วม

December 6th, 2011 No comments

บริษัท จำกัด(มหาชน) หรือไอเน็ต เล็งเห็นถึงความสำคัญของแผนการสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan) นับตั้งแต่เกิดเหตุความไม่สงบในปี 2553 จึงได้มีการวางแผนและเตรียมความพร้อมมาอย่างต่อเนื่อง ทันทีที่เกิดวิกฤตการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย ไอเน็ตจึงได้จัดตั้งโครงการ “ไอเน็ตเตรียมพร้อมรองรับภัยพิบัติ ตลอด 24 ชั่วโมง” พร้อมมาตรการเพิ่มศักยภาพระบบสำรองไฟฟ้าในศูนย์ IDC ทั้ง 2 ศูนย์หากเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ระบบสำรองไฟ้ฟ้าสามารถใช้งานติดต่อยาวนานถึง 7 วัน ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรับมือและช่วยเหลือลูกค้าให้สามารถดำเนินกิจการและธุรกิจได้ต่อไป โดยไอเน็ตได้ปฏิบัติการช่วยเหลือลูกค้าอย่างต่อเนื่องกว่า 999 ชั่วโมง

ดร.ไพโรจน์ ศุภมงคล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า “ในช่วงภาวะวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นหลายครั้งไอเน็ตได้เห็นความสำคัญของธุรกิจลูกค้ามากที่สุด เพราะลูกค้าของเราเป็นองค์กรทั่วประเทศ และส่วนใหญ่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคกลาง รวมถึงหน่วยงานราชการที่สำคัญต่างๆ ที่จะต้องมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง และในมหาอุทกภัยครั้งนี้เราจึงเตรียมมาตรการเชิงรุกเพื่อรองรับและเข้าช่วยเหลือลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2554 เป็นเวลากว่า 999 ชั่วโมงที่ไอเน็ตมุ่งหน้าเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมเพื่อให้ลูกค้าของเราที่ได้รับผลกระทบยังคงทำงานได้อย่างไม่มีสะดุด”

“ไอเน็ตได้จัดตั้งทีมงานดูแลลูกค้าเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกจะสอบถามปัญหาและแก้ไขปัญหาเครือข่าย ระบบให้กับลูกค้าสำหรับอีกกลุ่มเป็นหน่วยเคลื่อนที่ออกช่วยเหลือลูกค้าในพื้นที่ประสบภัย อำนวยความสะดวกในการขนย้ายอุปกรณ์ และซ่อมระบบ รวมถึงเคลื่อนย้ายระบบจากพื้นที่น้ำท่วม ซึ่งตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ครั้งนี้ขึ้น เรามีลูกค้าที่เข้ามาใช้พื้นที่ DR Site กว่า 200 ที่นั่ง และลูกค้าที่ย้ายมาใช้บริการ Co-Location ของเรามากกว่า 10 ราย ” ดร.ไพโรจน์กล่าว
ดร.ไพโรจน์กล่าวเสริมว่า “นอกจากการทำแผนรองรับภัยพิบัติในครั้งนี้แล้ว ไอเน็ตยังคงคำนึงถึงการช่วยเหลือสังคมในยามวิกฤติ ซึ่งเราได้ร่วมกับทางสวทช.ในการอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือคนหูหนวกที่ประสบอุทกภัยหรือ TTRS-R ที่ไอเน็ตสำนักงานใหญ่ เพื่อเป็นการส่งเสริมและให้บริการคนหูหนวกและกลุ่มคนที่บกพร่องทางการพูดที่ประสบภัยในด้านการสื่อสารและขอความช่วยเหลือได้ดียิ่งขึ้น และไอเน็ตยังจัดตั้งโครงการ Thai.com รวมน้ำใจจ้างงานยามวิกฤติ เพื่อเป็นศูนย์กลางประกาศรับสมัครและฝากประวัติสำหรับผู้ว่างงานที่ประสบภัยทั่วประเทศ ภายใต้ชื่อ www.Thai.com ซึ่งเรายังเตรียมแผนพัฒนาและเปิดตัวเว็บไซต์อย่างเป็นทางการต่อไป”

นอกจากนี้ยังมีเสียงตอบรับจากลูกค้าที่มาใช้บริการ DR Site ในช่วงภัยพิบัติ “ศูนย์ DR Site ของไอเน็ตทำให้ธุรกิจของเราไม่สะดุด สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติในเวลารวดเร็ว และยังให้บริการได้อย่างสมบูรณ์ พร้อมทีมงานที่เป็นมิตรในการต้อนรับตลอดช่วงเวลาที่เราใช้บริการ” ตัวแทนลูกค้าสายธุรกิจที่เข้ามาใช้บริการ DR Site ของไอเน็ตกล่าว

“ศูนย์ช่วยเหลือคนหูหนวกที่ประสบอุทกภัย (TTRS – R) มีสำนักงานตั้งอยูที่มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ ถ.อรุณอมรินทร์ ได้รับผลกระทบน้ำท่วมสูงประมาณ 1.50 เมตร เจ้าหน้าที่เดินทางเข้าไปปฏิบัติงานไม่สะดวก จึงได้ประสานกับทางไอเน็ตขอพื้นที่จัดตั้งศูนย์ TTRS – R ชั่วคราวขึ้นที่ไอเน็ตสำนักงานใหญ่ โดยได้รับความช่วยเหลือและบริการเป็นอย่างดี ทำให้ศูนย์สามารถกลับมาทำงานได้ในเวลาอันรวดเร็วและต่อเนื่อง ถือเป็นการช่วยเหลือสังคมในช่วงวิกฤติที่ดี” ดร.วันทนีย์ พันธชาติ หัวหน้าศูนย์ TTRS กล่าว

จากเสียงตอบรับของลูกค้าข้างต้น ไอเน็ตได้ยึดมั่นการดูแลธุรกิจของลูกค้าและคอยให้บริการอย่างดีที่สุด แม้สถานการณ์น้ำท่วมจะคลี่คลายลง แต่ไอเน็ตคงยังเฝ้าระวังเตรียมความพร้อมรองรับเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆเพื่อให้ลูกค้ามั่นใจในการใช้บริการกับไอเน็ตอย่างต่อเนื่อง

View :2531

ทรู ไอดีซี จัดโครงการ “Free True Cloud Services for Flood Crisis” ใช้บริการทรู คลาวด์ ฟรี พลิกฟื้นธุรกิจประสบภัยน้ำท่วม

November 18th, 2011 No comments

ทรู ไอดีซี ร่วมช่วยเหลือองค์กรธุรกิจที่ประสบภัยหรือเสี่ยงประสบภัยน้ำท่วม จัดโครงการ “Free ” ให้ใช้บริการทรู คลาวด์ พร้อมระบบสำรองและกู้คืนข้อมูล (Back up & Disaster Recovery) ฟรี นาน 60 วัน เพื่อให้ธุรกิจและผู้ประกอบการสามารถเตรียมระบบสำรองและกู้คืนข้อมูลไว้ล่วงหน้า เพิ่มความมั่นใจในการดำเนินธุรกิจอย่างราบรื่นแม้ในภาวะวิกฤตจากเหตุอุทกภัย ผู้ที่สนใจบริการทรู คลาวด์ สามารถขอเปิดใช้บริการได้แล้ววันนี้ หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.trueidc.co.th

ทั้งนี้ โครงการ “Free True Cloud Services for Flood Crisis” มอบความช่วยเหลือในช่วงวิกฤตน้ำท่วมหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ อาทิ ศูนย์เทคโนโลยีอิเลิกทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในพื้นที่ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม ดำเนินการย้ายเซิร์ฟเวอร์ http://traffy.in.th/i เว็บไซต์แสดงภาพการจราจร และปัจจุบันเพิ่มรายงานภาพสถานการณ์น้ำท่วมในแต่ละพื้นที่ด้วย นอกจากนี้ ยังรับฝากเซิร์ฟเวอร์ของเว็บไซต์ www.gamling.org ศูนย์กลางแบ่งปันข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม ผ่านสังคมออนไลน์ทั้ง facebook และ twitter เป็นต้น

View :1357

๕ พันธมิตร ร่วมมือพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์การคำนวณสมรรถนะสูงระดับชาติ

September 29th, 2011 No comments

๕ พันธมิตรประกาศความร่วมมือพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงพร้อมการเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายกริด มุ่งหวังให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์การคำนวณสมรรถนะสูงระดับชาติ เพื่อรองรับโครงการการวิจัย e-Science ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณมากๆ เช่น ข้อมูลจีโนม ข้อมูลสภาพอากาศ จนถึงข้อมูลจากเครื่องเร่งอนุภาคขององค์กรวิจัยระดับนานาชาติอย่างเซิร์น นักวิจัยสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ และแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ทำการศึกษาวิจัยสาขาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาโลกร้อน การจัดการทรัพยากรน้ำ การเกษตร นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาพ จนไปถึงวิทยาศาสตร์พื้นฐานอย่าง ฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง ความร่วมมือในครั้งนี้จะนำไปสู่การยกระดับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานของชาติ และ รองรับการวิจัยที่มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย

๕ หน่วยงานพันธมิตร ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์กรมหาชน) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค ได้มีพิธีลงนามความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์การคำนวณสมรรถภาพสูงระดับชาติ เพื่อรองรับการวิจัย e-Science หรือโครงการ

ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ประธานกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กล่าวว่า “โครงการ e-Science เป็นโครงการตามพระราชดำริของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีจุดเริ่มต้นจากการที่พระองค์ท่านทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้คณะนักวิทยาศาสตร์ไทยตามเสด็จฯ ไปเยือนองค์การเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป หรือเซิร์น ที่นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งมีการทดลองเครื่องเร่งอนุภาคที่ทำหน้าที่บังคับให้อนุภาคชนกันที่ความเร็วสูง ใกล้เคียงความเร็วแสง ซึ่งมีค่าประมาณ ๓ แสนกิโลเมตรต่อวินาที เพื่อค้นคว้าความเข้าใจทางฟิสิกส์พื้นฐานว่า สสารต่างๆ นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีอันตรกิริยา (interaction) ต่อกันอย่างไร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเล็งเห็นความสำคัญของงานวิจัยนี้ จึงเป็นที่มาของการลงนามความร่วมมือระหว่าง เซิร์น กับ ประเทศไทย โดยประเทศไทยได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารงานความร่วมมือระหว่างเซิร์นกับประเทศไทยขึ้น ในคณะกรรมการชุดดังกล่าว มีคณะย่อยหนึ่งชุดซึ่งดำเนินงานตามพระราชดำริในการจัดตั้งกริดคอมพิวติ้ง สำหรับเชื่อมโยงกับเซิร์น โดยเรียกว่า National e-Science Infrastructure Consortium ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง ระดับชาติ”

จุดเริ่มต้นจากความร่วมมือ ๕ หน่วยงานพันธมิตร โดยใช้งบประมาณของตนเองในการลงทุนจัดตั้งระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงของแต่ละหน่วยงาน แล้วเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกริด โครงการ National e-Science Infrastructure Consortium เพื่อเชื่อมโยงไปที่เซิร์น ในการดึงข้อมูลมาทำวิจัยทางฟิสิกส์อนุภาค และในขณะเดียวกันก็จะให้เซิร์นใช้ทรัพยากรของเราเช่นกัน นอกจากนี้หน่วยงานภายใต้ความร่วมมือนี้จะสามารถใช้ทรัพยากรในโครงการ National e-Science Infrastructure Consortium มาทำการวิจัยพัฒนาตามความต้องการของประเทศไทยด้วย อาทิ เรื่องการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เรื่องทรัพยากรน้ำ หรือ การคำนวณอื่นใดที่เป็นประโยชน์กับประเทศไทย เพื่อให้โครงการ National e-Science Infrastructure Consortium ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความยั่งยืน ช่วยยกระดับการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐานด้านฟิสิกส์อนุภาคที่ร่วมมือกับเซิร์น ในการทำวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ในสาขาอื่นๆ
ตัวอย่างโครงการวิจัยพัฒนาที่จะใช้ประโยชน์จากเครื่องคอมพิวเตอร์สมรถนะสูงประกอบด้วย
 worldwide LHG Computing Grid
 ระบบ AliEn GRIเครื่องตรวจหาอนุภาคที่เกิดจากการชนของไอออนหนักของเครื่องเร่งอนุภาค LHG ที่ CERN
 งานวิจัยด้านการบริหารจัดการพลังงาน วิทยาการและวิศวกรรมเชิงคำนวณด้านการออกแบบทางวิศวกรรม
 Bee-inspired algorithm for scientific applications
 งานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
 งานวิจัยด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม

View :2508

5 พันธมิตร จับมือร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์การค ำนวนสมถรรภาพสูงระดับชาติ

September 22nd, 2011 No comments

5 พันธมิตร:
จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี
มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
สถาบัน สารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์กรมหาชน)
สำนักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากหลายๆ หน่วยงานเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย เพื่อการประมวลผลข้อมูลปริมาณมากๆ และจัดการข้อมูล เช่นเดียวกับ การใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ในการศึกษาฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง ของเซิร์น (CERN) หรือ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรป เพื่อวิจัยและพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์(Europear Center for Nuclerr Reseaoh)

ตัวอย่างโครงการวิจัยพัฒนาที่ใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์สมรถนะสูง ในการพัฒนาประเทศ ประกอบด้วย

งานวิจัยเกี่ยวกับ Worldwide LHC Computing Grid for Particule Physics Research โดย ความร่วมมือระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนคเทค CMS collaboration และ CERN WLCG

งานวิจัยด้านการบริหารจัดการพลังงาน และวิทยาการวิศวกรรมเชิงคำนวณ ด้านการออกแบบทางวิศวกรรม

การ พัฒนาอัลกอริทึมหรือลำดับขั้นตอนของกระบวนการ ประเภทปัญหาการรวมฝูง (Swarm Intelligent) ให้มี การประมวลผลเร็วยิ่งขึ้น สำหรับการประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ และพัฒนาระบบ Drug Delivery ใน อนาคต

ด้าน วิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาแบบจำลองคาดการณ์ลมและปริมาณฝน และการติดตามการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลและการเกิดพายุ

โครงการ National e-Science และ การการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม โครงการการจำลองคลื่นพายุซัดฝั่งการลุกล้ำของคลื่นทะเลและน้ำท่วมบริเวณชาย ฝั่งอ่าวไทย

View :1332

WD พร้อมลุยอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบกลุ่มส่วนบุคคล (PERSONAL CLOUD)

September 21st, 2011 No comments

ส่งฮาร์ดไดรฟ์เครือข่าย My Book® Live™ และแอพฯ ใหม่ ™ ช่วยให้เข้าถึงและแบ่งปันไฟล์จากพีซี เครื่องแมค แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟนได้ง่ายดาย ไม่เสียค่าใช้จ่ายรายเดือนและปลอดภัยเต็มร้อย

วสเทิร์น ดิจิตอล คอร์ป (Western Digital®) ผู้นำอุตสาหกรรมด้านโซลูชั่นการจัดเก็บข้อมูลดิจิตอลแบบติดตั้งภายนอก (external storage solutions) ได้ฤกษ์เปิดตัวแอพพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ใหม่ล่าสุด ได่แก่ WD 2go™ และ WD 2go Pro สำหรับใช้กับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบกลุ่มส่วนบุคคล My Book® Live™โดยฮาร์ดไดรฟ์ My Book Live ของ WD จะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายภายในบ้านเพื่อสร้างพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่ใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้จากทั้งภายในและจากนอกบ้าน

ผู้ใช้สามารถเข้าถึง My Book Live แบบระยะไกลได้อย่างปลอดภัยบนคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ผ่านเว็บไซต์ www.WD2go.com ขณะที่แอพพลิเคชัน WD 2go จะให้การเข้าถึงผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ไปยังไฟล์ที่จัดเก็บไว้บนฮาร์ดไดรฟ์โดยใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่สามารถใช้งานร่วมกับ iPad®, iPhone®, iPod touch® หรือ Android™ ได้

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบกลุ่มส่วนบุคคล My Book Live ซึ่งเป็นการรวมจุดเด่นของระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบกลุ่มทั้งแบบส่วนตัวและสาธารณะเข้าไว้ด้วยกัน ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเก็บรักษาสื่อและไฟล์ต่างๆ ไว้ที่บ้านได้อย่างปลอดภัยบนฮาร์ดไดรฟ์ของตนเอง และขณะเดียวกันก็สามารถเข้าถึงสื่อและไฟล์เหล่านั้นได้บนอินเทอร์เน็ตผ่านเครื่องพีซีหรือเครื่อง Mac® หรือแท็บแล็ตและสมาร์ทโฟนเครื่องใดก็ได้ผ่านแอพฯ บนอุปกรณ์ เคลื่อนที่ของ WD (mobile apps) ผู้ใช้สามารถใช้ My Book Live ในการแบ่งปันไฟล์ สตรีมสื่อ และเข้าถึงคอนเทนต์ต่างๆ ได้จากทุกที่โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายรายเดือน และวางใจได้ว่าข้อมูลของตนจะปลอดภัย เนื่องจากข้อมูลนั้นจะได้รับการจัดเก็บไว้ที่บ้านของผู้ใช้เองภายใต้การควบคุมแบบพิเศษเฉพาะ นอกจากนี้ แอพฯ WD 2go Pro ทำให้ผู้ใช้สามารถแบ่งปันไฟล์ร่วมกับเพื่อนๆ ครอบครัวและเพื่อนร่วมงานได้ โดยสามารถแบ่งปันไฟล์ได้เกือบทุกประเภท ตั้งแต่ไฟล์ภาพและวิดีโอส่วนตัวไปจนถึงเอกสารเกี่ยวกับงานและพรีเซ็นเตชั่น

WD 2go ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ผ่านเว็บเป็นเครื่องหมายของเทคโนโลยีการเข้าถึงจากระยะไกลรุ่นที่สองของ WD ซึ่งจะเพิ่มขีดความสามารถในการเชื่อมต่อแบบเพียร์ทูเพียร์ระหว่าง My Book Live และเครื่องพีซีระยะไกลหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ เพื่อเพิ่มความเร็วและปริมาณงานได้สูงสุด

มร. จิม เวลช์ รองประธานฝ่ายบริหารและผู้จัดการทั่วไปฝ่ายผลิตภัณฑ์ฮาร์ดไดรฟ์แบบติดตั้งภายนอกและกลุ่มคอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ของ WD กล่าวว่า “ผู้ใช้ต้องการที่จะเข้าถึงอุปกรณ์จากที่ใดก็ได้ ที่พวกเขาสามารถเข้าถึงได้จาก “กลุ่มที่เก็บข้อมูล” แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ต้องการที่จะเสียค่าธรรมเนียมรายเดือน หรือสูญเสียการควบคุมข้อมูลส่วนตัวของพวกเขา ผู้ใช้ต้องการเข้าถึงไฟล์ทั้งหมดของพวกเขาโดยไม่ต้องมานั่งกังวลว่าไฟล์ไหนจะต้องซิงค์กับอุปกรณ์ชิ้นไหน” มร. จิม เสริมว่า “ด้วยแอพฯ เคลื่อนที่ WD 2go ใหม่ล่าสุด และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบกลุ่มส่วนบุคคล My Book Live ของ WD ผู้ใช้จึงมีวิธีการที่ง่ายและรวดเร็วในการจัดเก็บ แบ่งปัน และเข้าถึงเนื้อหาดิจิตอลทั้งหมดจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ของพวกเขาได้อย่างปลอดภัย ไม่ว่าผู้ใช้จะอยู่ที่แห่งไหนก็ตาม”

ทั้งนี้ แอพฯ WD 2go เป็นการต่อยอดวิสัยทัศน์ของ WD ในการให้บริการระบบจัดเก็บข้อมูลที่ปลอดภัย และการเข้าถึงเนื้อหาดิจิตอลบนหน้าจอใดๆ ก็ได้ ไม่ว่าจะอยู่ระหว่างการเดินทางหรืออยู่ที่บ้าน แอพพลิเคชันนี้รองรับรูปแบบไฟล์สื่อหลากหลายชนิดสำหรับการสตรีมภาพยนตร์และเพลง หรือการเข้าถึงไฟล์อย่างเช่น เอกสาร Microsoft® Office นอกเหนือจากฟีเจอร์ทั้งหมดที่มีให้บริการอยู่ในปัจจุบันในแอพฯ WD 2go แบบฟรีๆ แล้ว แอพฯ WD 2go Pro ยังมีฟีเจอร์ขั้นสูงอื่นๆ อีกด้วย ได้แก่

• คลิปปิ้ง: ผู้ใช้สามารถดึงไฟล์ ภาพถ่าย เพลง วิดีโอ หรือโฟลเดอร์เพื่อดาวน์โหลดสำเนาจากไดรฟ์ My Book Live ไปยังอุปกรณ์เคลื่อนที่ ทำให้สามารถเข้าถึงคอนเทนต์เหล่านั้นได้ในภายหลังแม้จะไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
ก็ตาม
• การซิงค์อัตโนมัติ: ไฟล์ใหม่หรือไฟล์ที่มีการแก้ไขที่เพิ่มเข้าไปไว้ใน My Book Live จะซิงค์โดยอัตโนมัติกับอุปกรณ์เคลื่อนที่
• การแบ่งปันเนื้อหา: แอพฯ WD 2go Pro ทำให้ผู้ใช้สามารถส่งอีเมลไฟล์ แบ่งปันไฟล์ในรูปแบบลิงก์ พิมพ์และเปิดไฟล์โดยใช้แอพพลิเคชันของผู้ผลิตรายอื่นได้
• ความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น: ผู้ใช้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพชั้นการรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติมอีกชั้นหนึ่งได้ ด้วยการล็อคการเข้าถึงฮาร์ดไดรฟ์ My Book Live บนอุปกรณ์เคลื่อนที่โดยใช้รหัสผ่านสี่หลัก

นอกเหนือจากการเข้าถึงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบกลุ่มส่วนบุคคลจากระยะไกลและผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่แล้ว ฮาร์ดไดรฟ์ My Book Live ของ WD ยังมาพร้อมกับเซิร์ฟเวอร์สื่อที่ติดตั้งไว้ภายในเครื่อง ซึ่งจะสตรีมเพลง ภาพถ่าย และภาพยนตร์ไปยังอุปกรณ์มัลติมีเดียอื่นๆ ที่ได้รับการรับรองจาก DLNA (Digital Living Network Alliance) เช่น มีเดียเพลเยอร์สำหรับเครือข่าย WD TV® Live™ เครื่องเล่น Blu-ray Disc™, Xbox 360®, PlayStation® 3 และโทรทัศน์ที่เชื่อมต่อ

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบกลุ่มส่วนบุคคล My Book® Live™ มีจำหน่ายในรุ่นความจุ 1 TB, 2 TB และ 3 TB และสามารถทำงานร่วมกับ Windows® XP, Windows Vista®, Windows 7, Mac OS® X Leopard®, Snow Leopard® หรือ Lion™ รวมถึงอุปกรณ์ที่รองรับ DLNA/UPnP®

แอพพลิเคชั่น WD 2go (ให้ดาวน์โหลดฟรี) และ WD 2go Pro (ราคา $2.99 USD) ตอนนี้สามารถดาวน์โหลดได้จากร้าน iTunes® Store และ Android Market ส่วน My Book Live อุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลแบบกลุ่มส่วนบุคคล วันนี้มีจำหน่ายแล้วผ่านตัวแทนจำหน่ายของ WD ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ราคาแนะนำของรุ่นความจุ 1 เทราไบต์ อยู่ที่ 5,090 บาท รุ่น 2 เทราไบต์ ราคา 6,000 บาท และรุ่น 3 เทราไบต์ ราคา 7,590 บาท

View :1480

ไซแมนเทคจัดงานประชุม Asia South Partner Engage Conference ที่ฮ่องกง

September 16th, 2011 No comments

ชี้คลาวด์คอมพิวติ้ง( )เวอร์ช่วลไลเซชั่น(virtualisation) และ โมบิลิตี้(mobility) คือโอกาสครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับพาร์ทเนอร์ในภูมิภาคเอเชียใต้

Symantec Corp. (SYMC ใน Nasdaq:) ในวันนี้ ให้การต้อนรับผู้บริหารของพาร์ทเนอร์ 150 ราย เข้าร่วมงาน Asia South Region Partner Engage Conference 2011 ณ โรงแรม Langham Place ประเทศฮ่องกง ในงานมีคำกล่าวปราศัยที่สำคัญของผู้บริหารจากไซแมนเทค อาทิ มร.เบอร์นาร์ด ควอค รองประธานอาวุโส ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น, มร.เอริค โฮ รองประธาน ประจำภูมิภาคเอเชียใต้, มร.เดวิด เดนเชียน รองประธาน ฝ่ายพาร์ทเนอร์และธุรกิจเอสเอ็มบี ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและญี่ปุ่น, มร. ฟิลิป แยพ, รองประธานฝ่ายการตลาด ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคและญี่ปุ่น และมร.เรย์มอน โก๊ะ ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมระบบ ภูมิภาคเอเชียใต้

งานประชุมครั้งนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิดหลักของงานในเรื่อง “Power Your Business” เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้พาร์ทเนอร์ได้รับฟังกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ของไซแมนเทค พร้อมทั้งได้รับทราบทิศทางของธุรกิจที่เป็นประโยชน์ในการเสริมความแข็งแกร่งธุรกิจของพาร์ทเนอร์ และยังได้มีโอกาสสร้างความสัมพันธ์ สร้างเครือข่าย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหารของไซแมนเทค และผู้ประกอบการท่านอื่นๆในอุตสาหกรรมเดียวกันด้วย

ผู้บริหารของไซแมนเทค ถือโอกาสนี้ในการเฉลิมฉลองความสำเร็จของโปรแกรม enhanced Symantec Partner Programme ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นไปอีก และชึ้ให้เห็นว่าเทรนด์เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เวอร์ช่วลไลเซชั่น(virtualisation) คลาวด์ คอมพิวติ้ง (cloud computing) และ โมบิลิตี้ (mobility) สามารถจะใช้ประโยชน์จากโปรแกรมดังกล่าวเพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ สำหรับช่องทางในการดำเนินธุรกิจ

เปลี่ยนเทรนด์เทคโนโลยีให้เป็นโอกาสทางธุรกิจ

มร. เบอร์นาร์ด ควอด รองประธานอาวุโส ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น บริษัท กล่าวว่า “ภัยคุกคามมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นและมีเป้าหมายสร้างความเสียหายในวงกว้างมากขึ้น นอกจากนั้น องค์กรต่างๆ ยังมีความกังวลใจในเรื่องการจัดเก็บข้อมูลที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้ เทรนด์เทคโนโลยีที่สำคัญ เช่น ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง )cloud computing) เวอร์ช่วลไลเซชั่น (virtualisation) และโมบิลิตี้ (mobility) กำลังมีบทบาทในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับอุตสาหกรรมและส่งผลต่ออุตสาหกรรมในวงกว้าง ตั้งแต่องค์กรขนาดใหญ่ จนถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อย่างเท่าเทียมกัน” มร.ควอด กล่าวเสริมว่า “เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความยุ่งยากกังวลใจดังกล่าว ไซแมนเทคได้พัฒนาเทคโนโลยีที่สอดคล้องและตอบสนองต่อธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งกลุ่มพาร์ทเนอร์เองก็มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้ลูกค้าสามารถนำโอกาสจากเทรนด์เทคโนโลยีเหล่านี้ มาใช้ในองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้”

มร.เอริค โฮ รองประธาน ประจำภูมิภาคเอเชียใต้ บริษัท ไซแมนเทค กล่าวเสริมว่า “การที่จะประสบความสำเร็จในสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน องค์กรธุรกิจต้องมีกลยุทธ์ในการใช้ข้อมูลเป็นศูนย์กลาง ทั้ง Cloud Computing, virtualisation และ mobility เป็นเทรนด์หลักเพื่อการพัฒนา ในการนำมาช่วยตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจในการแก้ปัญหาเรื่องความปลอดภัย สตอเรจและการจัดการบริหารระบบ ในขณะเดียวกัน ระบบต่างๆ ดังกล่าวยังสร้างโอกาสที่สำคัญให้พาร์ทเนอร์ของเรา เพิ่มศักยภาพด้านรายได้และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยการให้ความช่วยเหลือและแนะนำลูกค้า สามารถเผชิญกับความท้าทายเหล่านี้ได้โดยไม่สร้างความซับซ้อนยุ่งยากและความเสี่ยงให้เพิ่มขึ้น

ความสำเร็จของ Enhanced Symantec Partner

ไซแมนเทค ได้พัฒนาโปรแกรม Enhanced Symantec Partner และเปิดตัวโปรแกรมดังกล่าวไปเมื่อ 1 เมษายน 2554 ที่ผ่านมา การพัฒนาดังกล่าวฯ เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถของพาร์ทเนอร์ โดยได้รับการออกแบบมาเพื่อให้พาร์ทเนอร์สามารถคาดการณ์การเติบโตและสร้างผลกำไรให้กับธุรกิจ ทั้งนี้ พาร์ทเนอร์สามารถพัฒนาสู่ผู้ให้บริการความเชี่ยวชาญพิเศษ Specialisations โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว ทำให้พาร์ทเนอร์ได้รับความรู้ในเชิงลึกและได้ประโยชน์ในกระบวนการแก้ไขปัญหาการใช้งาน ปัจจุบันนี้ พาร์ทเนอร์กว่า 350 รายในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค และญี่ปุ่น ได้พัฒนาเป็นผู้ให้บริการที่เชียวชาญในการแก้ไขปัญหา )Solution Specialisation) จากจำนวนผู้ให้บริการที่เชี่ยวชาญทั้งหมดกว่า 2,000 รายทั่วทั้งภูมิภาค

“ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคและญี่ปุ่น เป็นเป้าหมายแรกในเชิงภูมิศาสตร์ของเรา ในการเปลี่ยนพาร์ทเนอร์ของเราให้เข้าสู่โปรแกรมไซแมนเทค พาร์ทเนอร์ (Symantec Partner) ที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดโปรแกรมนี้ ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยเพิ่มทักษะความเชี่ยวชาญพิเศษและความรู้ให้แก่พาร์ทเนอร์ของเรา สามารถแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าและช่วยเพิ่มโอกาสแห่งความสำเร็จทางธุรกิจให้แก่ลูกค้า” มร.เดวิด เดนเชียน รองประธาน ฝ่ายพาร์ทเนอร์และธุรกิจเอสเอ็มบี ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น กล่าวและว่า “จากการเปิดตัวโปรแกรม ได้รับผลตอบรับจากพาร์ทเนอร์เป็นอย่างดี โดยพาร์ทเนอร์หลายรายสามารถบรรลุเงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนดได้”

นับตั้งแต่การประกาศพัฒนาโปรแกรมสำหรับพาร์ทเนอร์ดังกล่าว ในปีที่ผ่านมา พาร์ทเนอร์ของไซแมนเทค ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิคและญี่ปุ่นได้รับมอบ 9 Solution Specialisations , 1 Market Segment Specialisation, และ 8 Master Specialisations

กลยุทธ์และวิสัยทัศน์สำหรับช่องทางการจัดจำหน่ายของไซแมนเทค

“ไซแมนเทค เป็นบริษัทที่สร้างรายได้มหาศาลโดยผ่านเครือข่ายของพาร์ทเนอร์ทั้งหลาย วิสัยทัศน์ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายของเรานั้น คือ การสร้างความสัมพันธ์กับพาร์ทเนอร์ โดยให้ความช่วยเหลือในการนำเสนอ โอกาสใหม่ๆ ให้พาร์ทเนอร์เพื่อกระตุ้นการเติบโต รวมถึงการนำเสนอโซลูชั่น ที่เป็นผู้นำในตลาด ช่วยให้พาร์ทเนอร์สามารถบริหารจัดการดูแลในเรื่องความปลอดภัยและการบริหารจัดการข้อมูลของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับโครงการความเชี่ยวชาญพิเศษ Specialisations พาร์ทเนอร์สามารถเพิ่มมูลค่าให้โซลูชั่นและการบริการ สร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันในตลาด”

“สำหรับโปรแกรม Enhanced Partner เราได้นำเสนอวิสัยทัศน์เพื่อการนำไปสู่การปฏิบัติ ในการช่วยเหลือพาร์ทเนอร์ของเราได้มีความแตกต่างทางธุรกิจ เพราะระบบการบริหารจัดการในเรื่องความปลอดภัยและการบริหารจัดการระดับโลกของไซแมนเทค ครอบคลุม การจัดเก็บ การรักษาความปลอดภัย การบริหารจัดการ และการป้องกันข้อมูล ก่อให้เกิดการผลกำไรสูงสุดจากการลงทุน ยอดขายที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ขีดความสามารถทางด้านวิชาการและธุรกิจ ช่วยผลักดันผลกำไร โดยการปรับปรุงวงจรการขายของพาร์ทเนอร์ด้วยเครื่องมือทางการตลาดใหม่ๆ และทรัพยากรต่างๆ ที่สนับสนุนการขาย” มร. เดนเชียน กล่าวเสริม

เมื่อพาร์ทเนอร์ได้รู้จักและพัฒนาไปสู่โปรแกรมความเชี่ยวชาญพิเศษและความชำนาญทางธุรกิจอย่างถ่องแท้แล้ว บริษัทไซแมนเทค ยังคงเดินหน้าในการจัดเตรียมหาเครื่องมือและทรัพยากรที่ส่งเสริมการเติบโตทางธุรกิจใหม่ต่อไป

· “แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากการที่ต้องเร่งเสริมสร้างศักยภาพและกำลังการผลิต หลายๆ บริษัทต่างหันมาใช้เทคโนโลยีในปัจจุบัน เช่น เวอร์ช่วลไลซ์เซซั่นและคลาวด์คอมพิวติ้ง ดังนั้น โปรแกรม Symantec Partner Programmme ที่ได้นำมาใช้ไปพร้อมกับโปรแกรมความเชี่ยวชาญพิเศษ ช่วยเพิ่มความความเชี่ยวชาญและทักษะที่จำเป็นในสาขาเทคโนโลยีหลักๆ ช่วยให้เราสามารถคาดการณ์การเติบโตและผลกำไรในการเติบโตทางธุรกิจของเราได้”

-มร. ฟรานซิส ชู กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อินแกรม ไมโคร เอเชีย จำกัด (Ingram Micro Asia Ltd)
· “การที่บริษัทแอกเซล ฟรอนท์ไลน์ (Accel Frontline) ได้เป็นพาร์ทเนอร์ของไซแมนเทค เหมือนกับการได้รับรางวัลนี้ จากความมุ่งมั่นของเราในโปรแกรมความเชี่ยวชาญพิเศษและผ่านการรับรองจากบริษัทไซแมนเทค ทำให้เรามีความโดดเด่นในฐานะบริษัทผู้วางระบบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสิ่อสารโทรคมนาคมอย่างครบวงจร ไซแมนเทคเป็นบริษัทที่นำเสนอโซลูชั่นที่มีศักยภาพสูงในการตอบสนองต่อความต้องการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ช่วยให้เราจัดสรรระบบที่เหมาะสมให้กับลูกค้าได้ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการ เรามีความภูมิใจในการเป็นพาร์ทเนอร์ระดับแพลททินั่มในประเทศอินเดีย นอกจากนั้นโปรแกรมเพิ่มพูนศักยภาพพาร์ทเนอร์ของทางไซแมนเทคยังสอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจของเราได้อย่างดี”

–มร.มาคบูล ฮัสสัน รองประธานบริหารและหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท แอกเซล ฟรอนท์ไลน์ จำกัด (อินเดีย) Accel Frontline Ltd (India)
· “บริษัท เอฟพีที อินฟอร์เมชั่น คอร์ปอเรชั่น (FPT Information Corporation) จัดเป็นพาร์ทเนอร์ระดับแนวหน้าของไซแมนเทค ในประเทศเวียดนาม โดยเฉพาะตลาดด้านภาครัฐ การสื่อสารโทรคมนาคม ด้านสาธารณะและอุตสาหกรรมการเงิน ตลอดระยะเวลาในการเป็นพาร์ทเนอร์ เราสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในด้านการปกป้องข้อมูลโดยสามารถให้บริการโซลูชั่นจากผู้นำตลาดด้านการรักษาความปลอดภัยและโซลูชั่นด้านการจัดเก็บข้อมูลของบริษัทได้อย่างเป็นอย่างดี ทั้งนี้บริษัท เอฟพีที อินฟอร์เมชั่น คอร์ปอเรชั่น มีวิสัยทัศน์ในระดับสากลและในฐานะพาร์ทเนอร์ระดับแพลททินั่มของไซแมนเทค รวมถึงการเป็นผู้นำในด้านการวางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโทรคมนาคมอย่างครบวงจร ในประเทศเวียดนาม การได้รับประโยชน์จากโปรแกรมความเชี่ยวชาญพิเศษจากไซแมนเทค ไปพร้อมกับการเป็นพาร์ทเนอร์อย่างเหนียวแน่น ยังทำให้เรากลายเป็นบริษัทระดับโลกและเพิ่มคุณค่าในด้านการบริการให้กับลูกค้าของเราอีกด้วย ”

–มร.ฟาร์ม เทรือ ลินห์, กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอฟพีที คอร์ปอเรชั่น สำหรับ การสื่อสารโทรคมนาคมและภาครัฐ (เวียตนาม) FPT Information for Telecom and Public Sector Services (Vietnam)
· “โปรแกรมความเชี่ยวชาญพิเศษของไซแมนเทค และการได้รับการรับรอง ทำให้บริษัท เมสินเนียกา เบอร์ฮาด (Mesiniaga Berhad) มีความแตกต่างไปจากบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรม รวมไปถึงการเพิ่มมูลค่าในการนำเสนอธุรกิจของเรา ไซแมนเทคมีขอบข่ายในการแก้ไขปัญหาอย่างกว้างขวางสามารถสร้างเสริมทักษะได้อย่างดี พร้อมยังตอบสนองความต้องการทางธุรกิจของลูกค้าได้ การได้เป็นพาร์ทเนอร์ระดับแพลททินั่มกับทาง ไซแมนเทคช่วยให้ บริษัท เมสินเนียกา เบอร์ฮาด (Mesiniaga Berhad) นำประโยชน์และสิ่งที่มีคุณค่าที่เกี่ยวข้องส่งต่อให้ลูกค้าได้ต่อไป เรามีความยินดีที่เป็นส่วนหนึ่งในพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจของไซแมนเทครุ่นแรกๆ ในประเทศมาเลเซียที่ได้รับการเปลี่ยนมาสู่โปรแกรม Enhanced Symantec Partner ”

–มร. เกง โฮ วอง ผู้อำนวยการการจัดการบริหารโครงการและโซลูชั่นทางการตลาด บริษัท เมสินเนียกา เบอร์ฮาด (มาเลเซีย) Mesiniaga Berhad (Malaysia)
· “ความแตกต่างทางธุรกิจกลายเป็นตัวแปรสำคัญเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จเมื่อการแข่งขันในตลาดเพิ่มสูงขึ้น โปรแกรม enhanced Partner พร้อมด้วยโปรแกรมความเชี่ยวชาญพิเศษของบริษัทไซแมนเทค ทำให้บริษัทเราตระหนักถึง ความชำนาญในเทคโนโลยีตัวหลักสำคัญของเรา ช่วยสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งอื่นๆ ในอุตสาหกรรม และสำคัญที่สุดคือการทำให้ลูกค้าของเราเพิ่มความเชื่อมั่นในความเชี่ยวชาญและความรู้ของเราว่าเหมาะสมกับธุรกิจและเป้าหมายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ”

–นายอรุณ ต่อเอกบัณฑิต, ประธาน บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) Metro Systems Corporation PCL (Thailand)
· “บริษัทเอ็ม เอฟ อี ซี (MFEC) มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพทางเศรษฐกิจและแนวโน้มในอนาคต โดยการลงทุนเพิ่มบุคลากรและการพัฒนาเทคโนโลยี การเป็นพาร์ทเนอร์กับทางผู้จัดจำหน่ายต่างๆ นำไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์ การให้บริการที่ตรงตามความต้องการของตลาด โปรแกรมของบริษัทไซแมนเทค นี้ช่วยให้เรามีความแตกต่างจากคู่แข่งอื่นๆ ในเครือข่ายด้านเทคโนโลยี รวมถึงช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับทีมในการดำเนินงานให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้าเพื่อแข่งขันและประสบความสำเร็จในระบบเศรษฐกิจเครือข่าย”

–นายศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอ็มเอฟอีซี จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)MFEC Public Company Ltd (Thailand)
· “บริษัทต่างๆ และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ต้องประสบกับความท้าทายที่เพิ่มมากขึ้นในด้านระบบพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการป้องกันตัวเองจากความซับซ้อนและปัญหาภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ที่ยุ่งยาก รวมถึงการความต้องการในการจัดเก็บข้อมูล พร้อมข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น การเป็นพาร์ทเนอร์ระดับแพลททินั่มด้าน Storage Management, Archiving & eDiscovery, Data Protection and High Availability specialised Partner (Platinum) โปรแกรม Symantec enhanced Partner เป็นเครื่องมือสร้างทักษะความชำนาญและความรู้เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและสามารถบอกจุดอ่อนด้อยต่างๆได้ เป็นความร่วมมือที่ยอดเยี่ยมและหวังว่าจะเติบโตไปพร้อมกับทางไซแมนเทค”

–มร.วินเซนต์ โล ผู้จัดการทั่วไปด้านผลิตภัณฑ์และบริการ บริษัท เอ็นซีเอส พีทีอี จำกัด (สิงคโปร์) NCS Pte Ltd (Singapore)
· “โปรแกรม Symantec enhanced Partner เพิ่มศักยภาพให้กับบริษัทเราในด้านเครือข่ายเทคโนโลยี ให้มีความแข็งแกร่งสำหรับการแข่งขันในตลาด ในฐานะพาร์ทเนอร์ระดับแพลททินั่ม เราจะรักษาความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับทาง ไซแมนเทคในการนำเสนอผลงานด้านการรักษาความปลอดภัยและการจัดเก็บข้อมูลสู่ลูกค้าของเราต่อไป.”

–มร.จาฟริล เอฟเฟนดิ ประธานอำนวยการ บริษัท พีที มิตรา อินเอตร์กราสิ อินฟอร์มาติกา จำกัด (อินโดนีเซีย) PT. Mitra Integrasi Informatika (Indonesia)
· “บริษัทไซแมนเทค มีโซลูชั่นด้านจัดเก็บข้อมูลและการรักษาความปลอดภัยที่หลากหลาย เราสามารถนำไปเสนอต่อลูกค้าได้ ในปีนี้ทางบริษัท ครีเอทีฟ เทคโนโลยี อิงค์ (Creative Technologies Inc.) จะทำการเฉลิมฉลองครบรอบ 20 ปีในวงการอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ การเป็นพาร์ทเนอร์กับไซแมนเทค ทำให้เราได้รับความช่วยเหลือ ทำให้บริษัทของเราเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราชื่นชมการช่วยแก้ไขตั้งแต่เริ่มต้นจนจบของบริษัท ไซแมนเทคในด้านวางระบบพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงการช่วยจัดเตรียมการป้องกันข้อมูลให้กับลูกค้า ในฐานะพาร์ทเนอร์ระดับโกลด์ เราได้ก้าวถึงความเชี่ยวชาญพิเศษ สร้างทักษะและความรู้ด้านผลิตภัณฑ์ รวมทั้งยังช่วยให้เราเป็นที่ยอมรับต่อลูกค้าในด้านความชำนาญในการให้บริการและการสนับสนุน”

–มร.จาคอบ ดี รองประธานด้านการขายและการตลาด บริษัท ครีเอทีฟ เทคโนโลยี อิงค์ (ฟิลิปปินส์) Creative Technologies Inc. (Philippines)
· “ความสัมพันธ์ของเรากับทางไซแมนเทค มากกว่าทศวรรษ เราชื่นชมในโปรแกรม Symantec Partner ช่วยสร้างคุณประโยชน์และความแตกต่างในการนำเสนอต่อลูกค้า ความต้องการลดความซับซ้อนในสภาพแวดล้อมของลูกค้า ความเป็นผู้นำและความเหนือชั้นทางด้านเทคนิคที่ได้รับการพิสูจน์ของทางไซแมนเทค ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างทักษะของบริษัทเราช่วยสร้างผลประโยชน์อย่างยอดเยี่ยมให้กับลูกค้าของเรา การมุ่งเน้นไปโปรแกรมความเชี่ยวชาญพิเศษ ข้อเสนอของเราเน้นที่ความแตกต่างมากขึ้นอย่างระบบป้องกันข้อมูลสูญหาย (Data Loss Prevention (DLP)) และการสำรองข้อมูล (Back up) ในด้านการบริการซึ่งเรานำเสนอควบคู่ไปกับทางไซแมนเทค”

–มร.วิคัส ศรีวัฒทาวา รองประธาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท ไวโปร จำกัด (อินเดีย) Wipro Ltd. (India)

View :1551

ผลการศึกษาระบุหากไทยยกระดับกรอบนโยบายเพื่อรองรับเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง จะเพิ่มโอกาสการจ้างงานเชิงคุณภาพ และทำให้เกิดธุรกิจใหม่

September 9th, 2011 No comments

การยกระดับกรอบนโยบายของประเทศไทย เพื่อรองรับเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง () และเศรษฐกิจแบบดิจิตอล () จะมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยก้าวไปสู่เป้าหมายการขยายระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพิงนวัตกรรมตามที่มุ่งหวังไว้ นำไปสู่การเติบโตของตลาดงานแบบยั่งยืน โดยมีค่าแรงที่เพิ่มสูง และมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ยังมีอุปสรรคบางประการที่ต้องข้ามผ่านเสียก่อน เป็นข้อมูลจากการศึกษาล่าสุด เรื่องเศรษฐกิจแบบดิจิตอลและคลาวด์ คอมพิวติ้ง โดยกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) และบริษัทวิจัยกาเลกเซีย (Galexia) ที่ศึกษาความพร้อมด้านนโยบาย และกฎหมาย ที่เกี่ยวกับคลาวด์ คอมพิวติ้ง ใน 14 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก

การศึกษาระบุว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีศักยภาพในการเป็นศูนย์รวมการทำธุรกิจบนเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง ระดับโลก อย่างไรก็ดี พบว่าเกือบจะทุกประเทศในภูมิภาคนี้จะได้รับประโยชน์มากขึ้น หากมีการปรับปรุงกฎหมาย และนโยบาย ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ในลักษณะที่แตกต่างกันไป เพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง ระหว่างประเทศ

“การเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้งทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งกำหนดนโยบายในเรื่องนี้ เพื่อให้ภาคธุรกิจได้รับโอกาสทางธุรกิจมากที่สุดในระบบเศรษฐกิจแบบดิจิตอล และคลาวด์ คอมพิวติ้ง” นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าว “ประเทศไทยมีจุดแข็งในกรอบนโยบายอย่างชัดเจน แต่เรายังสามารถปรับปรุง และทำให้กรอบนโยบายของเราดียิ่งขึ้น การเพิ่มความเชื่อมั่น และสร้างความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมบนโลกออนไลน์ เป็นเรื่องจำเป็นที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทย ในการดึงดูดนักลงทุน สร้างงานคุณภาพ และส่งเสริมอุตสาหกรรมไอทีของเรา”

ประเทศไทยเริ่มต้นได้ดีแล้วกับนโยบายเพื่อรองรับคลาวด์ คอมพิวติ้ง และเศรษฐกิจแบบดิจิตอล อย่างไรก็ดี ยังต้องแก้ไขช่องโหว่ที่สำคัญ เพื่อให้ทันคู่แข่งอื่นในภูมิภาค การส่งเสริมความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับกรอบนโยบาย ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจของประเทศไทย ในสิ่งแวดล้อมใหม่ที่เป็นคลาวด์ คอมพิวติ้งและเศรษฐกิจแบบดิจิตอล

“บางเรื่องภายใต้กรอบนโยบายเพื่อรองรับเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง ของประเทศไทย ถือว่าเป็นจุดแข็ง แต่หากมีการพัฒนาเนื้อหาในบางเรื่อง ประเทศไทยจะสามารถมีกรอบนโยบายที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจแบบดิจิตอล เกิดผลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น” มร. โรเจอร์ ซอมเมอร์วิลล์ ผู้อำนวยการอาวุโสด้านรัฐบาลและนโยบายประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของบีเอสเอกล่าว “การมีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลออกมารองรับ จะช่วยให้ไทยสามารถเพิ่มโอกาสได้มากขึ้น จากเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง

มร. โรเจอร์ กล่าวว่า ประเทศไทยได้พัฒนากฎหมายหลายฉบับ ที่มีเนื้อหาครบถ้วน ที่เกี่ยวกับอาชญกรรมบนโลกไซเบอร์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจสำหรับการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีกฎหมายที่ดีหลายฉบับ เกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่แล้วด้วย

การศึกษาครั้งนี้ ได้ตรวจสอบกรอบกฎหมายและนโยบายของ 14 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประกอบด้วย ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม และเน้นไปที่ 8 หัวข้อที่สำคัญ ผลการศึกษาที่สำคัญมีดังต่อไปนี้

 ความปลอดภัย (Security) ประเทศในเอเชียส่วนใหญ่มีกฎหมายว่าด้วยเรื่องลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่ชัดเจนและมีความเป็นกลางในเรื่องเทคโนโลยี และได้กำหนดกฎระเบียบว่าด้วยการรับรองลายมือชื่อเซ็น ตามความจำเป็นไว้แล้ว มีการกำหนดมาตรการเรื่องความปลอดภัยในประเทศส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดี มีประเทศเป็นจำนวนไม่น้อย ได้เริ่มต้นกำหนดรูปแบบการปิดกั้น หรือกลั่นกรองเนื้อหาบนอินเตอร์เน็ท ซึ่งอาจขัดขวางการขยายตัวของเศรษฐกิจแบบดิจิตอล และคลาวด์ คอมพิวติ้งได้
 อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime) ประเทศส่วนใหญ่มีกฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หรือไม่ก็มีกฎหมายเกี่ยวกับอาชญกรรมบนโลกไซเบอร์ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว และเนื้อหาส่วนใหญ่ของกฎหมายดังกล่าวมีความสอดคล้องกับสนธิสัญญาว่าด้วยเรื่องอาชญกรรมบนโลกไซเบอร์ อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันอย่างมากในส่วนของกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวน และการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งรวมถึงการเข้าถึงข้อมูลที่เข้ารหัสไว้ และการกระทำความผิดข้ามเขตแดนที่กฎหมายของแต่ละประเทศบังคับใช้อยู่
 ความสามารถในการทำงานข้ามระบบกันได้ (Interoperability) ถึงแม้ว่าประเทศในเอเชียส่วนใหญ่มีกฎหมาย หรือกฎข้อบังคับที่กำหนดกรอบเรื่องความสามารถในการทำงานข้ามระบบ และการถ่ายโอนข้อมูล แต่แนวทางของรัฐบาลที่เกี่ยวกับขั้นตอนการพัฒนาให้เป็นมาตรฐานยังมีความลักหลั่นกันอยู่ มีการตัดสินใจนอกรอบหลายเรื่องโดยไม่ได้อิงกับกรอบการทำงานและนโยบายแห่งชาติ จึงจำเป็นต้องมีการทำงานอย่างจริงจังในส่วนนี้ เพื่อส่งเสริมและเร่งการพัฒนามาตรฐานดังกล่าว
 การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy) ประเทศเอเชียส่วนใหญ่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอยู่แล้ว และได้จัดตั้งกรรมาธิการอิสระขึ้น เพื่อดูแลในเรื่องนี้ มีการปฏิรูปกฎหมายครั้งใหญ่ในเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีการทบทวนและข้อเสนอเกิดขึ้น ในออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน อย่างไรก็ดี ประเทศสำคัญ อย่าง จีน อินเดีย และอินโดนีเซีย ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูล
 สิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Rights) ภูมิภาคนี้กำลังมุ่งหน้าไปในแนวทางต่อเนื่องเกี่ยวกับสิทธิหลายอย่างที่สำคัญ และการคุ้มครองสิทธิเหล่านั้น แม้ว่าจะยังมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ของแนวทางเกี่ยวกับข้อมูลการจัดการสิทธิ และเทคโนโลยีการเข้าสู่ข้อมูล ยังมีช่องว่างในกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศสำคัญๆ รวมถึงอินเดีย และฟิลิปปินส์
 การสร้างกฎเกณฑ์ร่วมกันในระดับนานาชาติ (International harmonization of rules) กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคนี้มีเนื้อหาไปในทิศทางเดียวกันมาก โดยประเทศส่วนใหญ่มีการร่างกฎหมาย โดยอิงกับโมเดลกฎหมายของ UNCITRAL ว่าด้วยเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และ/หรือ อนุสัญญาขององค์กรสหประชาชาติว่าด้วยการทำสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ (UN Convention on Electronic Contracting) หลายประเทศได้ลงนามและรับรองอนุสัญญา และนำไปสู่การสร้างกฎเกณฑ์ร่วมกัน ทำให้การเก็บภาษีศุลกากร หรือการกีดกันทางการค้า สำหรับการซื้อขายซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ แบบออนไลน์ เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ยากมากในภูมิภาคนี้
 การค้าเสรี (Free trade) ยังคงมีการจัดซื้อจัดหาที่ให้สิทธิพิเศษหรือไม่เท่าเทียมกันอยู่บ้างประปราย การปฏิบัติเช่นนี้เป็นการจำกัดการแข่งขัน และอาจส่งผลกระทบในระยะยาว ต่อการจัดหาและต้นทุนของผลิตภัณฑ์และบริการแบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง ในบางประเทศ อย่างไรก็ดี มีประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นภาคีของความตกลงว่าด้วยการจัดซื้อจัดหาของภาครัฐ (WTO Agreement on Government Procurement) เป็นจำนวนมากขึ้น สิ่งนี้ทำให้การจัดซื้อจัดหาของภาครัฐมีความเป็นกลางและเสรีมากขึ้น
 โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) การมีอยู่และการเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ในภูมิภาคมีความแตกต่างกัน และพบว่ามีบางประเทศยังไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ที่สามารถสนับสนุนและใช้แสวงหาประโยชน์จากเศรษฐกิจแบบดิจิตอลและคลาวด์ คอมพิวติ้ง ได้อย่างเต็มที่

“การศึกษาครั้งนี้ไม่ได้จัดอันดับคุณภาพของสภาวะแวดล้อมทางกฎหมายและนโยบายในประเทศที่ทำการศึกษา เพียงแต่มุ่งให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบดูว่า ปัญหาด้านกฎหมายและนโยบายที่จำเป็นต้องแก้ไขในประเทศเหล่านี้ ได้รับการแก้ไขแล้วหรือยัง เพราะเรื่องที่ศึกษามีขอบเขตกว้างขวางและครอบคลุมหลายประเทศ การศึกษานี้จึงเสนอการประเมินในระดับพื้นฐาน เพื่อดูว่าโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นของเศรษฐกิจดิจิตอลมีความพร้อมแล้วหรือยัง มากกว่าจะมุ่งเจาะลึกดูว่าการเตรียมความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวดำเนินไปได้ดีเพียงใด” มิสเตอร์ โรเจอร์กล่าว

เราหวังว่าการศึกษาครั้งนี้จะทำให้เกิดการพูดคุยกันในกลุ่มผู้กำหนดนโยบาย เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปสำหรับการแก้ไขที่จำเป็น โดยให้มุมมองว่า การสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจแบบดิจิตอล และคลาวด์ คอมพิวติ้ง ในเอเชีย จำเป็นต้องทำผ่านการยกระดับนโยบาย และการผนึกรวมเรื่องของการค้าและเศรษฐกิจเข้าไว้ด้วยกัน การศึกษาครั้งนี้เป็นเสมือนเครื่องมือ เพื่อช่วยให้ผู้กำหนดนโยบาย สามารถทำการประเมินในเชิงสร้างสรรค์ และวางแผนขั้นต่อไป ที่จำเป็นเพื่อสร้างให้เกิดความเชื่อมั่น ในสิ่งแวดล้อมแบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง โดยเน้นไปที่การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยในธุรกรรมต่างๆ ของผู้ใช้งาน หรือได้รับบริการคลาวด์ คอมพิวติ้ง และเพื่อส่งเสริมให้เกิดการทำงานประสานข้ามระบบ และการถ่ายโอนข้อมูลกันได้ ตลอดจนกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมที่จำเป็นต่อการใช้ประโยชน์บนเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้งอย่างเต็มที่

View :1649

ทรูไอดีซี ผนึก ซอฟต์แวร์พาร์ค ประกาศผลโครงการ “ทรู คลาวด์ วินเนอร์”

September 7th, 2011 No comments

ทรูไอดีซี ร่วมกับ ซอฟต์แวร์พาร์ค ประกาศผลโครงการ “” ซึ่งจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ทำงานบนระบบคลาวด์ คอมพิวติ้งให้หลากหลายมากขึ้น เฟ้นหานักพัฒนาซอฟต์แวร์บนคลาวด์ คอมพิวติ้งรายแรกในไทย เดินหน้าเพิ่มศักยภาพนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยเติบโตสู่ตลาดโลก ปั้นซอฟต์แวร์สู่ธุรกิจคลาวด์ คอมพิวติ้งอย่างเป็นรูปธรรม

นายเจนวิทย์ คราประยูร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด กล่าวว่า “ทรูไอดีซี ยินดีกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ได้รับคัดเลือกในโครงการ ทรู คลาวด์ วินเนอร์ ซึ่งทุกผลงานแสดงศักยภาพของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยที่มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถออกแบบซอฟต์แวร์ที่เป็นประโยชน์และนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยโครงการนี้ เป็นการต่อยอดความร่วมมือระหว่างทรูไอดีซีและซอฟต์แวร์พาร์ค เพื่อสนับสนุนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทย ให้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ในรูปแบบ Software as a Service (SaaS) บนเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง อีกทั้งยังส่งเสริมและผลักดันให้ธุรกิจซอฟต์แวร์ของไทยสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพในตลาดไอทียุคใหม่ ที่เทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้งมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง”

รองศาสตราจารย์ ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย กล่าวว่า “ความร่วมมือกับทรูไอดีซีในโครงการ ทรู คลาวด์ วินเนอร์ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้มีการรวมตัวกันของผู้ให้บริการคลาวด์ทุกภาคส่วน ทั้งผู้ให้บริการคลาวด์ ผู้ประกอบการด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ และนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทย และยังเป็นการกระตุ้นให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยตระหนักถึงการพัฒนาซอฟต์แวร์บนเทคโนโลยีคลาวด์ เพื่อสนับสนุนให้เกิดบริการบนเทคโนโลยีคลาวด์อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งซอฟต์แวร์พาร์คทำหน้าที่หลักในการเป็นสื่อกลางให้ความรู้ แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีคลาวด์ โดยเป็นสื่อกลางระหว่างผู้เชี่ยวชาญทุกด้านที่เกี่ยวข้อง ที่สำคัญ ซอฟต์แวร์ที่เข้าร่วมโครงการนี้ ต้องมีการออกแบบการดำเนินธุรกิจตามแนวทางของคลาวด์ คอมพิวติ้งอย่างแท้จริง จึงมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยปรับเปลี่ยนการพัฒนาซอฟต์แวร์ในรูปแบบเดิม มาพัฒนาบนคลาวด์เทคโนโลยี และเพิ่มศักยภาพให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้”

โครงการทรู คลาวด์ วินเนอร์ มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ส่งผลงานเข้าร่วมโครงการกว่า 30 ราย โดยคณะกรรมการตัดสินประกอบด้วยตัวแทนผู้เชี่ยวชาญจากทรูไอดีซีและซอฟต์แวร์พาร์ค กำหนดหลักเกณฑ์การตัดสินผลงานจากเงื่อนไขที่ต้องตรงกับรูปแบบของ SaaS อย่างแท้จริง อาทิ ต้องสามารถทำงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยใช้งานผ่านเว็บเบราเซอร์หลากหลายแพลตฟอร์ม ผู้ใช้บริการต้องสามารถบริหาร จัดการ ตรวจสอบโปรแกรมเฉพาะในส่วนที่ตนเองเลือกใช้บริการได้ ผู้ให้บริการต้องสามารถปรับปรุงเวอร์ชั่นซอฟต์แวร์ได้โดยที่ผู้ใช้บริการไม่ต้องดำเนินการใดๆ และโปรแกรมต้องสามารถคิดค่าบริการตามการใช้งานจริงได้ (On Demand) สามารถคิดค่าบริการเป็นรายวันหรือรายเดือนได้ โดยไม่ต้องมีข้อผูกมัดใดๆ และผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องลงทุนหรือจัดซื้ออุปกรณ์เอง โดยประกาศผลงานที่ผ่านหลักเกณฑ์และได้รับรางวัลดังนี้

รางวัลชนะเลิศ :

ซอฟต์แวร์ ERP Modules Working on SaaS Model

พัฒนาโดย บริษัท Absolute Management Solutions Co., Ltd.

ซอฟต์แวร์ ERP Modules Working on SaaS Model เป็นระบบบริหารธุรกิจภายในองค์กร มีบริการฟังก์ชั่นการทำงานของประเภทธุรกิจซื้อมาขายมา คือระบบบริหาร Stock ,Inventory, Procument, Retail, Whosales และ Finance ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.absolute.co.th

รางวัลรองชนะเลิศ 3 รางวัล

· ซอฟต์แวร์ iFakeproof (CRM on Demand) พัฒนาโดย บริษัท Open Enterprise Systems Co.,Ltd

ซอฟต์แวร์ iFakeproof (CRM on Demand) เป็นระบบตรวจสอบการปลอมแปลงสินค้า ที่สร้างขึ้นเพื่อให้เจ้าของสินค้านำรหัส iFakeProof ที่สร้างขึ้นจากการเข้ารหัสความปลอดภัยไปติดอยู่บนสินค้าของตนเอง เพื่อผู้บริโภคสามารถตรวจสอบได้ในขณะที่ซื้อสินค้าว่าเป็นสินค้าแท้จากเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือไม่ ผ่าน SMS ,อินเทอร์เน็ต และ ผ่านอินเทอร์เน็ต เบราเซอร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน เป็นต้น โดยรหัสดังกล่าวจะไม่ซ้ำกันเลยในแต่ละกล่อง/ชิ้น ไม่มีการเก็บรหัสดังกล่าวในฐานข้อมูลและใช้ตรวจสอบได้เพียงครั้งเดียว สามารถป้องกันการปลอมแปลงตัวรหัส ซึ่งทำให้ป้องกันการแอบอ้างชื่อสินค้าไปปลอมแปลงและสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคในการใช้สินค้า ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ifakeproof.com

· ซอฟต์แวร์ ICON Customer Relationship Management (ICON CRM) พัฒนาโดย บริษัท Trinity Solution Provider Co., Ltd.

ICON CRM เป็นระบบบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า เรียนรู้ความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้า และตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยสินค้า หรือบริการที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคน ICON CRM ยังรองรับการสร้างโปรโมชั่นหรือแคมเปญ โดยสามารถกำหนดการส่งเสริมการขาย และกลยุทธ์ทางการตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมได้ผ่านช่องทาง ทั้งทางอีเมล์, SMS หรือจดหมาย (Label) รวมถึงการติดตามการขายของพนักงานขายและกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างพนักงานขายกับลูกค้า และรองรับการติดตามในเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นภายหลังการขายอาทิ การบริการหลังการขาย การบันทึกนัดหมายแจ้งเตือนการบริการ และคำแนะนำติชมต่างๆ เป็นต้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.iconcrm.com

· ซอฟต์แวร์ Vtiger CRM Cloud พัฒนาโดย บริษัท Infotronics Co.,Ltd.

ระบบบริหารลูกค้าสัมพันธ์ Customer Relationship Management ควบคุมกระบวนการตั้งแต่ทำการตลาด, การขาย บริการลูกค้าหลังการขาย (life circle) จนกระทั่งปิดการขาย จัดโปรโมชั่น สามารถใช้งานบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ Android, iPad และ iPhone ได้ โดยระบบนี้จะช่วยให้ธุรกิจทุกขนาดสามารถดูแลลูกค้าได้มากขึ้น ลดความผิดพลาดของพนักงานขาย ลดเวลาในการขาย ได้เงินเร็วขึ้น ทั้งยังใช้งานง่ายในรูปแบบของแอพพลิเคชั่นที่ทำงานบน iphone หรือ android ได้อย่างลงตัว ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ecitcrm.com

จากภาพ: รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ (กลาง) ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย และ นายเจนวิทย์ คราประยูร (ที่ 3 จากขวา) ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด มอบประกาศนียบัตรและรางวัล iPad 2 แก่นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ (ที่ 3 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอ๊บโซลูท เมเนจเม้นท์ โซลูชั่น จำกัด ผู้ชนะเลิศการประกวดโครงการทรู คลาวด์ วินเนอร์ และมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศทั้ง 3 รางวัล

ทั้งนี้ ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศในโครงการทรู คลาวด์ วินเนอร์ จะได้รับรางวัล iPad และผู้ได้รับรางวัลทุกรายจะได้รับการขยายอายุบัญชีการใช้บริการทรู คลาวด์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก 6 เดือน (สิ้นสุด 31 มกราคม 2555) การให้คำปรึกษาด้านเทคนิคและด้านสินค้าและบริการ รวมถึงความช่วยเหลือพิเศษด้าน Infrastructure as a Services (IaaS) และการสนับสนุนการขาย SaaS ของลูกค้าบนบริการทรูคลาวด์

สำหรับผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่สนใจพัฒนาซอฟต์แวร์บนเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง หรือต้องการทดลองใช้บริการทรูคลาวด์ ทรูไอดีซีจัดโปรโมชั่นพิเศษให้ทดลองใช้บริการฟรีเป็นเวลา 1 เดือน ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร 02 699 1400 หรือ อีเมล์ cloud@trueidc.co.th

View :1780

ก.ไอซีที จับมือภาคเอกชนส่งเสริมเทคโนโลยี Cloud Computing

September 5th, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงวิชาการ หัวข้อ “ and Scorecard” ว่า ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจในโลกยุคดิจิทัล ได้ทำให้รัฐบาลของแต่ละประเทศรวมถึงประเทศไทยตื่นตัว และเตรียมความพร้อมในหลายๆ ด้าน เพื่อใช้ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีมาสนับสนุนและเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยในเวทีโลกยุคดิจิทัล

โดยเทคโนโลยี Cloud Computing จัดเป็นความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่กระทรวงฯ ได้ให้ความสำคัญในระยะเวลาที่ผ่านมา และได้วางแผน ส่งเสริม สนับสนุน รวมทั้งประสานงานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ความพร้อมในเรื่องบุคลากร ตลอดจนความพร้อมในเรื่องนโยบายและกฎหมาย โดยกระทรวงฯ ได้ร่วมกับกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) จัดงานสัมมนา “Digital Economy and Cloud Computing Scorecard” สำหรับผู้บริหารระดับสูง และเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขึ้น เพื่อนำเสนอผลการศึกษาเปรียบเทียบเรื่องกรอบนโยบายและกฎหมายของประเทศในกลุ่มเอเชียและแปซิฟิกทั้งหมด 14 ประเทศ ซึ่งมีเนื้อหาประกอบด้วยการใช้เทคโนโลยี Cloud Computing ความมั่นคงปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล โดยจะประเมินความพร้อมของกรอบนโยบายและกฎหมายของประเทศต่างๆ เหล่านี้ภายใต้สิ่งแวดล้อมใหม่ ที่เรียกว่า เศรษฐกิจในโลกยุคดิจิทัล

“งานสัมมนาครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดตัวผลการศึกษาสิ่งแวดล้อมทางด้านนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล (Digital Economy) ของ 14 ประเทศในกลุ่มเอเชีย-แปซิฟิกขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อให้ผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงฯ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งนักกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้าร่วมสัมมนาได้รับทราบ โดยผลการศึกษานี้เน้นในเรื่องความพร้อมสำหรับการรองรับเทคโนโลยี Cloud Computing รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกคนจะสามารถนำกลับไปพิจารณาให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากรอบนโยบายและกฎหมายในส่วนงานได้

เพราะแม้ว่าประเทศไทยจะมีจุดแข็งอย่างชัดเจนในกรอบนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Cloud Computing แต่ก็ยังจำเป็นต้องพิจารณาโอกาสที่จะพัฒนากรอบนโยบายและกฎหมายที่มีอยู่ เพื่อให้ประเทศไทยได้ชื่อว่ามีความพร้อมที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิค และให้ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี Cloud Computing ” นางจีราวรรณ กล่าว

View :1548

ก.ไอซีที จับมือภาคเอกชนส่งเสริมเทคโนโลยี Cloud Computing

September 5th, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงวิชาการ หัวข้อ “ and Scorecard” ว่า ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจในโลกยุคดิจิทัล ได้ทำให้รัฐบาลของแต่ละประเทศรวมถึงประเทศไทยตื่นตัว และเตรียมความพร้อมในหลายๆ ด้าน เพื่อใช้ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีมาสนับสนุนและเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยในเวทีโลกยุคดิจิทัล

โดยเทคโนโลยี Cloud Computing จัดเป็นความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่กระทรวงฯ ได้ให้ความสำคัญในระยะเวลาที่ผ่านมา และได้วางแผน ส่งเสริม สนับสนุน รวมทั้งประสานงานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ความพร้อมในเรื่องบุคลากร ตลอดจนความพร้อมในเรื่องนโยบายและกฎหมาย โดยกระทรวงฯ ได้ร่วมกับกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) จัดงานสัมมนา “Digital Economy and Cloud Computing Scorecard” สำหรับผู้บริหารระดับสูง และเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขึ้น เพื่อนำเสนอผลการศึกษาเปรียบเทียบเรื่องกรอบนโยบายและกฎหมายของประเทศในกลุ่มเอเชียและแปซิฟิกทั้งหมด 14 ประเทศ ซึ่งมีเนื้อหาประกอบด้วยการใช้เทคโนโลยี Cloud Computing ความมั่นคงปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล โดยจะประเมินความพร้อมของกรอบนโยบายและกฎหมายของประเทศต่างๆ เหล่านี้ภายใต้สิ่งแวดล้อมใหม่ ที่เรียกว่า เศรษฐกิจในโลกยุคดิจิทัล

“งานสัมมนาครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดตัวผลการศึกษาสิ่งแวดล้อมทางด้านนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล (Digital Economy) ของ 14 ประเทศในกลุ่มเอเชีย-แปซิฟิกขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อให้ผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงฯ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งนักกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้าร่วมสัมมนาได้รับทราบ โดยผลการศึกษานี้เน้นในเรื่องความพร้อมสำหรับการรองรับเทคโนโลยี Cloud Computing รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกคนจะสามารถนำกลับไปพิจารณาให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากรอบนโยบายและกฎหมายในส่วนงานได้

เพราะแม้ว่าประเทศไทยจะมีจุดแข็งอย่างชัดเจนในกรอบนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Cloud Computing แต่ก็ยังจำเป็นต้องพิจารณาโอกาสที่จะพัฒนากรอบนโยบายและกฎหมายที่มีอยู่ เพื่อให้ประเทศไทยได้ชื่อว่ามีความพร้อมที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิค และให้ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี Cloud Computing ” นางจีราวรรณ กล่าว

View :1611