Archive

Archive for the ‘E-Commerce’ Category

เทรนด์ไมโครแนะนำเคล็ดลับชอปปิ้งผ่านมือถืออย่างปลอดภัยไร้กังวล

December 14th, 2012 No comments


ศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บส์ บริษัท เปิดเผยว่า ปัจจุบันนี้ “การชอปปิ้งผ่านมือถือ” กลายเป็นเรื่องที่สะดวกสบายอย่างยิ่งสำหรับการจับจ่ายซื้อสินค้าในปัจจุบัน คุณสามารถชอปปิ้งได้จากทุกที่ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ มีร้านค้าออนไลน์นับร้อยล้านที่มีสินค้าให้คุณเลือกซื้อ และทุกสิ่งที่คุณสั่งซื้อทางออนไลน์พร้อมส่งตรงถึงหน้าประตูบ้านของคุณ คุณไม่ต้องฝ่าฟันการจราจรออกไปหรือไม่ต้องต่อคิวชำระเงิน ไม่มีความยุ่งยากใดๆ มีแต่ความสะดวกสบายอย่างที่สุด

โดยจะเห็นได้ว่ามีผู้คนในจำนวนที่มากขึ้นเรื่อยๆ กำลังติดนิสัยการชอปปิ้งผ่านมือถือ จากผลสำรวจของบริษัท ไอดีซี พบว่า 34% ของผู้ตอบแบบสำรวจ ระบุว่าพวกเขาได้สั่งซื้อสินค้าผ่านทางโทรศัพท์มือถือเป็นจำนวนที่มากกว่าปีที่แล้วสองเท่าตัว ขณะที่แบบสำรวจของบริษัท คอมสกอร์ (comScore) พบว่า 4 ใน 5 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนในประเทศสหรัฐอเมริกาเลือกที่จะชอปปิ้งผ่านโทรศัพท์มือถือ และดูเหมือนว่าจำนวนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป

ข้อเท็จจริง: ที่ไหนมีเหยื่อ ที่นั่นย่อมมีอาชญากรไซเบอร์ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะได้เห็นการโจมตีผ่านทางระบบโทรศัพท์มือถือเพิ่มมากขึ้น สำหรับเหล่าวายร้ายแล้วนักชอปผ่านโทรศัพท์มือถือที่ไม่ระวังตัวมีโอกาสที่จะตกเป็นเหยื่อได้สูง และเพื่อช่วยปกป้องคุณให้ปลอดภัย ศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บส์ บริษัท เทรนด์ไมโครจึงขอนำเสนอแนวทางง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณสามารถชอปปิ้งผ่านมือถือได้อย่างสะดวกสบายปราศจากความกังวล

ระมัดระวังการซื้อเพิ่มเติมในโปรแกรม (in-app purchase)

การซื้อเพิ่มเติมในโปรแกรมหมายถึงการซื้อบางสิ่งภายในโปรแกรมซึ่งไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการซื้อขายโดย เฉพาะ โปรแกรมร้านค้าปลีกและและเกมคือตัวอย่างของโปรแกรมที่มีฟังก์ชั่นการทำงานดังกล่าว โดยพื้นฐานแล้วฟังก์ชั่นเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถซื้อสิ่งต่างๆ ได้ขณะเรียกดูแค็ตตาล็อกหรือเล่นเกมด้วยการแตะหรือคลิกเพียงครั้งเดียว สิ่งที่คุณสามารถซื้อได้จะขึ้นอยู่ชนิดของโปรแกรมที่คุณกำลังใช้งานอยู่ เช่น โปรแกรมร้านค้าปลีกจะช่วยให้คุณสามารถซื้อผลิตภัณฑ์จริงหรือคูปองได้ ขณะที่เกมจะนำเสนอคะแนนหรือระดับเพิ่มเติม

การซื้อเพิ่มเติมในโปรแกรมเป็นสิ่งที่คุณควรให้ความระมัดระวัง เนื่องจากเป็นการง่ายมากที่คุณจะหลงลืมไปว่าได้ซื้อสิ่งใดไปแล้วบ้าง เนื่องจากเป็นรูปแบบการจับจ่ายที่สะดวกสบายอย่างมากจนทำให้คุณเผลอซื้อสินค้าไปเป็น จำนวนมาก โมเดลการซื้อเพิ่มเติมในโปรแกรมบางโมเดลได้ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นด้วยการสนับสนุนให้คุณทำการจับจ่ายอย่างเพลิดเพลินจนอาจถึงขั้นขาดสติได้หากขาดความระมัดระวัง

จงระวัง! การซื้อเพิ่มเติมในโปรแกรมอาจดูเหมือนว่าเป็นของเล่นที่มีราคาไม่แพงในครั้งแรกจนกว่าคุณจะได้รับใบเรียกเก็บเงินและต้องเสียเงินจำนวนมากไป ถ้าคุณเห็นว่าการซื้อเพิ่มเติมในโปรแกรมพิสูจน์มีสิ่งล่อตาล่อใจมากมาย ลองทำให้ขั้นตอนการซื้อยุ่งยากมากขึ้นด้วยการเอาหมายเลขบัตรเครดิตออกจากโปรไฟล์ของคุณหลังจากการซื้อในทุกครั้ง ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้เกิดความยับยั้งชั่งใจได้ แล้วทำไมถึงไม่ลองทำดูล่ะ

จงระวังแอดแวร์มือถือ!

โฆษณามีอยู่ในทุกที่แม้แต่ในโทรศัพท์มือถือ ถึงแม้เราจะทราบดีว่า “แอดแวร์มือถือ” มีอันตรายน้อย แต่สิ่งนี้สามารถสร้างความรำคาญได้ไม่น้อยเช่นกัน มีโฆษณามากมายที่ไม่ยอมหยุดทำงานหลังจากที่คุณหยุดใช้งานโปรแกรมที่เชื่อมโยงกับโฆษณานั้นๆ ไว้ หรืออาจมีกรณีที่โฆษณาถูกสร้างให้ปรากฏเป็นการแจ้งเตือนด่วนที่เมื่อคุณคลิกก็จะนำคุณไปยังเว็บไซต์บางแห่งที่นำเสนอสิ่งต่างๆ มากมาย และที่เลวร้ายกว่านั้น แอดแวร์บางตัวสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนตัวจากโทรศัพท์มือถือของคุณโดยที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการยินยอมจากคุณหรือโดยที่คุณไม่รู้ตัวได้

แอดแวร์มือถือไม่ต่างจากแอดแวร์ในคอมพิวเตอร์ของคุณ เนื่องจากสามารถใช้ทรัพยากรอันมีค่าของอุปกรณ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่หน่วยความจำและพลังงานแบตเตอรี่ อีกทั้งยังสามารถใช้คุณสมบัติการแจ้งเตือนของโทรศัพท์มือถือของคุณไปในทางที่ไม่ถูกต้องด้วย ซึ่งนั่นทำให้เป็นเรื่องยากสำหรับคุณในการแยกแยะระหว่างการแจ้งเตือนที่สำคัญและโฆษณาที่น่ารำคาญ

การแสดงโฆษณาในโปรแกรมอาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่คุณสามารถป้องกันแอดแวร์ไม่ให้เข้าสู่โทรศัพท์ มือถือของคุณได้อย่างง่ายดาย นั่นคือให้พิจารณาเลือกโปรแกรมที่จะดาวน์โหลดมาไว้ในเครื่อง เพราะในบางครั้งเวอร์ชันที่ต้องเสียเงินของโปรแกรมที่คุณต้องการนั้นคุ้มที่จะลงทุนมากกว่าการที่ได้รับโฆษณามาฟรีๆ

มุ่งตรงไปที่แหล่งรวบรวมดีลที่ดีที่สุด

คุณกำลังมองหาสิ่งที่สะดวกสบายยิ่งกว่าเดิมใช่ไหม ตัวรวบรวมดีลอาจเป็นคำตอบที่ดี โดยตัวรวบรวมดีลจะค้นหาการขายที่กำลังมีอยู่ในทุกรูปแบบภายในเขตพื้นที่ที่คุณอยู่และชี้ตำแหน่งให้คุณทราบผ่านทางแผนที่ดิจิทัล นอกจากนี้ยังจะช่วยให้คุณได้รับคูปองที่คุณต้องการ และยังช่วยให้คุณสามารถใช้ดีลที่นำเสนอได้อย่างสะดวกด้วยการนำคุณไปยังเว็บไซต์ของผู้จำหน่ายโดยตรง

เมื่อต้องการเลือกใช้ตัวรวบรวมดีลให้พิจารณาที่อยู่ในกลุ่มโปรแกรมที่ได้รับการแนะนำ เนื่องจากอาจมีโปรแกรมปลอมแฝงมาได้ โดยโปรแกรมปลอมดังกล่าวจะมาพร้อมกับชุดคำสั่งที่เป็นอันตรายหลายอย่าง ตั้งแต่บริการพรีเมียมที่หลอกลวงไปจนถึงการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ให้มุ่งไปที่แหล่งที่มานั่นคือเว็บไซต์ของนักพัฒนาโปรแกรมที่คุณกำลังพิจารณาอยู่โดยตรง โดยเว็บไซต์ของนักพัฒนาโปรแกรมดังกล่าวจะมีลิงก์ให้ดาวน์โหลดสำหรับอุปกรณ์ของคุณ (แต่ก็อาจไม่เสมอไป) สิ่งนี้จะช่วยป้องกันการดาวน์โหลดโปรแกรมปลอมไปโดยไม่ตั้งใจได้ในระดับหนึ่ง

เครือข่ายที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมปลอดภัยกว่า Wi-Fi ฟรี

แม้ว่าการชอปปิ้งผ่านมือถือขณะนั่งรอเพื่อนในร้านกาแฟอาจะเป็นการฆ่าเวลาได้ แต่ก็ไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก ให้อดใจรอจนกว่าคุณจะกลับบ้านแทนจะดีกว่า เนื่องจากการชอปปิ้งผ่านมือถือขณะที่เชื่อมต่อฮอทสปอต Wi-Fi ที่มีความปลอดภัยไม่ดีพอก็อาจทำให้คุณเสี่ยงที่จะโดนโจมตีได้ในรูปแบบของการปล้นเซสชันใช้งาน (Session hijacking) ได้

การปล้นเซสชันใช้งานจะใช้โปรแกรมที่จะสำรวจหาเครือข่ายที่ไม่ปลอดภัยเพื่อขโมยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เช่น ข้อมูลประจำตัวในการล็อกอินซึ่งเก็บไว้ในอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายนั้นเพื่อปล้นเซสชันที่ผู้ใช้กำลังใช้งานอยู่ดังกล่าว วายร้ายจะใช้ข้อมูลที่ได้ไปซื้อสิ่งของหรือทำธุรกรรมในทุกครั้งที่คุณล็อกอินเข้าสู่เว็บไซต์ และเว็บไซต์เหล่านั้นจะไม่สังเกตเห็นสิ่งผิดปกติที่กำลังเกิดขึ้นเนื่องจากเว็บไซต์จะเห็นเฉพาะคุณเท่านั้นที่เป็นผู้ที่ล็อกอินเข้าใช้งานอยู่

ถ้าคุณไม่ต้องการซื้อของขวัญต่อจากวายร้ายไปให้คนที่คุณรัก ก็อย่าล็อกอินด้วยบัญชีออนไลน์ใดๆ ที่มีความสำคัญเมื่อต้องเชื่อมต่อฮอทสปอต Wi-Fi สาธารณะ

รักษามือถือของคุณให้ปราศจากมัลแวร์

เมื่อคุณแน่ใจว่าคอมพิวเตอร์ของคุณปราศจากมัลแวร์ คุณก็ควรที่จะแน่ใจด้วยว่าโทรศัพท์มือถือของคุณก็ปราศจากโปรแกรมที่เป็นอันตรายเช่นกัน เทรนด์ไมโครกำลังติดตามการขยายตัวของมัลแวร์มือถืออยู่และสิ่งที่เราพบก็คือจำนวนมัลแวร์ที่ก้าวกระโดดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละเดือน

จากรายงานล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคม 2555 เทรนด์ไมโครพบโปรแกรมแอนดรอยด์ที่เป็นอันตรายและมีความเสี่ยงสูงเป็นจำนวนเกือบ 175,000 โปรแกรม โดยแต่ละโปรแกรมสามารถดำเนินการชุดคำสั่งที่เป็นอันตราย เช่น ขโมยข้อมูลส่วนบุคคล ติดตามตำแหน่งที่อยู่ของคุณ หรือส่งข้อความโดยไม่ได้รับการยินยอมจากคุณ

อย่าตกเป็นเหยื่อ คุณสามารถดาวน์โหลดโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยสำหรับอุปกรณ์มือถือที่จะช่วยปกป้องคุณจากโปรแกรมที่เป็นอันตรายได้ อาทิ โซลูชั่นเทรนด์ไมโคร โมบาย ซิเคียวริตี้ (Trend Micro™ Mobile Security) เนื่องจากโซลูชั่นนี้จะช่วยปกป้องอุปกรณ์มือถือของคุณจากมัลแวร์และภายคุกคามนานาชนิด อีกทั้งยังสามารถติดตามอุปกรณ์มือถือของคุณในกรณีที่เกิดการสูญหายหรือถูกขโมย และยังสามารถล้างเนื้อหาในเครื่องจากระยะไกลได้ด้วยหากจำเป็น สามารถคลิกไปดูบทความด้านความปลอดภัยได้ที่ http://blog.trendmicro.com/trendlabs-security-intelligence/

View :1387

อีริคสันรายงานการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อและช้อบปิ้ง

November 27th, 2012 No comments


• “in-line shopping” (อินไลน์ช้อบปิ้ง) ได้กลายเป็น คำนิยามใหม่ที่สะท้อนพฤติกรรมการช้อบปิ้งของผุ้บริโภค ที่จะเลือกดูสินค้าของจริงในร้านค้า (in-store shopping) ควบคู่ไปกับการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์โดยตรง (online shopping)
• 39 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนในสหรัฐอเมริกา ใช้โทรศัพท์ของพวกเขาในการจ่ายเงินซื้อของเล็กๆน้อยๆ ใช้สแกนบาร์โค้ดสินค้า หรือใช้ดาวน์โหลดคูปองต่างๆ
• ผู้ขายสินค้าจะได้รับประโยชน์ หากเข้าใจผู้บริโภค ที่ต้องการซื้อสินค้าให้ได้ในทันทีที่อยากได้ และสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ทั้งในร้านค้าจริงและบนช่องทางออนไลน์ควบคู่กันอย่างมีประสิทธิภาพ
• ผลการสำรวจที่กล่าวมาข้างต้นรวมทั้งข้อสังเกตอื่นๆ อยู่ในรายงานพฤติกรรมผู้บริโภค เรื่อง “In-Line Shopping” (อินไลน์ช้อบปิ้ง) ที่ร่วมกันเขียนโดย Copenhagen Institute for Futures Studies และ Ericsson ConsumerLab

โลกแห่งสังคมเครือข่าย (Networked Society) ในยุคปัจจุบัน ทำให้เราสามารถเลือกที่สลับปรับเปลี่ยนระหว่างโลกออฟไลน์ (โลกปัจจุบัน) กับโลกออนไลน์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ และอีกไม่นานเราคงอาจจะไม่สามารถแยกโลกออนไลน์ ออกจากโลกออฟไลน์ได้อย่างเด็ดขาด เพราะคนในยุคปัจจุบันสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ทได้ตลอดเวลา โดยเกือบสี่สิบเปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั่วโลกล้วนเข้าสู่โลกออนไลน์ก่อนที่จะลุกขึ้นจากเตียงด้วยซ้ำ และการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของ mobile applications นั้นเองก็มีส่วนสำคัญที่ส่งผลให้ผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมในการเลือกซื้อและช้อบปิ้งอีกด้วย

ลักษณะเช่นนี้ได้มีการกล่าวถึงไว้ ในรายงานเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภค เรื่อง “In-Line Shopping” ที่ร่วมกันเขียนโดย Copenhagen Institute for Futures Studies และ Ericsson ConsumerLab โดยรายงานนี้ได้ใช้ข้อมูลจากผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา ในช่วงปี 2012 และแสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคนิยมใช้สมาร์ทโฟนระหว่างการเลือกซื้อของ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยสี่ในสิบของผู้ใช้สมาร์ทโฟนในสหรัฐอเมริกา ใช้โทรศัพท์ของพวกเขาในการจ่ายเงินเล็กๆน้อยๆ, ใช้สแกนบาร์โค้ดสินค้า, หรือใช้ดาวน์โหลดคูปองต่างๆ เป็นต้น

รายงานนี้ยังชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยให้คำนิยามว่า “in-line shopping” ซึ่งหมายถึง การที่ผู้บริโภคนิยมใช้ทั้งการเลือกซื้อของบนอินเตอร์เน็ท (online shopping) และการเข้าไปดูของที่ร้านจริงๆ (in-store shopping) ควบคู่กันไป หรือในอีกแง่หนึ่ง หมายถึง การที่ผู้บริโภคมักต้องการเห็น, สัมผัส, ลองสินค้า, เปรียบเทียบราคา, เข้าถึงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้านั้น และรวมไปถึงการจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าโดยไม่ต้องต่อแถวรอ
คุณ ไมเคิล บีเยอร์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยของ Ericsson ConsumerLab กล่าวว่า “ผู้บริโภคล้วนต้องเลือกซื้อของหลากชนิด เป็นประจำอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน ดังนั้น Application ที่จะช่วยให้การช็อปปิ้งกลายเป็นเรื่องง่ายและสะดวกสบายย่อมจะเป็นที่ต้องการ และในลักษณะเช่นเดียวกัน ที่ผู้คนต้องการเข้าถึงอินเตอร์เน็ทได้แบบทุกที่ทุกเวลา พวกเขาก็ควรจะสามารถซื้อของได้ในทันทีที่ต้องการหรือมีความจำเป็นด้วย ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขายสินค้าต่างๆ ควรทำความเข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภคดังที่ได้กล่าวมา และปรับตัวให้ทัน เพื่อความสำเร็จในอนาคตต่อไป”

โดยรวมแล้ว ผู้ที่เป็นเจ้าของสมาร์ทโฟน มักมีความสนใจในการเลือกซื้อของแบบออนไลน์ มากกว่าผู้ที่ไม่มี และพบว่าจากแปดในสิบสองประเภทสินค้าที่ได้มีการสำรวจ ผู้บริโภคนิยมใช้ทั้งการเข้าไปดูสินค้าจริงในร้าน (in-store shopping) ควบคู่ไปกับการใช้ช่องทางออนไลน์ (online shopping) มากกว่าที่จะตัดสินใจซื้อผ่านช่องทางออนไลน์เพียงอย่างเดียว

รายงานฉบับสมบูรณ์ ของ (In-Line Shopping consumer insight report):
www.ericsson.com/res/docs/2012/consumerlab/in-line-shopping.pdf

เกี่ยวกับ Ericsson ConsumerLab
Ericsson ConsumerLab เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การนำเสนอหลักของเราคือการเข้าใจอย่างถ่องแท้ เรามีประสบการณ์ด้านการวิจัยผู้บริโภคมากกว่า 15 ปี ซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษาคุณค่าและพฤติกรรมของผู้คน รวมถึงวิธีที่พวกเขาดำเนินการและคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการด้าน ICT เราให้ข้อมูลการเข้าใจอย่างถ่องแท้ของผู้บริโภคเพื่อกำหนดกลยุทธ์ การตลาดและการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ภายในกลุ่มบริษัทอีริคสัน ความรู้ของเราช่วยให้บรรดาผู้ประกอบการพัฒนาบริการที่สร้างรายได้ที่น่าดึงดูดใจได้
บริษัทอีริคสันเป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีและบริการชั้นนำของโลกสำหรับบรรดาผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคม บริษัทอีริคสันเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีมือถือในระบบ 2G, 3G และ 4G และจัดหาการสนับสนุนสำหรับเครือข่ายต่างๆโดยมีผู้สมัครสมาชิกกว่า 2 พันล้านรายและอยู่ในแนวหน้าด้านการบริการการจัดการ (managed services) ผลงานของบริษัทประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายของระบบโครงสร้างพื้นฐานและระบบเคลื่อนที่ การบริการโทรคมนาคม ซอฟต์แวร์ โซลูชันด้านบรอดแบนด์และมัลติมีเดียสำหรับบรรดาผู้ให้บริการเครือข่าย วิสาหกิจและอุตสาหกรรมมีเดีย บริษัทโซนีอิริคสันและเอสที-อีริคสันซึ่งเป็นบริษัทร่วมลงทุนเป็นบริษัทที่จัดหาอุปกรณ์มือถือส่วนบุคคลที่มีคุณลักษณะที่ครบถ้วนสำหรับผู้บริโภค

บริษัทอีริคสันกำลังทำให้วิสัยทัศน์ในการเป็น “ผู้ผลักดันหลักในโลกที่มีการสื่อสารทั้งหมด” ของบริษัทก้าวไกลโดยผ่านนวัตกรรม เทคโนโลยีและโซลูชันทางธุรกิจที่ยั่งยืน บริษัทอีริคสันมีการปฏิบัติการใน 180 ประเทศ มีพนักงานมากกว่า 80,000 คนมีรายรับ 206.5 พันล้านโครน (27.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2552 ก่อตั้งในปี 2419 โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน บริษัทอีริคสันเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ OMX ในสตอกโฮล์มและ NASDAQ นิวยอร์ก

View :1557

ธอมัสไอเดียระบุเทรนด์ดิจิตอลคอมเมิร์ซปีหน้ามาแรง แนะนักการตลาดไทยเตรียมกลยุทธ์ครบทุกดิจิตอลแพลตฟอร์มรับมือคู่แข่งข้ามชาติ

November 26th, 2012 No comments

อุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล CEO บริษัท ธอมัสไอเดีย จำกัด

ธอมัสไอเดีย อินเตอร์แอคทีฟเอเยนซี่ชั้นนำของไทย ชี้เทรนด์ดิจิตอลคอมเมิร์ซปีหน้ามาแรง แนะนักการตลาดไทยควรเร่งสร้างระบบสู่ผู้บริโภคทั่วโลกผ่านออนไลน์ และจัดกลยุทธ์ให้พร้อมเพื่อรับมือคู่แข่งข้ามชาติหลังมือถือไทยเข้าสู่ยุค 3 จีและเปิดเสรีอาเซียน เผยความสำคัญของดิจิตอลแพลตฟอร์มเกิดขึ้นเพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคสู่ยุคดิจิตอล รวมถึงงบการตลาดออนไลน์ปีหน้าโดยประมาณเป็น 5-10% ของงบการตลาด คาดส่งผลกระทบมูลค่าสื่อโฆษณาออนไลน์เป็น 3 % ของมูลค่าสื่อโดยรวม

น.ส. อุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล CEO บริษัท ธอมัสไอเดีย จำกัด เผยว่าสาเหตุที่ปีหน้า 2013 จะเป็นปีที่การแข่งขันดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งจะข้ามขั้นสู่ยุคดิจิตอลคอมเมิร์ซที่สร้างรายได้ตอบโจทย์นักการตลาดมากขึ้นว่า “เป้าหมายสูงสุดของผู้ประกอบการและนักการตลาด คือ การสร้างรายได้และจำนวนลูกค้าที่ภักดีในแบรนด์ที่เพิ่มมากขึ้น ปรากฎการณ์ Digital Disruption เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจไปอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ส่งผลกระทบโดยตรงกับเจ้าของสินค้าและบริการ เราได้เห็นตัวอย่างของแบรนด์และสินค้าระดับโลกหลายรายที่ต้องปิดตัวเพราะก้าวไม่ทันกระแสดิจิตอล รวมไปถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและภาครัฐที่ต้องมีการพัฒนาและปรับตัวให้ทันเช่นกัน”

เพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) องค์กรในประเทศไทยต้องเริ่มใช้กลยุทธ์ดิจิตอลเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนธุรกิจไปยังประเทศใกล้เคียง โดยต้องเตรียมความพร้อมของพนักงาน คู่ค้าตลอดจนกระบวนการทางธุรกิจเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจผ่านช่องทางดิจิตอล การเตรียมความพร้อมด้านดิจิตอลเริ่มต้นจากความเข้าใจและการกำหนดแผนกลยุทธ์ทางด้านดิจิตอลอย่างชัดเจน ซึ่งอาจประกอบด้วยสามขั้นตอน ได้แก่

1. Local Takeoff เป็นขั้นตอนสำคัญที่องค์กรต้องเริ่มดำเนินงานผ่านทางดิจิตอล โดยมองจากกลุ่มลูกค้าและผู้บริโภคเป็นหลัก โดยต้องเริ่มศึกษาและกำหนดกลยุทธ์ดิจิตอลที่เหมาะสมกับองค์กร การใช้ดิจิตอลแบรนด์ดิ้งเพื่อขยายภาพลักษณ์ขององค์กรและแบรนด์ไปยังกลุ่มผู้บริโภคออนไลน์ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการจัดเตรียมทีมงานอีบิสสิเนส เพื่อดำเนินงานด้านการค้าผ่านออนไลน์ รวมถึงการสื่อสารการตลาด และเปิดช่องทางการใช้ดิจิตอลคอมเมิร์ซ

2. Regional Reach เป็นการขยายผลของกลยุทธ์ดิจิตอลในประเทศออกสู่ประเทศเป้าหมายในภูมิภาค

3. Regional Integration เป็นการอินทริเกรทเอาผลการดำเนินงานในแต่ละประเทศเข้าสู่ศูนย์กลาง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการธุรกิจ และการสื่อสารการตลาด

หากมองในแง่ของนักการตลาด จากเดิมที่เราสร้างความสัมพันธ์และเครือข่ายผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ ได้สำเร็จในปีที่ผ่านมา อาจจะไม่เพียงพอแล้วในวันพรุ่งนี้ หลายๆ องค์กรเริ่มตระหนักและลงทุนกับการสร้างธุรกิจในรูปแบบของดิจิตอลคอมเมิร์ซและพร้อมใช้งานทันทีเมื่อระบบเชื่อมโยงการทำงานภายในองค์กรพร้อม เพราะนวัตกรรมออนไลน์นี้จะกลายเป็นสำนักงานขายที่สำคัญในการซื้อขายไม่น้อยไปกว่าช่องทางออฟไลน์เลย และมีคู่แข่งที่พร้อมจะเข้ามาชิงตลาดและลูกค้าของเราไปได้โดยง่ายด้วย

นักบริหารและผู้ประกอบการทั้งหลายควรเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการตลาดที่ต้องพึ่งดิจิตอลคอมเมิร์ซเป็นสำคัญ ทั้งนี้ อุไรพร ในฐานะที่คลุกคลีวงการออนไลน์มาร์เก็ตติ้งมามากกว่า 10 ปี ได้รวบรวมข้อมูลและสรุปเทรนด์การตลาดออนไลน์ในยุคดิจิตอลคอมเมิร์ซที่เด่นๆ และมาแรงมาให้ทราบ เพื่อให้นักการตลาดได้รับมือกับความเข้มข้นในปีหน้า ดังนี้

1) เชื่อมประสบการณ์ผู้ซื้อผ่านมือถือด้วยแอพ

IN-STORE MOBILE APP FOR SHOPPER EXPERIENCE INTEGRATION

แอพมือถือสำหรับต่อยอดประสบการณ์ผู้ซื้อในร้านค้า

มือถือทำให้กระบวนการซื้อขายปิดได้ทันทีเพียงปลายนิ้ว “คลิก” เทรนด์ที่จะมาให้เห็นกันมากขึ้น คือการเชื่อมโยงเอาประสบการณ์ในขณะที่ผู้บริโภคเดินเลือกซื้อสินค้า กับการเข้าหาข้อมูลทางมือถือเพื่อจับจ่ายใช้สอยพร้อมๆ กัน กลยุทธ์การใช้แอพพลิเคชั่น “In-Store App” จะเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้นักการตลาดต้องก้าวให้ทัน โดยเฉพาะร้านค้าปลีกที่พยายามต่อสู้ไม่ให้ร้านค้าตนเองเป็นแค่โชว์รูมสินค้า และต้องการสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างกว่าร้านค้าออนไลน์ เพื่อดึงดูดลูกค้า

2) ร้านค้าออนไลน์ตัวเร่งหลักในการขยายธุรกิจ

E-STORE SPEEDS BUSINESS GROWTH

การลงทุนสร้างช้อปออนไลน์ ให้ความรวดเร็วและเปิดโอกาสทางการขายสร้างรายได้ก้อนใหม่

ด้วยพฤติกรรมผู้ซื้อที่เปลี่ยนไปและระบบโลจิสติคส์ที่มีศักยภาพมากขึ้น ทำให้ความสามารถในการเปิดร้านค้าแบบรวดเร็วบนพื้นที่ออนไลน์ที่ไร้พรมแดน ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับแบรนด์ต่างๆ ที่ต้องการเข้าถึงผู้บริโภคใน Untapped Markets เราจะได้เห็นแบรนด์ชั้นนำ ห้างสรรพสินค้า และร้านค้าปลีก ประกาศขยายการค้าขายในประเทศต่างๆ อย่างรวดเร็วด้วย E-Store มากกว่าการเปิดร้านค้าจริง ร้านค้าออนไลน์จะเป็นร้านค้าสาขาที่ใหญ่ที่สุดของหลายๆ แบรนด์ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือการสร้างแพลตฟอร์มดิจิตัลคอมเมิร์ซที่มีประสิทธิภาพและสามารถขยายตัวได้ รวมทั้งการบริหารจัดการสินค้าและวางกลยุทธ์ในการขาย

3) โปรโมชั่นเฉพาะตัวผ่านมือถือ

PERSONALIZED PROMOTION IN CONSUMER’S POCKET

กระตุ้นการขายด้วยเทคโนโลยีออนไลน์ ยื่นข้อเสนอที่โดนใจลูกค้าแบบตัวต่อตัว

การทำงานของออนไลน์แพลตฟอร์มทั้งหมดเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายที่ทรงพลังทางการตลาดได้อย่างคาดไม่ถึง เพราะเทคโนโลยีอินเตอร์แอคทีฟในแต่ละแพลตฟอร์มและ e-CRM มีฐานข้อมูลส่วนตัวของกลุ่มเป้าหมาย เป็นตัวช่วยให้นักการตลาดวิเคราะห์ได้ลึกถึงความต้องการในใจของผู้บริโภคแต่ละคนได้ในทันที การสร้างกลไกอัตโนมัติที่ทำให้ระบบค้นหาสินค้าและนำเสนอโปรโมชั่นที่เร้าใจกว่า ผ่านรูปแบบของ Passbook ของแอปเปิ้ล, อีคูปองต่างๆ การสะสมคะแนนออนไลน์ รวมถึงความง่ายของระบบจ่ายเงินผ่าน Mobile Payment นอกจากจะทำให้การตัดสินใจซื้อเกิดเร็วแล้ว ยังช่วยให้นักการตลาดวางแผนจัดการทั้งระบบปฏิบัติการออนไลน์และออฟไลน์คู่ขนานกันได้สะดวกยิ่งขึ้น

4) ต่อยอดโซเชียลมีเดียไปโซเชียลคอมเมิร์ซ

FROM SOCIAL MARKETING TO SOCIAL COMMERCE

โซเชียลคอมเมิร์ซเป้าหมายที่ใหญ่กว่าการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย

ที่ผ่านมาเราได้ใช้ดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งเพื่อสร้าง Brand Awareness ให้เกิดและค้นหาจนเจอแฟนพันธุ์แท้ตามช่องทางออนไลน์ต่างๆ ขั้นตอนต่อไปคือกลยุทธ์สำคัญสู่การเป็นโซเชียลคอมเมิร์ซที่ช่วยให้เรา “ขาย” ได้จริงๆ ความพิเศษของโซเชียลคอมเมิร์ซ คือ การเน้น People-Centric มากกว่า Product-Centric เทรนด์ของโซเชียลไซต์ที่ใช้ Curator มาเป็นผู้คัดสรรสินค้าให้แฟนพันธุ์แท้แบบ Recommended Marketing เป็นกระแสใหม่ในโลกออนไลน์ ที่ทำให้เกิดโซเชียลคอมเมิร์ซได้อย่างแท้จริง

5) สมาร์ทโฟนจุดเปลี่ยนสื่อโฆษณา

MOBILE ADVERTISING – THE SMARTPHONE POWER

เมื่อโฆษณายุคดิจิตอล พุ่งตรงเข้าสู่มือกลุ่มเป้าหมายผ่านสมาร์ทโฟนและแทบเล็ต

สมาร์ทโฟนเปิดช่องทางการตลาดใหม่ให้กับธุรกิจ ด้วยจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟน (มากกว่า 10 ล้านคนในไทย) และการเปิดใช้ระบบ 3G จะทำให้การใช้ Device ใหม่เป็นที่นิยมเพิ่มขึ้น จนนักการตลาดให้ความสนใจและมองหาโอกาสในการสื่อสารกับผู้บริโภคกลุ่มนี้ ถึงแม้วันนี้รูปแบบของการโฆษณาผ่านมือถือยังเป็นขั้นเริ่มต้น สื่อก็ได้เริ่มวางแนวทางในการให้บริการและการขายอย่างจริงจัง สมาร์ทโฟนช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจอีกมากให้กับค่ายมือถือและสื่อโฆษณารูปแบบใหม่อย่างน่าจับตามอง Mobile Advertising จึงกลายเป็นคำตอบสำหรับโจทย์หลักของนักโฆษณาทั้งหลาย ทำให้สมาร์ทโฟนและแทบเล็ตมีบทบาทมากขึ้น และบรรดานักโฆษณาทั้งหลายต้องปรับตัวให้พร้อมสร้างเทคโนโลยีโฆษณาดิจิตอลใหม่ๆ ไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้แพลตฟอร์ม การออกแบบเนื้อหาในพื้นที่หน้าจอที่มีขนาดแตกต่างกัน

6) กลยุทธ์ดิจิตอลเชื่อมต่อทุกช่องทางออนไลน์เพื่อชนะใจลูกค้า

DIGITAL STRATEGY: INTEGRATION TO WIN THEM ALL

ไม่ใช่แค่วางกลยุทธ์ของแต่ละดิจิตอลแพลตฟอร์มแต่ต้องวางกลยุทธ์ดิจิตอล Digital Strategy เป็นภาพใหญ่

ถึงวันนี้องค์กรต่างได้ทดลองดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งในหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการทำการตลาดด้วย E-mail, Search, Blogger, หรือโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook ยังคงมีข้อข้องใจว่าไม่สามารถ Integrate การสื่อสารผ่านช่องทางเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขาดความต่อเนื่องในการสื่อสารระหว่างแบรนด์ต่อผู้ติดตาม หรือระหว่างสมาชิกในสังคมออนไลน์ที่แบรนด์ได้สร้างขึ้น เป็นความท้าทายของนักการตลาดที่ต้องวางกลยุทธ์ดิจิตอลเป็น Umbrella Strategy ให้ได้ เพื่อให้การต่อเชื่อมกลยุทธ์ในดิจิตอลแพลตฟอร์มอื่นๆ สอดประสานกันอย่างลงตัวในการ Execution

“ข้อแนะนำสำหรับนักการตลาด อำนาจและอิสระของผู้บริโภคในการเลือกผ่านช่องทางดิจิตอลมีมากขึ้น การเข้าถึงข้อมูลแลกปลี่ยนข่าวสารและช้อปปิ้งข้ามโลกเกิดขึ้นในเสี้ยววินาที ทำให้เกิดข้อเรียกร้องให้แบรนด์ของตัวเองมีสินค้าและบริการที่ต้องการด้วย ถ้าแบรนด์หรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ตอบสนองไม่ทันก็อาจสูญเสียลูกค้าได้โดยง่าย ดังนั้น จำเป็นมากที่องค์กรต้องมีวิสัยทัศน์และนโยบายในการให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ดิจิตอลมากขึ้น พัฒนาศักยภาพของทีมวางแผนและทีมปฏิบัติการ โดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีและการพัฒนาระบบเพื่อรองรับการใช้งานร่วมกับส่วนงานขาย ขนส่ง บริการ ฯลฯ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการให้เป็นที่ต้องการของตลาดอยู่เสมอ โดยมีดิจิตอลคอมเมิร์ซช่วยขับเคลื่อนยอดขายจากผู้ซื้อที่มีอยู่ทั่วโลก” อุไรพรเสริมท้าย

สำหรับธอมัสไอเดีย ในปีหน้าจะเน้นการให้บริการด้านกลยุทธ์ดิจิตอลที่ครบวงจร ครอบคลุมทุกดิจิตอลแพลตฟอร์ม อาทิ วางกลยุทธ์ดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งพร้อมดำเนินการพัฒนาและบริหารแคมเปญออนไลน์ การวางกลยุทธ์ดิจิตอลมีเดีย การบริหารและวิเคราะห์โซเชียลมีเดียพร้อมต่อยอดเต็มรูปแบบ รวมถึงวางกลยุทธ์ดิจิตอลคอมเมิร์ซพร้อมการสร้างสรรค์ระบบอีคอมเมิร์ซขนาดใหญ่ และระบบ e-CRM ดูแลฐานข้อมูลลูกค้า ต่อเชื่อมกับเว็บไซต์ โมบายและ แอพพลิเคชั่น

View :1849

รายงาน Ericsson ConsumerLab ชี้การเปลี่ยนแปลงในลักษณะการใช้งาน m-commerce ของผู้บริโภค

October 1st, 2012 No comments


• การศึกษาโดย Ericsson ConsumerLab บ่งบอกถึงลักษณะการใช้งาน m-commerce ในสามประเทศในทวีปแอฟริกา
• การโฆษณาเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอสำหรับ m-commerce จึงจำเป็นต้องมีการให้ความรู้แก่ผู้บริโภคควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้เกิดความมั่นใจและยอมรับในบริการใหม่ๆ
• ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ m-commerce ในแถบประเทศทางใต้ของทะเลทรายซาฮารา (sub-Saharan Africa) ควรให้ความสนใจกับกลุ่มผู้หญิงเป็นพิเศษ เพราะพวกเธอคือคนที่ดูแลการเงินภายในครอบครัว

รายงานใหม่ของ ConsumerLab โดย Ericsson ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง m-commerce ในแถบประเทศทางใต้ของทะเลทรายซาฮารา (sub-Saharan Africa)

จากการสัมภาษณ์ผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือจำนวนมากอย่างละเอียด ในประเทศกาน่า แอฟริกาใต้ และแทนซาเนีย พบข้อสังเกตหลักสี่ประการดังนี้ คือ ประการแรก ผู้บริโภคมักมองหาวิธีการใหม่ๆ ที่จะช่วยให้พวกเขาสามารถควบคุมการใช้เงินของตนเองให้ดียิ่งขึ้นได้อยู่เสมอ ประการที่สอง ด้วยความเร็วและความสะดวกสบายในการใช้งาน m-commerce ทำให้บริการนี้มีศักยภาพในตลาดสูง ประการที่สาม จากการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคและโครงสร้างทางสังคมในปัจจุบัน พบว่าธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางบนมือถือยังมีโอกาสเติบโตได้อีก และประการสุดท้าย ผู้บริโภคยังต้องการข้อมูลสนับสนุนอีกมากในเรื่องการใช้งานและความปลอดภัยของธุรกรรม m-commerce

เหล่าผู้บริโภคบอกกับนักวิเคราะห์ของอีริคสันว่า พวกเขาใช้โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์พกพาในการทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น การโอนเงินระหว่างบุคคลและการเติมเงินมือถือ และพวกเขาพอใจในความสะดวกสบายที่สามารถเข้าถึงเงินได้ทุกที่ทุกเวลา โดยไม่ขึ้นอยู่กับเวลาเปิดทำการ เช่น ในประเทศแทนซาเนีย 38% ของผู้ใช้บริการ ทำธุรกรรมโอนเงินระหว่างบุคคลผ่านมือถือ

นอกจากนั้นแล้ว รายงานฉบับนี้ยังได้ข้อสรุปอีกประการหนึ่งว่า ผู้ใช้ m-commerce ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการแยกบัญชีส่วนตัวออกจากบัญชีธุรกิจ “ผู้บริโภคจำนวนมากประกอบธุรกิจส่วนตัว และสามารถโอนเงินจากบัญชีส่วนตัวไปใช้ในทางธุรกิจได้ทันที เพื่อให้พวกเขามีประสบการณ์ในการใช้งาน m-commerce มากขึ้น” นาย Anders Erlandsson ที่ปรึกษาอาวุโสของ Ericsson ConsumerLab กล่าว
ประสบการณ์จะนำไปสู่ความเชื่อมั่นที่มากขึ้น จากรายงานฉบับนี้พบว่า 44% ของผู้ที่ไม่เคยใช้ m-commerce มีความกังวลใจมากเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลทางบัญชี ในกรณีที่โทรศัพท์มือถือหายหรือถูกโจรกรรม “การให้คำปรึกษาแนะนำโดยตรง โดยมีการพบกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้บริโภคมีความสำคัญมาก” นาย Erlandsson กล่าว “เช่นเดียวกับการที่ผู้บริโภคสามารถไปที่ธนาคารได้ด้วยตนเอง ทำให้พวกเขามีความมั่นใจในการใช้บริการทางการเงินที่หลากหลายมากขึ้น ความเชื่อมั่นต่อการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านมือถือก็จะเพิ่มขึ้นในลักษณะเดียวกัน ด้วยประสบการณ์ในการใช้งานจริง มากกว่าการโฆษณาเพียงอย่างเดียว”

รายงานนี้ยังให้ข้อมูลเชิงลึก ในเรื่องการบริหารการเงินภายในครอบครัวโดยทั่วไป และข้อแนะนำสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายในการเสนอบริการที่ผู้บริโภคพึงพอใจและนิยมใช้ สำหรับครอบครัวที่มีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย โดยปกติแล้วผู้ชายจะถูกคาดหวังให้เป็นผู้ทำงานเลี้ยงครอบครัว ส่วนผู้หญิงมักมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลด้านการเงิน

ชายอายุ 45 ปี ในแทนซาเนียผู้หนึ่ง กล่าวว่า “ถ้าเราไม่มีเงิน แต่จำเป็นต้องซื้ออะไรสักอย่าง ภรรยาของผมมักจะสามารถจัดการได้เสมอ แต่ผมไม่ทราบหรอกว่าเธอทำได้อย่างไร ผู้หญิงมักมีวิธีของพวกเธอเสมอ”

ผู้ใช้ให้ความสำคัญมากกับความสามารถในการเข้าถึงเงินของพวกเขาได้อย่างง่ายดาย นาย Erlandsson กล่าวต่อไปว่า “ความมีเสถียรภาพของเครือข่ายถือเป็นปัจจัยที่สำคัญมากอีกประการหนึ่ง ซึ่งจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการ เช่น หากคุณไม่สามารถติดต่อกับเครือข่ายได้ ก็หมายถึงคุณไม่สามารถเข้าถึงเงินได้เช่นกัน”

“ผู้ให้บริการเครือข่ายมีความน่าเชื่อถือ และปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่เสมอ จึงมีความพร้อมที่จะให้บริการที่เป็นส่วนตัวแก่ลูกค้าทุกคน ดังนั้นโอกาสในการขยายธุรกิจด้านการเงินบนช่องทางผ่านมือถือจึงเป็นไปได้ เพราะผู้ให้บริการมักมีความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าอยู่แล้ว และมีสาขาอยู่มากมายรวมทั้งในชนบทด้วย” เขาสรุป

Ericsson ConsumerLab ได้รับข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์ผู้บริโภคทั่วโลกกว่า 100,000 คนในแต่ละปี จากกว่า 40 ประเทศ ในเมืองใหญ่ 15 แห่ง ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่ใช้แทนความคิดเห็นของประชากร 1.1 พันล้านคนในทางสถิติได้ ด้วยวิธีการเชิงปริมาณและคุณภาพ และใช้เวลานับร้อยๆชั่วโมงในการสัมภาษณ์ผู้บริโภคจากหลากหลายวัฒนธรรม

Ericsson m-commerce เป็นระบบที่สามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งมีการเชื่อมโยงอย่างกว้างขวางในระดับโลก ระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม m-commerce และโลกธุรกิจการเงินได้เป็นอย่างดี

กราฟจากรายงานเรื่อง “M-commerce in sub-Saharan Africa” โดย ConsumerLab

View :1318
Categories: E-Commerce, SmartPhone/Mobile phone Tags:

ก.ไอซีที พร้อมร่วมมือยกระดับผู้ประกอบการ OTOP

September 6th, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการยกระดับผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แบบบูรณาการ ( Plus) ว่า โครงการยกระดับผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แบบบูรณาการ หรือ PLUS เป็นโครงการที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ริเริ่มขึ้น เพื่อบูรณาการความร่วมมือการดำเนินงานโครงการดังกล่าวตามนโยบายรัฐบาล กับ 6 หน่วยงาน คือ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด องค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาด ตลอดจนเพื่อพัฒนาและสร้างมาตรฐานผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

ในส่วนของกระทรวงไอซีที มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานภายใต้สังกัด 2 หน่วยงาน คือ ไปรษณีย์ไทย และ กสทฯ ได้ร่วมมีบทบาทในการสนับสนุนการยกระดับความสามารถในการแข่งขัน และขยายช่องทางการตลาดธุรกิจแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ซึ่ง ไปรษณีย์ไทย นั้น เป็นหน่วยงานที่ไม่เคยหยุดนิ่งมีการพัฒนาเครือข่ายขนส่งสู่บริการโลจิสติกส์ครบวงจร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งทั้งระบบ ด้วยการเชื่อมโยงกับทุกโครงข่ายเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพ ความสะดวก รวดเร็ว คุ้มค่า ตอบสนองการทำธุรกิจของคนไทย โดยเฉพาะ SMEs และ ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ จึงเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้แข่งขันได้อย่างมืออาชีพ สำหรับบทบาทของ ไปรษณีย์ไทย ในโครงการฯ นี้ คือ การอำนวยความสะดวกโดยเปิดช่องทางการสั่งซื้อสินค้า OTOP และให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านหน้าเว็บไซต์ www.postshop.co.th และ Call Center 1545 รวมทั้งการนำศักยภาพที่มีอยู่ในด้านเครือข่ายทั่วประเทศ และระบบ logistic มาเป็น ผู้จัดส่งสินค้าให้แก่ผู้สั่งซื้อ

ด้าน กสทฯ นั้น มีพันธกิจในการให้บริการเครือข่ายการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีและการบริการที่ดีที่สุด และเป็นพันธมิตรชั้นนำขององค์กรทั้งในและต่างประเทศในด้านการติดต่อสื่อสาร ส่วนบทบาทของ กสทฯ ในโครงการ OTOP PLUS คือ การจัดทำ e-Commerce System เพื่อให้มีการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะมีการแสดงสินค้าในรูป e-Exhibition การจัดทำ e-Smart OTOP เพื่อให้มีการตรวจสอบข้อมูลของสินค้าผ่านทาง QR code และสามารถสั่งซื้อซ้ำได้ทาง Smart phone รวมทั้งการจัดอบรมผู้ประกอบการ สมาชิก สสว. กว่า 1,000 ราย เพื่อให้ความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินการค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต

“กระทรวงไอซีที พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการฯ เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการยกระดับสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์ OTOP ให้ประชาชนมีทางเลือกใหม่ในการเข้าถึงสินค้าในระดับชุมชนมากยิ่งขึ้น ตลอดจนสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีช่องทางในการกระจายสินค้าโดยทำหน้าที่เป็นหน้าร้านออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบการอีกด้วย ส่วนผู้บริโภคก็สามารถซื้อสินค้า OTOP ได้อย่างสะดวกง่ายดายผ่านช่องทางสายด่วนหมายเลข 1545 ซึ่งรับบริการทั้งสั่ง และ ส่ง รวมทั้งผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตที่จะเกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นความสามารถในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาโครงการฯ ให้ก้าวไปสู่การให้บริการในรูปแบบ Smart OTOP Plus ต่อไปในอนาคต” นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ กล่าว

View :1351

KBank เปิดตัวเสิร์ชเอ็นจินทางการเงินรายแรก ตอบทุกโจทย์ออนไลน์ เรื่องการเงินที่ askKBank.com

August 23rd, 2012 No comments

เครือธนาคารกสิกรไทย ตอกย้ำความเป็นที่หนึ่งในโลกดิจิตอลแบงค์กิ้ง เปิดตัวเว็บไซต์ เสิร์ชเอ็นจินที่รวบรวมข้อมูลรอบด้านทั้งการเงิน เศรษฐกิจ รวมทั้งไลฟ์สไตล์ ตอบรับวิถีชิวิตคนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยหยุดค้นหาข้อมูลออนไลน์ ซึ่งนับเป็นธนาคารพาณิชย์ไทยรายแรกที่เปิดตัวเว็บไซต์เสิร์ชเอ็นจินดังกล่าว โดยงานเปิดตัวจัดขึ้นอย่างมีสีสันใจกลางถิ่นคนรุ่นใหม่ ดิจิตอล เกทเวย์ สยามสแควร์ เปิดใจกูรูอย่าง “นิ้วกลม” นายสราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ และบรรณาธิการไลฟ์สไตล์จากนิตยสาร The Guru นางสาวพิมพ์ชนก พึ่งบุญ ณ อยุธยาในหัวข้อ “ค้นหาข้อมูลสบายๆ…ตามสไตล์ Expert”

นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า “ปัจจุบันการใช้อินเตอร์เน็ตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนมากขึ้น การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตก็ง่ายขึ้น สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลาผ่านเครือข่าย 3G, Edge, GPRS หรือ Wifi ทำให้ปริมาณการค้นหาข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน หรือต้องการข้อมูลอะไรก็สามารถค้นหาจากโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์แบบพกพา หรือ แท็บเล็ต ได้ทันที เครือธนาคารกสิกรไทยซึ่งเป็นที่หนึ่งในโลกดิจิตอลแบงค์กิ้งด้วยหลากหลายนวัตกรรมทางการเงินบนมือถือและออนไลน์ จึงได้จัดทำเว็บไซต์ askKBank (www.askkbank.com) ซี่งเป็นช่องทางใหม่ที่ลูกค้าสามารถค้นหาข้อมูลต่างๆ ได้ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเศรษฐกิจระดับจุลภาค เศรษฐกิจมหภาค ดัชนีเศรษฐกิจ รายงานภาวะตลาดเงินและตลาดทุน ตลอดจนภาวะเงินตราทั้งในประเทศ และต่างประเทศ นอกจากนั้นยังรวบรวมข้อมูลทางด้านไลฟ์สไตล์ ท่องเที่ยว ช้อปปิ้งหรืออื่นๆ รวมทั้งข้อมูลผลิตภัณฑ์ และบริการในเครือธนาคารกสิกรไทย สิทธิประโยชน์ต่างๆ ทางด้านการเงิน พร้อมข้อมูลที่น่าสนใจอื่นๆ เพื่อตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคในการค้นหาข้อมูลออนไลน์อย่างแท้จริง”

ข้อมูลล่าสุดปี 2555 จากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้ชัดว่า 38% ของประชากรในประเทศไทยมีการใช้งานอินเตอร์เน็ต และจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มขึ้นจากปลายปีที่แล้วถึงประมาณ 30%

นายอาจ วิเชียรเจริญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่า ตามที่ทางธนาคารได้วางเป้าหมายในการเป็นที่ 1 ในโลกดิจิตอลแบงค์กิ้งนั้น ต้องมีส่วนสนับสนุน 3 ส่วนหลักคือ ช่องทางในการทำธุรกรรมที่สะดวกและปลอดภัย ช่องทางในการรับชำระเงินในรูปแบบต่างๆ รวมถึงช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ซึ่งเว็บไซต์ askKBank ถือว่าเป็นนวัตกรรมเสิร์ชเอ็นจินที่ทันสมัย และเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางด้านดิจิตอลของธนาคาร ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนความต้องการของผู้ใช้งานที่ต้องการข้อมูลทางด้านการเงินแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร โดยมีฐานข้อมูลขนาดใหญ่บรรจุข้อมูลในเชิงลึกและหลากหลายจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ รวมถึงข้อมูลเฉพาะที่หาที่อื่นไม่ได้ โดยเฉพาะบทความและข้อมูลในเชิงลึกจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย

“ผู้ที่เข้ามาใช้งาน www.AskKBank.com สามารถมั่นใจได้ว่า เรามีข้อมูลด้านการเงินที่ถูกต้อง ครบถ้วน ครอบคลุมทุกความต้องการของลูกค้า และเราจะไม่หยุดยั้งในการพัฒนาศักยภาพของเว็บไซต์ รวมทั้งความหลากหลายและคุณภาพของข้อมูล เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลองค์ความรู้ที่น่าเชื่อถือ และสมบูรณ์ที่สุดเพื่อลูกค้าของเครือธนาคารฯ และผู้บริโภคในวงกว้าง” นายอาจ กล่าว

เว็บไซต์ askKBank.com จัดแบ่งกลุ่มข้อมูลตามความต้องการของลูกค้า (Need Base)เพื่อให้ค้นหา ได้อย่างสะดวกขึ้นโดยแบ่งเป็น 7 กลุ่ม และมีผู้เชี่ยวชาญเป็นตัวแทนในการนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจในด้านต่างๆ ได้แก่ “Finance & Banking” เป็นข้อมูลด้านการเงินการธนาคาร “Corporate Business” เป็นข้อมูลการดำเนินธุรกิจและธุรกิจต่างประเทศ “SME” เป็นข้อมูลหลากหลายด้านธุรกิจเอสเอ็มอี รวมถึงคอร์สอบรม-สัมมนาที่น่าสนใจ “What’s Hot” เป็นข่าวเด่น ประเด็นร้อนที่น่าสนใจ “Investment” เป็นข้อมูลด้านการเงิน-การลงทุนทั้งในและต่างประเทศ “Smart Planning” เป็นข้อมูลที่หลากหลายในการวางแผนด้านการเงินของแต่ละช่วงชีวิต และ “Casual Lifestyle” เป็นข้อมูลสิทธิประโยชน์ทางด้านการเงินที่น่าสนใจ

ทั้งนี้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูข้อมูลที่สนใจได้ทันทีโดยคลิกเข้าไปในกูรูแต่ละหัวข้อ หรือ เริ่มต้นค้นหาข้อมูลง่ายๆ จากกล่องค้นหาข้อมูลที่หน้าเว็บไซต์ เพียงพิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา พร้อมเลือกประเภทคำตอบ (เช่น บทวิจัย บทสัมภาษณ์ รูปภาพ และวีดีโอ) เพื่อค้นพบคำตอบที่ต้องการ และยังสามารถแบ่งปันเรื่องราวที่น่าสนใจผ่านสังคมออนไลน์ได้ทันที หรือสามารถบันทึกเก็บไว้ในเมนูส่วนตัวได้ นอกจากนี้ askKBank ยังมีช่องทางพิเศษสำหรับให้บริการถาม-ตอบกลับทางอีเมล์เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้ามาสอบถามข้อมูล/ปรึกษา ทั้งคำถามทั่วไป และคำถามเชิงลึก โดย askKBank ได้จัดเตรียมทีมงานผู้เชี่ยวชาญคอยให้บริการตอบคำถาม และให้คำปรึกษารวมถึงเสนอแนะเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ โดยจะดำเนินการตอบกลับทางอีเมล์ที่ฝากไว้ในหน้าเว็บไซต์ภายในระยะเวลารวดเร็วอีกด้วย

View :1539

“ทูซี ทูพี” สนับสนุนอีคอมเมิร์ซ เปิดตัวบริการ 123 จ่ายง่าย หลายช่องทาง ตอบโจทย์การชำระเงินรูปแบบใหม่บนร้านค้าออนไลน์ ที่ไม่ต้องใช้บัตรเครดิต

August 23rd, 2012 No comments

“ทูซีทูพี” (2C2P) เดินหน้าพัฒนาและขับเคลื่อนธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยเต็มสูบ ล่าสุดนำเสนอระบบบริการรับชำระเงิน 123 เป็นทางเลือกใหม่ให้ทั้งร้านค้าและผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยให้การชำระเงินสะดวกรวดเร็วและง่ายดายโดยไม่จำเป็นต้องใช้บัตรเครดิต มั่นใจตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยเติบโตต่อเนื่องและสามารถแข่งขันได้ในระดับโลก

นายออง โจ โม ประธานกรรมการบริหารกลุ่ม บริษัท ทูซีทูพี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ทูซี ทูพี ไม่ได้เป็นบริษัทใหม่ เราให้บริการรับชำระเงินออนไลน์แก่ธนาคารชั้นนำในประเทศไทย และในภูมิภาคอาเซียน มาตั้งแต่ปี 2546 เนื่องด้วยเราเล็งเห็นความสำคัญ และศักยภาพของตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซในลักษณะ B2C ซึ่งมีมูลค่ามากถึง 85,000 ล้านบาท โดยตั้งแต่ปี 2554 – 2555 เราได้ขยายขอบข่ายของการให้บริการรับชำระเงินออนไลน์ไปยังร้านค้าโดยตรง เพื่อลดภาระความยุ่งยากในการจัดหาและจัดการระบบรับชำระเงินของร้านค้า และให้ร้านค้ามีเวลาในการบริหารจัดการธุรกิจมากขึ้น

“อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการชำระเงินออนไลน์ผ่านบัตรเครดิตจะเป็นที่นิยมของธุรกิจอีคอมเมิร์ซทั่วไป แต่ในประเทศไทย ปัจจุบันการใช้บัตรเครดิตยังอยู่ในวงจำกัด เนื่องด้วยประชากรที่ถือบัตรมีไม่ถึง 10 ล้านคน และในจำนวนนี้บางส่วนไม่มั่นใจในความปลอดภัยกรณีใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าออนไลน์ ทำให้ยอดการซื้อขายออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบไม่เติบโตเท่าที่ควร”

“จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้การชำระเงินด้วยบัตรเครดิต/บัตรเดบิตในปัจจุบัน คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 20 ของมูลค่าทั้งหมดของการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ส่วนที่เหลือลูกค้าต้องไปโอนเงินให้ร้านค้า ณ จุดรับชำระเงินทั่วไป เช่น เคาน์เตอร์เซอร์วิส จุดรับชำระเงินตามห้างสรรพสินค้า หรือผ่านช่องทางของธนาคาร เช่น เคาน์เตอร์ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม บริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งรายการโอนเงินนั้นจะเป็นแบบออฟไลน์ และไม่มีการแจ้งกลับไปยังร้านค้า ก่อให้เกิดความยุ่งยากตามมา ทั้งสำหรับผู้ซื้อและร้านค้า เพราะนอกจากจะต้องโอนเงินให้ร้านค้าผ่านช่องทางดังกล่าวแล้ว ผู้ซื้อยังต้องส่งสำเนาใบโอนเงินให้ร้านค้า และอาจต้องโทรยืนยัน ส่วน

ร้านค้าเองก็ต้องทำการตรวจสอบและจะส่งสินค้าได้ก็ต่อเมื่อตรวจสอบข้อมูลและเอกสารจนแน่ใจ แล้วเท่านั้น ทำให้ทั้งสองฝ่ายสิ้นเปลืองทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย และอาจเกิดข้อผิดพลาดระหว่างการจัดการเอกสารที่มากมายจนก่อให้เกิดความเสียหายได้อีกด้วย ปัญหาต่างๆ เหล่านี้จะหมดไป หากมีระบบรับชำระเงินที่สามารถอัพเดทข้อมูลการชำระเงินแบบออนไลน์ให้ร้านค้า โดยผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องแฟกซ์หรือโทรยืนยันการชำระเงิน”

จึงได้ถูกพัฒนาเพิ่มขึ้นโดยบริษัท 2C2P เพื่อเพิ่มช่องทางการรับชำระเงินสำหรับร้านค้าออนไลน์ทั้งรายเล็กและรายใหญ่ที่ต้องการเพิ่มยอดขายและความสะดวกแก่ลูกค้า ช่วยให้ได้ฐานลูกค้าที่กว้างขึ้น โดยลูกค้าสามารถชำระเงินผ่านช่องทางต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย ได้แก่ จุดบริการรับชำระเงิน เช่น เคาน์เตอร์เซอร์วิสในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เทสโก้โลตัส เพย์แอทโพส ทีโอทีจัสเพย์ ทรูมันนี่ และเอ็มเพย์ ช่องทางต่างๆ ของธนาคาร เช่น ตู้ ATM บริการธนาคารทางอินเตอร์เน็ต รวมถึงผ่านเคาน์เตอร์ของธนาคารและตัดบัญชีธนาคารโดยตรง (Direct Debit) โดยในขณะนี้ มีธนาคารที่ให้บริการได้ 9 แห่งคือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย และธนาคารยูโอบี

นายปิยชาติ รัตน์ประสาทพร กรรมการบริหาร บริษัท ทูซีทูพี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “บริการ 123 เป็นคำตอบสำหรับร้านค้าออนไลน์ที่มียอดการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตไม่มากนัก และไม่เติบโตเท่าที่ควร หรือเป็นร้านค้าขนาดเล็กที่ไม่สามารถต่อเชื่อมกับระบบการชำระเงินออนไลน์ของธนาคารได้ ร้านค้าที่ยังขาดช่องทางการชำระเงินที่ลูกค้าเข้าถึงอย่างสะดวกและรวดเร็ว หรือร้านค้าที่ประสบปัญหาความล่าช้าและยุ่งยากในการตอบรับและตรวจสอบการชำระเงินของลูกค้า”

ทั้งกล่าวอีกว่า “จุดเด่นของบริการ 123 คือ ช่วยเพิ่มช่องทางการชำระเงินให้แก่ลูกค้าที่ไม่มีบัตร หรือไม่ต้องการใช้บัตรเครดิตในการชำระค่าสินค้าหรือบริการที่ซื้อผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยลดปัญหาการปลอมแปลงบัตรเครดิตและตัดปัญหาข้อมูลบัตรเครดิตถูกขโมย เนื่องจากลูกค้าสามารถใช้เงินสดในการชำระที่จุดรับชำระเงินได้โดยตรง ทั้งยังช่วยเพิ่มยอดขายและเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้นสำหรับร้านค้า เพราะลูกค้ามีทางเลือกในการชำระเงินที่หลากหลายตามความสะดวกของแต่ละคน ที่สำคัญ ร้านค้าสามารถดูรายละเอียดข้อมูลการชำระเงินของลูกค้าที่เกิดขึ้นตามเวลาจริงหลังจากที่ลูกค้าเสร็จสิ้น การชำระเงิน เพื่อให้ร้านค้าสามารถจัดส่งของให้ลูกค้าได้

รวดเร็วขึ้น ทั้งยังมีข้อมูลเพียงพอให้ร้านค้าเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้า ช่วยให้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
“การรุกตลาดระบบบริการชำระเงินด้วยบริการ 123 ในครั้งนี้ตอกย้ำว่า เราให้ความสำคัญต่อธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยและให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง เพื่อให้ร้านค้าต่างๆ สามารถแข่งขันได้ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติ” นายปิยชาติกล่าวทิ้งท้าย

เกี่ยวกับ 2C2P
บริษัท ทูซีทูพี (ประเทศไทย) จำกัด (2C2P) หรือ Cash & Card Payment Processor ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2550 โดยมีสำนักงานอยู่ในหลายประเทศ เช่น ประเทศไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย กัมพูชา และฟิลิปปินส์ บริษัท 2C2P ให้บริการการรับชำระเงินออนไลน์แบบครบวงจร ทั้งในส่วนของ และ m-Commerce นอกจากนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการมากขึ้น บริษัท 2C2P ยังให้บริการการเรียกเก็บเงินแบบเงินสด ผ่านเคาน์เตอร์การรับชำระเงินชั้นนำทั่วประเทศ และผ่านตู้เอทีเอ็มและช่องทางต่างๆ ของธนาคารอีกด้วย บริษัท 2C2P ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ เป็นผู้ให้บริการ การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ จากธนาคารแห่งประเทศไทย เลขที่ ค(3)001/2554 และยังเป็นผู้ให้บริการรายแรกในเอเชียแปซิฟิก ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัย Payment Card Industry Data Security Standard (PCIDSS) และได้รับการรับรองจาก VISA, MasterCard, JCB และ American Express ภายใต้สัญลักษณ์ “Verified by Visa”, “SecureCode” “J/Secure” และ American Express SafeKey ตามลำดับ ด้วยระบบรักษาความปลอดภัยบัตรเครดิตและบัตรเดบิตแบบ 3D Secure ซึ่งเป็นระบบรักษาความปลอดภัยในระบบอีคอมเมิร์ซสำหรับธนาคารผู้ออกบัตร และธนาคารผู้รับบัตรเครดิต

View :1934

ก.ไอซีที ส่งเสริม e-Commerce ไทยก้าวไกลสู่ AEC 2015

August 16th, 2012 No comments

นายวรพัฒน์ ทิวถนอม รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดงานประชุมวิชาการโครงการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง “ส่งเสริม ไทยก้าวไกลสู่ ” ว่า ในปี พ.ศ.2558 หรือ ในปี ค.ศ. 2015 ทั้ง 10 ชาติอาเซียนจะมีการรวมตัวกัน ภายใต้ชื่อ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community : AEC) เพื่อสร้างตลาดรวมทั้งฐานการผลิตเดียวกัน และแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน ตลอดจนสร้างอำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้า ในภูมิภาคอื่นๆ โดยได้มีการกำหนดให้แต่ละประเทศมีจุดเด่นด้านต่างๆ เช่น ประเทศพม่า มีจุดเด่นด้านสาขาเกษตรและประมง ประเทศมาเลเซีย มีจุดเด่นด้านสาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ ประเทศสิงคโปร์ มีจุดเด่นด้านสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ ส่วนประเทศไทย มีจุดเด่นด้านสาขาการท่องเที่ยว และสาขาการบิน

“ประเทศไทยนั้น มีภูมิประเทศอยู่ตรงกลางของอาเซียน จึงเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ อย่างไร ก็ตาม ไทยยังมีโอกาสในการส่งเสริมอุตสาหกรรมอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย หากมีการพัฒนาโดยหน่วยงานภาครัฐ เช่น การจัดให้มีสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างทั่วถึง มีระบบการเงินการธนาคารที่เข้มแข็ง สนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับภาคเอกชนตั้งแต่การเป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร และการบริการไปจนถึงการตลาด เพื่อให้เกิดการค้าขายอย่างครบวงจรเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงานได้ดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตลอด แต่สิ่งสำคัญ คือ ผู้ประกอบการที่อยู่ในแต่ละอุตสาหกรรมซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศที่สามารถสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศคิดเป็นมูลค่ากว่า 3.7 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 38 ของจีดีพี จากจำนวนSMEs ที่มีมากถึง 2.9 ล้านราย และจากการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีความต้องการในการเข้าถึงตลาด และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาช่วยในการพัฒนาศักยภาพให้กับธุรกิจ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” นายวรพัฒน์ กล่าว

ด้าน นางสมใจ ประเสริฐจีรังกุล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า ในแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้าน e-Commerce โดยบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานดังกล่าว ซึ่งจากการสำรวจสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย พ.ศ. 2554 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น จากปีแรกที่ทำการสำรวจ คือ ปี พ.ศ. 2550 ที่มีมูลค่าขายรวม 305,159 ล้านบาท มาเป็น 608,587 ล้านบาท ในการสำรวจรอบปี พ.ศ. 2553 ซึ่งพบว่ามีมูลค่าสูงขึ้นถึงร้อยละ 199.432 หรือประมาณ 2 เท่าตัว

ดังนั้น จึงได้มีการดำเนินการโครงการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้มีการจัดประชุมแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมายเพื่อรวบรวมข้อมูลมาจัดทำเป็นแนวทางในการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 5 อันดับแรก คือ 1. อุตสาหกรรมแฟชั่น เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับ 2. อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอินเทอร์เน็ต 3. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 4. อุตสาหกรรมบริการด้านสุขภาพ และ 5. อุตสาหกรรมบริการด้านการศึกษา

นอกจากนี้ ยังมีการจัดงานประชุมวิชาการโครงการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ในหัวข้อ “ส่งเสริม e-Commerce ไทยก้าวไกลสู่ AEC 2015” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และผู้สนใจทั่วไปในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 รวมทั้งเพื่อร่วมวิเคราะห์ถึงแนวโน้มของธุรกิจ e-Commerce ไทย ในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ.2558 ตลอดจนเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และผู้สนใจทั่วไป รวมทั้งเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้มีการนำข้อมูลไปใช้ในการสนับสนุนการดำเนินงานของภาคธุรกิจต่อไป

View :1666

คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ วางหลักเกณฑ์ธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติม

July 21st, 2012 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รองประธานกรรมการทำหน้าที่ประธานการประชุมคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ครั้งที่ 5/ 2555 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2555 กล่าวว่า ที่ประชุมได้พิจารณาและให้ความเห็นชอบต่อหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติม จากเดิมที่ได้ออกประกาศไปแล้วเมื่อ ปี พ.ศ. 2552 โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ออกเพิ่มเติมนี้ จะช่วยทำให้เกิดความมั่นคงทางด้านการเงินของประเทศ ช่วยลดต้นทุนในการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนเพื่อประโยชน์ในการเข้าไปกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย

และที่ประชุมคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ยังได้พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐเพิ่มเติมอีก 2 หน่วยงาน คือ กรมการค้าภายใน และการเคหะแห่งชาติ ทำให้ขณะนี้มีนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของหน่วยงานภาครัฐที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว จำนวน 37 หน่วยงาน

พร้อมกันนี้ คณะกรรมการฯ ยังได้มีการหารือแนวทางการรักษาความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย เนื่องจากปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐมีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและอำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชนกันมากขึ้น ซึ่งการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวนี้ บางส่วนจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลส่วนบุคคลด้วย โดยข้อมูลส่วนบุคคลจะมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ และยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการเฉพาะมาใช้บังคับ จึงได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการนโยบายกฎหมายไปพิจารณาจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงาน ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

นอกเหนือจากการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว หน่วยงานภาครัฐยังมีการจัดทำเว็บไซต์เพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน อันเป็นการอำนวยความสะดวก ลดระยะเวลาและขั้นตอนในการให้บริการ ซึ่งเว็บไซต์เหล่านั้นจะต้องมีความมั่นคงปลอดภัย เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นและใช้บริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น คณะกรรมการฯ จึงมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐ หากพบว่ามีช่องโหว่ ก็จะมีหนังสือแจ้งให้หน่วยงานเหล่านั้นทราบ เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขหรือปิดให้บริการทันที

ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ยังได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปเร่งรัดการดำเนินการต่างๆ เช่น การออกประกาศภายใต้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยวิธีการแบบปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2553 การจัดทำแผนแม่บทธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย และมาตรฐานธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้แล้วเสร็จโดยเร็วอีกด้วย

View :1557

ทรูไลฟ์ เปิดตัว WeLoveShopping App เอาใจนักช้อปรุ่นใหม่

June 5th, 2012 No comments

โดย นางสาวมนสินี นาคปนันท์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการพาณิชย์ บริษัท ทรู ดิจิตอล คอนเท้นท์ แอนด์ มีเดีย จำกัด เปิดประสบการณ์ช้อปปิ้งออนไลน์รูปแบบใหม่ ผ่าน แอพพลิเคชั่นสุดล้ำ ที่ยกเว็บไซต์ WeLoveShopping อีคอมเมิร์ซอันดับ 1 ในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยยอดการเข้าชมสินค้าสูงถึงกว่า 60 ล้านหน้าต่อเดือน เอาใจนักช้อปรุ่นใหม่ให้ช้อปเพลิน กว่า 7 ล้านรายการ จาก 300,000 ร้านค้า เพิ่มอิสระในการช้อปปิ้งทุกที่ ทุกเวลา บนสมาร์ทโฟน ผ่านทรูมูฟ เอช ผู้ให้บริการ 3G+ ที่เร็วและแรงกว่า มั่นใจช้อปปลอดภัยด้วย WeTrust ระบบการจ่ายเงินออนไลน์ที่เชื่อถือได้ รับรองได้ของชัวร์ ถ้าไม่ได้ยินดีคืนเงิน พร้อมให้ ดาวน์โหลดฟรีแล้ววันนี้

WeLoveShopping App


WeLoveShopping App แอพพลิเคชั่นใหม่ล่าสุดจากทรูไลฟ์ ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับนักช้อปยุคดิจิตอล เลือกซื้อสินค้าได้ง่ายๆ ผ่านสมาร์ทโฟน ทั้งแพลตฟอร์ม iOS และแอนดรอยด์ อัดแน่นด้วย 4 ฟีเจอร์เด่น ดังนี้

1. Guru Picks อัพเดทเทรนด์ใหม่สุดฮิต โดยกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านความงาม แฟชั่น IT & Gadget, Home & Living DIY ไลฟ์สไตล์ผู้ชายและผู้หญิง ฯลฯ

2. Shop by location เพิ่มความสะดวกให้นักช้อปค้นหาร้านค้าที่อยู่ใกล้ได้ง่ายๆ โดยใช้เทคโนโลยี Location Based เป็นรายแรกของเว็บอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ตอบสนองความต้องการในการช้อปได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์

3. 10 Deals Everyday รวบรวมสินค้าราคาสุดพิเศษที่คัดสรรมาให้นักช้อปชาว WeLoveShopping ได้เป็นเจ้าของก่อนใคร

4. Promotion News อัพเดทข่าวโปรโมชั่นพิเศษจากทุกแหล่งช้อปปิ้งชั้นนำของเมืองไทยทุกวัน

WeLoveShopping App เปิดให้ดาวน์โหลดฟรีได้แล้ววันนี้ ที่ App Store และ Google Play สำหรับนักช้อปออนไลน์ สามารถติดตามอัพเดทข่าวสารและกิจกรรมจาก WeLoveShopping ที่จะเติมเต็มไลฟ์สไตล์และการช้อปปิ้งอย่างต่อเนื่องได้ที่ www.weloveshopping.com, Weloveshopping Magazine, รายการ Shopping Gang ช่องทรูวิชั่นส์ 67 และ WeLoveShopping แอพพลิเคชั่น

View :1506