Archive

Archive for the ‘Internet’ Category

อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี.เปิดตัวเว็บไซต์ใหม่ “เรื่องดีต้องบอกต่อ เรื่องท้อต้องปรึกษา”

June 10th, 2012 No comments

บมจ. ประกันชีวิต ตอบสนองไลฟ์สไตล์ยุคดิจิตอล เดินหน้ากลยุทธ์ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ด้วยการสื่อสารผ่านแคมเปญระดับโลก “One Advice: 1 คำแนะนำดีๆ” ของกลุ่มอลิอันซ์ เยอรมนี ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นหลักของบริษัทฯ โดยมุ่งเน้นสื่อสารกันให้ใกล้ชิดกับคนไทยมากขึ้น ล่าสุด เปิดตัวเว็บไซต์ใหม่ www.1advice.in.th ภายใต้แนวคิด ผ่าน 3 คำนิยามสั้นๆ GET, GIVE, SHARE นับเป็นสังคมออนไลน์แห่งแรกของไทยที่จะรวมคำแนะนำดีๆ และกำลังใจจากคนไทยเพื่อส่งต่อให้คนไทยต่อไป หวังยึดตำแหน่งผู้นำนวัตกรรมการตลาดดิจิตอล และแชมป์แบรนด์อันดับหนึ่งในใจลูกค้าตลอดไป

นางสาวพัชรา ทวีชัยวัฒนะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบริหารการตลาดและสื่อสารองค์กร บมจ. อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต เปิดเผยว่า วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกทำให้องค์กรต่างๆ ประสบปัญหาหลายด้าน โดยเฉพาะด้านความน่าเชื่อถือ องค์กรทั้งหลายเหล่านั้นจึงหันมาให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ และได้เริ่มสร้างความน่าเชื่อถือกันใหม่ และสำหรับ กลุ่มอลิอันซ์ เยอรมนี ผู้ถือหุ้นหลักของ อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ถึงแม้จะยังคงดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง แต่ก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะตอกย้ำแบรนด์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยผลการวิจัยของกลุ่มอลิอันซ์ ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า “การให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน” เป็นสิ่งที่จะสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นในใจผู้บริโภคได้

และด้วยประสบการณ์ทางการเงินของกลุ่มอลิอันซ์ที่มีมายาวนาน จึงได้ออกแคมเปญการสื่อสารที่เรียกว่า “One Advice: 1 คำแนะนำดีๆ” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มในการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร ด้วยแนวคิดที่มุ่งเน้นให้คำแนะนำ ให้ความรู้ แบ่งปันประสบการณ์ และเรื่องราวเกี่ยวกับบริการดีๆ ที่ลูกค้าได้รับ เพื่อสร้างความรู้สึกผูกพันและสร้างความภักดีในกลุ่มลูกค้าต่อบริษัท รวมถึงเปิดโอกาสให้คนทั่วไปได้สัมผัสถึงเรื่องราวดีๆ ที่เกิดขึ้น ผ่านการบอกเล่าบนหน้าเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเพื่อแคมเปญนี้โดยเฉพาะ

ล่าสุด อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ได้เปิดตัวเว็บไซต์ www.1advice.in.th เว็บไซต์น้องใหม่มาแรงที่เชิญชวนคนไทยให้เข้ามาร่วมแชร์เรื่องราวและประสบการณ์ต่าง ๆ ภายใต้แนวคิด “เรื่องดีต้องบอกต่อ เรื่องท้อต้องปรึกษา” เพื่อให้เป็นสังคมออนไลน์แห่งแรกที่จะรวบรวมทุกคำแนะนำดี ๆ จากคนไทยทั่วประเทศ ได้เข้ามาบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ พร้อมขอคำปรึกษาในปัญหาที่ต้องการคำแนะนำ หรือหากต้องการกำลังใจดี ๆ ก็สามารถมอบให้แก่กันอย่างง่ายๆ ทั้งในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ หรือคลิปวิดีโอ เพื่อสร้างแง่คิดมุมมองใหม่ๆ และแรงบันดาลใจที่ดี เพื่อให้เป็นสังคมเชิงบวกผ่าน 3 นิยามสั้น ๆ คือ 1.GET- เตรียมรับสิ่งดีๆ ที่สร้างมุมมองใหม่ๆ เปี่ยมล้นไปด้วยความสุขใจ เขียนทุกเรื่องที่อยากเขียน เล่าทุกเรื่องที่อยากเล่า พร้อมรับคำแนะนำดีๆ เสริมสร้างกำลังใจการใช้ชีวิต 2.GIVE – หยิบยื่นกำลังใจ ข้อคิดดี ๆ สร้างแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต ร่วมแบ่งปันคำแนะนำดีๆ ที่ข่วยสร้างแรงกำลังใจ และบันดาลใจให้แก่กัน และ 3.SHARE -เรื่องดี ๆ อย่าเก็บไว้คนเดียว ร่วมแบ่งปันความประทับใจ มอบสิ่งดี ๆ ให้แก่กัน ร่วมแบ่งปันเรื่องราวดีๆ สุดประทับใจ ให้คนอื่นได้รับรู้ เพิ่มสีสันให้ชีวิต

เว็บไซต์นี้นอกจากจะเป็นช่องทางหลักในการสื่อสารแคมเปญของบริษัทฯ และตอกย้ำความเป็นคนรุ่นใหม่ ในฐานะผู้นำนวัตกรรมด้านการตลาดของแบรนด์ อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. แล้ว ยังถือเป็นการแบ่งปันสิ่งดีๆ คืนกลับสู่สังคม เป็นการตอบแทนให้กับสังคม และร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งความเอื้ออาทร กระตุ้นให้คนไทยแสดงความปรารถนาดีและแบ่งปันสิ่งดีๆ ให้แก่กันและกันอีกด้วย

“นอกจากนี้ จากกลยุทธ์การสื่อสารที่เลือกใช้ช่องทางออนไลน์เป็นช่องทางหลัก เรายังได้สร้าง ‘Mr.1 Advice’ ขึ้นมา เพื่อเป็นพรีเซนเตอร์ เดินสายแนะนำเว็บไซต์ ทั้งในแบบออฟไลน์ คือ การไปปรากฏตัวตามสถานที่ต่างๆ และแบบออนไลน์ คือ เดินสายเข้าเยี่ยมรายการโทรทัศน์แนววาไรตี้ที่กำลังเป็นที่นิยมในโลกออนไลน์ อย่างไรก็ตาม นอกจากสื่อออนไลน์แล้ว บริษัทฯ จะเดินหน้าแคมเปญใหม่นี้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยใช้กลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดแบบครบวงจร ผ่านช่องทางสื่อสารทุกรูปแบบ ตั้งแต่สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ วิทยุ รวมถึง social network ที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในตอนนี้ เพื่อปูพรมให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

“เราหวังว่า แคมเปญการสื่อสาร “One Advice: 1 คำแนะนำดีๆ” นี้ จะสะท้อนความจริงใจ และความน่าเชื่อถือของบริษัทฯ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และจะทำให้ อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. คงอยู่ในใจลูกค้าตลอดไป ตอกย้ำวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ ที่ว่า “อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. จะเป็นปัจจัยหลักแห่งความมั่นคงคุ้มครองทุกครอบครัวไทย” และผลักดันให้องค์กรของเราเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป” นางสาวพัชรา กล่าวทิ้งท้าย

View :1183

ทรู อินเทอร์เน็ต พร้อมก้าวสู่ IPv6 เต็มตัว ประกาศศักยภาพความพร้อมให้บริการลูกค้าองค์กรทุกระดับ

June 6th, 2012 No comments

ทรู อินเทอร์เน็ต ขานรับ Launch วันที่ 6 เดือน 6 ปี 2012 พร้อมกับทั่วโลก ร่วมเปลี่ยนผ่านการใช้งาน IPv4 เข้าสู่ อย่างเต็มตัว เป็นรายแรกในประเทศไทย จับมือ ซิสโก้ ซีสเต็มส์ เตรียมความพร้อมให้บริการล่วงหน้ากว่า 7 ปี มั่นใจศักยภาพรองรับการปรับเปลี่ยนสมบูรณ์แบบ ตอบสนองการขยายตัวการใช้งานเทคโนโลยีบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในอนาคต พร้อมก้าวสู่ยุค 3G 4G และยุคคลาวด์ คอมพิวติ้ง ซึ่งมีความต้องการหมายเลขไอพีแอดเดรสจำนวนมหาศาล ลงทุนงบพัฒนากว่า 100 ล้านบาท เพื่อให้บริการลูกค้าองค์กรทุกระดับ เปลี่ยนผ่านสู่ระบบใหม่ด้วยความเสถียร และปลอดภัยเต็มประสิทธิภาพสูงสุด

ธนะพล จันทวสุ รองผู้อำนวยการ สายงานโครงข่าย บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต จำกัด


นายธนะพล จันทวสุ รองผู้อำนวยการ สายงานโครงข่าย บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต จำกัด เปิดเผยว่า “IPv6 เป็นอีกหนึ่งพัฒนาการที่สำคัญของโลกอินเทอร์เน็ต ที่มีการปรับปรุงโครงสร้างและคุณลักษณะอื่นๆ เพื่อให้รองรับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของโลกอินเทอร์เน็ต โดยทั่วโลกกำลังเปลี่ยนผ่านระบบการใช้งานจาก IPv4 ที่ ไอพี แอดเดรสกำลังจะหมดไป เข้าสู่ IPV6 [Internet Protocol Version 6] ซึ่งมีขนาดความจุกว่า 128 บิต มีศักยภาพในการเพิ่มไอพี แอดเดรส ได้สูงสุดมากกว่าแสนล้านล้านแอดเดรส และที่สำคัญจะช่วยผลักดันการพัฒนาแอพพลิเคชั่นแบบ peer-to-peer ที่เคยมีข้อจำกัดภายใต้ IPV 4 ซึ่งจะมีผลต่อการใช้งานทั้งในระดับองค์กร และบุคคล จึงได้รับความสนใจจากทั่วโลก โดยเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลกได้ถือเอาวันที่ 6/6/2012 เป็นวัน คือเริ่มใช้อย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ ทรู อินเทอร์เน็ต ได้ตระหนักถึงความสำคัญ และเตรียมความพร้อมในด้านการให้บริการมากว่า 7 ปีแล้ว โดยจับมือกับ บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์(ประเทศไทย) จำกัด นำ Network Equipment อุปกรณ์โครงข่ายที่อยู่ในระดับท็อปไฮเอนด์ Nexus 7000 เข้ามาใช้ ด้วยงบลงทุนกว่า 100 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าให้ความรู้กับลูกค้าในรูปแบบต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 อาทิ งานสัมมนา จัดทีมงานให้คำปรึกษาเรื่อง IPv6 โดยในปีที่ผ่านมาได้เริ่มแจก IPV6 ควบคู่ไปกับการให้บริการ IPV4 เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มองค์กรได้ทดลองใช้งาน พร้อมตั้งทีมงานให้คำปรึกษา และให้ความสะดวกในเรื่องของการติดตั้งใช้งาน

การลงทุนพัฒนาของทรู อินเทอร์เน็ต ทั้งด้านโครงข่ายในการให้บริการอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีและอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงเส้นทางเชื่อมต่อไปยัง Internet Gateway เพื่อรองรับการใช้งาน IPV6 ตลอดจนการแจก IPV6 ควบคู่ไปกับการใช้งาน IPV4 เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มองค์กรได้ทดลองใช้งาน พร้อมส่งทีมงานให้คำปรึกษา ซึ่งนับได้ว่าเป็นผู้เปิดให้บริการใช้งานแบบครบวงจรเป็นรายแรกของประเทศไทย ซึ่งขณะนี้มีศักยภาพพร้อมรองรับการขยายตัวของอุปกรณ์เคลื่อนที่ และอุปกรณ์ไร้สายที่ต้องการเลขที่ไอพีแอดเดรสแบบจำเพาะเจาะจง นอกจากนี้ ยังเสริมสร้างประสิทธิภาพการให้บริการลูกค้าองค์กรในการเปลี่ยนผ่านสู่ IPv6 ได้อย่างเต็มรูปแบบ และมั่นใจได้ว่าการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้งานในระบบ IPv6 จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้ลูกค้าพร้อมในแข่งขันในระดับสากลได้ดียิ่งขึ้น”

นอกจากนี้ บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด หรือ ทรูไอดีซี ซึ่งเป็นศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ ที่ ทรู อินเทอร์เน็ต ใช้บริการฝากอุปกรณ์เครือข่ายเพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไว้ ได้เตรียมความพร้อมเข้าสู่ IPv6 แล้วเช่นกัน โดยติดตั้งอุปกรณ์โครงข่ายที่ศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ทั้ง 2 แห่ง คือ ศูนย์ทรูทาวเวอร์ และศูนย์เมืองทองธานี ให้สามารถรองรับการใช้งาน IPv6 โดยลูกค้าสามารถใช้งานทั้ง IPv4 และ IPv6 ได้ควบคู่กัน ก่อนที่ IPv4 จะถูกยกเลิกไปในอนาคต พร้อมกันนี้ ทรูไอดีซี ยังจัดโปรโมชั่นในโอกาสวันทดสอบการใช้งาน IPv6 อย่างเป็นทางการ หรือ World IPv6 Launch แจก IPv6 ให้ใช้บริการฟรี และเปิดให้ลูกค้าเข้าร่วมทดสอบการใช้งาน IPv6 ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยลูกค้าที่สนใจใช้งาน IPv6 สามารถแจ้งความประสงค์ได้ที่ฝ่ายขาย อีเมล์ sales@trueidc.co.th หรือ สอบถามข้อมูลทางเทคนิคเบื้องต้นได้ที่ network@trueidc.co.th โดยจะมีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำทางเทคนิคในการใช้งาน IPv6

ดร. ธัชพล โปษยานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “แนวโน้มของการเติบโตด้านการใช้งานแบนด์วิททั่วโลก มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งอุปกรณ์ด้านไอทีและเครื่องมือสื่อสารต่างๆ ก็มีความหลากหลาย ทำให้ไอพีแอดเดรสไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลถึงผู้ให้บริการและใช้งานอินเทอร์เน็ตต้องปรับตัวอย่างมาก โดยในปี 2012 คาดการณ์ว่ามีแนวโน้มการใช้งาน ไอพี แอดเดรส รวมถึงการใช้งานแบบสตรีมมิ่งมากยิ่งขึ้น ทั้งไฟล์ภาพและเสียง รวมไปถึงวิดีโอคลิปต่างๆ ด้วยเหตุนี้ คณะทำงาน IETF (The Internet Engineering Task Force) ตระหนักถึงปัญหาสำคัญดังกล่าว จึงได้พัฒนาอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นใหม่ขึ้น คือ รุ่นที่หก (Internet Protocol version 6) เพื่อทดแทนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นเดิม โดยมีวัตถุประสงค์ IPv6 เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของตัวโพรโตคอล ให้รองรับหมายเลขแอดเดรสจำนวนมาก และปรับปรุงคุณลักษณะอื่นๆ อีกหลายประการ ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและความปลอดภัย รองรับระบบแอพพลิเคชั่น (application) ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผล (packet) ให้ดียิ่งขึ้น ทำให้สามารถตอบสนองต่อการขยายตัวและความต้องการใช้งานเทคโนโลยีบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในอนาคตได้เป็นอย่างดี

สำหรับในประเทศไทย ถือได้ว่ามีความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านสู่ IPv6 เพราะได้มีการเตรียมการล่วงหน้ามาแล้วเป็นอย่างดี ในส่วนผลิตภัณฑ์ของซิสโก้นั้น มีการรองรับ IPv6 มาตั้งแต่ปี 2000 และได้มีการพัฒนาให้สอดคล้อง เพื่อรองรับมาตรฐานใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงเทคโนโลยีทางด้านความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น ในส่วนของลูกค้าองค์กร และลูกค้าทั่วไปนั้นที่ไม่ได้เตรียมการไว้ล่วงหน้าอาจประสบปัญหาด้านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต การเข้าถึงและการเก็บรักษาความปลอดภัยในข้อมูลต่างๆ ดังนั้น จึงควรเลือกผู้ให้บริการที่มีความพร้อมให้บริการ IPv6 ในส่วนความปลอดภัย ความเสถียรของระบบ และโอกาสเสี่ยงนั้น IPv6 ไม่ได้แตกต่างไปจาก IPv4 ดังนั้นจะต้องมีการพิจารณา ออกแบบให้เหมาะสม เช่นเดียวกับการออกแบบระบบสำหรับ IPv4 อย่างไรก็ดี การออกแบบระบบให้สามารถรองรับไดัทั้ง IPv4 และ IPv6 พร้อมๆกันนั้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์ทางด้านนี้ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจ ตลอดจนธุรกรรมต่างๆ บนโลกออนไลน์เป็นไปอย่างสะดวกราบรื่นและปลอดภัย

ผศ.ดร.โปรดปราน สิริธีรศาสตร์ ผู้อำนวยการสถาบันประมวลผลข้อมูลเพื่อการศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เล็งเห็นความสำคัญของการใช้งาน IP เนื่องจากมีการใช้งานในอุปกรณ์และโครงข่ายภายในหลายส่วน ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการวางแผนการดำเนินงานเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนจาก IPv4 เป็น IPv6 โดยดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายแกนหลักของมหาวิทยาลัยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อาทิ การติดตั้ง Router Core Switch ปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยสามารถใช้งานควบคู่กันทั้ง IPv4 และ IPv6 โดยใช้วิธีการใช้งานแบบ Dual Stack และได้มีการทดสอบการใช้งาน DNS IPv6 ซึ่งทางมหาวิทยาลัยถือได้ว่ามีความพร้อมในด้านการใช้งาน IPv6 ทั้งนี้เราพร้อมทั้งในส่วนของธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์และที่วิทยาเขตรังสิต ธรรมศาสตร์มีความพร้อมสำหรับ World IPv6 Launch

“ในวันที่ 6 มิถุนายน 2555 กำหนดให้เป็นวันทดสอบการใช้ IPv6 พร้อมกันทั่วโลก หรือเรียกว่า World IPv6 Launch โดยหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาคราชการ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ของประเทศต่างๆ จะร่วมทำการทดสอบพร้อมกันทั่วโลก สำหรับประเทศไทยมีการประเมินไว้ว่าต้องใช้เวลาเตรียมพร้อมประมาณ 3 ปี โดยเบื้องต้นต้องฝึกอบรมบุคลากรในหน่วยงานไอที เพื่อให้มีความรู้เรื่อง IPv6 เพื่อให้ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน พร้อมเข้าสู่การใช้งานได้จริงในปี 2558 ทันกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในส่วนของ ทรู อินเทอร์เน็ต ถือได้ว่ามีการพัฒนาล่วงหน้ามาอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้ถือได้ว่ามีความพร้อมที่จะให้บริการแก่ลูกค้าองค์กรทุกระดับ ในฐานะผู้นำด้านการให้บริการอินเทอร์เน็ตอันดับหนึ่งของประเทศ” นายธนะพล กล่าวสรุป

View :1394
Categories: Internet Tags: ,

ทรู อินเทอร์เน็ต ขานรับ World IPv6 Launch 6/6/2012

June 1st, 2012 No comments

บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต จำกัด ขานรับ World Launch 6/6/2012 พร้อมกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งกำหนดให้เป็นวันเปลี่ยนผ่านการใช้งาน IPv4 เข้าสู่ อย่างเป็นทางการ เพื่อเป็นการแสดงศักยภาพความพร้อม ทรู อินเทอร์เน็ต จะจัดงานแถลงข่าว “ความพร้อมการใช้งาน IPv 6 ร่วมกับสังคมโลกอย่างเต็มศักยภาพความสมบูรณ์แบบ” ร่วมกับ บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันพุธที่ 6 มิถุนายน 2555 นี้ เวลา 10.30 น. ณ ทรู สเตเดี่ยม ชั้น 4 ศูนย์การค้าสยามพารากอน

View :1410
Categories: Internet Tags:

ก.ไอซีที จับมือ สรอ. เปิดรับฟังความคิดเห็น “มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ”

May 31st, 2012 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นในวงกว้าง (Public hearing) เรื่อง “” ว่า กระทรวงฯ ได้ร่วมกับ สำนักงานรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. ดำเนินการจัดทำ “” (Government Website Standard) โดยมุ่งหวังให้หน่วยงานภาครัฐได้มีแนวทางในการพัฒนา และปรับปรุงเว็บไซต์ของหน่วยงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับหน่วยงาน อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างภาคประชาชน หน่วยงานราชการ ตลอดจนองค์กรธุรกิจ และยกระดับความสามารถของการให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐ ให้สามารถก้าวไปสู่จุดหมายของการบูรณาการเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Connected Government) ที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง

“ในการสำรวจเพื่อจัดอันดับการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Government ของกลุ่มประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations e-Government Readiness) ในปี 2012 พบว่า ประเทศไทยจัดอยู่ในลำดับที่ 92 จากจำนวนประเทศสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ ซึ่งลดลงจากปี ค.ศ. 2010 ที่ประเทศไทยจัดอยู่ในลำดับที่ 76 และลำดับที่ 64 ในปี ค.ศ. 2008 ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้เพิ่มมากขึ้น ด้วยการนำมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ มาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาระบบการให้บริการผ่านเว็บไซต์ อันจะช่วยยกระดับการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยให้ก้าวไปสู่การเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Connected Government) โดยยึดเอาประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen Centric) และให้ประชาชนมีส่วนร่วมผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Participation) ตลอดจนช่วยให้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ก้าวหน้าไปสู่ระดับมาตรฐานสากล เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับหน่วยงาน” นางจีราวรรณ กล่าว

ด้าน นายศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า เพื่อให้การดำเนินการจัดทำ “มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ” บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ จำเป็นต้องมีกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน และเล็งเห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ทั้งในระดับหน่วยงานผู้ให้บริการ ตลอดจนผู้รับบริการทุกภาคส่วน โดยที่ผ่านมา สรอ. ได้มีการหารือกับหน่วยงานภาคเอกชน กลุ่มสมาคม ที่รับพัฒนาเว็บไซต์ให้กับหน่วยงานราชการ และจัดให้มีการสัมมนาเพื่อระดมความคิดเห็น (Focus Group) เกี่ยวกับมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ 2 ครั้ง ในเดือนเมษายน 2555 โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ประมาณ 60 หน่วยงาน ร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนามาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐให้มีความเหมาะสม ครอบคลุม และสมบูรณ์มากที่สุด

พร้อมกันนี้ยังได้ทำการศึกษาข้อมูลด้านต่างๆ ที่อาจเป็นกรอบตั้งต้นในการจัดทำมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ อาทิ ข้อมูลจัดอันดับการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ของกลุ่มประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations e-Government Readiness) ในรายงาน United Nations E-Government Survey กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลจากการสำรวจเชิงสถิติ การให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ของหน่วยงานภาครัฐ ประเทศไทย และกรณีศึกษาของต่างประเทศ ทั้งมาตรฐานเว็บไซต์ที่แต่ละประเทศมีการจัดทำ และการให้บริการผ่านเว็บไซต์ของภาครัฐ เป็นต้น

“ขณะนี้ สรอ. ได้ทำการยก ร่างมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ เรียบร้อยแล้ว จึงได้การจัดประชุมประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นในวงกว้าง (Public hearing) ครั้งนี้ขึ้น เพื่อเชิญหน่วยงานภาครัฐระดับกรมขึ้นไป มาร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นต่อร่างมาตรฐานฯ ดังกล่าว ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีที่หน่วยงานภาครัฐจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ ประสบการณ์ ในมุมมองของผู้ที่ดูแลรับผิดชอบและผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเว็บไซต์ ทั้งนี้ เพื่อนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ มาใช้ในการพัฒนา ปรับปรุงมาตรฐานฯ ให้สมบูรณ์ และเหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป” นายศักดิ์ กล่าว

View :1525

ก.ไอซีที เชิญร่วมการทดสอบ World IPv6 Launch

May 30th, 2012 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า ภายหลังจากกระทรวงไอซีที ได้ประกาศนำประเทศไทยสู่ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา เพื่อรองรับการหมดลงของหมายเลข IPv4 ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับภูมิภาคเอเชียเป็นภูมิภาคแรกของโลก ซึ่งจะทำให้การขยายตัวและการบริการอินเทอร์เน็ตในภูมิภาคนี้ประสบปัญหาอย่างมากในอนาคตอันใกล้ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการให้มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตยุคหน้า (Next Generation Internet หรือ ) ทั้งนี้ เพื่อให้การขยายตัวของอินเทอร์เน็ตในอนาคตสามารถทำงานร่วมกันบนเครือข่าย และ IPv4 ได้

“การเข้าสู่ IPv6 นับเป็นการ upgrade อินเทอร์เน็ตครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 30 ปี ซึ่งการดำเนินการปรับเปลี่ยนเครือข่ายไปสู่ IPv6 ให้ได้ผลที่ดีนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมการและวางแผนอย่างเป็นระบบ” นางจีราวรรณ กล่าว

โดยตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552 – 2556 ในยุทธศาสตร์ที่ 4 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารและบริการของภาครัฐ มาตรการ 4.1 การสร้างความเข้มแข็งของหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบการผลักดันการใช้ ICT ในการบริหารและบริการของภาครัฐ รวมถึงการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐแบบบูรณาการ โดยกำหนดกรอบนโยบายที่เกี่ยวกับข้อมูลและการสื่อสารข้อมูลที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อให้ทุกหน่วยงานสามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างมีเอกภาพและประสิทธิภาพ รวมถึงกำหนดกรอบนโยบายและแผนการดำเนินงานเพื่อให้โครงข่ายภาครัฐสามารถรองรับการใช้งานและให้บริการอินเทอร์เน็ตโปรโทคอลรุ่น 6 หรือ IPv6 ได้ภายใน ปี 2555

นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ประกาศนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ (อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง) ให้เป็นบริการที่มีความสำคัญเทียบเท่าบริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของประชาชน โดยต้องมีการพัฒนาโครงข่าย บรอดแบนด์อย่างทั่วถึง เพียงพอ รวมทั้งให้บริการในราคาที่เหมาะสม ภายใต้การแข่งขันเสรีที่เป็นธรรม ตลอดจนครอบคลุมประชากร ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ภายในปี 2558 และไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 ภายในปี 2563 พร้อมกันนี้ ยังมีนโยบายสนับสนุนการใช้อินเทอร์เน็ต เช่น นโยบาย Free WiFi นโยบาย One Tablet Per Child และการสนับสนุนให้เกิด 3G และ LTE เป็นต้น

ดังนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายดังกล่าว จึงได้ร่วมกับสมาคมไอพีวี 6 ประเทศไทย และผู้ให้บริการด้านอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารโทรคมนาคมต่าง ๆ วางแผนการดำเนินการ โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระยะเตรียมการ (พ.ศ. 2554 – 2555) ดำเนินการประเมินความพร้อมของเครือข่าย สร้างเครือข่ายการทดสอบ IPv6 ของประเทศ ดำเนินการทดสอบ IPv6 และดำเนินการฝึกอบรมแก่บุคลากร รวมถึงผู้ให้บริการการสื่อสารอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ตลอดจนประกาศแผนปฏิบัติการ IPv6 ซึ่งยึดตามแผนปฏิบัติการ IPv6 ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ

ระยะที่ 2 ระยะดำเนินการ (พ.ศ. 2556 – 2558) จะดำเนินการเปลี่ยนถ่ายจากเครือข่าย IPv4 ไปยังเครือข่ายที่สนับสนุนได้ทั้ง IPv4 และ IPv6 ในเครือข่ายและบริการภาครัฐ รวมถึงดำเนินการให้เครือข่าย IPv6 เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และจัดให้มีการทดสอบบริการอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่าย IPv6 เพื่อให้แน่ใจว่าอินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีมาตรฐานและความมั่นคง นอกจากนี้ยังร่วมผลักดันและสนับสนุนภาคเอกชนให้มีการดำเนินการที่สอดคล้องกับแผนดังกล่าวด้วย

ในการดำเนินการระยะที่ 1 เมื่อปี 2554 ที่ผ่านมานั้น ได้มีการจัดการทดสอบในงาน Day ซึ่งได้รับความสนใจจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าทุกภาคส่วนมีความตระหนักในปัญหาการขาดแคลนหมายเลข IP โดยผู้ร่วมงานครั้งนั้นได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจ คือ หน่วยงานส่วนใหญ่มีความพร้อมและจะเริ่มใช้งาน IPv6 ได้ภายในระยะเวลา 3 ปี เนื่องจากอุปสรรคในด้านความพร้อม ด้านบุคลากร อุปกรณ์ และโปรแกรมประยุกต์ใช้งาน ซึ่งถือเป็นอุปสรรคสำคัญที่หน่วยงานต่างๆ ถึงร้อยละ 70 มีความกังวลว่าอาจจะไม่รองรับการทำงานบนเครือข่าย IPv6

สำหรับในปีนี้ทั่วทั้งโลกได้พร้อมใจกันให้บริการผ่านเครือข่าย IPv6 ในวันที่ 6 มิถุนายน 2555 ภายใต้ชื่อว่า โดยในวันดังกล่าวทั้ง Google, Facebook, Yahoo และผู้ให้บริการรายอื่น ๆ รวมถึงผู้ค้าอุปกรณ์ และองค์กรขนาดใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลกจะเริ่มให้บริการผ่านเครือข่าย IPv6 ซึ่งต่างจากปีที่แล้วที่เป็นเพียงการเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นก็ปิดการใช้งาน IPv6
“ในส่วนของรัฐบาลจะมีการนำบริการภาครัฐเข้าร่วมทดสอบความพร้อมในวัน World IPv6 Launch ดังกล่าวด้วย โดยมีหน่วยงานที่ประสงค์เข้าร่วมทดสอบแล้วจำนวน 33 หน่วยงาน นอกจากนี้ หลังจากวันเริ่มทดสอบ World IPv6 Launch 2012 แล้ว จะจัดให้มีงาน Thailand IPv6 Conference Day 2012 ในวันที่ 26 มิถุนายน 2555 เพื่อนำผลและประสบการณ์ในการทดสอบดังกล่าวทั้งจากภาครัฐและเอกชน มานำเสนอและแลกเปลี่ยนร่วมกัน ทั้งนี้ หากหน่วยงานใดสนใจร่วมทดสอบ IPv6 กระทรวงฯ ขอเชิญเข้าร่วมการทดสอบ IPv6 ได้ในวันที่ 6 มิถุนายน 2555 โดยสามารถติดตามความก้าวหน้าและดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ipv6.ega.or.th และ http://www.worldipv6launch.org” นางจีราวรรณ กล่าว

View :1455
Categories: Internet Tags:

ไซแมนเทคเผยรายงานภัยคุกคามด้านความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต ระบุ การโจมตีเพิ่มขึ้น 81 เปอร์เซ็นต์

May 28th, 2012 No comments

ไซแมนเทค (Nasdaq: SYMC) เปิดเผยรายงานภัยคุกคามด้านความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต (Internet Security Threat Report) ฉบับที่ 17 ซึ่งระบุว่า แม้ว่าจำนวนช่องโหว่ของระบบลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ แต่จำนวนการโจมตียังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 81 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังเน้นย้ำว่าการโจมตีขั้นสูงแบบเจาะกลุ่มเป้าหมายกำลังแพร่ขยายไปสู่องค์กรทุกขนาดและบุคลากรหลากหลายกลุ่ม อีกทั้งปัญหาข้อมูลรั่วไหลยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และผู้โจมตีก็พุ่งเป้าไปที่อุปกรณ์พกพาเพิ่มมากขึ้น

“ในปี 2554 อาชญากรไซเบอร์ ทำให้เกิดการขยายตัวของจำนวนการโจมตีทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นถึง 81 เปอร์เซ็นต์ ไซแมนเทคยังตรวจพบว่าการโจมตีทางอินเทอร์เน็ตผ่านทางอุปกรณ์พกพาที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยอุปกรณ์ดังกล่าว ตกเป็นเป้าหมายการโจมตีเพื่อเจาะข้อมูลสำคัญๆ ดังนั้นองค์กรต่างๆ จึงจำเป็นต้องระมัดระวังมากขึ้นในการปกป้องข้อมูลลับบนอุปกรณ์เหล่านี้” นายประมุท ศรีวิเชียร ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ไซแมนเทค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

รายงานภัยคุกคามด้านความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตประจำปี 2554 – ไม่มียาครอบจักรวาลสำหรับป้องกันการโจมตีทั้งหมด
ปกป้องธุรกิจเอสเอ็มบีให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามบนอินเทอร์เน็ต

การโจมตียังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ไซแมนเทคปิดกั้นการโจมตีที่เป็นอันตรายกว่า 5,500 ล้านครั้งในช่วงปี 2554 เพิ่มขึ้น 81 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า นอกจากนี้ จำนวนมัลแวร์ยังเพิ่มเป็น 403 ล้านรูปแบบ ขณะที่จำนวนการโจมตีเว็บต่อวันเพิ่มขึ้น 36 เปอร์เซ็นต์

ขณะเดียวกัน ระดับของสแปมลดลงอย่างมาก และช่องโหว่ใหม่ๆ ที่ตรวจพบก็ลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ สถิติเหล่านี้เมื่อเทียบกับการเติบโตอย่างต่อเนื่องของมัลแวร์แสดงให้เห็นภาพรวมที่น่าสนใจ กล่าวคือ ผู้โจมตีได้ปรับใช้ชุดเครื่องมือการโจมตีที่ใช้งานง่ายเพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากช่องโหว่ที่มีอยู่ อาชญากรไซเบอร์ได้เปลี่ยนย้ายจากสแปมไปสู่เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อเริ่มการโจมตีเป้าหมาย ลักษณะของเครือข่ายเหล่านี้ทำให้ผู้ใช้เข้าใจอย่างผิดๆ ว่าตนเองไม่ได้ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงแต่อย่างใด และปัจจุบัน ผู้โจมตีก็ใช้ไซต์เครือข่ายเหล่านี้เพื่อล่อหลอกเหยื่อรายใหม่ๆ เนื่องจากเทคนิคการหลอกล่ออย่างแนบเนียนและลักษณะเฉพาะของเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เชื่อมโยงถึงกัน จึงเป็นเรื่องง่ายที่ภัยร้ายจะแพร่กระจายจากบุคคลหนึ่งไปยังคนอื่นๆ

การโจมตีขั้นสูงแบบเจาะกลุ่มเป้าหมายแพร่กระจายสู่องค์กรทุกขนาด
การโจมตีแบบเจาะกลุ่มเป้าหมายมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 77 ครั้งต่อวัน เป็น 82 ครั้งต่อวันเมื่อสิ้นปี 2554 การโจมตีแบบเจาะกลุ่มเป้าหมายใช้วิธีการล่อหลอกเหยื่อและมัลแวร์ที่ปรับแต่งเป็นพิเศษเพื่อเข้าถึงข้อมูลสำคัญ โดยในอดีต การโจมตีแบบนี้จะพุ่งเป้าไปที่องค์กรภาครัฐและหน่วยงานราชการ แต่ในช่วงปี 2554 การโจมตีแบบเจาะกลุ่มเป้าหมายมีลักษณะหลากหลายมากขึ้น

การโจมตีแบบเจาะกลุ่มเป้าหมายไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะองค์กรขนาดใหญ่อีกต่อไป ทั้งนี้ กว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของการโจมตีในลักษณะนี้พุ่งเป้าไปยังองค์กรที่มีพนักงานน้อยกว่า 2,500 คน และเกือบ 18 เปอร์เซ็นต์พุ่งเป้าไปยังบริษัทที่มีพนักงานไม่ถึง 250 คน องค์กรเหล่านี้อาจตกเป็นเป้าหมาย เพราะว่าอยู่ในห่วงโซ่อุปทานหรือเครือข่ายคู่ค้าและพันธมิตรของบริษัทขนาดใหญ่ และมีระบบรักษาความปลอดภัยที่อ่อนแอกว่า ยิ่งไปกว่านั้น 58 เปอร์เซ็นต์ของการโจมตีพุ่งเป้าไปที่พนักงานระดับล่างในส่วนงานต่างๆ เช่น ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฝ่ายประชาสัมพันธ์ และฝ่ายขาย พนักงานในตำแหน่งงานเหล่านี้อาจไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง แต่มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับบริษัท บุคลากรเหล่านี้สามารถค้นหาได้ง่ายบนระบบออนไลน์ และมักจะได้รับข้อซักถามและไฟล์แนบจากบุคคลที่ไม่รู้จัก

การเพิ่มขึ้นของปัญหาข้อมูลรั่วไหล อุปกรณ์สูญหาย นับเป็นเรื่องน่ากังวลใจสำหรับอนาคต
ในช่วงปี 2554 ข้อมูลประจำตัวผู้ใช้ราว 232 ล้านรายการได้ถูกโจรกรรมหรือโดยเฉลี่ยประมาณ 1.1 ล้านรายการต่อเหตุการณ์ ซึ่งนับว่าเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับปีอื่นๆ ก่อนหน้านี้ การเจาะระบบคือภัยร้ายที่สำคัญที่สุด ส่งผลให้มีการเปิดเผยข้อมูลประจำตัวผู้ใช้ 187 ล้านรายการในปี 2554 ซึ่งนับว่าเป็นการละเมิดความปลอดภัยที่มียอดตัวเลขสูงสุดเมื่อปีที่แล้วเมื่อเทียบกับการละเมิดประเภทอื่นๆ อย่างไรก็ดี สาเหตุหลักของปัญหาข้อมูลรั่วไหลซึ่งอาจนำไปสู่การแอบอ้างก็คือ คอมพิวเตอร์หรือสื่อบันทึกข้อมูลอื่นๆ สูญหาย เช่น สมาร์ทโฟน, USB หรืออุปกรณ์แบ็คอัพ โดยการละเมิดที่เกี่ยวเนื่องกับการโจรกรรมหรือการสูญหายนี้ส่งผลให้ข้อมูลประจำตัวผู้ใช้ 18.5 ล้านรายการตกอยู่ในภาวะเสี่ยง

ขณะที่ยอดขายแทบเล็ตและสมาร์ทโฟนยังคงแซงหน้าพีซี ข้อมูลสำคัญๆ ก็จะพร้อมใช้งานบนอุปกรณ์พกพาเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันพนักงานมักจะนำสมาร์ทโฟนและแทบเล็ตติดตัวไปยังที่ทำงานอย่างกว้างขวางจนหลายๆ องค์กรไม่สามารถคุ้มครองและจัดการอุปกรณ์ดังกล่าวได้อย่างทั่วถึง สถานการณ์นี้อาจส่งผลให้เกิดปัญหาข้อมูลรั่วไหลเพิ่มมากขึ้น เพราะหากอุปกรณ์พกพาสูญหาย ก็ย่อมก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อข้อมูลหากไม่ได้รับการปกป้องอย่างเหมาะสม ผลการวิจัยล่าสุดของไซแมนเทคชี้ว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของโทรศัพท์ที่สูญหายจะไม่ได้รับคืน และ 96 เปอร์เซ็นต์ จะมีปัญหาข้อมูลรั่วไหลรวมถึงโทรศัพท์ที่ได้รับคืน

ภัยคุกคามต่ออุปกรณ์พกพาก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อองค์กรธุรกิจและผู้บริโภค
ช่องโหว่บนอุปกรณ์พกพาเพิ่มขึ้น 93 เปอร์เซ็นต์ในช่วงปี 2554 และในขณะเดียวกัน ภัยคุกคามต่อระบบปฏิบัติการ Android ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ขณะที่จำนวนช่องโหว่ในแพลตฟอร์มโมบายล์เพิ่มสูงขึ้น ผู้สร้างมัลแวร์ก็พยายามปรับแต่งมัลแวร์ที่มีอยู่เพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์พกพา ทั้งยังสร้างมัลแวร์สำหรับอุปกรณ์พกพาโดยเฉพาะอีกด้วย ดังนั้นปี 2554 จึงนับเป็นปีแรกที่มัลแวร์แบบโมบายล์กลายเป็นภัยร้ายที่จับต้องได้สำหรับองค์กรธุรกิจและผู้บริโภค โดยภัยคุกคามเหล่านี้ออกแบบเป็นพิเศษสำหรับกิจกรรมต่างๆ เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูล การส่งเนื้อหาคอนเทนต์ และการตรวจสอบติดตามผู้ใช้

View :1533

TCCT เผยแผนใหญ่ “เมกะดาต้าเซ็นเตอร์” ล้ำสมัย เลือกไอบีเอ็ม เป็นที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และคัดสรรที่ตั้งศูนย์ใหม่

May 24th, 2012 No comments

ทีซีซี เทคโนโลยี () ผู้นำการให้บริการดาต้าเซนเตอร์ที่เป็นอิสระระดับแนวหน้าของประเทศไทย ได้มอบหมายให้ไอบีเอ็มเป็นผู้พัฒนา ออกแบบกลยุทธ์ รวมถึงรูปแบบของดาต้าเซ็นเตอร์แห่งใหม่หรือ “” โดยไอบีเอ็มจะให้คำปรึกษาเพื่อการสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีความยืดหยุ่น มีประสิทธิภาพด้านพลังงาน และคุณภาพการบริการด้วยขนาดและทำเลที่เหมาะสมสูงสุดสำหรับลูกค้าในแต่ละประเภทธุรกิจ ด้วยประสบการณ์และคุณภาพการบริการมาตรฐานระดับสากล ประกอบกับความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์วิจัย ไอบีเอ็มจะช่วยให้ทีซีซี เทคโนโลยี สามารถตัดสินใจได้อย่างชัดเจน บนพื้นฐานของราคาและประโยชน์ที่สมเหตุสมผลสำหรับการลงทุนครั้งนี้

ปัจจุบัน ธุรกิจในประเทศไทยต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนอันเนื่องมาจากเหตุการณ์เหนือความคาดหมายต่างๆ ทั้งภัยทางธรรมชาติและเหตุการณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น ผู้ประกอบการต่างๆจึงตระหนักถึงความสำคัญของการใช้บริการฐานข้อมูลสำรอง หรือดาต้าเซ็นเตอร์ที่เป็นศูนย์สำรองข้อมูลอีกแห่งเพื่อลดความเสี่ยง เพื่อรองรับความต้องการดังกล่าวของธุรกิจ ทีซีซี เทคโนโลยีจึงได้เพิ่มขีดความสามารถรวมถึงขยายรูปแบบการให้บริการโดยวางแผนสร้าง “เมกะดาต้าเซ็นเตอร์” โดยเป็นศูนย์แห่งอนาคต เพื่อรองรับลูกค้าธุรกิจขนาดต่างๆทั้งในประเทศและระดับภูมิภาค โดยมีกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่ธุรกิจประเภทสถาบันการเงิน อุตสาหกรรม ธุรกิจบริการด้านไอทีไปจนถึงโทรคมนาคมที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งแต่ละธุรกิจที่กล่าวมาล้วนให้ความสำคัญกับข้อมูลทางธุรกิจและข้อมูลของลูกค้า

นายโฆษิต สุขสิงห์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ที.ซี.ซี.เทคโนโลยี จำกัด กล่าวว่า “เราไว้วางใจไอบีเอ็มให้ทำการศึกษาวิจัยในการสำรวจและคัดเลือกทำเลที่ตั้งดาต้าเซ็นเตอร์แห่งใหม่ให้กับTCCT ผนวกกับการวิเคราะห์ถึงขนาดที่เหมาะสม และกลยุทธ์การสร้างศักยภาพสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์แห่งใหม่ เนื่องจากในปัจจุบัน มีความต้องการบริการดาต้าเซ็นเตอร์ที่เพิ่มขึ้นมากจากหลากหลายประเภทธุรกิจ ทั้งในประเทศไทยและในระดับภูมิภาค โดยมีสาเหตุมาจากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติและเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองทั่วโลก การไว้วางใจให้ผู้เชี่ยวชาญด้านดาต้าเซ็นเตอร์ดูแลข้อมูลสำคัญต่างๆให้จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด นอกจากนี้ลูกค้ายังสามารถลดต้นทุนโดยพิจารณาบริการของเราแทนการลงทุนสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ ศูนย์สำรองข้อมูล และการจ้างวิศวกรคอมพิวเตอร์ในการดูแลดาต้าเซ็นเตอร์ด้วยตนเอง ในฐานะผู้นำการให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ที่เป็นอิสระชั้นแนวหน้าของประเทศไทย เราพร้อมตอบโจทย์ความต้องการที่เพิ่มขึ้นและขยายศักยภาพด้วยการวางแผนสร้าง “เมกะดาต้าเซ็นเตอร์” โดยจะสร้างเป็น ดาต้าเซ็นเตอร์คอมมิวนิตี้ อันจะประกอบด้วยธุรกิจต่างๆจากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถรองรับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน โดยTCCTจะเป็นศูนย์กลางการเก็บข้อมูล และเป็นผู้บริหารจัดการข้อมูลด้วยระบบไอทีอย่างชาญฉลาด เราต้องการพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ชั้นนำซึ่งโดดเด่นด้วยขนาด ทำเลและบริการที่ดีที่สุด จึงเป็นเหตุผลที่เราเลือกไอบีเอ็มซึ่งมีความเชี่ยวชาญระดับโลกและมีบริการที่ครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบให้คำแนะนำจนไปถึงการสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ มาทำการศึกษาวิจัยให้กับเราและสามารถตอบสนองความต้องการจุดนี้ได้อย่างครบถ้วน”

“เมกะดาต้าเซ็นเตอร์” ของTCCTจะใช้กลยุทธ์ “3S” โดยมุ่งหมายที่จะเป็นดาต้าเซ็นเตอร์ที่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย โดยมีคุณสมบัติที่มีความยืดหยุ่นได้ตามความต้องการ และความสามารถในการให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ชั้นสูง รวมถึงสามารถสองตอบความต้องการของลูกค้าที่ต้องการใช้บริการดาต้าเซ็นเตอร์เพิ่มจากเดิมอีกด้วย
โดยกลยุทธ์ “3S” คือ

• Size (ขนาด) จากความต้องการของTCCT ไอบีเอ็มจะศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้ขนาดในการสร้าง “เมกะดาต้าเซ็นเตอร์” ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าและสามารถรองรับรูปแบบการบริการที่จะนำเสนอให้แก่ลูกค้าอีกด้วย
• Site (ทำเลที่ตั้ง) การเลือกทำเลที่ตั้งของศูนย์แห่งใหม่จะเป็นการผนวกรวมความเชี่ยวชาญของไอบีเอ็มในฐานะผู้มีประสบการณ์การให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ระดับสากลที่ได้ศึกษาวิจัยและวางแผนการสร้างดาต้าเซ็นเตอร์แบบยกพื้น (Raised-Floor) กว่า 30 ล้านตารางฟุตให้กับองค์กรมาแล้วทั่วโลก กับความชำนาญในการเลือกสรรทำเลที่ตั้งดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทยของTCCTซึ่งมีชื่อเสียงในฐานะหนึ่งในผู้ให้บริการที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเซียได้อย่างลงตัว ทั้งนี้ทีมงานผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ของไอบีเอ็มจะทำการศึกษาวิจัย รวบรวมข้อมูลแนวโน้มตลาด ความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย แล้วจึงจะทำการสำรวจทำเลที่ตั้ง โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปวิเคราะห์โดยใช้โมเดลช่วยการตัดสินใจและเครื่องมือการวิเคราะห์เพื่อให้ได้ทำเลที่เหมาะสมที่สุดในการสร้าง“เมกะดาต้าเซ็นเตอร์”
• Services (บริการ) จากคำปรึกษาของไอบีเอ็ม TCCTจะสามารถตัดสินใจเรื่องรูปแบบดาต้าเซ็นเตอร์และการบริการโครงสร้างพื้นฐานที่จะเป็นประโยชน์สูงสุดกับลูกค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจได้ในอนาคต โดยขนาดและทำเลที่ตั้งจะต้องเหมาะสมกับบริการที่จะให้กับลูกค้า

บริการให้คำปรึกษาด้านการวางแผนและกลยุทธ์ดาต้าเซ็นเตอร์ของไอบีเอ็มจะช่วยให้ลูกค้าใช้ประโยชน์จากดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีอยู่และดาต้าเซ็นเตอร์ที่จะสร้างใหม่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ เช่น การขยายตัวของธุรกิจ การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และความยืดหยุ่นของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที และความสามารถในการให้บริการ โดยไอบีเอ็มสามารถช่วยลูกค้าตั้งแต่การวางแผนที่รัดกุมเพื่อลดความเสี่ยง ลดต้นทุน ค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงาน รวมถึงลดความซับซ้อนในการสร้างหรืออัพเกรดดาต้าเซ็นเตอร์ ไอบีเอ็มยังสามารถช่วยเลือกสรรเทคโนโลยี ทำเลที่ตั้งของศูนย์ และรูปแบบการให้บริการที่เหมาะสมเพื่อรองรับสภาพแวดล้อมทางไอทีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงช่วยออกแบบ ติดตั้งและสร้างสมาร์ทเตอร์ดาต้าเซ็นเตอร์ รวมถึงการบริหารจัดการ ทำการทดสอบและติดตั้งให้แก่ลูกค้า

“ไอบีเอ็มรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่TCCTได้เลือกไอบีเอ็มเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ที่จะช่วยตอบโจทย์ทางธุรกิจและเสริมความเป็นผู้นำของTCCTในตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ ด้วยบริการดาต้าเซ็นเตอร์ที่ครบครันและความเชี่ยวชาญระดับโลกของไอบีเอ็ม เรามั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าจะช่วยเสริมศักยภาพให้TCCTสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้นได้อย่างเหนือระดับ” นายฟรานซิส ฟง ผู้อำนวยการ ธุรกิจบริการ ไอบีเอ็มอาเซียนกล่าว

ปัจจุบันTCCTมีดาต้าเซ็นเตอร์อยู่ 3 แห่ง คือ
• ระดับองค์กร: ดาต้าเซ็นเตอร์สำหรับองค์กรธุรกิจ (Enterprise Data Centers) ได้แก่ เอ็มไพร์ทาวเวอร์ ดาต้าเซ็นเตอร์ (ETDC) สาทร และ บางนาดาต้าเซ็นเตอร์ (BNDC) ตั้งอยู่บนอาคาร TCIF ห่างจากสนามบินนานาชาติเพียง 10 กิโลเมตร
• ระดับอุตสาหกรรม: ดาต้าเซ็นเตอร์สำหรับอุตสาหกรรม ได้แก่ Industrial Data Center at Amata (AMDC)
• ระดับภูมิภาค: ดาต้าเซ็นเตอร์ระดับภูมิภาค (International Data Center) ได้แก่ (KMDC) ที่จะสร้างขึ้นที่ประเทศกัมพูชา

View :1609

กระทรวงไอซีที จับมือกระทรวงพลังงาน สนองนโยบายรัฐบาลสู่สมาร์ทไทยแลนด์ นำร่องสร้างต้นแบบ PTT Free Wi-Fi by TOT

May 22nd, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และนายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมเป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือ และเปิดโครงการ บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยี Wi-Fi โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายที่สถานีบริการ ปตท. สาขาเพื่อสวัสดิการ ร.๑ รอ. ถนนวิภาวดีรังสิต โดยมีสองยักษ์ บมจ.ทีโอที และ บมจ.ปตท. นำร่องสร้างโมเดลความร่วมมือคืนประโยชน์ให้กับสังคม โดยร่วมกันให้บริการ อินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง ไม่คิดค่าใช้บริการ เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาล และยกระดับ ประเทศไทยในการจัดอันดับความพร้อมด้านไอซีที ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า ปี ๒๕๕๕ ไอซีที มีเป้าหมายที่จะผลักดันให้สังคมไทยเป็นสังคมอุดมปัญญา (Smart Thailand) เพื่อเตรียม พร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยการพัฒนาด้าน ICT จะเป็นรากฐานสำคัญที่จะยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย ซึ่งความร่วมมือในการจัดโครงการบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยไม่คิดค่าใช้บริการ PTT Free Wi-Fi by TOT ระหว่าง ปตท. และ ทีโอที จะเป็นต้นแบบของความร่วมมือในการคืนประโยชน์ให้กับสังคม เพื่อสนองนโยบายด้าน ICT สู่ Smart Thailand ส่งผลต่อการยกระดับประเทศไทยในการจัดอันอับความพร้อมด้านไอซีที ทั้งในระดับภูมิภาค และระดับโลก

นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ความร่วมมือของ ปตท. และ ทีโอที ในการพัฒนาโครงการ PTT Free Wi-Fi by TOT ณ สถานีบริการน้ำมัน ปตท. ทั่วประเทศครั้งนี้ นับเป็นแบบอย่างความร่วมมือที่น่าชื่นชมของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจผู้ให้บริการแก่ประชาชนที่ดำเนินงานในรูปแบบเอกชน ด้วยการประสานประโยชน์จากจุดแข็งของทั้งสองหน่วยงาน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง เชื่อว่าความร่วมมือระหว่างเครือข่ายเทคโนโลยีไร้สาย (Wi-Fi) ของทีโอที กับ เครือข่ายสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศของ ปตท. กว่า ๑,๓๐๐ แห่ง จะเพิ่มช่องทางให้คนไทย ได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งข้อมูล ความรู้ และข่าวสารต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว สนองตอบนโยบายการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสาธารณะโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคนไทยและประเทศไทย ให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาชาติต่อไป

นายสรัญ รังคสิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สถานีบริการน้ำมันของ ปตท.ทั่วประเทศ จะเป็น “จุดเชื่อมต่อ” ที่มีประสิทธิภาพให้กับคนไทยในทุกเส้นทาง และเป็นอีกช่องทางที่มีศักยภาพในการนำพาองค์ความรู้สู่สังคมไทย และก้าวสู่สังคมอุดมปัญญา หรือ Smart Thailand ได้อย่างแท้จริง นับเป็นความร่วมมือที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของ ปตท. ที่มุ่งมั่นพัฒนาองค์กรให้มีความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนองค์กรทั้งในด้านธุรกิจและความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาทั้งสองด้านไปพร้อมๆ กันอย่างยั่งยืน นอกจากนั้น ความร่วมมือในครั้งนี้ยังจะช่วยพัฒนางานบริการ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจสถานีบริการน้ำมันของ ปตท. ให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างตรงจุดและรวดเร็วยิ่งขึ้น “เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส” อีกด้วย

ดร.มนต์ชัย หนูสง รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที กล่าวว่า วันนี้ ประเทศไทยจะก้าวไปสู่การพัฒนา และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างทั่วถึง ด้วยความร่วมมือของกระทรวงไอซีที และกระทรวงพลังงาน ในการสนับสนุนผลักดันให้ ปตท. ซึ่งเป็นผู้ประกอบการด้านพลังงานรายใหญ่ที่สุด และ ทีโอที ซึ่งมีจุดแข็งในด้านโครงข่ายโทรคมนาคมที่ทันสมัยครอบคลุมทั่วประเทศ สู่เป้าหมายร่วมกันในการสนองนโยบายของรัฐบาล ด้วยการร่วมกันเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยี Wi-Fi โดยไม่คิดค่าใช้บริการ หรือ PTT Free Wi-Fi by TOT เพื่อให้บริการกับประชาชนในสถานีบริการ ปตท. กว่า ๑,๐๐๐ แห่งทั่วประเทศ โดยในระยะแรกจะเปิดให้บริการเมื่อเริ่มโครงการประมาณ ๒๐๐ แห่ง ใน กทม. และต่างจังหวัด และคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการครบทั้ง ๑,๐๐๐ แห่ง ภายใน ๕ เดือน

สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ ทีโอที จะเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาและติดตั้งระบบและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยี Wi-Fi การติดตั้ง และบริหารรวมทั้งการจัดหาอุปกรณ์ในการให้บริการ รวมถึงการให้บริการด้าน Call Center โดยผู้ใช้บริการจะสามารถใช้บริการ PTT Free Wi-Fi by TOT ด้วยการลงทะเบียน เพื่อขอรับรหัส Username และ Password สำหรับการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต โดยรหัสดังกล่าวสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้วันละ ๒ ชั่วโมง ใช้งานได้ครั้งละไม่เกิน ๓๐ นาที นาน ๖ เดือน ด้วยความเร็วสูงสุดไม่เกิน ๒M/๕๑๒ Kbps

ทั้งนี้ รัฐบาลมีนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่จะส่งเสริมการเข้าถึงการใช้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสาธารณะที่มีการใช้งานตามความเหมาะสมโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อันเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูล และข่าวสาร ยกระดับคุณภาพชีวิต และการศึกษาของประชาชนในประเทศ ซึ่งตามแผนแม่บทไอซีที ฉบับที่ ๓ มีเป้าหมายในการกระจายการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั้งแบบมีสายและไร้สายให้ครอบคลุมมากกว่า ๘๐% ของประชากรทั้งประเทศภายในปี ๒๕๕๘ และเพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาล กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้จัดให้มีโครงการบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยี Wi-Fi โดยไม่คิดค่าใช้บริการมาตั้งแต่ปลายปี ๒๕๕๔ โดย ทีโอที ได้นำร่องดำเนินการให้บริการ Free Wi-Fi ในพื้นที่สาธารณะ เช่น ศาลากลางจังหวัด สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ และสถานีขนส่ง เป็นต้น

View :1671

ทรูออนไลน์ เปิดตัว อัลตร้า ไฮสปีด อินเทอร์เน็ต 200 Mbps

April 24th, 2012 No comments

เติมเต็มพันธกิจผู้ให้บริการโครงข่ายอินเทอร์เน็ตพื้นฐานอันดับ 1 ประกาศศักดาผู้นำนวัตกรรม ผงาดเปิดตัวอัลตร้า ไฮสปีด อินเทอร์เน็ต 200 Mbps นวัตกรรมความเร็วสูงสุดครั้งแรกในไทยผ่านเทคโนโลยี DOCSIS 3.0 บนโครงข่ายเคเบิล 14 จังหวัดทั่วประเทศ พร้อมผสานศักยภาพคอนเวอร์เจนซ์ ดึงความโดดเด่นในกลุ่มทรูทั้งบรอดแบนด์และคอนเท้นท์ นำเสนอแพ็กเกจพรีเมียมคอนเวอร์เจนซ์ เพียงเดือนละ 9,999 บาท ได้ท่องเน็ต 200 Mbps + ดูฟรีทรูวิชั่นส์ โกลด์แพ็ก พร้อมช่องระบบไฮเดฟินิชั่น 11 ช่องนาน 12 เดือน + ใช้ฟรีอัลตร้า ไว-ไฟ ความเร็วสูงสุด 100 Mbps เชื่อมั่นตอบสนองตรงใจไลฟ์สไตล์ลูกค้าระดับพรีเมียมแน่นอน

นายเจริญ ลิ่มกังวาฬมงคล หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการพาณิชย์ ทรูออนไลน์ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ทรูออนไลน์ เดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อเพิ่มศักยภาพบริการทั้งเรื่องโครงข่ายที่ครอบคลุมทั่วประเทศและประสิทธิภาพความเร็วที่เพิ่มสูงขึ้น ล่าสุด ยกระดับความเร็วอัลตร้า ไฮสปีด อินเทอร์เน็ตให้ใช้งานได้สูงสุด 200 Mbps เป็นครั้งแรกในเมืองไทย ทัดเทียมผู้ให้บริการชั้นนำในต่างประเทศ เพิ่มความแตกต่างที่เหนือกว่าใคร เนื่องจากเป็นสุดยอดเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นผ่านประสิทธิภาพของโครงข่ายเคเบิล DOCSIS 3.0 ของทรูออนไลน์เท่านั้น ส่งผลให้บรรลุพันธกิจผู้นำนวัตกรรมโครงข่ายอินเทอร์เน็ตพื้นฐานอันดับ 1 ของไทย ตามที่ประกาศไว้อย่างเต็มภาคภูมิ อีกทั้งยังนำยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์ของกลุ่มทรู ที่โดดเด่นทั้งด้านบรอดแบนด์และคอนเท้นท์จากทรูวิชั่นส์ ผสานเป็นแพ็กเกจพิเศษสุดคุ้ม เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ลูกค้ากลุ่มพรีเมียม ซึ่งทรูออนไลน์เป็นผู้ให้บริการหนึ่งเดียวเท่านั้นที่สามารถมอบความคุ้มค่าเช่นนี้ได้

นายนนท์ อิงคุทานนท์ ผู้จัดการทั่วไป สายงานบริการบรอดแบนด์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เพื่อให้ตรงใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่รอคอยการเปิดตัวนวัตกรรมบริการอัลตร้า ไฮสปีด อินเทอร์เน็ต 200 Mbps ที่ให้ความเร็วในการอัพโหลดได้ 15 Mbps และดาวน์โหลดได้สูงสุด 200 Mbps ทรูออนไลน์จึงจัดแพ็กเกจพรีเมียมคอนเวอร์เจนซ์ เดือนละ 9,999 บาท ซึ่งรวบรวมบริการเด่นที่คัดสรรมาเป็นพิเศษเหนือกว่าเคย ทั้งความมันส์สุดขั้วแบบไร้ขีดจำกัดกับ ที่เร็วแรงสุด ครั้งแรกในไทย, ความสนุกเพลิดเพลินกับคอนเท้นท์พรีเมียม ช่องทีวีคุณภาพโดยผู้ผลิตรายการชั้นนำระดับโลกจากทรูวิชั่นส์ โกลด์ และทรูวิชั่นส์ระบบไฮเดฟินิชั่น 11 ช่อง นาน 12 เดือน และเพิ่มสปีดชีวิตอิสระไร้สายได้ทุกที่ ตรงใจไลฟ์สไตล์คนเมืองยุคใหม่ ด้วย ULTRA WiFi by TrueMove H ความเร็วสูงสุด 100 Mbps ฟรีตลอดอายุการใช้งาน โดยพร้อมเปิดให้บริการใน 14 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ ภูเก็ต ชลบุรี ราชบุรี เชียงใหม่ ลำปาง นครสวรรค์ สงขลา ระยอง อุดรธานี และสระบุรี ซึ่งล้วนเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การศึกษา และการท่องเที่ยวที่สำคัญประจำแต่ละภูมิภาค

View :1395

เปิดตัวเว็บไซต์เอ็มเอฟจีดอทคอม (MFG.com)ศูนย์รวมธุรกิจอุตสาหกรรมออนไลน์ระดับโลก

March 27th, 2012 No comments

เพื่อผู้ประกอบการไทยและอาเซียน ขยายธุรกิจไปยังกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมในประเทศฝั่งตะวันตก

เว็บไซต์เอ็มเอฟจีดอทคอม (MFG.com)


เปิดตัวเว็บไซต์เอ็มเอฟจีดอทคอม (MFG.com) ศูนย์รวมธุรกิจอุตสาหกรรมออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมขยายช่องทางสำหรับการซื้อขายสินค้าในปัจจุบัน ซึ่งจะครอบคลุมถึงผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในประเทศไทย

มิตช์ ฟรี ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็มเอฟจี ดอทคอม กล่าวว่า “ประเทศไทยมีซัพพลายเออร์ด้านการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีคุณภาพสูงและได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ซึ่งหลายบริษัทประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในธุรกิจด้านการส่งออก แต่ว่ายังมีบริษัทผู้ผลิตระดับโลกอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในไทยและยังไม่มีโอกาสได้เข้าสู่ธุรกิจด้านการส่งออก ในขณะที่กลุ่มผู้ซื้อจากประเทศฝั่งตะวันตกเป็นจำนวนมากกำลังมองหาสินค้าคุณภาพดีในราคาที่เหมาะสม และมีความต้องการที่จะติดต่อกับซัพพลายเออร์ในไทยมากขึ้น เว็บไซต์เอ็มเอฟจีดอทคอม (MFG.com) รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสเป็นสื่อเชื่อมโยงระหว่างซัพพลายเออร์ในไทยและกลุ่มผู้ซื้อจากประเทศฝั่งตะวันตก เราคิดว่านี่คือ ความสำเร็จทางธุรกิจสำหรับทุกๆ คน”

มร.ฟรีกล่าวต่อว่าเนื่องด้วยฐานอุตสาหกรรมการผลิตที่แข็งแกร่งของไทยผนวกกับการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2558 ซึ่งจะส่งผลดีกับเว็บไซต์เอ็มเอฟจีดอทคอม (MFG.com) ที่จะช่วยเปิดโอกาสด้านการขายและการจัดหาแหล่งผลิตด้านอุตสาหกรรมระดับโลกไปยังนานาประเทศที่เป็นสมาชิกในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ซึ่งมีประชาชนมากกว่า 500 ล้านคน และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมากกว่า 1.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และมีฐานการค้าทั้งหมดรวมมากกว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

เว็บไซต์เอ็มเอฟจีดอทคอม (MFG.com) ให้บริการในรูปแบบออนดีมานด์ที่มีการรวบรวมข้อมูลด้านอุตสาหกรรมการผลิตที่กระจายอยู่ทั่วโลกให้เข้าสู่ตลาดออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นแหล่งจัดหาข้อมูลสินค้าสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมที่สะดวกง่ายดาย รวดเร็ว มีคุณภาพสูง และราคาเหมาะสม ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถคลิกดูได้ที่ www.MFG.com

ประเทศไทยนับเป็นผู้ผลิตที่มีความสำคัญมากในอุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลก และมีชื่อเสียงด้านการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร และชิ้นส่วนยานยนต์ ดังนั้นเว็บไซต์เอ็มเอฟจีดอทคอม (MFG.com) จึงนับเป็นแพลตฟอร์มที่ดีในการแสดงความสามารถของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมของไทยไปสู่อุตสาหกรรมระดับโลกได้อย่างรวดเร็ว

ล่าสุดเว็บไซต์เอ็มเอฟจีดอทคอม (MFG.com) ศูนย์รวมธุรกิจอุตสาหกรรมออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกจัดงาน “เอเชีย ซัพพลายเออร์ ดิสคัฟเวอรี่ ทัวร์” (Asia Supplier Discovery Tour) เพื่อจัดหาซัพพลายเออร์ในกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งจากประเทศไทย เวียตนาม อินเดีย มาเลเซีย ไต้หวัน และฮ่องกง

มิตช์ ฟรี เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมระดับโลก ด้วยการบริหารจัดการอย่างสร้างสรรค์และเป็นที่ยอมรับด้านความรอบรู้ มีวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ โดยนิตยสาร INC มอบรางวัล “ผู้ประกอบการแห่งปี” ให้ในปีพ.ศ. 2548 และยังได้รับรางวัล “ผู้ประกอบการแห่งปี” จาก Ernst & Young ในปีพ.ศ. 2551 ภายใต้การบริหารงานของมร.ฟรีทำให้บริษัทเอ็มเอฟจีดอทคอมได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีการเติบโตทางด้านเทคโนโลยีสูงสุดในประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน มร.ฟรีเป็นวิทยากรพิเศษบรรยายในการประชุมด้านเทคโนโลยีที่โรงเรียนธุรกิจเคลลอกที่มหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น โรงเรียนธุรกิจฮาร์วาร์ด โรงเรียนวาร์ทัน และสมาคมวิศวกรรมด้านการผลิต

View :1562