Archive

Archive for the ‘Science’ Category

เอ็มเทค สวทช. พัฒนาหัวพ่นทราย จากวัสดุเซรามิกส์ขั้นสูง ป้อนอุตสาหกรรม

August 21st, 2012 No comments


การผลิตในประเทศ สำหรับใช้งานในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ , โลหะ , และกระจก ทดแทนการนำเข้าจาก อเมริกา , ญี่ปุ่น , จีน กว่า 48 ล้านบาทต่อปี

ศูนย์ เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ () สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ () กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประสบความสำเร็จในการวิจัยและพัฒนา ผลิตหัวพ่นทรายจากวัสดุเซ รามิกส์ขั้นสูง (อลูมินาเซรามิกส์) พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิต หัวพ่นทรายอลูมินาเซรา มิกส์ในระดับอุตสาหกรรม ให้กับ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็มพร็อฟ เพื่อผลิตจำหน่ายในอุตสาหกรรมภายในประเทศ ทดแทนการนำเข้าและเพื่อหวังลดต้นทุนการผลิต ให้กับ ผู้ประกอบการไทย

รศ.ดร. วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) กล่าวว่า หัวพ่นทราย เป็นชิ้นส่วนที่ใช้ในเครื่องพ่นทรายสำหรับขัดผิววัสดุเพื่อทำความ สะอาดและตกแต่งให้เกิดความสวยงามที่ผิวของวัสดุ ไม่ว่าจะเป็นการลอกสี ขัดสนิม กัดผิว ขจัดคราบเขม่า เกล็ดผิว ตลอดจนการเตรียมพื้นสำหรับชั้นเคลือบต่างๆ ซึ่งการใช้งานหัวพ่นทรายส่วนใหญ่จะใช้ในโรงงานโลหะและกระจก เช่น โรงงานผลิต ล้อแม็กซ์ โรงงานผลิตแม่พิมพ์โลหะ และโรงงานแกะสลักลวดลายกระจก เป็นต้น หัวพ่นทรายที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมีหลายแบบด้วยกัน แบ่งตามประเภทของวัสดุได้ 2 ชนิดคือ หัวพ่นทรายที่ทำจากเซรามิกส์ และหัวพ่นทรายที่ทำจากโลหะ แต่อายุการใช้งานของหัวโลหะจะน้อยกว่าหัวแบบเซรามิกส์ ซึ่งหัวพ่นทรายเซรามิกส์ ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ หัวพ่นทรายที่ทำจากวัสดุเซรามิกส์ขั้นสูง หรือที่เรียกว่า อลูมินาเซรามิกส์ ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความ แข็งแรงสูง ทนต่อการสึกหรอเหมาะกับการใช้งาน ส่วนใหญ่ ประเทศไทยมักคุ้นเคยกับเซรามิกส์ที่เป็น เซรามิกส์ขั้นพื้นฐาน เช่น ถ้วยชามต่างๆ แต่ ในส่วนของหัวพ่นทรายที่ได้วิจัยและพัฒนาขึ้นนี้ เป็นวัสดุเซรามิกส์ ใน กลุ่มของอลูมินา ซึ่งในด้านการวิจัยและพัฒนานั้น เราจะใช้ผงอลูมินาผสมกับสารเติมแต่ง และพัฒนาคิดค้นวิธีที่จะทำให้อลูมินานั้นมีสมบัติและขนาดเม็ดผงตามที่เรา ต้องการ
จาก นั้นก็เข้าสู่กระบวนการอัดขึ้นรูปให้ได้หัวพ่นทรายตามขนาดของ เครื่องพ่นที่มีการใช้งานทั่วไปอยู่แล้ว ในปัจจุบัน ซึ่งปริมาณความต้องการใช้งานหัวพ่นทรายอลูมินาเซรามิกส์ภายในประเทศ เฉลี่ยประมาณ 2,000-5,000 ชิ้นต่อเดือน หรือ 4,000,000 บาทต่อเดือน ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเป็นสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยทั้งสิ้น และจากการสำรวจตลาดพบว่า เป็นหัวพ่นทรายที่นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น,ประเทศจีน,และประเทศสหรัฐ อเมริกา

รศ.ดร. วีระศักดิ์ กล่าวต่อว่า และจากผลการทดสอบหัวพ่นทรายอลูมินาเซรามิกส์ที่ได้พัฒนาขึ้นนี้ มีคุณสมบัติและ คุณภาพในด้านการสึกหรอใกล้เคียงกับหัวพ่นทรายที่นำเข้าจากประเทศ ญี่ปุ่น ซึ่งถือได้ว่า มีอายุการใช้งานที่มากพอกับความต้องการของผู้ใช้งานในประเทศ เอ็มเทค จึงได้พัฒนากระบวนการผลิตเพื่อเพิ่ม กำลังการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้งาน โดยร่วมมือและถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิตให้กับ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็มพร็อฟ เพื่อผลิตและ จำหน่ายให้กับอุตสาหกรรมผู้ใช้งานภายในประเทศ ดังกล่าว จากความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นตัวอย่างและการสาธิตกระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรม เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตหัวพ่นทรายอลูมิ นา เซรามิกส์ในระดับ อุตสาหกรรมให้มีปริมาณของเสียน้อยกว่า 10 % และด้วยความมุ่งมั่นในการวิจัยและพัฒนา หัวพ่นทรายอลูมินาเซรา มิกส์ พร้อมกับความร่วมมือกันกับภาคอุตสาหกรรม จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการผลิตในการลดต้นทุน ซึ่งไม่ต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ ก่อให้เกิดผลกำไรที่มากขึ้น หรือแม้แต่ผู้ใช้งานและผู้จำหน่าย ก็จะได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี ทัดเทียมกับต่างประเทศ และมีราคาไม่สูงมากนัก ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ­­ที่สนใจจะรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในอนาคตอีกด้วย

View :2379

อพวช. เปิดฉากมหกรรมวิทย์ 55 โชว์เทคโนโลยี อวกาศ กระตุ้นจินตนาการเด็กไทย

August 15th, 2012 No comments

กลับมาอีกครั้งกับ มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 6 โดยรูปแบบงานที่จัดขึ้นในปีนี้ ยังคงเน้นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์รูปแบบใหม่ ที่จะช่วยเปิดจินตนาการ และกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กไทยแบบไม่รู้จบ

ในปีนี้กิจกรรมเด่น คงหนีไม่พ้นนิทรรศการด้านอวกาศ ที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ได้เนรมิตรพื้นที่ส่วนหนึ่งของงานให้กับกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น “ห้องไร้น้ำหนัก” ซึ่งได้จำลองสภาพอากาศแบบเดียวกับที่อยู่นอกโลก มาให้ผู้เข้าชมงานในสัมผัส

ดร.พิชัย สนแจ้ง ผู้อำนวยการ อพวช. บอกว่า ในปีนี้ อพวช. กระทรวงวิทยาศาสตร์ได้ทุ่มงบจัดงานมากกว่า 100 ล้านบาท โดยให้ความสำคัญกับงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งเป็นงานที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และมีผู้รอคอยที่จะเขาชมงานไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคนต่อปี โดยงานดังกล่าวได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตลอด 15 วัน ของสัปดาห์วิทยาศาสตร์ระหว่าง วันที่ 17-31 สิงหาคม ซึ่งนับเป็นงาน Science Fair ที่ยิ่งที่สุดใน ภูมิภาคเอเชียก็ว่าได้

งานมหกรรมวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้สโลแกน “จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์” เพื่อให้คนได้มีความเข้าใจในเรื่องวิทยาศาสตร์ และคิดต่อยอดจากความรู้ ที่จัดเต็มพื้นที่ 25,000 ตารางเมตร ของศูนย์ประชุมและนิทรรศการไบเทค บางนา โดยเน้นตอบคำถามในสิ่งที่ประชาชนอยากรู้ ผ่านกิจกรรมที่จับต้องได้

ไฮไลท์สำคัญของ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์ คือนิทรรศการเทิดพระเกียรติ และแสดงพระอัจฉริยะภาพของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย และพระอัจฉริยะภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย และที่สำคัญยังเป็นการเทิดพระเกียรติ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสเฉลิมฉลองครบ 80 พรรษา ในเดือนสิงหาคนนี้ด้วย

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นพระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทาง ชีวภาพของประเทศมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน มีผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมจากการดำเนินงานของหน่วยงานที่รับสนอง พระราชดำริหลายด้าน อาทิ ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล การฟื้นคืนความหลากหลายทางชีวภาพด้วยป่าไม้ของประเทศให้กับ คืนความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นฐานทรัพยากรให้กับประเทศ ความหลากหลายของเต่าทะเล เป็นต้น

ดร.พิชัย ยืนยันว่า อพวช. ได้ติดต่อขอซื้อห้องไร้น้ำหนัก จากประเทศญี่ปุ่น มูลค่ากว่า 12 ล้าน มาจัดแสดงภายในโซนเทคโนโลยีอวกาศ เพื่อจำลองสภาวะไร้น้ำหนัก เหมือนกับได้อยู่ในอวกาศจริงๆ พร้อมเครื่องเล่นท้าประสบการณ์ไร้น้ำหนัก Free Fall ตลอดจนการเชื่อมต่อ กล้องดูดาวจาก 2 ซีกโลกมาปรากฏภายในงานนี้ด้วย

“เนื่องจากขณะนี้ ประชาชนทั่วโลกกำลังให้ความสนใจกับการที่นาซ่าส่งยานอวกาศ คิวริออซิตี ไปสำรวจดาวอังคาร จึงถือเป็นโอกาสดีที่ อพวช. จะได้นำนิทรรศการอวกาศมาจัดแสดงเพื่อให้ความรู้กับประชาชน”

นิทรรศการวิทยา ศาสตร์ในครั้งนี้ ยังมุ่งคำตามที่ทุกคนกำลังสงสัย ใคร่รู้ อาทิ ปี 2012 โลกจะแตกจริงหรือไม่ และอนุภาคฮิกส์ ที่องค์กรวิจัยในยุโรปกำลังดำเนินการศึกษาคืออะไร โดยนำเครื่องจำลองการกำเนิดจักรวาลมาจัดแสดง รวมทั้งนำปฏิทินมายาที่ระบุถึงวันสิ้นสุดของโลกในปี 2012 หรือ 2555 มาชี้ให้เห็นว่าจะสิ้นสุดโลกจริงหรือไม่

นอกจากนี้ ภายในงานได้นำเสนอนวัตกรรมป้องกันน้ำท่วม โดยจะนำแบบจะลองแผนที่ประเทศไทย ที่ชี้ให้เห็นว่าพื้นที่ใดบ้างที่เสี่ยงน้ำท่วม และสามารถคำนวณระดับความสูงของน้ำในละแต่พื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือ อีกทั้งยังได้นำเทคโนโลยี 4 มิติ หรือ Bus Simulator เพื่อให้ผู้ร่วมงาน ได้ท่องไปในโลกของอุทกภัยและภัยพิบัติ ทั้งน้ำท่วมและแผ่นดินไหว ได้อย่างสมจริง

ผู้อำนวยการ อพวช. กล่าวทิ้งท้ายว่า ไฮไลท์อีกอย่างหนึ่งที่ไม่อยากให้ทุกคนพลาด คือนิทรรศการ “วิทยาการในโลกมุสลิม” (Sultan) ซึ่งนำมาจัดแสดง ครั้งแรกในประเทศไทย โดยจะนำตัวอย่างการค้นพบทางวิทยาศาสตร์โดยชาวมุสลิม อาทิ นิทรรศการการบุกเบิกการบินโดย อับบัส อิบนิ ฟีรนาส นักปราชญ์ชาวมุสลิมที่ประดิษฐ์เครื่องร่อนขนนกที่ช่วยให้เขาบินข้ามพรมแดน สเปนได้ก่อนแนวคิดประดิษฐ์เครื่องร่อนของลีโอนาร์โด ดาวินชี เทคโนโลยีพลังงานน้ำรูปช้างที่สูงถึง 4.3 เมตร ซึ่งเป็นความก้าวหน้าทางด้านวิศวกรรมของชาวมุสลิม รวมถึงการค้นพบระบบการหายใจ การแลกเปลี่ยนอากาศภายในปอด และการริเริ่มการผ่าตัดรูปแบบใหม่ เป็นต้น

โดยงานมหกรรมวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติครั้ง 6 นี้ จะเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมตั้งแต่วันที่ 17-31 สิงหาคม ระหว่างเวลา 09.00-20.00 น. ที่ศูนย์ประชุมและนิทรรศการไบเทค บางนา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (ยกเว้นวันที่ 22) ซึ่งขณะนี้มียอดจอง เพื่อเข้าชมงานแล้วไม่ต่ำกว่า 4 แสนราย ซึ่งทางอพวช. ตั้งเป้าว่าในปีนี้จะมีผู้เข้าชมงานตลอดทั้ง 15 วันไม่ต่ำกว่า 1.2 ล้านราย

สนใจสอบถามข้อมูล เพิ่มเติมและการเดินทางได้ที่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โทร.0-2577-9960 หรือ ไบเทค โทร. 0-2749-3939 และดูรายละเอียดได้ที่ www.nsm.or.th/nst2012 หรือ www.bitec.co.th

View :1502

2 นักวิจัยด้านการแพทย์ มช.-มหิดล คว้ารางวัลนักวิทย์ฯดีเด่นประจำปี 55

August 2nd, 2012 No comments

มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ประกาศผลรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี 2555 “ศ.นพ.ดร.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร” ประธานกรรมการบริหารศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ และ “ศ.ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์” หัวหน้าศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ม.มหิดล หลังทั้งคู่ใช้เวลากว่า 20 ปี ผลิตผลงานวิจัยซึ่งเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ

ศาสตราจารย์ ดร.อมเรศ ภูมิรัตน ประธานคณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า ปีนี้ถือเป็นปีที่ 30 แล้วที่มูลนิธิฯ จัดให้มีการมอบรางวัลนี้ขึ้น ซึ่งการมอบรางวัลดังกล่าว นอกจากจะเป็นการสดุดีเกียรติคุณบุคคลผู้มีผลงานด้านวิทยาศาสตร์ที่มีคุณธรรมจริยธรรมสูงอันจะเป็นแบบอย่างที่ดีแล้ว ยังก่อให้เกิดศรัทธาและช่วยชี้นำเยาวชนที่มีความสามารถให้มุ่งศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน อันเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์ประยุกต์และเทคโนโลยีทั้งหลาย เพราะมูลนิธิฯเชื่อว่า สังคมที่ตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ และมุ่งยกย่องเชิดชูบุคคลที่มีผลงานดีเด่น กอปรด้วยคุณธรรม จะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคม และช่วยพัฒนาประเทศในด้านต่างๆอย่างต่อเนื่อง

“รางวัลที่มูลนิธิฯ จัดขึ้นนี้เพื่อเป็นแบบอย่างให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังหรือวงการวิทยาศาสตร์ของไทยเห็นว่าคนที่ทำงานเก่งคนที่มีความเชี่ยวชาญเป็นคนดีควรได้รับการยกย่องเพื่อแบบอย่างให้คนอื่นทำตาม ผมหวังว่ารางวัลนี้จะเป็นตัวที่ทำให้คนไทยเห็นความสำคัญของงานวิจัย ซึ่งในรอบ 30 ปีที่ผ่านมาที่เราได้คัดเลือกคนเก่ง คนดี ที่มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการต่างชาติทั่วโลก ผมคิดว่ารางวัลนี้เป็นการกระตุ้นวงการวิทยาศาสตร์ในสังคมไทยให้เห็นความสำคัญของงานวิจัยของนักวิชาการไทย ที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ มีผลงานการตีพิมพ์เผยแพร่ทั่วโลกเป็นการบอกกล่าวให้สังคมไทยเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น รวมทั้งเป็นการผลักดันกลุ่มนักวิจัยและบุคลากรให้มีกำลังใจและสามารถเอางานวิจัยเหล่านั้นไปขยายผล ให้คนทั่วไปในสังคมไทยใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเหล่านั้นจากฝีมือคนไทยด้วยกัน”

ทั้งนี้ กระบวนการสรรหานักวิทยาศาสตร์ดีเด่นนั้น จะใช้วิธีการเสนอชื่อเข้ามา ซึ่งในแต่ละปีมีการเสนอชื่อผู้เข้ารับรางวัลเป็นจำนวนมาก โดยเกณฑ์ที่คณะกรรมการใช้พิจารณาคือ ต้องเป็นผู้ที่มีผลงานวิชาการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติจำนวนมาก และผลงานวิชาการดังกล่าวมีผู้อ้างอิงถึงเป็นจำนวนมากเช่นกัน

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นมีมติเป็นเอกฉันท์ให้นักวิจัย 2 ท่าน ที่ได้รับรางวัล “นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2555”ได้แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์ ดร.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร ประธานกรรมการบริหารศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งวิจัยเกี่ยวกับโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรงทำให้คนเสียชีวิตได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาทีหรือที่เรียกว่า Ventricular Fibrillation ซึ่งพบได้บ่อยในภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดหัวใจอุดตัน หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ Heart Attack และ ศาสตราจารย์ ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งวิจัยเกี่ยวกับฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ที่มีผลต่อการฟื้นฟูเซลล์สมอง โดยพบว่าสามารถสร้างเซลล์สมองให้ฟื้นคืนชีพได้ พร้อมสรรพคุณรักษาโรคทางระบบประสาท เช่น อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน และโรคสมองเสื่อมที่พบในผู้สูงอายุและผู้ติดยาเสพติด ซึ่งนำไปสู่ข้อมูลในการพัฒนายาเพื่อรักษาโรคทางระบบประสาทและสมอง

ขณะที่รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ซึ่งทางมูลนิธิฯก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2534 นั้น ศาสตราจารย์ ดร.อมเรศ กล่าวต่อว่า แม้รางวัลนี้เพิ่งก่อตั้งขึ้นมา แต่ตนเชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งสีสันของงานที่แสดงให้เห็นว่า วงการวิทยาศาสตร์ไทยยังมีกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่สืบทอดเจตนารมณ์การทำงานด้านวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาประเทศ โดยวัตถุประสงค์ของการให้รางวัลนี้ เพื่อให้กำลังใจนักวิจัยรุ่นใหม่อายุไม่เกิน 35 ปี และชี้ให้เห็นว่านักวิทยาศาสตร์เหล่านี้มีศักยภาพ รวมถึงสิ่งที่พวกเขาทำมานั้นดีแล้วและควรทำดีต่อไปหรือทำให้ดีมากขึ้น ซึ่งรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ประจำปี 2555 ได้แก่ ดร.สิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง นักวิจัยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (), ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สัมฤทธิ์ วัชรสินธุ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา อาจารย์ประจำสาขาวิชาฟิสิกส์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

“การมอบรางวัลทั้ง 2 รางวัลนี้ ส่วนหนึ่งผมเชื่อว่าเป็นการช่วยกระตุ้นงานวิจัยที่เราเชิดชูสนับสนุนให้ไปต่อได้ในระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันการนำผลงานวิจัยมาใช้ประโยชน์ซึ่งมีขั้นตอนที่ต้องเติมเต็มอีกมากมาย ผมคิดว่าประเทศไทยยังขาดในส่วนนี้ โดยเฉพาะในกระบวนการที่เรียกว่า ต่อยอด เพราะงานวิจัยมันมากกว่าการต่อยอดแต่รวมไปถึงการผลิต หรือเรียกรวมๆว่า การถ่ายทอดเทคโนโลยี นั่นคือการถ่ายทอดงานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์ ตรงนี้บ้านเราขาด เนื่องจากการเชื่อมโยงงานวิจัยระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งเป็นผู้ผลิตมีน้อยมาก ฉะนั้นถ้าจะกระตุ้นงานวิจัยเหล่านี้ให้เดินต่อไปได้ ภาครัฐต้องสนับสนุนเอาจริงเอาจังร่วมมือกับภาคเอกชนในการนำผลงานวิจัยไปใช้ ซึ่งภาครัฐจะทำเองคนเดียวไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของการค้า เป็นเรื่องของการตลาดต้องมีการลงทุนสูง ในส่วนนี้หากมีเอกชนเข้ามาร่วมด้วยจะทำให้งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของไทยได้รับการถ่ายทอดและขยายผลในเชิงพาณิชย์ได้มากยิ่งขึ้น”

อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์ ดร.อมเรศ ยืนยันว่า การเชิดชูสนับสนุนคนเก่งคนดีในสังคมไทยสามารถทำได้ทุกสายอาชีพ โดยไม่จำเป็นว่าต้องเป็นสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเท่านั้น เพราะมูลนิธิฯเชื่อว่า การที่สังคมไทยตระหนักถึงความสำคัญของนักวิจัยที่เก่ง เป็นคนดี และมีคุณธรรม จะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคม และช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป จากผลงานวิจัยที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ผนวกกับความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน อันจะเป็นตัวผลักดันและขับเคลื่อนงานวิจัยเหล่านี้ไปสู่การพัฒนาประเทศในทุกๆด้านต่อไป

View :1213

สวทช. กระทรวงวิทย์ ฯ เปิดตัวศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะฯ หรือ TOPIC

March 28th, 2012 No comments

เน้นจับมือเอกชนสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าทางการตลาดสูง นำร่องด้วยนวัตกรรมใหม่บนนิตยสารและบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะหรือ Smart Magazine และ Smart Packaging

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ () กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ และอิเล็กทรอนิกส์ อินทรีย์ (Thailand Organic @ Printed Electronics Innovation Center ) หรือ เพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตนวัตกรรมใหม่ของอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ได้ ( Organic & Printed Electronics) เน้นความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อพลิกโฉมอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทยให้ก้าวสู่นวัตกรรมแห่งโลกอนาคต นำร่องด้วยนวัตกรรมใหม่บนนิตยสารและบรรจุภัณฑ์ด้วยหมึกพิมพ์นำไฟฟ้าครั้งแรกในประเทศไทย หวังปลุกชีพอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งการโฆษณา สิ่งทอ บรรจุภัณฑ์ พาณิชย์ รวมถึงผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเด็ก ฯลฯ เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการขยายตลาดการค้าให้ภาคธุรกิจไทยเติบโตได้อย่างมีศักยภาพทั้งในและต่างประเทศ โดย ดร.ทวีศักดิ์ เปิดเผยว่า

“อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ถือเป็นอีกอุตสาหกรรมหลักในประเทศไทยที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและมีศักยภาพเป็นผู้นำด้านการพิมพ์ของอาเซียน แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันอุตสาหกรรมการพิมพ์กำลังประสบกับวัฏจักร “ขาลง” ซึ่งฉุดอุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งระบบให้ตกต่ำอีกด้วย ดังนั้นประเทศไทยจึงต้องเร่งหาเทคโนโลยี ที่จะมาเปลี่ยนแปลงหรือสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านสิ่งพิมพ์อย่างเร่งด่วน สวทช.เองซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดเป้าหมายและมุ่งมั่นพัฒนางานวิจัยให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงพัฒนางานวิจัยที่สามารถรับมือกับสภาพปัญหาได้ทันเหตุการณ์ ทั้งในแง่การคิดค้นสิ่งใหม่ๆไปล่วงหน้า และการสนับสนุนภาคเอกชนในด้านการบริการวิจัยให้เอกชน การรับจ้างทดสอบ หรือแม้กระทั่งการร่วมลงทุนตั้งบริษัทกับเอกชน เพื่อนำนวัตกรรมใหม่ๆออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว และโดยอาศัยองค์ความรู้และงานวิจัยต่างๆที่ สวทช.ได้ริเริ่มดำเนินการไว้ และการทำงานที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานหลักๆ ในภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ สวทช.ได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาหมึกพิมพ์นำไฟฟ้า ที่สามารถพิมพ์ลงบนพื้นผิวต่างๆ ทำให้เราก้าวข้ามข้อจำกัดของอุตสาหกรรมการพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสรรวัสดุที่มีคุณสมบัติหลากหลาย ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ อาทิ Smart Packaging บรรจุภัณฑ์ที่สามารถแสดงข้อมูลหรือภาพเคลื่อนไหวบนหีบห่อ เพื่อแสดงวิธีการใช้งานผลิตภัณฑ์ บอกคุณภาพของสินค้ากระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค และสามารถส่งข้อมูลกลับมายังผู้ผลิตเพื่อการปรับปรุงคุณภาพสินค้าในอนาคต หรือ หมึกพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถนำมาใช้พิมพ์ RFID ไปพร้อมกับการพิมพ์ฉลากบรรจุภัณฑ์ ในราคาที่ถูกกว่า RFID แบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน , E-paper หรือกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ที่ม้วนได้ สามารถติดลงบนพื้นผิวโค้งงอเพื่อใช้ในงานโฆษณา หรือสิ่งพิมพ์อัจฉริยะ จอแสดงผลชนิด OLED ซึ่งนำไปเป็นส่วนประกอบในกล้องดิจิตอลหรือโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะให้ภาพที่คมชัดยิ่งขึ้น มีสีสันงดงาม ใช้พลังงานน้อยลง และต้นทุนการผลิตที่ต่ำ หรือเซลล์แสงอาทิตย์ที่เป็นฟิล์มบาง น้ำหนักเบาสามารถคลุมลงบนหลังคาหรือห่อหุ้มอาคารแทนการใช้ฟิลม์กรองแสงและสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในตัว ,อาคารประหยัดพลังงาน ที่นำเทคโนโลยีกระจกอัจฉริยะ ซึ่งสามารถควบคุมปริมาณแสงและความร้อนจากภายนอกที่จะส่องเข้าไปในตัวอาคารในระดับที่ต้องการ ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญของอุตสาหกรรมการก่อสร้างอาคารอนุรักษ์พลังงาน หรือแม้แต่นวัตกรรมทางการแพทย์เช่น เซ็นเซอร์ตรวจวัดน้ำตาลและไขมันในเลือด และเซ็นเซอร์เพื่อการตรวจสอบคุณภาพอาหาร เช่น สารตกค้างในอาหาร ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างเซ็นเซอร์ที่มีราคาถูก ใช้แล้วทิ้ง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบทำให้การบริโภคอาหารมีความปลอดภัย ตลอดจนเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ทั้งนี้ ศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ฯ จะเป็นศูนย์รวมเครือข่ายการทำงานระหว่างภาครัฐ และเอกชน โดยจะมีห้องปฏิบัติการ และบริการทางเทคนิค เพื่อบริการแก่ภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการให้คำปรึกษาในการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ด้วยหมึกอิเล็กทรอนิกส์ หรือหมึกนำไฟฟ้า นอกจากนี้ ไทยยังเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ Organic Electronics Association หรือ O-EA ซึ่งเป็นสมาคมด้านอิเล็กทรอนิกส์และอินทรีย์ระดับโลกเพื่อเชื่อมโยงงานวิจัยระหว่างกลุ่มสมาชิกของ O-EA ที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งจะทำให้ไทยมีฐานข้อมูล และเครือข่ายการพัฒนางานวิจัยที่กว้างมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นการปฏิวัติวงการพิมพ์ของไทยให้ก้าวไปสู่โลกอนาคต ซึ่งผมมั่นใจว่าภาคธุรกิจที่เข้ามาร่วมกับ สวทช.จะได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมใหม่นี้ที่สามารถนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการได้หลากหลายให้สามารถแข่งขันได้ ตลอดจนเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้บริโภคได้เข้าถึงนวัตกรรมใหม่ๆที่ใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตอีกด้วย” ดร.ทวีศักดิ์กล่าว

View :2408

สวทช.ร่วมกับ ซีพีเอฟ วิจัยพัฒนาด้านเกษตรและอาหาร เทคโนโลยีสำหรับควบคุมป้องกันโรคระบาดสัตว์

March 22nd, 2012 No comments

และแนวทางลดการปนเปื้อนเชื้อก่อโรคในอาหาร สร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ () กับบริษัท (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)เพื่อวิจัยพัฒนาด้านเกษตรและอาหาร เทคโนโลยีสำหรับควบคุมป้องกันโรคระบาดสัตว์ และแนวทางลดการปนเปื้อนเชื้อก่อโรคในอาหาร สร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค และเพื่อร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐานและเทคโนโลยีเชิงประยุกต์ที่สำคัญ รวมถึงขยายผลของโครงการวิจัยที่มีศักยภาพสู่การปรับใช้อย่างได้ผล ตลอดจนการเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาความเชี่ยวชาญของบุคลากรของทั้งสองฝ่าย

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสวทช. กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหาร ที่จะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องมีปริมาณอาหารที่เพียงพอ ประชาชนเข้าถึงอาหารได้ตลอดเวลา และอาหารนั้นต้องมีคุณภาพ ความปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อการดำรงชีวิตที่ดีสุขภาพแข็งแรง ทั้งนี้ปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงดังกล่าว ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ราคาของพลังงาน การใช้พื้นที่ปลูกพืชที่ไม่ใช่อาหาร โรคและแมลงศัตรูพืช โรคระบาดสัตว์ รวมถึงข้อตกลงเขตการค้าเสรีต่างๆ เป็นต้น ในฐานะที่ สวทช. เป็นองค์กรที่มีพันธะกิจในการสร้างความสามารถ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ จึงกำหนดยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนา “คลัสเตอร์เกษตรและอาหาร” ขึ้น โดยเน้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่นำไปสู่การเพิ่มผลผลิต ลดความสูญเสียจากปัจจัยต่างๆ เพิ่มคุณภาพความปลอดภัย และสร้างมูลค่าเพิ่มทั้งในส่วนของการผลิตพืชและสัตว์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ การแข่งขันและความยั่งยืนด้านเกษตรและอาหารของประเทศ

ในการดำเนินงานของคลัสเตอร์เกษตรและอาหาร จะอาศัยกลยุทธ์การสร้างความร่วมมือกับพันธมิตร และการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) เพื่อพัฒนาโจทย์วิจัยที่ชัดเจน ร่วมสนับสนุนการวิจัยที่นำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้จริง

นับว่าเป็นโอกาสอันดีที่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด เห็นชอบและยินดีร่วมมือกับ สวทช. ในการวิจัยและพัฒนาด้านเกษตรและอาหาร เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐานและเทคโนโลยีเชิงประยุกต์ที่สำคัญ รวมถึงการขยายผลของงานวิจัยต่างๆ ที่มีศักยภาพสู่การปรับใช้อย่างได้ผล ตลอดจนการเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาความเชี่ยวชาญของบุคลากรของทั้งสองฝ่าย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างร่วมกันวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีในการควบคุมและป้องกันโรคระบาดสัตว์ การศึกษาแหล่งที่มา การแพร่กระจายและประเมินความเสี่ยงของเชื้อก่อโรคในอาหารตลอดห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่ฟาร์มจนถึงผู้บริโภค ความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาด้านเกษตร และอาหารในครั้งนี้ จะเป็นนิมิตหมายที่ดีในการช่วยยกระดับการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ ให้เข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถ ด้านการแข่งขันของประเทศให้ยั่งยืนต่อไป

ด้านนายวีรชัย รัตนบานชื่น ประธานคณะผู้บริหารด้านปฏิบัติการ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจด้านเกษตรอุตสาหกรรมด้านการเลี้ยงสัตว์และผลิตอาหารจากเนื้อสัตว์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะดำเนินธุรกิจแบบครบวงจรเริ่มตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ การเพาะพันธุ์สัตว์ การเลี้ยงสัตว์ในเชิงพาณิชย์ การแปรรูปเนื้อสัตว์ จนกระทั่งมีการผลิตอาหารสำเร็จรูป โดยแบ่งเป็น 2 ธุรกิจหลัก คือ 1.ธุรกิจสัตว์บก ได้แก่ ไก่เนื้อ ไก่ไข เป็ดและสุกรครบวงจร ตั้งแต่ธุรกิจอาหารสัตว์ ธุรกิจการเลี้ยงสัตว์และธุรกิจอาหาร 2.ธุรกิจสัตว์น้ำ : กุ้งและปลา ครบวงจร ตั้งแต่ธุรกิจอาหารสัตว์ ธุรกิจการเลี้ยงสัตว์และธุรกิจอาหาร

ในความร่วมมือกันครั้งนี้ทางบริษัทโดยสำนักเทคนิคและวิชาการสัตว์บก จะเน้นงานด้านการตรวจวินิจฉัยและการชันสูตรเป็นหลัก และทางบริษัทก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือกันในครั้งนี้ จะช่วยกันยกระดับงานวิจัยและพัฒนาให้เข้มแข็ง สร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค รวมถึงขยายผลของโครงการวิจัยที่มีศักยภาพสู่การปรับใช้อย่างได้ผล ตลอดจนการเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาความเชี่ยวชาญของบุคลากรของทั้งสองฝ่าย

ที่มาของความร่วมมือ
สวทช. ได้ประสานงานเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาด้านการผลิตสัตว์และสุขภาพสัตว์ ผ่านสำนักเทคนิคและวิชาการสัตว์บก บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งทางบริษัทฯ ได้เสนอให้การจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) ระหว่างหน่วยงาน คือ ซีพีเอฟ และ สวทช. เป็นกรอบความร่วมมือด้านวิชาการวิจัยและพัฒนาด้านเกษตรและอาหารในภาพรวม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐานและเทคโนโลยีเชิงประยุกต์ที่สำคัญ รวมถึงการขยายผลของโครงการวิจัยด้านเกษตรและอาหารที่มีศักยภาพสู่การปรับใช้อย่างได้ผล โดยครอบคลุมไปถึงความร่วมมือทางด้านวิชาการอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการให้ความสนับสนุนการเพิ่มพูนความรู้แก่บุคลากรทั้งสองฝ่าย อีกทั้งจะทำให้การประสานความร่วมมือในรายละเอียดโครงการย่อยต่างๆ มีความคล่องตัวยิ่งขึ้นในอนาคต ซึ่งปัจจุบันเกิดโครงการร่วมวิจัยและพัฒนาร่วมกันที่สอดคล้องกับบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ดังนี้

Ÿในส่วนของการควบคุมและป้องกันโรคระบาด : เกิดการวิจัยการนำเวกเตอร์ของไวรัสที่ไม่มีรายงานการติดเชื้อในสัตว์ และมีรายงานการนำมาทดสอบใช้เป็นวัคซีนแล้วพบว่ามีประสิทธิภาพสูง ในการคุ้มโรค มาทดลองโดยใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรมทำให้อ่อนเชื้อและแทรกยีนของโปรตีนเป้าหมายที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกัน ร่วมกับการสร้างอนุภาคไวรัสโดยเทคนิครีเวอร์สเจเนติกส์ สำหรับพัฒนาวัคซีนทางเลือกในการป้องกันโรคระบาดที่สำคัญในการผลิตสัตว์

Ÿในส่วนของการความปลอดภัยอาหารและการจัดการฟาร์ม : เกิดความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับเชื้อก่อโรคในอาหาร 2 โครงการด้วยกัน คือ

1.การประเมินความเสี่ยงของเชื้อซัลโมเนลลาในพ่อแม่พันธุ์ไก่เนื้อ โรงฟักไข่ไก่ ฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อและหลังการผลิตสู่ผู้บริโภค เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการและการผลิตเพื่อลดการปนเปื้อนของ เชื้อซัลโมเนลลาในเนื้อไก่สดแช่เย็น ตลอดกระบวนการผลิตตั้งแต่โรงฟัก ฟาร์มจนถึงผู้บริโภค

2.การศึกษาสำรวจข้อมูลการติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ (Campylobacter) เพื่อให้สามารถระบุถึงแหล่งที่มาและปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ ในกระบวนการผลิตไก่ตลอดห่วงโซ่การผลิต และสุดท้ายเพื่อให้สามารถประเมินความเสี่ยงของการปนเปื้อนเชื้อในเนื้อไก่ได้ ซึ่งข้อมูลที่ได้สามารถนำมากำหนดแนวทางการจัดการและการผลิตเพื่อลดการปนเปื้อนและลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนของเชื้อในอุตสาหกรรมการผลิตไก่ได้

View :1782

สวทช. กระทรวงวิทย์ฯจัดทัพเทคโนโลยีพร้อมรับมือพิบัติภัยในงาน NAC 2012 “รู้ สู้ พิบัติภัยไปกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”

March 18th, 2012 No comments


โชว์นวัตกรรมและผลงานช่วยรับมือพิบัติภัย ในงานประชุมประจำปี สวทช.หรือ ดร.ปลอดประสพมั่นใจจะเป็นเวทีรวมองค์ความรู้การรับมือพิบัติภัยด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ดีที่สุด พร้อมย้ำให้ภาคธุรกิจพลิกกลยุทธ์แปลงวิกฤติเป็นโอกาสขยายผลงานวิจัยไปสู่การผลิตอุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์ในวงกว้าง

ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า “สวทช.ได้มีการจัดงานประชุมประจำปีขึ้นทุกปี โดยเน้นการนำเสนอเทคโนโลยีที่เกิดจากองค์ความรู้และการวิจัยพัฒนาของ สวทช.และเครือข่ายเพื่อช่วยผลักดันให้ประเทศไทยแข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรืองบนเวทีเศรษฐกิจระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ให้สามารถดำเนินงานได้ดี มีประสิทธิภาพสูงขึ้น รวมไปถึงการสนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ เพื่อสาธารณประโยชน์และความมั่นคงประเทศ ด้วยการเน้นบูรณาการระหว่างกัน ซึ่งหมายถึงการนำเทคโนโลยีจากหลายๆ แห่งมารวมเข้าไว้ด้วยกัน และนำเสนอการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ สำหรับหัวข้อการจัดงาน “รู้สู้พิบัติภัย ไปกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”ในปีนี้ นับว่าเหมาะและเข้ากับสถานการณ์ในการที่จะมาช่วยสนับสนุนการดำเนินการด้านจัดการภัยพิบัติตามนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะภัยพิบัติที่เกิดจากน้ำ เนื่องจากวิกฤตการณ์น้ำท่วมในปีที่ผ่านมาที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากทั้งในแง่เศรษฐกิจ ความเป็นอยู่และความปลอดภัยในชีวิตของประชาชน “

“กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ก็ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้เสนอแนะนโยบายระยะยาวเพื่อใช้ในด้านการวางแผนการจัดการภัยพิบัติด้านน้ำในหลายๆด้าน โดยผมได้รับผิดชอบในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย ( กบอ.) กำหนดวิธีการดำเนินการของหน่วยงานรัฐ เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยเป็นไปโดยเหมาะสมและสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ รวมทั้งการดำเนินการอื่นๆ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการน้ำ การเตรียมการป้องกันและแก้ไข ซึ่งการดำเนินการต่างๆ ก็ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากหลายๆ หน่วยงาน ทั้งภายนอกและภายในกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ทำให้ปัจจุบันเรามีระบบข้อมูลนำเสนอด้านสภาวะน้ำ ข้อมูลพยากรณ์ระดับน้ำทะเลหนุนสูงสุด ณ กองบัญชาการกองทัพเรือ ปริมาณฝนรายวันสูงสุดในพื้นที่ต่างๆ เส้นทางพายุจากภาพถ่ายดาวเทียม ปริมาณและระดับน้ำในพื้นที่ต่างๆ ทั้งระดับน้ำในเขื่อน ระดับน้ำในลุ่มน้ำ รวมถึงปริมาณฝนและระดับน้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ“

“สวทช.เองก็เป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพสูงของกระทรวงฯ ด้วยความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบันและการสนับสนุนทำงานอย่างดีจาก ดร.ทวีศักดิ์ ผอ.สวทช. นอกเหนือจากการวิเคราะห์พยากรณ์เตือนภัยล่วงหน้าต่างๆ ดังที่กล่าวแล้ว คาดว่าในอนาคตจะมีนวัตกรรมต่างๆ ที่สามารถช่วยลดความเสียหายที่จะเกิดจากภัยพิบัติ เช่น เทคโนโลยีการก่อสร้าง เทคโนโลยีการผลิตวัสดุก่อสร้าง และอื่นๆให้ต้านทานภัยพิบัติได้ดีขึ้น หรือช่วยบรรเทาความสูญเสียให้น้อยลงได้ ดังตัวอย่างของเทคโนโลยีหลายๆอย่างที่สาธิตให้ชมหรือข้อคิดจากเวทีอภิปรายต่างๆในงานนี้ ก็น่าจะเป็นสิ่งที่จะเป็นประโยชน์แก่รัฐบาลที่ต้องการแนวทาง ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากหลายๆภาคส่วนเพื่อปรับปรุงแผนงานและบูรณาการให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป”ดร.ปลอดประสพกล่าว

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า การจัดงาน NAC 2012 ภายใต้แนวคิด “รู้ สู้พิบัติภัยไปกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ในครั้งนี้เพื่อเป็นเวทีให้กับนักวิจัยของ สวทช. จาก ๔ ศูนย์แห่งชาติได้นำเสนอผลงานความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาต่างๆ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความรู้ให้กับประชาชนและสังคมได้เตรียมพร้อมที่จะรับมือกับพิบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งก่อนเกิดภัย เมื่อเกิดภัยขึ้นแล้ว และหลังพิบัติภัยผ่านพ้นไป โดยเฉพาะภัยจากน้ำท่วม ตัวอย่างผลงานเด่นที่นำมาจัดแสดงในงานแถลงข่าวครั้งนี้ อาทิ

• ถุงกระสอบ nSack ซึ่งมีขนาดเล็กและเบา สะดวกในการใช้งาน โดยไม่ต้องบรรจุทราย เพียงแช่น้ำไว้ประมาณ ๔๕ นาที ถุงจะดูดซับน้ำได้มากถึง ๑๐๐ เท่า และนำไปใช้งานเพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกับกระสอบทรายแบบดั้งเดิม
• จ่าเฉยวัดระดับน้ำ หุ่นจำลองตำรวจที่ติดตั้ง sensor เพื่อใช้ในการตรวจจับความเร็วของรถที่วิ่งผ่าน และตรวจการแซงทับเส้นทึบ (จุดห้ามจอด หรือคอสะพาน) นอกจากนี้ เพื่อตอบสนองต่อการรับมืออุทกภัยที่เกิดขึ้น จึงได้มีแนวคิดในการเพิ่มการตรวจสอบระดับน้ำบนพื้นถนน เพื่อให้สามารถรายงานสถานภาพน้ำท่วมบนพื้นถนนได้ตามความเป็นจริง โดยใช้อุปกรณ์อัลตร้าโซนิคตรวจวัดระดับความสูงของน้ำบนพื้นถนนเทียบกับถนนปกติ ทำให้ผู้ใช้ถนนสามารถตรวจสอบข้อมูลว่าสามารถที่จะวิ่งผ่านถนนดังกล่าวได้หรือไม่
• แบบจำลองการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งของอ่าวไทย ซึ่งได้ศึกษาผลกระทบต่อชายฝั่งอันเนื่องจากภาวะโลกร้อน โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล รวมถึงศึกษาการรุกล้ำของคลื่นทะเลอันเกิดจากพายุที่อาจมีความถี่และความรุนแรงมากขึ้น และอาจส่งผลต่อการเกิดน้ำท่วมได้
• ศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยินและผู้บกพร่องทางการพูด ช่วยให้ผู้บกพร่องทางการได้ยินและผู้บกพร่องทางการพูดได้มีโอกาสใช้บริการโทรคมนาคมเพื่อติดต่อสื่อสารกับบุคคลทั่วไปในสังคม โดยเฉพาะในขณะที่เกิดพิบัติภัย
• nCA :- “น้ำใส หายเหม็น ออกซิเจนสูง” นวัตกรรมแก้ปัญหาน้ำท่วมขังและเน่าเสียให้กลายเป็นน้ำดี ระบบดังกล่าวประกอบด้วยสารจับตะกอนเพื่อให้น้ำใส และเครื่องเติมอากาศด้วยปั๊มที่ออกแบบการใช้งานที่ง่าย
• Flood Sign Application เครื่องมือในการช่วยเก็บข้อมูลระดับน้ำท่วมสูงสุดในปี ๒๕๕๔ ซึ่งถือเป็นมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ของประเทศ โดยให้ประชาชนช่วยเก็บรวบรวมและรายงาน (Crowd Sourcing) ข้อมูลระดับคราบน้ำท่วมสูงสุดในแต่ละพื้นที่ผ่านทางMobile Application นอกจากนี้ ยังใช้เป็นเครื่องมือในการรายงานระดับน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมทุกพื้นที่และมีความทันสมัยหรือเป็นปัจจุบันมากที่สุด สามารถดาวน์โหลดใช้งานได้ฟรีที่แอนดรอยด์มาร์เก็ตตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป นอกจากนี้ยังได้มีการจัดทำป้าย Flood Sign ที่ใช้อลูมิเนียมปรับปรุงผิวด้วยอะโนไดซิ่ง (Anodized Aluminium) มอบให้กับ อบต. ครอบคลุม ๑๗ จังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมเพื่อนำไปติดตั้งยังจุดที่มีระดับน้ำท่วมสูงสุดด้วย
• ข้าวโพดพันธุ์ใหม่ “ข้าวเหนียวข้าวก่ำ” มีสารฟีนอลิกและสารแอนโทไซยานินสูง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยจะทูลเกล้าฯ ถวายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานประชุมวิชาการในวันที่ ๒๓ มีนาคมนี้ และ สวทช. จะนำไปมอบให้กับเกษตรกรผู้ประสบภัยน้ำท่วมใน จ.อยุธยา และ จ.สระบุรีได้นำไปปลูกต่อไป
• Thai Science Biodiversity ฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของพืช สัตว์ จุลินทรีย์ ไม่น้อยกว่า ๑๐๐,๐๐๐ ข้อมูล สืบค้นหาข้อมูลได้ง่าย ทำให้ประเทศไทยมีข้อมูลอ้างอิงทางภูมิศาสตร์ สามารถยืนยันถิ่นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตของประเทศไทยในเวทีโลกได้ ขณะเดียวกันยังสะท้อนถึงการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ และความหลากหลายทางชีวภาพของไทยหลังเกิดพิบัติภัยต่างๆ ได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีผลงานวิจัยที่พร้อมให้ผู้ประกอบการธุรกิจที่สนใจนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้ อาทิ ระบบผลิตไบโอดีเซล เจลรักษาแผลยับยั้งแบคทีเรียและกระตุ้นการหายของแผล สารเคลือบผิวผลไม้จากไขรำข้าว และโปรแกรมบันทึกข้อมูลสุขภาพครอบครัวแบบพกพา เป็นต้น สำหรับการประชุมในครั้งนี้มีหัวข้อที่น่าสนใจกว่า ๒๘ เรื่อง โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในและต่างประเทศที่จะมาร่วมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องการรับมือพิบัติภัย อาทิ

• การสัมมนาในหัวข้อ “การบริหารทรัพยากรน้ำเพื่อการรับมือมหาอุทกภัย” ซึ่งจะถอดบทเรียนความจริงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี ๒๕๕๔ และเสวนาถึงแผนการจัดการและแนวทางการรับมือของภาครัฐ โดยเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงความเป็นไปได้ และชี้แนะแนวทางการใช้เครื่องมือ/เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนแผนการดังกล่าว ซึ่งจะถูกใช้เพื่อเตรียมการ ป้องกัน รับมือ เพื่อเป็นข้อมูลให้ประชาชนตัดสินใจเตรียมพร้อมรับมืออุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในปีนี้ วิทยากรได้แก่ ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร รศ.ชูเกียรติ ทรัพย์ไพศาล คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติ สิรินธร และ ผศ.ดร.สุทัศน์ วีสกุล สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

• การเสวนาในหัวข้อ “มองไปข้างหน้ากับอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ” บริษัทชั้นนำด้านฮาร์ดิสก์ไดร์ฟที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็น บริษัทเวสท์เทิร์นดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท โตซิบา สตอเรจ ดีไวท์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ฮิตาชิ โกลบอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ประเทศ) จำกัด บริษัท ซีเกท เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) จำกัด จะมาร่วมพูดคุยและให้มุมมองต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟของไทย นอกจากนี้ในส่วนของภาคการศึกษากับการพัฒนาฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ จะได้ฟังมุมมองและประสบการณ์จากสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม หรือฟีโบ้ ที่ได้นำเครื่องบินบังคับวิทยุสำรวจพื้นที่น้ำท่วม และได้นำมาประยุกต์ใช้สำรวจการลอกคูคลองในพื้นที่ต่างๆ

• การเสวนาในหัวข้อ “รู้ทันข้อมูลเพื่อรับมือพิบัติภัย” โดย ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนและการตลาด ดร. สมเกียรติ อ่อนวิมล นักสื่อสารมวลชน และอาจารย์ศศิน เฉลิมลาภ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร จะมาร่วมกันแลกเปลี่ยนมุมมองในการที่ประชาชนจะเลือกรับข้อมูลข่าวสารอย่างไรในช่วงวิกฤต ขณะเดียวกันภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีวิธีการสื่อสารอย่างไร เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนก

• การสัมมนาเรื่อง “การปรับตัวของเกษตรกรในภาวะน้ำท่วม” เป็นอีกหนึ่งเวทีที่จะได้รับฟังประสบการณ์ของเกษตรกรไทยที่ต้องปรับวิถีชีวิตและการทำกินในช่วงน้ำท่วม ซึ่งในช่วงวิกฤตน้ำท่วมที่ผ่านมา เกษตรกรบางรายสามารถสร้างรายได้จากวิกฤตนี้ได้

นอกจากนี้ยังมีหัวข้อสัมมนาวิชาการอื่นๆ ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น ความเป็นไปได้ของการพัฒนาอุตสาหกรรม Organic and Printed Electronics ในประเทศไทย และศักยภาพของไทยในการเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์ Printed Electronic ซึ่งผลิตภัณฑ์ Printed Electronic ที่กำลังจะเกิดขึ้นจะมีส่วนแบ่งทางการตลาดในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น RFID tags หรือจอภาพต่างๆ

การจัดงานประชุมและแสดงผลงานประจำปี ๒๕๕๕ ของ สวทช. หรืองาน NAC 2012 เปิดให้ประชาชนได้เข้าชมนิทรรศการได้ตั้งแต่วันที่ ๒๔-๒๘ มีนาคม นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีกิจกรรมสำหรับครอบครัว “นักวิทยาศาสตร์น้อย รู้ สู้ พิบัติภัย” ในวันที่ ๒๔-๒๕ มีนาคม ๒๕๕๕ ด้วย ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าการจัดงานในปีนี้มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ นักธุรกิจ เกษตรกรและประชาชนผู้สนใจทั่วไป ซึ่งข้อมูลและความรู้จากงานในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อรับมือกับพิบัติภัยได้อย่างเหมาะสมต่อไป ผู้สนใจเข้าร่วมงานสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.nstda.or.th/nac2012

View :1974

เนคเทค ผนึกกำลัง ซิป้า สกว. มูลนิธิสยามกัมมาจล และอินเทล เฟ้นหาเยาวชนนักวิทย์ฯ ในมหกรรม Thailand ICT Contest Festival 2012

March 17th, 2012 No comments

ครั้งที่ ๑๑ เฟ้นหาสุดยอดผลงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการสร้างสรรค์ผลงานจากวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ สัมผัสพลังความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชนไทยที่มีความคิดสร้างสรรค์และสติปัญญาที่ไม่แพ้ชาติใดในโลก และพบกับสุดยอดนวัตกรรมต้นแบบ ผลงานทางวิทยาศาสตร์ การสื่อสาร ไอที และซอฟต์แวร์ จากแนวคิดของเยาวชนทั่วประเทศ ผลงานที่ได้รับรางวัลทางมูลนิธิสยามกัมมาจลพร้อมจะสนับสนุนและส่งเสริมให้เจ้าของผลงานพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่งสู่การนำไปใช้ได้จริงในอนาคต พร้อมเดินหน้าผลักดันผลงานที่ชนะเลิศ สู่การแข่งขันเวทีระดับนานาชาติ โชว์ศักยภาพเด็กไทยต่อไป โดยงานมีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ ๒๐-๒๒ มีนาคมศกนี้ ณ หอประชุมมหิศร อาคารเอสซีบีพาร์ค ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เปิดให้เยาวชนไทยและผู้ที่สนใจเข้าชมผลงานได้ฟรี

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ องค์การมหาชน () สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย () มูลนิธิสยามกัมมาจล และ บริษัท ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดแถลงข่าวการจัดงาน “มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ครั้งที่ ๑๑” หรือ Thailand ICT Contest Festival 2012 ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ ๒๐-๒๒ มีนาคม ๒๕๕๕ ณ หอประชุมมหิศร อาคารเอสซีบีพาร์ค ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาความรู้ ความสามารถของเยาวชนไทย ให้สามารถพัฒนาผลงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมีศักยภาพ นำไปสู่การประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และยังเป็นการบ่มเพาะต้นทุนแห่งทรัพยากรมนุษย์ สู่การพัฒนารากฐานสำคัญทางเศรษฐกิจและสังคมเชิงสร้างสรรค์

ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กล่าวว่า “มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ครั้งที่ ๑๑ ถือเป็นเวทีที่ยิ่งใหญ่สำหรับการแสดงออกถึงความสามารถของเยาวชน โดยจะเป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงถึงพลังของความคิดสร้างสรรค์ในเรื่องวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเยาวชนไทยมีความสามารถไม่แพ้ชาติอื่น ดังจะเห็นได้จากผลงานของเยาวชนไทยที่สามารถคว้ารางวัลจากเวทีนานาชาติอย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชื่อว่า หากมีการสนับสนุนด้วยดีจากทั้งภาครัฐและเอกชน ความสามารถในด้านดังกล่าวจะมีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น และในอนาคตประเทศไทยจะสามารถพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวได้ โดยไม่ต้องพึ่งต่างชาติ อีกทั้งยังมีโอกาสที่จะสร้างสรรค์สู่การเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับประเทศในอนาคตได้อีกด้วย ซึ่งในปีนี้เป็นปีที่มีความพิเศษเป็นอย่างยิ่ง ทางเนคเทคได้มีความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้น นอกจากซิป้าและบริษัท อินเทล ที่ได้ร่วมผลักดันการสนับสนุนการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่องยาวนานแล้ว ทางสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและมูลนิธิสยามกัมมาจล ก็ได้มาร่วมมือกันสร้างเข้มแข็งให้กับผลงานของเยาวชนผลักดันไปสู่กลุ่มผู้ใช้งานจริงทั้งด้านเกษตรกรรม ชุมชน และสังคมต่อไป”

ด้าน ดร.นิรชราภา ทองธรรมชาติ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ องค์การมหาชน
(ซิป้า) กล่าวว่า “ในมหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสรเทศและการสื่อสารครั้งที่ ๑๑ จะได้เห็นการตื่นตัวและพัฒนาการของเยาวชนไทยในความรู้ ความสามารถทางด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งพบว่ามีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว เยาวชนคนไทยสามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและเป็นที่ยอมรับมากขึ้น โดยสำนักงานฯ ในฐานะที่มีบทบาทในการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์จะมีมาตราการสำหรับให้ผู้สนใจพัฒนาซอฟต์แวร์สู่ผู้ประกอบการที่เข้มแข็งในอุตสาหกรรมต่อไป”

ด้านนางปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล กล่าวว่า “มูลนิธิสยามกัมมาจล ดำเนินงานด้านการพัฒนาเยาวชน โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนองค์กรพัฒนาเยาวชนให้มีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเยาวชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพเพื่อประโยชน์ของตนเองและร่วมแบ่งปันความสามารถกับชุมชน ซึ่งจะเป็นผลให้คนรุ่นใหม่ เป็นพลเมืองที่เข้ามาเป็นหุ้นส่วนของสังคมไทย สำหรับเยาวชนที่มีความสามารถด้านไอที มูลนิธิฯ ได้สนับสนุนการต่อยอดโครงการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย โดยปีนี้เป็นปีแรกที่สนับสนุนให้ผลงานของเยาวชนที่มีศักยภาพได้พัฒนาต่อไปสู่การนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง พร้อมทั้งสนับสนุนการรวมตัวกันของเครือข่ายเยาวชนเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาความสามารถร่วมกัน ตลอดจนขยายผลให้เกิดเครือข่ายครู อาจารย์ ที่มีบทบาทสนับสนุนเยาวชนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยให้สามารถสร้างกำลังคนรุ่นใหม่ด้านไอที ที่มีคุณภาพและมีจำนวนมากยิ่งขึ้น ให้เพียงพอต่อความต้องการกำลังคนที่สามารถนำความก้าวหน้าทางไอทีไปสร้างความได้เปรียบในการพัฒนาประเทศต่อไป”

นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด อีกหนึ่งผู้สนับสนุนโครงการ “มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ครั้งที่ ๑๑” หรือ Thailand ICT Contest Festival 2012 กล่าวว่า “เนื่องจากเยาวชนคือกำลังสำคัญที่จะผลักดัน และพัฒนาศักยภาพโดยรวมทั้งระดับประเทศ และโลกต่อไป ดังนั้น การมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ รวมถึงทักษะการคิดในเชิงวิเคราะห์ รู้จักการทำงานร่วมกัน ตลอดจนความรู้ความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้เราเดินไปสู่ความสำเร็จ การสนับสนุนที่อินเทลมีให้กับเนคเทคกว่าสิบปีที่ผ่านมา และร่วมส่งเสริมให้เด็กไทยได้ก้าวขึ้นไปประชันผลงานกันในเวทีระดับโลกอย่างงาน Intel International Science and Engineering Fair (Intel ISEF) ที่ประเทศสหรัฐฯ ภายหลังจากที่ได้ผู้ชนะจากเวทีระดับประเทศแล้วนั้น นับเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนไทยสร้างสรรค์ผลงานการคิดค้นกันอย่างเต็มที่ โดยจะเป็นการช่วยยกระดับความรู้ ความสามารถของเยาวชนไทยในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากลมากขึ้น”

ทั้งนี้ “มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ครั้งที่ ๑๑” หรือ Thailand ICT Contest Festival 2012 มีกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจมากมาย เช่น การเสนอผลงาน ๑๓๑ ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ยอดเยี่ยมในสาขาต่างๆ อาทิ โปรแกรมเกม โปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ (CAI) โปรแกรมเพื่อช่วยคนพิการ โปรแกรมเพื่อประยุกต์ใช้งาน Web Contest และ Mobile Application ในการแข่งขันโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๑๔ (The Fourteenth National Software Contest: NSC 2012)

ชมการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ ๑๔ (Young Scientist Competition: YSC 2012) สรรหาสุดยอดตัวแทนประเทศไทยชิงชัยในงาน Intel International Science and Engineering Fair (Intel ISEF) ณ เมืองพิตส์เบิร์ก มลรัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

ร่วมให้กำลังใจนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตัวแทนค่ายนักอิเล็กทรอนิกส์รุ่นเยาว์จาก ทั่วประเทศในการแข่งขันประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ครั้งที่ ๑๑ ( Youth’s Electronics Circuit Contest: YECC 2012) เพื่อชิงชัยในการประดิษฐ์และสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์สำหรับเตรียมรับมือภัยพิบัติ เพื่อค้นหาสุดยอดนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์

ชมการแข่งขันระบบปฏิบัติการลินุกซ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๑๒ ( National Linux Competition: NLC 2012) ระดับนักเรียนและประชาชนทั่วไปในการใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเพื่อใช้โปรแกรมต่างๆในลินุกซ์ทะเลและการใช้งานคอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมและให้บริการเครือข่ายโดยใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ ระบบปฏิบัติการตามแนวทาง Open Source ที่ช่วยให้ท่านประหยัดค่าใช้จ่ายและใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย

พร้อมกันนี้ ในการจัดงาน ทั้ง ๓ วัน ยังมีกิจกรรมอื่นๆที่น่าสนใจอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมบนเวที เช่นการพูดคุยกับแขกรับเชิญ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการสำหรับครู-อาจารย์ และกิจกรรมสัมมนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในประเด็นที่เป็นประโยชน์อีกมากมาย รวมถึงการรับฟังเทคนิคและเคล็ดลับในการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อสร้างแรงบันดันดาลใจให้กับเยาวชนไทยที่สนใจในเรื่องเทคโนโลยี เป็นต้น
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ โทร. ๐๒ ๕๖๔๖๙๐๐ ต่อ ๒๓๔๕ หรือ ๒๓๘๘ – ๙ หรือทางเว็บไซต์ www.nectec.or.th/fic/

View :1716

สวทช. กระทรวงวิทย์ฯ จัดทัพเทคโนโลยีพร้อมรับมือพิบัติภัยในงาน NAC 2012 “รู้ สู้ พิบัติภัยไปกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”

March 17th, 2012 No comments

โชว์นวัตกรรมและผลงานช่วยรับมือพิบัติภัย ในงานประชุมประจำปี สวทช.หรือ ดร.ปลอดประสพมั่นใจจะเป็นเวทีรวมองค์ความรู้การรับมือพิบัติภัยด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ดีที่สุด พร้อมย้ำให้ภาคธุรกิจพลิกกลยุทธ์แปลงวิกฤติเป็นโอกาสขยายผลงานวิจัยไปสู่การผลิตอุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์ในวงกว้าง

ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า “สวทช.ได้มีการจัดงานประชุมประจำปีขึ้นทุกปี โดยเน้นการนำเสนอเทคโนโลยีที่เกิดจากองค์ความรู้และการวิจัยพัฒนาของ สวทช.และเครือข่ายเพื่อช่วยผลักดันให้ประเทศไทยแข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรืองบนเวทีเศรษฐกิจระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ให้สามารถดำเนินงานได้ดี มีประสิทธิภาพสูงขึ้น รวมไปถึงการสนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ เพื่อสาธารณประโยชน์และความมั่นคงประเทศ ด้วยการเน้นบูรณาการระหว่างกัน ซึ่งหมายถึงการนำเทคโนโลยีจากหลายๆ แห่งมารวมเข้าไว้ด้วยกัน และนำเสนอการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ สำหรับหัวข้อการจัดงาน “รู้สู้ ไปกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”ในปีนี้ นับว่าเหมาะและเข้ากับสถานการณ์ในการที่จะมาช่วยสนับสนุนการดำเนินการด้านจัดการภัยพิบัติตามนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะภัยพิบัติที่เกิดจากน้ำ เนื่องจากวิกฤตการณ์น้ำท่วมในปีที่ผ่านมาที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากทั้งในแง่เศรษฐกิจ ความเป็นอยู่และความปลอดภัยในชีวิตของประชาชน “

“กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ก็ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้เสนอแนะนโยบายระยะยาวเพื่อใช้ในด้านการวางแผนการจัดการภัยพิบัติด้านน้ำในหลายๆด้าน โดยผมได้รับผิดชอบในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย ( กบอ.) กำหนดวิธีการดำเนินการของหน่วยงานรัฐ เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยเป็นไปโดยเหมาะสมและสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ รวมทั้งการดำเนินการอื่นๆ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการน้ำ การเตรียมการป้องกันและแก้ไข ซึ่งการดำเนินการต่างๆ ก็ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากหลายๆ หน่วยงาน ทั้งภายนอกและภายในกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ทำให้ปัจจุบันเรามีระบบข้อมูลนำเสนอด้านสภาวะน้ำ ข้อมูลพยากรณ์ระดับน้ำทะเลหนุนสูงสุด ณ กองบัญชาการกองทัพเรือ ปริมาณฝนรายวันสูงสุดในพื้นที่ต่างๆ เส้นทางพายุจากภาพถ่ายดาวเทียม ปริมาณและระดับน้ำในพื้นที่ต่างๆ ทั้งระดับน้ำในเขื่อน ระดับน้ำในลุ่มน้ำ รวมถึงปริมาณฝนและระดับน้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ“

“สวทช.เองก็เป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพสูงของกระทรวงฯ ด้วยความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบันและการสนับสนุนทำงานอย่างดีจาก ดร.ทวีศักดิ์ ผอ.สวทช. นอกเหนือจากการวิเคราะห์พยากรณ์เตือนภัยล่วงหน้าต่างๆ ดังที่กล่าวแล้ว คาดว่าในอนาคตจะมีนวัตกรรมต่างๆ ที่สามารถช่วยลดความเสียหายที่จะเกิดจากภัยพิบัติ เช่น เทคโนโลยีการก่อสร้าง เทคโนโลยีการผลิตวัสดุก่อสร้าง และอื่นๆให้ต้านทานภัยพิบัติได้ดีขึ้น หรือช่วยบรรเทาความสูญเสียให้น้อยลงได้ ดังตัวอย่างของเทคโนโลยีหลายๆอย่างที่สาธิตให้ชมหรือข้อคิดจากเวทีอภิปรายต่างๆในงานนี้ ก็น่าจะเป็นสิ่งที่จะเป็นประโยชน์แก่รัฐบาลที่ต้องการแนวทาง ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากหลายๆภาคส่วนเพื่อปรับปรุงแผนงานและบูรณาการให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป”ดร.ปลอดประสพกล่าว

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า การจัดงาน NAC 2012 ภายใต้แนวคิด “รู้ สู้พิบัติภัยไปกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ในครั้งนี้เพื่อเป็นเวทีให้กับนักวิจัยของ สวทช. จาก ๔ ศูนย์แห่งชาติได้นำเสนอผลงานความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาต่างๆ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความรู้ให้กับประชาชนและสังคมได้เตรียมพร้อมที่จะรับมือกับพิบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งก่อนเกิดภัย เมื่อเกิดภัยขึ้นแล้ว และหลังพิบัติภัยผ่านพ้นไป โดยเฉพาะภัยจากน้ำท่วม ตัวอย่างผลงานเด่นที่นำมาจัดแสดงในงานแถลงข่าวครั้งนี้ อาทิ
• ถุงกระสอบ nSack ซึ่งมีขนาดเล็กและเบา สะดวกในการใช้งาน โดยไม่ต้องบรรจุทราย เพียงแช่น้ำไว้ประมาณ ๔๕ นาที ถุงจะดูดซับน้ำได้มากถึง ๑๐๐ เท่า และนำไปใช้งานเพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกับกระสอบทรายแบบดั้งเดิม
• จ่าเฉยวัดระดับน้ำ หุ่นจำลองตำรวจที่ติดตั้ง sensor เพื่อใช้ในการตรวจจับความเร็วของรถที่วิ่งผ่าน และตรวจการแซงทับเส้นทึบ (จุดห้ามจอด หรือคอสะพาน) นอกจากนี้ เพื่อตอบสนองต่อการรับมืออุทกภัยที่เกิดขึ้น จึงได้มีแนวคิดในการเพิ่มการตรวจสอบระดับน้ำบนพื้นถนน เพื่อให้สามารถรายงานสถานภาพน้ำท่วมบนพื้นถนนได้ตามความเป็นจริง โดยใช้อุปกรณ์อัลตร้าโซนิคตรวจวัดระดับความสูงของน้ำบนพื้นถนนเทียบกับถนนปกติ ทำให้ผู้ใช้ถนนสามารถตรวจสอบข้อมูลว่าสามารถที่จะวิ่งผ่านถนนดังกล่าวได้หรือไม่
• แบบจำลองการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งของอ่าวไทย ซึ่งได้ศึกษาผลกระทบต่อชายฝั่งอันเนื่องจากภาวะโลกร้อน โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล รวมถึงศึกษาการรุกล้ำของคลื่นทะเลอันเกิดจากพายุที่อาจมีความถี่และความรุนแรงมากขึ้น และอาจส่งผลต่อการเกิดน้ำท่วมได้
• ศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยินและผู้บกพร่องทางการพูด ช่วยให้ผู้บกพร่องทางการได้ยินและผู้บกพร่องทางการพูดได้มีโอกาสใช้บริการโทรคมนาคมเพื่อติดต่อสื่อสารกับบุคคลทั่วไปในสังคม โดยเฉพาะในขณะที่เกิดพิบัติภัย
• nCA :- “น้ำใส หายเหม็น ออกซิเจนสูง” นวัตกรรมแก้ปัญหาน้ำท่วมขังและเน่าเสียให้กลายเป็นน้ำดี ระบบดังกล่าวประกอบด้วยสารจับตะกอนเพื่อให้น้ำใส และเครื่องเติมอากาศด้วยปั๊มที่ออกแบบการใช้งานที่ง่าย
• Flood Sign Application เครื่องมือในการช่วยเก็บข้อมูลระดับน้ำท่วมสูงสุดในปี ๒๕๕๔ ซึ่งถือเป็นมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ของประเทศ โดยให้ประชาชนช่วยเก็บรวบรวมและรายงาน (Crowd Sourcing) ข้อมูลระดับคราบน้ำท่วมสูงสุดในแต่ละพื้นที่ผ่านทางMobile Application นอกจากนี้ ยังใช้เป็นเครื่องมือในการรายงานระดับน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมทุกพื้นที่และมีความทันสมัยหรือเป็นปัจจุบันมากที่สุด สามารถดาวน์โหลดใช้งานได้ฟรีที่แอนดรอยด์มาร์เก็ตตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป นอกจากนี้ยังได้มีการจัดทำป้าย Flood Sign ที่ใช้อลูมิเนียมปรับปรุงผิวด้วยอะโนไดซิ่ง (Anodized Aluminium) มอบให้กับ อบต. ครอบคลุม ๑๗ จังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมเพื่อนำไปติดตั้งยังจุดที่มีระดับน้ำท่วมสูงสุดด้วย
• ข้าวโพดพันธุ์ใหม่ “ข้าวเหนียวข้าวก่ำ” มีสารฟีนอลิกและสารแอนโทไซยานินสูง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยจะทูลเกล้าฯ ถวายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานประชุมวิชาการในวันที่ ๒๓ มีนาคมนี้ และ สวทช. จะนำไปมอบให้กับเกษตรกรผู้ประสบภัยน้ำท่วมใน จ.อยุธยา และ จ.สระบุรีได้นำไปปลูกต่อไป
• Thai Science Biodiversity ฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของพืช สัตว์ จุลินทรีย์ ไม่น้อยกว่า ๑๐๐,๐๐๐ ข้อมูล สืบค้นหาข้อมูลได้ง่าย ทำให้ประเทศไทยมีข้อมูลอ้างอิงทางภูมิศาสตร์ สามารถยืนยันถิ่นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตของประเทศไทยในเวทีโลกได้ ขณะเดียวกันยังสะท้อนถึงการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ และความหลากหลายทางชีวภาพของไทยหลังเกิดพิบัติภัยต่างๆ ได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีผลงานวิจัยที่พร้อมให้ผู้ประกอบการธุรกิจที่สนใจนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้ อาทิ ระบบผลิตไบโอดีเซล เจลรักษาแผลยับยั้งแบคทีเรียและกระตุ้นการหายของแผล สารเคลือบผิวผลไม้จากไขรำข้าว และโปรแกรมบันทึกข้อมูลสุขภาพครอบครัวแบบพกพา เป็นต้น สำหรับการประชุมในครั้งนี้มีหัวข้อที่น่าสนใจกว่า ๒๘ เรื่อง โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในและต่างประเทศที่จะมาร่วมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องการรับมือพิบัติภัย อาทิ

• การสัมมนาในหัวข้อ “การบริหารทรัพยากรน้ำเพื่อการรับมือมหาอุทกภัย” ซึ่งจะถอดบทเรียนความจริงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี ๒๕๕๔ และเสวนาถึงแผนการจัดการและแนวทางการรับมือของภาครัฐ โดยเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงความเป็นไปได้ และชี้แนะแนวทางการใช้เครื่องมือ/เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนแผนการดังกล่าว ซึ่งจะถูกใช้เพื่อเตรียมการ ป้องกัน รับมือ เพื่อเป็นข้อมูลให้ประชาชนตัดสินใจเตรียมพร้อมรับมืออุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในปีนี้ วิทยากรได้แก่ ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร รศ.ชูเกียรติ ทรัพย์ไพศาล คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติ สิรินธร และ ผศ.ดร.สุทัศน์ วีสกุล สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

• การเสวนาในหัวข้อ “มองไปข้างหน้ากับอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ” บริษัทชั้นนำด้านฮาร์ดิสก์ไดร์ฟที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็น บริษัทเวสท์เทิร์นดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท โตซิบา สตอเรจ ดีไวท์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ฮิตาชิ โกลบอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ประเทศ) จำกัด บริษัท ซีเกท เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) จำกัด จะมาร่วมพูดคุยและให้มุมมองต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟของไทย นอกจากนี้ในส่วนของภาคการศึกษากับการพัฒนาฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ จะได้ฟังมุมมองและประสบการณ์จากสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม หรือฟีโบ้ ที่ได้นำเครื่องบินบังคับวิทยุสำรวจพื้นที่น้ำท่วม และได้นำมาประยุกต์ใช้สำรวจการลอกคูคลองในพื้นที่ต่างๆ

• การเสวนาในหัวข้อ “รู้ทันข้อมูลเพื่อรับมือพิบัติภัย” โดย ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนและการตลาด ดร. สมเกียรติ อ่อนวิมล นักสื่อสารมวลชน และอาจารย์ศศิน เฉลิมลาภ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร จะมาร่วมกันแลกเปลี่ยนมุมมองในการที่ประชาชนจะเลือกรับข้อมูลข่าวสารอย่างไรในช่วงวิกฤต ขณะเดียวกันภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีวิธีการสื่อสารอย่างไร เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนก

• การสัมมนาเรื่อง “การปรับตัวของเกษตรกรในภาวะน้ำท่วม” เป็นอีกหนึ่งเวทีที่จะได้รับฟังประสบการณ์ของเกษตรกรไทยที่ต้องปรับวิถีชีวิตและการทำกินในช่วงน้ำท่วม ซึ่งในช่วงวิกฤตน้ำท่วมที่ผ่านมา เกษตรกรบางรายสามารถสร้างรายได้จากวิกฤตนี้ได้

นอกจากนี้ยังมีหัวข้อสัมมนาวิชาการอื่นๆ ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น ความเป็นไปได้ของการพัฒนาอุตสาหกรรม Organic and Printed Electronics ในประเทศไทย และศักยภาพของไทยในการเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์ Printed Electronic ซึ่งผลิตภัณฑ์ Printed Electronic ที่กำลังจะเกิดขึ้นจะมีส่วนแบ่งทางการตลาดในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น RFID tags หรือจอภาพต่างๆ

การจัดงานประชุมและแสดงผลงานประจำปี ๒๕๕๕ ของ สวทช. หรืองาน NAC 2012 เปิดให้ประชาชนได้เข้าชมนิทรรศการได้ตั้งแต่วันที่ ๒๔-๒๘ มีนาคม นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีกิจกรรมสำหรับครอบครัว “นักวิทยาศาสตร์น้อย รู้ สู้ พิบัติภัย” ในวันที่ ๒๔-๒๕ มีนาคม ๒๕๕๕ ด้วย ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าการจัดงานในปีนี้มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ นักธุรกิจ เกษตรกรและประชาชนผู้สนใจทั่วไป ซึ่งข้อมูลและความรู้จากงานในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อรับมือกับพิบัติภัยได้อย่างเหมาะสมต่อไป ผู้สนใจเข้าร่วมงานสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.nstda.or.th/nac2012

View :2010

สวทช.ส่งเสริมการเลื้ยงโคนม โดยนำเทคโนโลยีจีโนมมาใช้ในการคัดเลือกสัตว์พันธุ์ เป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

March 16th, 2012 No comments

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( )


ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช. ) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า สวทช. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ในการสนับสนุนการวิจัย “ โครงการพัฒนาระบบการประเมินความสามารถทางพันธุกรรมจีโนมของโคนมในประเทศไทย” ซึ่งผลงานที่ได้จากโครงการฯ นำไปประยุกต์ใช้และเป็นประโยชน์โดยตรงต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในการคัดเลือกพันธุ์โคนมและพัฒนาศักยภาพทางพันธุกรรมโคนมภายใต้ระบบการผลิตของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจการผลิตโคนม ทั้งในด้านผลผลิตน้ำนมและผลิตภัณฑ์นม ส่งเสริมอาชีพของเกษตรกรรายย่อย พัฒนาอุตสาหกรรมโคนมและ เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศ นอกจากนี้โครงการฯ ดังกล่าว ยังได้สนับสนุนการผลิตบุคลากรระดับบัณฑิตศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาแบบจำลอง การประเมินความสามารถทางพันธุกรรมและการปรับปรุงพันธุ์โคนมและเตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานในส่วนของแหล่งเก็บข้อมูลดีเอ็นเอที่ได้จากตัวอย่างเนื้อเยื่อของโคนมที่ถูกเลี้ยงดูและให้ผลผลิตภายในประเทศ ซึ่งจะมีประโยชน์สำหรับการพัฒนางานวิจัยใหม่ที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมของโคนมที่แสดงออกภายใต้สภาพแวดล้อมในเขตร้อนชื้น

ผศ.ดร. ศกร คุณวุฒิฤทธิรณ นักวิจัย สังกัด ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


ผศ.ดร. ศกร คุณวุฒิฤทธิรณ นักวิจัย สังกัด ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า การประเมินความสามารถทางพันธุกรรมโคนมขนาดใหญ่ในประเทศไทย ถูกพัฒนาขึ้นในเขตภาคกลางของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 โดยความร่วมมือระหว่าง องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้เผยแพร่ข้อมูล “คุณค่าการผสมพันธุ์โคนม(EBV)” ให้เกษตรกรใช้คัดเลือกพันธุ์โคนมอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามการพัฒนาศักยภาพทางพันธุกรรมประชากรโคนมในประเทศไทยที่ผ่านมายังคงอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งปัญหาที่สำคัญ คือ การประเมินความสามารถทางพันธุกรรมดังกล่าวมีความแม่นยำต่ำ ด้วยเหตุนี้อัตราการพัฒนาศักยภาพทางพันธุกรรมสำหรับลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจในประชากรโคนมของประเทศไทย จึงจำเป็นต้องถูกเร่งทำให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งแนวทางหนึ่ง คือ การเพิ่มการพิจารณา ข้อมูลจีโนม ร่วมกับ ข้อมูลพันธุ์ประวัติ และความสามารถในการแสดงออกที่ปรากฏของสัตว์แต่ละตัว ตามที่ได้ปฏิบัติกันโดยทั่วไป ด้วยเทคนิคชีววิทยาโมเลกุลในปัจจุบัน จีโนมสนิป (Genomic SNP) ถูกตรวจสอบ ได้อย่างแม่นยำในโคนม โดยใช้ต้นทุนต่ำ และนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบการประเมินความสามารถทางพันธุกรรมจีโนมได้ (Genetic-Genomic Evaluation System)

ดังนั้นโครงการวิจัยฯ จึงมีเป้าหมาย เพื่อพัฒนาระบบการประเมินพันธุกรรมจีโนม ได้แก่ แบบจำลองและวิธีการทำนายความสามารถทางพันธุกรรมจีโนม ความสัมพันธ์ระหว่างสนิปและลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจในโคนม และระบบฐานข้อมูลร่วมของพันธุ์ประวัติ-ลักษณะปรากฏ-จีโนไทป์ ทำให้เกิดข้อมูล “คุณค่าการผสมพันธุ์จีโนม (GEBV)” สำหรับลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจที่มีความแม่นยำสูงกว่า “คุณค่า การผสมพันธุ์(EBV)” ที่ทำโดยการใช้วิธีการประเมินค่าทางพันธุกรรมที่ใช้กันอยู่ทั่วไปประมาณร้อยละ 30 สำหรับใช้ในการการคัดเลือกพันธุ์สัตว์ เร่งอัตราความก้าวหน้าทางพันธุกรรมในประชากรโคนม ทำให้พันธุกรรมของโคนมในประชากรหลากหลายพันธุ์ของประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการศึกษาวิจัยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลพันธุกรรมระดับจีโนมเพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตของโคนมในเขตร้อนชื้น

View :1864

SEA-EU-NET partners in science พันธมิตรด้านวิทยาศาสตร์ระดับโลกนำคณะสื่อมวลชนต่างประเทศ เข้าศึกษาดูงานวิจัยด้าน S&T ในภูมิภาคเอเชีย

February 21st, 2012 No comments

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ () กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้การต้อนรับคณะพันธมิตรด้านวิทยาศาสตร์ระดับโลก SEA-EU-NET (Souteast Asia European Network) ที่นำคณะสื่อมวลชนจากต่างประเทศ เข้าเยี่ยมชมและศึกษา พร้อมร่วมสังเกตการณ์งานวิจัยต่างๆ ของ เพื่อศึกษาทิศทาง แนวโน้ม การทำงานด้านการวิจัยและพัฒนาของไทย

โครงการ SEA-EU-NET (Souteast Asia European Network) เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างยุโรปกับเอเชีย ที่ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่าง 2 ภูมิภาค โดยปีนี้ ทาง SEA-EU-NET มีโครงการที่จะมาศึกษาดูงานวิจัยในประเทศไทย โดยระบุเลือก สวทช. เป็นสถานที่ศึกษาดูงาน เพราะเล็งเห็นถึงศักยภาพในการทำงานวิจัยที่พัฒนาประเทศโดยตรง

View :1425