Archive

Archive for the ‘Social Media/ Social Network’ Category

เนชั่น จับมืออินเทล ชวนคอไอทีสนทนาเรื่องเทคโนโลยีในอนาคต….NForum: NForum: Beyond Speed & Connected World: What’s Next?

August 3rd, 2011 No comments

เสาร์นี้ บ่ายโมงครึ่งเป็นต้นไป เนชั่น จับมืออินเทล ชวนคอไอทีสนทนาเรื่องเทคโนโลยีในอนาคต….

• เทรนด์ของเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อตอบรับกับความต้องการใ​นการทำงานและไลฟสไตล์ของคนใ​นปัจจุบัน
• การพัฒนาของเทคโนโลยีและพีซ​ีในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาและทิศทางในอนาค​ต
• เทคโนโลยีล้ำสมัยของอินเทลท​ี่มีในปัจจุบัน
• แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีในอ​นาคต

ผู้ร่วมเสวนา ได้แก่….

คุณเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ
กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
ร่วมงานกับอินเทลมาตั้งแต่ต้นปี 2539 ในตำแหน่งผู้จัดการ-อินเทลอาคิเทคเจอร์ ประจำสำนักงานประเทศไทย โดยรับผิดชอบการเผยแพร่กลยุทธ์และเทคโนโลยีของอินเทล ตลอดจนแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพัฒนาของวงการอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์แก่ผู้ใช้ ทั้งในกลุ่มองค์กรธุรกิจและผู้ใช้ทั่วไปโดยตรง ก่อนที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้จัดการในปัจจุบัน

คุณพาที สารสิน
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด
(ปริญญาตรี บริหารธุรกิจและวิทยาการคอมพิวเตอร์ จาก Clark University มลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา
ปริญญาโท สื่อสารมวลชน (ภาพยนตร์และวิดีทัศน์) จาก มหาวิทยาลัยอเมริกัน วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา)

คุณสมเถา สุจริตกุล
ใช้นามปากกาว่า SP ในการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ที่มีกลิ่นอายเป็นเอเซีย ผลงานของสมเถาเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด แต่ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ และได้รับรางวัลเกียรติคุณมากมายในต่างประเทศ ผลงานที่สำคัญได้แก่ “มาริสาราตี” Jasmine Nights, Aquilard กับ Absent Thee From Felicity Awhile (ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล John W.Campbell และรางวัล Hugo), Starship&Haiku (ได้รับรางวัล Locus Award), เรื่องสั้น The Dust (ได้รับรางวัล Edmund Hamilton Memorial Award ในปี 2525), เรื่องสั้นชุด Inquestor เรื่องศูนย์การค้าในอวกาศ Mallworld, ชุด Aquiiad, นวนิยายเรื่อง Starship&Haiku, รวมเรื่องสั้นชุด Fire From The Wine-Dark Sea, นวนิยายเรื่อง The Darkling Wind (ติดอันดับ Locus Bestseller)

คุณสมชัย สิทธิชัยศรีชาติ
กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ค้าส่งอุปกรณ์ไอทีรายใหญ่ของไทย

ผู้ดำเนินรายการในงานนี้ก็ได้แก่ …..

1. วรวิสุทธิ์ ภิญโญยาง (@worawisut)
ผู้อยู่เบื้องหลัง ‘Marketing Hub’ คอลัมน์นิสต์ประจำ Bangkokbiznews.com และผู้ก่อตั้งเว็บ Appreview.in.th (@appreview)

2. ภิรดี พิทยาธิคุณ (@NuPink)
ทีมกองบรรณาธิการของเว็บ Thumbsup.in.th (@thumbsupTH)

ผู้สนใจสามารถเข้าไปลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการเสวนาที่น่าสนใจครั้งนี้ได้ที่นี่

https://spreadsheets.google.com/spreadsheet/viewform?formkey=dDM3cmV0WTRmeEQxVHhRMGNrajdiVlE6MA

View :1878

เทรนด์ ไมโคร เผยผลวิจัยพบอันตรายที่มาจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในองค์กร

July 29th, 2011 No comments

แม้ว่าการใช้สื่อสังคมออนไลน์จะช่วยกระตุ้นยอดขายได้ แต่องค์กรธุรกิจควรรับรู้ไว้ว่าเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์สามารถเป็นพาหะภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้เช่นกัน

องค์กรธุรกิจจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ กำลังใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือชี้วัดที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับวัดการขยายบทบาทของตนในตลาด โดยจะเห็นได้ว่าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนที่มีความสำคัญเพิ่มขึ้นในด้านการส่งเสริมการขายและการตลาด อย่างไรก็ตามแม้ว่าจำนวนการใช้ไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์จะเพิ่มสูงขึ้น แต่หลายองค์กรยังขาดความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นและภัยคุกคามที่มีสื่อสังคมออนไลน์เป็นพาหะ ซึ่งไม่ต้องพูดถึงการมีนโยบายควบคุมที่สามารถดูแลพนักงานของตนได้อย่างครอบคลุม ด้วยเหตุนี้ ค่าใช้จ่ายด้านการละเมิดความปลอดภัยซึ่งเป็นผลมาจากการใช้แพลตฟอร์มเครือข่ายสังคมออนไลน์จึงมีจำนวนมากกว่าผลประโยชน์ที่พึงจะได้รับ

รายงานจากนีลเซนระบุว่า 74% ของประชากรอินเทอร์เน็ตโลกเข้าชมไซต์บล็อก (blog) หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ และพบว่าจุดที่ใช้ในการเข้าร่วมในสื่อสังคมออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะอยู่ในที่ทำงานเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่รายงานของการ์ทเนอร์ระบุว่า การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในที่ทำงานกำลังขยายตัวอย่างมากโดยจากการสำรวจพบว่าพนักงานเกือบครึ่งมีการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์และ 18.5% มีความชำนาญหรือมีหน้าที่รับผิดชอบในด้านการวางแผน ประเมิน หรือเลือกสื่อสังคมออนไลน์มาใช้ภายในองค์กรของตน

“สื่อสังคมออนไลน์กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในแวดวงธุรกิจ เราพบว่าบริษัทหลายแห่งได้ปรับใช้ไซต์เครือข่ายเสมือนให้เป็นเครื่องมือทำการตลาดเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดของตนหรืออยู่เหนือคู่แข่งในตลาด อย่างไรก็ตาม หลายรายมองข้ามความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่มีอยู่ภายในไซต์เครือข่ายสังคมดังกล่าว” ไมลา ปิลาโอ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีหลัก ศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บส์ บริษัท อิงค์กล่าว

ด้วยจำนวนผู้ใช้งานกว่า 500 ล้านราย ทำให้ กลายเป็นเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด อย่างไรก็ตามอาชญากรไซเบอร์เองก็ได้มองเห็นโอกาสในการใช้ เป็นพาหะแพร่มัลแวร์หรือสร้างการโจมตีด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น สแปมเมอร์ใช้ เพื่อแพร่ลิงก์ที่เป็นอันตรายซึ่งมักจะนำไปสู่การดาวน์โหลดมัลแวร์โดยอาศัยผู้ใช้เป็นนกต่อล่อลวงบุคคลอื่นๆ ให้ตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน ด้วยเหตุนี้ บริษัท เทรนด์ ไมโคร จึงได้รวม ไว้ในรายชื่อสิ่งที่มีอันตรายที่สุด 10 อันดับแรกโดยพิจารณาจากการโจมตีที่เกี่ยวข้องกับ ซึ่งได้รับการรายงานอยู่บ่อยครั้ง

เช่นเดียวกับเครื่องมือค้นหาอื่นๆ Twitter ได้กลายเป็นแหล่งรวมลิงก์ที่เป็นอันตราย โดยอาชญากรไซเบอร์ได้ใช้ประโยชน์จากพฤติกรรมของผู้ใช้ที่มักจะติดตามหัวข้อที่กำลังได้รับความสนใจ (trending topics) และกระตุ้นให้ผู้ใช้ทำการค้นหาข้อมูล จากนั้นเมื่อผู้ใช้ Twitter คลิกลิงก์ที่เป็นอันตรายก็จะถูกนำไปยังเพจที่มีมัลแวร์แฝงอยู่

หลุมพรางจากการเข้าใช้ไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์โดยไม่ระวังตัวจะครอบคลุมตั้งแต่การปรับเปลี่ยนเส้นทางแบบง่ายๆ ไปจนถึงการทำให้ระบบติดเชื้อได้อย่างซับซ้อน “นอกจากไวรัสหรือมัลแวร์ การลวงให้คลิกไลค์ (likejacking) แอพพลิเคชั่นอันตราย และสแปมทวิตเตอร์แล้ว องค์กรธุรกิจกำลังตกอยู่ในภาวะเสี่ยงหากพนักงานของตนโพสต์ข้อความหรือข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสมที่นำไปสู่การเปิดเผยที่ตั้งสำนักงาน ปัญหาการเมืองภายในองค์กร โครงการลับ กลยุทธ์ หรือสภาพภายในสำนักงาน เป็นต้น” ไมลา กล่าว

ในการบล็อกภัยคุกคามที่มาจากการใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ของพนักงาน มีหลักการที่สำคัญอยู่ไม่กี่ข้อซึ่งองค์กรธุรกิจควรนำไปปรับใช้ ได้แก่ 1) สร้างแนวทางเกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อควบคุมพฤติกรรมพนักงานและแนะนำให้พนักงานพึงระวังในสิ่งที่พวกเขาเผยแพร่ทางออนไลน์ 2) ปรับใช้และปรับปรุงการป้องกันแบบหลายชั้นเป็นประจำ 3) ติดตามตรวจสอบสินทรัพย์สื่อสังคมออนไลน์ทั้งหมดและบันทึกการสื่อสารทั้งหมดไว้ 4) พัฒนาแผนการสื่อสารและการดำเนินการที่เหมาะสมสำหรับกรณีการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับของบริษัทโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ และข้อสุดท้ายแต่ไม่ใช่ท้ายสุด จัดแคมเปญรณรงค์ให้เกิดการตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้ใช้เพื่อช่วยให้พนักงานเข้าใจและสำนึกในคุณค่าของสินทรัพย์ข้อมูลองค์กร รวมถึงผลที่ตามมาในกรณีที่สินทรัพย์นั้นตกอยู่ในภาวะอันตรายด้วย

View :2077

โซนี่ มิวสิค นำร่องพัฒนาคอนเทนต์บันเทิงรองรับ 3G เน็ตเวิร์ก พร้อมเปิดตัวแอพพลิเคชั่นใหม่สุดล้ำกับ “Sony Music SLIDE” เอาใจคอสมาร์ทโฟน

July 25th, 2011 No comments

บริษัท (ประเทศไทย) จำกัด นำร่องพัฒนาคอนเทนต์บันเทิงรองรับการใช้งาน เน็ตเวิร์กก่อนใคร!! ด้วยการเปิดตัวแอพพลิเคชั่นใหม่สุดล้ำกับ “โซนี่ มิวสิค สไลด์” “(Sony Music SLIDE) ภายใต้คอนเซ็ปต์ ““โซเชี่ยลมิวสิคแอพของเมืองไทย”” เน้นการเป็นโซเชี่ยลมิวสิคแอพพอลทัลของโซนี่มิวสิคที่เน้นการใช้งานที่ง่ายจะช่วยให้กลุ่มลูกค้าสามารถเข้าถึงคอนเทนต์ต่างๆได้รวดเร็วขึ้น และสามารถแชร์คอนเทนต์ที่ตัวเองชื่นชอบไปให้กับเพื่อนๆผ่านทางโซเชี่ยลเน็ตเวิร์กได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งยังสามารถเชื่อมโยงโลกโซเชี่ยลเน็ตเวิร์กของคุณและศิลปินที่คุณชื่นชอบทั้งไทยและต่างประเทศได้อย่างลงตัว มั่นใจสามารถตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์และความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี

นายพอล มนัสถาวร ผู้อำนวยการกลุ่มงานดิจิตอล บริษัท โซนี่ มิวสิค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ธุรกิจดิจิตอลถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ทางโซนี่มิวสิคให้ความสำคัญมากในปีนี้ โดยมีแผนที่จะปรับทิศทางการดำเนินงานของธุรกิจเพลงของโซนี่มิวสิคทั้งหมดให้สอดรับกับยุคดิจิตอลได้อย่างลงตัว ซึ่งในเบื้องต้นเราได้ทำการศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายของโซนี่มิวสิคพบว่า กลุ่มคนฟังเพลงของโซนี่มิวสิคส่วนใหญ่นิยมใช้สมาร์ทโฟนที่หลากหลาย โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนในตระกูล iOS อาทิ ไอโฟน , ไอแพด เป็นต้น และจากกระแสความแรงของตลาดสมาร์ทโฟน ประกอบกับกระแสความแรงของโซเชี่ยลเน็ตเวิร์กในปัจจุบันที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ผนวกกับการมาของ 3G เน็ตเวิร์กทำให้โซนี่มิวสิคไม่รอช้ารุกพัฒนาคอนเทนต์เพื่อเตรียมรองรับกับจำนวนผู้ใช้งานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุด โซนี่ มิวสิค ได้พัฒนาคอนเทนต์บันเทิงรองรับการใช้งาน 3G เน็ตเวิร์กก่อนใคร!! ด้วยการเปิดตัวแอพพลิเคชั่นใหม่สุดล้ำกับ ““Sony Music SLIDE” ภายใต้คอนเซ็ปต์ “โซเชี่ยลมิวสิคแอพของเมืองไทย” เน้นการเป็นโซเชี่ยลมิวสิคแอพพอลทัลของโซนี่มิวสิคที่เน้นการใช้งานง่ายจะช่วยให้กลุ่มลูกค้าสามารถเข้าถึงคอนเทนต์ต่างๆได้รวดเร็วขึ้น และสามารถแชร์คอนเทนต์ที่ตัวเองชื่นชอบไปให้กับเพื่อนๆผ่านทางโซเชี่ยลเน็ตเวิร์กได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งยังสามารถเชื่อมโยงโลกโซเชี่ยลเน็ตเวิร์กของคุณและศิลปินที่คุณชื่นชอบทั้งไทยและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น และ Twitter ได้อย่างลงตัว ทำให้แฟนเพลงของโซนี่มิวสิคที่ต้องการติดตามผลงานของศิลปินที่ชื่นชอบได้จากบริการดังกล่าว ด้วยวิธีง่ายๆเพียงคุณดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นที่มีชื่อว่า ““Sony Music SLIDE” จาก App Store ลงมาไว้ในมือถือหรือไอแพดของตัวเอง เพียงเท่านี้ท่านก็จะสามารถเข้าสู่โลกโซเชี่ยลเน็ตเวิร์กของศิลปินที่คุณต้องการได้ทันที ทั้งนี้เพื่อรองรับไลฟ์สไตล์การใช้งาน 3G ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ มั่นใจสามารถตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์และความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี

“ผมเชื่อมั่นว่าเมื่อ 3G เน็ตเวิร์กมาถึงก็จะเป็นการเปิดตลาดรูปแบบใหม่และทำให้คนสามารถเข้าถึงคอนเทนต์ได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะคอนเทนต์ของโซนี่มิวสิคถือได้ว่าเป็นพรีเมี่ยมคอนเทนต์ที่มีคุณภาพที่สุดในตลาดอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น เพลง , มิวสิควีดีโอ รวมถึงศิลปินในสังกัดโซนี่มิวสิคซึ่งเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนั้น ทางบริษัทฯจึงมั่นใจว่าโซนี่มิวสิคจะเป็นผู้นำทางด้าน 3G มิวสิคแอพพลิเคชั่นได้อย่างแน่นอน” นายพอลกล่าวทิ้งท้าย

View :1914

เดลล์ ชวนคนไทยร่วมแชร์ความดีผ่าน Twitter หรือ Facebook

July 19th, 2011 No comments

เดลล์ ชวนคนไทยร่วมแชร์ความดีผ่าน Twitter หรือ หาเงินหนุนมูลนิธิเพื่อสังคมผ่านกิจกรรม “ทำดีกับเดลล์”  ในโครงการ “


บริษัท เดลล์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ 3 ดีเจดังแห่งยุค “ดีเจเจ๊แหม่ม, ดีเจพี่อ้อย และดีเจเฟียต” ขอเชิญคนไทยร่วมปิดทองหลังไมค์ ด้วยการเล่าเรื่องราวความดีแล้วมาแชร์กับ เดลล์ และ 3 ดีเจดัง กับกิจกรรม “ทำดีกับเดลล์” ในโครงการ DELL Do More Care More ตลอดเดือนกรกฎาคม นี้ ผ่าน Twitter และ Facebook ถึงดีเจที่ชื่นชอบ ที่ www.ilovedell.com/delltumdee  โดยดีเจคนใดที่ได้รับเรื่องราวความดีหลังไมค์มากที่สุด จะได้รับเงินบริจาค 100,000 บาท จากเดลล์ เพื่อนำไปบริจาคให้แก่มูลนิธิที่ตนเลือก อาทิ มูลนิธิวัดพระบาทน้ำพุ, มูนิธิจุฬาภรณ์ และบ้านพักฉุกเฉิน และผู้ที่แชร์เรื่องราวยังลุ้นรับบัตรชมภาพยนตร์จากเมเจอร์ที่จะประกาศผลในทุกศุกร์ตลอดเดือนกรกฎาคม ศกนี้

View :1929

ทริดี้ เปิดวิสัยทัศน์ระดมความคิด มองทิศทาง แนวโน้มอนาคตของโทรคมนาคม วิทยุโทรทัศน์ กับนักวิชาการภาคการศึกษากว่า 30 มหาวิทยาลัย

July 5th, 2011 No comments

สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม หรือ ทริดี้ จัดประชุมระดมความคิด ครั้งที่ 2 หาทิศทางและแนวโน้มในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแพร่ภาพ การกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ข้อคิดเห็น และเป็นแนวทางในการจัดทำแผนการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแพร่ภาพ การกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของประเทศในอนาคต โดยการเปิดเวทีระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานต่างๆ ในครั้งนี้ ทริดี้เชื่อว่าจะได้ทราบถึงทิศทางและแนวโน้ม  การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแพร่ภาพ การกระจายเสียง  โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีอื่นๆ  ที่เกี่ยวข้อง    รวมถึงรับทราบถึงศักยภาพของนักวิจัยไทยในด้านดังกล่าว

โดยการระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ถือเป็นการรวมกลุ่มจากภาคการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 30 มหาวิทยาลัย ที่ต้องการหาทางออก ปฏิรูปสื่อในประเทศ ให้เกิดการกระจายในระดับมหภาคอย่างเสรีและมีกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจน พร้อมสู่ภาคประชาชนอย่างแท้จริง

ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม หรือ ทริดี้ กล่าวว่า การประชุมระดมความคิดเรื่อง “Road map for Broadcasting and Telecommunications Research & Development ครั้งที่ 2” ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ ทริดี้และสำนักงาน กสทช. มุ่งตรงที่จะได้ทราบถึงทิศทางและแนวโน้มการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแพร่ภาพ การกระจายเสียง เทคโนโลยีโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง  ทั้งในส่วนของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม   ตลอดจนประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ  เพื่อเป็นแผนการสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา และการส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพร่ภาพกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องของ  และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงาน กสทช.  ตามขอบเขตในภารกิจและการส่งเสริมและสนับสนุนตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553    โดยกิจกรรมในครั้งนี้  ได้รับความร่วมมือจากผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่มีการเรียนการสอนในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น   ซึ่งตอกย้ำถึงความร่วมมืออระหว่าง ทริดี้  สำนักงาน กสทช.  กับสถาบันการศึกษาและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง  ในการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาที่ผ่านมา  และยังมุ่งต่อยอดนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องต่อไปในอนาคตด้วย

ดร.สุพจน์ กล่าวอีกว่า การประชุมครั้งนี้ ยังเผยภารกิจในการดำเนินงานของทริดี้ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม  และการพัฒนาบุคลากรที่ผ่านมา รวมไปถึงทิศทางและแนวโน้มในอนาคต  พร้อมแผนการสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา  การส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพร่ภาพกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง   รวมถึงแผนการพัฒนาบุคลากร   และทราบถึงความพร้อมของสถาบันการศึกษาภายใต้ขอบเขต พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ฯ พ.ศ.2553 เพื่อเป็นการรองรับการแข่งขัน AEC ที่จะมีขึ้นในปี 2015 ซึ่งในครั้งนี้จะมีนักวิจัย รวมถึงผลงานวิจัยในเทคโนโลยีในด้านที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น และสามารถต่อยอดนวัตกรรมเทคโนโลยีการแพร่ภาพ การกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในอนาคตได้ สามารถช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโตขึ้นอีกด้วย

“ในการระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ ทริดี้เชื่อว่าจะสามารถผลักดันให้เกิดแผนและแนวทางการพัฒนาการวิจัยและพัฒนา  การส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพร่ภาพกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง   รวมถึงแผนการพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพของประเทศ   และในอนาคตเชื่อว่าภาคอุตสาหกรรมด้านโทรคมนาคม วิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์จะเติบโตไปอีกมาก  ซึ่งประเทศที่มีการพัฒนาแล้วจะให้ความสำคัญอย่างจริงจังในส่วนของงานวิจัย บุคลากร และการมองหาทิศทางของผลิตภัณฑ์ ตลาดทั้งในและต่างประเทศ  ดังนั้นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการเริ่มพัฒนาคือภาคการศึกษาที่จะสามารถช่วยให้เกิดบุคลากรคุณภาพ เกิดการใช้ในประเทศ ตลอดจนการส่งออกในต่างประเทศในภาคอุตสาหกรรมดังกล่าว”  ดร.สุพจน์ กล่าวสรุป

มุมมองของภาคการศึกษา “ความคิดเห็นของกลุ่มนักวิชาการในระดับมหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งนี้ มองถึงความสำคัญของการปฎิรูปในอนาคตที่ชัดเจนและจริงจัง สู่ภาคประชาชนอย่าง “รู้ทันสื่อ” โดยโครงของสื่อในอนาคต กลุ่มนักวิชาการมองว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในภาพรวมในอนาคตหากเกิดการแข่งขันที่เสรีมากขึ้น และหากจะเกิดการพัฒนาในประเทศต้องมองถึงการวางโครงสร้างที่แข็งแรง ตลอดจนการร่วมมือกันอย่างมีศักยภาพทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคการศึกษาเอง โดยทั้งหมดต้องร่วมกันผลักดันให้เกิดการพัฒนา และยังมองถึงส่วนของการคุ้มครองผู้บริโภคจากสื่ออีกด้วย ซึ่งในอนาคตหากไม่มีแบบแผนที่ชัดเจนจะเกิดการก่อกวนหรือสร้างปัญหาจากสื่อได้

งานวิจัยถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สำคัญหากที่ผ่านมามีแต่การวางโครงการนำเสนอวิจัย แต่ไม่มีการนำโครงการต่าง ๆ ไปปฏิบัติงานหรือต่อยอด ซึ่งที่ผ่านมาเพิ่งมี ทริดี้ที่สนับสนุนให้นำงานวิจัยไปดำเนินงานต่อยอด แต่ในอนาคตหากเกิดการดำเนินงานในด้านโทรคมนาคม วิทยุโทรทัศน์ที่เสรีมากขึ้น ต้องช่วยกันในหลายภาคส่วนให้นำผลงานต่าง ๆ ไปต่อยอดให้เกิดการใช้งานจริง ซึ่งหากสามารถนำโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ไปปฏิงานได้จริง ไม่เพียงแต่ผลงานจะสะท้อนถึงทิศทางในอนาคต แต่จะเกิดการลดต้นทุนในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เกิดการจ้างงาน และภาครัฐเองต้องมองหาตลาดให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ (ภาคการศึกษา-สนับสนุน วิจัยผลงาน พัฒนาผลงาน, ภาครัฐ-สนับสนุนเงินทุน หาช่องทางตลาด ตลอดจนผลักดันให้เกิดมูงค่าในเชิงพาณิชย์ สร้างมาตรฐานของผลงานที่พัฒนาขึ้นมา, ภาคเอกชน-สนับสนุนการใช้ผลงาน อุปกรณ์ และผลักดันในตลาดทั้งในและต่างประเทศ) หากมองในตลาดปัจจุบันอุตสาหกรรมด้านโทรคมนาคม วิทยุโทรทัศน์ต้องเริ่มที่ พัฒนาความรู้ผลงาน ต่อยอด ใช้เอง และส่งขายตามลำดับ กอปรกับความร่วมมือจากนักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มวิศวะโทรคมนาคม นักวิจัย และลงพื้นที่พัฒนาให้ความรู้ในระดับท้องถิ่น และก้าวสู่การพัฒนาในระดับประเทศในอนาคต

หมายเหตุ :     มาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ.2553 มีบทบัญญัติ ดังนี้ “ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นในสำนักงาน กสทช. เรียกว่า “กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ” โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

(1)    ดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม อย่างทั่วถึง ตลอดจนส่งเสริมชุมชนและสนับสนุนผู้ประกอบกิจการบริการชุมชนตามมาตรา 51

(2)    ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรสื่อสาร การวิจัยและพัฒนาด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อ เทคโนโลยีด้านการใช้คลื่นความถี่ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ หรือผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง

(3)    ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการดำเนินการขององค์กร ซึ่งทำหน้าที่จัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมของการประกอบวิชาชีพหรือวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

(4)    สนับสนุน ส่งเสริม และคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

(5)    สนับสนุนการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ โดยจัดสรรเงินให้แก่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์”

View :2132

โมบายล์แอพพลิเคชั่น … โอกาสของนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นสัญชาติไทย

June 30th, 2011 No comments

บทความ โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ในยุคปัจจุบัน อุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างโทรศัพท์เคลื่อนที่และแท็บเล็ต ได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของผู้คนมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารพื้นฐานแล้ว อุปกรณ์เคลื่อนที่ยังถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความบันเทิงไม่ว่าจะเป็นการฟังเพลง หรือเล่นเกมส์ และยังใช้เป็นอุปกรณ์ในการรับข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารออนไลน์ต่างๆ นอกเหนือจากนี้ ยังมีการประยุกต์ใช้เพื่อเสริมความสามารถในการทำธุรกิจ เช่น การใช้อุปกรณ์แท็บเล็ตเป็นอุปกรณ์ช่วยของพนักงานขายในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าอย่างน่าสนใจ โดยมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและเสียง เป็นต้น ทั้งนี้ แอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ หรือโมบายล์แอพพลิเคชั่นนั้น มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความหลากหลายของอรรถประโยชน์ต่างๆบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์ถึงสภาพการณ์ และแนวโน้มตลาดโมบายล์แอพพลิเคชั่นในไทย รวมไปถึงโอกาสและข้อคิดสำหรับนักพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่นสัญชาติไทยในการเข้าสู่ธุรกิจการพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่น


    ตลาดโมบายล์แอพพลิเคชั่นไทย…มักถูกแจกจ่ายฟรี เพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาด

ตลาดโมบายล์แอพพลิเคชั่นของไทยในปัจจุบันนั้นยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้น ผู้บริโภคชาวไทยมักเลือกซื้อแอพพลิเคชั่นที่ถูกพัฒนาในต่างประเทศเป็นหลัก แอพพลิเคชั่นสัญชาติไทยเองนั้นยังคงมีอยู่จำนวนน้อย โดยจากการรวบรวมของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า จำนวนแอพพลิเคชั่นสัญชาติไทยรวมทุกแพลตฟอร์มของอุปกรณ์เคลื่อนที่ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคมมีอยู่ประมาณ 871 แอพพลิเคชั่น   เมื่อเทียบกับจำนวนโมบายล์แอพพลิเคชั่นทั้งหมดทั่วโลกซึ่งอยู่ราว 743,640 แอพพลิเคชั่น

โมบายล์แอพพลิเคชั่นสัญชาติไทยในปัจจุบันนั้น มักถูกพัฒนาโดยองค์กรต่างๆทั้งของรัฐและเอกชนเพื่อเป็นช่องทางเผยแพร่ข้อมูลและให้บริการต่างๆ แอพพลิเคชั่นต่างๆเหล่านี้มักถูกแจกจ่ายฟรี หรือจำหน่ายในราคาที่ต่ำ เพื่อสร้างฐานผู้ใช้งานให้กว้างขวาง โดยปัจจุบันมีสัดส่วนแอพพลิเคชั่นแบบฟรีรวมทุกแพลตฟอร์มราวร้อยละ 43.6 และแบบที่ต้องชำระเงินราวร้อยละ 56.4 โดยแอพพลิเคชั่นที่ขายในระดับราคา 0.99 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นระดับราคาเริ่มต้น จะมีอยู่ราวร้อยละ 18.8 ของแอพพลิเคชั่นสัญชาติไทยทั้งหมด

ปัจจุบัน โมบายล์แอพพลิเคชั่นสัญชาติไทยมักถูกพัฒนาขึ้นสำหรับตลาดผู้บริโภค และเพื่อส่งเสริมธุรกิจหรือบริการหลักที่องค์กรรัฐหรือเอกชนนั้นดำเนินการอยู่ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 4 วัตถุประสงค์หลัก ดังนี้

1)    เพื่อเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ แอพพลิเคชั่นประเภทนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคค้นหาหรืออ้างอิง เช่น แอพพลิเคชั่นของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่รวบรวมข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในไทย หรือแอพพลิเคชั่นของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ที่ผู้บริโภคสามารถค้นหาข้อมูลโครงการบ้านต่างๆของบริษัทได้ เป็นต้น

2)    เพื่อใช้เป็นช่องทางจัดจำหน่ายคอนเทนต์ แอพพลิเคชั่นประเภทนี้มักจะอนุญาตให้ผู้บริโภคสามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นได้ฟรี แต่ต้องซื้อเนื้อหารายฉบับ หรือสมัครสมาชิกรายเดือน เช่น แอพพลิเคชั่นหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารออนไลน์ปกต่างๆ เป็นต้น

3)    เพื่อใช้เป็นช่องทางในการให้บริการต่างๆ แอพพลิเคชั่นประเภทนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นช่องทางในการให้บริการออนไลน์ต่างๆ เพื่อความสะดวกของผู้บริโภค เช่น การจองตั๋วชมภาพยนตร์ การซื้อ-ขายหุ้น การทำธุรกรรมธนาคารออนไลน์ เป็นต้น

4)    เพื่อจำหน่ายเป็นแอพพลิเคชั่นอรรถประโยชน์ต่างๆ ซึ่งบางส่วนอาจอนุญาตให้ผู้บริโภคใช้งานได้ฟรี แต่จะถูกจำกัดฟังก์ชั่นการทำงานที่สามารถใช้งานได้ โดยผู้บริโภคสามารถชำระเงินเพื่อใช้งานแอพพลิเคชั่นฉบับเต็มที่มีความสามารถที่สูงกว่า เช่น แอพพลิเคชั่นแปลภาษา ซึ่งในฉบับทดลองใช้ อาจใช้แปลภาษาไทยไปเป็นภาษาอังกฤษได้ แต่ถ้าต้องการใช้งานฟังก์ชั่นแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ก็ต้องชำระเงินเพื่อสามารถใช้งานฉบับเต็มได้ เป็นต้น

    ตลาดโมบายล์แอพพลิเคชั่นปี ’54 หลากหลายปัจจัยหนุนการขยายตัว

แม้ว่าตลาดโมบายล์แอพพลิเคชั่นไทยยังคงมีขนาดเล็กและอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ก็ยังคงมีปัจจัยสนับสนุนหลายประการที่จะมีส่วนผลักดันให้ตลาดโมบายล์แอพพลิเคชั่นในปี 2554 มีการขยายตัวอย่างก้าวกระโดด รวมไปถึงการหนุนให้นักพัฒนาหันมาให้ความสำคัญต่อตลาดนี้มากยิ่งขึ้น ดังนี้

•    การขยายตัวของตลาดสมาร์ทโฟน จากคุณสมบัติอันโดดเด่นของสมาร์ทโฟนในเรื่องของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และสามารถลงแอพพลิเคชั่นต่างๆได้ จนมีการกล่าวกันว่าสมาร์ทโฟน คือ คอมพิวเตอร์ขนาดย่อส่วน ที่ผู้บริโภคสามารถพกพาไปไหนมาไหนได้ จึงทำให้เกิดความยืดหยุ่นสูงในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อสร้างบริการใหม่ๆ ในการตอบสนองรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2554 ตลาดสมาร์ทโฟนจะมีอัตราการเติบโตราวร้อยละ 31.7 ถึง 38.8  โดยในปีนี้ผู้ประกอบการได้มีแผนที่จะเปิดตัวสินค้าสมาร์ทโฟนอีกหลายรุ่น เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าตั้งแต่ระดับล่างไปจนถึงระดับบน การขยายตัวของตลาดสมาร์ทโฟนดังกล่าว จะมีส่วนช่วยผลักดันการขยายตัวของฐานผู้บริโภคบนตลาดโมบายล์แอพพลิเคชั่นมากขึ้น

•    การขยายตัวของตลาดแท็บเล็ต ถึงแม้ว่าฟังก์ชั่นการทำงานโดยทั่วไปของแท็บเล็ตจะมีความคล้ายคลึงกันกับสมาร์ทโฟน แต่ด้วยความเร็วในการประมวลผลข้อมูลที่สูงกว่า และขนาดของหน้าจอแสดงผลที่ใหญ่ขึ้น ประกอบกับความสามารถในการใช้งานแอพพลิเคชั่นที่ถูกพัฒนาสำหรับสมาร์ทโฟนได้ ทำให้ผู้บริโภคเริ่มให้ความสนใจในการใช้งานแท็บเล็ตในวงกว้างมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการใช้งานส่วนบุคคลในลักษณะเดียวกับสมาร์ทโฟนแล้ว แท็บเล็ตยังถูกนำมาประยุกต์ใช้ในด้านธุรกิจ หรือแม้แต่ถูกประยุกต์ใช้ในวงการแพทย์ และการศึกษา ทั้งนี้ ในปี 2554 ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์ไอซีทีในไทยได้มีการคาดการณ์กันว่ายอดจำหน่ายรวมของแท็บเล็ตในไทยจะมีราว 2 ถึง 3 แสนเครื่อง

•    การเปิดให้บริการ เชิงพาณิชย์ จากการที่ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่บางรายมีแผนที่จะทยอยเปิดให้บริการ เชิงพาณิชย์ได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 นั้น นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าธุรกิจบริการโทรคมนาคมสู่ยุคการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง และคาดว่าจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาบริการและแอพพลิเคชั่นใหม่ๆที่ต้องอาศัยการสื่อสารความเร็วสูง ไม่ว่าจะเป็นการชมภาพยนตร์ออนไลน์ หรือแม้แต่การเพิ่มอรรถรสในการเล่นเกมออนไลน์บนอุปกรณ์พกพามากยิ่งขึ้น

•    ราคาจำหน่ายที่ถูก โมบายล์แอพพลิเคชั่นที่จำหน่ายผ่านร้านแอพพลิเคชั่นออนไลน์จะมีทั้งแบบฟรีและแบบที่ต้องชำระเงิน โดยแอพพลิชั่นแบบฟรีในตลาดโลกมีสัดส่วนราวร้อยละ 36.2 ของแอพพลิเคชั่นรวมทุกแพลตฟอร์ม ในขณะที่แบบที่ต้องชำระเงินจะมีสัดส่วนราวร้อยละ 63.8 สำหรับแอพพลิเคชั่นแบบที่ต้องชำระเงินนั้นจะมีราคาเฉลี่ยรวมทุกแพลตฟอร์มอยู่ที่ 4.34 ดอลลาร์สหรัฐฯ และมีราคาเริ่มต้นที่ 0.99 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นระดับราคาที่มีจำนวนแอพพลิเคชั่นราวร้อยละ 29.6 ของแอพพลิเคชั่นทั้งหมด สำหรับโมบายล์แอพพลิเคชั่นสัญชาติไทย ก็มีแนวโน้มเช่นเดียวกันดังกล่าวมาแล้วข้างต้น

•    ช่องทางการจัดจำหน่าย ที่เข้าถึงง่าย ใช้งานสะดวก โมบายล์แอพพลิเคชั่นจะถูกขายออนไลน์ผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายที่เรียกว่า ร้านแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (Online Application Store) โดยผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่ายผ่านแอพพลิเคชั่นของร้านออนไลน์ดังกล่าวบนสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ประกอบกับการจัดหมวดหมู่แอพพลิเคชั่นที่ง่ายแก่การค้นหา และระบบการชำระเงินที่สะดวกรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต หรือผ่านระบบการชำระเงินออนไลน์อย่างเพย์พาล

•    สร้างสรรค์ประสบการณ์การใช้งานที่ไม่เคยมีมาก่อนให้แก่ผู้บริโภค จากคุณลักษณะการใช้งานของอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต เช่น ระบบสั่งงานแบบสัมผัส เป็นต้น ทำให้เกิดการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่ก่อให้เกิดประสบการณ์ในการใช้งานในรูปแบบใหม่ ซึ่งสะดวกและง่ายแก่การใช้งาน โดยผู้บริโภคไม่เคยประสบมาก่อนในการทำงานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่

จากปัจจัยต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น จะมีส่วนช่วยผลักดันให้ฐานผู้ใช้งานโมบายล์แอพพลิเคชั่นในไทยมีการขยายตัวมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดการพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กรรัฐหรือเอกชน เพื่อเป็นช่องทางการทำตลาดหรือส่งเสริมบริการของตนในตลาดผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น และอาจมีส่วนในการปฏิวัติรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้บริโภค รวมไปถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น การชอปปิ้งในห้างสรรพสินค้าเสมือนจริงบนโมบายล์แอพพลิเคชั่น ซึ่งสามารถกระทำได้ทุกที่ทุกเวลา เป็นต้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2554 ตลาดพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่นในไทยจะมีการขยายตัวสูงขึ้น โดยมีจำนวนแอพพลิเคชั่นสัญชาติไทยรวมทุกแพลตฟอร์มในตลาดผู้บริโภคเพิ่มขึ้นสู่ระดับประมาณ 1,300 แอพพลิเคชั่น จากสิ้นปี 2553 ที่มีอยู่ราว 530 แอพพลิเคชั่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 147.2 ทั้งนี้ เมื่อคิดเป็นมูลค่าของธุรกิจพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่นสำหรับด้านต้นทุนการพัฒนาในปี 2554 จะอยู่ที่ราว 495 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 86.8 จากปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ราว 265 ล้านบาท

นอกเหนือจาก โอกาสของนักพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่นสัญชาติไทยในตลาดผู้บริโภคแล้ว  ตลาดองค์กร ก็เป็นอีกตลาดที่น่าสนใจในอนาคตเช่นกัน เนื่องจาก ตลาดองค์กรเป็นตลาดที่ใหญ่และมีเม็ดเงินในการลงทุนที่สูง โดยในปี 2553 ตลาดองค์กรสำหรับธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) นั้นมีมูลค่าถึงร้อยละ 74.8 ของตลาดซอฟต์แวร์ทั้งหมดในไทย คิดเป็นมูลค่าถึง 54,165 ล้านบาท

สำหรับการพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่นสำหรับตลาดองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งต้องการระบบการทำงานที่มีความพร้อมในการใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง (Availability) และความน่าเชื่อถือของระบบ (Reliability) ที่สูง ทำให้การพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่นในช่วงแรก น่าจะยังคงเป็นเพียงส่วนเสริมประสิทธิภาพการทำงานให้แก่ซอฟต์แวร์ระบบที่มีอยู่ก่อนหน้า โดยโมบายล์แอพพลิเคชั่นจะทำหน้าที่รับข้อมูลและส่งไปประมวลผลที่ซอฟต์แวร์ระบบ หรือดึงข้อมูลที่เก็บไว้ที่ซอฟต์แวร์ระบบมาแสดงผลให้แก่ผู้ใช้งาน เช่น การพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่นเพื่อเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบบริหารสินค้าคงคลังในห้างสรรพสินค้า ซึ่งพนักงานสามารถเรียกดูว่าสินค้าที่ลูกค้ากำลังสอบถามนั้น มีอยู่หรือไม่และจัดวางอยู่ที่ชั้นวางบริเวณใดผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ เป็นต้น

ขณะที่การพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่นสำหรับตลาดองค์กรขนาดเล็ก ซึ่งมีระบบการทำงานที่ไม่ซับซ้อน และจำนวนผู้ใช้งานระบบที่ไม่มากนัก ทำให้โมบายล์แอพพลิเคชั่นอาจเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการใช้งานแทนระบบซอฟแวร์เดิมบนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เนื่องจาก ความคล่องตัวของอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่มากกว่า ซึ่งอาจช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรขนาดเล็กได้ เช่น ระบบบัญชีบนโมบายล์แอพพลิเคชั่น ซึ่งเพิ่มความสะดวกให้ผู้บริหารสามารถเรียกดูรายงานสรุปการดำเนินธุรกิจจากที่ใดก็ได้ เป็นต้น

    ข้อคิดสำหรับผู้ประกอบการในการพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่น

ถึงแม้ว่าตลาดโมบายล์แอพพลิเคชั่นจะมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปี 2554 แต่นักพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่นก็ยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายและข้อจำกัดต่างๆที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในตลาดนี้ได้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้รวบรวมข้อคิดสำหรับผู้ประกอบการพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่น ดังนี้

•    พัฒนาแอพพลิเคชั่นในหลากหลายแพลตฟอร์ม และสามารถทำตลาดได้ทั้งในและต่างประเทศ จากการที่โมบายล์แอพพลิเคชั่นถูกขายผ่านทางร้านแอพพลิเคชั่นออนไลน์ ซึ่งมักถูกเก็บส่วนแบ่งรายได้ราวร้อยละ 30 ของยอดขาย ประกอบกับราคาของแอพพลิเคชั่นมักถูกตั้งในราคาไม่กี่ดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้รายได้ต่อการขายหนึ่งครั้งค่อนข้างต่ำ จึงมีความจำเป็นที่ต้องขายในปริมาณมาก ดังนั้น ผู้ประกอบการที่อิงรายได้หลักจากยอดแอพพลิเคชั่นที่ขายได้ ควรพิจารณาพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนหลากหลายแพลตฟอร์มของอุปกรณ์เคลื่อนที่ และออกแบบให้สามารถจับตลาดได้ทั้งในและต่างประเทศ โดยอาจพัฒนาให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

•    สร้างความแตกต่างให้กับแอพพลิเคชั่นที่จะพัฒนา ตลาดโมบายล์แอพพลิเคชั่นมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วทั่วโลก ทำให้มีผู้ประกอบการทั้งที่เป็นองค์กร รวมถึงนักพัฒนาอิสระหันมาพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่นมากยิ่งขึ้น ทำให้จำนวนแอพพลิเคชั่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีความหลากหลายให้เลือก ผู้ประกอบการควรมองหาช่องว่างทางการตลาดที่มีความต้องการเฉพาะสำหรับผู้บริโภคหรือธุรกิจไทย เพื่อออกแบบแอพพลิเคชั่นที่จะพัฒนาให้มีความแตกต่างและมีจุดเด่นที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค หรือตอบโจทย์ความต้องการใช้งานเฉพาะด้านของธุรกิจ รวมถึงการสร้างความได้เปรียบเหนือจุดด้อยของแอพพลิเคชั่นคู่แข่ง

•    ปรับปรุงและพัฒนาแอพพลิเคชั่นอย่างต่อเนื่อง จากการแข่งขันที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วของตลาดการพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่น ทำให้แอพพลิเคชั่นที่เคยได้รับความนิยม อาจจะเสื่อมความนิยมลงอย่างรวดเร็ว หรือแม้แต่ถูกลอกเลียนแนวคิดและมีการออกแอพพลิเคชั่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันออกมา นักพัฒนาต้องหมั่นสำรวจตลาดและวางแผนในการปรับปรุงและพัฒนาแอพพลิเคชั่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างคุณค่าใหม่ๆให้แก่แอพพลิเคชั่นในการรักษาและขยายฐานลูกค้าของตน

•    ร่วมมือกับสถานศึกษาในการผลิตนักพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่น เนื่องจาก ธุรกิจการพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่นของไทยนั้นยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้น จึงยังคงมีปัญหาการขาดแคลนบุคคลากรที่มีความรู้และความชำนาญเฉพาะในการพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่น ผู้ประกอบการอาจร่วมมือกับสถานศึกษาในการเปิดหลักสูตรการพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่น รับนักศึกษาฝึกงาน ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาในการทำจุลนิพนธ์ของนักศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมของบุคคลากรให้ตรงกับความต้องการของตลาด และสามารถเริ่มต้นการทำงานได้เร็วหลังจากจบการศึกษา

บทสรุป
ตลาดโมบายล์แอพพลิเคชั่นในไทยยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้น โดยผู้บริโภคมักเลือกซื้อแอพพลิเคชั่นต่างประเทศเป็นหลัก อย่างไรก็ดี จากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของฐานผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ประกอบกับการทยอยเริ่มเปิดให้บริการ 3G เชิงพาณิชย์ รวมไปถึงการเข้ามาขององค์กรรัฐ และผู้ประกอบการเอกชน ในการผลักดันการพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่นใหม่ๆ เพื่อเป็นช่องทางส่งเสริมบริการหรือธุรกิจหลักของตน ทำให้ตลาดโมบายล์แอพพลิเคชั่นสัญชาติไทยมีแนวโน้มเติบโตที่ดี และเป็นโอกาสของนักพัฒนาไทย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2554 จำนวนแอพพลิเคชั่นสัญชาติไทยรวมทุกแพลตฟอร์มในตลาดผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับประมาณ 1,300 แอพพลิเคชั่น จากราว 530 แอพพลิเคชั่นในปี 2553 ทั้งนี้ เมื่อคิดเป็นมูลค่าของธุรกิจพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่นสำหรับด้านต้นทุนการพัฒนาในปี 2554 จะอยู่ที่ราว 495 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 86.8 จากปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ราว 265 ล้านบาท

สำหรับแนวโน้มที่สำคัญในตลาดผู้บริโภคนั้น โมบายล์แอพพลิเคชั่นจะทำให้เกิดการปฏิวัติรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้บริโภค และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น การจับจ่ายซื้อของผ่านห้างสรรพสินค้าเสมือนจริงบนโมบายล์แอพพลิเคชั่น เป็นต้น หรือแม้แต่ในตลาดองค์กรและผู้ประกอบการขนาดเล็ก จะเกิดโมบายล์แอพพลิเคชั่นใหม่ๆที่จะช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานให้คล่องตัวยิ่งขึ้น ตลาดโมบายล์แอพพลิเคชั่นต่างๆดังกล่าวเหล่านี้ ยังคงเป็นตลาดใหม่สำหรับเมืองไทย จึงเป็นช่องว่างทางการตลาด และโอกาสอันสำคัญสำหรับนักพัฒนาไทย ซึ่งมีความเข้าใจในความต้องการผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจของไทยเป็นอย่างดี ในการเข้าช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดธุรกิจซอฟต์แวร์จากนักพัฒนาต่างประเทศได้

อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่น จะยังคงต้องเผชิญความท้าทายและข้อจำกัดต่างๆในการดำเนินธุรกิจพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการขาดแคลนบุคคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ หรือแม้แต่สภาพการแข่งขันที่โมบายล์แอพพลิเคชั่นส่วนใหญ่ถูกตั้งราคาไว้ต่ำ ประกอบกับการถูกร้านแอพพลิเคชั่นออนไลน์เก็บส่วนแบ่งรายได้ราวร้อยละ 30 ของยอดขาย และความท้าทายในการถูกลอกเลียนแนวคิดและมีแอพพลิเคชั่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันออกสู่ตลาด

Disclaimer:
“รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงข้อมูลได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณของตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็นหรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

 

View :2626

MSN ครองอันดับหนึ่งเว็บพอร์ทัลที่มีผู้ใช้สูงสุดในประเทศไทย

June 28th, 2011 No comments

บริษัทสำรวจการใช้อินเทอร์เน็ตชั้นนำของโลกเผย มีผู้เข้าชมเว็บไซต์ MSN มากกว่าผู้ใช้เครือข่ายทางสังคมยอดนิยมอย่างเฟซบุ๊ค

บริษัท Effective Measure ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดสถิติการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ล้ำหน้าได้เปิดเผยว่า เป็นเว็บพอร์ทัลยอดนิยมอันดับที่ 1 จากการอยู่ในลำดับที่ 4 ของเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมสูงสุดในประเทศไทยประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 โดย มีผู้เข้าชมเว็บไซต์มากกว่า 9 ล้านคน ซึ่งมากกว่าผู้เข้าชมเฟซบุ๊คอยู่ไม่น้อย

บริษัท Effective Measure เป็นบริษัทวัดสถิติการใช้งานอินเทอร์เน็ตซึ่งได้รับความเชื่อถือในระดับโลกได้เปิดตัวเทคโนโลยี Digital Helix ซึ่งใช้สำหรับการวัดผลการเข้าชมเว็บไซต์ที่มีความล้ำหน้าและแม่นยำ บริษัท Effective Measure นำเสนอข้อมูลที่สำคัญต่อธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการบริการของบริษัทต่างๆ ทั่วโลกครอบคลุมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ และแอฟริกาใต้ผ่านผลการวัดสถิติที่แม่นยำของบริษัท

มร. รัซเซล คอนราด ผู้อำนวยการระดับภูมิภาคของบริษัท Effective Measure ประจำภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้กล่าวยืนยันเกี่ยวกับการที่เว็บไซต์ MSN ประเทศไทย หรือ MSN Thailand ครองอันดับหนึ่งในด้านเว็บพอร์ทัลว่า “ จากการวัดผลในเชิงลึก เราพบว่าผลงานของ MSN Thailand ซึ่งเป็นเว็บไซต์พอร์ทัลของไมโครซอฟท์โดดเด่นกว่าเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมสูงสุดของประเทศไทยรวมทั้งหมด 1 , 300 เว็บไซต์ ”

จากข้อมูลเกี่ยวกับประชากรอ้างอิงโดยบริษัท Effective Measure พบว่ามากกว่าร้อยละ 60 ของผู้เข้าชมเว็บไซต์ MSN Thailand จะเป็นกลุ่ม Early adopter ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่พร้อมเปิดรับนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างรวดเร็ว และกลุ่ม Maven ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความกระตือรืนร้นในการแบ่งปันความรู้ของตนเองเกี่ยวกับเทคโนโลยีและแกดเจ็ทใหม่ๆ แก่ผู้อื่น

นอกจากนี้ จากผลการวิจัยของ Synovate PAX พบว่า ผู้ใช้ MSN หรือ Windows Live เป็นกลุ่มคนที่มักจะใช้เวลาอยู่ในโลกออนไลน์ หรือใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตคิดเป็นนาทีต่อสัปดาห์มากกว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกลุ่มอื่นๆ ประมาณร้อยละ 37 และใช้เวลามากกว่าผู้ใช้เว็บไซต์ยาฮู ! ประมาณร้อยละ 30 นอกจากนี้ ผู้เข้าชมเว็บไซต์ MSN ยังใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์สูงกว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกลุ่มอื่นๆ ประมาณร้อยละ 58 และสูงกว่าผู้ใช้เว็บไซต์ยาฮู ! ประมาณร้อยละ 44 ผลสำรวจที่สำคัญอีกประการเกี่ยวกับผู้ใช้ MSN Hotmail หรือ Windows Live Hotmail คือคนกลุ่มนี้จะใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตคิดเป็นนาทีต่อสัปดาห์มากกว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมดประมาณร้อยละ 36 และมากกว่าผู้ใช้ Yahoo! Mail ประมาณร้อยละ 19 และยังมากกว่า Google Mail ประมาณร้อยละ 20 ประการสุดท้าย ผู้ใช้ MSN หรือ Windows Live Messenger ใช้เวลาคิดเป็นนาทีต่อสัปดาห์ มากกว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกลุ่มอื่นๆ ประมาณร้อยละ 53 และมากกว่าผู้ใช้ Yahoo! Messenger ประมาณร้อยละ 14

นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการธุรกิจออนไลน์ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ ในประเทศไทย ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใช้เวลาเข้าชมเว็บไซต์ MSN โดยเฉลี่ย 5.12 นาทีต่อครั้ง ซึ่งมากกว่าเวลาที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเข้าชม Live.com และ Youtube.com ประมาณ 2.33 นาทีต่อครั้ง ผู้เข้าชมเว็บไซต์ MSN Thailand มีแนวโน้มจะเป็นกลุ่มคนที่มีอิทธิพลทางความคิดและนิยมใช้เวลาบนเว็บเพจนานกว่าคนทั่วไป ดังนั้น เว็บไซต์จึงมอบโอกาสที่สำคัญสำหรับบริษัทต่างๆ ในการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และสามารถรับฟังการตอบรับที่ปราศจากอคติของผู้เข้าชมเว็บไซต์ ”

จากผลการสำรวจโดย Microsoft Advertising พบว่า MSN Thailand มีผู้เข้าใช้งานเป็นจำนวนมากถึง 9.8 ล้านคน ซึ่งเข้าชมหน้าเว็บเป็นจำนวน 123 ล้านครั้งต่อเดือน ตามด้วย Windows Live Hotmail ซึ่งมีผู้เป็นเจ้าของบัญชีที่มีการใช้งานประจำจำนวน 9.6 ล้านคนและเข้าชมหน้าเว็บจำนวน 109 ครั้งต่อเดือน ในขณะที่ผู้ใช้ Windows Live Messenger มีถึง 10 ล้านคนที่เป็นเจ้าของบัญชีที่ใช้งานเป็นประจำ

View :2227

ไอดีซีระบุ การใช้แชทและโซเชียลเน็ตเวิร์คทุกที่ทุกเวลา คือตัวกระตุ้นความต้องการในการเชื่อมต่อแบบพกพาในระดับที่สูงขึ้น

June 27th, 2011 No comments

ที่สิงคโปร์ 22 มิถุนายน 2554 – ไอดีซี บริษัทวิจัยตลาดชั้นแนวหน้าของโลกเปิดเผยผลสำรวจพฤติกรรมการใช้งานของผู้ที่ท่องโลกออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน โดยพบว่าพฤติกรรมยอดนิยมอันดับ 1 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนเกือบทุกประเทศทั่วโลก คือการแชท และ การใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ () ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของสื่อสังคมออนไลน์ () ในฐานะช่องทางในการทำการตลาดอีกด้วย

โดยในประเทศที่ความนิยมในการแชทของผู้ใช้สมาร์ทโฟนมีสูง เช่นประเทศจีน (64%) และนิวซีแลนด์ (40%) จะมีการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ในระดับต่ำ (23% และ 25% ตามลำดับ) ส่วนในประเทศที่มีการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์สูงก็จะมีการแชทในปริมาณที่ต่ำ สะท้อนถึงผลทางการทดแทนของกิจกรรมออนไลน์ 2 ประเภทนี้

งานวิจัยเกี่ยวกับผู้บริโภคที่ไอดีซีได้จัดทำขึ้นทั่วโลกภายใต้ชื่อ ConsumerSpace 360° ยังแสดงให้เห็นอีกว่า ในทุกวันนี้ผู้ใช้สมาร์ทโฟน 4 คนจาก 10 คนนั้นใช้สมาร์ทโฟนเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเป็นประจำทุกวัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 60% เมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่มีเพียง 1 ใน 4 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนเท่านั้นที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์ตัวนี้เป็นประจำ

ซึ่งการเติบโตเช่นนี้มีให้เห็นในทุกภูมิภาค โดยในช่วงเวลาเพียงแค่หนึ่งปี ตัวเลขของผู้ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเป็นประจำทุกวัน ได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัวทั้งในตลาดที่อิ่มตัวแล้ว อย่างในประเทศออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และในตลาดเกิดใหม่เช่นประเทศบราซิล รัสเซีย หรือแม้กระทั่งอินเดีย

“เกาหลีใต้คือประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่สุด จำนวนของผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทุกวันนั้นเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าตัว ส่วนในประเทศจีนถึงแม้อัตราการเติบโตในส่วนนี้จะไม่สูงนัก แต่ก็เป็นประเทศที่มีผู้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนเป็นประจำทุกวันเป็นจำนวน 2 ใน 3 ของจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั้งหมดในประเทศ ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในบรรดา 21 ประเทศที่เราได้ทำการสำรวจเลยทีเดียว” กล่าวโดยนางคิตตี้ ฟก รองประธานฝ่าย End-User Research & Statistics ประจำประเทศจีนของไอดีซี

ไอดีซีได้จัดทำการวิจัยและการสำรวจ ใน 5 ประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อันประกอบไปด้วยประเทศออสเตรเลีย จีน อินเดีย นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้อยู่ก่อนแล้ว และกำลังขยายขอบเขตให้ครอบคลุมถึงประเทศฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และรวมถึงประเทศไทยด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น ข้อมูลล่าสุดที่ได้จากการศึกษาตลาดโทรศัพท์มือถือในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของไอดีซียังชี้ให้เห็นอีกว่า การเติบโตของตลาดสมาร์ทโฟนในไตรมาสแรกของปี 2554 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยกเว้นญี่ปุ่นนั้น ถือเป็นการเติบโตที่เร็วที่สุด โดยประเทศจีนและเกาหลีใต้มีอัตราการเติบโตสูงที่สุดถึง 377% และ 152% ตามลำดับ

การวิจัยและการสำรวจ Consumerscape 360° ของไอดีซีได้ให้นิยามและแบ่งประเภทของผู้บริโภคออกเป็น 6 ประเภท ตามทัศนคติและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้ ความสนใจ และความอ่อนไหวต่อราคาในกลุ่มสินค้าจำพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อันประกอบไปด้วย กลุ่มกูรูผู้เผยแพร่เทคโนยี (Tech Evangelist) กลุ่มผู้มีรายได้สูงที่มักซื้อหาสินค้าออกใหม่ (Impulse Buyer) กลุ่มผู้ซื้อที่ซื้อจากประสบการณ์ (Experiential Adopter) กลุ่มผู้ซื้อที่เน้นประโยชน์ใช้สอยจริง (Pragmatic Purchaser) กลุ่มผู้ซื้อที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อม (Green Buyer) และกลุ่มผู้ซื้อที่มีทั้งความสนใจและรายได้ต่ำ (Disengaged Functionalist) โดยมีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บริโภคจำนวน 42,000 คนทั่วโลกในทุกๆ ปี ซึ่งข้อมูลที่ได้จะสะท้อนให้เห็นถึงสภาพตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในทุกๆ สินค้าและทุกๆ ภูมิภาค

ผู้ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนทุกวันนั้นมีแนวโน้ม ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มกูรูผู้เผยแพร่เทคโนยีและกลุ่มผู้มีรายได้สูงที่มักซื้อสินค้าออกใหม่ ไอดีซีได้ให้นิยามของกลุ่มกูรูผู้เผยแพร่เทคโนโลยี ว่าเป็นผู้บริโภคที่มีการศึกษาและรายได้สูง มีความสนใจและมีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก รวมถึงมีลักษณะเป็นผู้นำทางความคิดที่มักมีผู้บริโภครายอื่นๆ มาขอคำแนะนำเสมอ ในขณะที่นิยามของกลุ่มผู้มีรายได้สูงที่มักซื้อหาสินค้าออกใหม่คือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมืองที่มีรายได้ที่ใช้จ่ายได้สูง และมักซื้อสินค้าที่ตนเองถูกใจโดยที่ไม่จำเป็นต้องทดลองใช้หรือขอความเห็นจากผู้อื่น โดยเกือบครึ่งของผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่เป็นผู้บริโภคใน 2 กลุ่มนี้คือผู้ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนทุกวัน ถือได้ว่าเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับผู้บริโภคกลุ่มอื่นๆ และนั่นทำให้ผู้บริโภคเหล่านี้กลายเป็นผู้บุกเบิกในเรื่องของการใช้การเชื่อมต่อแบบพกพาทุกวันนั่นเอง

View :1716

ระเบิดปรากฏการณ์ดนตรี “มันส์ขั้นเทพ” ทางเป๊ปซี่ไทยดอทคอม-เป๊ปซี่ไทยเฟสบุ๊ค

June 23rd, 2011 No comments

เป๊ปซี่ระเบิดปรากฏการณ์ดนตรี “มันส์ขั้นเทพ” บนโซเชียลเน็ตเวิร์คทาง www.pepsithai.com และ www..com/pepsithai คอมมิวนิตี้สุดฮอตของคนรุ่นใหม่ นำวงร็อคแนวหน้าอันดับ 1 ของเมืองไทย บอดี้สแลม ปะทะ ซักซี้ด วงดนตรีฮีโร่ห่วยขั้นเทพจากหนังดังสุดแนว ระเบิดปรากฏการณ์ “ดวลกัน…มันส์ขั้นเทพ” ออนไลน์ พลิกค่ายฝึกวิชาทหารให้เป็นเทศกาลดนตรีภาคสนาม เปิดประสบการณ์ดนตรีแปลกใหม่สนั่นเขาชนไก่ ผ่านวิดีโอคลิปภาพยนตร์โฆษณาชุด “มันส์ขั้นเทพ” จัดเต็มครบทุกเวอร์ชั่น พร้อมซี้ดสุดกับ Director Cut 90 วินาที และ Viral Version ที่นี่ที่เดียว ไม่เคยออนแอร์ที่ไหนมาก่อน

ทั้งนี้เมื่อเป๊ปซี่ปล่อยทีเซอร์ภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ทางสื่อออนไลน์ก็สร้างกระแสเป็นหนังโฆษณาที่มีคนพูดถึงและแชร์ถล่มทลายในเฟสบุ๊ค มียอดเข้าชมวิดีโอคลิปของหนังชุดนี้มากกว่า 20 ,000 วิดีโอวิวภายใน 24 ชั่วโมง และยอดเข้าชมทะลุ 1 6 0,000 วิดีโอวิว ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา พร้อมทั้งมีแฟนคลับกด Like เป๊ปซี่ไทยเฟสบุ๊คมากกว่า 120 ,000 คลิก

นอกจากความมันส์จากภาพยนตร์โฆษณาแล้ว คนรุ่นใหม่ยังได้สนุกขั้นเทพกับกิจกรรมและเกมมันส์ๆ อย่างจุใจ อาทิ เกมรวมพลกด Like ให้ศิลปินวงโปรด เกมพรางหน้าอาสาเป็นกองกำลังทางดนตรีกับเป๊ปซี่ ด้วยการเพ้นท์รูป Profile ลายทหารสุดเท่ คลิปสนุกๆ T-shirt War ท้าดวลเปลี่ยนเสื้อยืดลายดนตรีกับหนุ่มพีชและสาวแนทจาก วงซักซี้ดและปิดท้ายด้วยเกมดวลพลังเสียงสุดมันส์ชิงบัตรคอนเสิร์ต พร้อมลุ้นเสื้อยืดรุ่นลิมิเต็ดเอดิชั่นลายบอดี้สแลม ให้สาวกคนพันธุ์ร็อคได้ใส่ไว้ยืดได้เต็มที่ และเว็บคอมมูนิตี้สำหรับแฟนพันธุ์แท้เทศกาลคอนเสิร์ตภาคสนามกลางค่ายฝึก “มัน ไก่ มาก” ที่เขาชนไก่ มันส์ขั้นเทพขนาดนี้ แฟนเป๊ปซี่รีบรวมพลด่วนที่เป๊ปซี่ไทยดอทคอม หรือเป๊ปซี่ไทยเฟสบุ๊ค ไม่ว่าคุณจะมีเครื่องมือสื่อสารแนวไหน ก็เข้าไปร่วมสัมผัสความมันส์ขั้นเทพ ได้เต็มๆ

View :4082

เอไอเอสส่ง “Serenade Magazine” เปิดเทรนด์ใหม่ แจ้งเกิด “ดิจิตอล แมกกาซีน ” บนแท็บเล็ต

June 21st, 2011 No comments


เอไอเอส ฉีกกรอบ ครีเอทกลยุทธ์ CRM รูปแบบใหม่ แจ้งเกิด ดิจิตอล แมกกาซีนบนแท็บเล็ต ในชื่อ “ Magazine” นิตยสารไลฟ์สไตล์สำหรับคนรุ่นใหม่ ที่ตอบสนองทุกสไตล์การใช้ชีวิตด้วยสิทธิพิเศษหลากหลายจากเอไอเอส ซึ่งออกแบบด้วยเทคนิคพิเศษในการผลิต เน้นสร้าง Interactive Experience ให้กับผู้อ่าน พร้อมวางแผงบนดิจิตอลสโตร์ให้ลูกค้าและผู้ที่สนใจดาวน์โหลดฟรี ! ได้แล้ววันนี้ ในรูปแบบของแอพพลิเคชั่น รองรับทั้งบน iPad และ Android พร้อมยก เป็น Showcase แรกของวงการดิจิตอล แมกกาซีน ฉบับแรกและฉบับเดียวในภูมิภาคที่ผลิตโดยโอเปอร์เรเตอร์มือถือ หวัง สร้างเป็นอาวุธใหม่ เจาะใจผู้บริโภคยุคดิจิตอล

นางวิลาสินี พุทธิการันต์ รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานบริหารลูกค้าและการบริการ เอไอเอส เปิดเผยว่า “ เอไอเอสเราให้ความสำคัญและพิถีพิถันในการบริหารงานลูกค้า หรือ S ( Service ) หนึ่งใน Quality DNAs มาโดยตลอด ด้วยการมุ่งมั่นสรรหาสิทธิประโยชน์และสิทธิพิเศษหลากหลาย มอบให้กับลูกค้าของเอไอเอสทุกท่าน ผ่านโปรแกรมการดูแลลูกค้ารูปแบบต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และด้วยเทรนด์ของสมาร์ทเก็ทเจ็ทที่กำลังมาแรงและเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ทำให้เรามองเห็นช่องทางใหม่ในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย และส่งมอบสิทธิพิเศษจากเอไอเอส เพื่อให้สอดรับกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ยิ่งขึ้น

ล่าสุด เอไอเอสจึงได้สร้างสรรค์ดิจิตอลแมกกาซีนแนวใหม่ ภายใต้ชื่อ “Serenade Magazine” นิตยสารไลฟ์สไตล์สำหรับคนรุ่นใหม่ ที่ตอบสนองทุกสไตล์การใช้ชีวิตสุดอินเทรนด์ ที่มาพร้อมสุดยอดสิทธิพิเศษอันหลากหลายจากเอไอเอส ซึ่งออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อรองรับบนสมาร์ทเก็ทเจ็ท ทั้ง iPad และ Android เพื่อให้ผู้อ่านได้รับอรรถรสและความเพลิดเพลินเหมือนกำลังอ่านนิตยสารเล่มโปรดสักเล่ม โดยวางแผงบนดิจิตอลสโตร์เท่านั้น พร้อมเปิดให้ลูกค้าเอไอเอสและผู้ที่สนใจดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น “Serenade Magazine” ได้ฟรี ! แล้ววันนี้ ผ่านทาง App Store บน iPad 1 , iPad 2 และผ่านทาง Android Market สำหรับ Tablet อาทิ Samsung Galaxy Tab โดย Search คำว่า “Serenade Magazine”

“Serenade Magazine” เป็นดิจิตอลแมกกาซีนฉบับแรกและฉบับเดียวในภูมิภาคที่ผลิตโดยโอเปอร์เรเตอร์ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งเอไอเอสตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อเป็น Showcase แรกของวงการ ในการนำสื่อดิจิตอลมาพัฒนาเป็นเครื่องมือในการดูแลลูกค้า ( CRM ) ในรูปแบบที่แตกต่างจากเดิม ซึ่งนอกจากผู้อ่านจะได้รับสิทธิพิเศษสุดคุ้มพร้อมประสบการณ์ใหม่ๆ ในการใช้ชีวิตแล้ว ยังเป็นการสร้าง Value เพิ่มให้กับพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจที่ร่วมจัดแคมเปญสิทธิพิเศษกับเอไอเอสอีกด้วย “Serenade Magazine” นี้ถือเป็นการผสมผสานทั้ง 3 เรื่อง สิทธิพิเศษ, ไลฟ์สไตล์ และเทคโนโลยีเข้าด้วยกันอย่างลงตัวที่สุด ” วิลาสินีกล่าว

ด้านนายปรัธนา ลีลพนัง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานบริการเสริม เอไอเอส กล่าวเสริม “ ด้วยกระแสความนิยมของตลาด Tablet ที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วนั้น ส่งผลให้สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการสรรหาตามมาก็คือ Application ที่ตอบโจทย์ตรงใจต่อการใช้งาน และหนึ่งในเทรนด์ใหม่ที่มาแรงในขณะนี้ คือ ดิจิตอลแมกกาซีน ที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่มีรูปแบบการเปิดตัวข้อมูลข่าวสารเปลี่ยนไปตามลักษณะของดีไวซ์ข้างกาย

สำหรับ Serenade Magazine เล่มนี้ จึงไม่ได้เพียงอัดแน่นไปด้วยเนื้อหาคอนเทนต์ที่น่าสนใจเท่านั้น แต่ยังโดดเด่นและแตกต่างตรงที่มีความเป็น Interactive Experience มีการใส่ลูกเล่นและกิมมิคสนุกๆ มาเซอร์ไพรส์ผู้อ่านตลอดเวลา โดยใช้เทคนิคพิเศษในการผลิต ด้วยการซ่อนไฟล์ดิจิตอลประเภทต่างๆ ให้ผู้อ่านได้มี Interactive กับเนื้อหา ได้คลิกค้นหาออกมาชม, ฟัง และเล่นได้ในทุกๆ คอลัมน์ อาทิ คลิปหนัง, เพลง รวมถึง Google Map แผนที่เดินทางไปร้านอาหารที่แนะนำ

นอกจากนี้ ยังมีเทคนิคในการจัดวางเลย์เอาท์ ให้สามารถอ่านได้ทั้งแบบแนวนอนและแนวตั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับฟังก์ชั่นของ Tablet เอง อันเป็นการสร้างความแปลกใหม่ให้กับผู้อ่านด้วย ที่สำคัญ เมื่อโหลดมาเก็บไว้ที่เครื่องแล้ว จะเปิดอ่านที่ไหน เมื่อไรก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อออนไลน์ตลอดเวลา ยกเว้นเมื่อต้องการ Interactive เช่น เสิร์ช Google Map หรือเล่นเกมชิงรางวัล ต้องเชื่อมต่อเน็ตด้วย

ซึ่งปัจจุบัน เอไอเอสมีเครือข่ายที่มีศักยภาพและครอบคลุมมากที่สุด ทั้ง EDGE Plus, คลื่น 900 ด้วยความเร็วสูงสุด 21.6 Mbps. และล่าสุดกับเครือข่าย Wifi by -3BB ที่ครอบคลุมกว่า 25,000 จุดทั่วประเทศ ทำให้ปัจจุบันลูกค้าเอไอเอสมีเครือข่ายคุณภาพให้เลือกใช้งานได้อย่างหลากหลายตามความเหมาะสม เราจึงมั่นใจว่าผู้อ่าน Serenade Magazine ฉบับนี้ จะได้รับอรรถรสในการอ่านอย่างเต็มที่ สามารถเชื่อมต่อชีวิตออนไลน์ได้ทุกที่ ทุกเวลาที่ต้องการ ” นายปรัธนากล่าว

“ สำหรับโปรเจ็กท์ Serenade Magazine นี้เป็นการตอกย้ำการทำงานภายใต้แนวคิด Quality DNAs ที่สมบูรณ์แบบ เพราะต้องอาศัยศักยภาพความพร้อมทั้งในด้าน Device , Network , Application และ Service เข้าด้วยกัน ออกมาเป็นนวัตกรรมที่เติมเต็มไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่อย่างแท้จริง ” นางวิลาสินีกล่าวสรุป

Serenade Magazine เป็นนิตยสารราย 3 เดือน ฉบับแรกเป็นเล่มเดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2554 ในคอนเซ็ปท์ “ ความพิเศษเกิดขึ้นได้ทุกวัน ” ประกอบด้วยคอลัมน์ทั้งหมด 13 คอลัมน์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการกิน ดื่ม ช้อปปิ้ง แฟชั่น ท่องเที่ยว ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ และสมาร์ทเก็ทเจ็ท รวมถึงบทสัมภาษณ์ของสไตล์ไอคอนที่น่าสนใจ ที่หลากหลายและเต็มอิ่มมาก โดยในแต่ละคอลัมน์จะมีสิทธิพิเศษจากเอไอเอสสอดแทรกเข้าไปเพื่อให้ผู้อ่านได้รับทราบ อีกทั้งยังมีกิจกรรมสนุกๆ ให้ร่วมเล่นเพื่อลุ้นรางวัลท้ายเล่มอีกด้วย

View :1661