Archive

Archive for the ‘Software’ Category

เชค พอยต์ คาดการณ์แนวโน้มภัยคุกคามระบบรักษาความปลอดภัยในปี 2556

January 9th, 2013 No comments

โดย นายราลินแกม โซกาลินแกม ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียใต้
บริษัท เชค พอยต์ ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีส์ จำกัด

ในช่วงใกล้สิ้นปี 2555 และได้เวลาต้อนรับปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง คุณอาจกำลังจัดเตรียมแผนธุรกิจและแผนงานด้านไอทีประจำปี 2556 ของคุณไว้ให้พร้อม เช่นเดียวกับบรรดาอาชญากรไซเบอร์ก็กำลังเดินหน้าปรับใช้ภัยคุกคามที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้นโดยตั้งเป้าหมายไปที่ระบบคอมพิวเตอร์เฉพาะและองค์กรทั้งขนาดใหญ่และเล็ก

ในรอบปีที่ผ่านมา องค์กรธุรกิจต้องประสบกับปัญหาด้านการละเมิดและการเจาะระบบที่ร้ายแรงหลายอย่าง และแน่นอนว่าทั้งผู้โจมตีและองค์กรธุรกิจจะต้องพัฒนาอาวุธที่จะนำมาใช้ต่อกรระหว่างกันอย่างต่อเนื่องใน ปี 2556 โดยฝ่ายไอทีและผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยจะต้องสามารถเอาชนะกลวิธีและแนวทางต่างๆ ที่ แฮกเกอร์กำลังปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยจึงจะสามารถปกป้ององค์กรของตนได้

ต่อไปนี้คือภัยคุกคามและแนวโน้มของระบบรักษาด้านความปลอดภัยที่เราคาดว่าจะเกิดขึ้นในปีนี้

ภัยคุกคามที่ 1: วิศวกรรมสังคม

เริ่มต้นด้วยกลวิธีแบล็คแฮทที่มีรูปแบบท้าทายหรือเชื้อเชิญให้เหยื่อหลงเชื่อและดำเนินการตามที่ต้องการทั้งในโลกจริงและโลกดิจิทัล หรือที่เรียกว่า วิศวกรรมสังคม ก่อนที่ยุคคอมพิวเตอร์จะเฟื่องฟู สิ่งนี้หมายถึงการล่อลวงความลับของบริษัทด้วยการใช้วาจาที่แยบยล แต่ขณะนี้วิศวกรรมสังคมได้ย้ายเข้าสู่เครือขายสังคมออนไลน์แล้ว ซึ่งลุกลามไปถึง Facebook และ LinkedIn ด้วย

ปัจจุบันผู้โจมตีกำลังใช้เทคนิควิศวกรรมสังคมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งร้ายแรงเกินกว่าจะเพียงแค่ล่อลวงพนักงานที่ตกเป็นเป้าหมายให้บอกข้อมูลส่วนตัวออกมาเท่านั้น โดยในช่วงปีที่ผ่านมา บรรดาผู้โจมตีได้ใช้วิธีการติดต่อเข้าไปยังพนักงานต้อนรับและขอให้โอนสายไปยังพนักงานที่ตกเป็นเป้าหมาย เพื่อที่จะให้เห็นว่าการติดต่อนั้นเกิดขึ้นจากภายในองค์กร อย่างไรก็ตาม วิธีการดังกล่าวอาจไม่จำเป็นในกรณีที่รายละเอียดซึ่งอาชญากรไซเบอร์กำลังต้องการได้รับการโพสต์ไว้แล้วบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ จะเห็นได้ว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์กลายเป็นเครือข่ายที่น่าสนใจอย่างมาก เนื่องจากมีการเชื่อมโยงบุคคลและองค์กรต่างๆ เข้าด้วยกัน และแต่ละบุคคลก็มีเพื่อนหรือผู้ร่วมงานติดตามโปรไฟล์ของตนอยู่ในจำนวนที่มากพอที่จะสร้างให้เกิดกลลวงด้านวิศวกรรมสังคมขึ้นได้

ภัยคุกคามที่ 2: ภัยคุกคามแบบต่อเนื่องขั้นสูง (Advanced Persistent Threats : APT)

วิศวกรรมสังคมเป็นภัยคุกคามที่มีความสำคัญ เนื่องจากสามารถใช้เป็นรากฐานสำหรับการโจมตีขั้นสูงที่มีขีดความสามารถในการทะลุผ่านกำแพงความปลอดภัยขององค์กรเข้ามาได้ ในปีนี้มีการตรวจพบการโจมตีที่รับรู้กันในวงกว้าง ได้แก่ มัลแวร์ Gauss และ Flame ซึ่งเป็นมัลแวร์ที่ตั้งเป้าหมายการโจมตีไปที่องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน การโจมตีดังกล่าวเรียกว่า ภัยคุกคามแบบต่อเนื่องขั้นสูง (Advanced Persistent Threats: APT) มีความซับซ้อนในระดับสูงและได้รับการสร้างขึ้นมาอย่างพิถีพิถันโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ได้รับสิทธิ์ในการเข้าถึงเครือข่ายและทำการขโมยข้อมูลอย่างเงียบๆ ในลักษณะของการโจมตีแบบค่อยเป็นค่อยไป (low-and-slow) ที่มักจะยากต่อการตรวจจับ ทำให้โอกาสที่การโจมตีในรูปแบบนี้จะประสบผลสำเร็จจึงมีสูงมาก

นอกจากนี้ APT ไม่จำเป็นต้องพุ่งเป้าการโจมตีไปที่โปรแกรมที่มีชื่อเสียง เช่น Microsoft Word แต่สามารถกำหนดเป้าหมายไปที่พาหะอื่นๆ แทนได้ เช่น ระบบแบบฝังตัวต่างๆ จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์พกพาจำนวนมากที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน แต่การสร้างระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับการเข้าสู่ระบบขององค์กรนั้นกลับยังไม่ค่อยได้รับการตระหนักถึงเท่าใดนัก

ในขณะนี้เรากำลังพูดถึงสิ่งปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเครือข่ายของเราอยู่ การโจมตีแบบ APTก็ยังคงเดินหน้าจู่โจมหน่วยงานภาครัฐและองค์กรที่มีชื่อเสียงต่างๆ อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

ภัยคุกคามที่ 3: ภัยคุกคามภายใน

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าการโจมตีที่เป็นอันตรายที่สุดบางอย่างมักจะเกิดจากภายในองค์กรเป็นหลัก และสามารถสร้างความเสียหายได้ในระดับสูงสุดตามระดับสิทธิ์ที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและดำเนินการกับข้อมูลได้ จากการศึกษาภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐอเมริกา, ศูนย์ป้องกันภัยคุกคามภายในของ CERT จากสถาบันวิศวกรรมซอฟต์แวร์ของมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน และหน่วยตำรวจลับสหรัฐอเมริกา พบว่าบุคลากรภายในองค์กร (โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการเงิน) ที่กระทำความผิดสามารถรอดพ้นจากความผิดของตนได้ยาวนานเกือบ 32 เดือนก่อนที่จะได้รับการตรวจพบ แม้ว่าความไว้วางใจจะเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง แต่ความไว้วางใจมากเกินไปก็อาจทำให้คุณตกอยู่ในอันตรายได้เช่นกัน

ภัยคุกคามที่ 4: การใช้อุปกรณ์ส่วนตัว หรือ BYOD

ประเด็นด้านความไว้วางใจมีความสำคัญต่อโลกที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์มือถือเช่นกัน เนื่องจากองค์กรธุรกิจจำนวนมากกำลังพยายามที่จะปรับใช้นโยบายและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในลักษณะผสมผสานเพื่อจัดการกับปรากฏการณ์การนำอุปกรณ์ส่วนตัวเข้ามาใช้งาน (bring-your-own-device: BYOD) จะเห็นได้ว่าขณะนี้ผู้ใช้จำนวนมากกำลังใช้งานอุปกรณ์พกพาของตนในลักษณะเดียวกับพีซีมากขึ้น และสิ่งนี้กำลังเปิดรับการโจมตีผ่านเว็บเช่นเดียวกับที่พวกเขาพบเมื่อใช้คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปของตน

สำหรับผู้โจมตีแล้ว ดูเหมือนว่าจะมีความพยายามมากขึ้นที่จะหลีกเลี่ยงกลไกการตรวจจับและการตรวจสอบโปรแกรมที่ผู้จำหน่ายอุปกรณ์มือถือนำมาใช้ในการป้องกันลูกค้าของตน แต่การเพิ่มจำนวนของ iPhone, โทรศัพท์ Google Android และอุปกรณ์อื่นๆ ที่นำเข้ามาใช้ในที่ทำงานนั้น กำลังเปิดประตูอีกบานให้ผู้โจมตีเข้ามายังระบบได้ง่ายขึ้น โปรดระลึกไว้เสมอว่า สมาร์ทโฟนของคุณมีกล้อง มีไมโครโฟน และสามารถบันทึกการสนทนาได้ และแน่นอนว่าเมื่อคุณสมบัติเหล่านี้สามารถเข้าถึงเครือข่ายองค์กรของคุณได้ ก็อาจเป็นดาบสองคมสำหรับการรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์กรของคุณได้เช่นกัน

ภัยคุกคามที่ 5: การรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบคลาวด์

BYOD ไม่ใช่สิ่งเดียวที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบรักษาความปลอดภัยที่องค์กรจะต้องสร้างล้อมรอบข้อมูลที่สำคัญไว้ แต่ยังมีแนวโน้มที่เรียกว่าการประมวลผลแบบคลาวด์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากมีบริษัทเป็นจำนวนมาก (และมากขึ้นเรื่อยๆ) กำลังวางข้อมูลของตนไว้ในบริการคลาวด์สาธารณะเพิ่มมากขึ้น บริการเหล่านี้จึงตกเป็นเป้าหมายที่น่าสนใจ และอาจเป็นจุดสำคัญที่ทำให้องค์กรประสบปัญหาได้เช่นกัน สำหรับองค์กรธุรกิจแล้ว ระบบรักษาความปลอดภัยยังคงเป็นส่วนสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงเมื่อต้องเจรจากับผู้ให้บริการระบบคลาวด์ และเป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรธุรกิจจะต้องทำให้เกิดความชัดเจนที่สุดด้วย

ภัยคุกคามที่ 6: HTML5

การนำการประมวลผลแบบคลาวด์เข้ามาใช้งานได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการโจมตีไปอย่างมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการนำ HTML5 เข้ามาใช้งานนั่นเอง จากงานประชุมแบล็กแฮทในช่วงต้นปีนี้ ซึ่งเป็นเวทีที่รวมบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยมาไว้ด้วยกันนั้น ทำให้เราได้รับทราบถึงสัญญาณการโจมตีที่จะเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และพบด้วยว่าความสามารถด้านการรองรับการทำงานข้ามแพลตฟอร์มของ HTML5 และการผสานรวมของเทคโนโลยีต่างๆ ได้เปิดโอกาสให้เกิดการโจมตีใหม่ๆ ขึ้น เช่น การใช้ฟังก์ชั่น Web Worker ในทางที่ไม่ถูกต้อง แม้ว่าจะมีความระมัดระวังในการใช้งาน HTML5 มากขึ้น แต่เนื่องจากสิ่งนี้เป็นสิ่งใหม่ จึงมีโอกาสที่นักพัฒนาจะดำเนินการผิดพลาดและเปิดช่องให้ผู้โจมตีจะใช้ประโยชน์จากความผิดพลาดดังกล่าวได้ ดังนั้น เราจึงจะได้พบการโจมตีที่พุ่งเป้าไปที่ HTML 5 เพิ่มขึ้นในปีหน้าอย่างแน่นอน แต่ก็คาดหวังว่าจะค่อยๆ ลดลงเมื่อมีการปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยให้ดียิ่งขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

ภัยคุกคามที่ 7: บ็อตเน็ต

แม้ว่าการแข่งขันพัฒนาอาวุธป้องกันระหว่างนักวิจัยและผู้โจมตีจะนำไปสู่นวัตกรรมเป็นจำนวนมาก แต่ก็คาดกันว่าอาชญากรไซเบอร์จะทุ่มเทเวลาอย่างหนักเพื่อพัฒนาสิ่งที่ดีที่สุด เช่น การทำให้แน่ใจว่าบ็อตเน็ตของตนจะมีความพร้อมใช้งานและสามารถแพร่กระจายได้ในระดับสูง ขณะที่มาตรการจัดการที่นำเสนอโดยบริษัทต่างๆ เช่น ไมโครซอฟท์ ก็อาจทำได้เพียงแค่หยุดการทำงานของสแปมและมัลแวร์ได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจากผู้โจมตีไม่ได้หยุดที่จะเรียนรู้เทคนิคการจัดการดังกล่าว อีกทั้งยังได้นำสิ่งที่เรียนรู้ได้มาเสริมความสมบูรณ์ให้กับอาวุธร้ายของตนด้วย และแน่นอนว่าบ็อตเน็ตจะยังคงอยู่ที่นี่ตลอดไป

ภัยคุกคามที่ 8: มัลแวร์ที่มีเป้าหมายอย่างแม่นยำ

ผู้โจมตีกำลังเรียนรู้ขั้นตอนต่างๆ ที่นักวิจัยใช้ในการวิเคราะห์มัลแวร์ และแนวทางนี้ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าผู้โจมตีสามารถพัฒนามัลแวร์ที่สามารถหลบหลีกการตรวจวิเคราะห์ได้อย่างดีเยี่ยม ตัวอย่างของการโจมตีเหล่านี้ รวมถึง Flashback และ Gauss โดยมัลแวร์ทั้งสองสายพันธุ์นี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยเฉพาะ Gauss ที่สามารถหยุดนักวิจัยไม่ให้ดำเนินการวิเคราะห์มัลแวร์ได้โดยอัตโนมัติ และในปีที่กำลังจะมาถึงนี้ ผู้โจมตีจะยังคงเดินหน้าปรับปรุงและปรับใช้เทคนิคเหล่านี้ รวมทั้งยังจะพัฒนาให้มัลแวร์ของตนมีความซับซ้อนยิ่งขึ้นเพื่อที่จะได้สามารถพุ่งเป้าโจมตีไปที่คอมพิวเตอร์ที่มีการกำหนดค่าไว้อย่างเฉพาะได้

สิ่งที่แน่นอนสำหรับปี 2556 ก็คือจะมีการโจมตีและการแพร่ระบาดของมัลแวร์ผ่านทางพาหะที่ครอบคลุมเครือข่ายสังคมไปจนถึงอุปกรณ์มือถือของพนักงานในองค์กร เนื่องจากการรักษาความปลอดภัยสำหรับคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการจะยังคงได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับเทคนิคใหม่ๆ ของอาชญากรไซเบอร์ที่พยายามเลี่ยงผ่านการป้องกันเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม เหตุผลสำคัญกว่านั้นก็คือการสร้างโซลูชั่นความปลอดภัยเดียวที่สามารถจัดการภัยคุกคามต่างๆ ได้อย่างครอบคลุมที่เรากำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้

View :1501

ซิป้าพร้อมหนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย แนะใช้เทคโนโลยีคลาว์ดขยายศักยภาพและโอกาส

December 19th, 2012 No comments

กรุงเทพฯ 19 ธันวาคม 2555 : หรือ ขานรับนโยบายรัฐพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้เติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมยกระดับภาพรวมและขยายรายได้การท่องเที่ยวไทย ด้วยโครงการ Cloud Studio: Tourism Solutions โดยเดินสายแนะนำซอฟต์แวร์โซลูชั่นและเทคโนโลยีคลาว์ดแก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวใน 9 เมืองด้านท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ เกิดมูลค่าทางธุรกิจกว่า 100 ล้านบาท นับเป็นมิติใหม่ในการรวมตัวของภาครัฐ ภาคเอกชน กลุ่มภาคธุรกิจด้านท่องเที่ยว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญถึงการส่งเสริมการนำซอฟต์แวร์ไปใช้ขยายศักยภาพการแข่งขัน โดย Tourism เป็นหนึ่งใน 6 อุตสาหกรรมหลักที่ซิป้าส่งเสริมพัฒนาซอฟต์แวร์โซลูชั่นและการให้บริการซอฟต์แวร์ (Software as a Services) อย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม

นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า “ยอมรับว่าซอฟต์แวร์มีบทบาทอย่างมากกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมในปัจจุบัน โดยซิป้าได้วางเป้าหมายที่จะพัฒนาซอฟต์แวร์โซลูชั่นและการให้บริการซอฟต์แวร์เพื่อรองรับ 6 อุตสาหกรรมหลัก คือ Tourism, Logistics, Food & Agriculture, Healthcare, Education และ Jewelry อันเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่สร้างรายได้แก่ประเทศหรือเป็นภาคส่วนที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพประชากรไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักที่นำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก ประกอบกับนโยบายรัฐบาลที่ประกาศให้ปี พ.ศ. 2554 – 2555 เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year) ซิป้าจึงร่วมกับสมาคมส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย จัดกิจกรรม Road Show ภายในประเทศ ภายใต้ชื่อโครงการ Cloud Studio: Tourism Solutions ด้วยแนวคิด ขับเคลื่อนท่องเที่ยวไทยด้วยคลาว์ด” เป็นการนำซอฟต์แวร์ด้านการท่องเที่ยวที่พัฒนาโดยผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยและให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตไปเผยแพร่และแนะนำให้เป็นที่รู้จักในแวดวงธุรกิจการท่องเที่ยวที่ครอบคลุมธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท บริษัททัวร์ สปา ร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยว รถเช่า ในจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวรวม 9 เมือง ได้แก่ พัทยา เชียงใหม่ เขาใหญ่ ภูเก็ต หัวหิน เกาะสมุย กาญจนบุรี อุดรธานี และกรุงเทพฯ โดยที่จุดเด่นของการให้บริการซอฟต์แวร์ผ่านคลาวด์เทคโนโลยีคือผู้ใช้ไม่ต้องจัดหาระบบซอฟต์แวร์เอง เพียงแต่ขอใช้ในลักษณะเป็นบริการและจ่ายเงินตามปริมาณการใช้งาน ผู้ประกอบการท่องเที่ยวไม่ต้องลงทุนมาก ขณะนี้ได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้รับการตอบรับอย่างดี และเกิดมูลค่าทางธุรกิจมากกว่า 100 ล้านบาท”

“กิจกรรม Road Show ภายในประเทศ Cloud Studio: Tourism Solutions เป็นหนึ่งในกิจกรรมเชิงรุกด้านการตลาดของซิป้าที่ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยการจัดงานแต่ละครั้งจะประกอบด้วยสัมมนาสำหรับผู้บริหารและด้านเทคนิค การแสดงโซลูชั่นด้านการท่องเที่ยวโดยผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย การ Networking การสาธิตการใช้ซอฟต์แวร์ (Demonstration) และการเข้าพบสมาคม หน่วยงานด้านการท่องเที่ยว ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างการรับรู้ของตลาดด้านเทคโนโลยีคลาว์ดแก่ธุรกิจท่องเที่ยวแล้ว ซิป้ายังมีบทบาทในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย และกิจกรรมนี้ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเห็นความสำคัญของซอฟต์แวร์ที่สามารถเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและขยายโอกาสด้านการตลาด” นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว กล่าวเพิ่มเติม

ดร.พีรสันต์ บุณยคุปต์ นายกสมาคมส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย กล่าวถึงการจัดกิจกรรมครั้งนี้ว่า “สมาคมส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยได้ร่วมดำเนินโครงการ Cloud Studio: Tourism Solutions กับซิป้า โดยนำซอฟต์แวร์ไทยด้านการท่องเที่ยวที่พัฒนาโดยผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยไปร่วมแสดงในการจัดงานแต่ละครั้ง และแบ่งออกเป็น 4 โซน ได้แก่ Hotel Solutions, Travelling, Spa & Restaurant และ Mobility and Digital Marketing เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนในโซลูชั่นที่สนใจ โดยได้รับผลตอบรับเป็นที่น่าพึงพอใจ และเนื่องจากแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน ความสนใจด้านโซลูชั่นและแนวทางการตลาดจึงแตกต่างกันไป กิจกรรมครั้งนี้นอกจากจะทำให้พบกับกลุ่มผู้ซื้อแล้ว ยังช่วยให้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยได้เห็นช่องทางการตลาดและภาพรวมของพื้นที่แต่ละแห่งชัดเจนขึ้น” ซึ่งผู้ประกอบการแต่ละรายมีลูกค้าให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามจะต้องติดตามในการให้บริการลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ในปี 2555 ซิป้าได้นำผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยร่วมแสดงโซลูชั่นภายในงานด้านการท่องเที่ยวและด้านเทคโนโลยีคลาว์ดในต่างประเทศ รวมทั้งสิ้น 4 งาน ได้แก่ งาน 3rd Cloud Computing Expo ณ ประเทศญี่ปุ่น งาน Malaysian International Tourism Exchange ณ ประเทศมาเลเซีย งาน JATA Tourism Forum &Travel Showcase ณ ประเทศญี่ปุ่น และงาน ITB ณ ประเทศสิงคโปร์ และเป็นที่น่าสนใจว่าซอฟต์แวร์โซลูชั่นของไทยเป็นที่รู้จักและเกิดการยอมรับในตลาดต่างประเทศโดยเกิดมูลค่าซื้อขายทางธุรกิจ ประมาณ 328 ล้านบาท ซึ่งหากรวมกับมูลค่าส่วนตลาดในประเทศ มูลค่ารวมของตลาดของซอฟต์แวร์ด้านท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมมีมากกว่า 428 ล้านบาท

View :1585

ซิป้าและเอทีซีไอหนุนนักพัฒนาซอฟท์แวร์ไทย คว้าชัย 4 รางวัลระดับเอเชียแปซิฟิก

December 18th, 2012 No comments

3 นักพัฒนาซอฟท์แวร์ตัวแทนประเทศไทย บ.อีคาร์ทสตูดิโอ บ.อรุณสวัสดิ์ดอทคอม ร.ร.เซนต์ฟรังส์ซิสเวียร์ คว้าชัย 2 รางวัลชนะเลิศ และ 2 รางวัลรองชนะเลิศ ในการประกวดซอฟท์แวร์ในระดับเอเชียแปซิฟิก

รางวัลชนะเลิศ คือ หมวด Financial Industry Application เป็นผลงานของ บริษัท อรุณสวัสดิ์ดอทคอม จำกัด


สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ () และสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย(ATCI) เผยถึงการส่งตัวแทนประเทศไทยในการเข้าร่วมประกวดซอฟท์แวร์ระดับเอเชียแปซิฟิก ในงาน Asia Pacific ICT Awards 2012 เมื่อวันที่ 2 – 5 ธันวาคม ที่ผ่านมา ณ ประเทศบรูไน ว่า การประกวดในครั้งนี้ ทีมผู้เข้าแข่งขันจากประเทศไทย ได้รับรางวัลมากถึง 4 รางวัล โดยรางวัลที่ได้รับ ได้แก่

รางวัลชนะเลิศ 2 รางวัล คือ หมวด Tools & Infrastructure เป็นผลงานของ บริษัท อีคาร์ทสตูดิโอ จำกัด ชื่อผลงานที่ชนะเลิศ คือ Location Based Information System (LBIS) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการข้อมูลบนระบบแผนที่ออนไลน์เพื่อช่วยสนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์ และการตัดสินใจของผู้บริหารโดยสามารถวิเคราะห์ช้อมูล นำเสนอภาพรวมและดูรายละเอียดแต่ละจุดได้ถูกต้อง สามารถรองรับการทำงานระบบ Cloud ของ Microsoft ช่วยให้ขยายธุรกิจสู่ Global Network ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอีก 1 รางวัลชนะเลิศ คือ หมวด Financial Industry Application เป็นผลงานของ บริษัท อรุณสวัสดิ์ดอทคอม จำกัด ชื่อผลงานชนะเลิศ I lert u anywhere to claim เป็นระบบงานที่พัฒนามาตั้งแต่ปี 2003 เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในธุรกิจประกันภัย ปัจจุบันเป็น version 4.0 สามารถรองรับ Cloud Computing ได้

รางวัลรองชนะเลิศ 2 รางวัล ได้แก่ หมวด Secondary Student Projects ชื่อเป็นผลงานจาก โรงเรียนเซนต์ฟรังส์ซิสเวียร์ ชื่อผลงาน The Rescue เป็นเกมส์ที่ใช้ภาพกราฟฟิค และ Animation ที่สวยงาม สดใส และน่าสนใจ ประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม เมตตากรุณา จิตอาสา ความอดทน และความพยายามในการแก้ปัญหา เหมาะสมกับทุกเพศทุกวัย และ หมวด e-Inclusion เป็นผลงานของ บริษัท อรุณสวัสดิ์ดอทคอม จำกัด ชื่อผลงานได้รับรางวัล I lert u 1st Thailand Mobile SOS ที่เป็น Social Mobile Locationสำหรับประชาชนทุกคน ใช้คุ้มกันและป้องกันการดูแลประชาชน เป็นระบบเตือนภัย และขอความช่วยเหลือ สามารถเชื่อมโยงกับ Facebook, Twitter และ Social Network ต่างๆ และสามารถเชื่อมโยงศูนย์การช่วยเหลือต่างๆ เข้ากับระบบ Mobile Application และเชื่อมโยงกับบริษัทประกันภัยและโรงพยาบาล

โดยก่อนหน้านี้ซิป้าและเอทีซีไอได้เปิดโอกาสให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยแสดงความสามารถในเวทีแข่งขันระดับประเทศ Thailand ICT Awards 2012 หรือ TICTA 2012 เฟ้นหาและรวบรวมผลงานสุดยอดซอฟท์แวร์ที่เป็นประโยชน์และใช้งานได้จริง นำมาต่อยอดด้วยการสนับสนุนเข้าแข่งขันต่อในระดับเอเชียแปซิฟิกในงาน APICTA Awards 2012 ซึ่งเป็นเวทีที่ถือได้ว่าเป็นการการันตีศักยภาพนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทย

รางวัลรองชนะเลิศ 2 รางวัล ได้แก่ หมวด Secondary Student Projects ชื่อเป็นผลงานจาก โรงเรียนเซนต์ฟรังส์ซิสเวียร์


การจัดเวทีประกวด TICTA 2012 เปรียบเสมือนเวทีระดับประเทศสำหรับกลุ่มนักคิด นักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทย เพื่อแสดงศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและซอฟต์แวร์ ซึ่งเวทีแข่งขัน TICTA Award จะเป็นเวทีแรกที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยได้มีโอกาสในการแสดงผลงาน และภายหลังจากได้รับการคัดเลือกจากเวทีแข่งขันระดับประเทศแล้ว ซิป้าและเอทีซีไอได้มีการต่อยอด ส่งเสริมนักคิด นักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยให้ก้าวต่อไป โดยการส่งเข้าประกวดในเวทีการแข่งขันระดับเอเซียแปซิฟิก APICTA Awards 2012 ซึ่งเป็นการแข่งขันที่รวบรวมผลงานสุดยอดซอฟต์แวร์จากประเทศสมาชิก มาร่วมประกวดระดับนานาชาติ และยังเป็นการแข่งขันที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งครั้งนี้ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 – 5 ธันวาคม ที่ผ่านมา ณ ประเทศบรูไน

ซิป้าและเอทีซีไอเชื่อมั่นว่า หากนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทย ได้รับการสนับสนุนและผลักดันด้านต่างๆ จะเป็นส่วนสำคัญที่ประกาศศักยภาพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ ให้ได้รับการยอมรับในเวทีสากล

View :2081

บลูโค้ทเผยโฉมโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยชั้นยอด ทำให้การนำอุปกรณ์และแอพพลิเคชั่น โมบายต่างๆมาใช้งานในองค์กรปลอดภัยยิ่งขึ้น

December 1st, 2012 No comments

บริการใหม่ที่ช่วยให้พนักงานเข้าถึงข้อมูลและเครือข่ายที่ต้องการ ขณะที่องค์กรได้รับ การรักษาความปลอดภัย

กรุงเทพฯ – ประเทศไทย–29 พฤศจิกายน, 2555 – บริษัท บลูโค้ท ซิสเต็มส์ ผู้นำด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับเว็บและโซลูชั่นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบ WAN ประกาศเปิดตัว Blue Coat Mobile Device Security (MDS) บริการที่ช่วยให้ธุรกิจขยายขอบเขตการรักษาความปลอดภัยครอบคลุมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ iOS ได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในเครือข่าย โดยบริการ MDS เป็นส่วนหนึ่งของบริการระบบคลาวด์ที่อยู่ในรูปแบบ security-as-a-service จะช่วยลดช่องว่างด้านการรักษาความปลอดภัย เพราะที่ผ่านมาธุรกิจไม่สามารถควบคุมการใช้งานแอพพลิเคชั่นผ่านเว็บบราวเซอร์ของอุปกรณ์โมบายได้ สิ่งผลให้องค์กรต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากภัยคุกคามผ่านเว็บและอินเทอร์เน็ต

“นักออกแบบของเราทำงานอยู่บนโลกออนไลน์ตลอดเวลา เรามีการติดต่อกับลูกค้าผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ รวมถึงติดตามสไตล์และแนวโน้มการออกแบบใหม่ๆ อย่างใกล้ชิด การสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับการทำงานคือภารกิจที่สำคัญของผมและทีมงาน“ นายจอห์น เนเวนเนอร์ ผู้จัดการฝ่ายไอที บริษัท แคนโทนิ (Cantoni) ซึ่งเป็นบริษัทให้คำปรึกษาด้านการออกแบบให้กับโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์แนวโมเดิร์นทั่วอเมริกากล่าวและว่า “บริการของบลูโค้ทช่วยให้พนักงานของเราปลอดภัยจากภัยคุกคามต่างๆ ไม่ว่าจะทำงานจากสำนักงานหรืออยู่ที่โชว์รูม ซึ่งเราก็ต้องการขยายการป้องกันนี้ไปใช้งานไม่ว่าเราจะทำงานอยู่ที่ไหนก็ตาม”

ปัจจุบันธุรกิจมีการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบรับต่อกระแสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ด้วยการนำอุปกรณ์โมบายต่างๆมาใช้งาน กระแสการนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ในองค์กร (Bring Your Own Device : BYOD) เพื่อให้พนักงานสามารทำงานได้ยืดหยุ่น มากขึ้น รวมถึงการอนุญาตให้แขกผู้มาติดต่อ คู่ค้า หรือลูกค้านำอุปกรณ์ของตนเองมาใช้งานในองค์กรได้ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างใกล้ชิด เช่นเดียวกับแนวโน้มการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ที่มีการขยายสภาพแวดล้อมการทำงานไปสู่อุปกรณ์โมบายมากขึ้นด้วยเช่นกัน

สิ่งเหล่านี้ทำให้องค์กรต้องเผชิญและจัดการกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น 3 รูปแบบหลักๆ ได้แก่

1.ภัยคุกคามจากเว็บและอินเทอร์เน็ต 2. การสูญหายของข้อมูลจากการใช้งานแอพพลิเคชั่นปรกติและแอพพลิเคชั่นบนเว็บบราวเซอร์ของอุปกรณ์โมบาย และ 3. การหลีกเลี่ยงนโยบายความปลอดภัยของพนักงานบริการ MDS ของบลูโค้ทจะทำงานในระดับเครือข่ายและอุปกรณ์ เพื่อเสริมการปกป้องและควบคุมที่มีใช้งานอยู่ในสำนักงานใหญ่ไปสู่อุปกรณ์โมบายของพนักงานไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ใดก็ตาม ซึ่งการทำให้อุปกรณ์ โมบายต่างๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมในองค์กรได้นั้น ต้องอาศัยคุณสมบัติที่สำคัญ 3 ประการได้แก่
การป้องกันขั้นสูง (Advanced Defenses) : บริการ MDS ทำงานภายใต้ระบบป้องกันภัยคุกคาม WebPulse และการป้องกันก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น (Negative Day Defense) ของบลูโค้ท เพื่อปกป้องจากภัยคุกคามก่อนที่จะเกิดขึ้น ซึ่งมีเป้าหมายอยู่ที่คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค เดสก์ท็อป สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตของผู้ใช้การควบคุมแอพพลิเคชั่นและการทำงานแบบละเอียด (Granular Application and Operation Controls): สิ่งที่บริการ MDS ต่างจากโซลูชั่นสำหรับอุปกรณ์โมบายทั่วไปคือ โซลูชั่นทั่วไปจะบล็อกการทำงาน โมบายแอพพลิเคชั่นและไม่สามารถควบคุมการทำงานของแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ของอุปกรณ์โมบายได้ แต่บริการ MDS สามารถควบคุมแอพพลิเคชั่นและการทำงานแบบละเอียดครอบคุลมทั้งโมบายแอพพลิเคชั่นปรกติและแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานผ่านโมบายเว็บบราวเซอร์ ซึ่งการควบคุมแอพพลิเคชั่นแบบละเอียดนี้ช่วยให้องค์กรกำหนดนโยบายการใช้งานที่ยืดหยุ่น ป้องกันการทำข้อมูลสูญหายโดยไม่ตั้งใจ

กำหนดนโยบายตามบริบท (Contextual Policies) : เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างความต้องการในการเข้าถึงระบบเครือข่ายของพนักงานและความต้องการในการรักษาความปลอดภัยของธุรกิจ บริการ MDS มาพร้อมกับกรอบการกำหนดนโยบายอันชาญฉลาด ที่ทำให้องค์กรสามารถกำหนดนโยบายรักษาความปลอดภัยและใช้งานตามผู้ใช้ อุปกรณ์ สถานที่ หรือชนิดของข้อมูล อันช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดนโยบายที่เหมาะสมทั้งกับการใช้งานของบุคคลและธุรกิจได้โดยยังคงการรักษาความปลอดภัยที่เข้มแข็ง

“ การทำงานขององค์กรยุคใหม่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในสำนักงานเท่านั้น แต่ต้องสามารถทำงานได้จากทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นสนามบิน ร้านกาแฟ หรือที่ใดก็ได้ที่พนักงานต้องการ การจะทำแบบนี้ได้ องค์กรต้องผสานรวมอุปกรณ์โมบายต่างๆ เข้ากับสภาพแวดล้อมระบบเครือข่ายขององค์กรอย่างลงตัว รวมถึงขยายการปกป้องและควบคุมนโยบายรักษาความปลอดภัยไปสู่อุปกรณ์เหล่านี้ด้วย “ นายคริสเตียน คริสเตียเซ่น รองประธานฝ่ายโปรแกรมและรักษาความปลอดภัย บริษัท ไอดีซี กล่าวและว่า “ความต้องการเข้าถึงระบบเครือข่ายทำให้ฝ่ายไอทีต้องพบกับความท้าทายในการบริหารจัดการอุปกรณ์ปลายทางในระดับหลายร้อยหรือหลายพันชิ้น ขณะเดียวกันก็ต้องจัดหาการรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุมและยืดหยุ่นสำหรับอุปกรณ์เหล่านี้ด้วย ”

บริการ MDS จากบลูโค้ทจะให้บริการผ่านทาง Blue Coat Cloud Service ซึ่งประกอบขึ้นจากโครงสร้างพื้นฐานระดับเอ็นเทอร์ไพรซ์ ซึ่งจะมอบประสิทธิภาพและการขยายเพิ่มเติม โดยมีการรับประกันระดับการให้บริการ (Service Level Guarantee) สูงถึง 99.999 เปอร์เซ็นต์

“อุปกรณ์โมบายต่างๆ กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างมากในองค์กร แต่ปัจจุบันผู้อุปกรณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่กลับไม่ได้รับการปกป้องจากความเสี่ยงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภัยคุกคามจากเว็บ การสูญหายของข้อมูลจากการใช้งานแอพพลิเคชั่นผ่านเว็บบราวเซอร์ของอุปกรณ์โมบาย” นายโจนาธาน แอนเดอร์สัน ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ผลิตภัณฑ์ ประจำภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก บริษัท บลูโค้ท ซิสเต็มส์ อิงค์ กล่าวและว่า “บริการ Mobile Device Security จาก บลูโค้ทช่วยขยายขอบเขตการปกป้องและควบคุมนโยบายที่มีอยู่ในระบบเครือข่ายขององค์กรไปสู่อุปกรณ์โมบายต่างๆ อันช่วยให้ธุรกิจมั่นใจได้ว่าทั้งผู้ใช้และข้อมูลได้ถูกปกป้องแล้วเช่นกัน”

บริการ MDS เป็นองค์ประกอบใหม่ล่าสุดของโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยแบบรวมศูนย์ Blue Coat Unified Security ซึ่งจะมอบการป้องกันภัยคุกคาม​แบบร่วมมือกัน​โดย​ผู้​ใช้ทั่ว​โลก (Global Threat Defense) การกำหนดน​โยบายที่สามารถครอบคลุม​ได้ทุกจุด (Universal Policy) ​และ​การรายงาน​แบบรวมศูนย์ (Unified Reporting) ของผู้ใช้ในแต่ละอุปกรณ์ โซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยแบบรวมศูนย์ (Unified Security) ประกอบด้วยอุปกรณ์ Blue Coat Secure Web Gateway และอุปกรณ์เสมือน (virtual appliances) และบริการในรูปแบบคลาวด์ Blue Coat Cloud Service ซึ่งจะมอบการรักษาความปลอดภัยในระดับที่องค์กรต้องการ

การวางจำหน่าย
บริการ Blue Coat Mobile Device Security จะเปิดให้บริการในวันที่ 10 ธันวาคม

View :1205

ผู้อำนวยการ SIPA เผย 3 เดือนผลงานคืบหน้า เตรียมเดินหน้าเต็มที่โครงการปี 2556

November 7th, 2012 No comments

ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ ()


นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติหรือ SIPA แถลงการทำงาน 3 เดือนแรกผลงานคืบหน้า นำพาองค์กรส่งมอบเคพีไอ 4.34 ให้ ก.พ.ร. พร้อมจัดทัพบุคลากรและแผนงานปี 2556 ลงตัวพร้อมเดินหน้าส่งเสริมอุตสาหกรรมเต็มที่

นายไตรรัตน์ เปิดเผยว่า จากการเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมวอฟต์แวร์แห่งชาติ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2555 ที่ผ่านมา ขณะนี้ได้ครบกำหนด 3 เดือนแรกของการทำหน้าที่แล้ว ซึ่งเมื่อครั้งเข้ารับตำแหน่งได้ระบุแผนการดำเนินงานในช่วง 3 เดือนแรกของการทำงานว่าจะเป็นการเร่งรัดงานตามวัตถุประสงค์เดิมของปีงบประมาณ 2555 ให้ลุล่วงตามตัวชี้วัด ซึ่งถือเป็นงานหลักในช่วงระยะ 3 เดือนแรก โดยในช่วงดังกล่าวนี้สิ่งที่จะดำเนินการควบคู่ไปคือปรับการบริหารงานภายในทั้งหมดเพื่อให้เข้ากับยุทธศาสตร์ของ SIPA และเสริมการสร้างอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้พร้อมรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้มากขึ้นตามแผนงานระยะยาวที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นที่น่าพอใจว่าการดำเนินการดังกล่าวสามารถดำเนินการได้สำเร็จลุล่วง โดยขณะนี้ SIPA ได้รับผลการประเมินการปฏิบัติงานในปี 2555 จาก ก.พ.ร. อย่างไม่เป็นทางการในคะแนนที่ 4.34 แล้ว นอกจากนี้การดำเนินการในส่วนของการปรับปรุงการบริหารงานภายในก็สามารถดำเนินการได้เรียบร้อยเกือบครบทุกส่วน และที่สำคัญสามารถดำเนินการปรับการจ้างงานเจ้าหน้าที่ในองค์กรเป็นระบบสัญญาจ้างได้ลุล่วงหลังจากเรื่องนี้เป็นที่ค้างคามาเป็นเวลานาน และเป็นภารกิจหลักเรื่องแรกๆที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริหารให้ดำเนินการให้ลุล่วง ซึ่งประเด็นนี้ตนเองได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากเจ้าหน้าที่ของ SIPA ทุกคน
สำหรับภารกิจในลำดับต่อจากนี้ไป จะต้องเข้าสู่การขับเคลื่อนงานของปีงบประมาณ 2556 ให้เดินหน้าอย่างรวดเร็ว เพราะขณะนี้ในภาครัฐถือว่าเริ่มต้นการทำงานในปีงบประมาณใหม่แล้ว และขณะนี้โครงการหลักของ SIPA ก็ได้รับการอนุมัติแผนงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลายโครงการขณะนี้ได้เริ่มเดินหน้าแผนกิจกรรมในรายละเอียดแล้ว ส่วนบางโครงการกำลังอยู่ระหว่างปรับรายละเอียดเพิ่มเติม แต่มั่นใจว่าทั้งหมดจะสามารถดำเนินการได้ก่อนสิ้นปี 2555 นี้ จากเดิมได้กำหนดไว้ว่าในช่วง6 เดือนจะเน้นไปที่เรื่องของการสร้างตลาดภายในประเทศ พร้อมทั้งเร่งดำเนินมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเงินทุน, องค์ความรู้, การวิจัย, การตลาด โดย SIPA จะเน้นการทำงานร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง, หน่วยงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง, หน่วยงานในสังกัดกระทรวงไอซีที ซึ่งขณะนี้งานทั้งหมดมีความคืบหน้าไปมากในหลายส่วน และได้เข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการต่างๆของกระทรวงไอซีที ตามความเหมาะสมในแต่ละเรื่องที่จะต้องทำ รวมไปถึงการเร่งสร้างมาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ตามนโยบายของกระทรวงไอซีที โดยในด้านเงินทุนนั้น ธุรกิจซอฟต์แวร์จะแตกต่างจากภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีการลงทุนเป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่ จึงได้มีการสร้างความเข้าใจให้กับหน่วยงานที่สนับสนุนด้านการลงทุน เช่นสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และสถาบันการเงินต่างๆ เกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจซอฟต์แวร์ โดยชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการได้รับสินเชื่อ ซึ่งปัจจุบัน มีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนรวมกว่า 900 โครงการ และได้รับการอนุมัติเกือบทั้งหมด รวมเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านบาท ขณะเดียวกัน ก็ได้มีความร่วมมือกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME Bank ในการปล่อยเงินกู้เพื่อสร้างประสิทธิภาพให้กับผู้ใช้ซอฟต์แวร์ด้วย

ขณะเดียวกันยังได้มีการหารือกับตลาดหลักทรัพย์เพื่อผลักดันให้ธุรกิจซอฟต์แวร์เข้าไปลงทุนในตลาดหลัก ทรัพย์ทั้ง SET และ MAI มากขึ้น ซึ่งการที่จะเข้าไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ให้ประสบความสำเร็จนั้น ผู้ประกอบการด้านซอฟต์แวร์จะต้องสามารถแสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องของรายได้อย่างเป็นรูปธรรม มีสัญญาซื้อขายระยะยาว มีบริการหลังการขายที่ดี รวมถึงมีการบริหารจัดการทรัพยากรทั้งด้านบุคคล และเครื่องมือเครื่องใช้ในสำนัก งานอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้บริษัทที่ต้องการเข้าไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์จำเป็นปรับตัวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไปด้วย โดยในปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์หลายรายที่ประสบความสำเร็จ

นายไตรรัตน์ กล่าวว่า การสร้างมูลค่าให้แก่ทรัพย์สินทางปัญญา ก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องเดินหน้าต่อ เพราะผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไม่นิยมจดทะเบียนสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้นการส่งเสริมให้มีการจดทะเบียนสิทธิบัตรทางปัญญา จึงไม่ได้หวังผลเพียงป้องกันการลอกเลียนแบบเท่านั้น แต่เพื่อการต่อยอดทางธุรกิจด้วย โดยเมื่อจดทะเบียนสิทธิบัตร หรือจดลิขสิทธิ์แล้ว จะทำให้ทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆสามารถนำไปประเมินมูลค่าได้ ก็จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปเจรจากับแหล่งเงินทุนต่างๆได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ การสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านไอที หรือ IT Professional ก็เป็นอีกเรื่องที่พยามผลักดัน เพื่อรองรับ AEC 2558 ด้วย โดยSIPA จะสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ภายใต้ SIPA Academy ซึ่งจะเน้นสร้างบุคลากรที่จะเข้าไปทำงานในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์โดยตรง โดยจะสอนความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรม กระบวนการดำเนินธุรกิจ หรือการบริการด้านไอที เป็นต้น ซึ่งผู้ที่เรียนจบหลักสูตรของ SIPA จะพร้อมเข้าทำงานในอุตสาหกรรมนี้ได้

อย่างไรก็ดี ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC นอกจากจะส่งผลให้เกิดเสรีทางการค้า บริการ การลงทุน และการเคลื่อนย้ายเงินทุนแล้ว ยังรวมถึงแรงงานฝีมือ โดยด้านแรงงานฝีมือนี้ ได้ครอบคลุมสาขาวิศวกรรมด้วย ซึ่งบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์ของไทย แม้จะมีฝีมือดีแต่ยังเป็นรองด้านภาษาเมื่อเทียบกับชาติอื่นๆในอาเซียน อย่างไรก็ตามคนไทยสามารถปรับตัวได้ดี จึงมีโอกาสที่คนไทยจะได้ทำงานร่วมกับบริษัทซอฟต์แวร์ชั้นนำมากขึ้น รวมถึงเป็นโอกาสให้แรงงานไทยออกสู่ตลาดโลกด้วย

“การเปิดเสรีภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนี้ หากมองในมุมของการลงทุน ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่เหมาะสมต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีบุคลากรที่มีคุณภาพ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการทำงานอย่างครบครัน ทำให้เรามีโอกาสเป็นศูนย์กลางด้านการผลิตซอฟต์แวร์ของอาเซียนได้โดยเราจะต้องเริ่มจากการสร้าง Network ของกลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในอาเซียน แล้วแบ่งแยกกันทำงานโดยดูจากความถนัดของแต่ละประเทศ ประเทศใดถนัดเรื่องไหนก็ให้ทำในเรื่องนั้นๆเพื่อจะได้ไม่เกิดความซ้ำซ้อน และแย่งตลาดกันเอง ซึ่งจะทำให้ซอฟต์แวร์ของอาเซียนเราสามารถแข่งกับซอฟต์แวร์อื่นๆในตลาดโลกได้” นายไตรรัตน์ กล่าว

นอกจากนี้ SIPA ยังมีโครงการสร้างบุคลากรทางด้านไอทีเฉพาะด้าน โดยภายในปี 2020 จะต้องสามารถสร้างผู้เชี่ยวชาญไอทีเฉพาะด้าน Healthcare ให้ได้ 40,000 คน ซึ่งจะสามารถรองรับตลาด Healthcare ได้ทั่วภูมิภาคอาเซียนด้วย โดยในขณะนี้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร(ICT) ของไทยได้รับมอบหมายจากอาเซียนให้จัดทำมาตรฐานวิชาชีพด้าน ICT ทำให้ประเทศไทยเรามีโอกาสที่จะประกาศตัวได้ว่าเป็นศูนย์พัฒนาวิชาชีพด้าน ICT ของอาเซียน ซึ่งโครงการนี้ SIPA ได้รับมอบหมายจากกระทรวงICT มาแล้ว

View :1410

“ไป่ตู้” สยายปีกธุรกิจในเมืองไทย เปิดตัว Baidu PC Faster 2.0

October 17th, 2012 No comments


ฟรีซอฟท์แวร์ที่ช่วยปกป้องและเพิ่มประสิทธิภาพคอมพิวเตอร์ของคนไทย

” ผู้นำเสิร์ชเอนจิ้นยักษ์ใหญ่จากประเทศจีนประกาศเปิดตัว PC Faster 2.0 ในประเทศไทย ซอฟท์แวร์ครบวงจรที่จะปกป้องและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้แก่คอมพิวเตอร์

Baidu PC Faster ได้ถูกออกแบบให้ตอบสนองความต้องการผู้ใช้อินเตอร์เน็ตชาวไทยโดยเฉพาะ ซอฟท์แวร์นี้จะเข้าจัดการปัญหาใหญ่นานับประการที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตชาวไทยกว่า 25 ล้านคนกำลังเผชิญอยู่ โดยจะป้องกัน คอมพิวเตอร์จากการโจมตีของแฮกเกอร์ โทรจัน ไวรัสต่างๆ รวมถึงมัลแวร์ นอกจากนี้ยังช่วยกู้คืนพื้นที่ของ ฮาร์ดไดรฟ์ เร่งเวลาบูทเครื่องให้เร็วขึ้น และปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้อีกด้วย ทั้งหมดนี้สามารถดาวน์โหลดใช้ฟรีตลอดได้ที่ http://security.baidu.co.th

มร.ไคเซอร์ กัว ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารระหว่างประเทศของบริษัท ไป่ตู้ จำกัด (มหาชน) กล่าว“ไป่ตู้อยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคมออนไลน์ในประเทศไทยและเราเชื่อว่าการนำเสนอซอฟท์แวร์ฟรีที่ใช้งานง่าย
แต่ทรงพลัง สามารถปกป้องผู้ใช้อินเตอร์เน็ตรวมถึงเพิ่มพูนประสบการณ์ท่องโลกออนไลน์นั้น เป็นสิ่งสำคัญที่
เราสามารถสนับสนุน”

ไป่ตู้เปิดตัวซอฟแวร์ Baidu PC Faster เวอร์ชั่นเบต้าในประเทศไทยเมื่อเดือนมิถุนายน 2555 และถึงปัจจุบันมี
การดาวน์โหลดไปใช้แล้วกว่า 1 ล้านครั้งในระยะเวลาไม่ถึง 4 เดือน

สำหรับ Version 2.0 นี้ Baidu PC Faster ได้เพิ่มฟังก์ชั่น Anti Virus, USB Guard (สแกน USB เพื่อปกป้อง คอมพิวเตอร์ จากมัลแวร์และต้านการติดไวรัส) และ Boot Time Manager (ตรวจสอบเวลาที่ใช้ในการเปิด
เครื่องอัตโนมัติวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาเครื่องช้า) และอินเตอร์เฟซภาษาไทยที่ง่ายต่อการใช้งาน

ในเดือนกรกฎาคมปีนี้ ไป่ตู้และสำนักงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยแห่งสิงคโปร์ (เอ*สตาร์)
ได้เปิดตัวศูนย์การวิจัยร่วมในประเทศสิงคโปร์โดยมุ่งเน้นศึกษาวิจัยภาษาไทยและเวียดนามและการประมวล
ผลภาษา“ไป่ตู้เชื่อว่าความเข้าใจถึงความต้องการของผู้ใช้ในแต่ละตลาดและการศึกษาลักษณะเฉพาะทาง
ภาษาอย่างเช่นภาษาไทยนั้นมี ความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของเรา” —มร.ไคเซอร์กล่าว

View :1457

เปอรุมาล์ เทคโนโลยีฯ เปิดตัวเอสวายพี (SYP-SafeYourPhone) ออล-อิน-วัน แอพพลิเคชั่นที่ช่วยรักษาความปลอดภัยบนมือถือครั้งแรกในไทย

August 1st, 2012 No comments

บริษัท เปอรุมาล์ เทคโนโลยี แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดตัวผู้บริหาร และบริการใหม่ที่มีชื่อว่า “เอสวายพี” (SYP-) ออล-อิน-วัน แอพพลิเคชั่นที่ช่วยรักษาความปลอดภัยบนโทรศัพท์มือถือเป็นครั้งแรกในไทย จับกลุ่มลูกค้าผู้ใช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน เตรียมเปิดให้บริการเดือนกันยายนปีนี้ พร้อมตั้งเป้ากวาดลูกค้า 1 ล้านรายภายในปีแรก

นางสาวศรินญาณ์ เปอรูมาล ประธานเจ้าหน้าที่ด้านปฏิบัติการ บริษัท บริษัท เปอรุมาล์ เทคโนโลยี แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผยในงานแถลงข่าวเปิดตัวบริษัทฯ และบริการใหม่ “เอสวายพี” (SYP) ว่า “เนื่องจากปัจจุบันแนวโน้มการใช้งานอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือนั้นเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปีทั้งในตลาดทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ทั้งนี้จากรายงานวิจัยข้อมูลโดยบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์ มือถือยักษ์ใหญ่ระบุว่า ในปี 2554 โทรศัพท์มือถือในไทยทั้งหมดมีประมาณ 45 ล้านเครื่อง โดยแบ่งเป็นสมาร์ทโฟน ถึง 14.5 ล้านเครื่อง หรือคิดเป็นร้อยละ 32 ของทั้งหมด นอกจากนั้นแนวโน้มปริมาณการซื้อสมาร์ทโฟนเพิ่มภายในปี 2555 อยู่ที่ประมาณ 7.5 ล้านเครื่องจากปริมาณมือถือที่มีการซื้อใหม่จากตลาด 15 ล้านเครื่อง ทำให้ทางบริษัทเน้นการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนดังกล่าว ประกอบกับข้อมูลที่น่าตกใจที่ว่าประเทศไทยมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือหายแล้วแจ้งแก่ผู้ให้บริการเครือข่ายประมาณ 45,000 คนต่อเดือน หรือพูดง่ายๆ คือทุก 1 นาที จะมีโทรศัพท์มือถือหาย 1 เครื่อง ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากติดอันดับต้นๆของโลกเลยทีเดียว”

จากข้อมูลดังกล่าว บริษัท เปอรุมาล์ เทคโนโลยี แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น (ไทยแลนด์) จึงเห็นช่องทางในการนำเสนอแอพพลิเคชั่นที่สามารถช่วยเหลือผู้ใช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน โดยเตรียมเปิดให้บริการ ”เอสวายพี” (SYP-SafeYourPhone) แอพพลิเคชั่นที่รวมคุณลักษณะต่างๆด้านความปลอดภัยบนโทรศัพท์มือถือไว้ในแอพพลิเคชั่นเดียวรายแรกในไทย (ออล-อิน-วัน แอพพลิเคชั่น) ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัว และป้องกันการนำข้อมูลในโทรศัพท์มือถือคุณไปใช้ในทางที่ผิด เมื่อเกิดกรณีโทรศัพท์มือถือหายหรือถูกขโมย เอสวายพี (SYP) เป็นแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานง่าย สะดวกสบาย ปลอดภัย และช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ตหรือการเชื่อมต่อใดๆ ในการใช้งาน สามารถเลือกใช้บริการได้โดยใช้เพียงการส่งข้อความง่ายๆ เท่านั้น

จุดเด่นของเอสวายพี (SYP) ออล-อิน-วัน แอพพลิเคชั่น ประกอบด้วย สำรองข้อมูลและเรียกคืนข้อมูล (Backup data & Data Restore) ไม่ว่าจะเป็น รายชื่อเบอร์โทรศัพท์, ข้อความ, รูปภาพ หรือ ไฟล์ต่างๆในกรณีที่มือถือหายหรือไม่สามารถใช้บริการได้ ผู้ใช้สามารถเรียกคืนข้อมูลภายหลังการสำรองข้อมูลได้โดยการใช้มือถือเครื่องใหม่ (ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นเดิม) ที่มีแอพเอสวายพี โดยใส่ username และ password ในหัวข้อ Backup and Restore เท่านี้ข้อมูลทั้งหมดในมือถือเครื่องเดิมก็จะมาอยู่ในโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่โดยอัตโนมัติ

นอกจากนี้ ยังมีระบบแจ้งเตือนเมื่อมีการเปลี่ยนซิมการ์ด (SIM Card Change Alert) หากมีใครบางคนเปลี่ยนซิมการ์ดใหม่ในโทรศัพท์มือถือ ระบบจะทำการส่งข้อความไปยังเบอร์โทรศัพท์ที่ผู้ใช้กำหนดไว้เช่น ญาติ, หรือเพื่อน โดยเบอร์โทรศัพท์เหล่านั้นจะได้รับข้อความว่าแจ้งว่าโทรศัพท์ของผู้ใช้มีการใช้เบอร์ใหม่ โดยบอกด้วยว่าเบอร์โทรศัพท์ใหม่ดังกล่าวเป็นเบอร์อะไร ระบุตำแหน่งโทรศัพท์มือถือ (Locate) เมื่อโทรศัพท์หายหรือถูกขโมย ผู้ใช้สามารถทราบตำแหน่งที่โทรศัพท์มือถือ ณ ตำแหน่งปัจจุบันในรูปแบบละติจูด และลองติจูดพร้อมทั้งยังส่งเป็น link ใน Google map อีกด้วย ฟังก์ชั่นล็อค (Lock) เอสวายพี สามารถล็อคโทรศัพท์มือถือได้จากระยะไกล เพียงผู้ใช้ส่งข้อความตามที่กำหนดไปยังโทรศัพท์มือถือที่หาย เท่านี้ก็ไม่มีไครที่สามารถใช้โทรศัพท์ของคุณในทางที่ไม่ดีได้หากไม่ทราบรหัสที่ถูกต้อง

และยังมีฟังก์ชั่นล้างข้อมูล (Wipe) เอสวายพีสามารถทำการลบข้อมูลที่เป็นส่วนตัวในโทรศัพท์
มือถือได้ เพียงส่งข้อความไปยังโทรศัพท์มือถือเพื่อสั่งการให้ระบบลบข้อมูลในเครื่องโดยอัตโนมัติ โดยไม่ลบแอพเอสวายพีเพื่อให้ผู้ใช้ยังสามารถติดตามหามือถือต่อไปได้ ผู้ใช้จึงมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่เป็นความลับต่างๆ จะไม่ตกอยู่ในมือของบุคคลอื่นอย่างแน่นอน ส่งเสียงเตือน (Siren) หากจำไม่ได้ว่าวางโทรศัพท์ไว้ที่ใด หรือมีใครบางคนขโมยโทรศัพท์ไป เอสวายพีสามารถทำให้โทรศัพท์มือถือส่งเสียงเตือนขึ้นมาถึงแม้โทรศัพท์ของผู้ใช้จะปิดเสียงอยู่ก็ตาม โทรกลับ (Call Back) เอสวายพีสามารถทำให้โทรศัพท์มือถือของคุณโทรกลับมาหาคุณโดยอัตโนมัติ ในกรณีโทรศัพท์มือถือหาย ผู้ใช้สามารถได้ยินเสียงการสนทนาของผู้ที่นำมือถือของคุณไปหรือบริเวณโดยรอบ เพียงโทรติดต่อที่เอสวายพี คอลล์ เซ็นเตอร์

อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบข้อมูลการใช้งานโทรเข้าและรับสาย (Call Log) ว่าโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้ได้ติดต่อกับเบอร์โทรศัพท์ใดบ้าง เช่นในกรณีที่เมื่อโทรศัพท์หาย หรือถูกขโมย ทำให้สามารถทราบข้อมูลเบอร์ที่ผู้อื่นใช้โทรเข้าและออกในเวลานั้นเพื่อง่ายต่อการติดตามมือถือต่อไป ซ่อนแอพ (Hide) ผู้ใช้สามารถตั้งค่าซ่อนไอคอนแอพพลิเคชั่นเอสวายพีจากหน้าจอได้ และเมื่อใดที่ต้องการเรียกคืนไอคอนเอสวายพี ก็เพียงแค่ส่งข้อความเรียกคืนมายังมือถือของผู้ใช้ รวมทั้งคุณสมบัติอื่นๆของเอสวายพี ซึ่งช่วยควบคุมการโทรในโทรศัพท์มือถือ ไม่ว่าจะเป็น Green List การตั้งค่าให้มือถือสามารถโทรออกได้เพียงบางเบอร์ White List การตั้งค่าให้มือถือสามารถรับสายได้เฉพาะเบอร์ที่กำหนด และ Black List การตั้งค่าเพื่อไม่ให้เบอร์ที่ผู้ใช้ไม่ต้องการรับสายสามารถโทรหาได้ เป็นต้น

“สำหรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเอสวายพี ได้แก่ กลุ่มคนทำงานออฟฟิศ กลุ่มลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงผู้ใช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน ซึ่งเอสวายพี (SYP) ออล-อิน-วัน แอพพลิเคชั่นสามารถรองรับระบบปฎิบัติการได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Android, iOS, BlackBerry OS, Symbian และ Bada สำหรับไอโฟน แบล็คเบอร์รี่ โนเกีย ซัมซุง เอชทีซี โมโตโรล่า โซนี่ อีริคสัน เอเซอร์ อัสซุส ไอ-โมบาย จีเน็ต โตชิบา แอลจี และอื่นๆอีกมากมาย โดยบริษัทฯ มีแผนจะเปิดให้บริการเอสวายพี (SYP) ออล-อิน-วัน แอพพลิเคชั่นช่วงประมาณเดือนกันยายน 2555 และคาดว่าน่าจะมีกลุ่มลูกค้าที่สนใจมาใช้บริการรวมประมาณ 1 ล้านรายภายในปีแรก” นางสาวศรินญาณ์กล่าวสรุปท้าย

View :1329

แซส เปิดตัวระบบการตรวจสอบการทุจริต (SAS Fraud Management) แบบเรียลไทม์ เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจจับและการป้องกัน

July 2nd, 2012 No comments

ธนาคารชั้นนำระดับโลกสามารถลดการทุจริตได้อย่างมากด้วยแซสเป็นจำนวนเงินมูลค่านับพันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อชื่อเสียงขององค์กร และความสัมพันธ์ของลูกค้าอันมีค่าต้องตกอยู่ในภาวะเสี่ยง การเอาชนะผู้ทุจริตให้ได้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับธนาคารต่างๆ และการใช้ SAS Fraud Management ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการการทุจริตในองค์กรโดยใช้การวิเคราะห์ที่ครอบคลุม ประกอบไปด้วยระบบการให้คะแนนบัญชี แบบเรียลไทม์ รวมถึงการซื้อ การชำระเงิน และการทำธุรกรรมเกี่ยวกับการเงิน จะช่วยให้ธนาคารสามารถตรวจหา ป้องกัน และจัดการการทุจริตในผลิตภัณฑ์ สายธุรกิจ และช่องทางต่างๆ ได้หลากหลาย

AS Fraud Management ล่าสุดจากบริษัท แซส ผู้นำด้านซอฟต์แวร์และบริการการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ ให้ความสามารถในการตรวจจับการทุจริตที่เกิดขึ้นกับองค์กรได้อย่างรวดเร็ว ครอบคลุม และแม่นยำยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มประสิทธิภาพอีกหลากหลาย รวมถึง Application Programming Interface (API) แบบผสมผสาน การกำหนดค่าการจัดการด้วยกฎขั้นสูง เพิ่มการจัดการเชิงปฏิบัติการ และการให้คะแนนการทำธุรกรรมแบบเรียลไทม์ได้อย่างแท้จริง ซึ่งทำงานบนระบบการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงของแซสที่ได้รับการจดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว( Advanced SAS Analytics)

“การตรวจสอบพฤติกรรมและการทำธุรกรรมแบบเรียลไทม์ ถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการป้องกันการทุจริตทางอินเทอร์เน็ต เนื่องจากความสามารถที่เพิ่มขึ้นของผู้ทุจริตที่สามารถหลบหลีกขั้นตอนการรับรองความถูกต้องได้อย่างไม่น่าเชื่อ” นายจอร์ช ทิวบิน ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการวิจัยบริษัท ทาวเวอร์กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารองค์กร กล่าว และว่า “สิ่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยขณะนี้สถาบันการเงินต่างๆ ได้เตรียมพร้อมเพื่อรอการปรับปรุงแนวทางการรับรองความถูกต้องของสภาการตรวจสอบสถาบันการเงินแห่งรัฐบาลสหรัฐฯ (Federal Financial Institutions Examination Council: FFIEC)”
ธนาคารเอชเอสบีซีลดจำนวนการทุจริต

“SAS Fraud Management รุ่นใหม่กำลังถูกนำไปใช้ในฝ่ายปฏิบัติงานของเราภายในภูมิภาคเอเชีย และเรามั่นใจว่าแซสจะช่วยให้เราสามารถสร้างโมเดลป้องกันการทุจริตที่ดีที่สุดเท่าที่ตลาด ในขณะนี้จะสามารถนำเสนอได้” นายดีเรก ไวลด์ หัวหน้ากลุ่มความเสี่ยงด้านการฉ้อโกงและการรักษาความปลอดภัยส่วนกลางของเอชเอสบีซี (HSBC) กล่าว “เห็นได้จากจำนวนการทุจริตที่เราตรวจพบ ซึ่งมีอัตราการตรวจพบเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ผลบวกลวง (false-positive) ลดน้อยลง และเป็นไปตามเป้าหมาย ที่เราวางไว้”

ด้วยทรัพย์สินประมาณ 2.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้บริษัท เอชเอสบีซี โฮลดิ้ง พีแอลซี ถือเป็นหนึ่งในองค์กรผู้ให้บริการทางการเงินและการธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยขณะนี้สามารถให้บริการลูกค้ากว่า 95 ล้านรายผ่านสำนักงาน 7,500 แห่งใน 87 ประเทศต่างๆ ทั้งนี้ เอชเอสบีซีได้เข้าร่วมเป็นคู่ค้าการพัฒนากับบริษัท แซส ตั้งแต่ปี 2550 และได้ใช้ SAS Fraud Management เป็นระบบพื้นฐานสำหรับการตรวจหาการทุจริตแบบเรียลไทม์และการจัดการการทุจริตอย่างต่อเนื่องครอบคลุมทั้งเครือข่ายทั่วโลกของบริษัท โดยบริษัท แซส ได้ช่วยให้เอชเอสบีซีสามารถลดการสูญเสียทั่วโลกจากการทำธุรกรรมที่ทุจริตและภัยคุกคามที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ขณะนี้เอชเอสบีซีได้ปรับใช้ SAS Fraud Management แล้วในสหรัฐฯ ยุโรป และเอเชีย ซึ่งสามารถป้องกันการทำธุรกรรมของบัตรเครดิตได้ 100% ในเวลาเรียลไทม์ และกำลังจะขยายให้ครอบคลุมการทุจริตทั้งหมดข้ามสายธุรกิจที่หลากหลายและช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก

“เราได้รับผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยมอย่างมากเหนือกว่าระบบก่อนหน้านี้ที่เราเคยใช้มาก่อน” นายไวลด์ กล่าว “บริษัท แซส มีความมุ่งมั่นที่จะทำให้แน่ใจได้ว่าเอชเอสบีซีจะยังคงมีโซลูชั่นป้องกันการทุจริตระดับแนวหน้าอย่างต่อเนื่อง เรามีความยินดีอย่างยิ่งกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น การวิเคราะห์การทุจริตสามารถนำมาซึ่งผลประโยชน์ที่สำคัญมากมาย และนั่นเป็นประสบการณ์ของเราที่มีร่วมกับแซสซึ่งเป็นคู่ค้าของเราและซอฟต์แวร์ SAS Fraud Management”
API ใหม่และฟังก์ชันการแจ้งเตือนต่อสู้กับภัยการทุจริต

ระบบการบริหารจัดการการทุจริตของแซส (SAS Fraud Management) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบแฟรมเวิร์กด้านอาชญากรรมทางการเงินสำหรับธนาคารของแซส (SAS Enterprise Financial Crimes Framework for Banking) ด้วย API แบบผสมผสาน ทำให้ SAS Fraud Management เพิ่มขีดความสามารถการประมวลผลแบบเรียลไทม์เพื่อแจ้งเตือนสำหรับผลิตภัณฑ์และช่องทางที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยธุรกิจที่เกิดใหม่ เช่น สำนักหักบัญชีอัตโนมัติ (ACH) การธนาคารแบบผ่านระบบสาย ระบบโทรศัพท์ และระบบอินเทอร์เน็ต รวมทั้งการตรวจสอบบริษัทนายหน้าต่างๆ โดยบริษัทผู้ให้บริการทางการเงินสามารถติดตามตรวจสอบและตรวจหาภัยด้านการทุจริตได้อย่างรวดเร็วและเชื่อถือได้ ไม่ว่าจะมาจากช่องทางจำหน่ายเดียว หรือช่องทางจำหน่ายที่หลากหลายโดยมีเป้าหมายเพื่อขโมยเงินมูลค่านับล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตัวอย่างเช่น การโจมตีในรูปแบบ “การหาผู้ทำหน้าที่โอนเงินแทน” (money mule) และ “โทรจัน Zeus” ทางอินเทอร์เน็ตที่สามารถขโมยข้อมูลประจำตัวเกี่ยวกับบัญชีธนาคารของผู้ใช้ได้ โดยเป็นไวรัสมัลแวร์ที่สามารถแพร่ระบาดไปยังระบบคอมพิวเตอร์ของสถาบันการเงินกว่า 2,000 ระบบ และ พีซีมากกว่า 3 ล้านเครื่องในสหรัฐฯ โดยผู้ทุจริตจะติดต่อคอลล์เซ็นเตอร์เพื่อเข้าใช้และเปิดบัญชี จากนั้นจะโอนเงินข้ามประเทศหรือโอนไปยังบัญชีอื่นๆ ภายในประเทศ รูปแบบการทุจริตนี้มีมูลค่าไม่มากนักเพื่อไม่ให้เป็นที่สังเกตเว้นแต่องค์กรจะมีระบบตรวจสอบบัญชีเชิงรุกที่ครอบคลุมประเภทช่องทางการชำระเงินต่างๆ ได้ทั้งหมด
เทคโนโลยีที่ได้รับการจดสิทธิบัตรและการให้คะแนนแบบเรียลไทม์เพื่อความแม่นยำและประสิทธิภาพ

บริษัท แซส ได้รับการอนุมัติสิทธิบัตรสำหรับ “Computer-Implemented Data Storage Systems and Methods for Use with Predictive Model Systems” (ระบบและวิธีการจัดเก็บข้อมูลที่ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการใช้กับระบบสร้างโมเดลเชิงพยากรณ์) (US patent 7,912,773 B1) สำหรับเทคโนโลยีการวิเคราะห์ใน SAS Fraud Management รุ่นใหม่แล้ว โดยซอฟต์แวร์นี้สามารถจัดเก็บข้อมูลดิบที่ชาญฉลาดในรูปลายเซ็น ซึ่งจะบันทึกประวัติของส่วนย่อยต่างๆ ในธุรกิจ (เช่น รหัสบัตร รหัสบัญชี รหัสลูกค้า รหัสเทอร์มินอล หรือที่อยู่ IP) ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรม การเพิ่มความแม่นยำในการตรวจหาพฤติกรรมลูกค้าที่อยู่ภายนอกบรรทัดฐานในระหว่างการทำธุรกรรม ณ จุดขาย โดยข้อมูลนี้สามารถนำไปปรับใช้กับโมเดลเชิงพยากรณ์จำนวนมากเพื่อช่วยในการตรวจหาการทุจริจและการประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตโดยเฉพาะ

เทคโนโลยีการวิเคราะห์นี้และวิธีการสร้างโมเดลเครือข่ายประสาทที่มีประสิทธิภาพและได้รับการ จดสิทธิบัตรแล้ว ของบริษัท แซส อยู่เบื้องหลังโมเดลการทุจริตที่มีประสิทธิภาพของแซส ซึ่งสามารถให้การป้องกันขั้นสูงต่อลูกค้าและผู้ให้บริการออกบัตรเครดิตได้

“ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลดิบอย่างชาญฉลาดสำหรับหน่วยงานที่หลากหลายเป็นสิ่งสำคัญต่อการจัดการปัญหาด้านความเสี่ยงและการทุจริตจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นายทวีศักดิ์ แสงทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท แซส ซอฟต์แวร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว “นวัตกรรมของแซส เป็น สิ่งที่น่าตื่นเต้นอย่างมากไม่เพียงแต่แง่มุม ด้านเทคโนโลยี แต่ยังครอบคลุมถึงผลประโยชน์ที่มีต่ออุตสาหกรรมทางการเงินด้วย”

ซอฟต์แวร์รุ่นใหม่นี้ยังจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถกำหนดค่าการจัดการกฎขั้นสูงเพื่อตรวจสอบและติดตามรูปแบบพฤติกรรมในอดีตของหน่วยธุรกิจต่างๆ ตามความต้องการทางธุรกิจ โดยการกำหนดค่าดังกล่าวให้กับองค์กรจำนวนมากจะช่วยให้สถาบันทางการเงินสามารถปรับใช้และจัดการโซลูชั่นองค์กรในลักษณะที่แยกส่วนกันได้อย่างละเอียด และเมื่อมีการจับคู่เข้ากับการวิเคราะห์ขั้นสูงที่ได้รับการจดสิทธิบัตรแล้วของแซส ทำให้ SAS Fraud Management สามารถลดจำนวนผลบวกลวง (false positive) ได้อย่างมาก บริการลูกค้าจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการลดการทำธุรกรรมที่ล่าช้าลง รวมทั้งยังทำให้พนักงานได้รับการแจ้งเตือนเกี่ยวกับการจัดการที่ดีกว่าเดิม องค์กรต่างๆ จึงสามารถรับรู้ประสิทธิภาพด้านการปฏิบัติงานที่ดียิ่งขึ้นได้ในขณะที่มีผลบวกลวงน้อยลง ประหยัดเวลา และเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าได้อย่างสูงสุด

View :1826

สถาบันวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (SEI) ชูมาตรฐานอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยอันดับ 1 ของอาเซียนและ อันดับ 15 ของโลก ที่ผ่านมาตรฐาน CMMI®

June 21st, 2012 No comments


20 มิถุนายน 2555 ณ อาคารซอฟต์แวร์พาร์ค : ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นประธานในการแถลงข่าวความสำเร็จของบริษัทซอฟต์แวร์ไทย ที่สถาบันวิศวกรรม ซอฟต์แวร์ (Software Engineering Institute :SEI) แห่งมหาวิทยาลัย คาร์เนกี ประกาศให้บริษัท ซอฟต์แวร์ไทยผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ® (Capability Maturity Model Integration) เป็นลำดับที่ 15 ของ โลก จากบริษัทที่ผ่านการประเมินทั้งหมด 76 ประเทศ และเป็นลำดับที่ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ไทยสามารถแซงหน้าประเทศมาเลเซียได้สำเร็จ ทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ไทยได้รับความน่าเชื่อถือ เชื่อมั่น และมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น สร้างความภาคภูมิใจในการที่จะทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยเป็นที่ยอมรับและ สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ตลอดจนเป็นตัวเชื่อมคู่ค้าและพันธมิตรใหม่ๆให้กับผู้ ประกอบการธุรกิจซอฟต์แวร์ไทย และเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ทั้งนี้ ปัจจุบัน อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของ ประเทศ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมการเกษตร และอาหาร แฟชั่น ท่องเที่ยว ยานยนต์ และอัญมณี เนื่องจากความต้องการซอฟต์แวร์มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยเสริมจากการเติบโตของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดย ดร.ทวีศักดิ์ เปิดเผยว่า
“ความสำเร็จของบริษัทซอฟต์แวร์ไทยในวันนี้ เป็นผลมาจากการที่ซอฟแวร์พาร์คมีโครงการ สนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจซอฟต์แวร์ในการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือ SPI@ease โดยโครงการดังกล่าว มีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ยกระดับกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์ให้มีคุณภาพ ด้วยการทำงานที่มีกระบวนการตามมาตรฐาน CMMI® อันเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอม รับในระดับสากล อีกทั้งยังเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพ ลดความเสี่ยงด้านการบริหารบุคลากรโดยทำงานร่วมกันเป็นทีมสามารถ เปลี่ยนถ่ายงานภายในทีมงานได้ง่าย ทำให้สามารถส่งมอบงานที่มีคุณภาพได้ครบถ้วนตรงตามกำหนดเวลา ภายใต้งบประมาณที่กำหนด สร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยในการแข่งขันในระดับ เวทีโลก
ทั้งนี้ โครงการ SPI@ease เป็น การผนึกกำลังการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ซึ่งภาครัฐมี 2 หน่วย คือ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ภายใต้การดำเนินโครงการของ สวทช. โดยเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park Thailand) ฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ITAP) และ () ที่เล็งเห็น และตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว ร่วมกันก่อตั้งขึ้นในปี 2550 และนับจากนั้นมาโครงการได้มีส่วนผลักดันให้ ประเทศไทยมีบริษัทซอฟต์แวร์กว่า 50 บริษัทที่สามารถพัฒนากระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ ตามมาตรฐาน CMMI® และผ่านการประเมินในระดับต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
วันนี้ประเทศไทยมีบริษัทซอฟต์แวร์ที่ผ่านมาตรฐาน CMMI® เป็นลำดับที่ 15 ของโลก และเป็นลำดับที่ 1 ของเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ อันเป็นการ สร้างความน่าเชื่อถือ ความเชื่อมั่น และภาพลักษณ์ ของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยในตลาดโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2558 ที่จะมีการเปิดตลาดการค้าเสรี ในภูมิภาคอาเซียน หรือ AEC ซึ่งความสำเร็จในครั้งนี้ จะเป็นการตอกย้ำความมั่นใจว่า ไทยพร้อมเป็นอีกหนึ่งประเทศที่สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพออกสู่ตลาด สากลในระดับเท่าเทียมกับนานาประเทศได้ ซึ่งความสำเร็จในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งในความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของ สวทช. ที่มีพันธกิจหลักในการสร้าง เสริมความเข้มแข็งและสร้างโอกาสให้ภาคธุรกิจไทยด้วยวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ทั้งในแง่การพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆเพื่อส่งมอบภาคเอกชนให้ผลิตเป็น ผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ การสนับสนุนภาคเอกชน ในด้านการบริการวิจัย การ รับจ้างทดสอบ หรือแม้กระทั่งการร่วมลงทุนตั้งบริษัทกับเอกชน เพื่อนำนวัตกรรมใหม่ๆออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว โดย อาศัยองค์ความรู้และงานวิจัยต่างๆที่ สวทช.ได้ริเริ่มดำเนินการไว้ และการทำงานที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานหลักๆ ในภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งซอฟต์แวร์พาร์คเป็น โครงการแรกๆของ สวทช.ที่ริเริ่มและเป็นต้นแบบของการสร้าง Software Cluster ในประเทศ รวมไปถึงการพัฒนาและบ่มเพาะบุคลากรไอทีให้แก่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดการนำไอทีไปใช้ในอุตสาหกรรมและสร้างโอกาส ทางการตลาด“ ดร.ทวีศักดิ์ กล่าว

สำหรับมาตรฐาน CMMI (Capability Maturity Model Integration) เป็น กระบวนการผลิตซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดย Software Engineering Institutle (SEI) แห่งมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกประเทศต้องส่งเสริมให้บริษัทผู้ ผลิตแลพัฒนาซอฟต์แวร์ของตนเองหันมาให้ความสนใจ เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพและมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั้งใน ระดับสากล นอกจากนั้นยังเป็นการวางรากฐานในการยกระดับขีดความสามารถของ บริษัทผลิตซอฟต์แวร์ให้พร้อมแข่งขันในเวทีการค้าเสรี และในระดับสากล โดย CMMI กลายเป็นวัฒนธรรมของ องค์กร เพื่อให้ทุกคนมีขั้นตอนการปฏิบัติงานและการทำงานต่างๆ ชัดเจน ทุกคนรู้ว่าต้องทำอะไร ทำให้ปัญหาต่างๆ ลดน้อยลง และขอบเขตการทำงานของ CMMI ที่เข้ามาควบคุมยังทำให้คุณภาพซอฟต์แวร์ดีขึ้น อีกทั้งยังลดจำนวนของเสียจากกระบวนการผลิต หากกระบวนการทำงานไม่ชัดเจนอาจเกิดข้อผิดพลาดและนำมาซึ่งต้นทุนการผลิตที่ สูงขึ้นได้ ดังนั้นหากสามารถควบคุมคุณภาพและส่งงานได้ตามกำหนดเวลา จะทำให้ลูกค้าเกิดความพอใจใน”มาตรฐาน” ซึ่งถือว่าสำคัญไม่เฉพาะในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เท่านั้น หากมีอยู่ในทุกอุตสาหกรรม จะยิ่งเพิ่มมาตรฐานและเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันทางการค้ามากยิ่ง ขึ้น อีกด้วย

View :1731
Categories: Software Tags:

สวทช./ซอฟต์แวร์พาร์ค ผนึกกำลัง 3 หน่วยงานไอทีไทย-ญี่ปุ่น เพื่อมุ่งเน้นการสร้างความเชื่อมั่นในการนำซอฟต์แวร์ไทยสู่ตลาดต่างประเทศ ขยายฐานตลาดการส่งออกญี่ปุ่น

May 18th, 2012 No comments

สวทช./ซอฟต์แวร์พาร์คลงนามบันทึกความร่วมมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อมุ่งเน้นการสร้างความเชื่อมั่นในการนำซอฟต์แวร์ไทยสู่ตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น ในโครงการความร่วมมือขยายช่องทางและโอกาสทางการตลาดแก่ซอฟต์แวร์ไทยและญี่ปุ่น

นางสุวิภา วรรณสาธพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า “อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ถือได้ว่าเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในระดับประเทศและระดับนานาชาติ เป็นกลไกสำคัญที่สามารถช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน เพิ่มประสิทธิภาพการขาย สร้างช่องทางความสัมพันธ์ลูกค้า เป็นต้น ซอฟต์แวร์พาร์คเป็นหน่วยงานภายใต้ สวทช. ที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย ทั้งในด้านการพัฒนาบุคลากร การพัฒนากระบวนการผลิตซอฟต์แวร์ การขยายโอกาสทางธุรกิจทั้งภายในและต่างประเทศ รวมทั้งการสร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ ดังที่มีการจัดคณะผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยเดินทางไปจัดกิจกรรมการเจรจาทางการค้าในต่างประเทศ

สุวิภา วรรณสาธพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

นอกจากนี้ สวทช.เองยังมีบทบาทสำคัญในการกำหนดเป้าหมายและมุ่งมั่นพัฒนางานวิจัยให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงพัฒนางานวิจัยที่สามารถรับมือกับสภาพปัญหาได้ทันเหตุการณ์ ทั้งในแง่การคิดค้นสิ่งใหม่ๆไปล่วงหน้า และการสนับสนุนภาคเอกชนในด้านการบริการวิจัยให้เอกชน การรับจ้างทดสอบ หรือแม้กระทั่งการร่วมลงทุนตั้งบริษัทกับเอกชน เพื่อนำนวัตกรรมใหม่ๆออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว และโดยอาศัยองค์ความรู้และงานวิจัยต่างๆที่ สวทช.ได้ริเริ่มดำเนินการไว้ และการทำงานที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานหลักๆ ในภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC 2015) ซึ่งจะมีการเชื่อมตลาดการค้าการลงทุนให้เป็นตลาดเดียว (Single Market) การเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะข้ามชาติ การเคลื่อนย้ายการลงทุนจากต่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้เป็นทั้งการสร้างโอกาสและภัยคุกคามต่อการเจริญเติบโตโดยเฉพาะบริษัทซอฟต์แวร์ท้องถิ่นอย่างมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยต้องเตรียมความพร้อม และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ และส่งเสริมการขยายช่องทางการตลาดและการขายเนื่องจากการแข่งขันจากซอฟต์แวร์ต่างประเทศจะมีมากขึ้น รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร และการสร้างความเข้มแข็งของทีมงาน (Teamwork) เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและสามารถอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน

ดังนั้น การลงนามความร่วมมือกับทาง MIJS (Made in Japan Software Consortium) จากประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับสมาคม ATCI (The Association of Thai ICT Industry) และ TSEP (Thai Software Export Promotion Association) ในประเทศไทยในครั้งนี้ จะเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อร่วมกันขยายตลาดการให้บริการซอฟต์แวร์ในทั้งสองประเทศได้อย่างยั่งยืนต่อไป”

รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย กล่าวว่า “นับตั้งแต่วิกฤตการณ์ความถดถอยทางเศรษฐกิจและเหตุการณ์สึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น จากสถิติของสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้แสดงว่า มีการลงทุนจากต่างประเทศในช่วงเดือน มกราคม ถึง มีนาคม 2555 ประมาณ 12% และ ส่วนใหญ่เป็นโครงการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นมากเป็นอันดับ 1 อีกทั้งซอฟต์แวร์พาร์คได้รับการติดต่อจากหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชนจากประเทศญี่ปุ่นเพื่อขยายความร่วมมือในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของทั้งสองประเทศ ผ่านกิจกรรมการเจรจาทางการค้า การจับคู่ธุรกิจ และการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ ร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการและนักลงทุน (Venture capitalist) จากประเทศญี่ปุ่น ที่มีความสนใจและต้องการหาคู่ค้าและพันธมิตรในธุรกิจซอฟต์แวร์ของประเทศไทย

รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย

สำหรับในปีนี้ ได้มีกิจกรรมความร่วมมือระหว่างซอฟต์แวร์พาร์คและหน่วยงานต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น เช่น โครงการแลกเปลี่ยนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยการคัดเลือกนักพัฒนา (Programmer) ของไทยเพื่อเดินทางไปฝึกงาน เรียนรู้ระบบการทำธุรกิจซอฟต์แวร์ในญี่ปุ่น รวมถึงสร้างเครือข่ายกับบริษัทซอฟต์แวร์ที่ญี่ปุ่น เป็นเวลา 1 เดือน อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ Inbound-outbound สร้างเครือข่ายพันธมิตร กับหน่วยงานต่างๆ เช่น Kanagawa Information Service Industry Association (KIA) และ Made in Japan Software Consortium (MIJS) เป็นต้น

ส่วนการลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ กับทาง Made in Japan Software Consortium (MIJS) ซึ่งเป็นหน่วยงานภาคเอกชนซอฟต์แวร์ญี่ปุ่น ที่รวมตัวกันเพื่อผนึกกำลังสร้างความร่วมมือในต่างประเทศ ประกอบด้วยสมาชิก 55 บริษัท แบ่ง software เป็น 3 ประเภทหลักคือ ด้าน Infrastructure, Marketing และ Human Resource Managementจะทำให้เกิดการบูรณาการทางด้านการตลาด สร้างความร่วมมือในระดับองค์กร แลกเปลี่ยน know-how, การถ่ายทอดเทคโนโลยี และสร้างเครือข่าย รวมถึงขยายช่องทางการตลาดซอฟต์แวร์ไทยไปตลาดญี่ปุ่นในอนาคต นอกจากนี้ในการบันทึกข้อตกลงร่วมมือกันในครั้งนี้ ได้มีหน่วยงานภาคเอกชนคือ สมาคมซอฟต์แวร์ไทย 2 สมาคมเข้าร่วมลงนามดังกล่าว ประกอบด้วย สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (The Association of Thai ICT Industry: ATCI) และ สมาคมส่งเสริมการส่งออกซอฟต์แวร์ไทย (Thai Software Export Promotion Association) ซึ่งจะทำให้บริษัทสมาชิกของทั้งสองสมาคม ได้รับประโยชน์จากการความร่วมมือในระดับองค์กรดังกล่าว ผ่านการเชื่อมโยงโอกาสทางธุรกิจซอฟต์แวร์ จากประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านเทคโนโลยี เกิดโครงการการพัฒนาซอฟต์แวร์ร่วมกัน เกิดโอกาสในการรับงานพัฒนาซอฟต์แวร์จากประเทศญี่ปุ่น (Software outsourcing) อันจะส่งผลในการขยายโอกาสทางการตลาดในทั้งสองประเทศ เพิ่มมูลค่าการพัฒนาและการส่งออกซอฟต์แวร์ไทย อีกทั้งจะเป็นโอกาสอันดีที่จะสร้างความเชื่อมั่นและความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณภาพของซอฟต์แวร์ไทยต่อไป”

นายมิโนะ คาซูโอะ Chief Director, Made in Japan Software Consortium (MIJS) กล่าวว่า “ความร่วมมือกับหน่วยงานของไทยในวันนี้ถือได้ว่าเป็นโอกาสอันดี เพราประเทศไทยกับญี่ปุ่นถือได้ว่ามีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในภาวะที่เกิดความเดือดร้อนของทั้งสองประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น และเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในไทยเมื่อปีที่ผ่านมา โดยมีความหวังว่าประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน จะร่วมมือกันสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในเอเชีย และพัฒนาประเทศของตนเองให้มีศักยภาพทัดเทียมกับนานาประเทศต่อไป

สำหรับความเป็นมาของ MIJS นั้นเป็นการรวมตัวกันของบริษัทซอฟต์แวร์หลายๆบริษัทที่มีแนวความคิดเหมือนกัน คือ อยากให้คนในหลายๆประเทศ ใช้ซอฟต์แวร์ญี่ปุ่นให้แพร่หลายมากขึ้น ปัจจุบันมีสมาชิกประจำ 19 บริษัท สมาชิกสมทบ 45 บริษัท พันธมิตรที่ทำสื่อมีเดีย 20 สื่อ และพันธมิตรอื่นๆอีก 9 แห่ง โดยสมาชิกประจำส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่การผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาเอง ซึ่งครอบคลุมทั้ง โปรแกรมฟร้อนท์เอนด์ (Front-end solutions) โปรแกรมใช้งานทางธุรกิจ (Business Solutions) และระบบสนับสนุนการดำเนินงาน ส่วนสมาชิกสมทบก็เป็นบริษัทขนาดไอทีชั้นนำของญี่ปุ่น เช่น NEC, Hitachi, และ Fujitsu เป็นต้น

ตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา MIJS ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมในต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยได้เปิดสำนักงานที่ประเทศจีนในเมืองเซี่ยงไฮ้ ซึ่งได้มีการจัดกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง และในปี 2010 ได้ลงนามความร่วมมือกับ สมาคมซอฟต์แวร์เมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน และสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไต้หวัน ในปี 2012 ก็ได้ลงนามความร่วมมือร่วมกับองค์การซอฟต์แวร์ของฮ่องกง ทั้งนี้ตลาดที่กลุ่ม MIJS สนใจมากที่สุดคือ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย โดยเน้นการทำธุรกิจแบบเน้นผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย (Win-Win) เพื่อการทำธุรกิจที่ยั่งยืนกับพันธมิตรในประเทศไทย และมีความคาดหวังในการประสบความสำเร็จในความร่วมมือครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากทั้งสองประเทศมีวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกัน จากจุดเริ่มต้นของความร่วมมืออย่างเป็นทางการในวันนี้จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน และสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจแบบ Win-win เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของทั้งสองประเทศต่อไป”

View :1879