Archive

Archive for the ‘Software’ Category

Thailand’s software piracy rate is dropped.

May 16th, 2012 No comments

Thailand’s software piracy rate is dropped to 72 per cent from 73 per cent in previous year, but the value of pirated software is increased from US$777million to $US852 million or Bt26.4 billion according to the latest release of Business Software Alliance (), the 2011 Global Software Piracy Study.

Thailand is ranked as the 15th from top 20 economies in commercial value of pirated PC software. The value of pirated software in Thailand in 2011 is US$852 million, while value of legal software in Thailand in 2011 is US$331 million.

BSA spokesperson Varunee Ratchatapattanakul said that the software piracy rate in 2011 is 72 per cent that is meaning nearly two out of three programs that used installed were unlicensed. Therefore, the authority would react by increasing police patrols and penalties. Software piracy demands a similar response that are concerted public education and vigorous law enforcement.

Globally, the study found that piracy rate in the emerging market is higher than the mature market. By average, the piracy rate in the emerging market is 68 per cent, while 24 per cent in the mature market.

BSA president and chief executive officer Robert Holleyman said that software piracy persists as a drain on the global economy, IT innovation and job creation. Governments must take steps to modernize their intellectual property (IP) laws and expand enforcement efforts to ensure that those who pirate software face real consequences.

However, the pirated software in Asia Pacific in 2011 is 60 per cent that worth around US$20.99 billion while the pirated software in the global is 42 per cent that worth US$63.45 billion, increased from US$58.8 billion in 2010, a new record, propelled by PC shipments to emerging markets where piracy rates are highest.

Varunee added that the three solutions that BSA proposes the authorities to execute to help reduce the piracy rate. First, the government should increase public education and raise awareness about software piracy and IP rights in cooperation with industry and law enforcement. Second, the government should strengthen enforcement of IP laws with dedicated resources including specialized enforcement units, training for law enforcement and judiciary officials. And third, the government should lead by example by using licensed software, implementing software asset management programs, and promoting the use of legal software on state-own enterprises, and among all contractors and suppliers.

This study is the ninth annual study of global software piracy conducted by BSA in partnership with International Data Corporation (IDC) and Ipsos Public Affairs. Its methodology involves collecting 182 discrete data inputs and assessing PC and software trends in 116 markets. It also include a survey of 15,000 computer users in 33 countries that together constitute 82 per cent of the global PC market.

View :1407
Categories: Software Tags: ,

เทรนด์ ไมโคร ประกาศจับมือเฟซบุ๊กร่วมนำเสนอระบบป้องกันผู้ใช้ในโลกดิจิทัล

May 14th, 2012 No comments

บริษัท เทรนด์ ไมโคร อินคอร์ปอเรท ผู้นำระดับโลกด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบคลาวด์ ประกาศเป็นพันธมิตรร่วมกับเฟซบุ๊ก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับมัลแวร์และไซต์ที่เป็นอันตรายต่างๆ และปกป้องชีวิตของผู้ใช้ในโลกดิจิทัล โดยเฟซบุ๊กจะสนับสนุนการผสานรวมโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายป้องกันภัยอัจฉริยะ (Trend Micro™ Smart Protection Network™) ซึ่งใช้เทคโนโลยีคลาวด์ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของภัยคุกคาม และเครือข่ายระบบตรวจจับภัยคุกคามอัจฉริยะทั่วโลก เพื่อหยุดการทำงานของมัลแวร์และภัยคุกคามบนเว็บในเชิงรุกก่อนที่จะเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ นอกจากนี้ เฟซบุ๊กจะใช้เทคโนโลยีนี้เพื่อช่วยในการปิดกั้นลิงก์ที่เป็นอันตรายต่างๆ ด้วย

ขณะนี้ผู้ใช้เฟซบุ๊กจะได้รับประโยชน์จากการป้องกันในลักษณะเดียวกับที่มีการปรับใช้ในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ระดับโลก เมื่อผู้ใช้เฟซบุ๊ก ไม่ว่าจะผ่านทางเครื่องแมค พีซี หรืออุปกรณ์มือถือ คลิกลิงก์ที่ถูกส่งหรือโพสต์อยู่บนวอลล์ของเพื่อน ลิงก์ดังกล่าวจะถูกวิเคราะห์ก่อนโดยอัตโนมัติ (เบื้องหลัง) จากเครือข่ายป้องกันภัยอัจฉริยะของบริษัท เทรนด์ ไมโคร (Trend Micro™ Smart Protection Network™) ซึ่งจะดำเนินการวิเคราะห์ในแบบเรียลไทม์เพื่อดูว่า URL และเนื้อหาของลิงก์ดังกล่าวปลอดภัยหรือไม่ ถ้าดูเหมือนว่าลิงก์ดังกล่าวจะไม่ปลอดภัย บริษัท เทรนด์ ไมโครจะแจ้งเตือนผู้ใช้ว่าลิงก์นั้นอาจนำไปสู่เว็บไซต์ที่เป็นอันตรายหรือไซต์ของมัลแวร์ได้ นอกจากโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายป้องกันภัยอัจฉริยะจะได้ผสานรวมเข้ากับฐานข้อมูลของเฟซบุ๊กซึ่งเป็นฐานข้อมูลเกี่ยวกับผู้ให้บริการ URL ที่เป็นอันตรายจากภายนอกแล้ว เทคโนโลยีดังกล่าวยังได้นำเสนอการป้องกันขั้นสูงจากระบบคลาวด์เพื่อช่วยปิดกั้นภัยคุกคามในแบบเรียลไทม์ พร้อมทั้งประมวลผล URL อีเมล และการสืบค้นไฟล์กว่า 70 ล้านรายการต่อวัน โดยในแต่ละวันบริษัท เทรนด์ ไมโคร สามารถบล็อกภัยคุกคามได้กว่า 1.4 พันล้านรายการและประมวลผล URL ใหม่ๆ ได้เป็นจำนวนกว่า 300 ล้านรายการ

บริษัท เทรนด์ ไมโคร และเฟซบุ๊กยังร่วมมือกันส่งเสริมและให้ความรู้ด้านความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ โดยจะแจ้ง ให้ทราบถึงพัฒนาการล่าสุดของภัยคุกคามผ่านทางหลากหลายช่องทางที่กำลังดำเนินการอยู่ ไม่ว่าจะเป็นหน้าเว็บด้านความปลอดภัยของเฟซบุ๊ก คำแนะนำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ประกาศในบล็อก แบบสอบถาม วิดีโอ และอื่นๆ

แครอล คาร์เพนเตอร์ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายผู้บริโภค บริษัท เทรนด์ ไมโคร กล่าวว่า “ปัจจุบัน เฟซบุ๊ก ถือเป็นระบบสื่อสารที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และไม่ว่าคุณจะมีอายุ 9 ขวบหรือ 99 ปี ก็สามารถตกเป็นเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์ได้เหมือนๆ กัน นั่นคือสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้เป็นพันธมิตรร่วมกับเฟซบุ๊กในการนำเสนอระดับชั้นการป้องกันเพิ่มเติมให้กับผู้ใช้ ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาไม่ต้องเป็นกังวลเมื่อติดต่อสื่อสารกับเพื่อนๆ และสามารถอัพโหลดรูปภาพในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ของตนได้อย่างสบายใจ”

โจ ซูลลิแวน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความปลอดภัยของเฟซบุ๊ก กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้ผสานรวมกับเครือข่ายป้องกันภัยอัจฉริยะของบริษัท เทรนด์ ไมโคร เข้ากับฐานข้อมูล URL ที่เป็นอันตรายของเฟซบุ๊ก รวมถึงการมีโอกาสที่ได้นำเสนอซอฟต์แวร์ของเทรนด์ ไมโคร ให้กับผู้ใช้ของเราด้วย ความร่วมมือในครั้งนี้จะทำให้เราสามารถปกป้องผู้ใช้บริการของเราได้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ใดบนเว็บก็ตาม”

นอกจากนี้ บริษัท เทรนด์ ไมโคร ยังได้นำเสนอเทรนด์ ไมโคร ไททาเนียม ซิเคียวริตี้ เอสเซนเชียลส์ (Trend Micro™ Titanium™ Security Essentials) รุ่นทดลองใช้ฟรีเป็นระยะเวลา 6 เดือนสำหรับผู้ใช้เฟซบุ๊กผ่านทางพีซี และเทรนด์ ไมโคร สมาร์ท เซิร์ฟวิ่งสำหรับเครื่องแมค (Trend Micro™ Smart Surfing for Mac) รุ่นทดลองใช้ฟรีสำหรับผู้ใช้เฟซบุ๊กผ่านทางเครื่องแมค ซึ่งทั้งสองโซลูชั่นนี้จะจัดเตรียมระบบป้องกันที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการท่องเว็บโดยปราศจากสิ่งรบกวน ในเบื้องต้นบริการนี้จะพร้อมใช้งานสำหรับผู้ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ และออสเตรเลียก่อน เมื่อต้องการลงทะเบียนใช้งานให้เข้าร่วมในชุมชน Fearless Web ของบริษัท เทรนด์ ไมโครทางเฟซบุ๊ก ด้วยการคลิก “Like” Fearless Web เพื่อรับสิทธิ์ใช้งานฟรีเป็นเวลาหกเดือน ซึ่งข้อเสนอนี้ยังจะสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางหน้าความปลอดภัยของเฟซบุ๊ก (https://www.facebook.com/security) ได้ด้วยเช่นกัน
เทรนด์ ไมโคร ไททาเนียม ซิเคียวริตี้ เอสเซนเชียลส์สำหรับพีซี • ใช้เทคโนโลยีคลาวด์เพื่อหยุดภัยคุกคามในลักษณะเชิงรุกก่อนที่จะมาถึงตัวคุณ • ใช้พื้นที่ฮาร์ดดิสก์และหน่วยความจำไม่ถึงครึ่งเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัยอื่นๆ • อินเทอร์เฟสง่ายต่อการติดตั้งและใช้งาน และยังได้รับคะแนนระดับสูงสุดจากการทดสอบ AV Comparatives*
เทรนด์ ไมโคร สมาร์ท เซิร์ฟวิ่งสำหรับเครื่องแมค • ป้องกันกลลวงฟิชชิ่งและภัยคุกคามออนไลน์อื่นๆ รวมถึงป้องกันการดาวน์โหลดสิ่งที่เป็นอันตรายจากเว็บไซต์ • ช่วยให้คุณสามารถจัดการกิจกรรมทางออนไลน์ของบุตรหลานได้ด้วยคุณสมบัติการควบคุมโดยผู้ปกครอง • การอัพเดตอัตโนมัติไม่มีค่าใช้จ่าย • เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเครื่องแมคที่ขายดีเป็นอันดับหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา**

* อ้างอิงข้อมูลผลการทดสอบ AV Comparatives Whole Product Dynamic “Real World” Protection ระหว่างเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2554
** อ้างอิงข้อมูลยอดจำหน่ายปลีกรวมสิบสองเดือนในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งรายงานโดย NPD Group เมื่อเดือนมกราคม 2555

View :1349

บก. ปอศ. จับมือผู้บริหารพันธุ์ทิพย์ฯ เร่งปราบปรามซอฟต์แวร์เถื่อนตามห้าง

April 5th, 2012 No comments

5 เมษายน 2555 – ตำรวจเร่งตรวจสอบและปราบปรามการค้าซอฟต์แวร์เถื่อนตามศูนย์การค้าไอทีและห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศ ประกาศจัดหนักในช่วงเดือนเมษาถึงมิถุนาปีนี้ตามนโยบายรัฐบาลที่มีการตั้งเป้าหมายให้ไทยหลุดโผ PWL ของสหรัฐฯ พร้อมจับมือผู้ประกอบการศูนย์การค้าช่วยประสานแจ้งเตือนและสอดส่องดูแลผู้เช่า ล่าสุดเปิดตัวหุ่นตำรวจไอที “จ่าเฉย” เพื่อช่วยกระตุ้นจิตสำนึกผู้ซื้อและผู้ขายซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์

กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ บก.ปอศ. ได้ใช้ความพยายามมาโดยตลอดที่จะลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่มาพร้อมกับการค้าปลีกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะในศูนย์การค้าด้านไอที โดยได้เรียกประชุมเพื่อขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการศูนย์การค้าให้ช่วยสอดส่องดูแลและแจ้งเตือนผู้เช่าให้งดเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์สินค้า อาทิ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภาพยนตร์ และเครื่องแต่งกาย โดยถือเป็นการแสดงความรับผิดชอบในฐานะเจ้าของพื้นที่ให้เช่า

พ.ต.อ. ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผู้บังคับการ บก. ปอศ. กล่าวว่า จากการสำรวจเมื่อไม่นานมานี้พบว่า มีร้านค้าเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อยู่ประมาณ 1,200 แห่งทั่วประเทศ โดย 450-500 ร้านค้าตั้งอยู่ในกรุงเทพฯและจังหวัดใหญ่ๆ และมียอดขายคิดเป็นร้อยละ 80 ของยอดขายโดยรวมในแต่ละปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่ตำรวจจะจับตามองเป็นพิเศษในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายนปีนี้

“การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียรายได้จากภาษีอากรในแต่ละปีเป็นจำนวนมหาศาล และยังเป็นการทำลายภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาของต่างประเทศ อีกทั้งยังทำให้ประเทศสูญเสียโอกาสทางการค้า โดยเฉพาะการที่ไทยยังอยู่ในข่ายประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษของสหรัฐอเมริกา ตำรวจจึงจำเป็นต้องเร่งปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างเคร่งครัด” พ.ต.อ. ชัยณรงค์ กล่าว

บก. ปอศ. จึงได้ร่วมมือกับศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า สาขาประตูน้ำ ในการทำโครงการ “จ่าเฉย” เพื่อพิทักษ์ลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยจะทำการติดตั้งหุ่นจำลองตำรวจ “จ่าเฉย” ในจุดต่างๆ ของศูนย์การค้า เพื่อเป็นการย้ำเตือนจิตสำนึกไม่ให้ผู้ค้าทำการละเมิดลิขสิทธิ์และผู้บริโภคไม่ให้ซื้อสินค้าที่ผิดกฎหมายเหล่านั้น และยังเป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นถึงความเข้มข้นของมาตรการที่ภาครัฐจะนำมาใช้ ทั้งในการป้องปรามและปราบปรามอาชญากรรมด้านทรัพย์สินทางปัญญาอีกด้วย

พ.ต.อ. ชัยณรงค์ กล่าว เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ที่นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย จะถูกนำมาเป็นแบบเครื่องเปล่าไม่มีโปรแกรมใดๆ ซึ่งมีผู้ค้าปลีกจำนวนน้อยมากที่จะมีการจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมการติดตั้งโปรแกรมที่ถูกต้อง ผู้ซื้อส่วนใหญ่เลือกที่จะซื้อซอฟต์แวร์เถื่อนในราคา 300-500 บาท เพื่อติดตั้งและนำมาใช้งาน

“ผู้บริโภคมิได้ตระหนักว่า การกระทำดังกล่าวเสมือนการเป็นมิจฉาชีพที่ทำการขโมยทรัพย์สินของผู้อื่น ซึ่งบางครั้งซอฟต์แวร์ที่นำไปใช้เป็นการผลิตจากฝีมือของคนไทยด้วยกันนั่นเอง ทั้งนี้ ผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์เถื่อนทราบดีว่า เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและมีบทลงโทษอย่างชัดเจนแต่กลับเพิกเฉยเสีย” พ.ต.อ. ชัยณรงค์ กล่าวเพิ่มเติม

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปีพ.ศ. 2558 ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศสมาชิกจะต้องจัดการกับปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และในส่วนของ บก.ปอศ. เอง ก็จะมุ่งเน้นในการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์

“ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์มีราคาถูกกว่าก็จริง แต่สิ่งที่ผู้บริโภคอาจจะได้กลับมาจากการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายนั้น คือพวกมัลแวร์และไวรัสต่างๆ ที่มากับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เหล่านั้น ทางการใคร่ขอเตือนผู้ขายว่า เราจะมีแผนบุกเข้าตรวจค้นถี่ขึ้น และจากการที่ได้ทำการประชาสัมพันธ์ให้ได้รับรู้ทั่วกันแล้ว ผู้ที่กระทำความผิดจะได้รับการพิจารณาโทษอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้” พ.ต.อ. ชัยณรงค์ กล่าว

เมื่อปีที่ผ่านมา ตำรวจบุกเข้าตรวจค้นซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายมูลค่ากว่า 500 ล้านบาท ซึ่งภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ปี พ.ศ. 2537 การละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการขาย การถือครองเพื่อขาย หรือการนำเสนอขายโปรแกรมเหล่านั้นมีโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 800,000 บาท และศาลอาจมีคำสั่งให้ปิดกิจการของผู้กระทำความผิดได้

ประเทศไทยตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะแซงหน้าฮ่องกง ขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในด้านการลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ลงให้ได้มากที่สุด ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 80 ในปีพ.ศ. 2549 เหลือร้อยละ 73 ในปีพ.ศ. 2553

View :1368

ออโตเดสก์ให้ลิขสิทธิ์นักพัฒนาเกมใช้ Autodesk Gameware พัฒนานินเทนโดรุ่นใหม่

April 5th, 2012 No comments

ในงานสัมมนานักพัฒนาเกมออโตเดสก์ได้มอบลิขสิทธิ์ในการใช้เทคโนโลยี แก่ (Nintendo) ในการพัฒนาเครื่องเล่นนิเทนโดสำหรับแพลตฟอร์มที่รุ่นใหม่ของ Wii U และช่วยสร้างความแตกต่างให้กับเครื่องเล่นนินเทนโดรุ่นใหม่ที่จะวางจำหน่ายในปลายปีนี้

ภายใต้ข้อตกลงนี้ออโตเดสก์มอบลิขสิทธิ์ให้นักพัฒนาเกม Wii U ใช้เทคโนโลยี Autodesk Gameware จากออโตเดสก์ถึง 3 เทคโนโลยีด้วยกันเพื่อนำมาพัฒนาเกมขั้นสุดยอดนี้ ได้แก่ Autodesk Scaleform ตัวกลางในการพัฒนายูสเซอร์อินเตอร์เฟซ, Autodesk Kynapse ตัวกลางสำหรับปัญญาประดิษฐ์ และ Autodesk HumanIK ตัวกลางสำหรับการจัดการการโต้ตอบของตัวละครแบบเคลื่อนไหวได้

สายผลิตภัณฑ์ Autodesk Gameware ของออโตเดสก์ประกอบไปด้วยโซลูชั่นโซลูชั่นพัฒนาเกมที่ใช้ทดสอบผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้ทดสอบอย่างน้อย 1,000เกมส์ต่อวัน เทคโนโลยีนี้ช่วยนักพัฒนาเกมเพิ่มมูลค่าให้กับการผลิตในขณะเดียวกันลดระยะเวลาการพัฒนาให้สั้นลง ทำให้พวกเขาสามารถมุ่งเน้นไปที่การสร้างเกมที่น่าสนใจเพื่อตอบสนองต่อผู้บริโภค

“เทคโนโลยี Autodesk Gameware นี้ถูกใช้โดยทีมนักพัฒนาชั้นยอดในอุตสาหกรรมและเป็นที่ยอมรับในวงการ โดยความสัมพันธ์ของเรากับบริษัทหลักอย่าง นินเทนโดนี้เราสามารถนำโซลูชั่นของเราเข้าไปช่วยนักพัฒนาเกมได้มากขึ้น” กล่าวโดย มาร์ค เปติ ประธานอาวุโสของออโตเดสก์มีเดียและเอ็นเตอร์เทนเมนต์ “การนำ Autodesk Gameware มาใช้ข่วยปรับปรุงกระบวนการผลิต ทำให้สามารถใช้ทรัพยากรต่างๆ สำหรับนวัตกรรมในด้านใหม่ๆ ได้มากขึ้น การเปลี่ยนแปลงในการพัฒนานี้จะช่วยให้เราสร้างสรรค์ยุคใหม่ให้น่าสนใจกว่าสิ่งที่ผ่านๆ มา”

View :1703

ไมโครซอฟท์สนับสนุนนักพัฒนาเว็บไซต์ไทยสู่สากลด้วยเทคโนโลยี HTML5 ผ่านโครงการ “Travel Thailand, Bring Back the Land of Smiles”

February 22nd, 2012 No comments


บริษัท (ประเทศไทย) จำกัด มุ่งผลักดันเทคโนโลยีมาตรฐานล่าสุด ผ่านโครงการแข่งขันออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ “Travel Thailand, Bring Back the Land of Smiles” โดยเชิญชวนนักพัฒนาเว็บไซต์ไทยให้ใช้เทคโนโลยี ในการพัฒนาเว็บไซต์ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย ด้วยความสามารถพิเศษต่างๆ ของ อาทิ Responsive Web Design ที่สามารถแสดงมุมมองที่เหมาะสมบนทุกอุปกรณ์ไอทีและบราวเซอร์ เพื่อตอบรับกับไลฟ์สไตล์โมบิลิตี้ของผู้บริโภคยุคใหม่

ความสามารถที่โดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของ HTML5 คือช่วยให้ผู้ใช้สามารถเปิดไฟล์เสียงและวิดีโอผ่านบราวเซอร์ใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมเสริมหรือปลั๊กอิน สามารถเล่นย้อนกลับไปมาได้อย่างอิสระ เว็บไซต์โซเชียลมีเดียชื่อดังระดับโลกอย่างเฟซบุ๊คนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังสามารถใช้งานผ่านอุปกรณ์ไอทีที่หลากหลายได้ทุกที่ทุกเวลา ไมโครซอฟท์ ในฐานะหนึ่งในสมาชิก 150 องค์กร และกลุ่มทำงาน 350 แห่ง ที่สนับสนุนการสร้างมาตรฐานไอทีในระดับโลก ไม่ใช่เพียงให้ผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์สามารถทำงานร่วมกับโอเพ่นซอร์ส แต่ส่งเสริมให้โอเพ่นซอร์ส์ทำงานร่วมกับไมโครซอฟท์ได้เป็นอย่างดี จึงพร้อมผลักดันการใช้งาน HTML5 เทคโนโลยีมาตรฐานใหม่นี้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานเว็บไซต์ผ่านอุปกรณ์ไอทีที่หลากหลาย บนแพล็ตฟอร์มใดก็ได้ ในทุกที่ทุกเวลา โดยผลิตภัณฑ์ไมโครซอฟท์ที่กำลังจะออกสู่ตลาดในเร็วๆ นี้ ไม่ว่าจะเป็นวินโดว์ 8 และอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 10 () ต่างสนับสนุนการทำงานของ HTML5 โดยเฉพาะอินเทอร์เฟซแบบ Metro Style จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ

สงวน ธรรมโรจน์สกุล ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมนักพัฒนา บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด


นายสงวน ธรรมโรจน์สกุล ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมนักพัฒนา บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลกและผู้ร่วมสนับสนุนการสร้างมาตรฐานไอที ไมโครซอฟท์ผลักดันแนวคิด Interoperability ซึ่งหมายถึงความสามารถในการทำงานร่วมกันของระบบต่างๆ และเล็งเห็นถึงความสำคัญในการร่วมผลักดันเทคโนโลยีมาตรฐานล่าสุดที่จะช่วยเพิ่มประสบการณ์การใช้งานไอทีให้กับผู้ใช้ ด้วยเทคโนโลยีที่หลากหลาย และ HTML5 คือเทคโนโลยีล่าสุดที่จะเข้ามาช่วยต่อยอดการทำงานของนักพัฒนาเว็บไซต์ ให้ผลงานสามารถแสดงผลอย่างเหมาะสมผ่านหน้าจอที่หลากหลายของอุปกรณ์และแพลตฟอร์มต่างๆ โดยไม่มีข้อจำกัด บริษัทฯ หวังว่าผลงานการออกแบบเว็บไซต์ภายใต้โครงการแข่งขันออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ “Travel Thailand, Bring Back the Land of Smiles” จะช่วยสร้างการรับรู้และขยายการใช้งาน HTML5 ในวงกว้างในประเทศไทย อีกทั้งช่วยโปรโมทการท่องเที่ยวไทยได้เป็นอย่างดี”

หลังจากเปิดตัวไปเมื่อกลางเดือนมกราคม 2555 โครงการแข่งขันออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ ภายใต้หัวข้อ “Travel Thailand, Bring Back the Land of Smiles” ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยมีนักพัฒนาเว็บไซต์เข้าร่วมกว่า 300 คน สำหรับจำนวนแฟนของเฟซบุ๊คแฟนเพจ HTML5 Developer Thailand ซึ่งเป็นช่องทางการรับสมัครและศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างไมโครซอฟท์และผู้สมัคร ก็เพิ่มขึ้นกว่า 1,000 คนแล้ว

เว็บไซต์ชื่อดังของไทยที่ก่อตั้งมายาวนานถึง 15 ปี ถือเป็นเว็บไซต์ของไทยเว็บไซต์แรกที่ตัดสินใจปรับปรุงเว็บไซต์ โดยนำเทคโนโลยี HTML5 มาพัฒนา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการข้อมูลข่าวสารออนไลน์ของผู้ใช้ในปัจจุบัน โดยพันทิปดอทคอมถือเป็นศูนย์กลางสังคมออนไลน์สำหรับข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การเงิน ภาพยนตร์ การทำอาหาร ท่องเที่ยว สัตว์เลี้ยง การถ่ายภาพ ครอบครัว อุปกรณ์สื่อสาร ไอทีและอีกมากมาย มีจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์สูงถึง 700,000 คนต่อวัน โดยเว็บไซต์รูปแบบใหม่ที่พัฒนาบนเทคโนโลยี HTML5 จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการประมาณเดือนกรกฎาคม

ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์ เว็บไซต์พันทิปดอทคอม หัวหน้าทีมพัฒนาเว็บไซต์พันทิปดอทคอม


นายอภิศิลป์ ตรุงกานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์ เว็บไซต์พันทิปดอทคอม หัวหน้าทีมพัฒนาเว็บไซต์พันทิปดอทคอม กล่าวถึงการหันมาใช้เทคโนโลยี HTML5 ว่า “ผู้บริโภคมีความต้องการที่จะเข้าถึงข้อมูลและบริการเว็บไซต์ทุกที่ทุกเวลา โดยเฉพาะปัจจุบันการเข้าถึงข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตต่างๆ มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเทคโนโลยี HTML5 ตอบโจทย์ตรงนี้ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างเต็มที่ เราจึงตัดสินใจนำ HTML5 มาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเว็บไซต์พันทิปดอทคอมในลุคใหม่”

นายอภิศิลป์ ตรุงกานนท์ เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินโครงการแข่งขันออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ “Travel Thailand, Bring Back the Land of Smiles” นอกจากนี้ ยังมีกรรมการจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย และเว็บไซต์ Blognone ที่ต่างร่วมกันผลักดันและสนับสนุนให้นักพัฒนาเว็บไซต์ไทยได้ใช้เทคโนโลยี HTML5 ในการสร้างสรรค์เว็บไซต์ที่มีคุณภาพ โดยกิจกรรมต่อไปภายใต้โครงการฯ นี้คือ ทริปถ่ายภาพ ที่จะนำรูปมาให้ผู้สมัครเข้าแข่งขันได้ใช้งาน จะจัดขึ้นที่จังหวัดอยุธยา ในวันที่ 3 มีนาคม 2555 และคอร์สอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี HTML5 ซึ่งจะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในช่วงต้นเดือนมีนาคม โดยโครงการฯ ได้ขยายเวลาปิดรับสมัครไปจนถึงวันที่ 30 มีนาคม 2555 เนื่องจากมีผู้สนใจเข้าร่วมการแข่งขันเป็นจำนวนมาก ผู้สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://html5thailand.com

View :3421

ไทยพีบีเอส ร่วมกับ สสวท. เผยแพร่การ์ตูนแอนิเมชั่นฝีมือคนไทย“ไซน์คิดส์ พิชิตปริศนา” ได้รับความนิยมเทียบเท่าการ์ตูนต่างประเทศ

February 9th, 2012 No comments

สถานีโทรทัศน์ ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี () และ บริษัท จำกัด เผยแพร่การ์ตูนแอนิเมชั่น ฝีมือคนไทย“ไซน์คิดส์ พิชิตปริศนา” สอนวิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ เพื่อการเรียนรู้ของเด็กไทย โดยเริ่มออกอากาศตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม ที่ผ่านมา ได้รับความนิยมจากเด็กๆไม่แพ้การ์ตูนต่างประเทศที่ออกอากาศทางไทยพีบีเอส

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส มีนโยบายให้ความสำคัญกับรายการเด็กเยาวชนเป็นพิเศษ โดยเฉพาะรายการในกลุ่มที่เสริมสร้างความคิด จินตนาการ การเรียนรู้ทักษะชีวิต จึงได้จัดสรรเวลาสำหรับเด็กและครอบครัวออกอากาศ การ์ตูนแอนิเมชั่น จากผลสำรวจความนิยมการรับชมรายการโทรทัศน์โดยวัดจากเรตติ้ง(Rating) ประจำเดือนธันวาคม 2554 และเดือน มกราคม 2555 ซึ่งเป็นการ์ตูนที่ผลิตโดยฝีมือคนไทยได้รับความนิยมจากผู้ชมใกล้เคียงการ์ตูนต่างประเทศเรื่องอื่นๆที่ออกอากาศทางไทยพีบีเอสเช่นกัน และจากข้อมูลเรตติ้ง(Rating) เฉพาะกลุ่มเด็กที่รับชมรายการโทรทัศน์ในช่วงเวลาเดียวกัน พบว่า ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มผู้ชมเด็กอายุ 4 -14 ปี ซึ่งจัดอยู่ในระดับที่ดีมาก

“ไซน์คิดส์ พิชิตปริศนา” เป็นการ์ตูนแอนิเมชั่นแนวผจญภัยแฟนตาซี ค้นหาปริศนาด้านวิทยาศาสตร์ ที่ช่วยเปลี่ยนเรื่องราวของวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนและเข้าใจยาก ให้สนุก เข้าใจง่ายเพราะวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ดูแล้ว เด็กๆ จะประทับใจกับการ์ตูนที่สนุกและแฝงสาระ ติดตามชมได้ทุกเช้าวันเสาร์ เวลา 6.40 น. – 06.50 น. ในรายการขบวนการ FUN น้ำนม ทางไทยพีบีเอส

View :3594

โกลบเทคฟ้อง โนเกีย(ประเทศไทย) ละเมิดลิขสิทธิ์ข้อมูลแผนที่

February 6th, 2012 No comments

ประกาศกร้าวฟ้องร้อง กล่าวโทษ โนเกีย (ประเทศไทย) และนาฟเทค โซลูชั่น (ประเทศไทย) ละเมิดลิขสิทธิ์ข้อมูลแผนที่ วอนเรียนรู้จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ พร้อมกระตุ้นให้คนไทยร่วมกันรักษาสิทธิ เพื่อปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาไทย ไม่ให้ถูกละเมิดจากบริษัทต่างชาติ สร้างความเสียหายต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจของไทย

นายวิชัย แสงหิรัญวัฒนา ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โกลบเทค จำกัด ผู้นำในการให้บริการ Location Content Provider หนึ่งในกลุ่มบริษัทซีดีจี เปิดเผยว่า
ในขณะนี้บริษัทฯได้ดำเนินคดีฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ บริษัท โนเกีย (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตแผนที่ ให้กับ โนเกีย เนื่องจากบริษัทดังกล่าว ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ข้อมูลแผนที่ที่เป็นลิขสิทธิ์ของ บริษัท โกลบเทค ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลแผนที่ดิจิตอล () มากที่สุดในประเทศไทย

โดยเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2554 บริษัท โกลบเทค จำกัด ได้ส่งหนังสือแจ้งเตือนไปยัง บริษัท โนเกีย (ประเทศไทย) จำกัดและ บริษัท นาฟเทค โซลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อให้ดำเนินการลบข้อมูลแผนที่ที่ได้คัดลอก ทำซ้ำ หรือดัดแปลง จากข้อมูลแผนที่ CDG Map ออกจากข้อมูลแผนที่ Ovi Map ทั้งหมด พร้อมทั้งให้เรียกเก็บข้อมูลแผนที่ Ovi Map ที่ได้จำหน่ายไปแล้วออกจากตลาดโดยทันที นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือ รวมทั้งห้ามบริษัท โนเกีย(ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท นาฟเทค โซลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินการใดๆอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์อีกต่อไป นอกจากนี้หากพบว่าผู้ใดนำไปเผยแพร่ต่อ บริษัท โกลบเทค ก็พร้อมที่จะดำเนินการตามกฎหมายทันที เพื่อช่วยกระตุ้นให้คนไทยร่วมรักษาสิทธิและปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของไทย ไม่ให้ถูกละเมิดโดยต่างชาติอีกด้วย เพื่อจะเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศ
นอกจากนี้ บริษัทโกลบเทค จำกัด ยังได้ดำเนินคดีในกรณีการละเมิดลิขสิทธ์ข้อมูลแผนที่ กับ บริษัท อาปิโก ไอทีเอส จำกัด เช่นเดียวกัน ในกรณีนำข้อมูลแผนที่ CDG Map ไปใช้ในแผนที่ Power map Z9

การดำเนินคดีทางกฎหมายกับ บริษัท โนเกีย (ประเทศไทย) จำกัดและ บริษัท นาฟเทค โซลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ดังกล่าว ยังเป็นการสนับสนุนให้มีการเรียกร้องในสังคมไทย ให้ร่วมปกป้องในสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาในส่วนการผลิตสาขาอื่นๆด้วย เพราะการผลิตผลงานด้วยทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) นั้น ใช้พลังศักยภาพอย่างสูง พร้อมทั้งมีการลงทุนทางธุรกิจด้วยมูลค่ามหาศาล ซึ่งเป็นการยืนยันว่าคนไทยสามารถผลิตผลงานจากทรัพย์สินทางปัญญาได้ในระดับโลก ดังนั้น จึงต้องทำการปกป้องสิทธิตามกระบวนการยุติธรรมทุกประการ

“การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของไทยไม่ให้ถูกละเมิดโดยต่างชาตินั้น เป็นเรื่องที่เราต้องให้ความสำคัญอย่างมาก คนไทยมีศักยภาพและมีความสามารถในการผลิตผลงานได้อย่างมีคุณภาพ แต่หากถูกละเมิดอยู่ตลอดเวลาเช่นนี้แล้ว ผู้ประกอบการไทยจะมีกำลังใจในการผลิตผลงานทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาออกมาได้อย่างไร เพราะผลิตผลงานออกมา ก็ต้องมาเจอกับสภาพอย่างที่เกิดขึ้นในกรณีนี้”

นายวิชัย กล่าวว่า ในการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมครั้งนี้ บริษัท โกลบเทค จำกัด ได้ขอความคุ้มครองจากอำนาจศาลบังคับให้ผู้ถูกฟ้องร้อง คือ บริษัท โนเกีย (ประเทศไทย)จำกัด และ บริษัท นาฟเทค โซลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัด หยุดจำหน่าย จ่าย โอน และดำเนินการใดๆในการละเมิดลิขสิทธิ์อีกต่อไป เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายที่ขยายตัวอย่างกว้างขวางต่อบริษัท โกลบเทค ทั้งนี้สำหรับมูลค่าความเสียหายจากการเรียกร้องในคดี กับทั้ง 2 บริษัท ดังกล่าว คิดเป็นมูลค่า 540 ล้านบาท

บริษัทฯมีเทคนิคการทำตำหนิพิเศษบนข้อมูลแผนที่ CDG Map ไว้ เพื่อใช้ในการตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลแผนที่ที่จัดทำและผลิตโดย บริษัท โกลบเทค จำกัด การที่บริษัทฯตัดสินใจดำเนินการฟ้องร้องครั้งนี้ เพราะบริษัทฯได้รับความเสียหายในทางธุรกิจ ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทฯตรวจพบตำหนิพิเศษดังกล่าวบนข้อมูลแผนที่ Ovi Map ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใต้แบรนด์ Nokia

“ผมเชื่อในกระบวนการยุติธรรม เราเป็นเอกชนไทยรายหนึ่งถูกละเมิดลิขสิทธิ์จากต่างชาติ การที่เรายื่นขอความเป็นธรรมผ่านขั้นตอนกระบวนการยุติธรรมทุกขั้นตอนโดยถูกต้อง เพื่อที่จะเรียกร้องความถูกต้องและเป็นธรรม เพราะเราเป็นกลุ่มธุรกิจคนไทย ที่มีความมุ่งมั่นผลิตผลงาน จากทรัพย์สินทางปัญญาของเราเอง เราลงทุน แต่ต่างชาติรายอื่นมาฉกฉวยประโยชน์จากการลงทุนของเรา ผมก็อยากจะให้สังคมไทยมองว่า ถึงเวลาหรือยังที่เราคนไทยจะต้องร่วมกันปกป้องสิทธิตรงส่วนนี้ ไม่ได้เพียงเพื่อประโยชน์ของบริษัทโกลบเทค เพียงรายเดียว แต่เพื่อคนไทยทั้งประเทศอีกด้วย” นายวิชัยกล่าวในตอนท้าย

View :1400

ซอฟต์แวร์พาร์คเร่งผนึกกำลัง 3 พาร์ค ร่วมขยายความเข้มแข็งอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยสู่ระดับภูมิภาค เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่ AEC 2015

January 31st, 2012 No comments

เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) หน่วยงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ 3 เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ส่วนภูมิภาคใน 3 จังหวัดคือ อีสานซอฟต์แวร์พาร์ค ซอฟต์แวร์พาร์คภูเก็ต และโคราชซอฟต์แวร์พาร์ค ก่อตั้งกลุ่มเครือข่ายซอฟต์แวร์พาร์คในประเทศไทย หรือ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไอทีไทยสู่ระดับภูมิภาค เตรียมความพร้อมเข้าสู่เศรษฐกิจประชาคมอาเซียนในปี 2558 (ASEAN Economic Community: AEC 2015)

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสวทช. กล่าวว่า “สวทช. เล็งเห็นว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และไอทีเป็นอุตสาหกรรมฟันเฟืองที่สำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจอื่นๆ และเป็นปัจจัยที่เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจ และ สวทช. มีหน่วยงานที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมไอที 2 หน่วยงานด้วยกัน คือ NECTEC ซึ่งมีมุ่งเน้นการทำวิจัยด้านไอทีและอิเลคทรอนิกส์ และซอฟต์แวร์พาร์ค มุ่งเน้นการส่งเสริมผู้ประกอบการและการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ โดยเป็นพาร์คแห่งแรก และเป็นต้นแบบของการบริหารจัดการซอฟต์แวร์พาร์คในไทย ทั้งนี้เพื่อขยายผลการดำเนินงานของซอฟต์แวร์พาร์ค จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งสร้างเครือข่ายและทำงานร่วมกับพันธมิตร เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและสร้างผลกระทบในวงกว้างให้กับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดเสรี หรือ AEC 2015 เพราะหากไม่เตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรมให้ทั่วถึงส่วนภูมิภาคของประเทศ อาจจะส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยในอนาคต”

รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการซอฟต์แวร์พาร์ค กล่าวว่า “การรวมกลุ่ม Thailand Software Park Alliances (TSPA) นั้น เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกันอย่างเป็นรูปธรรม ให้เกิดผลในภาพรวมต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ โดยเป็นการขยายโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค การขยายผลการจัดกิจกรรมต่างๆ ของซอฟต์แวร์พาร์ค ออกสู่พาร์คต่างๆในภูมิภาค รวมถึงความร่วมมือในด้านอื่นๆ อาทิ 1. การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเจ้าหน้าที่และบริษัทผู้เช่าในพาร์คต่างๆ 2. การส่งเสริมผู้ประกอบการ และการขยายตลาดซอฟต์แวร์ ผ่านกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ และการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อสร้างช่องทางในการทำธุรกิจและบุกตลาดในประเทศร่วมกัน 3. การเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ประกอบการในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่มีศักยภาพในการออกตลาดต่างประเทศ และเตรียมพร้อมรับมือการเปิดเสรีเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 และ 4. กิจกรรมส่งเสริมการใช้ไอทีในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น โดยกิจกรรมต่างๆ ของซอฟต์แวร์พาร์คที่มีอยู่เดิมจะพยายามขยายผลออกสู่ภูมิภาคให้มากขึ้น ภายใต้ศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน”

ผอ.ซอฟต์แวร์พาร์ค กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “พาร์คต่างๆ ทั้งที่ดำเนินงานโดยภาครัฐ ภาคการศึกษาและภาคเอกชน แม้ว่าจะจัดตั้งขึ้นโดยมีจุดมุ่งเน้นที่ต่างกันในแต่ละแห่ง แต่ทุกพาร์คมีเป้าหมายร่วมเดียวกันคือการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องผนึกกำลังร่วมมือกัน โดยใช้จุดแข็งของแต่ละแห่ง เพื่อพัฒนาเป็นเครือข่าย และร่วมวางแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมและบุคลากรในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้มีความเข้มแข็ง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย และเพื่อเตรียมพร้อมรับมือการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ที่จะเกิดขึ้นในปี 2015 อันจะส่งผลให้มีการเปิดเสรีในด้านการตลาด การลงทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างอิสระ ซึ่งหากผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย รวมถึงบุคลากรไอทีไทยไม่เตรียมพร้อมรับมือ จะทำให้เกิดความเสียเปรียบจากการเปิด AEC 2015 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมไปถึงในปัจจุบันนี้ Business Model ในการดำเนินธุรกิจซอฟต์แวร์กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง โดยมีแนวโน้มว่ารูปแบบของซอฟต์แวร์จะเเปลี่ยนจาก Product เป็น Service มากขึ้น หากผู้ประกอบการไม่เตรียมตัวอาจจะทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจและขาดศักยภาพในการแข่งขันโดยเฉพาะเมื่อมีปัจจัยของ AEC 2015 เข้ามาร่วมด้วย

โดยในปีนี้ซอฟต์แวร์พาร์คเองในฐานะหน่วยงานภาครัฐ ที่มีบทบาทในการส่งเสริมผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย จึงได้มุ่งเน้นแผนการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น ภายใต้หลักการตามที่คณะกรรมการบริหารของซอฟต์แวร์พาร์คได้ให้แนวทาง 3 ประการคือ 1. การดำเนินงานให้สอดคล้องกับหน่วยงานหรือองค์กรอื่นๆที่มีบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ เพื่อลดความซ้ำซ้อนและเกิดความเป็นเอกภาพในการทำงาน อันจะส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม 2. ผลักดัน Emerging Technology อาทิเช่น Cloud and Mobile Technology ให้เกิด Ecology ที่สมบูรณ์และมีการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่คาดว่าจะสร้างประสิทธิภาพให้กับภาคอุตสาหกรรมไทยได้เป็นอย่างดี 3. ผลักดันการรวมตัวของเครือข่ายซอฟต์แวร์พาร์คในประเทศเพื่อขยายผลกิจกรรมออกสู่ภูมิภาค และร่วมวางแผนการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือ AEC 2015 รวมถึงสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมไปถึงการขยายผลความร่วมมือของเครือข่ายซอฟต์แวร์พาร์คในระดับเอเชีย โอเชียเนีย (Asia Oceania Software Park Alliance) เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือและสร้างพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ในกลุ่มประเทศอาเซียน”

ผศ.วันชัย สุ่มเล็ก ผอ.ศูนย์ประสานงานเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ E-Saan Software Park กล่าวว่า “บทบาทของอีสานซอฟต์แวร์พาร์คที่ผ่านมาคือ ช่วยสนับสนุนจังหวัดขอนแก่นในนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การเผยแพร่ความรู้ให้กับบุคลากรทุกระดับ พัฒนานักพัฒนาซอฟต์แวร์ให้เป็นผู้ประกอบการด้านไอทีโดยผ่านกระบวนการบ่มเพาะผู้ประกอบการ (Incubate) พัฒนาบัณฑิตของสถาบันการศึกษาในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียงให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ในแต่ละปีสถาบันการศึกษาในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง ได้ผลิตบุคคลากรด้านซอฟต์แวร์และไอทีจำนวนกว่า 1000 คน แต่ปริมาณงานทางด้านไอที รวมถึงบริษัทซอฟต์แวร์และไอทีในจังหวัดขอนแก่นและใกล้เคียงยังมีไม่มากพอที่จะรองรับบุคคลากรที่สถาบันการศึกษาผลิตได้ ส่งผลนักศึกษาที่จบการศึกษาทางด้านไอทีเหล่านั้นต้องจากถิ่นฐานเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯและปริมณฑลหรือเปลี่ยนไปทำงานในด้านอื่นที่ไม่ใช้ความรู้ด้านไอที สิ่งที่อีสานซอฟต์แวร์ปาร์ควางแผนที่จะดำเนินการต่อไป คือ ร่วมมือกับบริษัทซอฟต์แวร์ฯ สถาบันการศึกษาต่างๆ ในการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาผ่านกระบวนการสหกิจศึกษาโดยคาดหวังว่านักศึกษาจะเข้าใจธุรกิจด้านนี้ และมีคุณลักษณะสอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจมาก โดยจะนำจุดแข็งในเรื่องของการสร้างคน และมุ่งมั่นที่จะสร้างอีสานซอฟต์แวร์พาร์คให้เป็น “Thailand Local Outsourcing Center” เพื่อให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่และสร้างบุคลากรไอทีให้พร้อมเพื่อรองรับการขยายตัวของ AEC 2015”

นางปวันรัตน์ ปานรักษา รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ““จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดขนาดใหญ่เป็นที่สองของประเทศไทย ที่มีแหล่งรายได้หลัก มาจากอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งการขับเคลื่อนกิจการต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นกลไกสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือซอฟต์แวร์ ดังนั้นจึงเกิดความต้องการซอฟต์แวร์ ตลอดจนแรงงานทางด้าน ICT เป็นจำนวนมาก แต่ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา จังหวัดนครราชสีมายังประสบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรดังกล่าว ซึ่งเกิดจากสาเหตุที่สาคัญ 3 ประการ คือ 1. นักศึกษาทางด้าน ICT ที่จบมาจากสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ยังขาดทักษะในการประกอบอาชีพทางด้าน ICT ไม่อยู่ในสถานะพร้อมใช้งาน 2. ผู้ประกอบการ ICT ในพื้นที่มีจานวนน้อยเกินไป และมีขนาดเล็ก ซึ่งไม่สอดคล้องกับความต้องการของกิจการต่างๆที่มีในโคราชซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดใหญ่ และ 3. ขาดการเชื่อมโยงระหว่างกิจการต่างๆ ที่มีความต้องการทางด้าน ICT กับผู้ประกอบการ ICT

สำหรับความร่วมมือในกลุ่ม Thailand Software Park Alliances ในครั้งนี้ จะทำให้เกิดกิจกรรมสำหรับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และการขยายฐานการตลาดของธุรกิจซอฟต์แวร์ออกสู่พื้นที่จังหวัดนครราชสีมามากขึ้น โดยกิจกรรมหลักของความร่วมมือจะเน้นไปในส่วนของการจับคู่ระหว่างธุรกิจผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อสร้างเครือข่ายในการทำธุรกิจร่วมกัน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการใช้ไอทีเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมหลักในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและใกล้เคียง”

นายแพทย์ก้องเกียรติ เกษเพ็ชร์ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภูเก็ต หรือ Software Park Phuket กล่าวว่า “การรวมตัวของเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศครั้งนี้ จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ ที่แต่ละพาร์คซึ่งมีจุดแข็งแตกต่างกัน สามารถมารวมตัวและผนึกกำลังกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และอุตสาหกรรมเป้าหมาย และพร้อมรับมือกับ AEC 2015 ต่อไป

ผลการดำเนินงานของเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภูเก็ต ที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ เช่น การสนับสนุนผู้ประกอบการโดยการจัดกิจกรรมอบรมสัมมนา ถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวนกว่า 100 โครงการ รวมถึงการให้การสนับสนุนการบ่มเพาะธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และ ICT จำนวน 22 ราย ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในการสนับสนุนงานวิจัยให้ออกสู่เชิงพาณิชย์ นอกจากนี้แล้วยังสนับสนุนโครงการต่างๆ เพื่อสังคม เช่น เป็นแหล่งเรียนรู้และสร้างโอกาสในการทำงานของนักศึกษาผ่านกิจกรรมการศึกษาดูงานและการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ผู้สูงวัยที่สนใจเทคโนโลยี เป็นต้น
ภายใต้ความร่วมมือและความพร้อมในโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดภูเก็ต ผนวกกับจุดแข็งของการเป็นเมืองน่าอยู่ในสายตาของนานาชาติ ล้วนเป็นปัจจัยบวกที่ส่งเสริมให้ภูเก็ตมีโอกาสในการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ที่จะเข้ามาเสริมการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมใหม่นี้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างสังคมอุดมปัญญา ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตได้ในอนาคต
เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภูเก็ต ยังคงมุ่งมั่นและพร้อมที่จะสร้างอุตสาหกรรมใหม่ที่เป็น “Value Creation” ด้วยแนวคิด “Lifestyle, Inspiration, Creativity” ด้วยวิถีชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ เพื่อจุดประกายแรงบันดาลใจ ในการสร้างสรรค์ผลงานและนวัตกรรม ผ่านการเชื่อมโยง สนับสนุนการสร้างและการพัฒนาสังคมผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) เพื่อก้าวสู่ความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ เพื่อการเข้าถึงตลาดใหม่ในประชาคมโลก และเป็นฐานรากที่เข้มแข็งสู่การนำความมั่งคั่งสู่เศรษฐกิจของภูมิภาคและประเทศอย่างยั่งยืน”

View :2006

ซอฟต์แวร์พาร์ค/สวทช.เร่งสร้างมาตรฐานผู้ประกอบการซอฟต์แวร์

January 29th, 2012 No comments

เพื่อวางรากฐานและยกระดับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้เข้มแข็งและเติบโตอย่างมีศักยภาพพร้อมก้าวสู่การแข่งขันในเวทีระดับโลกอย่างมั่นใจ พร้อมประกาศผลผู้ประกอบการธุรกิจซอฟต์แวร์ที่ผ่านมาตรฐาน ® จากวงการซอฟต์แวร์โลก

แถลงข่าวผลการดำเนินการโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจซอฟแวร์ในการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ รุ่นที่ 2 ( II) และการแสดงความยินดีมอบโล่เกียรติคุณให้กับบริษัทที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน Capability Maturity Model Integration หรือ CMMI® โดยรศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า

“เนื่องจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกทำให้บริษัทข้ามชาติ และ ธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่นๆ หันมามุ่งเน้นธุรกิจและกิจกรรมที่เป็น Core Business เป็นหลัก และเน้นการ Outsource งานในส่วนของ IT ออกไปมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ตลาด IT Outsourcing ทั้งในและต่างประเทศโตขึ้น มาตรฐานการผลิตซอฟต์แวร์ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการแข่งขัน ซึ่งในการเข้าไปรับงาน Outsource ทั้งตลาดภายในประเทศและเวทีโลก โดยเกณฑ์การคัดเลือก Supplier ที่สำคัญ ก็คือ CMMI®

ซึ่งหลายประเทศที่ต้องการมีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นใน Global Outsourcing Market ที่กำลังโตขึ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ภาครัฐในประเทศต่างๆเร่งผลักดันบริษัทซอฟต์แวร์ให้ได้รับมาตรฐาน CMMI® มากขึ้น ผ่านการให้ทุนสนับสนุนในการเตรียมความพร้อมและการประเมินตั้งแต่ 70%-100% ของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านของเรา เช่น เวียดนาม ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีบริษัทที่ผ่าน CMMI® มากกว่า 100 ราย ภายใน 4 ปี และมาเลเซีย ตั้งเป้าให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกรวมเป็น 100 ราย

และจากผลสำรวจของบริษัทซอฟต์แวร์ในโครงการ SPI@ease Phase 1 พบว่าการสื่อสารภายในองค์กรและกับลูกค้าดีขึ้นมาก การประมาณการ (Estimate) แม่นยำมากขึ้น สามารถส่งมอบงานได้ตรงตามกำหนดเวลามากขึ้น ได้รับความเชื่อถือ เป็นที่รู้จัก ยอมรับจากลูกค้ามากขึ้น และลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้การรับงานจากทั้งภายในและภายนอกประเทศเพิ่มมากขึ้นด้วย จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นข้อสรุปที่ชัดเจนว่าโครงการ SPI@ease Phase 1 เป็นกลไกสำคัญที่ส่งเสริมให้บริษัทซอฟต์แวร์ไทย สร้างความเข้มแข็งจากภายในให้เกิดขึ้นในองค์กร และสามารถพัฒนาสายสัมพันธ์กับลูกค้าเก่าให้ดีขึ้น พร้อมสร้างโอกาสในการขยายฐานลูกค้าใหม่ทั้งในและต่างประเทศ

รศ.ดร.ธนชาติ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ทาง สวทช.โดยซอฟต์แวร์พารค์ จึงเล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจซอฟต์แวร์ จึงเปิดโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจซอฟต์แวร์ในการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ เป็นรุ่นที่ 2 (SPI@ease II) หลังจากที่เปิดโครงการฯ รุ่นที่ 1 (SPI@ease I) เมื่อ 3 ปีที่แล้วประสบความสำเร็จและมีบริษัทซอฟต์แวร์เข้าร่วม โครงการฯ จำนวน 26 บริษัท และผ่านการรับรองมาตรฐาน CMMI® จำนวน 23 บริษัท แบ่งเป็น

s Level 5 จำนวน 1 บริษัท

s Level 3 จำนวน 13 บริษัท

s Level 2 จำนวน 9 บริษัท

และโครงการฯ SPI@ease II (ยังไม่สิ้นสุดโครงการฯ) มีบริษัทซอฟต์แวร์เข้าร่วม จำนวน 22 บริษัท ผ่านการรับรองมาตรฐาน CMMI® จำนวน 6 บริษัท แบ่งเป็น

s Level 3 จำนวน 3 บริษัท

s Level 2 จำนวน 3 บริษัท

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เรากำลังเป็นที่จับตามมองในวงการซอฟต์แวร์โลกจากการประกาศผลอย่างเป็นทางการล่าสุดจาก Software Engineering Institute (SEI) เมื่อเดือนกันยายน 2552 ที่ผ่านมา ขณะนี้ประเทศไทยมีบริษัทที่ผ่านการประเมิน CMMI® จัดเป็นอันดับ 2 ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากมาเลเซีย ซึ่งมีทั้งสิ้น 71 บริษัท และการที่ประเทศไทยจะปรากฏในแผนที่ซอฟต์แวร์โลกได้นั้น การสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมอย่างจริงจังและต่อเนื่องจากภาครัฐในการขยายผลและต่อยอดโครงการ SPI@ease ใน Phase 2 จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการเสริมสร้างรากฐานอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้เข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน สร้างความน่าเชื่อถือ และความเชื่อมั่นให้กับประเทศ พร้อมที่จะก้าวสู่การแข่งขันในเวทีโลกอย่างมั่นใจ”

นอกจาก CMMI® จะสร้างความน่าเชื่อถือในระดับประเทศ และบริษัทเองแล้วนั้น จากรายงานการสำรวจถึงประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับจากการทำ CMMI® ล่าสุดประจำปี 2008 โดย DACs หรือ Data Analysis Center for Software, ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับจากการทำ CMMI® อย่างเป็น รูปธรรมมีดังต่อไปนี้

r ผลตอบแทนการลงทุน หรือ ROI เพิ่มขึ้น 3 เท่า

r ประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มขึ้น 39%

r ค่าใช้จ่ายในโครงการ ลดลง 30%

r Cycle Time ลดลง 38%

r ค่าความเบี่ยงเบนจากแผนการดำเนินงานลดลง 40%

r ลดการทำงานซ้ำซ้อน หรือ Rework ลงถึง 60%

r ลดจำนวนความผิดพลาด หรือ Defect ลง 50%

เมื่อเดือนธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา Gartner ประกาศผลการจัดอันดับ Top 30 Countries for Offshore Services และเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ติดอันดับ โดย Gartner ได้คัดเลือกและจัดอันดับจาก 72 ประเทศทั่วโลก โดยส่วนหนึ่งก็เป็นผลจากการที่ภาครัฐให้การสนับสนุนและผลักดันบริษัทซอฟต์แวร์ไทยอย่างจริงจังในเรื่องมาตรฐานการผลิตและคุณภาพซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญที่จะขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยเติบโต เข้มแข็งและยั่งยืน รวมถึงมีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้น เพื่อให้ประเทศไทยปักธงในเวทีซอฟต์แวร์ระดับสากล และ เริ่มมีส่วนแบ่งในตลาด Outsource เพิ่มขึ้น

View :1606
Categories: Software Tags: ,

‘โออิชิ กรุ๊ป’ เปิดตัวแอพฯ “Browse the Oishi ความอร่อย ความสนุก…อยู่ที่ไหน ก็หาเจอ”

January 17th, 2012 No comments

บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้นำและสร้างสรรค์ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มสไตล์ญี่ปุ่น เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนรุ่นใหม่ เปิดตัวนวัตกรรมทางการตลาดใหม่ ล่าสุด “Browse the Oishi ความอร่อย ความสนุก…อยู่ที่ไหน ก็หาเจอ” มอบช่องทางให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายยิ่งกว่า พร้อมจัดกิจกรรมทางการตลาดเพื่อเชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้นผ่านสื่อดิจิตอล ตอกย้ำผู้นำในกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มสไตล์ญี่ปุ่น ที่มุ่งเน้นการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางด้านผลิตภัณฑ์ และกิจกรรมทางการตลาดรูปแบบใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองรูปแบบการใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ สอดคล้องกับพันธกิจในการขับเคลื่อนบริษัทฯ “โออิชิยุคใหม่ ก้าวไกลด้วยนวัตกรรม”

นายไพศาล (แซม) อ่าวสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า โออิชิ ถือเป็นแบรนด์ ที่มีความโดดเด่น และมีความต่อเนื่องในการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆออกสู่ตลาดเพื่อผู้บริโภคชาวไทย โดยเราคำนึงถึงความต้องการ และไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างของลูกค้าเป็นหลัก และในปีนี้ เพื่อตอกย้ำการเป็นผู้นำในกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มสไตล์ญี่ปุ่น โออิชิ จึงเดินหน้าสานต่อการเป็นแบรนด์แห่งนวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นด้วยการเปิดตัวแอพพลิเคชั่นใหม่ ถึง 2 แอพพลิเคชั่น คือ O-Navi และ Shabushi Hotto Game เพื่อมอบความสะดวกสบาย และตอบรับกับพฤติกรรมและการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปของลูกค้าในปัจจุบัน

การเปิดตัวแอพพลิเคชั่นใหม่ ล่าสุด นี้ โออิชิได้ลงทุนพัฒนาเอง บนแพลตฟอร์มที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถใช้งานได้กว้างขวางยิ่งขึ้น ได้แก่ ไอโอเอส (iOS) แอนดรอยด์ (Android) และซิมเบียน (Simbian) โดย 2 แอพพลิเคชั่นใหม่ ได้แก่

· O-Navi แอพลิเคชั่น เพื่อการค้นหาร้านอาหารในเครือโออิชิ ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ โดยใช้เทคโนโลยีจีพีเอส (GPS) ในการตรวจหาพิกัดตำแหน่งและ ใช้การแสดงผลในรูปแบบของ AR (Alimented Reality) ผ่านทางกล้องบนมือถือ โดยผู้ใช้งานสามารถที่จะดูระยะห่างของตำแหน่งในแต่ละสาขากับตำแหน่งของผู้ใช้งานเอง
· Shabushi Hotto Game เกมสัตว์เลี้ยงเสมือน (Virtual Pet) บนโทรศัพท์มือถือ Smart Phone และ Facebook โดยผู้เล่นจะสนุกกับการเลี้ยงตัว ฮ็อตโตะ(Hotto) ซึ่งเป็น มาสคอตของชาบูชิ ให้เติบโตจนออกไข่ และนำไข่ที่ได้จาก ฮอตโตะตัวเต็มวัย มาใช้เป็นสิทธิพิเศษกับร้านชาบูชิและร้านอาหารในเครือโออิชิ อาทิ การแลกของรางวัล หรือรับส่วนลดในการรับประทานอาหารได้ โดยยังมี มินิเกม ให้ผู้เล่นได้เลือกสนุกอีก 3 เกม คือ เกม Memorize เกม Catching และเกม Dancing

“การเปิดตัว 2 แอพลิเคชั่นใหม่ล่าสุดนี้ นับเป็นการนำเครื่องมือทางการตลาดใหม่ ใน รูปแบบออนไลน์ มาร์เก็ตติ้ง ที่มีประสิทธิภาพ มีความน่าสนใจ และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าอย่างแท้จริง โดยมุ่งสร้างความผูกผัน และความเชื่อมโยงระหว่างแบรนด์โออิชิ กับลูกค้าให้เหนียวแน่นและใกล้ชิดยิ่งมากขึ้น และสร้างความจงรักภักดีในแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยโออิชิ ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนา และนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ ให้แก่ลูกค้าต่อเนื่องต่อไป” นายไพศาล กล่าวสรุป
นอกเหนือจากการเปิดตัวแอพพลิเคชั่นใหม่ในวันนี้ โออิชิ ยังได้มอบสิทธิประโยชน์พิเศษแก่ลูกค้าที่ร่วมสนุกกับเกม Shabushi Hotto Game โดยสามารถสะสมคะแนนตามที่กำหนด เพื่อแลกรับของรางวัลพิเศษ หรือส่วนลดที่ร้านชาบูชิ ได้ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ – 30 มิถุนายน 2555

ผู้สนใจสามารถเข้าไปดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น ได้ที่ App Store เว็บไซต์ www.shabushibuffet.com/hottogame หรือล็อกอินไปที่ www.facebook.com ค้นหา พิมพ์คำว่า shabushi hotto game ร่วมสัมผัสประสบการณ์ใหม่ ได้เพียงปลายนิ้วกับ โออิชิ กรุ๊ป ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

View :1983