Archive

Archive for the ‘Telecom’ Category

เอไอเอส ประกาศเดินหน้าพัฒนาคุณภาพเครือข่ายต่อเนื่อง ทุ่มงบมุ่งแก้ปัญหาให้ลูกค้า

June 6th, 2012 No comments

นายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานปฏิบัติการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ กล่าวว่า “ภาพรวมการทำงานด้านวิศวกรรมเครือข่ายของเอไอเอสยังคงมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพในทุกๆด้านอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาคุณภาพและรองรับการใช้งาน Voice และ Data ที่ปัจจุบันมีอัตราการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยปีนี้ได้เตรียมงบประมาณไว้เป็นเงิน 8,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินการใน 3 ด้านหลักอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย

- ปรับปรุงคุณภาพการใช้งาน ไม่ว่าจะอัตราสายหลุด , ความสำเร็จในการเชื่อมต่อ, คุณภาพความคมชัดของเสียง, ปัญหาสัญญาณในอาคารสูง, ความเร็วของ Speed ในการใช้งาน Data, ฯลฯ โดย แม้ปัจจุบันภาพรวมจะมีคุณภาพการใช้งานสูงกว่าค่ามาตรฐานที่ทาง กำหนด แต่เอไอเอสยังคงมีการปรับปรุงให้มีคุณภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

- ขยายความครอบคลุมของเครือข่ายในพื้นที่ซึ่งมีความต้องการใหม่ๆ หรือ ขยายความครอบคลุมในอาคารสูงในลักษณะสถานีฐานย่อย โดยปัจจุบันมีจำนวนสถานีฐานที่ติดตั้งใหม่กว่า 150 สถานีต่อ 1 สัปดาห์ และยังมุ่งมั่นจะขยายอย่างต่อเนื่อง

- เพิ่มความสามารถในการรองรับการใช้งานในพื้นที่ซึ่งมีปริมาณการใช้งานหนาแน่น อาทิ การเพิ่มปริมาณสถานีฐาน อันจะส่งผลให้เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับการใช้งานไปในตัว

โดย ณ สิ้นสุดเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา เอไอเอสมีฐานลูกค้ากว่า 34 ล้านเลขหมาย ซึ่งถือเป็นอัตราส่วนที่สูงมากเมื่อเทียบกับปริมาณความถี่ย่าน 900 MHz ที่มีอยู่อย่างจำกัด อย่างไรก็ตามทีมวิศวกรของเอไอเอส ไม่เคยนิ่งนอนใจต่อปัญหาคุณภาพการใช้งานที่เกิดขึ้น และไม่เคยหยุดยั้งในการศึกษาเพื่อนำเทคนิคใหม่ๆเข้ามาแก้ปัญหา อาทิ การขยายสถานีฐานที่เป็นไปเพื่อเพิ่มปริมาณการใช้งาน (Capacity) แม้จะต้องทุ่มงบประมาณมากกว่าค่ายอื่นก็ตาม เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้าเสมอ

นายวีรวัฒน์ กล่าวย้ำตอนท้ายว่า “อย่างไรก็ตามปัจจุบันนับเป็นช่วงเวลาสำคัญของการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีสู่ Wireless Broadband ก่อนที่ กสทช.จะเปิดการประมูล 3G บนคลื่น 2.1 GHz ดังนั้นแม้จะมีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี แต่เอไอเอสในฐานะ Operator จะไม่หยุดพัฒนาเครือข่ายและจะมุ่งมั่นทำทุกวิถีทางในการปรับปรุงคุณภาพบริการให้ดีที่สุดเพื่อลูกค้าอย่างแน่นอน”

View :1523

แพคเน็ทแต่งตั้งคุณไพศาล กวียานันท์ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการประจำประเทศไทย

June 5th, 2012 No comments

แพคเน็ทได้แต่งตั้งให้คุณไพศาล กวียานันท์ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการประจำประเทศของแพคเน็ท ประเทศไทย โดยเขาจะเป็นผู้รับผิดชอบการเจริญเติบโตเชิงกลยุทธ์และการขยายธุรกิจของแพคเน็ทในประเทศไทย

คุณไพศาลมีประสบการณ์ในแวดวงอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศไทยมากว่า 20 ปี เขาได้รับการยอมรับให้เป็นมืออาชีพที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทย เขามีประสบการณ์อย่างกว้างขวางในธุรกิจโทรคมนาคม ทั้งทางด้านวิศวกรรม ด้านการปฏิบัติการ ตลอดทั้งด้านการขายและการตลาด

“ประเทศไทยเป็นตลาดหลักที่สำคัญในธุรกิจของเราในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรามีความยินดีที่คุณไพศาลจะมาช่วยผลักดันการดำเนินงานในประเทศไทยของเรา เรามั่นใจว่าเขาจะนำเอาความรอบรู้ในอุตสาหกรรม และประสบการณ์ด้านการจัดการของเขามาช่วยเร่งการเติบโตทางธุรกิจของแพคเน็ทในประเทศไทย” แฌก เกรอโซว์ กรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของแพคเน็ท กล่าว

ก่อนที่จะมาร่วมงานกับแพคเน็ท คุณไพศาลเป็นที่ปรึกษาของประธานเจ้าหน้าที่บริหารของจัสมินกรุ๊ป กลุ่มบริษัทที่เป็นผู้นำด้านธุรกิจการสื่อสารโทรคมนาคมในประเทศไทย ซึ่งเขาเป็นผู้ให้คำปรึกษาในการกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ของกลุ่มจัสมิน รวมถึงการบริหารจัดการผลการดำเนินงานของบริษัทย่อยในกลุ่มอีกด้วย

ตลอดระยะเวลา 22 ปีที่คุณไพศาลได้ร่วมงานกับกลุ่มจัสมิน เขาได้ดำรงตำแหน่งระดับผู้บริหารที่สำคัญมากมาย รวมทั้งตำแหน่งรองประธานอาวุโสฝ่ายขายและการตลาด และเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทั่วไปของบริษัทในเวลาต่อมา

คุณไพศาลจบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ด้านโทรคมนาคมและอิเล็กทรอนิกส์ และจบปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจหลักสูตรสำหรับผู้บริหาร จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย

View :1314

ดีแทคมั่นใจเครือข่ายพร้อมในโอกาสไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 21

May 30th, 2012 No comments

ดีแทคมั่นใจเตรียมเครือข่ายพร้อมสำหรับรองรับการใช้งานในการประชุมเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 21 หรือ ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม ถึง 1 มิถุนายนนี้

นายวรรษิษฐ์ ไสยวรรณ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่าในโอกาสที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 21 หรือ World Economic Forum 2012 ที่โรงแรมแชงกรี-ลา ดีแทคได้เตรียมความพร้อมในเครือข่ายทั้ง 2G และ 3G เพื่อรองรับการติดต่อสื่อสารจากผู้นำและรัฐมนตรีจากหลายประเทศที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ โดยได้มีการตรวจสอบสัญญาณตั้งแต่สนามบินสุวรรณภูมิ และเส้นทางต่างๆ ที่จะใช้เป็นเส้นทางสัญจรสู่สถานที่จัดการประชุมและจัดเลี้ยง และตรวจสอบคุณภาพสัญญาณโดยรอบ คือ โรงแรมแชงกรี-ลา และโรงแรมเพนินซูล่า รวมถึงราชนาวีสโมสร กองทัพเรือ

ทั้งนี้ ดีแทคได้มีการเพิ่มสถานีฐาน 3G และจัดรถสัญญาณเสริมเคลื่อนที่เพื่อขยายการรองรับสัญญาณเป็นพิเศษในพื้นที่จัดการประชุมที่กล่าวมา เพื่อรองรับการใช้งานสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเพื่อการใช้งานดาต้าและอินเทอร์เน็ต และเสียงคมชัด โทรติดง่าย มีเสถียรยิ่งขึ้น เพื่อผู้นำและรัฐมนตรีจากหลายประเทศ รวมทั้งสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศที่ต้องรายงานข่าวในบริเวณงานดังกล่าวอีกด้วย

View :1469

เอไอเอสส่งตัวแทนหารืออนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ หวังหาข้อยุติปัญหาพรีเพด

May 17th, 2012 No comments

ส่งตัวแทนหารือ อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคม หวังหาข้อยุติปัญหากำหนดวันใช้บริการพรีเพด “สารี” เผยที่ประชุม เสนอสองทางเลือกพร้อมจุดยืนชัดเจน เสนอไม่มีวันหมดอายุ หรือหากบริษัทจะกำหนดวัน ก็ต้องเป็นธรรมไม่เร่งให้ผู้บริโภคต้องเติมเงิน

(วันที่ 17 พ.ค. 55) นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า ในวันนี้ได้มีการหารือร่วมกับ ตัวแทน บริษัท แอดวานซ์อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส และตัวแทนบริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เนื่องจากบริษัทฯ เอไอเอส ต้องการทราบแนวทางแก้ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดระยะเวลาการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบชำระค่าบริการล่วงหน้า หรือพรีเพด เพื่อแสวงหาความร่วมมือและข้อยุติร่วมกัน โดยมีอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมที่เข้าร่วมได้แก่ นายศรีสะเกษ สมาน นายศิริศักดิ์ ศุภมนตรี และนายวิบูลย์ บุญภัทรรักษา

นางสาวสารีกล่าวว่า ผลของการหารือที่ประชุมได้เสนอทางออกเป็น 2 ทางเลือก ทางเลือกแรกคือ การไม่กำหนดระยะเวลาการใช้บริการโทรศัพท์แบบเติมเงิน คือ ให้เป็นไปตาม ประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 11 วิธีการนี้คือ หากผู้บริโภคยังมีเงินเหลืออยู่ในระบบ ก็มีสิทธิที่จะใช้บริการได้ตลอดโดยไม่ถูกกำหนดวัน ซึ่งไม่กระทบกับผู้บริโภคที่ใช้บริการระบบเติมเงิน แต่จะกระทบกับผู้ที่เก็บเลขหมายไว้กับตัวเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีการใช้งาน ซึ่งอาจมีการกำหนดระยะเวลาที่ต้องมีความเคลื่อนไหวของการใช้บริการ เช่น หากไม่มีความเคลื่อนไหวของการใช้บริการภายในกี่เดือน ผู้ให้บริการจะสามารถหักค่าบริการในการรักษาเลขหมายได้ในอัตราที่เป็นธรรมทั้งสองฝ่าย เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการถือครองเบอร์ และปัญหาเลขหมายไม่เพียงพอ

“การเคลื่อนไหวหมายถึงไม่ว่าจะโทรออกหรือรับสาย ก็ถือว่าเป็นความเคลื่อนไหว เพราะมีการได้สตางค์เกิดขึ้นในวงจรธุรกิจ ก็มาหาข้อตกลงกันอย่างเดียวว่า สมมติว่าเป็นระยะเวลา 1 ปี ต้นทุนที่จะตัดกับผู้บริโภคหากเบอร์ไม่เคลื่อนไหวเลยเป็นเท่าไหร่ ก็ต้องยินดีให้ตัดโดยมูลค่าการตัดต้องพิจารณาจากต้นทุนที่แชร์ความรับผิดชอบกันระหว่างผู้บริโภคและบริษัทฯด้วย” ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมกล่าว

ทางเลือกที่สอง คือ หากจะต้องมีการกำหนดระยะเวลาการใช้บริการ เนื่องจากบริษัทฯมีต้นทุนเช่นค่าบริหารเลขหมาย การดูแลลูกค้า การพัฒนาโครงข่าย ก็ต้องยืนอยู่บนหลักการ 3 ข้อ คือ 1.จำนวนวันขั้นต่ำที่กำหนดควรเป็นระยะเวลาที่เป็นเหตุเป็นผลไม่เร่งรัดการใช้บริการเช่น 3 วัน 5 วัน ดังเช่นปัจจุบัน 2.มีการกำหนดวันเป็นขั้นบันไดคือ จำนวนวันผันแปรตามจำนวนเงินที่เติม และ3. หากมีเงินเหลือในระบบต้องคืนให้กับผู้บริโภค แต่ทั้งหมดก็ต้องมาขออนุญาตกสทช. หากไม่ขออนุญาตก็มีวันหมดอายุไม่ได้

“บริษัทเอไอเอส ชี้แจงปัญหาเรื่องต้นทุน ขณะที่บริษัทดีแทค กลัวปัญหาเรื่องการกระจุกตัวของเลขหมายที่ไม่พอใช้ ดังนั้นหากกำหนดวัน จำนวนวันที่กำหนดต้องเป็นอัตราที่ไม่เร่งรัดให้ผู้บริโภคต้องเร่งเติมเงิน เช่น หาก 100 บาท ได้ 30 วัน 50 บาทก็จะได้ 15 วัน ลดหลั่นลงไป เพราะปัจจุบันการกำหนด 10 บาท ต้องใช้ภายใน 1 วัน ถือว่าเร่งรัดเกินไป วันที่กำหนดจึงควรมีลักษณะที่เป็นธรรม ซึ่ง การหารือในวันนี้ถือเป็นครั้งแรกที่บริษัทฯ เอไอเอส เป็นฝ่ายขอหารือกับอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯและเสนอที่จะร่วมกันคิดเพื่อแก้ปัญหานี้ ตั้งแต่การผลักดันปัญหานี้ในยุค สบท. ซึ่งถือเป็นเรื่องดีในการทำงานร่วมกันเพราะทางบริษัท ทรูมูฟ จำกัดได้เคยมาร่วมหารือไปแล้ว แต่จะแจ้งผลของการประชุมกับสองบริษัทในวันนี้ไปให้รับทราบด้วย” นางสาวสารีกล่าว

View :1455

ก.ไอซีที ร่วมมือ ทีดีอาร์ไอ วางกรอบนโยบายโทรคมนาคมแห่งชาติ

May 16th, 2012 No comments

นางเมธินี เทพมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นโครงการจัดทำกรอบนโยบายโทรคมนาคมแห่งชาติ ว่า ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ได้ปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ของรัฐบาล รัฐสภา ประชาชน และ ให้ชัดเจนขึ้น และภายใต้กฎหมายดังกล่าวได้กำหนดให้ กสทช.ต้องมีการจัดทำแผนบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม โดยการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนบริการดังกล่าวให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล

“และเพื่อให้การดำเนินการของรัฐบาลเป็นไปตามบทบาทที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งเพื่อให้การดำเนินนโยบายด้านโทรคมนาคมของประเทศไทยในสภาพแวดล้อมปัจจุบันและอนาคตเป็นไปอย่างมีทิศทางที่เหมาะสม ตลอดจนสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทยให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างยั่งยืน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะหน่วยงานฝ่ายบริหารที่ดูแลนโยบายด้านการสื่อสารของประเทศ จึงจำเป็นจะต้องมีการจัดทำกรอบนโนบายโทรคมนาคมแห่งชาติขึ้น” นางเมธินี กล่าว

โดยกระทรวงฯ ได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย () ดำเนินการศึกษาวิจัยในโครงการ “” ที่ครอบคลุมทั้งระยะกลาง 3 – 5 ปี และระยะยาว 10 ปี ซึ่งได้มีการวางเป้าหมายของกรอบนโยบายโทรคมนาคมแห่งชาติเอาไว้ คือ 1. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศด้วยการลดต้นทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานสำหรับธุรกิจต่างๆ ทั้งอัตราค่าบริการโทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของประเทศไทยให้อยู่ในระดับต่ำอย่างน้อยเป็นอันดับที่สองของภูมิภาคอาเซียนภายในปี 2557

2. เพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั้งระบบมีสายและไร้สายให้สูงขึ้นโดยรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าระดับ ร้อยละ 35 ของประชากร ในปี 2557 และร้อยละ 70 ของประชากร ในปี 2564 รวมทั้งสร้างโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสื่อสารที่สำคัญ และบริการโทรศัพท์ฉุกเฉินอย่างเท่าเทียม 3. สร้างกลไกในการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีประสิทธิภาพทั้งด้านการเปิดเผยข้อมูล การกำกับดูแลคุณภาพ และอัตราค่าบริการ และ 4. วางโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมที่มีความมั่นคงปลอดภัยจากภัยคุกคาม และสามารถรับมือกับภัยธรรมชาติและเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ได้

“หลังจากที่กระทรวงฯ ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยโครงการดังกล่าวแล้ว จึงได้มีการจัดสัมมนาขึ้นในทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อนำเสนอผลการศึกษาการจัดทำกรอบนโยบายโทรคมนาคมแห่งชาติ รวมทั้งนำเสนอร่างกรอบนโยบายโทรคมนาคมแห่งชาติ ตลอดจนเปิดรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เข้าร่วมการสัมมนาจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นเหล่านั้น ไปใช้ในการปรับปรุงร่างกรอบนโยบายโทรคมนาคมแห่งชาติให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดย ที่ผ่านมา กระทรวงฯ ได้ร่วมกับ ทีดีอาร์ไอ จัดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นในระดับภูมิภาคไปแล้ว 2 ครั้ง ที่จังหวัดนครราชสีมา และที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์” นางเมธินี กล่าว

View :1476

เอไอเอส update ความคืบหน้าผลการทดสอบ 4G

March 6th, 2012 No comments

นายปรัธนา  ลีลพนัง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานบริการเสริม บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ กล่าวถึงความคืบหน้าในการทดสอบเทคโนโลยี 4G ว่า “จากการที่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ ได้อนุมัติให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) , บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) , บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด ทำการติดตั้งอุปกรณ์ดำเนินการทดสอบ เทคโนโลยี LTE-Long Term Evolution หรือ ที่รู้จักกันในชื่อของ 4G ใน 2 เทคโนโลยี และ 2 พื้นที่ ประกอบด้วย

1.       โครงการทดสอบและทดลองระบบบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูง Broadband Wireless Access-BWA  ในย่านความถี่ 2300 MHz (20 MHz)ด้วยเทคโนโลยี Long Term Evolution ซึ่งใช้คลื่นความถี่ในลักษณะ Time Division Duplex หรือ TDD ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งในเขตพื้นที่ชั้นใน บริเวณถนนพระรามหนึ่ง ตั้งแต่ มาบุญครองถึงเซ็นทรัลเวิลด์ รวมถึงชั้นนอกจากศูนย์ราชการ กระทรวงไอซีที และ สำนักงานทีโอที แจ้งวัฒนะ โดยมีจำนวนสถานีฐาน 20 แห่ง เปิดให้ทดสอบถึงช่วงประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2555 และ

2.       โครงการทดสอบและทดลองระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 4 ในย่านความถี่ 1800 MHz (10 MHz D/L + 10 MHz U/L) ด้วยเทคโนโลยี Long Term Evolution ซึ่งใช้คลื่นความถี่ในลักษณะ Frequency Division Duplex หรือ FDD ในพื้นที่ จ.มหาสารคาม ในเขตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม โดยเบื้องต้นมีจำนวนสถานีฐาน 8 แห่ง เปิดให้ทดสอบถึงช่วงประมาณต้นเดือนมีนาคม 2555

โดยเป็นการทดสอบรูปแบบของการทดสอบเชิงเทคนิคชั่วคราว หรือ Technical Trial  ซึ่งมิได้แสวงหากำไรเชิงพาณิชย์ หรือ Non Commercial นั้น  ผลจากการทดสอบในช่วงที่ผ่านมาถือว่าเป็นที่น่าพอใจและได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเตรียมการเปิดประมูลของ  กสทช. เป็นอย่างยิ่ง อาทิ

- ความเร็วและความเสถียร

                                TDD        Download           50-80 Mbps        Upload                 5-15 Mbps

                                FDD        Download           50-60 Mbps        Upload               20-30 Mbps

- รัศมีในการส่งสัญญาณ (Coverage Area) อยู่ที่รัศมี 1 กิโลเมตร

- ลักษณะการใช้งานในขณะเคลื่อนที่ Handover ภายใต้ Coverage ที่มีความต่อเนื่อง (เฉพาะการทดสอบที่ จ.มหาสารคาม) พบว่าสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง

- ความสัมพันธ์ของย่านความถี่และช่วงกว้างความถี่ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานเทคโนโลยี LTE นั้นพบว่า  โดยทั้งสองย่านสามารถทำงานได้ดี แต่จำเป็นต้องใช้ความกว้างของแถบความถี่มากกว่า 20 MHz หากต้องการความเร็วเกิน 100 Mbps

- ความเร็วของการเข้าถึง Content ด้าน Multi Media แบบ HD  สูงกว่า 3G ถึง 5-10 เท่า (20 ms latency)

- รูปแบบของ Applicationที่เหมาะสมและตรงใจผู้บริโภค ในประเภท video interactive, 4G to wifi และ multimedia content

โดยเอไอเอสได้เริ่มเปิดจุดทดสอบเทคโนโลยี LTE ในกรุงเทพฯ เพื่อให้ประชาชนได้สัมผัสประสบการณ์นี้ด้วยตนเอง   และได้ผสมผสานเอาเทคโนโลยี Real Time Video Interactive เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อให้เห็นภาพของประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต  หากโครงสร้างพื้นฐานมีความแข็งแรง

สำหรับจุดทดสอบเทคโนโลยี 4G เบื้องต้นมี 2 จุด คือ

1.    บริเวณชั้น 2 สยามเซ็นเตอร์ ช่วงทางเชื่อมกับศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยเปิดจุดทดสอบภายใต้แนวคิด “Beauty Consult on 4G” ให้ประชาชนได้โต้ตอบกับกูรูช่างออกแบบทรงผมจากร้าน TO B 1 ซึ่งตั้งอยู่ ณ สยามแสควร์ ซอย 2 ที่จะมาให้คำแนะนำเกี่ยวกับทรงผมที่เหมาะสมผ่าน Video Interactive บนเครือข่าย 4G
2.    บริเวณชั้น 1 วัน-ทู-คอล! ช็อป @Digital Gateway ที่เปิดให้ประชาชนทดสอบและสัมผัสกับความเร็วของเทคโนโลยี 4G เมื่อท่องโลกอินเตอร์เน็ต

นายปรัธนา กล่าวในตอนท้ายว่า “เชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลที่ได้จากการทดลอง ทดสอบในทั้ง 2 พื้นที่  จะทำให้การเตรียมพิจารณาเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆของประเทศไทยเป็นไปอย่างละเอียด รอบคอบ เสริมมุมมองได้อย่างครบถ้วนมากยิ่งขึ้นจากการผนึกกำลังกันของเอกชนและภาครัฐ”

View :2475
Categories: 3G, Press/Release, Telecom Tags:

เอไอเอส รุกเดินหน้าต่อเนื่อง เน้นตอบโจทย์และมอบประสบการณ์คุณภาพครบทุกด้าน พร้อมยืนยันเข้าสู่สังเวียนประมูล 3G เต็มที่

February 22nd, 2012 No comments

ประกาศความสำเร็จผลการดำเนินงานปี 2011 ที่เติบโตในภาพรวมถึง 12 % ยืนยันให้เห็นถึงความต้องการใช้งานทั้ง Voice และ Data ที่ยังคง เพิ่มอย่างต่อเนื่อง พร้อมเดินหน้าพัฒนาคุณภาพบริการทุกด้านเพื่อสร้างประสบการณ์คุณภาพสมบูรณ์แบบ ตอกย้ำฟิตเต็มร้อย สำหรับการประมูล 3 จี 2.1 GHz ที่จะเกิดขึ้น ในปีนี้

นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า “ภาพรวมของอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม ในปีที่ผ่านมาเติบโตราว 9% ทั้งในส่วนของการให้บริการที่โต 11% และการจำหน่ายสมาร์ทดีไวส์ ที่เติบโต15% เช่นกัน ซึ่งตัวเลขดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงความต้องการใช้งานระบบสื่อสารไร้สายของ คนไทยอย่างชัดเจน”

นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)


“ในส่วนของเอไอเอส สำหรับปี 2554 ที่ผ่านมา ยังคงครองความเป็นผู้นำใน ส่วนแบ่งการตลาด ด้วยการเติบโตในภาพรวม 12% โดยมีจำนวนลูกค้า ณ สิ้นปี 2554 ถึง 33.5 ล้านราย มีการใช้งาน Voice ที่เติบโต 8% และ มีลูกค้าที่ใช้งานดาต้า 10 ล้านราย โดยในจำนวนนี้ 1.2 ล้านราย คือ ผู้ที่ใช้งาน 3 จี ซึ่งการเติบโตดังกล่าวเชื่อว่าเป็นผลที่เกิดจากการยึดมั่นเรื่องคุณภาพในการให้บริการทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายที่พร้อมตอบสนองทั้ง Voice และ Data, แพ็คเกจการใช้บริการที่หลากหลาย สำหรับทุก Segment ,การนำ Smart Device คุณภาพเข้ามาจำหน่าย , การพัฒนาหลากหลาย Application อาทิ AIS Book Store ที่ได้รับการตอบอย่างดียิ่ง ตลอดจนการยกระดับบุคลากรที่ส่งมอบบริการ รวมไปถึงการผนึกกำลังกับพันธมิตรตามหลัก Ecosystem มอบประสบการณ์สุดพิเศษ ให้แก่ลูกค้า”

“ปี 2555 ในภาพใหญ่ถือเป็นปีแห่งความท้าทายและโอกาสใหม่ๆ ของประเทศ ในการก้าวไปข้างหน้าอีกขั้น จากตัวเลข GDP ที่คาดว่าจะเติบโตราว 3-5% รวมถึงนโยบาย ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งให้ความสำคัญแก่การขยายโอกาส ในการเข้าถึงโลกแห่ง online ผ่านโครงการ Smart Thailand รวมไปถึง โครงการ One Tablet per Child และการเตรียมเปิดประมูล 3จี 2.1 GHz ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ยืนยันว่าจะสามารถดำเนินการได้ในปีนี้ ทั้งหมด จะนำมาซึ่งโอกาสที่คนไทยจะได้สัมผัสกับบริการทางด้านสื่อสารโทรคมนาคมที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น”

นายวิเชียร คาดการณ์ภาพของอุตสาหกรรมในปี 2555 ว่า “การเติบโตของการใช้งาน Voice, Data และยอดจำหน่ายของ Smart Device จะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด มากกว่า 100% ซึ่งแน่นอนเราจะได้เห็นภาพการแข่งขันระหว่าง Operator ที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง โดยกลยุทธ์ในส่วนของเอไอเอสนั้นยังคงมุ่งให้ความสำคัญกับ “การส่งมอบประสบการณ์คุณภาพสมบูรณ์แบบ” ในทุกด้าน ควบคู่กับการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ เพื่อผนึกกำลังส่งมอบความพิเศษที่มากยิ่งขึ้นไปยังลูกค้าตลอดปีนี้ นอกจากนี้เอไอเอสยังมีความพร้อมเต็มที่ใน การเข้าร่วมประมูล 3จี ไม่ว่าจะเป็น เงินลงทุน, ความรู้ ความสามารถของบุคลากร, งบประมาณ รวมไปถึงความสามารถในการให้บริการได้อย่างรวดเร็ว หากได้รับใบอนุญาต”

ด้าน นายมาร์ค ชอง ชิน ก๊อก หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหารด้านปฏิบัติการ เอไอเอส กล่าวว่า “คุณภาพ” ยังคงเป็นหัวใจหลักในการส่งมอบประสบการณ์จากทุกมิติ ผ่าน Devices, Networks, Applications รวมถึง Customer Services โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ Network ซึ่ง เอไอเอสจะใช้งบประมาณลงทุนด้านเครือข่ายเป็นเงินเบื้องต้น 8 พันล้านบาท ซึ่งจะมีทั้งการขยายพื้นที่การให้บริการ, ปรับปรุงคุณภาพเครือข่าย, เพิ่มความสามารถในการรองรับการใช้งานของ 2G ในส่วนของ Voice และ Data อย่าง EDGE Plus ที่ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มความสามารถในการรองรับการใช้ดาต้า ของ 3 G 900 MHz รวมไปถึงการขยายจุดให้บริการ Wifi ใน Community Mall ใหม่ๆ พร้อมด้วยประสบการณ์พิเศษที่จับมือกับพาร์ทเนอร์มอบให้แก่ลูกค้าเอไอเอสเท่านั้น”

“ในส่วนของ Smart Device จะมุ่งเน้นการขยายตลาดไปยังตลาดต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น โดยร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ผู้ผลิตระดับโลก นำ Smart Device คุณภาพระดับสากลในราคาสุดคุ้มมามอบให้แก่ลูกค้า พร้อมแพ็คเกจการใช้งานที่เหมาะสม คุ้มค่าทั้ง Voice , Data ก่อนใคร และพิเศษกว่าใครเสมอ”

นายมาร์ค ย้ำถึงแนวทางการพัฒนา Applications และ Service ว่า “เรายังมุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนา Applications ที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าในทุกๆ Segment ทั้งลูกค้าทั่วไปเพื่อให้ Digital Lifestyle เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ผ่าน Innovative Application ต่างๆรวมไปถึง การมุ่งพัฒนา Mobile Business Solution และการผสมผสานเทคโนโลยี Fix และ Wireless เข้าด้วยกันเพื่อตอบโจทย์ความต้องการกลุ่มลูกค้า SMEs และลูกค้าองค์กรที่มีความต้องการใช้งานที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติอุทกภัย ที่ผ่านมาซึ่งสามารถทำให้การทำงานยังคงเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง”

ด้านนายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ รองกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานการตลาดเอไอเอส กล่าวว่า “เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าปัจจุบันโทรศัพท์เคลื่อนที่และเทคโนโลยีไร้สาย เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตอย่างชัดเจน เพราะเป็นทั้งผู้ช่วยและ Support กิจวัตรต่างๆพร้อมตอบสนองความคาดหวังของผู้บริโภคในแต่ละ Segment ที่มี Lifestyle แตกต่างกันออกไป”

“สำหรับกลยุทธ์ด้านการตลาดในปีนี้ เรายังคงมุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการใช้งาน Voice และ Data ผ่านทาง Promotion Package ที่หลากหลายและคุ้มค่า ควบคู่กับ การนำ Device คุณภาพและ Application เพื่อส่งมอบให้ลูกค้าในแต่ละ Segment ที่ละเอียดยิ่งขึ้น โดยจุดแข็งของเอไอเอสที่เหนือกว่า คือ การพัฒนา Innovative Service อย่างต่อเนื่อง ที่จะเป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่สำหรับผู้ใช้บริการ อาทิ ช่วงที่ผ่านมาได้เปิดตัวความร่วมมือกับธนาคารกรุงไทย ให้ลูกค้าเอไอเอสถอนเงินสดจากตู้เอทีเอ็มได้เพียงใช้รหัส ซึ่งนอกเหนือจากจะเป็นประโยชน์แก่ลูกค้าแล้ว ยังเป็นการสร้างโอกาสทางการเติบโตให้แก่พาร์ทเนอร์ในอุตสาหกรรมอื่นๆตามแนวคิด Ecosystem โดยจะมีการทยอยเปิดบริการใหม่ๆตามแนวคิดนี้อย่างต่อเนื่อง”

“อย่างไรก็ตามสิ่งที่เอไอเอสยืนยันและต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค คือ“เครือข่ายที่ดี และ เชื่อมั่นได้มากที่สุด” จะต้องมีการเดินหน้าพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุกๆด้าน เพราะความต้องการของผู้บริโภคมิใช่เพียง 3G มิใช่เพียง Data มิใช่เพียงการใช้งาน Voice มิใช่เพียงการใช้ Application และมิใช่เพียง…….ฯลฯ หากแต่ต้องผสมผสานบริการ ทุกรูปแบบอย่างลงตัวเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคในทุกๆ Segment สนับสนุนให้สามารถเลือกใช้ชีวิตในแบบที่ตัวเองชื่นชอบได้อย่างไร้ข้อจำกัดตามแนวคิด “ชีวิตในแบบคุณ” ล่าสุดจึงได้ส่งผ่านแนวคิดดังกล่าวผ่าน Communication Campaign ที่นำเสนอมุมมองของผู้บริโภคถึง 15 กลุ่ม ซึ่งต่างบอกเล่าถึง Lifestyle และการเติมเต็มความต้องการได้ดังใจจากบริการของเอไอเอส โดยเรามีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการเดินข้างหน้า นำบริการที่ดีที่สุดมามอบให้แก่ลูกค้า พร้อมประสบการณ์คุณภาพที่สมบูรณ์แบบตลอดไป” นายสมชัยกล่าวในตอนท้าย

View :2097

ก.ไอซีที ร่วมเป็นเจ้าภาพ ITU Workshop on Emergency Communications and Information Management

February 20th, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม on ว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ร่วมกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม on Emergency Communications and Information Management ขึ้น ระหว่างวันที่ 20 – 22 กุมภาพันธ์ 2555 โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และสาธารณรัฐเกาหลี องค์การระหว่างประเทศด้านการจัดการภัยพิบัติ และหน่วยงานธุรกิจภาคเอกชนด้านโทรคมนาคม และ ICT

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


การประชุมฯ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการถ่ายทอดข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์และกรณีศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ซึ่งผู้เข้าร่วมการประชุมฯ จะได้รับทราบถึงวิธีการบริหารจัดการด้านสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการภัยพิบัติ และในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เพื่อนำไปใช้ประกอบการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาแผนการบริหารจัดการสารสนเทศและการสื่อสารกรณีเหตุฉุกเฉิน ส่วนเนื้อหาของการประชุมฯ จะครอบคลุมประเด็นสำคัญ คือ นโยบายและกรอบการบริหารจัดการภัยพิบัติและเหตุฉุกเฉิน โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นโยบายการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมเพื่อเอื้อต่อการสื่อสารในกรณีเหตุฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ แผนการรับมือภัยพิบัติและเหตุฉุกเฉินภายในองค์กร รวมถึง business continuity plan

นอกจากนี้ ยังมีการประชุมในประเด็นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาตรฐานระหว่างประเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการภัยพิบัติและเหตุฉุกเฉิน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การบริหารจัดการสารสนเทศและรายการสิ่งของในเหตุภัยพิบัติและกรณีฉุกเฉิน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างประเทศด้วย โดยการประชุมฯ ในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประมาณ 100 คน ซึ่งเป็นผู้แทนจากหน่วยงานรัฐและภาคส่วนต่างๆ ของประเทศไทย ที่รับผิดชอบงานด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติและเหตุฉุกเฉิน ผู้แทนจากประเทศสมาชิก ITU ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก องค์การระหว่างประเทศที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการจัดการภัยพิบัติและการสื่อสารในกรณีเหตุฉุกเฉิน

View :1922

ทรูมูฟ เอช ร่วมกับ WBA และซิสโก้ เปิดให้ทดสอบ Next Generation Hotspot (Hotspot 2.0) ครั้งแรกในเอเชีย

February 15th, 2012 No comments

ผู้นำบริการ WiFi และ 3G สมบูรณ์แบบที่สุดในประเทศ ประกาศความร่วมมือกับ สมาพันธ์ (Wireless Broadband Alliance) และซิสโก้ นำ () มาเปิดให้ลูกค้าทดลองสัมผัส เป็นครั้งแรกในเอเชีย โดย Next Generation Hotspot () เป็นนวัตกรรมเทคโนโลยีจาก ที่ปรับปรุงการเชื่อมโยงสัญญาณระหว่าง WiFi และ 3G ได้อัตโนมัติ พร้อมความปลอดภัยของข้อมูลสูง ผู้สนใจสามารถทดลองใช้บริการได้ ณ ทรูช้อป สาขาเซ็นทรัล พระราม 9 และทรูช้อป สาขาเซ็นทรัล ลาดพร้าว ตั้งแต่วันนี้ ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2555

นายสุพจน์ มหพันธ์ ผู้อำนวยการ ด้านธุรกิจบริการระหว่างประเทศ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า เทคโนโลยี Next Generation Hotspot (Hotspot 2.0) เกิดจากความร่วมมือของสมาชิกสมาพันธ์ WBA ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผู้ให้บริการโซลูชั่นเครือข่าย และผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารชั้นแนวหน้า ที่ออกแบบขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายแก่ลูกค้าในการใช้งานโมบายล์ อินเทอร์เน็ต โดยจะเชื่อมโยงสัญญาณระหว่าง WiFi และ 3G อย่างอัตโนมัติ ทำให้สามารถออนไลน์ไร้สายได้ตลอดเวลา ราบรื่นไม่ติดขัดแม้ขณะปรับเปลี่ยนการเชื่อมโยงสัญญาณ อีกทั้งยังส่งผลให้มีพื้นที่บริการครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยขณะนี้กำลังทดสอบนวัตกรรมดังกล่าวในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และฮ่องกง ขณะที่ผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการที่ผ่านมา จะถูกนำไปเสนอในการประชุม GSMA World Congress ที่จะจัดขึ้นปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ณ เมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน

“ทรูมูฟ เอช ในฐานะสมาชิกสมาพันธ์ Wireless Broadband Alliance (WBA) และหนึ่งในคณะผู้บริหารของสมาพันธ์ ที่เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมทั้งเป็นผู้นำบริการ WiFi และ 3G เพียงรายเดียวของไทยที่มีส่วนร่วมในโครงการ Next Generation Hotspot (Hotspot 2.0) ภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้มีบทบาทสำคัญในโครงการนำร่องทดสอบนวัตกรรมเทคโนโลยีนี้ ยิ่งไปกว่านั้น โครงการดังกล่าวยังสอดคล้องกับกลยุทธ์คอนเวอร์เจนซ์ของกลุ่มทรู ที่มุ่งมั่นเพิ่มความสะดวกสบาย ให้ใช้ชีวิตอิสระยิ่งขึ้นผ่านการเชื่อมโยงบรอดแบนด์ไร้สายอย่างราบรื่น และมีความปลอดภัยสูงในการรับส่งข้อมูล”

ดร. ธัชพล โปษยานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “สมาร์ทโฟนกำลังเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารไร้สายในปัจจุบัน และ WiFi ถือเป็นส่วนสำคัญในการสร้างประสบการณ์เชื่อมโยงไร้สายความเร็วสูง จากรายงานการประเมินผลของ Cisco Visual Networking Index ประจำปี 2554 คาดว่าจะมีเครื่องมือสื่อสารไร้สายมากกว่า 7.1 พันล้านเครื่องในปี 2558 ซึ่งเกือบจะเท่ากับจำนวนประชากร 7.2 พันล้านคนในปีเดียวกัน เรารู้สึกภูมิใจที่ได้มีโอกาสร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในอุตสาหกรรมการสื่อสารไร้สาย คือ สมาพันธ์ WBA (Wireless Broadband Alliance) และ ทรูมูฟ เอช ในการทดลองให้บริการเชื่อมโยงไร้สายความเร็วสูงที่สมบูรณ์แบบในประเทศไทย”

นายนนท์ อิงคุทานนท์ ผู้จัดการทั่วไป สายงานบริการบรอดแบนด์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “จุดเด่นของเทคโนโลยี Next Generation Hotspot (Hotspot 2.0) คือเพิ่มความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการใช้งาน เพื่อให้ลูกค้าสัมผัสประสบการณ์เชื่อมโยงบรอดแบนด์ไร้สายผ่านซิมการ์ด และโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่รองรับเทคโนโลยีนี้ ที่จะทำการเลือกโครงข่าย WiFi Hotspot ให้อัตโนมัติ ลูกค้าไม่ต้องจำ SSID (Service Set IDentifier) ไม่ว่าจะใช้งานที่ใดทั่วโลก และด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่ระบบจะจดจำข้อมูลผู้ใช้ผ่านซิมการ์ด จึงล็อกอินใช้งานได้โดยไม่ต้องพิมพ์ Username และ Password ยิ่งไปกว่านั้น ลูกค้ายังมั่นใจได้ว่าการใช้งานจะปลอดภัยสูงสุดตามมาตรฐานสากล เพราะเข้ารหัสการรับส่งข้อมูลด้วยระบบ WPA2-Enterprise (WiFi Protected Access 2) ที่นำคุณลักษณะในระบบเครือข่ายองค์กรแบบส่วนตัว (Private Enterprise Network) มาไว้ในระบบเครือข่ายฮอตสปอตสาธารณะ เพื่อลดการโจมตีจากภายนอกได้ เช่น การปลอมแปลง SSID เป็นชื่อเดียวกัน การเจาะดูข้อมูล และการบุกรุกเข้ามาในระบบ เป็นต้น โดยทรูมูฟ เอช ขอเชิญผู้สนใจทดลองสัมผัสประสบการณ์ดังกล่าวได้แล้วที่ทรูช้อป สาขาเซ็นทรัล พระราม 9 และ ทรูช้อป สาขาเซ็นทรัล ลาดพร้าว ตั้งแต่วันนี้ ถึง 29 กุมภาพันธ์นี้”

ทั้งนี้ นวัตกรรมเทคโนโลยี Next Generation Hotspot (Hotspot 2.0) ยังมีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการสื่อสารเคลื่อนที่ โดยจะช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถบริหารจัดการช่องทางของการรับส่งข้อมูลได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงนับเป็นโอกาสสำคัญของกลุ่มทรู ที่ได้ร่วมมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมบรอดแบนด์ไร้สายระดับโลก

View :1574

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างแผนแม่บท 3 แผน

February 10th, 2012 No comments

การประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อ (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ (พ.ศ. ….) และ (ร่าง) ตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ ร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙) และ (ร่าง) แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙)

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ () ได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ (พ.ศ. ….) และร่างตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ ร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙) และร่างแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม (พ.ศ.๒๕๕๕ – ๒๕๕๙) ในวันศุกร์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ระหว่างเวลา ๐๙.๓๐-๑๗.๐๐ น. โดยเป็นการจัดพร้อมกันทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค โดยส่วนกลางจัด ณ ศูนย์แสดงสินค้าและ การประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี และส่วนภูมิภาค ภาคเหนือ ณ โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์รีสอร์ท จังหวัดเชียงราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี และ ภาคใต้ ณ โรงแรมเมโทรโพล จังหวัดภูเก็ต

กำหนดการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวันศุกร์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ จะแบ่งออกเป็น ๒ ช่วง โดยภาคเช้าเป็นพิธีเปิดการประชุมโดยการถ่ายทอดสดสัญญาณพิธีเปิดจากสถานที่จัดการประชุมในส่วนกลาง (ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี) ไปยังสถานที่จัดการประชุม ณ จังหวัดเชียงราย จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดภูเก็ต หลังจากนั้นจะเป็นการนำเสนอร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่และร่างตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติและรับฟังความคิดเห็นจากที่ประชุมฯ และในภาคบ่าย จะเป็นการนำเสนอร่างแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมหรือร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากที่ประชุมฯ

อย่างไรก็ตาม การประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในส่วนภูมิภาคจะรับฟังความคิดเห็นเฉพาะร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่และร่างแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมก่อน โดยร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ จะมีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะสำหรับภาคเหนือ ในวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ณ โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ ภาคใต้ ในวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ณ โรงแรมลี การ์เด้น พลาซ่า อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ณ โรงแรมสุนีย์แกรนด์ โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น จังหวัดอุบลราชธานี

ประเด็นที่ได้นำมารับฟังความคิดเห็นสาธารณะในครั้งนี้ของร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ ร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และร่างแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม นอกจากวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ แล้ว มีประเด็นหลักๆ ดังนี้

๑. ร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ จะรับฟังความเห็นในประเด็นหลักเกี่ยวกับรายละเอียดเกี่ยวกับตารางกำหนดคลื่นความถี่ทั้งหมดที่ประเทศไทยสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ รายละเอียดเกี่ยวกับคลื่นความถี่ที่กำหนดให้ใช้ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม และกิจการอื่น เครื่องมือในการบริหารคลื่นความถี่ กรอบแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ ๖ ด้าน

๒. ร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ จะรับฟังความเห็นในประเด็นหลักเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ การกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ การคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ การส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในการสื่อสาร การพัฒนาคุณภาพการประกอบกิจการ การเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล การพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อไปสู่องค์กรกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ

๓. ร่างแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม จะรับฟังความเห็นในประเด็นหลักเกี่ยวกับการพัฒนาและส่งเสริมการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และการอนุญาตให้ประกอบกิจการ การใช้ทรัพยากรโทรคมนาคมอย่างมีประสิทธิภาพ การบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง การคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม การเตรียมความพร้อมและการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและความร่วมมือระหว่างประเทศ

ผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ประกอบด้วยประชาชนทั่วไป องค์กรเอกชน กลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรวิชาชีพและสื่อมวลชน กลุ่มผู้ประกอบกิจการ และนักลงทุน รวมทั้งหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้คลื่นความถี่ การประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการวิทยุคมนาคม และกิจการโทรคมนาคม จำนวนประมาณ ๑,๑๐๐ คน ในส่วนกลาง และประมาณ ๓๐๐ คน ในแต่ละส่วนภูมิภาค ซึ่ง กสทช. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้ที่เข้าร่วมการประชุมและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าใจถึงความเป็นมา หลักการ เหตุผล และสาระสำคัญของแผนแม่บทดังกล่าว ก่อนที่แผนแม่บทฯ ทั้ง ๓ ฉบับนี้ จะมีผลใช้บังคับ เพื่อพัฒนากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ในระยะ ๕ ปี ข้างหน้า ได้อย่างเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิ์ผลตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และคาดหวังที่จะได้รับข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะต่างๆ ที่มีต่อร่างแผนแม่บทฯ อันจะเป็นประโยชน์ต่อ กสทช. และสำนักงาน กสทช. ในการนำไปปรับปรุงร่างแผนแม่บทฯ และร่างตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย และนำเสนอต่อที่ประชุม กสทช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งคาดว่าขั้นตอนดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายใน ไตรมาสที่ ๑

View :1940