Archive

Archive for November, 2010

ไมโครซอฟท์ส่งตรง Office for Mac 2011 สู่แฟนแมคอินทอชชาวไทย

November 11th, 2010 No comments

เผยโฉม “ออฟฟิศสำหรับคอมพิวเตอร์แมค” เวอร์ชั่นใหม่มาพร้อมกับประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น
ชี้จีเอฟเค รีเสิร์ช ยกผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ของไมโครซอฟท์ครองอันดับหนึ่งในตลาดคีย์บอร์ดเมืองไทย

กรุงเทพฯ – 10 พฤศจิกายน 2553 – ไมโครซอฟท์ เอาใจแฟนแมคทั่วประเทศ ด้วยการเปิดตัวโปรแกรมไมโครซอฟท์ออฟฟิศสำหรับแมค 2011 (Microsoft® ) ซึ่งนับเป็นชุดเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ชุดโปรแกรมออฟฟิศสำหรับแมค 2011 มี 2 รุ่น ได้แก่ Office for Mac Home and Student 2011 และ Office for Mac Home and Business 2011

ผลิตภัณฑ์ไมโครซอฟท์ออฟฟิศสำหรับแมค 2011 นำเสนอแอพพลิเคชั่นและฟีเจอร์สำหรับการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และเป็นที่คุ้นเคย เพื่อให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์แมคได้มีโอกาสใช้งานเครื่องมือที่เหมาะสมในการแปลงความคิดสร้างสรรค์เป็นงานเอกสารได้อย่างมืออาชีพ และสามารถเปิดใช้งานแม้ในแพล็ตฟอร์มที่ต่างกันได้

นายชัชวาล จิตติกุลดิลก ผู้จัดการฝ่าย Retail Sales & Marketing (RSM) บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ไมโครซอฟท์ ได้พัฒนาโปรแกรมออฟฟิศสำหรับแมค เพื่อให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์แมคได้มีโอกาสใช้ประโยชน์จากเครื่องมือที่ช่วยสร้างงานเอกสารที่มีรูปแบบสวยงาม และสามารถใช้งานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างไม่มีปัญหา โดยมี 2 รุ่นให้เลือกเพื่อให้เหมาะกับความต้องการใช้งาน การออกผลิตภัณฑ์ออฟฟิศสำหรับแมคในครั้งนี้พิเศษกว่าที่เคย ด้วยการนำเสนอชุดเครื่องมือและฟีเจอร์ที่มีประสิทธิภาพที่ผู้ใช้งานมีความคุ้นเคยของไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ทั้งยังสามารถทำงานและแสดงผลได้อย่างยอดเยี่ยมบนเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช”

ชุดโปรแกรมออฟฟิศสำหรับแมค 2011 ประกอบไปด้วย Word for Mac, PowerPoint for Mac, Excel for Mac, Messenger for Mac และล่าสุดกับ Outlook for Mac ซึ่งประกอบด้วยฟีเจอร์ที่หลากหลายเช่นเดียวกับโปรแกรมออฟฟิศ 2010 สำหรับเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์

ฟีเจอร์ต่างๆ ที่น่าสนใจสำหรับชุดโปรแกรมออฟฟิศสำหรับแมค ประกอบไปด้วย
• ริบบอน (Ribbon) หรือแถบจัดกลุ่มเมนูที่พร้อมทำงานรูปแบบใหม่และช่วยสรรสร้างประสบการณ์ในการทำงานที่ราบรื่นสำหรับผู้ใช้เครื่องแมค โดยผู้ใช้งานจะยังสามารถใช้ฟีเจอร์ที่คุ้นเคยได้ โดยที่ฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่มเข้ามาไม่ทำให้การทำงานต้องสะดุด
• เทมเพลทแกลเลอรี่ (Template Galleries) ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงและจัดการเทมเพลทแบบออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย ทั้งยังสามารถเปิดเอกสารที่เพิ่งใช้งานเสร็จได้อย่างสะดวก
• ฟีเจอร์สปาร์คไลน์ (Sparklines) ช่วยสร้างความน่าสนใจให้กับผลสรุปของข้อมูลในรูปแบบของชาร์ท นอกจากนี้ สปาร์คไลน์ใน Microsoft® Excel for Mac 2011 ยังสามารถทำงานร่วมกันได้ดีกับ Microsoft® Excel 2010
• ฟีเจอร์ไดนามิก รีออร์เดอร์ (Dynamic Reorder) ช่วยเรียงเลเยอร์ของวัตถุบนเอกสารให้อัตโนมัติ โดยจะแสดงผลแต่ละเลเยอร์ในรูปแบบ 3 มิติ ในมุมมองของ Layout view page และ PowerPoint presentation

View :1401

ดีแทคสร้างสมาร์ทโฟนซิมบุกตลาดร่วมไปกับสมาร์ทโฟนรุ่นกลาง พร้อมจำหน่ายที่สำนักงานบริการลูกค้า ดีแทคเซ็นเตอร์

November 11th, 2010 No comments

พร้อมจับมือ ทีจีโฟน เจมาร์ท ขยายช่องทางจำหน่ายซิมสำหรับสมาร์ทโฟนเป็นครั้งแรก

ดีแทคเปิดตัวสมาร์ทโฟนซิม สำหรับใช้งานกับสมาร์ทโฟนโดยเฉพาะ ลุยเจาะตลาดสมาร์ทโฟนระดับกลางทุกรุ่นเพื่อให้ใช้งานดาต้าได้เร็วกว่าดีกว่าบนเครือข่ายดีแทค ประสานกำลังพันธมิตร เจมาร์ท ทีจีโฟน ร่วมบุกตลาดทั่วประเทศซึ่งกำลังขยายตัวตามสังคมเมือง มอบโปรโมชั่นพิเศษรองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือ โซเชียลเน็ตเวิร์ก และดาต้าต่าง ๆ

นายเพ็ตเตอร์ เฟอร์เบิร์ก รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า ลูกค้าที่มีความต้องการใช้สมาร์ทโฟนในปัจจุบันมีจำนวนมาก นอกจากกลุ่มไฮเอนด์ที่นิยมไอโฟนหรือแบล็คเบอรี่แล้ว สมาร์ทโฟนรุ่นกลางอีกหลายรุ่นที่จับตลาดระดับแมสก็กำลังมียอดเติบโตดีเช่นกัน ดีแทคจึงได้ริเริ่มผลิตซิมสำหรับใช้งานกับสมาร์ทโฟนขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อรองรับกับความต้องการใช้งาน internet บนมือถือ และบริการอื่น ๆ การทำตลาดสมาร์ทโฟนซิมนี้เราได้รับความร่วมมือจากพาร์ทเนอร์ที่แข็งแกร่งในเรื่องช่องทางจัดจำหน่าย คือ เจมาร์ท และทีจีโฟน ที่จะร่วมจัดโปรโมชั่นสร้างสีสันให้การแข่งขันช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ด้วย

สมาร์ทโฟนซิมมีจำหน่ายแล้วร้านของทีจีโฟน เจมาร์ท และที่สำนักงานบริการลูกค้า และดีแทคเซ็นเตอร์ทั่วประเทศ เมื่อสมัครแพ็กเกจสมาร์ทโฟนซิมภายใน 31 มกราคม 2554 รับสิทธิประโยชน์ดังนี้

· แพ็กเกจ 399 บาทรับฟรี dtac internet 100MB พร้อมโทรฟรีทุกเครือข่าย 200 นาที

· แพ็กเกจ 799 บาท รับฟรี dtac internet 3GB พร้อมโทรฟรีทุกเครือข่าย 200 นาที

โปรโมชั่นพิเศษ สำหรับลูกค้าที่มีความสนใจซื้อสมาร์ทโฟนเครื่องใหม่ เมื่อซื้อสมาร์ทโฟนรุ่นที่ร่วมรายการที่เจมาร์ทรับข้อเสนอเพิ่ม ผ่อนชำระดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือน รับเพิ่ม dtac internet อีก 100MB นาน 3 เดือน เมื่อจดทะเบียนแพ็กเกจสมาร์ทโฟนซิม 399 บาท

และเมื่อซื้อสมาร์ทโฟนรุ่นที่ร่วมรายการที่ร้านทีจีโฟนทุกสาขา สามารถผ่อนชำระดอกเบี้ย 0% นาน 10 เดือน รับเพิ่ม dtac internet อีก 100MB นาน 3 เดือน เมื่อจดทะเบียนแพ็กเกจ สมาร์ทโฟนซิม 399 บาท.

View :1510
Categories: Press/Release Tags: ,

เดลล์เปิดศูนย์ Dell Solution Innovation Centers

November 11th, 2010 No comments

เดลล์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด โชว์ศักยภาพในการเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นครบวงจรแบบเต็มตัว ด้วยการเปิดศูนย์ พร้อมให้ลูกค้าระดับองค์กร เข้าชมการสาธิตใช้งานจริงโซลูชั่นหลัก 4 โซลูชั่น รวมถึงการทำเวิร์กช็อปให้กับลูกค้าที่สนใจทดสอบระบบและแอพพลิเคชันก่อนนำไปใช้งานจริง

นายอโณทัย เวทยากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดลล์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด และภูมิภาคอินโดจีน เปิดเผยว่า “ การเปิดศูนย์ Solution Innovation Centers เพื่อเป็นศูนย์สาธิตการใช้งานจริงสำหรับโซลูชั่นหลัก 4 โซลูชั่น ที่เดลล์มุ่งเน้นในการทำตลาดในวันนี้ และในอนาคต ซึ่งครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญอีกครั้งหนึ่งสำหรับเดลล์ ในการเป็นผู้ให้บริการโซลชั่นครบวงจรอย่างเต็มตัว เพื่อรองรับต่อการทำงานในโลกยุคเสมือน ที่อำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้งานได้ในทุกสถานที่ ทุกเวลา และเป็นระบบที่รองรับต่อการเติบโตขององค์กรได้อย่างคล่องตัวเพื่อให้ก้าวทัน การเปลี่ยนแปลงของโลกที่หมุนอย่างรวดเร็ว ”

ทั้งนี้ สำหรับโซลูชั่น หลัก 4 โซลูชั่น ประกอบด้วย

1. โซลูชันโครงสร้างพื้นฐานระบบแบบอัจฉริยะ (Intelligent Infrastructure Solutions)

โซ ลูชั่นในการสร้างโครงสร้างที่พร้อมรองรับระบบเวอร์ชวลไลเซชั่น เพื่อการติดตั้งที่รวดเร็วและการทำงานที่ดีขึ้น โดยเดลล์ได้ผนวกระบบการจัดการระบบไว้ในเซิร์ฟเวอร์ เพื่อทำให้เกิดระบบอัจฉริยะในการทำงาน และสร้างประสิทธิภาพโดยรวม

2. การทำให้การบริหารโครงสร้างระบบเป็นไปอย่างง่ายดาย ( Simplified Infrastructure Management )

โซ ลูชั่นการจัดการแพลตฟอร์มแบบเวอร์ชวลเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการรับโหลดการ ทำงาน ( ตัวอย่างเช่น ตัวจัดการโครงสร้างระบบแบบชั้นสูง ( Advanced Infrastructure Manager) ระบบควบคุมวงจรชีวิตการทำงาน ( Life Cycle Controller) ชุดควบคุมบริหารระบบจากเดลล์ ( Dell Management Console) การกำหนดค่าแบบพร้อมใช้งานสำหรับธุรกิจ ( Business Ready Configurations) และบริการด้านการบริหารระบบจากเดลล์ ( Dell Managed Services)

· บริการด้าน การบริหารระบบจากเดลล์ โดยทีมงานเดลล์พร้อมช่วยลูกค้าในการจัดการฮาร์ดแวร์ แอพพลิเคชัน และระบบเครือข่ายทั้งหมดในทุกส่วน เสมือนเป็นทีมผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีให้แก่ลูกค้าในยามที่ต้องการภายใต้ราคา ที่เหมาะสม โดยสามารถเลือกขอรับบริการจากเดลล์ได้ในหลายระดับ ทั้งการแจ้งเตือนด้านความเสี่ยงของระบบ การรับมือกับปัญหาก่อนสร้างความเสียหาย ไปจนถึงการจัดการระบบแบบเบ็ดเสร็จ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด

3. การจัดการเวิร์กโหลดด้านแอพพลิเคชันและโหลดการทำงานเพื่อให้ระบบคล่องตัว (Streamlined Application & Workload Management)

- มอบความรวดเร็วในการนำเสนอบริการเชิงกลยุทธ์บนระบบไอทีด้วยคุณสมบัติใหม่ล่าสุด

( บริการด้านแอพพลิเคชัน ( Application Services) โซลูชันระบบคลาวด์แบบเทิร์นคีย์ ( Turn-Key Cloud Solutions) การประเมินและให้คำปรึกษาด้านระบบคลาวด์ ( Dell ProConsult Cloud Consulting Workshop & Assessment) และการสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนระบบคลาวด์ ( Cloud Communication & Collaboration))

· เดลล์มอบบริการแอพพลิเคชัน ระบบซีอาร์เอ็มแบบคลาวด์ผ่านการร่วมมือกับทาง Salesforce.com เพื่อธุรกิจขนาดกลางและ ขนาดเล็ก ช่วยให้สามารถจัดการบุคลากรและกระบวนการต่างๆ ไ้อย่างมีประสิทธิภาพ มอบความครบถ้วนในด้านธุรกิจในทุกส่วน และยังสามารถผสานรวม Salesforce.com เข้ากับแอพพลิเคชันชั้นนำได้อีกกว่านับร้อยรายการ เ ช่น QuickBooks, NetSuite, Sage, ADP, Microsoft Dynamics เป็นต้น

4. การบริหารข้อมูลแบบชาญฉลาด (Intelligent Data Management – IDM)

เป็น การจัดการข้อมูลแบบอัตโนมัติบนระบบสตอเรจแบบเปิดที่ผู้วางระบบสามารถคาด การณ์การใช้งานในอนาคตและสามารถปรับขยายระบบให้รองรับต่อการเติบโตในอนาคต ได้ โดยมีโซลูชันด้านสตอเรจภายใต้ IDM ทั้งหมด 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่

1) ส่วนหน้าหรือส่วนยูนิไฟด์สตอเรจ เช่น Network Storage จาก EMC ที่เดลล์ร่วมมือกับทาง EMC และสามารถติดตั้งบน iSCSI หรือไฟเบอร์แชนเนลที่มีอยู่ได้ เพื่อให้ข้อมูลของลูกค้าถูกรวมไว้ได้ภายในที่เดียวกัน

2) จากนั้นก็ถึงขั้นตอนของการปรับปรุงและค้นหาข้อมูลซ้ำเพื่อเพิ่มพื้นที่ว่าง เราเรียกส่วนนี้ว่าการทำดาต้าโดเมน ( Data Domain)

3) ท้ายสุดก็คือ ขั้นตอนการกำหนดนโยบายเพื่อการดูแลจัดเก็บข้อมูลในระยะยาว โดยอาศัยโซลูชันการจัดการข้อมูลบนระบบสตอเรจเชิงวัตถุ

นอกจากนี้แล้ว ภายในศูนย์ DSIC มีส่วนห้องฝึกอบรมและทำเวิร์กช็อป สำหรับลูกค้าในการทดสอบและทดลองใช้แอพพลิเคชั่นที่สนใจ ก่อนนำไปติดตั้งใช้งานจริงในองค์กร รวมถึงโซนสาธิตการให้บริการคำปรึกษา ( Dell Consulting Service) ที่มีหน้าที่ในการให้คำปรึกษา และแนะนำโซลูชั่นให้กับลูกค้า โดยบริการให้คำปรึกษาของเดลล์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย :

(1) บริการให้คำปรึกษาด้านสถาปัตถายกรรมองค์กร ( Enterprise Architecture): เป็นการให้คำปรึกษาในการวางระบบเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ในการดำเนินธุรกิจ คำปรึกษาด้านการกู้คืนระบบ คำปรึกษาด้านการวางระบบสื่อสารและคอลลาบอเรชั่น และคำปรึกษาด้านการวางระบบรักษาความปลอดภัย

(2) บริการให้คำปรึกษาในการวางระบบดาต้าเซ็นเตอร์ : เป็นการให้คำปรึกษานับตั้งแต่การวางแผน คำปรึกษาด้านการจัดการระบบ การวางดาต้าเซ็นเตอร์ให้เกิดประสิทธิภาพ ไปจนกระทั่งถึงคำปรึกษาด้านการวางเครือข่าย เพื่อให้การใช้พื้นที่ดาต้าเซ็นเตอร์เกิดประโยชน์สูงสุด

(3) บริการให้คำปรึกษาเอ็นยูสเซอร์โซลูชั่น : เป็นการให้บริการคำปรึกษาและแนะนำให้เกิดการใช้งานแบบโมบาย รวมถึงส่วนแอพพลิเคชันเพื่อให้สอดคล้องกับระบบหลัก

View :1437

ริม แนะนำแอพพลิเคชั่นดูแลสุขภาพบนมือถือแบล็กเบอร์รี่

November 11th, 2010 No comments

“ แบล็กเบอร์รี่ ” นำเสนอแอพพลิเคชั่นดูแลสุขภาพที่จะเป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับผู้ชื่นชอบเล่นกีฬาต่างๆ คนที่ควบคุมน้ำหนักอย่างเคร่งครัด หรือคนที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพของตนเอง แอพพลิเคชั่นใหม่นี้มีหลากหลายโปรแกรมที่เป็นประโยชน์กับการควบคุมน้ำหนัก หรือการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ โดยผู้ใช้แบล็กเบอร์รี่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี วันนี้ !

แอพพลิเคชั่น

แอพพลิเคชั่น Gym Technik NextGen ช่วยให้ผู้ชื่นชอบเล่นนักกีฬาสามารถตรวจสอบพฤติกรรมการออกกำลังกาย ทั้งระดับสถิติต่างๆ ของร่างกา ย และตารางการออกกำลังกายในแต่ละเดือน ทำให้ผู้ใช้สามารถดูแลและควบคุมการออกกำลังกายของตนเอง

ผู้ใช้สมาร์ทโฟนแบล็กเบอร์รี่สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นได้ โดยเข้าไปตาม ลิงค์ด้านล่างนี้ หรือสแกน QR Code เพื่อมีแอพพลิเคชั่นดังกล่าวไว้บนมือถือของท่านได้ทันที

http://appworld..com/webstore/content/3569

แอพพลิเคชั่น MyCalmBeat

นอกจาก ความสำคัญของออกกำลังกายเพื่อทำให้สุขภาพกายแข็งแรงแล้วนั้น สุขภาพจิตใจก็เป็นเป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน แอพพลิเคชั่น MyCalmBeat ใช้เครื่องวัดอัตราการหายใจในการวัดระดับการหายใจให้อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ผู้ใช้เกิดปฏิกิริยาตอบกลับ และกลับเข้าสู่ภาวะผ่อนคลายโดยอัตโนมัติ จึงช่วยในการควบคุมระดับความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้ใช้สมาร์ทโฟนแบล็กเบอร์รี่สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นได้ โดยเข้าไปตาม ลิงค์ด้านล่างนี้ หรือสแกน QR Code เพื่อมีแอพพลิเคชั่นดังกล่าวไว้บนมือถือของท่านได้ทันที

View :1477

ค.ร.ม.เห็นชอบนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ก.ไอซีที พร้อมเดินหน้า

November 9th, 2010 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิด เผยความคืบหน้าเกี่ยวกับ (ร่าง) ว่า ภายหลังจากที่คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ (กทสช.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้พิจารณา (ร่าง) ตามที่กระทรวงไอซีที นำเสนอในการประชุมเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2553 โดยมีมติเห็นควรให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติภายใต้ กทสช.ขึ้น เพื่อจัดทำนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติสำหรับเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาบรอดแบนด์ ของประเทศ ซึ่งคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวนี้ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นประธาน และมีปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นรองประธาน รวมทั้งมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนร่วมเป็นอนุกรรมการด้วย

“คณะ อนุกรรมการฯ ได้จัดทำ (ร่าง) นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ โดยได้ศึกษาวิเคราะห์สถานภาพ ทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งได้พิจารณาจากทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นพื้นฐาน พร้อมกันนี้ยังได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำนโยบาย บรอดแบนด์ของประเทศจากผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย หรือ Stakeholders ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ก่อนนำมาจัดทำเป็น (ร่าง) นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ เสนอให้คณะรัฐมนตรี รับทราบ” นายจุติ กล่าว

สำหรับ สาระสำคัญของ (ร่าง) นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติฉบับนี้ คือ 1. ภาครัฐมีเจตนารมณ์ที่จะสนับสนุนการพัฒนาบริการ บรอดแบนด์ ให้เป็นบริการที่มีความสำคัญเทียบเท่ากับบริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของ ประชาชน โดยให้ทั่วถึง เพียงพอ ในราคาที่เหมาะสม ภายใต้การแข่งขันเสรีและเป็นธรรม 2. ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำและลดช่องว่างทางดิจิทัล ทั้งในเชิงภูมิศาสตร์และเชิงกลุ่มประชากร สามารถกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคทั่วประเทศ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน 3. ภาครัฐและภาคธุรกิจสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการพัฒนาบรอดแบนด์ได้ อย่างเต็มที่ เพื่อเพิ่มผลิตภาพ และความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน 4 . ใน การพัฒนาบริการบรอดแบนด์ รัฐจะบริหารจัดการทรัพย์สินด้านโทรคมนาคมที่รัฐได้ลงทุนไปแล้วและอาจจะลงทุน เพิ่มเติม เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการโทรคมนาคมทุกรายอย่างเสมอภาค โดยการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และรัฐจะไม่ผูกขาดที่จะเป็นผู้ลงทุนในการจัดให้มีบริการต่าง ๆ แต่เพียงผู้เดียว แต่จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทุกรายที่พึงประสงค์และมีศักยภาพที่จะลงทุน เพื่อให้บริการ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดโครงข่ายบรอดแบนด์ทั่วประเทศ โดยให้มีการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมในการให้บริการ

5.ใน เรื่องที่เกี่ยวกับเขตอำนาจอธิปไตยของชาติ เช่น ตำแหน่งวงโคจรของดาวเทียม จุดขึ้นฝั่งของเคเบิลใต้น้ำ หรือจุดเชื่อมต่อโครงข่ายข้ามพรมแดน ถือว่าเป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของชาติและเป็นสิทธิหรือทรัพยากร ที่รัฐจะส่งเสริมให้มีการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในแง่ของการนำมาใช้งานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการภายในประเทศ และการนำมาใช้งานเพื่อเพิ่มศักยภาพและโอกาสในการที่จะพัฒนาความร่วมมือและ การค้าระหว่างประเทศรัฐจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและกำกับดูแลการดำเนินการ ตามนโยบาย โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุนจัดให้มีบริการดัง กล่าว และ 6. รัฐจะส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมส่วนปลายทางทั้งแบบใช้สายและ ไร้สาย ผู้ประกอบการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ผลิตเนื้อหา ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ และผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

“(ร่าง) นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติที่กระทรวงฯ ได้จัดทำขึ้นนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ให้ครอบคลุมประชากร ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ภายในปี 2558 และไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 ภายในปี 2563 รวมทั้งให้มีบริการบรอดแบนด์ความเร็วสูงผ่านเคเบิลใยแก้วนำแสงในเมืองที่ เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ในความเร็วที่ไม่ต่ำกว่า 100 Mbps ภายในปี 2563 ด้วย” นายจุติ กล่าว

นอก จากนี้ยังมีเป้าหมายให้ประชาชนสามารถได้รับบริการผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ ทั้งในด้านการศึกษา สาธารณสุข การเฝ้าระวังและเตือนภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ และบริการสาธารณะอื่น ๆ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ โดยภายในปี 2558 ได้ตั้งเป้าหมายให้โรงเรียนในระดับตำบลสามารถเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ที่มี คุณภาพ รวมทั้งให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือสถานีอนามัยทุกแห่ง สามารถเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ที่มีคุณภาพเดียวกับโรงพยาบาลประจำจังหวัดหรือ เทียบเท่า ตลอดจนให้องค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่งสามารถให้บริการระบบรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ผ่านโครงข่าย บรอดแบนด์ ได้ภายในปีเดียวกัน พร้อมกันนั้นยังตั้งเป้าที่จะให้มีระบบการเฝ้าระวังเตือนภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ และเหตุฉุกเฉินผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องอย่างทันท่วงทีอีกด้วย

ส่วน ในภาคธุรกิจได้ตั้งเป้าหมายให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากโครงข่าย บรอดแบนด์ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมเช่นกัน รวมทั้งได้วางเป้าหมายที่จะลดการใช้พลังงานและการใช้ทรัพยากร โดยใช้การสื่อสารหรือเข้าถึงข้อมูลร่วมกันผ่านบริการบรอดแบนด์ ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ ซึ่งจะส่งผลในการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดภาวะโลกร้อน รวมถึงลดต้นทุนการให้บริการบรอดแบนด์โดยรวม โดยเฉพาะด้านการเชื่อมต่อวงจรออกต่างประเทศและการนำบรอดแบนด์เข้าถึงผู้ใช้ บริการ เพื่อให้อัตราค่าใช้บริการลดต่ำลง ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเนื้อหาสาระ ( Content) และโปรแกรมประยุกต์ ( Application) ที่ เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา การสาธารณสุข การป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน ศาสนาและวัฒนธรรม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการดำรงชีวิตประจำวัน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจถึงคุณค่า และความเสี่ยงของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เร่งตัวเร็วขึ้น พร้อมกันนี้ยังมีเป้าหมายที่จะสนับสนุนการดำเนินธุรกิจให้มีขีดความ สามารถทางการแข่งขันมากยิ่งขึ้น อันเป็นการส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมี การพัฒนา เกิดการขยายตัว และยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ไปสู่ระดับสากลด้วย

“สำหรับ แนวทางการดำเนินการเพื่อให้นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติบรรลุเป้าหมายนั้น ได้กำหนดให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการบรอดแบนด์ การพัฒนาการใช้ประโยชน์จากบรอดแบนด์ การประกันความมั่นคงปลอดภัยของโครงข่ายบรอดแบนด์และความปลอดภัยของสังคมโดย รวม รวมทั้งการบริหารจัดการขับเคลื่อนนโยบายและการประสานการกำกับดูแล โดยกระทรวงไอซีที ได้นำเสนอนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้รับทราบรวมทั้งให้ความเห็นชอบในหลักการในการประชุมวันนี้ (9 พ.ย.) แล้ว และจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะใช้เป็นเครื่องมือในการนำนโยบายดังกล่าว ไปสู่การปฏิบัติต่อไป” นายจุติ กล่าว

View :1483

นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติผ่านความเห็นชอบจากครม.แล้ววันนี้

November 9th, 2010 No comments



๑. ความเป็นมา

รัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๗๘ ได้กำหนดให้รัฐดำเนินการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน รวมถึง การจัดทำและการให้บริการสาธารณะ ระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึง เท่าเทียมกันทั่วประเทศ และรัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ว่าจะพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมขั้นพื้นฐานให้ครอบคลุมทั่วประเทศและสร้างโอกาส ในการเข้าถึงบริการของประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งได้จัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสารของประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๕๖๓) หรือ ICT 2020 เพื่อใช้เป็นกรอบทิศทางในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งกำหนดเป้าหมายการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและการสื่อสาร ให้เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ มีคุณภาพและความมั่นคงปลอดภัยเทียบเท่ามาตรฐานสากล ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓

รัฐบาลได้ตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ ภายใต้กรอบนโยบาย ICT 2020 ในการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การบริการของรัฐ การรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงความมั่นคงและปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนช่วยส่งผลต่อการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศได้อย่างต่อ เนื่อง ทั้งยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกิจการโทรคมนาคม กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาบริการบรอดแบนด์ของประเทศ ปัจจุบันยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ โดยมีประชากรที่ใช้บริการบรอดแบนด์เพียงร้อยละ ๓.๕ ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเขตนครหลวงและเมืองใหญ่ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำและช่องว่างทางดิจิทัลระหว่างประชาชนในเขต เมืองและชนบท รวมทั้งเป็นปัจจัยที่กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

ใน การนี้ รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและใช้เป็นกรอบการดำเนินการและขับเคลื่อนการพัฒนา บริการบรอดแบนด์ ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่หลากหลาย มีความก้าวหน้าทันสมัย สอดคล้องกับบริบทและสภาพพื้นที่ของประเทศไทย และตอบสนองความต้องการการใช้บริการของทุกภาคส่วน โดยที่รัฐมีบทบาทเป็นผู้กำหนดนโยบายและสนับสนุนการให้มีและการใช้บริการ บรอดแบนด์อย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน รวมถึงส่งเสริมให้ภาคเอกชนและประชาชนร่วมดำเนินการไปสู่ความสำเร็จ โดยมีองค์กรกำกับดูแลที่เป็นอิสระตามกฎหมายทำหน้าที่กำกับดูแลการประกอบ ประกอบกิจการให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม

๒. นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ

๒.๑ ภาครัฐมีเจตนารมณ์ที่จะสนับสนุนการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ อันถือเป็นบริการที่มีความสำคัญเทียบเท่าบริการที่เป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้น ฐานของประชาชน ให้ทั่วถึง เพียงพอ ในราคาที่เหมาะสม ภายใต้การแข่งขันเสรีและเป็นธรรม

๒.๒ ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ได้ อย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำและลดช่องว่างทางดิจิทัล ทั้งในเชิงภูมิศาสตร์และเชิงกลุ่มประชากร สามารถกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคทั่วประเทศ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

๒.๓ ภาครัฐและภาคธุรกิจสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการพัฒนาบรอดแบนด์ได้ อย่างเต็มที่ เพื่อเพิ่มผลิตภาพ และความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน
๒.๔ ในการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ รัฐจะบริหารจัดการทรัพย์สินด้านโทรคมนาคมที่รัฐได้ลงทุนไปแล้วและอาจจะลงทุน เพิ่มเติม เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการโทรคมนาคมทุกรายอย่างเสมอภาค โดยการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และรัฐจะไม่ผูกขาดที่จะเป็นผู้ลงทุนในการจัดให้ม บริการต่าง ๆ แต่เพียงผู้เดียว แต่จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทุกรายที่พึงประสงค์และมีศักยภาพที่จะลงทุน เพื่อให้บริการ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดโครงข่ายบรอดแบนด์ทั่วประเทศ โดยให้มีการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมในการให้บริการ

๒.๕ ในเรื่องที่เกี่ยวกับเขตอำนาจอธิปไตยของชาติ เช่น ตำแหน่งวงโคจรของดาวเทียม จุดขึ้นฝั่งของเคเบิลใต้น้ำ หรือจุดเชื่อมต่อโครงข่ายข้ามพรมแดน ถือว่าเป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของชาติและเป็นสิทธิหรือทรัพยากร ที่รัฐจะส่งเสริมให้มีการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในแง่ของการนำมาใช้งานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการภายในประเทศ และการนำมาใช้งานเพื่อเพิ่มศักยภาพและโอกาสในการที่จะพัฒนาความร่วมมือและ การค้าระหว่างประเทศรัฐจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและกำกับดูแลการดำเนินการ ตามนโยบาย โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุนจัดให้มีบริการดัง กล่าว

๒.๖ รัฐจะส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมส่วนปลายทางทั้งแบบใช้สายและ ไร้สาย ผู้ประกอบการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ผลิตเนื้อหา ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ และผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

๓. เป้าหมาย

๓.๑ พัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ให้ครอบคลุมประชากร ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ ภายในปี ๒๕๕๘ และไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๙๕ ภายในปี ๒๕๖๓ โดยมีคุณภาพบริการที่ได้มาตรฐานและมีอัตราค่าบริการที่ เหมาะสม รวมทั้งให้มีบริการบรอดแบนด์ความเร็วสูงผ่านเคเบิลใยแก้วนำแสงในเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 Mbps ภายในปี ๒๕๖๓

๓.๒ ประชาชนสามารถได้รับบริการผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ ทั้งในด้านการศึกษา สาธารณสุข การเฝ้าระวังและเตือนภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ และบริการสาธารณะอื่น ๆ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ โดย

๓.๒.๑ ขยายโอกาสทางการศึกษา โดยโรงเรียนในระดับตำบลสามารถเข้าถึงบริการ บรอดแบนด์ที่มีคุณภาพ ภายในปี ๒๕๕๘ และโรงเรียนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงบริการดังกล่าวได้ภายในปี ๒๕๖๓

๓.๒.๒ ขยายบริการสาธารณสุข โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือสถานีอนามัยทุกแห่งสามารถเข้าถึงบริการ บรอดแบนด์ที่มีคุณภาพเดียวกับโรงพยาบาลประจำจังหวัดหรือเทียบเท่า รวมทั้งมีการเชื่อมโยงและให้บริการระบบประกันสุขภาพและประกันสังคมผ่านโครง ข่ายบรอดแบนด์ ภายในปี ๒๕๕๘

๓.๒.๓ ขยายการให้บริการระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่งของประเทศสามารถเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ที่ มีคุณภาพในระดับเดียวกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด และหน่วยงานของรัฐในส่วนกลาง เพื่อให้ประชาชนในทุกตำบลสามารถใช้บริการต่าง ๆ ที่จะมีในระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ได้ตลอดเวลาภายในปี ๒๕๕๘

๓.๒.๔ ให้ประเทศมีระบบการเฝ้าระวังเตือนภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ และเหตุฉุกเฉินผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ ให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที

๓.๓ ภาคธุรกิจไทยสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากโครงข่ายบรอดแบนด์ได้อย่างทั่ว ถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และการเติบโตของเศรษฐกิจไทยอย่างสมดุลและต่อเนื่อง รวมทั้งให้โครงข่ายบรอดแบนด์เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดย รวม โดย

๓.๓.๑ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีโดยรวมให้อยู่ในกลุ่ม Top 25% ของประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุดในการจัดลำดับ World Competitiveness Rankings

๓.๓.๒ เกิดการขยายตัวของธุรกิจที่ใช้การสร้างสรรค์ การออกแบบ และบริการใหม่ ๆ ที่ดำเนินการได้ทุกพื้นที่ในประเทศไทยผ่านเครือข่ายบรอดแบนด์ ส่งผลให้เกิดการกระจายรายได้ไปยังพื้นที่ที่ มิใช่เขตเมือง

๓.๓.๓ สัดส่วนมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อ GDP เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๑๐ ภายในปี ๒๕๕๘

๓.๔ ลดการใช้พลังงานและการใช้ทรัพยากร โดยใช้การสื่อสารหรือเข้าถึงข้อมูลร่วมกันผ่านบริการ บรอดแบนด์ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ ซึ่งจะส่งผลในการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดภาวะโลกร้อน

๓.๕ ลดต้นทุนการให้บริการบรอดแบนด์โดยรวม โดยเฉพาะด้านการเชื่อมต่อวงจรออกต่างประเทศและการนำบรอดแบนด์เข้าถึงผู้ใช้ บริการ เพื่อให้อัตราค่าใช้บริการบรอดแบนด์ลดต่ำลง ประชาชนผู้บริโภคโดยทั่วไปสามารถเข้าถึงบริการได้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น

๓.๖ เกิดการพัฒนาเนื้อหาสาระ ( Content) และโปรแกรมประยุกต์ ( Application) ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา การสาธารณสุข การป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน ศาสนาและวัฒนธรรม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการดำรงชีวิตประจำวัน รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินธุรกิจให้มีขีดความสามารถทางการแข่งขันมากยิ่งขึ้น

๓.๗ ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจถึงคุณค่า และความเสี่ยงของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เร่งตัวเร็วขึ้น อันเป็นผลเนื่องมาจากการขยายการใช้บริการบรอดแบนด์ รวมถึงมีความรู้และทักษะในการใช้งานบรอดแบนด์อย่างสร้างสรรค์และเกิด ประโยชน์

๓.๘ อุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีการพัฒนา เกิดการขยายตัว และยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ไปสู่ระดับสากล

๔. แนวทางดำเนินการ

๔.๑ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการบรอดแบนด์

๔.๑.๑ ส่งเสริมให้มีการแข่งขันในธุรกิจบริการบรอดแบนด์ บนพื้นฐานการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม ซึ่งจะไม่มีการผูกขาด รวมถึงการเปิดกว้างทางเทคโนโลยี เพื่อก่อให้เกิดการลงทุนในโครงข่ายและขยายการให้บริการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทั่วถึง มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม

๔.๑.๒ สนับสนุนให้มีการขยายบริการบรอดแบนด์ไปสู่พื้นที่ชนบทห่างไกล ภายใต้หลักการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม

๔.๑.๓ สนับสนุนให้มีการลงทุนพัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ในทุกระดับ ให้มีปริมาณเพียงพอ คุณภาพได้มาตรฐานสากล และมีต้นทุนต่ำ ด้วยการลงทุนของภาคเอกชนหรือภาครัฐร่วมเอกชน และส่งเสริมให้เกิดการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการ เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อน ทั้งนี้ เพื่อให้
ผู้ประกอบธุรกิจบริการสามารถใช้ประโยชน์ได้โดยการกำกับดูแลด้วยกติกาการแข่ง ขันเสรีเป็นธรรม ไม่มีการผูกขาดหรือการใช้อำนาจเหนือตลาดที่กีดกันการแข่งขัน

๔.๑.๔ สนับสนุนการดำเนินการขององค์กรกำกับดูแลในการจัดสรรคลื่นความถี่อันเป็น ทรัพยากรสื่อสารของชาติ เพื่อกิจการโทรคมนาคม กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

๔.๑.๕ สนับสนุนผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการในท้องถิ่นให้สามารถลงทุนในเทคโนโลยีทางเลือกและวิธี การสื่อสารที่เหมาะสมที่มีการลงทุนไม่สูงมาก เพื่อสร้าง เชื่อมต่อ และให้บริการโครงข่ายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๔.๑.๖ ปรับโครงสร้างและบทบาทของรัฐวิสาหกิจสาขาโทรคมนาคม กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ในการให้บริการโครงข่ายให้เอื้อต่อการให้บริการบรอดแบนด์อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมของผู้ประกอบการทุกราย

๔.๑.๗ ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมโทรคมนาคมให้อยู่ภายใต้ระบบใบอนุญาตและมีการแข่งขัน บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน เพื่อกระตุ้นให้มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและระบบโครงข่ายหลักที่จำเป็นต่อ การจัดให้มีบริการบรอดแบนด์อย่างทั่วถึง

๔.๑.๘ ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านโทรคมนาคม รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ด้านโครงข่ายและบริการบรอดแบนด์ที่ทันสมัยให้สามารถใช้งานเชิงพาณิชย์ เพื่อลดต้นทุนในการให้บริการ บรอดแบนด์แก่ประชาชน ลดการพึ่งการนำเข้า และสนับสนุนการพัฒนาของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม กิจการ กระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์

๔.๒ การพัฒนาการใช้ประโยชน์จากบรอดแบนด์

๔.๒.๑ สนับสนุนให้มีการใช้งานบรอดแบนด์อย่างกว้างขวาง เพื่อขยายตลาดและฐานผู้ใช้งาน โดยส่งเสริมการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ ( Applications) และเนื้อหา ( Content) ที่หลากหลาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิตประจำวันของ ประชาชน รวมทั้ง เชื่อมโยงระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ บริการการศึกษา บริการสาธารณสุข บริการข้อมูลข่าวสาร และบริการอื่นของภาครัฐ ผ่านบริการบรอดแบนด์ เพื่อสร้างอุปสงค์ในบริการบรอดแบนด์อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ ภาครัฐจะต้องระมัดระวังมิให้ส่งผลกระทบหรือเกิดการบิดเบือนของกลไกตลาด

๔.๒.๒ ส่งเสริมการพัฒนาทักษะและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ( IT Literacy) และการรู้เท่าทันและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารอย่างสร้างสรรค์ ( Information literacy) ของประชาชน ชุมชนและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ( SMEs) ให้สามารถใช้ประโยชน์จากบริการบรอดแบนด์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และใช้เป็นโอกาสในการสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเอง โดยเฉพาะประชาชนในชนบท กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มเกษตรกร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ

๔.๒.๓ ส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการในธุรกิจทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับบริการบรอด แบนด์ เช่น ผู้ประกอบการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ผลิตโปรแกรมประยุกต์ ผู้ผลิตเนื้อหา ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

๔.๒.๔ กำหนดมาตรการสนับสนุนและจูงใจในการใช้บรอดแบนด์ เพื่อลดการใช้พลังงานและการใช้ทรัพยากร ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ โดยเฉพาะในภาคการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์

๔.๓ การประกันความมั่นคงปลอดภัยของโครงข่ายบรอดแบนด์และความปลอดภัยของสังคมโดยรวม

๔.๓.๑ พัฒนายกระดับบุคลากรผู้เชี่ยวชาญความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศและโครงข่ายทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ

๔.๓.๒ มีการสร้างโครงข่ายทางเลือกหลายเส้นทางที่ใช้เชื่อมโยงประเทศไทยไปสู่ประเทศ ในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก โดยไม่จำกัดรูปแบบไม่ว่าจะเป็นเคเบิลใต้น้ำ เคเบิลพื้นดิน หรือดาวเทียม และจะเปิดกว้างให้มีการลงทุนในลักษณะดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยภาครัฐ ภาคเอกชน หรือการร่วมลงทุน

๔.๓.๓ กำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบเชิงลบและภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ บริการบรอดแบนด์อย่างแพร่หลาย โดยสร้างความเข้าใจแก่ทุกภาคส่วนเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบเชิง ลบที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งการดำเนินมาตรการอย่างจริงจังในการป้องกันอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต
การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล และการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

๔.๓.๔ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบ และบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับข้อมูลที่มีความสำคัญ เช่น ข้อมูลดิน น้ำ อากาศ จราจร หรือข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติต่าง ๆ และพัฒนาระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ เหตุฉุกเฉิน ผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ ให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างทันท่วงที และเชื่อถือได้ รวมทั้งมีแผนฉุกเฉิน รองรับในกรณีที่โครงข่ายบรอดแบนด์นี้ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติดังกล่าว

๔.๓.๕ สร้างความตระหนักและให้ความรู้แก่ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน ภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศถึง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ด้านสารสนเทศ

๔.๔ การบริหารจัดการขับเคลื่อนนโยบายและการประสานการกำกับดูแล

๔.๔.๑ ให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ บูรณาการคณะทำงานในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและจัดตั้งคณะอนุกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีหน้าที่ (๑) จัดทำกรอบแผนการดำเนินการเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายตามนโยบายบรอดแบนด์ แห่งชาติ (๒) กำหนดตัวชี้วัดและวิธีประเมินผลที่จำเป็นสำหรับการติดตามความสำเร็จของ นโยบาย (๓) เสนอองค์กรที่รับผิดชอบดำเนินการตามแผนปฏิบัติการข้างต้น (๔) จัดทำรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินการตามนโยบายฯ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี และสาธารณะเป็นระยะ ๆ

๔.๔.๒ จัดให้มีการประสานงานกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน รวมทั้งองค์กรกำกับดูแล เพื่อสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันการให้บริการ ภายใต้หลักเกณฑ์การกำกับดูแลที่เอื้อต่อการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม รวมทั้ง บูรณาการเป้าหมายและแผนงาน ทรัพยากรโทรคมนาคม และทรัพยากรการลงทุนของประเทศในภาพรวม เพื่อจัดให้มีบริการบรอดแบนด์อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม อันจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาประเทศและการยกระดับคุณภาพ ชีวิตของประชาชน

๔.๔.๓ การดำเนินงานตามนโยบายนี้ จะได้รับการสนับสนุนจากการลงทุนโดยมาตรการสนับสนุนของภาครัฐ หรือผู้ประกอบการทุกราย หรือจากกองทุนตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ….

View :1429

อัตราการใช้คลาวด์ คอมพิวติ้งในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเติบโตรวดเร็วขึ้น

November 9th, 2010 No comments

วีเอ็มแวร์เผยผลการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารระดับสูงฝ่ายธุรกิจและไอทีเกือบ 7,000 คนในเอเชีย-แปซิฟิก ชี้การปรับใช้คลาวด์คอมพิวติ้งเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา

วีเอ็มแวร์ อิงค์ (NYSE: VMW) ผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่นและโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสัดส่วนขององค์กรในเอเชีย-แปซิฟิกที่มองว่าเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง () มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจของตนเพิ่มขึ้นสองเท่าไปสู่ระดับ 83 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา โดยระดับสูงสุด 92 เปอร์เซ็นต์อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งที่นั่นตลาดไอทีมีการพัฒนาอย่างมาก

ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม 6,953 คนในช่วงเดือนกันยายน ซึ่งดำเนินการโดย Springboard Research ภายใต้การสนับสนุนของวีเอ็มแวร์ ชี้ว่า การปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์มีอัตราการขยายตัวรวดเร็วขึ้นใน 7 ตลาดทั่วเอเชีย-แปซิฟิกในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบริษัทขนาดใหญ่

ปัจจุบัน 59 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทในระดับภูมิภาคมีการใช้หรือวางแผนเกี่ยวกับระบบคลาวด์ เปรียบเทียบกับ 45 เปอร์เซ็นต์เมื่อ 6 เดือนที่แล้ว และ 22 เปอร์เซ็นต์ในปี 2552 องค์กรต่างๆ ในญี่ปุ่นและออสเตรเลียเป็นผู้นำในการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์ โดย 36 เปอร์เซ็นต์ และ 31 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ กำลังดำเนินโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีคลาวด์ ส่วนอินเดียและจีนเป็นผู้นำในภูมิภาคนี้ในแง่ของแผนการปรับใช้ โดย 43 เปอร์เซ็นต์ และ 39 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ มีแผนที่จะปรับใช้ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง

ในภูมิภาคอาเซียน สิงคโปร์ (23 เปอร์เซ็นต์) นำหน้ามาเลเซียและไทยเล็กน้อย (21 เปอร์เซ็นต์ทั้งสองประเทศ) ในแง่ของการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์ แต่องค์กรในมาเลเซีย (39 เปอร์เซ็นต์) และไทย (39 เปอร์เซ็นต์) มีแผนที่จะปรับใช้ระบบคลาวด์ในสัดส่วนที่มากกว่าสิงคโปร์ ซึ่งอยู่ที่ 30 เปอร์เซ็นต์

องค์กรที่มีความรู้ด้านไอทีมากที่สุด เช่น ผู้ให้บริการโทรคมนาคม และบริษัทเทคโนโลยี เป็นผู้นำในการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์ รวมถึงการวางแผนเกี่ยวกับการปรับใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในอนาคต บริษัทขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่มีพนักงานมากกว่า 10,000 คน เป็นผู้นำด้านการปรับใช้ระบบคลาวด์ที่สัดส่วน 39 เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบกับองค์กรที่มีพนักงาน 100 ถึง 999 คน ซึ่งมีอัตราการปรับใช้ 20 เปอร์เซ็นต์

เทคโนโลยีคลาวด์ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบไอทีในรูปแบบบริการ
สัดส่วนสูงสุดขององค์กรในญี่ปุ่น (86 เปอร์เซ็นต์), สิงคโปร์ (84 เปอร์เซ็นต์) และไทย (74 เปอร์เซ็นต์) เชื่อมโยงเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งเข้ากับระบบไอทีในรูปแบบบริการ ขณะที่ในออสเตรเลีย มาเลเซีย และอินเดีย บริษัทส่วนใหญ่ (80 เปอร์เซ็นต์, 78 เปอร์เซ็นต์ และ 75 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) เชื่อมโยงเทคโนโลยีคลาวด์เข้ากับแอพพลิเคชั่นออนดีมานด์ ส่วนในจีน 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าเทคโนโลยีคลาวด์จะรองรับการจัดสรรทรัพยากรสตอเรจและเครือข่ายในแบบออนดีมานด์

มร.ไมเคิล บาร์น รองประธานฝ่ายซอฟต์แวร์และการวิจัยในเอเชีย-แปซิฟิกของ Springboard Research กล่าวว่า “สำหรับผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ในเอเชีย-แปซิฟิก ไอทีในรูปแบบบริการนับเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุด บริษัทเหล่านี้กำลังมองหาผู้ขายและที่ปรึกษาที่สามารถให้ความช่วยเหลือเพื่อใช้ประโยชน์จากบริการไอทีอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านโครงสร้างพื้นฐานและการจัดการระบบคลาวด์”

องค์กรส่วนใหญ่ (60 เปอร์เซ็นต์) ต้องการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์เนื่องจากความสามารถในการปรับขนาดตามความต้องการทางธุรกิจ และเหตุผลในอันดับรองลงมาได้แก่ การลดค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานฮาร์ดแวร์ และการเพิ่มความสะดวกในการจัดสรรทรัพยากร/เซิร์ฟเวอร์

การประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นปัจจัยระยะสั้นสำหรับการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งในสัดส่วน 57 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทในเอเชีย-แปซิฟิก และมีเพียง 37 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ได้ปรับใช้หรือมีแผนที่จะปรับใช้ระบบคลาวด์สำหรับการลงทุนในระยะยาว ซึ่งโดยมากแล้วเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีพนักงานมากกว่า 10,000 คน

ระบบคลาวด์แบบผสมผสานได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น
บริษัทที่ต้องการปรับใช้ทั้งระบบคลาวด์สาธารณะและระบบคลาวด์ส่วนตัวคิดเป็นสัดส่วน 38 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถาม ในขณะที่ราว 37 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าจะพิจารณาเฉพาะระบบคลาวด์ส่วนตัวเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มธุรกิจธนาคารและหน่วยงานราชการ โดยระบบพับลิค คลาวด์ยังคงได้รับการต่อต้านเป็นอย่างมาก ที่จริงแล้ว แม้กระทั่งในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่ให้การตอบรับต่อระบบคลาวด์ดีที่สุดจากการสำรวจในครั้งนี้ ก็ยังมีองค์กรเพียงแค่ 15 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ต้องการใช้ระบบพับลิค คลาวด์

ในอาเซียน การยอมรับระบบคลาวด์แบบผสมผสานมีสัดส่วนที่สูงกว่า 4 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของเอเชีย-แปซิฟิก

สตอเรจ (58 เปอร์เซ็นต์) ถือเป็นเวิร์กโหลดอันดับ 1 ในภูมิภาคนี้สำหรับระบบไพรเวท คลาวด์ โดยญี่ปุ่น (62 เปอร์เซ็นต์) และจีน (61 เปอร์เซ็นต์) มีแนวโน้มที่จะปรับใช้สตอเรจบนระบบไพรเวท คลาวด์ ส่วนแอพพลิเคชั่นระดับองค์กรบนระบบคลาวด์ตามมาเป็นอันดับ 2 ที่สัดส่วน 49 เปอร์เซ็นต์

ในแง่ของแผนการปรับใช้ 93 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า การปรับใช้ระบบคลาวด์ในอนาคตจะครอบคลุมการประชุมผ่านเว็บ, IM, การทำงานร่วมกัน และอีเมล

มร.แอนดรู ดัทตัน รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและญี่ปุ่นของ วีเอ็มแวร์ กล่าวว่า “เป็นที่ชัดเจนว่าแวดวงธุรกิจมีความสนใจเป็นพิเศษในระบบคลาวด์แบบผสมผสาน โดยสิ่งสำคัญก็คือ องค์กรต่างๆ ต้องการที่จะเข้าใช้แพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ รวมถึงรูปแบบการจัดการร่วมกันและบริการแอพพลิเคชั่นที่เชื่อมโยงระบบไพรเวท คลาวด์และพับลิค คลาวด์เข้าด้วยกัน เพื่อนำเสนอระบบคลาวด์ที่สามารถทำงานร่วมกันอย่างกลมกลืน รองรับการใช้งานข้อมูลและแอพพลิเคชั่นทุกที่ทุกเวลา”

ความท้าทายสำคัญสำหรับการปรับใช้ระบบคลาวด์คือเรื่องความปลอดภัย
การผนวกรวมเทคโนโลยีคลาวด์เข้ากับระบบที่ใช้งานอยู่ยังคงถูกขัดขวางด้วยอุปสรรคสำคัญ นั่นคือ ความกังวลใจในเรื่องความปลอดภัย โดย 46 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าความปลอดภัยคืออุปสรรคที่สำคัญที่สุด

ในตลาดใหม่ ปัจจัยหลักที่ยับยั้งขัดขวางการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์ก็คือ องค์กรต่างๆ ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ จากความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม 44 เปอร์เซ็นต์ในจีน, 40 เปอร์เซ็นต์ในมาเลเซีย และ 40 เปอร์เซ็นต์ในไทย เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยระดับภูมิภาคที่ 36 เปอร์เซ็นต์

ผลลัพธ์ดังกล่าวบ่งชี้ว่า การใช้โซลูชั่นคลาวด์ที่อ้างอิงมาตรฐาน และการให้ความรู้ ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่จะกระตุ้นการปรับใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในเอเชีย-แปซิฟิก

เวอร์ช่วลไลเซชั่นคือรากฐานของคลาวด์คอมพิวติ้ง
องค์กรต่างๆ ในเอเชีย-แปซิฟิก (59 เปอร์เซ็นต์) ระบุว่าโครงสร้างพื้นฐานเวอร์ช่วลไลเซชั่นคือส่วนประกอบสำคัญสำหรับคลาวด์คอมพิวติ้ง

ดัทตันอธิบายถึงความเชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีทั้งสอง โดยกล่าวว่า “เวอร์ช่วลไลเซชั่นช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถแยกแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจและข้อมูลสำคัญๆ ออกจากระบบฮาร์ดแวร์ที่รองรับ และในทางกลับกัน ก็นับเป็นวิธีที่รวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับระบบคลาวด์ องค์กรในเอเชีย-แปซิฟิกตระหนักถึงความเป็นจริงข้อนี้กันมากขึ้น และพยายามที่จะใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากการลงทุนในเทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่น”

การปรับใช้เวอร์ช่วลไลเซชั่นในเอเชีย-แปซิฟิกมีอัตราสูงที่สุดในออสเตรเลีย (87 เปอร์เซ็นต์) และญี่ปุ่น (82 เปอร์เซ็นต์) และเมื่อแบ่งตามภาคธุรกิจ จะพบว่ามีการปรับใช้เวอร์ช่วลไลเซชั่นในธุรกิจประกันภัยมากที่สุด (82 เปอร์เซ็นต์) ตามมาด้วยธุรกิจธนาคาร/บริการด้านการเงิน (76 เปอร์เซ็นต์)

ประเทศไทย (67 เปอร์เซ็นต์), สิงคโปร์ (65 เปอร์เซ็นต์) และมาเลเซีย (65 เปอร์เซ็นต์) ตามด้วยออสเตรเลียและญี่ปุ่นในเรื่องการปรับใช้เทคโนโลยีในปัจจุบัน ในขณะที่ความแพร่หลายของ เวอร์ช่วลไลเซชั่นในอาเซียนอยู่ที่ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์

บริษัทส่วนใหญ่ในเอเชีย-แปซิฟิกใช้เวอร์ช่วลไลเซชั่นสำหรับเซิร์ฟเวอร์และดาต้าเซ็นเตอร์ โดยหลายๆ องค์กรมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากเวอร์ช่วลไลเซชั่นเพื่อรองรับการรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินงานและการกู้คืนระบบเมื่อเกิดภัยพิบัติ

โอกาสการเติบโตที่สำคัญที่สุดสำหรับเวอร์ช่วลไลเซชั่นในเอเชีย-แปซิฟิกอยู่ที่ระบบประมวลผลสำหรับผู้ใช้ แม้ว่าองค์กรส่วนใหญ่จะระบุว่าเดสก์ท็อปเวอร์ช่วลไลเซชั่นมีความสำคัญน้อยมากต่อภารกิจขององค์กร

อย่างไรก็ดี ผู้ใช้งานอาจได้รับประโยชน์ที่สำคัญจากแนวทางใหม่สำหรับระบบคอมพิวติ้ง ซึ่งมีการทำเวอร์ช่วลไลซ์เดสก์ท็อป ด้วยการแยกระบบปฏิบัติการ ข้อมูลส่วนตัว และแอพพลิเคชั่นออกจากกัน ดังนั้นจึงช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการนำเสนอแอพพลิเคชั่นและข้อมูลให้แก่ผู้ใช้ทุกที่ทุกเวลาที่ผู้ใช้ต้องการบนทุกอุปกรณ์

ดัทตัน กล่าวว่า “เดสก์ท็อปเวอร์ช่วลไลเซชั่นรองรับการบริการตนเอง (self-service) สำหรับผู้ใช้จำนวนมาก และนับเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้องค์กรยุคใหม่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น สามารถปรับขนาดได้อย่างเหมาะสม และตอบสนองความต้องการทางธุรกิจได้อย่างฉับไว”

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ vForum ของวีเอ็มแวร์ และผลการสำรวจความคิดเห็นของ Springboard โปรดเยี่ยมชมพอร์ทัลสื่อประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและญี่ปุ่นของวีเอ็มแวร์
http://www.vmwareapjmedia.com/

View :1491
Categories: Press/Release Tags: ,

อีเบย์ แหล่งรวมนักขายและนักช้อปจากทั่วโลก

November 9th, 2010 No comments

แนะเคล็ดลับการขายสินค้าช่วงปลายปี เทรนด์สำหรับฤดูกาลนี้

เทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ คือ ช่วงฤดูกาลสำคัญที่สุดของปีที่นักช้อปเพลิดเพลินในการจับจ่ายซื้อหาของขวัญและจัดเลี้ยงฉลองในช่วงเทศกาลแห่งความสุขนี้
อีเบย์ นับเป็นช่องทางที่ดีที่สุดในการเจาะเข้าถึงนักช้อปกว่า 93 ล้านรายจากทั่วโลกในเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองที่กำลังจะมาถึงนี้ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เทศกาลขอบคุณพระเจ้าในสหรัฐอเมริกาในปลายเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนธันวาคมเกือบตลอดเดือน โดยช่วงเวลาดังกล่าวนับเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับนักขายที่ต้องการเพิ่มยอดขายด้วย การนำเสนอสินค้าของขวัญโดนใจนักช้อปในช่วงฤดูกาลนี้ สำหรับตลาดอีเบย์ มีมูลค่าการซื้อขายสินค้าในวันขอบคุณพระเจ้าเพียงวันเดียวรวมมากกว่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในปีที่ผ่านมา ตลาดอีเบย์มีการจำหน่ายสินค้ามากกว่า 20 ล้านชิ้นให้แก่นักช้อปจาก 200 ประเทศ
และเมื่อกลับมามองในประเทศไทยในช่วงฤดูกาลเฉลิมฉลองของปีที่ผ่านมา พบว่า นักขายชาวไทยบนตลาดออนไลน์อีเบย์สามารถทำยอดขายสินค้าได้สูงถึงกว่า 750,000 ชิ้น โดยสินค้าที่ขายดีที่สุด ได้แก่ เครื่องประดับ อัญมณี นาฬิกา เสื้อผ้าและเครื่องประดับ ชิ้นส่วนยานยนต์และอุปกรณ์เสริม และอุปกรณ์กีฬา

เพื่อต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขที่กำลังจะมาเยือนในเร็วๆ นี้ อีเบย์มีเคล็ดลับการสร้างความสำเร็จ
ในการเพิ่มยอดขายบนตลาดออนไลน์อีเบย์ เพื่อให้นักขายที่สนใจนำไปศึกษาและประยุกต์ใช้เพื่อสร้างยอดขายเพิ่มขึ้นในฤดูกาลแห่งการจับจ่ายใช้สอยครั้งยิ่งใหญ่แห่งปี ดังนี้
• สินค้าที่แปะขายในรูปแบบ “ซื้อในทันที” (Buy – It – Now) จะสร้างความสนใจให้แก่ผู้ซื้อที่ต้องการซื้อในทันที โดยจะเหมาะกับสินค้าที่มีความคุ้มค่าหรือสินค้านั้นมีหลายชิ้น การตั้งราคาในรูปแบบการประมูล (auction) จะใช้ได้ผลดีที่สุดกับสินค้าที่เป็นที่ต้องการอย่างมากและมีเอกลักษณ์พิเศษสุด ทั้งยังไม่มีจำหน่ายในประเทศนั้นๆ หรือเมื่อผู้ซื้อไม่ได้มองหาสินค้าประเภท “Buy – It – Now” ดังนั้น รูปแบบของการแปะสินค้าจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างความสำเร็จในการขายให้แก่สินค้าของคุณ
• กำหนดเวลาส่งมอบสินค้าที่ชัดเจนในทุกรายการสินค้าที่คุณแปะขายบนตลาดอีเบย์ และยืนยันให้ลูกค้า เชื่อมั่นว่าจะมีการส่งสินค้าทันทีหลังจากลูกค้าชำระเงินแล้ว เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้าว่า จะได้รับสินค้านั้นโดยเร็ว
• ควรแปะสินค้าอย่างรวดเร็วไม่เกินสัปดาห์แรกของเดือนธันวาคม เนื่องจากลูกค้าจากต่างประเทศจะมี ความกังวลเกี่ยวกับระยะเวลาที่ใช้ในการจัดส่งสินค้าข้ามประเทศ และอีกหลายคนต้องการซื้อสินค้าก่อนล่วงหน้า เพื่อให้มั่นใจว่า ตนจะได้รับสินค้าอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ก่อนวันคริสต์มาส 25 ธันวาคม
• นอกเหนือจากการจำหน่ายสินค้าประเภทของขวัญแล้ว ยังมีสินค้าที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่เป็นที่ต้องการของตลาดอีกมาก ได้แก่ สินค้าประเภทของตกแต่ง อุปกรณ์ประกอบการจัดงานปาร์ตี้ กระดาษห่อของขวัญ ริบบิ้น เสื้อผ้า และสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับฤดูกาลเฉลิมฉลอง
• เมื่อวันคริสต์มาสใกล้เข้ามา ลูกค้าจะมีความกังวลมากกว่าปกติว่า สินค้าที่ตนสั่งซื้อจะมาถึงทันเวลาที่กำหนดไว้หรือไม่ ดังนั้น นักขายจึงควรแจ้งวันกำหนดส่งมอบสินค้าที่ชัดเจนตั้งแต่ในประกาศขายสินค้า (Listings) พร้อมทั้งแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าการส่งสินค้าจะดำเนินการทันทีที่มีการชำระค่าสินค้าแล้ว การติดต่อสื่อสารกับลูกค้าอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอจะช่วยลูกค้าคลายความวิตก และทำให้คุณได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า
• คุณอาจพบว่า คุณมียอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในฤดูกาลเฉลิมฉลองนี้ ดังนั้น ต้องมีการเตรียมความพร้อม ของจำนวนพนักงานที่ดูแลและรับผิดชอบเกี่ยวกับการสั่งซื้อและการจัดส่งสินค้า เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าได้เร็วที่สุดมีความสำคัญต่อการทำธุรกิจของคุณโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองมากกว่าช่วงเวลาปกติ
• สีแดงและเขียวเป็นสีประจำของเทศกาลคริสต์มาส ดังนั้น สินค้าพิเศษสำหรับฉลองเทศกาลนี้
จึงควรมีทั้งสองสีดังกล่าว
• ส่งความสุขในช่วงเทศกาลคริสต์มาสให้แก่ลูกค้าในรูปของการมอบของขวัญชิ้นพิเศษที่มีมูลค่าไม่แพงและมีการบรรจุหีบห่ออย่างสวยงาม ซึ่งจะสร้างความประทับใจเป็นพิเศษให้แก่ลูกค้าทำให้ได้รับการตอบรับที่ดีและมีการกลับมาซื้อซ้ำจากลูกค้า
• ในกรณีที่นักขายต้องการมอบบัตรอวยพรให้แก่ลูกค้า อย่าใช้บัตรอวยพรวันคริสต์มาส เพราะลูกค้าทุกรายไม่ได้ฉลองเทศกาลคริสต์มาส และลูกค้าบางรายอาจไม่ชอบบัตรอวยพรเทศกาลคริสต์มาส ให้ใช้บัตรอวยพรที่มีข้อความ เช่น “Season’s Greetings” หรือ “Happy New Year” (สวัสดีปีใหม่) แทน
• มีเด็กเล็กจำนวนหลายล้านคนได้รับของขวัญเป็นของเล่น และในทุกฤดูกาลเฉลิมฉลอง ของเล่น
ที่ได้รับความนิยมสูงจะขายหมดอย่างรวดเร็วสำหรับลูกค้าที่สั่งซื้อล่าช้ายินดีที่จะจ่ายเงินซื้อ
ของเล่นยอดนิยมในราคาที่แพงขึ้น ดังนั้น จึงเป็นโอกาสสำหรับนักขายที่จะนำของเล่นยอดนิยมออกขายในตลาดเป้าหมายของตน สำหรับนักขายชาวไทยสามารถนำของเล่นยอดนิยมของไทยมาจำหน่ายเป็นสินค้าระดับพรีเมียมในราคาที่เพิ่มขึ้น
นักขายอีเบย์ในไทยสามารถนำเคล็ดลับดังกล่าวข้างต้นมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มรายได้ในช่วงเทศกาล
การเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งความสนุกสนานที่ผู้คนหลายล้านคนจากทั่วโลกเฝ้ารอคอยมาตลอดทั้งปี ทั้งยังเป็นโอกาสในการสร้างความสุขให้แก่นักขายชาวไทยด้วยยอดขายที่เติบโตอย่างงดงาม สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคการสร้างความสำเร็จในการขายในฤดูกาลเฉลิมฉลองแห่งปี สามารถเข้าไปดูได้ที่http://export..co.th/sellingsuccess2010/merchandise-in-demand/buyer_wish_list.html

ของขวัญสุดฮอตสำหรับเทศกาลส่งความสุขปี 2552:

สินค้าที่มีราคาปิดการขายสูงที่สุดโดยนักขายอีเบย์ชาวไทยบนตลาดออนไลน์อีเบย์ในช่วงเทศกาลคริสมาสต์ คือ “นาฬิกาโรเล็กซ์วินเทจรุ่น Turn-Oraph 6202” ซึ่งมีราคาปิดการขายสูงถึง 9,950 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 298,500 บาท แก่ผู้ซื้อในสหราชอาณาจักร

สินค้าที่มีราคาปิดการขายสูงที่สุดบนตลาดออนไลน์อีเบย์ในช่วงเทศกาล คริสมาสต์ คือ “รถสปอร์ตสุดหรู Shelby Cobra 1965” ซึ่งมีราคาปิดการขายสูงที่สุดถึง 495,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ

“จูจูเพ็ทส์” (Zhu Zhu Pets) ตุ๊กตาแฮมสเตอร์ของเล่นสำหรับเด็ก เฉพาะในสองสัปดาห์แรกของเดือนธันวาคม 2552 มีการซื้อ–ขาย จูจูเพ็ทส์และสินค้าที่เกี่ยวข้องบนตลาดออนไลน์อีเบย์รวมทั้งสิ้นกว่า 5 ล้านชิ้น นับเป็นของขวัญสุดฮอตในเทศกาลส่งความสุข

View :1534

ทรูมันนี่ ร่วมลงนามกับธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมใช้มาตรฐานกลางข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

November 9th, 2010 No comments

ธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมลงนามตามแผนส่งเสริมการใช้มาตรฐานกลางข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ กับธนาคารพาณิชย์ หน่วยงานรัฐและผู้ประกอบการภาคเอกชน รวมถึง บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด ในฐานะองค์กรที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ดำเนินกิจการธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อร่วมกันผลักดันและนำมาตรฐานกลางข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (National Payment Message Standard: NPMS) มาใช้ทดแทนข้อความปัจจุบันที่มีหลากหลายรูปแบบเพิ่มความสะดวก ลดขั้นตอนการจัดการ และลดต้นทุนการทำธุรกรรมการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนประกาศใช้ทั่วไปในช่วงปี 2554-2555

View :1461
Categories: Press/Release Tags:

ทรูมูฟ ผู้นำด้านสมาร์ทโฟน เคลื่อนทัพรุกเชียงใหม่

November 9th, 2010 No comments

ประกาศความพร้อมเครือข่าย 3G* + Wi-Fi และวางจำหน่ายไอโฟน 4

เชียงใหม่, เมื่อเร็วๆ นี้ -: ทรูมูฟ ผู้นำด้านสมาร์ทโฟน และผู้จัดจำหน่ายไอโฟนรายแรกของประเทศไทย นำทีมโดย ปพนธ์ รัตนชัยกานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่และรองหัวหน้ากลุ่มคณะผู้บริหารด้านการพาณิชย์ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ประกาศความพร้อมของเครือข่าย 3G* (บนคลื่นความถี่ 850 MHz) และ Wi-Fi ฮอตสปอตจากทรูมูฟที่ครอบคลุมถึงจังหวัดเชียงใหม่แล้ว พร้อมวางจำหน่ายไอโฟน 4 สุดยอดสมาร์ทโฟนแห่งยุคแก่ลูกค้าที่สนใจในจังหวัดเชียงใหม่ ให้ตอบสนองไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ได้จริงตรงตามความต้องการ โดยผนึกกำลังพันธมิตรทางธุรกิจชั้นนำของจังหวัดเพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้ลูกค้าทรูมูฟได้หาซื้อสมาร์ทโฟนสุดฮิตนี้ได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น มั่นใจชาวเชียงใหม่จะสัมผัสประสบการณ์การใช้งานทรูมูฟไอโฟน 4 ได้เต็มประสิทธิภาพอย่างแท้จริง

View :1615
Categories: Press/Release Tags: ,