Archive

Archive for January, 2011

“ เอไอเอส ” ผนึก “ มิวสิค วัน ” เปิดโหลดเพลงบุฟเฟท์สุดคุ้ม จ่ายเบาๆ แค่ 29 บาท/เดือน

January 21st, 2011 No comments

ผนึกกำลัง “ ” คลังเพลงดิจิตอลรายใหญ่บนโลกออนไลน์ ที่เกิดจากการรวมตัวของค่ายเพลงสากลระดับโลก ทั้ง “ ยูนิเวอร์ซัล มิวสิค ” , “ โซนี่ มิวสิค ” , “ วอร์นเนอร์ มิวสิค ” กับค่ายเพลงไทยไฟแรง “ เคพีเอ็น มิวสิค ” และ “ สไปร์ซซี่ ดิสก์ ” เปิดบริการโหลดเพลงบุฟเฟ่ท์สุดคุ้ม “ *248 ” เพียงเดือนละ 29 บาท สมัครง่ายๆ กด *248 แล้วโทรออก ก็โหลดเพลงฮิตจากศิลปินฮอต จากทั่วทุกมุมโลกได้แบบไม่จำกัด ทั้งเพลงรอสาย, เต็มเพลง, เสียงเรียกเข้า นับหมื่นเพลง (คิดค่าทำรายการ *248 นาทีละ 3 บาท)

พิเศษ ! สำหรับผู้สมัครใช้บริการนี้ ลุ้นรับรางวัลแพ็คเกจทัวร์ประเทศอังกฤษ พร้อมตั๋วชมฟุตบอลคู่บิ๊กแมตช์ แมนยูฯ ปะทะ เชลซี ถึงขอบสนาม จำนวน 5 รางวัลๆ ละ 2 ที่นั่ง รวมมูลค่า 1,600,000 บาท ยิ่งโหลดมาก ยิ่งได้ลุ้นมาก ร่วมสนุกได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 มี.ค. 54 ประกาศผลวันที่ 7 เม.ย.54 ทาง www..co.th

View :1417

ก.ไอซีที ร่วมมือคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ฯ ระดมสมองบริหารจัดการ CCTV หวังลดอาชญากรรม

January 21st, 2011 No comments

นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังการสัมมนาระดมสมองครั้งที่ ๒ เรื่อง “การบริหารจัดการระบบโทรทัศน์วงจรปิด () เชิงบูรณาการเพื่อป้องกันและลดอาชญากรรม” ว่า สืบเนื่องจากคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร และโทรคมนาคม วุฒิสภา ได้จัดการสัมมนาระดมสมองเรื่อง “โทรทัศน์วงจรปิด () ช่วยลดอาชญากรรมได้อย่างไร” ไปเมื่อปลายปี ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา ซึ่งผลสรุปจากการสัมมนาครั้งดังกล่าวนั้นแสดงให้เห็นโดยชัดเจนว่า มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ในการลดอาชญากรรม อีกทั้งยังสามารถลดการสูญเสียทางสังคมและ เศรษฐกิจได้อีกด้วย ซึ่งการที่ระบบ จะสามารถใช้ประโยชน์ได้จริงนั้นต้องสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายอย่างเป็นระบบ โดยที่ภาคเอกชน ประชาชน และชุมชนจะต้องเห็นความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วมในระบบด้วย รวมทั้งจะต้องมีการกำหนดให้ เป็นเสมือน สาธารณูปโภคชนิดหนึ่ง ที่ภาครัฐต้องทำหน้าที่ลงทุนด้าน infrastructure เพื่อความมั่นคงและปลอดภัย
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีของระบบ CCTV นี้มีการเปลี่ยนแปลงและหมดสภาพในเวลาอันรวดเร็ว จึงไม่เหมาะสมกับระบบจัดซื้อ จัดจ้างของภาครัฐที่มีขั้นตอนและใช้เวลานาน รวมทั้งไม่ควรมีความซ้ำซ้อนในการดำเนินการติดตั้งระบบ CCTV ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมี องค์กรหลักในการบริหารจัดการ CCTV เชิงนโยบาย มีงบประมาณดูแลระบบได้อย่างเป็นเอกเทศ ซึ่งต้องไม่ใช่หน่วยงานภาครัฐ แต่ควรเป็นลักษณะขององค์การมหาชนที่มีกฎหมายรองรับ โดยอาจจะทำในรูปของเทศบัญญัติ กฎกระทรวง หรือ พระราชบัญญัติตามแต่ความเหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อให้ระบบ CCTV ของประเทศโดยรวมมีประสิทธิภาพ
“จากผลสรุปของการสัมมนาระดมสมองครั้งที่ผ่านมา ทำให้คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ฯ ต้องดำเนินการต่อยอดการจัดสัมมนาเกี่ยวกับเรื่อง CCTV อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การบริหารจัดการและการบูรณาการระบบ CCTV เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ดังนั้น กระทรวงไอซีที จึงได้ร่วมกับคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ฯ จัดการสัมมนาเพื่อพิจารณาแนวทาง มาตรการ ตลอดจนแผนการดำเนินงาน และติดตามความคืบหน้าการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้มีการกำหนดเป้าหมายไว้ว่าจะให้ได้ผลการดำเนินงานโดยภาพรวมในเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดสรรงบประมาณ และความฉับไว ทันการณ์ต่อการป้องกัน ปราบปรามอาชญากรรม ตลอดจนลดความสูญเสียทางสังคมและเศรษฐกิจ อันจะส่งผลต่อความสงบสุขของสังคมโดยรวม” นายธานีรัตน์กล่าว
สำหรับการสัมมนาระดมสมองครั้งที่ ๒ เรื่อง “การบริหารจัดการระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) เชิงบูรณาการเพื่อป้องกันและลดอาชญากรรม” นี้ จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนร่วมกันพิจารณาถึงแนวทาง มาตรการ ตลอดจนแผนการดำเนินงานเพื่อเร่งรัดติดตามการดำเนินการบูรณาการระบบ CCTV ของประเทศให้มีความคืบหน้าและบรรลุเป้าหมายตามข้อเสนอแนะของการสัมมนาครั้งที่ ๑ รวมทั้งบรรลุเป้าหมายที่ต้องการให้โครงการติดตั้ง CCTV จำนวน ๒๐,๐๐๐ กล้องของกรุงเทพมหานคร แล้วเสร็จก่อนกำหนดในปี ๒๕๕๕ ซึ่งกระทรวงไอซีที รวมทั้งหน่วยงานในสังกัด คือ บมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคม เป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพในการผลักดันให้ CCTV เกิดขึ้นได้รวดเร็วมากขึ้น เนื่องจากมีปัจจัยเกื้อหนุน ได้แก่ เครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Government Information Network : GIN) ซึ่งมีอุปกรณ์และบุคลากรที่น่าจะดำเนินการได้โดยทันที อันจะช่วยลดความซ้ำซ้อนด้านงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐลงได้
นอกจากนั้นการสัมมนาครั้งที่ ๒ นี้ยังจะมีการระดมสมองเพื่อให้ได้ข้อมูลข้อกำหนดต่างๆ ไปใช้ในการยกร่างกฎหมายรองรับให้ถูกต้อง และเร่งดำเนินการให้สามารถบังคับใช้ได้อย่างรวดเร็ว โดยอาจกำหนดเป็นเทศบัญญัติเรื่องกล้องโทรทัศน์วงจรปิด พร้อมกันนี้ยังจะมีการพิจารณาเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางและมาตรการด้านภาษี เพื่อสร้างแรงจูงใจในกรณีที่จะให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตั้งกล้อง CCTV ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้ได้วางเป้าหมายเชิญผู้เข้าร่วมสัมมนาจากภาคส่วนต่างๆ จำนวน ๓๐๐ คน อาทิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผู้กำกับการสถานีตำรวจในพื้นที่กรุงเทพฯ ผู้แทนกระทรวงไอซีที กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ บมจ.กสทฯ และบมจ.ทีโอที เป็นต้น
“การจัดทำระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ด้วยการติดตั้งกล้อง CCTV นี้ ถือเป็นหนึ่งในโครงการตามนโยบายรัฐมนตรีทางด้านความปลอดภัยสาธารณะ (Public Safety) ที่จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มความสามารถในการป้องกันและลดอาชญากรรม อันเป็นการสร้างความเข้มแข็งของประเทศ และส่งผลต่อความร่มเย็นเป็นสุขของประชาชน อย่างไรก็ตาม การมีระบบ CCTV ของภาครัฐเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้สังคมเกิดความสงบสุขได้ แต่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนร่วมสอดส่องดูแลให้ข้อมูล และร่วมกันติดตั้งระบบ CCTV เพื่อสร้างระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งความร่วมมือร่วมใจเอาใจใส่ต่อสังคมโดยรวมจากผู้ที่เกี่ยวข้องนี้ ถือเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้สังคมพบกับความสงบสุขอย่างยั่งยืน” นายธานีรัตน์ กล่าว

View :1391

ทรูต้อนรับสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครในโอกาสเยี่ยมชมกิจการ

January 21st, 2011 No comments

บมจ. โดย นางสาวเสาวนีย์ ลิมมานนท์ (กลาง) ผู้ช่วยบริหารงานกรรมการผู้จัดการใหญ่ รับผิดชอบงานซีเอสอาร์ หัวหน้าสายงานสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์การตลาด กลุ่มทรู และ นางสาวชมพูนุท พุ่มท่าอิฐ (แถวแรก – ที่ 3 จากขวา) ผู้อำนวยการสายงาน Customer Management ร่วมต้อนรับคณะผู้อบรมหลักสูตรผู้นำมหานคร จากสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร นำโดย นายสมภพ ระงับทุกข์ (แถวแรก – ที่ 4 จากซ้าย) หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร ในโอกาสเยี่ยมชมกิจการ พร้อมรับฟังการบรรยายหัวข้อ “Call Center เครือข่ายระบบโทรคมนาคมกับการพัฒนาการให้บริการ” ณ อาคารทรู ทาวเวอร์ เมื่อเร็วๆ นี้

View :1438

เปลี่ยนเครือข่ายเบอร์เดิม อ่วม ผู้บริโภคยังผจญภัยกับการใช้บริการ

January 21st, 2011 No comments

1 เดือนแรก”เปลี่ยนเครือข่าย เบอร์เดิม”ผู้บริโภค 20,000 ราย ผจญสารพัดปัญหาไร้สาระ ผอ.สบท.เตือนอย่าทำให้การใช้สิทธินี้ยากเย็นเกินไป ด้าน กสทช. สุรนันท์ ระบุ กฎ 90 วัน ผู้ให้บริการจะมากำหนดเองไม่ได้ ด้านตัวแทนเคลียร์ริ่งเฮ้าส์คาดมีนาคมให้บริการได้ทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้จัดการเสวนา “ 1 เดือนคงสิทธิเลขหมาย…ชาตินี้ได้ใช้ เมื่อไหร่จะเป็นธรรมและทั่วถึง” นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมกล่าวว่า จากการสำรวจตรวจสอบปัญหาจากการใช้บริการคงสิทธิเลขหมายฯ ของผู้บริโภค ซึ่งมีการแจ้งปัญหาทั้งจากการโทรเข้ามาสอบถามและร้องเรียนกับ และ การแสดงความคิดเห็นบนหน้าเว็บไซค์ต่างๆ พบว่า มีปัญหาหลากหลายเรื่องหลักๆได้แก่ การถูกปฏิเสธบริการ เนื่องจากคำนำหน้าชื่อไม่ตรง ชื่อสะกดไม่เหมือน ติดหนี้ค่าบริการ ยังไม่จดทะเบียนซิมการ์ด(กรณีที่ใช้บริการแบบเติมเงิน หรือ prepaid หรือจดทะเบียนแล้วต้องรอ 7 วัน จึงจะสามารถใช้สิทธิได้ นอกจากนี้ยังพบปัญหาการย้ายแล้วใช้งานไม่ได้ การไม่ได้รับเอสเอ็มเอสแจ้งผล เป็นต้น
“ยังมีกรณีการถูกกำหนดให้ต้องอยู่กับผู้ให้บริการรายเดิม 90 วัน จึงสามารถโอนย้ายครั้งใหม่ได้ ทั้งที่ผู้บริโภคเป็นผู้จ่ายค่าโอนย้าย 99 บาท หรือ ติดหนี้ค่าบริการไม่กี่สตางค์ ชื่อนำหน้าเป็นคุณกับนางสาว มีศูนย์ให้บริการน้อยเกินไป การบอกรายละเอียดไม่ครบเกี่ยวกับเงินคงเหลือในระบบเติมเงิน ซึ่งความจริงผู้ให้บริการรายเดิมต้องคืนให้กับผู้บริโภค เป็นต้น ปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้การใช้บริการยากลำบาก และส่งผลให้ผู้บริโภคไม่อยากใช้สิทธิจึงไม่ควรทำให้การใช้สิทธินี้ ยากเย็นเกินไป ” ผอ.สบท.กล่าว
ด้านนายปรีย์มน ปิ่นสกุล ประธานกรรมการ บริษัทศูนย์ให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์ จำกัด (เคลียร์ริ่งเฮ้าส์) กล่าวว่า หล้งเปิดบริการมาตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค. 53 – 17 ม.ค. 54 มีผู้ยื่นขอใช้บริการทั้งสิ้น 20,000 ราย เป็นผู้ใช้บริการจากต่างจังหวัดร้อยละ 20 โดยในระยะแรกของการให้บริการพบว่า มีลูกค้าร้อยละ 50 ถูกปฏิเสธ และร้อยละ 80 ของปัญหาการโอนย้ายคือ การสะกดชื่อไม่ตรงกัน การชำระเงิน และผู้ใช้โทรศัพท์ระบบเติมเงินไม่จดทะเบียนซิม อย่างไรก็ตามปัจจุบันเหลืออัตราในการโอนย้ายไม่สำเร็จ ประมาณร้อยละ 28 ทั้งหมดที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาทางเทคนิคและกฎเกณฑ์ ที่ผู้ให้บริการต้องการเร่งให้บริการ การทดสอบระบบยังไม่เต็ม 100 เปอร์เซ็น ทำให้เกิดปัญหา
“ปัจจุบันสามารถให้บริการโอนย้ายได้ 200 รายต่อวัน แต่ในเดือนกุมภาพันธ์จะสามารถเปิดให้บริการเพิ่มขึ้นอีก 5 จังหวัด คือ พิษณุโลก ภูเก็ต ระยอง อยุธยา และอุดรธานี ทำให้สามารถใช้บริการเพิ่มอีก 100 รายต่อวัน โดยคาดว่าไม่น่าจะเกินเดือนมีนาคมนี้จะสามารถให้บริการได้ตามช๊อปของแต่ละเครือข่ายได้ทั่วประเทศ ทั้งนี้ประสิทธิภาพสูงสุดที่ตั้งไว้คือสามารถให้บริการได้ 1,200,000 เลขหมายต่อปี “นายปรีมนต์กล่าว
ด้านนายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร ปฏิบัติหน้าที่แทน กสทช. กล่าวว่า ความสำเร็จของบริการนี้คือ ประชาชนต้องได้ใช้บริการอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังไม่มีนโยบายที่ผู้บริโภคจะต้องอยู่กับผู้ให้บริการร ายเดิม 90 วัน ซึ่งเป็นเงื่อนไขในการโอนย้ายที่ผู้ให้บริการกำหนด
“ 90 วัน ไม่ควรเป็นข้อจำกัด เพราะไม่เป็นเงื่อนไขในการโอนย้ายที่ผู้ให้บริการไปตั้งกันเอง ไม่ควรนำมาเป็นข้อจำกัด ถ้ามีการกำหนดไว้เช่นนั้น ก็ต้องแก้ไขปรับปรุง” นายสุรนันท์กล่าว

View :1287

เอไอเอส จับมือ ซัมซุงออกแพ็คเกจ คุ้มค่าทั้ง Voice และ Data

January 20th, 2011 No comments

ควงแขน ซัมซุง ตอกย้ำความเป็น Long Term Partnership ที่พร้อมมอบความหลากหลายของระบบปฏิบัติการในสมาร์ทโฟนให้แก่ชาวเอไอเอส ล่าสุด จับคู่อีก 1 สุดยอดสมาร์ทโฟน พร้อมแพ็คสุดคุ้มทั้ง Voice และ Data กับ สมาร์ทโฟนแพ็คเกจ และ “ ซัมซุง เวฟ ทู ( Wave II)” ที่แรงสุดๆ ด้วยระบบปฏิบัติการบา ดา ในราคา 11 , 900 บาท พร้อมรับฟรี GPRS 700MB ต่อเดือน นาน 12 เดือน มูลค่า 7,200 บาท และโทรฟรี 400 นาที เมื่อสมัคร Smart Phone Package เพียงเดือนละ 399 บาท

สัมผัส เอไอเอส สมาร์ทโฟนแพ็คเกจที่มาพร้อม ซัมซุง เวฟ ทู ได้แล้ววันนี้ที่เอไอเอส ช็อปทุกสาขา และเทเลวิซ ที่ร่วมรายการ ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 มีนาคม ศกนี้
าบริการรายเดือน

ระยะเวลา ค่าโทร AIS GPRS
399 บาท 12 รอบบิล ฟรี 400 นาที ( ส่วนเกินนาทีละ 1.50 บาท) ฟรี 700 MB ( ส่วนเกินเมกะไบต์ละ 5 บาท

View :1453
Categories: Press/Release Tags: ,

รมว.ไอซีที ร่วมประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศครั้งที่ ๑๐

January 20th, 2011 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ ๑๐ ( The 10 th : 10 th TELMIN) ว่า การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๓-๑๔ มกราคม ๒๕๕๔ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยมี Dato’ Sri Mohd. Najib Tun Abdul Razak นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เป็นประธานเปิดการประชุม และมี Dr. Rais Yatim รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศ สื่อสาร และวัฒนธรรมของมาเลเซีย เป็นประธานการประชุม

“การประชุม ASEAN TELMIN ครั้งที่ 10 นี้มีสาระสำคัญของการประชุมฯ เกี่ยวกับผลงานความร่วมมือของกลุ่มประเทศอาเซียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารในรอบ ๑๐ ปี โดยที่ประชุมรัฐมนตรีได้รับทราบความร่วมมือของสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร หรือ ไอซีที ในกรอบอาเซียนที่ได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลาสิบปี ด้วยการนำไอซีทีเข้าไปมีส่วนสนับสนุนความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและ การพัฒนาสังคมในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งผลสำเร็จของความร่วมมือดังกล่าวได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารของภูมิภาคอาเซียนและการเข้าถึงบริการที่จำเป็น ได้แก่ สาธารณสุข ( e-Health) การศึกษา ( e-Education) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( e-Commerce) รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ( e-Government) รวมถึงผลสำเร็จในการดำเนินการตามแผนงาน e-ASEAN Integration Roadmap ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศของอาเซียน การส่งเสริมการค้าสินค้า บริการ และการลงทุนด้านไอซีที การส่งเสริมการลงทุนในภาคการผลิตสินค้าและบริการไอซีที การเสริมสร้างศักยภาพเพื่อลดช่องว่างการเข้าถึงทางดิจิทัล และการนำไอซีทีมาใช้สำหรับบริการภาครัฐ เป็นต้น” นายจุติ กล่าว

นอกจากนี้ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนครั้งนี้ยังได้มีการรับรองแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอาเซียน ๒๐๑๕ ( ASEAN ICT Master Plan 2015) ซึ่งเป็นเอกสารที่กำหนดยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานความร่วมมือด้านไอซีที ในกรอบอาเซียน ระยะ ๕ ปี ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๕๘ โดยมีเป้าหมายหลัก ๔ ประการ คือ ๑.ใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือในการผลักดันให้อาเซียนมีความเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจ ๒.ให้อาเซียนได้รับการยอมรับในฐานะเป็นศูนย์กลางด้านไอซีทีของโลกแห่งหนึ่ง ๓.ให้ประชากรอาเซียนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ๔.ให้ไอซีทีมีส่วนช่วยส่งเสริมการรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียน และมีการกำหนดวิสัยทัศน์ของแผนแม่บทฯ ไว้คือ “Towards an Empowering and Transformational ICT : Creating an Inclusive, Vibrant and Integrated ASEAN”

พร้อมกันนี้ยังได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานไว้ ๖ ประการ คือ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การปรับเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ ( Economic transformation) ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การสร้างพลังอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน ( People empowerment and engagement) ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การสร้างนวัตกรรม ( Innovation) ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ( Infrastructure development) ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การพัฒนาทุนมนุษย์ ( Human capital development) และยุทธศาสตร์ที่ ๖ การลดความเหลื่อมล้ำด้านดิจิทัล ( Bridging the digital divide) ซึ่งแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของอาเซียน ๒๐๑๕ ฉบับนี้ ได้มีการเปิดตัว อย่างเป็นทางการในการประชุม ASEAN TELMIN เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา

นอก จากนั้นการประชุมฯ ครั้งนี้ รัฐมนตรีอาเซียนยังได้พบปะหารือเกี่ยวกับความร่วมมือของอาเซียนกับรัฐมนตรี จากประเทศคู่เจรจา อีก 3 ประเทศ คือ นาย Xi Guohua ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีน นาย Katayama Yoshihiro รัฐมนตรีกิจการภายในและการสื่อสารของประเทศญี่ปุ่น และนาย Seejoong Choi ประธาน Korea Communications Commission ของสาธารณรัฐเกาหลี โดยมีสาระสำคัญของการหารือกับทั้ง 3 ประเทศ คือ

การหารือระหว่างอาเซียนและสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มีการรับรองแผนงานความร่วมมือปี ๒๐๑๐-๒๐๑๑ โดยเน้นความร่วมมือเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับผู้ประกอบการ SME e-Education การพัฒนาการด้านโทรคมนาคม ความมั่นคงปลอดภัยบนโครงข่าย และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ส่วน การหารือระหว่างอาเซียนกับประเทศญี่ปุ่น คือ รับรองแผนงานความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น ปี ๒๐๑๐-๒๐๑๑ ที่ครอบคลุมเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศของอาเซียน การลดช่องว่างทางดิจิทัล การแลกเปลี่ยนนโยบายและการกำกับดูแล รวมถึงความร่วมมือด้านความมั่นคงทางสารสนเทศโดยที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนและ ญี่ปุ่น ได้รับรองกรอบความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่นว่าด้วยความมั่นคงทางสารสนเทศ และญี่ปุ่นได้สมทบเงินเข้ากองทุนไอซีทีอาเซียน ( ASEAN ICT Fund) เป็นจำนวนเงิน ๑๕๐ , ๐๐๐ เหรียญสหรัฐฯ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมและโครงการด้านไอซีทีด้วย

ขณะที่การหารือระหว่างอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลี ได้มีการรับรองแผนงานความร่วมมืออาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ปี ๒๐๑๐-๒๐๑๑ ซึ่งครอบคลุมการสนับสนุนการขยายโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากร และการขยายโอกาสทางดิจิทัลโดยร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ

“และ ในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนฯ ครั้งนี้ ยังได้มีการหารือเกี่ยวกับการจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านโทรคมนาคมและ เทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ ๑๑( 11 th TELMIN ) ในช่วงปลายปี ๒๕๕๔ โดยได้มีการกำหนดให้สหภาพเมียนมาร์ หรือ พม่า เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าว” นายจุติกล่าว

View :1349

เ อซุส เปิดตัว กราฟิกการ์ด EAH6900 ซีรี่ส์ มาพร้อม สุดยอดเทคโนโลยีประมวลภาพใหม่ล่าสุดจาก AMD

January 20th, 2011 No comments

เอซุส ขอแนะนำ EAH6970 และ EAH6950 ซีรี่ส์ กราฟิกการ์ด 2 รุ่นล่าสุด ในตระกูล HD6900 ที่มาพร้อมเทคโนโลยีกราฟิก Cayman ใหม่ล่าสุดจาก AMD เพื่อการปรับแต่ง GPU ให้สามารถเล่นเกมที่รองรับ DirectX® 11 บนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ที่ความละเอียดสูงกว่า 1920 x 1200 โดยที่สามารถเปิดใช้การตั้งค่าขั้นสูงรวมถึงการแสดงผลที่อัตราเฟรมสูงได้ พร้อมผสานดีไซน์และสมรรถนะชั้นยอดเพื่อเกมเมอร์และผู้หลงใหลคอมพิวเตอร์ที่เปี่ยมขุมพลังโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังมาพร้อม Voltage Tweak เทคโนโลยีลิขสิทธิ์เฉพาะของเอซุส ที่ให้การโอเวอร์คล็อกสามารถทำได้เร็วขึ้นถึง 50 %

ซีรี่ส์ โดดเด่นด้วยคุณสมบัติการประมวลผลด้านภาพที่เหนือกว่า ด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดจาก AMD ซึ่งประกอบด้วย

- Eyefinity ฟีเจอร์ที่ช่วยให้สามารถแสดงผลได้สูงสุดถึง 6 หน้าจอ โดยใช้กราฟิกการ์ดเพียงตัวเดียว เพื่อการเล่นเกมอย่างได้อรรถรสและการแสดงผลขนาดใหญ่เป็นพิเศษ

- HD3D เพื่อประสบการณ์อันตื่นเต้นเร้าใจด้วยการเล่นเกม ชมภาพยนตร์ หรือแม้แต่ภาพถ่ายในรูปแบบ 3 มิติได้อย่างคมชัดทุกรายละเอียดโดยปราศจากความล่าช้า

- EyeSpeed ช่วยเพิ่มความเร็วในการเล่นวิดีโอเพื่อประสบการณ์แห่งการแสดงผลที่ความละเอียดสูงอันน่ารื่นรมย์ และสามารถเล่นแผ่นบลูเรย์และวิดีโอออนไลน์ความละเอียดสูงได้อย่างคมชัดไร้ปัญหา

นอกจากนี้ ด้านดีไซน์ยังเหนือชั้นกว่ากราฟิกการ์ดทั่วไปด้วยการใช้วัสดุห่อหุ้มแบบอลูมิเนียมเพื่อการระบายความร้อนอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้สามารถระบายความร้อนบนพื้นผิวได้อย่างสม่ำเสมอและรวดเร็วกว่ากราฟิกการ์ดทั่วไป ส่งผลให้การทำงานมีเสถียรภาพ อายุการใช้งานยาวนานและศักยภาพในการโอเวอร์คล็อกที่สูงขึ้นได้อีกด้วย

ASUS กราฟิกการ์ด EAH6900 ซีรี่ส์ ทั้ง 2 รุ่น รอให้คุณได้เลือกสัมผัสพร้อมกันก่อนใครแล้ววันนี้ ที่ร้านตัวแทนจำหน่ายเอซุสทั่วประเทศ หรือดูข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ www.asus.co.th

View :1200

ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จับมือ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร เสริมศักยภาพการเตือนภัย

January 20th, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง “ ความร่วมมือทางวิชาการและการบริหารข้อมูลทรัพยากรน้ำ ” ระหว่าง สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ว่า จากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยในรอบ ๒-๓ เดือนที่ผ่านมา ซึ่งนับว่ามีความรุนแรงและกินพื้นที่เป็นวงกว้างหลายจังหวัด รวมทั้งได้สร้างความเสียหายให้กับประชาชนและประเทศชาติเป็นมูลค่ามหาศาล

“ศูนย์ เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้มีความตื่นตัวและตระหนักถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น จึงได้ร่วมมือกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) เพื่อขอรับข้อมูลมาประกอบการวิเคราะห์ การบริหารจัดการ และการตัดสินใจของศูนย์ เตือนภัยฯ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทันสถานการณ์ ซึ่งนับเป็นการบูรณาการการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้วยกัน โดยประยุกต์ใช้ประโยชน์จากข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลขและเป็นภาพสถานการณ์น้ำใน พื้นที่ ณ เวลาปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง อันจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อประเทศชาติและประชาชน” นางจีราวรรณ กล่าว

ด้าน นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มีภารกิจสำคัญประการหนึ่ง คือ การประสานงานกับหน่วยงานราชการต่างๆ เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยข้อมูล ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นกับการบริหารงานเตือนภัยพิบัติของชาติ ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานราชการและ องค์กรเอกชนหลายแห่งที่มีความเชี่ยวชาญด้านภัยพิบัติในแต่ละประเภทเป็นจำนวน มาก เช่น ด้านวาตภัย กรมอุตุนิยมวิทยา ด้านอุทกภัย กรมอุทกศาสตร์ กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ ด้านดิน-โคลนถล่ม กรมทรัพยากรธรณี เป็นต้น รวมทั้งยังมีหน่วยงานที่เฝ้าติดตามสถานการณ์และประเมินผลข้อมูลเกี่ยวกับภัย พิบัติต่างๆ เช่น ศูนย์ข้อมูลภัยพิบัติ สภากาชาดไทย ศูนย์เมขลา จึงอาจทำให้เกิดการสับสน อันเนื่องมาจากความซ้ำซ้อนไม่เป็นระบบและขาดมาตรฐานระดับชาติ ศูนย์เตือนภัยฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายภารกิจในการเตือนภัยของชาติ จึงจำเป็นต้องดำเนินการบูรณาการ ข้อมูลเตือนภัยดังกล่าว รวมทั้งวิเคราะห์ วิจัยปัญหา และอุปสรรคต่างๆ ให้เข้าสู่ระบบมาตรฐานการเตือนภัยพิบัติ แห่งชาติให้สำเร็จ

“ปัจจุบันศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมทั่วทั้งประเทศ เพื่อประโยชน์ในการแจ้งเตือนภัย การบรรเทาและการลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินต่างๆ ของประชาชน แต่เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่เป็นลุ่มน้ำของประเทศมีความหลากหลาย ทำให้การบริหารจัดการน้ำต้องใช้ข้อมูลที่มีความถูกต้องแม่นยำ ซึ่งที่ผ่านมาผู้บริหารไม่สามารถเห็นภาพสถานการณ์น้ำในพื้นที่ ณ เวลาที่เกิดขึ้นจริงอย่างต่อเนื่องทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการน้ำได้เต็มที่ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ ชิดโดยใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้สามารถวางแผนการบริหารจัดการน้ำ ติดตามเฝ้าระวัง และ แจ้ง เตือนสถานการณ์ที่ปรากฏได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ตลอดจนทำให้สามารถสื่อสารกับประชาชนทั่วไปให้เข้าใจถึงสถานการณ์น้ำใน พื้นที่ต่างๆ ณ ขณะนั้นได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังทำให้สามารถใช้เป็นข้อมูลในการป้องกันหรือลดความเสียหายจาก อุทกภัยได้ทันท่วงที อันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของศูนย์เตือนภัยฯ ให้ทันสมัยเหมาะสมกับสภาวะความเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์หลักของกระทรวงฯ ในด้านระบบการประมวลผลเพื่อการแจ้งเตือนภัยพิบัติที่มีขีดความสามารถสูง ด้านระบบฐานข้อมูลภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีคุณภาพถูกต้อง ทันต่อเหตุการณ์ และด้านกระบวนการควบคุมสั่งการในภาวะวิกฤตและการแจ้งเตือนภัย” นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ กล่าว

จากเหตุผลดังกล่าว ศูนย์เตือนภัยฯ จึงได้ดำเนินการพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูลที่จะเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้วยการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการและการบริหารข้อมูล ทรัพยากรน้ำระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) เพื่อสนับสนุนและแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศ แผนที่ ภาพถ่ายจากดาวเทียม และส่วนที่ได้พัฒนาต่อเนื่อง สำหรับการเตือนภัยและลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ รวมทั้งเพื่อสนับสนุน และร่วมวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับประยุกต์ใช้ในการป้องกัน รวมถึงแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศของโลกอันอาจมีผลกระทบต่อการดำรง ชีวิตทรัพย์สินของประชาชน และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนการจัดทำระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ทรัพยากรน้ำระดับจังหวัด และระดับชุมชนในส่วนของการแจ้งและเตือนภัย ตลอดจนเพื่อร่วมพัฒนาบุคลากร และระบบการแจ้งเตือนภัย ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“การ ลงนามความร่วมมือครั้งนี้ จะทำให้การดำเนินงานของศูนย์เตือนภัยฯ สามารถตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่ประสงค์ให้ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เป็นศูนย์ข้อมูลกลางด้านการเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติ และให้บริการระบบสื่อสารข้อมูลข่าวสารในการแจ้งเตือนภัยแก่หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องและผู้เกี่ยวข้องอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศโดยรวม ต่อไป” นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ กล่าว

View :1359

เทรนด์ ไมโคร เผยรายงานสรุป 10 รายชื่อสิ่งที่เป็นอันตรายและเสี่ยงกับการเกิดภัยคุกคามข้อมูลมากที่สุดในปี 2553

January 20th, 2011 No comments

มาร์ติน รอสเลอร์ ผู้อำนวยการด้านการวิจัยภัยคุกคาม ศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บส์ ของบริษัท เทรนด์ไมโคร อิงค์ เปิดเผยรายงานสรุป 10 รายชื่อสิ่งที่เป็นอันตราย และเสี่ยงกับการเกิดภัยคุกคามข้อมูลมากที่สุดในปี 2553 ดังนี้
1. ฮาร์ดแวร์: อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีความเสี่ยงสูงสุดที่มีการใช้งานในปี 2553 คือเครื่องอ่านบัตรประจำตัวของชาวเยอรมัน บัตรประจำตัวดังกล่าวจะมีข้อมูลส่วนตัวที่ได้รับการเข้ารหัสไว้ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ แต่ โชคไม่ดีที่ข้อมูลดังกล่าวถูกขโมยได้โดยง่ายผ่านทางเครื่องอ่านบัตรบางเครื่อง
2. ซอฟต์แวร์สำหรับเว็บไซต์: ซอฟต์แวร์ที่มีความเสี่ยงที่สุดสำหรับการใช้งานบนเว็บไซต์ในปี 2553 คือ WordPress ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มยอดนิยมสำหรับการสร้างบล็อก โดยบล็อก WordPress นับพันรายการที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขช่องโหว่จะถูกอาชญากรไซเบอร์ใช้ประโยชน์ในรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงการเป็นส่วนหนึ่งของการปรับเปลี่ยนทิศทางเว็บไซต์ที่อาจนำไปสู่มัลแวร์อันตราย หรือรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือค้นหา (Search Engine Optimization: SEO) ได้
3. ไอพี (IP): ไอพีที่อันตรายที่สุดที่มีการใช้งานในปี 2553 คือ Internet Relay Chat (IRC) จะเห็นได้ว่า 30% ของบ็อตเน็ตทั้งหมดใช้ IRC ในการสื่อสารกับเครื่องที่ติดมัลแวร์และเซิร์ฟเวอร์ในการสั่งการและควบคุม (C&C) ของบ็อตเน็ต แต่โชคดีที่การบล็อกการใช้ IRC ในเครือข่ายสามารถหยุดบ็อตเน็ตได้อย่างดีเยี่ยม
4. ระบบปฏิบัติการ (โอเอส): โอเอสที่มีความเสี่ยงสูงสุดคือ Mac OS X ของ Apple โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา Apple ได้ส่งรุ่นโอเอสที่ได้รับการแก้ไขหลายอย่างให้แก่ผู้ใช้และเป็นรุ่นที่มีขนาดใหญ่มาก โดยต่ำสุดมีขนาดที่ 644.48 เมกะไบต์ ถือเป็นการอัปเกรดครั้งใหญ่ที่ได้รวมการแก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัยจำนวนมากนับตั้งแต่บริษัทได้ทำการอัปเดตก่อนหน้านี้เมื่อกลางเดือนมิถุนายน จะเห็นได้ว่าด้วยแนวโน้มในด้านการรักษาความลับและรอบการแก้ไขที่ยาวนานของ Apple นี่เองที่อาจยังคงเพิ่มความเสี่ยงต่อผู้ใช้ได้

5. เว็บไซต์: เว็บไซต์ที่อันตรายที่สุดในโลกคือ Google ด้วยความนิยมอย่างมหาศาลของเว็บไซต์แห่งนี้ทำให้อาชญากรไซเบอร์ใช้เป็นเครื่องมือในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับ SEO (Blackhat SEO: การทำให้ลิงก์ของตนอยู่สูงกว่าผลการค้นหาทั่วไป) อีกทั้งยังนำผู้ใช้งานเข้าสู่ความเสี่ยงด้านภัยคุกคามของมัลแวร์ที่สำคัญด้วย โดยเฉพาะโปรแกรมแอนตี้ไวรัสของปลอม (FAKEAV) นอกจากนี้ เครือข่ายโฆษณาของ Google ยังมักจะตกเป็นเหยื่อจากโฆษณามัลแวร์ (Malvertisements) อยู่บ่อยครั้งอีกด้วย
6. เครือข่ายสังคม: ในอีกกรณีที่แสดงให้เห็นว่าความนิยมอาจนำไปสู่อันตรายได้ นั่นคือ Facebook ที่ได้รับการพิจารณาว่าไซต์เครือข่ายสังคมที่เป็นอันตรายสูงสุด โดยการสำรวจทุกสิ่งผ่านทาง Facebook อาจลวงไปสู่การแพร่กระจายของมัลแวร์ KOOBFACE ได้ ทั้งนี้อาชญากรไซเบอร์มักจะแฝงตัวเข้าไปอยู่ในทุกๆ ที่ที่ผู้คนอยู่รวมกัน และสถานที่แห่งนั้นก็คือ Facebook นั่นเอง
7. โดเมนระดับบนสุด: โดเมนระดับบนสุดที่เป็นอันตรายที่สุดในโลกคือ CO.CC ซึ่งเปิดโอกาสให้ อาชญากรไซเบอร์สามารถจดทะเบียนโดเมนได้นับพันโดเมนบนอินเทอร์เน็ตโดยที่ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบน้อยมาก และการที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในรัสเซียปฏิเสธการปิดการทำงานของไซต์ที่เป็นอันตรายก็ได้ ก่อ ให้เกิดการผสานรวมของสิ่งที่เป็นอันตรายอย่างมากขึ้นในปัจจุบัน
8. รูปแบบไฟล์: PDF เป็นรูปแบบไฟล์ที่มีความเสี่ยงที่สุดในปี 2553 เนื่องจาก ช่องโหว่ต่างๆ ของ Adobe Acrobat และ Reader ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชุดเครื่องมือในการใช้หาประโยชน์ในทางที่ผิดๆ
9. สภาพแวดล้อม: สภาพแวดล้อมขณะทำงานที่อันตรายสูงสุดสำหรับผู้ใช้ในปี 2553 คือ Internet Explorer (IE) ที่สามารถเปิดใช้งานสคริปต์ได้ ในปัจจุบันยังคงมีการใช้ประโยชน์จากบราวเซอร์อยู่อย่างเป็นจำนวนมาก โดยพุ่งเป้าเป็นพิเศษไปที่ IE อย่างไรก็ตาม Java ก็กำลังตกเป็นเป้าหมายด้วยเช่นกันและอาจกลายเป็นเป้าหมายหลักในปี 2554 ก็ได้
10. ช่องทางการติดเชื้อ: ช่องทางการติดเชื้อที่เป็นไปได้สูงสุดยังคงเป็นบราวเซอร์ จะเห็นได้ว่ามากกว่า 2 ใน 3 ของการติดเชื้อทั้งหมดใช้บราวเซอร์เป็นพาหะในการติดเชื้อ ส่วนช่องทางการติดเชื้อก่อนหน้านี้ เช่น แฟลชดิสก์ และข้อความสแปม ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน แต่ก็ได้รับความนิยมลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้านี้
สามารถติดตามอ่านบทความด้านภัยคุกคามอื่นๆ ทั่วโลกได้ที่ http://blog.trendmicro.com/

View :1363

ปัญหาหลักผู้บริโภคโทรคมนาคมถูกคิดเงินผิดและถูกเร่งเติมเงิน

January 19th, 2011 No comments

เผยยอดร้องเรียนโทรคมนาคมปี 53 เอไอเอสและฮัทช์ ถูกชาวพรีเพดร้อง “ตัด ยึด ทวง” มากที่สุด ขณะที่ดีแทคและทรูมูฟ คว้าแชมป์คิดเงินผิด
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เปิดเผยถึงสถิติการรับเรื่องร้องเรียนจากผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์บ้าน และโทรศัพท์สาธารณะว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2553 มีเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 2,753 เรื่อง โดยปัญหาที่ได้รับการร้องเรียนมากที่สุดมาจากการใช้บริการโทรศัพท์มือถือจำนวน 1,751 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 63 รองลงมาคือ การร้องเรียนจากผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจำนวน 557 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 20 และการร้องเรียนจากผู้ใช้บริการโทรศัพท์บ้านจำนวน 353 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 12 ส่วนประเด็นที่ได้รับการร้องเรียนมากที่สุดคือ การคิดค่าบริการผิดพลาดจำนวน 686 เรื่อง หรือร้อยละ 25 รองลงมาคือ การกำหนดวันหมดอายุโทรศัพท์ระบบเติมเงินจำนวน 602 เรื่องหรือ ร้อยละ 21 และมาตรฐานการให้บริการจำนวน 536 เรื่อง หรือร้อยละ 19.5
“สำหรับการคิดค่าบริการผิดพลาดมีรายหนึ่งร้องเรียนว่า ถูกคิดค่าบริการ 170,000 บาท ซึ่งเรื่องยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ ทั้งนี้โดยทั่วไปของการถูกคิดค่าบริการผิดพลาดมาจากค่า GPRS หรือ EDGE จากการใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ การระงับบริการแต่ยังถูกเรียกเก็บค่าบริการ การถูกคิดค่าโทรทางไกลต่างประเทศ หรือการถูกหักค่า sms บริการเสริมต่างๆ มีบางรายถูกคิดค่าดาวน์โหลดข้อมูลไป 2,500 บาท ทั้งที่การโหลดไม่สำเร็จแต่ถูกคิดเงินเต็มจำนวน จึงร้องเรียน จนในที่สุดบริษัทคืนเงินให้มาจำนวน 1500 บาท ปีที่ผ่านมามีผู้ร้องเรียนเกี่ยวกับการถูกหักค่าบริการเสริม 272 ราย ผู้บริโภคจึงควรตรวจสอบการใช้บริการเป็นระยะ หากสงสัยเกี่ยวกับการใช้บริการ ต้องสอบถามกับเครือข่ายผู้ให้บริการ โดยบริษัทมีหน้าที่ต้องชี้แจง หรือแสดงรายละเอียดการใช้บริการกับผู้บริโภค” ผอ.สบท. กล่าว
นายประวิทย์กล่าวต่อไปว่า ในการใช้บริการโทรศัพท์มือถือนั้น ประเด็นที่ถูกร้องเรียนมากที่สุดของผู้ให้บริการแต่ละเครือข่ายนั้นพบว่า ถูกร้องเรียนมากที่สุดในประเด็นการกำหนดอายุโทรศัพท์ระบบเติมเงินโดยมีจำนวนเรื่องร้องเรียน 200 เรื่อง ด้านดีแทค และทรูมูฟถูกร้องเรียนมากที่สุดในประเด็นการคิดค่าบริการผิดพลาด โดยมีเรื่องร้องเรียนจำนวน 100 และ 167 เรื่องตามลำดับ ขณะที่ฮัทช์ถูกร้องเรียนมากที่สุดจากเรื่องการถูกยึดเงินในโทรศัพท์ระบบเติมเงินจำนวน 106 เรื่อง ส่วนการใช้บริการอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์บ้าน ประเด็นที่ถูกร้องเรียนมากที่สุดคือ มาตรฐานการให้บริการ

View :1406