Archive

Archive for March, 2011

ไอดีซีกล่าวว่า การประยุกต์ใช้คลาวด์ยังโตต่อเนื่องและจะถูกนำมาพูดเชิงธุรกิจมากขึ้น

March 15th, 2011 No comments

จากข้อมูลของไอดีซี พบว่า การใช้บริการคลาวด์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้น ญี่ปุ่น กำลังเริ่มที่จะใกล้สู่ภาวะอิ่มตัว  จากสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจในช่วงปี 2552-2553 ที่ผ่านมานั้น ได้กระตุ้นความสนใจในบริการคลาวด์คอมพิวติ้งเป็นอย่างมากในฐานะที่ตอบโจทย์ในเรื่องของการนำเสนอบริการที่สอดคล้องทั้งการให้บริการในปัจจุบันและบริการใหม่ ๆ   ของธุรกิจการให้ บริการคลาวด์ในส่วนที่เป็น โครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอที ซึ่งจะมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในปี 2554 นี้ และเมื่อมีการนำเสนอบริการคลาวด์ใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาด ผู้ใช้งานก็เริ่มจะมองการณ์ไกลขึ้นสำหรับการให้บริการพื้นฐานของ Software-as-a-Service (SaaS) และ Infrastructure-as-a-Service (IaaS) เพื่อเป็นแหล่งของการให้บริการเชิงธุรกิจ ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรเสริมสร้าวความแข็งแกร่งของตนเองได้อย่างรวดเร็วในภาวะเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว
 
จากรายงานล่าสุดของไอดีซี เรื่อง “Asia/Pacific (Excluding Japan) Cloud Services and Technologies 2011 Top 10 Predictions: Dealing with Mainstream Cloud” (Doc#AP6684401T) ไอดีซีได้ศึกษาแนวโน้มหลัก ๆ ที่คาดว่าจะส่งผลต่อคลาวด์คอมพิวติ้งกับระบบไอทีในองค์กรต่าง ๆ ของภูมิภาคนี้ในปี 2554  ประเทศในภูมิภาคนี้ยังคงมีความแตกต่างกัน  ในหลาย ๆ ด้านเมื่อเทียบกับภูมิภาค อื่น ๆ ทั่วโลก และ แผนงานสำหรับการประยุกต์ใช้งานคลาวด์ในอนาคตจะแตกต่างกันไปตามลักษณะที่ถูกกำหนดขึ้นจากงบประมาณที่จำกัด และ กฎหมายของแต่ละประเทศ แต่แนวโน้มที่สำคัญประการหนึ่ง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นแรงผลักดันมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และ อีกส่วนหนึ่งมาจากความพร้อมของการให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้ง ซึ่งจะกลายเป็นเรื่องที่คนกลับมาสนใจอีกครั้ง เพื่อการปรับปรุงระบบไอทีในองค์กรต่าง ๆ ใช้ผลักดันการเสริมสร้างธุรกิจใหม่ ๆ และยังใช้เป็นตัวเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรได้
 
ความพร้อมของการให้บริการคลาวด์เป็นแรงส่งให้กับแนวโน้มดังกล่าวนี้ องค์กรส่วนมากจะมีโครงสร้างไอทีที่มีลักษณะเป็นลำดับชั้น ซึ่งบริการในรูปแบบของคลาวด์ก็จะเปิดให้บริการตามลำดับต่าง ๆ เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นในรูปของ Infrastructure  Platforms และ Applications-as-a-Service แต่เมื่อการให้บริการคลาวด์เริ่มจะถึงภาวะอิ่มตัว ไอดีซี มองต่อไปในเรื่องของรูปแบบของการให้บริการคลาวด์ว่าจะมีความซับซ้อนขึ้น โดยจะมีการรวมเรื่อง ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ การให้คำปรึกษา การออกแบบ และ การบริหารจัดการเข้ามาด้วย
 
“ตอนจบของแนวโน้มนี้จะเป็นแผนงานด้านไอทีที่ผู้บริหารธุรกิจทั้งหลายสามารถบริหารจัดการ จัดซื้อจัดหาและใช้บริการต่าง ๆ ครบทั้งหมด รวมถึงขั้นตอนการทำงานและระบบที่พวกเขาต้องการเพื่อที่จะทำให้ธุรกิจของเขาดำเนินไปได้ดีที่สุดและทันสมัยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และในแผนงานนี้จะไม่มีการคำนึงถึงคำว่า “เป็น” หรือ “ใช้เป็น” สำหรับไอที แต่จะเห็นเป็นแค่เพียงการบริการที่มีความสำคัญเท่านั้น” ก่ลาวโดย คริส มอริส ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ด้านเทคโนโลยีคลาวด์และเซอร์วิส ประจำ ไอดีซี เอเชียแปซิฟิก
 
ซึ่งสิ่งนี้กำลังหมายความว่า หน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญของ ซีไอโอ จะขยายขอบเขตกว้างขึ้นไปจากเดิม ที่ทำหน้าที่ส่วนใหญ่ในการตรวจสอบผู้ให้บริการในแง่ของประสิทธิภาพการทำงานและการปฏิบัติตามข้อตกลง บทบาทของ ซีไอโอในอนาคตจะมุ่งเน้นเชิงธุรกิจมากขึ้น และจะเน้นเกี่ยวกับการบริหารสัญญาและการสร้างความสัมพันธ์ ดังนั้นเรื่องเทคโนโลยีสำหรับซีไอโอนั้นกำลังจะมีความสำคัญน้อยลงทุกที” คริส กล่าวเสริม
 
อย่างไรก็ตามในขณะที่เทคโนโลยีอาจจะไม่ได้เป็นจุดโฟกัสของแผนงานนี้ แต่เทคโนโลยีก็ยังเป็นสิ่งจำ เป็นอย่างแท้จริงเพื่อทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็น คลาวด์ส่วนตัว คลาวด์ประเภทไฮบริด หรือ คลาวด์สาธารณะ หรือแม้กระทั่งบนแพลตฟอร์มของไอทีแบบดั้งเดิม เทคโนโลยีก็ยังเป็นศูนย์กลางของการเปลี่ยนแปลงนี้ที่มีผลต่อไอทีที่กำลังถูกมองว่าไม่ก่อให้เกิดบริการใด ๆ
 
“ซีไอโอทั้งหลายในวันนี้ควรจะมุ่งเน้นไปที่ทางเลือกของพวกเขาว่า ไอทีสามารถช่วยองค์กรให้บรรลุถึงเป้าหมายทางธุรกิจได้อย่างไร การประยุกต์ใช้ไอที แผนงานด้านไอที และ กลยุทธ์ด้านไอทีในวันนี้ควรจะมองว่าเป็นตัวจุดประกายในเรื่องใดได้บ้าง เมื่อระบบไอทีขององค์กรต่าง ๆ ต้องปรับเปลี่ยนมุมมองที่เคยเน้นหนักในเรื่องของเทคโนโลยีมาเป็นการบริหารในเชิงธุรกิจมากขึ้น ซีไอโอควรจะมุ่งไปที่การใช้ไอทีเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใต้แนวคิด [ไอทีแบบไร้เทคโนโลยี]” กล่าวโดย คลาวส์ มอร์เทนเซน หัวหน้ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยเทคโนโลยีเกิดใหม่ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
 
รายละเอียดเพิ่มในเรื่องดังกล่าวจะมีอยู่ในงานสัมมนา ’s Asia/Pacific Cloud for Business Conference 2011 งานสัมมนาประเด็นร้อนนี้จะถูกจัดขึ้นใน 11 หัวเมืองใหญ่ในแถบเอเชียแปซิฟิก เนื้อหาที่สำคัญของงานจะมุ่งไปที่ “การขจัดเทคโนโลยีออกจากไอที” สำหรับงานสัมมนาที่ฮ่กรุงเทพฯ จะจัดขึ้นที่ โรงแรมคอนราด กรุงเทพฯ ในวันที่ 5 เมษายน 2554 หากท่านสนใจหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมของงานสัมมนาดังกล่าวนี้ ท่านสามารถเข้าค้นหาข้อมูลได้ที่ http://www..co.th/ businesscloud2011

View :1517
Categories: Press/Release Tags: ,

ก.ไอซีที วางแนวทางพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในเพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทย

March 15th, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “แนวทางการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในเขตพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทย” ว่า กระทรวงฯ ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลกในเพื่อดำเนินโครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในเขตพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทย (Thailand : infrastructure Development) โดยการจัดทำนโยบายการพัฒนาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในเขตพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทย ซึ่งได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศไทย ด้วยการออกแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และได้นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ จนได้ออกมาเป็น (ร่าง) แนวทางการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในเขตพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทย
ดังนั้น เพื่อให้กระทรวงฯ มีแนวทางการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในเขตพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทยที่มีประสิทธิภาพ และสามารถใช้เป็นแนวทางในการทำนโยบายพัฒนาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในเขตพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทยได้ กระทรวงฯ จึงได้ร่วมกับธนาคารโลกจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “แนวทางการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในเขตพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทย” ขึ้น และได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง มาให้ข้อเสนอแนะและความเห็นต่อ (ร่าง) แนวทางการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในเขตพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทยที่กระทรวงฯ ได้จัดทำขึ้น
“การประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งนี้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและเสนอแนะต่อ (ร่าง) แนวทางการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงฯ รวมทั้งเพื่อรายงานผลการศึกษาและความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในเขตพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทย โดยกระทรวงฯ ได้เชิญผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ จากสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และหน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้อง รวมถึงคณะกรรมการกำกับโครงการความช่วยเหลือจากธนาคารโลกในการศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นที่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในเขตพื้นที่ห่างไกล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา สมาคมต่างๆ รวมทั้งสิ้น 60 คน เข้าร่วมการประชุมฯ ซึ่งกระทรวงฯ หวังว่าจะได้รับข้อเสนอแนะและความคิดเห็นต่อ (ร่าง) แนวทางการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงฯ เพื่อนำมาใช้จัดทำเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) ให้กระทรวงฯ ได้ใช้เป็นแนวทางในการทำนโยบายพัฒนาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในเขตพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทยต่อไป” นางจีราวรรณ กล่าว
 

View :1164
Categories: Press/Release Tags:

ก.ไอซีที เปิดค่ายเยาวชนคนยุคดิจิตอล สร้างการเรียนรู้โลกทั้ง 4 มิติแห่งชีวิต

March 15th, 2011 No comments

นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดค่ายเยาวชนคนยุคดิจิตอล ( Digital Youth Camp) ภายใต้กิจกรรม ICT CAMP ว่า กระทรวงฯ ได้ดำเนินกิจกรรม ICT Camp ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาการใช้  ICT ในกลุ่มเด็กและเยาวชน  เพื่อมุ่งเน้นการถ่ายทอดความรู้และทักษะด้าน ICT สำหรับเยาวชน  โดยสร้างเครือข่าย ครู และเยาวชนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT ที่สามารถถ่ายทอดความรู้และการใช้ ICT ให้มีการเผยแพร่ความรู้ จนก่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ด้าน ICT รวมทั้งมุ่งเน้นให้เด็กและเยาวชนมีความคิดสร้างสรรค์ มีคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนสร้างรูปแบบการเรียนรู้แบบใหม่ของเยาวชนไทยที่มี ICT เป็นเครื่องมือสนับสนุน ซื่งจะเกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
การจัดกิจกรรม ICT CAMP นี้ ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2553 ซึ่งมีกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว คือ การอบรมครูไอซีทีแกนนำ 205 คน จากนั้นมีการขยายผลการอบรมจากครูไอซีทีแกนนำ เรื่อง การเรียนอย่างไรในยุคดิจิตอลสู่เยาวชน จำนวน 17,000 คน การอบรมเยาวชนหลักสูตรทักษะการใช้  ICT ซึ่งเป็นค่ายแบบไป – กลับ 2 วัน จำนวน 2,300 คน และการรับสมัครการแข่งขันการประกวดสื่อสร้างสรรค์ ภายใต้หัวข้อ “เมืองไทยน่าอยู่”
ด้าน นายสมบูรณ์ เมฆไพบูลย์วัฒนา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับค่ายเยาวชนคนยุคดิจิตอลนี้ จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่เยาวชนที่จะเป็นแกนหลักในศูนย์การเรียนรู้  ICT ชุมชน ได้นำไปขยายผลและสร้างเครือข่ายในชุมชนต่อไป โดยเน้นการคัดเลือกเยาวชนจากศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน หรือเยาวชนจากเครือข่ายครูไอซีทีแกนนำที่อยู่ในการขยายผลของกิจกรรม ICT Camp รวมทั้งจากโรงเรียนใกล้เคียง และเยาวชนทั่วไปที่มาจากทั่วประเทศ จำนวน 200 คน มาเข้าค่ายพักแรมระหว่างวันที่ 15 – 21 มีนาคม 2554 โดยรูปแบบกิจกรรมในค่ายจะเน้นการเรียนรู้โลกทั้ง 4 มิติแห่งชีวิต คือ  “ชีวิต” “การแก้ปัญหา” “ความคิดสร้างสรรค์” และ “เทคโนโลยี” 
“เป้าหมายสำคัญของการจัดกิจกรรมนี้ คือ ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นกับเยาวชนไทยทุกคน ค่ายแห่งนี้จึงได้มีการสร้างสรรค์กิจกรรมและบรรยากาศต่างๆ ภายในค่ายอย่างลงตัว เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ทั้ง 4 มิติเหล่านี้ไปพร้อมๆ กับความสนุกสนาน ท้าทายและสร้างสรรค์ โดยได้มีการเตรียมการและวางแผนการจัดกิจกรรมจากผู้เชี่ยวชาญในด้านการจัดกิจกรรมสำหรับเยาวชน เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมที่ดี ที่สามารถเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และแนวคิดในการใช้ไอซีทีกับชีวิตให้แก่เยาวชนตามปรัชญาของค่าย คือ สร้างสรรค์ความคิด ชีวิตพัฒนา ปัญหาแก้ได้” นายสมบูรณ์ กล่าว

View :1434
Categories: Press/Release Tags:

ทรูมูฟ ผนึก ซัมซุง มอบสุดยอดประสบการณ์ออนไลน์เปิดตัว “ซัมซุง กาแล็คซี่ แท็บ รุ่น 3G (850 MHz)”

March 15th, 2011 No comments

แท็บเล็ตระบบแอนดรอยด์ที่เร็วที่สุดในไทย
แรงเต็มประสิทธิภาพบนเครือข่ายทรูมูฟ 3G* เร็วสูงสุดถึง 7.2 Mbps.

และพบกับ รุ่น Wi-Fi ครั้งแรกในไทย
ออนไลน์เต็มพิกัดผ่านเครือข่าย Wi-Fi ของทรูมูฟ ครอบคลุม 18,000 จุดทั่วประเทศ
ในงานคอมมาร์ท ไทยแลนด์ 17 – 20 มี.ค. นี้ พร้อมโปรโมชั่นสุดคุ้มโดนใจจากทรูมูฟ

กรุงเทพฯ 15 มีนาคม 2554 – ผู้นำโมบายล์ ไฮสปีด อินเทอร์เน็ต จับมือซัมซุง ผู้นำตลาดสินค้าไฮเทคและดิจิตอลมีเดีย ตอบสนองไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ มอบประสบการณ์ออนไลน์เต็มประสิทธิภาพ ผสมผสานการใช้งานทั้งเสียงและดาต้า เปิดตัว “ซัมซุง กาแล็คซี่ แท็บ รุ่น 3G (850 MHz)” แท็บเล็ตแอนดรอยด์ที่เร็วที่สุดในไทย แรงเต็มสปีดบนเครือข่ายทรูมูฟ 3G* บนคลื่นความถี่ 850 MHz ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 7.2 Mbps พร้อมเปิดตัวซัมซุง กาแล็คซี่ แท็บ รุ่น Wi-Fi ครั้งแรกในไทย ออนไลน์เต็มพิกัดผ่านเครือข่าย Wi-Fi ของทรูมูฟครอบคลุม 18,000 จุดทั่วประเทศ  พิเศษเฉพาะในงานคอมมาร์ท ไทยแลนด์ 2011 วันที่ 17 – 20 มี.ค. นี้  ทรูมูฟมอบโปรโมชั่นพิเศษสุดคุ้ม  ซื้อซัมซุง กาแล็คซี่ แท็บ รุ่น 3G (850 MHz) + Wi-Fi ในราคาเพียง 17,664 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) รับซิมทรูมูฟแบบเติมเงิน ให้ทดลองใช้งานดาต้าฟรี 1 GB นาน 1 เดือน และซัมซุง บลูทูธ เฮดเซ็ท มูลค่า 990 บาท หรือ ซื้อซัมซุง กาแล็คซี่ แท็บ รุ่น Wi-Fi ราคาเพียง 11,121 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ออนไลน์ฟรีไม่อั้นนาน 3 เดือนกับแพ็กเกจ Wi-Fi (ความเร็วสูงสุด 2 Mbps.) พร้อมโปรโมชั่นผ่อน 0% นาน 10 เดือน ผ่านบัตรเครดิตซิตี้แบงค์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกสิกรไทย

นายอริยะ พนมยงค์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการพาณิชย์ คอนเวอร์เจนซ์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ทรูมูฟ ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับซัมซุงให้คนไทยได้สัมผัสประสบการณ์ออนไลน์เหนือระดับผ่านซัมซุง กาแล็คซี่ แท็บ แท็บเล็ตแอนดรอยด์ที่เร็วที่สุดในไทย แรงเต็มพลังบนเครือข่าย 3G* (850 MHz) และ Wi-Fi ของทรูมูฟ  สุดคุ้มกับซิมทรูมูฟแบบเติมเงินให้ทดลองใช้งานดาต้าฟรี 1 GB นาน 1 เดือน ให้ลูกค้าได้ใช้งานแท็บเล็ตแอนดรอยด์ที่เร็วที่สุดในไทยก่อนใคร โดยสามารถใช้งานผ่านเครือข่ายทรูมูฟ 3G* จำนวน 750 MB และเครือข่าย 2G จำนวน 250 MB ทั้งนี้ ทรูมูฟเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์บริการและเครือข่ายคุณภาพ  เพื่อตอบสนองการใช้งานผ่านอุปกรณ์สื่อสารล้ำสมัยเต็มประสิทธิภาพทุกรูปแบบ นอกจากนี้ ทรูมูฟยังนำเสนอแพ็กเกจรายเดือนสุดคุ้มสำหรับลูกค้าซัมซุง กาแล็คซี่ แท็บ ใช้งานได้จุใจทั้งเสียงและดาต้า เลือกได้ตามไลฟ์สไตล์การใช้งานทั้งแพ็กเกจ 349 บาท และแพ็กเกจ 549 บาท พร้อมมอบสิทธิพิเศษต้อนรับการเปิดตัว ซัมซุง กาแล็คซี่ แท็บ รุ่น Wi-Fi ครั้งแรกในไทย ด้วยแพ็กเกจ Wi-Fi ฟรีไม่อั้น นาน 3 รอบบิล ผ่านเครือข่าย Wi-Fi ของทรูมูฟที่ครอบคลุม 18,000 จุดทั่วประเทศ
รายละเอียดแพ็กเกจรายเดือนสำหรับผู้ใช้ซัมซุง กาแล็คซี่ แท็บ
แพ็กเกจรายเดือน
ค่าโทร
SMS
MMS
EDGE/GPRS
3G*
Wi-Fi
แพ็กเกจ 349
100 นาที
-
-
200 MB
500 MB
-
แพ็กเกจ 549
200 นาที
100 ครั้ง
25 ครั้ง
200 MB
ไม่จำกัด
ไม่จำกัด

นายวิชัย พรพระตั้ง ผู้อำนวยการธุรกิจโทรคมนาคม บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด กล่าวว่า “ซัมซุงมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมที่สร้างเทรนด์การใช้งานสมาร์ทแท็บเล็ตของผู้บริโภคด้วยการนำเสนอสมาร์ทแท็บเล็ต ซัมซุง กาแล็คซี่ แท็บ (Samsung Galaxy Tab) เพื่อยกระดับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่สะดวกสบายทุกรูปแบบ  ทั้งการโทรศัพท์ติดต่อสื่อสารและเพลิดเพลินกับสื่อรูปแบบต่างๆ  เรียกได้ว่าเป็น More Possibilities On the Go อย่างแท้จริงที่จะตอบสนองการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี ประกอบกับการเติบโตของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) ซึ่งถือเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับการยอมรับว่าร้อนแรงที่สุดแห่งยุค ส่งผลให้ ซัมซุง กาแล็คซี่ แท็บ เป็นคลื่นลูกใหม่ที่น่าจับตามองมากที่สุด”

“ซัมซุง กาแล็คซี่ แท็บ โดดเด่นด้วย หน้าจอมัลติทัชขนาด 7 นิ้ว น้ำหนักเบา จับถนัดด้วยมือข้างเดียว สนับสนุน   ทั้งการอ่านหนังสือ ท่องเว็บได้เต็มรูปแบบ ดูหนังแบบฟูลเอชดี และฟังเพลง นอกจากนี้ยังรองรับการดูและแก้ไขไฟล์ เอกสาร สื่อสารผ่านทางอีเมล์ พูดคุยโทรศัพท์ทั้งแบบเสียงและภาพ รับส่ง SMS และ MMS หรือ ใช้งานโซเชียลเน็ตเวริ์กต่างๆ ผ่านอินเตอร์เฟซที่ยอดเยี่ยม และเป็นเนวิเกเตอร์ส่วนตัวได้อีกด้วย จึงสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้นำเทรนด์ที่ชื่นชอบเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือกลุ่มนักธุรกิจที่จำเป็นต้องทำงานนอกสถานที่อยู่เป็นประจำ”

“สำหรับความร่วมมือที่เกิดขึ้นระหว่างทรูมูฟ ผู้นำโมบายล์ ไฮสปีด อินเทอร์เน็ต และผู้นำเครือข่าย 3G* และ Wi-Fi ที่ครอบคลุม 18,000 จุดทั่วประเทศ กับซัมซุงผู้นำเทคโนโลยีสมาร์ทแท็บเล็ตในครั้งนี้ ถือเป็นการพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญให้แก่วงการโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย เพราะเป็นการจับมือของสุดยอดผู้นำ เพื่อให้ได้มาซึ่งแอนดรอยด์ แท็บเล็ตที่มีความเร็วสูงสุดในประเทศ ซึ่งซัมซุงมองว่าจะเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาของเซ็กเมนท์สมาร์ทแท็บเล็ต เพื่อมอบประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภคชาวไทย” นายวิชัย กล่าวเสริม

เป็นเจ้าของ ซัมซุง กาแล็คซี่ แท็บ รุ่น 3G แท็บเล็ตแอนดรอยด์ที่เร็วที่สุดในไทย บนเครือข่ายทรูมูฟ 3G* (850 MHz) ในราคาเพียง 17,664  บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) และซัมซุง กาแล็คซี่ แท็บ รุ่น Wi-Fi ในราคา 11,121 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ได้ที่บูธทรูมูฟ ในงานคอมมาร์ท ไทยแลนด์ 2011 ระหว่างวันที่ 17 – 20 มีนาคมนี้ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  พร้อมโปรโมชั่นผ่อนจ่ายเบาๆ 0% นาน 10 เดือน ผ่านบัตรเครดิตซิตี้แบงค์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกสิกรไทย

สำหรับผู้ที่พลาดงานคอมมาร์ทไทยแลนด์ 2011 สามารถซื้อ ซัมซุง กาแล็คซี่ แท็บ ทั้ง 2 รุ่น ได้ที่ร้านทรูช้อป 24 สาขา และตัวแทนจำหน่ายซัมซุงที่ร่วมรายการ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.truemove.co.th หรือ ทรูมูฟ แคร์ 1331

View :1535

ไอบีเอ็มชี้ ผลการสำรวจ CHRO Study ระบุองค์กรต่างๆทั่วโลก เตรียมลงทุนสรรหาบุคลากรทำงานข้ามพรมแดนมากขึ้น

March 15th, 2011 No comments

บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด เผยบทสรุปผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคลทั่วโลกประจำปี 2553 ซึ่งดำเนินการโดยสถาบันเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม ( Institute for Business Value) ภายใต้ชื่อ “การทำงานข้ามพรมแดน” (Working Beyond Borders) ระบุว่าองค์กรต่างๆ พยายามที่จะพัฒนาและจัดหาบุคลากรในหลายๆ พื้นที่ทั่วโลก จากการสำรวจความคิดเห็นของประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (Chief Human Resource Officer – CHRO) และผู้บริหารระดับสูงกว่า 700 คนจาก 61 ประเทศ และ 31 เขตอุตสาหกรรมทั่วโลก  ผลการศึกษาดังกล่าวสรุปว่าบริษัทต่างๆ ในตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว พยายามที่จะขยายธุรกิจให้ครอบคลุมทั่วโลก จึงต้องสรรหาบุคลากร และส่งเสริมผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัวสูง เพื่อตอบสนองแนวโน้มความต้องการบุคลากรเพื่อทำงานข้ามพรมแดนในช่วงเวลา 3 ปีข้างหน้า
 
ไอบีเอ็มได้จัดทำผลสำรวจในกลุ่มผู้บริหารระดับสูง (C-Suite) มาอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดได้จัดทำผลสำรวจในกลุ่มของ CHRO ซึ่งสะท้อนผลลัพธ์สำคัญที่เป็นประโยชน์อย่างมากในวงการบริหารงานบุคคล โดยพบว่าองค์กรต่างๆมีการลงทุนด้านบุคลากรเพิ่มขึ้นในช่วง 3 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดที่กำลังพัฒนา เช่น จีนและอินเดีย เนื่องจากต้องเพิ่มโอกาสทางการตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ จึงจำเป็นต้องผลักดันการลงทุนบุคลากรในอนาคต
 
สืบเนื่องจากเมื่อ 2 – 3 ปีที่ผ่านมา ประเทศสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ส่งผลกระทบต่อทุกประเทศทั่วโลก ทำให้ธุรกิจต่างๆ เริ่มดำเนินการอย่างระมัดระวัง และมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพของการปฏิบัติการ (Operational efficiency) แต่ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่สภาวะฟื้นตัว ผู้นำในส่วนของการจัดการทรัพยากรบุคคลในปัจจุบัน ต่างมุ่งเน้นไปที่การสร้างการเติบโตขององค์กร (Drive growth) แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงต้องเน้นที่ประสิทธิภาพของการดำเนินธุรกิจต่อไป ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวในยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ซึ่งตลาดแรงงานเปลี่ยนเป็นโลกที่ไร้พรมแดนนั้น ต้องเตรียมพร้อม เพื่อการพัฒนาบุคลากร รวมถึงการเคลื่อนย้ายบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง
 
นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “สำหรับประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน เราจะเห็นว่าโลกของตลาดแรงงานที่ไร้พรมแดนจะกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวยิ่งกว่าครั้งใดที่ผ่านมาอันเป็นผลจากอาเซียน 2015 ที่กำลังจะเกิดขึ้น ปัจจัยผลักดันจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีซึ่งจะทำลายอุปสรรคขวางกั้นในเรื่องเวลา ระยะทาง และแม้กระทั่งภาษา ทำให้การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันเป็นไปอย่างไร้พรมแดน ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจแล้วยังก่อให้เกิดความท้าทายในเชิงการแข่งขันให้เพิ่มทวีมากขึ้น การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีก 4 ปีข้างหน้า นอกจากเรื่องของสินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการแล้ว ยังเป็นการเปิดประตูสู่การแข่งขันของตลาดแรงงานในระดับภูมิภาค ในฐานะผู้นำองค์กรทางด้านทรัพยากรบุคคลการจัดการทางด้านทรัพยากรบุคคล จึงจะเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเตรียมความพร้อมในการวางกลยุทธ์องค์กรให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้
 
ในการสำรวจครั้งนี้ไอบีเอ้มได้พูดคุยและสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้นำด้านการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลกว่า 707 คน จาก 61 ประเทศทั่วโลก เราพบว่า ผู้นำ HR ต่างเห็นพ้องกันว่าปัจจัยความสำเร็จในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลมี 3 ข้อหลักด้วยกัน
 
1. การสร้างผู้นำที่สร้างสรรค์ (Cultivating Creative Leaders)
การพัฒนาผู้นำให้เป็นผู้นำที่สร้างสรรค์ สามารถรับมือกับวัฒนธรรมที่แตกต่าง มีรูปแบบการสื่อสารที่หลากหลายและความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนองค์กรให้สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจได้ทันท่วงที ไอบีเอ็มได้มีการเตรียมพร้อมให้กับผู้นำขององค์กรมาโดยตลอด ตัวอย่างโครงการพัฒนาผู้นำของไอบีเอ็ม เช่น
 
GET (Global Enablement Team) เป็นโครงการที่นำผู้บริหารระดับสูงของไอบีเอ็มสำนักงานใหญ่เดินทางเข้ามายังประเทศต่างๆ เพื่อถ่ายทอดทักษะและประสพการณ์การบริหารงานระดับสูง การสร้างสรรค์ผู้นำยุคใหม่และการสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานในองค์กรแก่ผู้นำองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจของไอบีเอ็มและผู้บริหารไอบีเอ็มในประเทศนั้นๆ
ESC (Executive Service Corps.) เป็นโครงการที่ผู้บริหารระดับสูงของไอบีเอ็มเข้ามาทำงานร่วมกับชุมชนทั้งภาครัฐและภาคประชาคม (NGO) เพื่อทำความเข้าใจถึงความท้าทายและปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจริงในชุมชน พร้อมทั้งช่วยจัดสร้างแผนพัฒนาชุมชนที่ตรงกับความต้องการจริงๆ เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผลในอนาคต
 
ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จะดำเนินการจัดทำโครงการทั้งสองภายในปีนี้
 
2. การจัดสรรและเคลื่อนย้ายบุคลากรด้วยความยืดหยุ่นและรวดเร็ว (Mobilizing for Speed and Flexibility)
องค์กรต้องสามารถจัดสรรเคลื่อนย้ายบุคลากรจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งที่และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ไอบีเอ็มประสพความสำเร็จในการนำโมเดลทางธุรกิจที่เรียกว่า (Globally Integrated Enterprise) หรือ GIE มาใช้ GIE เป็นการดำเนินธุรกิจโดยมองโลกเป็นผืนเดียวกัน มีการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีทักษะความเชี่ยวชาญในงานที่เหมือนกันจากส่วนต่างๆของโลกมารวมเป็นศูนย์กลางของทักษะของงานนั้น หรือ Center of Competency โดย Center of Competency จะเป็นศูนย์บริการเฉพาะด้านที่มีความเชี่ยวชาญและสามารถให้บริการกับไอบีเอ็มประเทศต่างทั่วโลกรวมไปถึงลูกค้าที่มีความต้องการใช้บริการนั้นๆ ปรากฏการณ์ของโมเดลการทำธุรกิจแบบ GIE ทำให้ไอบีเอ็มสามารถลดค่าใช้จ่ายและการลงทุนที่ซ้ำซ้อน และสามารถนำเงินที่เหลือนั้นไปลงทุนในส่วนของงานหลักของธุรกิจ เพื่อสร้างความเจริญเติบโตให้กับธุรกิจในอนาคตต่อไป
 
 
3. การประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์อันสูงสุด (Capitalizing on Collective Intelligence)
การเรียนรู้และการเข้าถึงแหล่งองค์ความรู้ในองค์กรจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาบุคลากร เช่นเดียวกับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อเอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถ่ายทอดความรู้ สร้างการเชื่อมโยงข้อมูลอัจฉริยะในองค์กร ให้บุคลากรและหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กร รวมไปถึงลูกค้าและบุคคลภายนอกสามารถนำข้อมูลความรู้มาเพื่อการดำเนินธุรกิจที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ยกตัวอย่างเช่น การนำเครื่องมือทางด้าน Social Business เข้ามาช่วย จัดการให้เป็นแหล่งข้อมูลเพื่อให้พนักงานได้เรียนรู้ เช่น วิกิ LotusConnection หรือ w3 Intranet เป็นต้น
 
นางพรรณสิรี ได้กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า “ผลการสำรวจ CHRO Study ครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าองค์กรที่จะประสพความสำเร็จต้องมีการเตรียมบุคลากรให้พร้อมกับการทำงานแบบไร้พรมแดน มีการลงทุนในการพัฒนาทักษะผู้นำองค์กร มีการนำเทคโนโลยีมาสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์เชื่อมโยงการสื่อสารภายในองค์กร และเลือกใช้เครื่องมือด้านวิเคราะห์ข้อมูล (Business Analytic) เพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาใช้งานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น”
 
รายงานฉบับสมบูรณ์ รวมถึงข้อมูลที่พบและกรณีศึกษา มีอยู่ที่:  ibm.com/chrostudy
 

View :1842
Categories: Press/Release Tags:

เอปสันมอบความช่วยเหลือแก่ผู้เสียหาย เหตุแผ่นดินไหวเมืองโทโฮกุ

March 15th, 2011 No comments

บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น แสดงความเสียใจแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ที่บริเวณเมืองโทโฮกุ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2554
 
ประกาศจากทางบริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น วันนี้ แจ้งว่าบริษัทฯ จะมอบเงิน 100 ล้านเยน เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น และแสดงความหวังว่าสถานการณ์ต่างๆ จะกลับฟื้นคืนได้สู่ภาวะปกติได้ในเร็ววัน
รายงานความเสียหายที่ได้รับจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เมืองโทโฮกุ
 
โตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น, 15 มีนาคม 2554 – บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น แสดงความเสียใจแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ที่บริเวณเมืองโทโฮกุ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2554
 
ภายหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว เอปสันได้จัดตั้งศูนย์ภัยพิบัติ (Disaster Headquarters) ขึ้นที่สำนักงานใหญ่ที่เมืองซูวา ในจังหวัดนากาโน โดยมีมร.มิโนรุ อูซุย ประธานบริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น นำการปฏิบัติการ เพื่อรวบรวมข้อมูลความเสียหายที่กลุ่มบริษัทได้รับ และหาวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
 
รายงานของบริษัทฯ แจ้งความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโรงงานที่ซากาตะและบริษัทในเครือที่เมืองโทโฮกุ ดังนี้
1. เจ้าหน้าที่ของเอปสัน – ปัจจุบันยังไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
2. ความเสียหายทางทรัพย์สิน
เอปสัน แอทมิกซ์ คอร์ปอเรชั่น ที่เมืองฮาชิโนเหะ จังหวัดอะโอะโมริ
หยุดการดำเนินงานชั่วคราว เนื่องจากได้รับความเสียหายจากสึนามิขนาดความสูง 1 เมตร ปัจจุบัน ยังไม่มีกำหนดการเปิดดำเนินงานขึ้นอีกครั้ง
อาคิตะ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น ที่เมืองยูซาวา จังหวัดอาคิตะ
หยุดการดำเนินงานชั่วคราว เนื่องจากไม่มีพลังงานไฟฟ้า เพราะแผ่นดินไหว อาคารและเครื่องจักรได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อย ปัจจุบัน ทางบริษัทฯ กำลังตรวจสอบความปลอดภัยและความพร้อมของระบบจ่ายกำลังงานไฟฟ้า และมีแผนที่จะเปิดดำเนินงานอีกครั้งในวันที่ 14 มีนาคม
โรงงาน ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น ซากาตะ และโรงงานโทโฮกุ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น ที่เมืองซากาตะ จังหวัดยามากาตะ
หยุดการดำเนินงานชั่วคราว เนื่องจากไม่มีพลังงานไฟฟ้า เพราะแผ่นดินไหว อาคารไม่ได้รับความเสียหาย ขณะนี้ ทางบริษัทฯ ยังอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบความพร้อมของกระบวนการผลิต และยังไม่ได้กำหนดวันเปิดปฏิบัติการอีกครั้ง
โรงงาน เอปสัน โตโยคอม คอร์ปอเรชั่น ฟุกุชิมะที่เมืองมินามิ-โซมะ จังหวัดฟุกุชิมะ
หยุดการดำเนินงานชั่วคราว อาคารและเครื่องจักรการผลิตได้รับความเสียหาย บริษัทฯ สั่งระงับการปฏิบัติงาน เนื่องจากโรงงานอยู่ห่างจากสถานีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ หมายเลข 1 เพียง 16 กิโลเมตร และอยู่ในพื้นที่อพยพ บริษัทฯ ยังไม่ได้กำหนดช่วงเวลาในเปิดทำการอีกครั้ง
 

View :1203
Categories: Press/Release Tags:

สวทช. โชว์ผลงานในงาน NAC 2011 :  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ

March 14th, 2011 No comments

สวทช. โชว์ผลงาน  อุปกรณ์ช่วยหายใจขณะเพลิงไหม้และก๊าซพิษ,โคมลอยทนไฟ,พริกเผ็ดรักษาโรค,เครื่องขนย้ายผู้ป่วยฝีมือคนไทย,เทคโนโลยีต้นแบบรวดเร็วทางการแพทย์สำหรับผลิตวัสดุฝังในแก้ไขความบกพร่องของร่างกาย และ กราฟีน(GrapheneX :วัสดุแห่งอนาคต ฯลฯ
ในงาน NAC 2011 :  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) องค์กรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำของประเทศ ประกาศจัดงาน NAC 2011 เพื่อโชว์ผลงานวิจัยและพัฒนาที่ได้ดำเนินการร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาในรอบปีที่ผ่านมา   โดยดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า    
       “มนุษย์ สภาวะแวดล้อม และภัยพิบัติ 3 ความเชื่อมโยงกับภาวะการณ์เปลี่ยนแปลงของโลก เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่ขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า “มนุษย์”  คือตัวการสำคัญที่ทำให้บรรยากาศของโลกต้องเปลี่ยนแปลงไปภายในระยะเวลาที่รวดเร็วขึ้น จากสภาพของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลายลงตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันได้ส่งผลย้อนกลับมาจนกลายเป็น ปัญหา “ภัยพิบัติ” ที่ทำลายชีวิตและทรัพย์สินอย่างไม่อาจประเมินค่าได้ หลายประเทศทั่วโลกต่างต้องเผชิญหน้ากับปัญหาภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังจะเห็นได้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจะมีเหตุการณ์ที่เป็นภัยพิบัติรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น เหตุแผ่นดินไหวในเฮติ ที่ผ่านพ้นไปไม่นาน ก็เกิดขึ้นอีกครั้งที่เมืองไคร์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ จีน และญี่ปุ่นที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตตลอดจนบ้านเรือนและทรัพย์สินได้รับความเสียหายไปเป็นจำนวนมาก เมื่อย้อนกลับมาที่ประเทศไทย ก็เกิดภัยพิบัติขึ้นหลายครั้ง นับตั้งแต่เหตุการณ์สึนามิ ดินถล่ม ภาวะภัยแล้ง เรื่อยมาจนปีที่แล้วต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วมครั้งใหญ่สุดในรอบหลายสิบปี ทำให้คนไทยต่างก็เริ่มตื่นตัวและหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับปัญหาภัยพิบัติมากขึ้น จนไม่อาจปฏิเสธได้ว่าภัยพิบัติเริ่มใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกขณะจนไม่อาจเพิกเฉยอีกต่อไปได้  หลายหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนเริ่มหันมาให้ความสนใจและตระหนักต่อแนวทางการป้องกันและแก้ไขเพื่อจะบรรเทาภัยพิบัติที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น รวมถึงกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็เช่นกัน เพราะผมมั่นใจว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญและมีศักยภาพสูงที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการช่วยรับมือกับปัญหาภัยพิบัติได้ หากเกิดเหตุการณ์ภัยธรรมชาติเราจะต้องเรียนรู้ เข้าใจ รับมือ ภัยธรรมชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมไปถึง การพัฒนา วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการรักษาความมั่นคงของประเทศ นิติวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสำหรับการเฝ้าระวังการก่ออาชญากรรม การก่อการร้าย ตลอดจนการเตือนภัย การป้องกัน และการเยียวยารักษาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ” ดร.วีระชัย กล่าว
ด้านดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า ภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้กลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถช่วยรับมือภัยพิบัติได้ และนับเป็นความท้าทายของนักวิจัย สวทช. อย่างมากในการทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่จะช่วยป้องกันและแก้ไขภัยพิบัติ ซึ่งที่ผ่านมา สวทช. ได้สร้างผลงานวิจัยและนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงแล้ว อาทิ ข้าวทนน้ำท่วม ข้าวทนดินเค็ม การวิจัยและพัฒนาชุดตรวจโรคระบาดต่างๆ ทั้งในคน สัตว์และพืช ระบบสื่อสารฉุกเฉิน อุปกรณ์ตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือ เสื้อเกราะกันกระสุน และล่าสุดกับผลงานวัคซีนไข้เลือดออก Dengue เป็นต้น
“การประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ในปีนี้ จึงได้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ” ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๖ มีนาคม ๒๕๕๔ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เพื่อเป็นเวทีให้นักวิชาการและนักวิจัยได้นำเสนอความรู้และผลงานในการรับมือภัยพิบัติ โดยเริ่มตั้งแต่ การคาดการณ์ การเฝ้าระวัง การเตือนภัย การรับมือ และการฟื้นฟู ที่จะช่วยเตรียมพร้อมและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติได้อย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงการนำเสนอผลงานวิจัยใหม่ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของนักวิจัยสวทช. ตลอดจนหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา ผ่านหัวข้อการประชุมกว่า ๓๐ เรื่อง และการจัดแสดงนิทรรศการผลงานกว่า ๑๐๐ ผลงาน”   ดร.ทวีศักดิ์ กล่าว
สำหรับตัวอย่างผลงานเด่นที่นำมาจัดแสดงในงานแถลงข่าวครั้งนี้ อาทิ แกรฟีน : วัสดุแห่งอนาคต ซึ่งนักวิจัยสวทช. ได้เตรียมพัฒนาเป็นเซ็นเซอร์ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานและเซ็นเซอร์เพื่อตรวจวัดสารปนเปื้อนในอาหาร ชุดช่วยหายใจหนีไฟและก๊าซพิษ นวัตกรรมที่จะช่วยให้ผู้ประสบภัยมีอากาศหายใจเพิ่มขึ้น ในช่วงเวลาที่หาทางออกจากพื้นที่ประสบภัย รถเข็นคนพิการแบบปรับยืนได้โดยไม่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า นวัตกรรมที่จะช่วยให้ผู้พิการสามารถยืนได้และใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงกับปกติ เทคโนโลยีต้นแบบรวดเร็วทางการแพทย์ (Rapid Prototyping) สำหรับออกแบบและขึ้นรูปวัสดุฝังใน เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของร่างกาย ซึ่งมีผู้ป่วยกว่า ๘๕๐ ราย ในโรงพยาบาล ๗๗ แห่งทั่วประเทศได้ใช้บริการแล้ว
นอกจากนี้ ยังมีหัวข้อการประชุมเรื่อง Facing Climate Change Impact with Science & Technology: From Urban Flood to Forest Fire โดยProf. Xing Chen วิทยากรจากสถาบันวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก สาธารณรัฐจีน และวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิของไทย รวมถึงหัวข้อที่เกี่ยวข้องเทคโนโลยีต่างๆ กับภัยพิบัติในหลากหลาย    รูปแบบ อาทิ
-แผ่นดินไหว 8.9 ริกเตอร์และสึนามิ 2011 บทเรียนจากญี่ปุ่น
-นวัตกรรมเตือนภัยและแจ้งเหตุภัยธรรมชาติ
-เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาโลกใต้ทะเล
-สิ่งมีชีวิตพยากรณ์…เตือนภัยสิ่งแวดล้อม
-เทคโนโลยีหุ่นยนต์สำหรับการเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ
-การรับมือภัยพิบัติลดการกัดเซาะชายฝั่งทะเลไทย
-ยุงยุคโลกร้อน
-นวัตกรรมไทยป้องกันภัยคุกคาม
-ข้าวทนน้ำท่วม…ทางรอดของชาวนาไทย
ฯลฯ
งานประชุมและแสดงผลงานประจำปีของ สวทช. หรืองาน NAC 2011 มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ และแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงจัดแสดงผลงานและโครงการวิจัยที่ สวทช. ได้ดำเนินการ ภายในงานจะมีการสัมมนา นิทรรศการแสดงผลงาน การเจรจาธุรกิจ และเปิดให้เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการในศูนย์วิจัยแห่งชาติ โดยมุ่งให้เกิดการวิจัยต่อยอดและการนำงานวิจัยไปใช้ในเชิงธุรกิจ ผู้สนใจเข้าร่วมงานสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.nstda.or.th//
 

View :1325
Categories: Press/Release Tags:

โครงการทำดีทุกวันจากดีแทค และห้างสรรพสินค้าโรบินสันเตรียมขยายความร่วมมือBattery for Life สู่ครั้งที่ 6

March 14th, 2011 No comments

อีก 40,000 ก้อน โครงการทำดีทุกวันจากดีแทค และห้างสรรพสินค้าโรบินสันเตรียมขยายความร่วมมือBattery for Life สู่ครั้งที่ 6 พร้อมขยายการรณรงค์สู่การจัดเก็บมือถือเก่าและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่สดใส

จากความร่วมมือระหว่างโครงการทำดีทุกวันจากดีแทคและห้างสรรพสินค้าโรบินสันที่ร่วมกันรณรงค์ให้ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ มีส่วนร่วมจากใจในการลดปัญหามลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการ หรือ “แบตเตอรี่มีพิษ คิดก่อนทิ้ง” โดยนำแบตเตอรี่มือถือที่เสื่อมสภาพแล้วมาทิ้งไว้ในกล่องที่ดีแทคจัดวางไว้ ณ เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ห้างสรรพสินค้าโรบินสันทุกสาขา (ยกเว้นสาขาบางแค, สีลม, ภูเก็ต และนครศรีธรรมราช) และได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปลายปี 2551 นั้น การรณรงค์สามารถสร้างความรับรู้ต่อประชาชนและได้รับความร่วมมือจากผู้บริโภคที่ต้องการมีส่วนร่วมในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ร่วมใจกันนำแบตเตอรี่มือถือเก่ามาทิ้งในถังที่จัดไว้ให้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
โดยในความร่วมมือครั้งที่ 5 ที่ดำเนินการระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม – 31 ธันวาคม 2553 สามารถเก็บคืนแบตเตอรี่เสื่อมสภาพไปทำลายอย่างถูกวิธีได้ 40,000 ก้อน ซึ่งดีแทคจะนำไปให้กับบริษัทรับกำจัดขยะอิเล็คทรอนิคส์ที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐานเทเลนอร์ เพื่อนำไปดำเนินการผ่านขั้นตอนการสกัดนำแร่โคบอลต์เพื่อรีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่ ด้วยกระบวนการที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทั้งยังสามารถลดกระบวนการถลุงแร่ธาตุจากธรรมชาติทำให้ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของกรมควบคุมมลพิษ
ทั้งนี้ การดำเนินการร่วมมือกับห้างสรรพสินค้าโรบินสันที่เริ่มตั้งแต่ปลายปี 2551 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน สามารถรวบรวมแบตเตอรี่มือถือได้แล้ว รวมทั้งสิ้น 94,000 ก้อน และภายในปีนี้ โครงการทำดีทุกวันและโรบินสันเตรียมแผนขยายการรณรงค์จากแบตเตอรี่มือถือไปสู่การรับเครื่องโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อไปทำลายอย่างถูกวิธีอีกด้วย ทั้งนี้กลยุทธ์ดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายการทำกิจกรรม CR ด้านสิ่งแวดล้อม หรือ Climate Change ของทางเทเลนอร์ ซึ่งต้องการให้ทุกประเทศในเครือข่ายเทเลนอร์ได้ร่วมกันรณรงค์เรื่องการกำจัดมือถือเสื่อมสภาพพร้อมทั้งแบตเตอรี่มือถือควบคู่ไปพร้อมกัน

View :1443
Categories: Press/Release Tags: ,

งานสัมมนา Socail Media For PR

March 14th, 2011 No comments

(เทคนิคการประชาสัมพันธ์โชเชียลมีเดียเชิงปฏิบัติการ)
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเผยแพร่ความรู้ด้านการประชาสัมพันธ์
กับผู้สื่อข่าวที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ยุคใหม่ ให้กับภาคธุรกิจ ,องค์กรรัฐวิสาหกิจ
,ผู้สนใจด้านการใช้สื่อสังคมออนไลน์
โดยงานสัมมนาจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 26 มี.ค. 2554
ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ซึ่งมีรายละเอียด
ภายในเว็บไซค์ www.social4pr.com

สำหรับการจัดสัมมนาดังกล่าวรายได้ส่วนหนึ่งจะนำไปเป็นทุนใช้จ่าย
ในโครงการโรงเรียนการบินจำลอง NLK (บ้านหนองลาด) อ.เรณูนคร จ.นครพนม
โดยในครั้งนี้จะได้นำนักเรียนในโครงการไปนั่งเครื่องไฟล์ซิมูเรเตอร์ แอร์บัส A320 ที๋ศิษย์การบิน
วิทยาลัยการบินนานาชาติ ม.นครพนม ใช้ฝึกเรียนกัน โดยรายละเอียด
อยู่ในในเว็บไซค์สัมมนา www.social4pr.com

View :1284

แถลงการณ์ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ โดย มัลลิกา บุญมีตระกูล

March 14th, 2011 No comments

โดย
ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ข้อเท็จจริงหนึ่งในประเทศนี้คือถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่จะได้ใช้เทคโนโลยี 3G และ ถึงเวลาแล้วไหมที่องค์กรรัฐวิสาหกิจด้านโทรคมนาคมประเทศนี้จะไม่ใช่แค่เสือ นอนกิน แล้วถ้าคุณเป็นผู้บริหารองค์กรด้านนี้ของประเทศนี้จะมีวิธีรับมือกับโลกแห่ง การแข่งขันด้านเทคโนโลยีอย่างไร ถึงเวลาแล้วไหมที่คุณต้องปรับตัวและนี่น่าจะเป็นที่มาของการจัดการเปรียบ เทียบความคุ้มค่าระหว่างการเปลี่ยนโครงข่ายจาก CDMA เป็น HSPA วิเคราะห์ ข้อดีและข้อเสียศึกษาและคิดหาทางรอดของกสท องค์กรที่สร้างรายได้ให้แก่รัฐมหาศาลเมื่อเวลาผ่านและโลกปัจจุบันและอนาคตมี เทคโนโลยีมากำหนดให้เดินเพื่อการแข่งขัน แล้วจะชนะเขาได้อย่างไร แล้วจะอยู่รอดได้อย่างไร แล้วจะเป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจด้านโทรคมนาคมที่ทัดเทียมนานาประเทศได้อย่างไร ดังนั้นการต้องหยุดความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กสท น่าจะเป็นทางรอดที่หนึ่งหรือไม่แล้วทางเลือกอื่นๆจะต้องตามมา

นโยบาย รัฐที่ผ่านมาทำให้รัฐวิสากิจด้านการสื่อสารโทรคนาคมของประเทศไม่เติบโต ถ้าหันไปรอบตัวจะเห็นว่าเพื่อนบ้านเราไม่ว่าจะเป็นลาวเทเลคอมของประเทศลาว มาเลเซียเทเลคอมของประเทมาเลเซีย สิงเทล ของประเทศสิงคโปร์ ไชน่ามายของประเทศจีน เอ็นทีทีของประเทศญี่ปุ่น เอสเคเทเลคอมของประเทศเกาหลี หรือฟรานซ์เทเลคอมของประเทศฝรั่งเศส ประเทศต่างๆล้วนกำหนดทิศทางเดินให้กับการสื่อสารด้านโทรคมนาคมประเทศตัวเอง ประเทศต่างๆนั้นองค์กรรัฐวิสาหกิจด้านนี้ยิ่งใหญ่มีศักดิ์ศรี แต่บ้านเรานั้นบริษัทเอกชนด้านโทรคมนาคมกลายเป็นผู้มีอิธิพลชี้นำทิศทางมาจน เคยตัว เพราะก่อนหน้านี้คนประเทศเราอาจตื่นตัวด้านเทคโนโลยีน้อยเกินไปไม่คิดถึงว่า แท้จริงคลื่นที่มีอยู่ในอากาศมันมีมูลค่ามหาศาล รัฐวิสากิจทั้งทีโอทีกับกสท จะทำอะไรต้องขออนุมัติแผนการลงทุน ผ่านความเห็นชอบจากสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผ่านแผนการกู้เงิน ดังนั้นผู้มีเงินเท่านั้นจึงจะทำธุรกิจด้านนี้ได้

ทีโอทีกับกสท สองหน่วยงานรัฐวิสาหกิจประเทศนี้มีใบอนุญาติ 3G ใช้ตั้งแต่ 10 ปีที่แล้วซึ่งเป็นครั้งแรกๆที่โลกนี้มีเทคโนโลยี 3G แต่ตอนนั้นรัฐบาลกลับไม่ทำ ลองนึกภาพดูว่าถ้าประเทศเรามี 3G ใช้กันตั้งแต่ตอนนั้น ถ้าทั้งทีโอทีกับกสท ดำเนินการตั้งแต่ยุคนั้นอะไรจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย เพราะประโยชน์ของเทคโนโลยี 3G มันจะสร้างมูลค่ามหาศาลต่อวงการการศึกษา สาธารณสุข สังคม เศรษฐกิจ วันนี้ทุกคนมาลงที่รัฐวิสาหกิจหาว่าไปเอื้อเอกชนแต่หารู้ไม่ว่าที่ผ่านมาและ แม้บัดนี้เอกชนก็ไม่เคยมองทีโอทีหรือกสท เลย จริงๆคือเอกชนหวังจะทำเองแต่พอประมูลไม่ได้ก็จะมาใช้รัฐวิสาหกิจนี้เป็น เครื่องมือ

เอ ไอเอสกับทีโอทีเป็นพันธมิตรกัน ทรูกับกสทเป็นพันธมิตรกัน ดีแทคก็มีคลื่นของตัวเองที่พอจะดำเนินกิจการด้วยตัวเองได้ แต่สิ่งที่เอกชนคิดคือทั้งหมดเอาประโยชน์ตัวเองมาก่อนทั้งนั้นนั่นคือที่ ผ่านมา จึงมีคดีความทั้งที่มีคำพิพากษาแล้ว คดีที่เรียกเก็บสมบัติชาติคืน การปรับ หรือเรื่องที่ต้องไปตกลงกันที่อนุญาโตตุลาการมากมาย

แต่ รัฐบาลนี้ไม่ใช่ รัฐบาลนี้คิดเอาประโยชน์ของประชาชนมาก่อน รัฐบาลสมัยนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เป็นรัฐบาลแรกที่ก่อตั้งกระทรวงเทคโลโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที ตั้งมาเพื่อจัดการเรื่องภาษีโทรคมนาคมเมื่อเสร็จกิจแล้วก็ไม่ใยดี ตอนตั้งรัฐมนตรีว่าการคนแรกของกระทรวงไอซีทีนั้น ใหม่ๆก็โม้ว่ากระทรวงนี้จะมี 5 E ประกอบด้วย E-Government, E-Commerce,E-Health,E-Education,E-Logistics, สุดท้ายได้แค่ E- เพิ้ง ทำอะไรก็ไม่ได้

ประชาธิปัตย์มาดูแลกระทรวงไอซีทีครั้งแรกในประวัติศาสตร์ นายจุติ ไกรฤกษ์ ส . ส . ประชาธิปัตย์มานั่งเป็นรัฐมนตรีในรอบ 8 ปีที่มีกระทรวงแห่งนี้เป็นรัฐมนตรีคนที่ 8 ท่ามกลางกับดักระเบิดเวลาที่รอวันปะทุมากมาย แต่ 6 เดือนแรกก็ผลักดันนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติสำเร็จเป็นครั้งแรกในประวัติ ศาสตร์ ทำอินเทอเน็ตความเร็วสูงผ่านเคเบิลใยแก้ว ระบบไร้สายผ่านดาวเทียม เพิ่มเส้นทางส่งถ่ายข้อมูลผ่านเคเบิลใต้น้ำเพื่อรองรับข้อมูลผ่านอินเทอเน็ต ที่นับวันจะมากขึ้น และลดความเสี่ยงของภัยธรรมชาติ เช่นแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่น ปราบเว็บไซต์ผิดกฎหมายก็ปราบอย่างจริงจังผลงาน 25 เท่าขอรัฐบาลพลังประชาชน

รัฐมนตรีไอซีทีคนแรกที่นายกรัฐมนตรีทักษิณมอบหมายให้มาทำ E-Government, E-Commerce และโม้ไปอีกหลาย E ซึ่ง 8 ปีก็ทำไม่สำเร็จ แต่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์มอบหมายมา 8 เดือน วันนี้ทั้งสอง E ได้ตั้งเป็นองค์การมหาชนเรียบร้อยแล้ว และวันนี้เศรษฐกิจไทยรอวันโตแบบก้าวกระโดด เพราะถ้า E-Government, E-Commerce,E-Logistics ประสบความสำเร็จ การส่งออกซึ่งได้ปีละเป็นล้านล้านบาท การส่งออกจะกระชับ เร็วขึ้น เพราะต้นทุนถูกลง ลดคอขวดกระบวนการส่งออกที่มี แล้วการส่งออกจะดีขึ้นมหาศาล ก็ลองนึกภาพว่าเพราะเทคโนโลยีใช่หรือไม่ บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ขายสินค้าออนไลน์ของต่างประเทศแค่ 3 บริษัท คือ อาลีบาบา อีเบย์ และอาเมซอน ก็มีรายรับมากกว่ารายรับภาษีของประเทศไทยเราทั้งปี ยังไม่นับลูกหลานไทยที่สามารถมีครูติวหนังสือผ่านคอมพิวเตอร์ผ่านอินเทอเน็ต จะสอนกี่ครั้งกดติวกี่ครั้งก็ได้เอาจนเก่ง อนามัยอีกกว่า 15000 แห่งที่รอมาเข้าระบบ E-Health ของรัฐบาลเพื่อลดความเสี่ยงต่อชีวิต โรคภัยอันตรายใดอยู่ที่ไหนก็สามารถรักษากับแพทย์เชี่ยวชาญได้ผ่านระบบเหล่านี้

3G คือ ส่วนหนึ่งของนโยบายบรอดแบนด์จะมารองรับแผนงานแห่งชาติ สร้างโอกาสการพัฒนาประชากรพัฒนาประเทศไทย ลดช่องว่างความเจริญระหว่างสังคมเมืองกับสังคมชนบท กระตุ้นเศรษฐกิจหรือ GDP เพิ่มให้ประเทศในอัตรา 1.38% หรือคิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 1 แสนล้านบาทจากการเพิ่มอัตราการเข้าถึงบรอดแบนด์ต่ออินเทอเน็ตในทุก 10% ซึ่ง จะมีผลดีในการสร้างงานใหม่ให้คนรุ่นใหม่อย่างมหาศาลแก่ระบบเศรษฐกิจประเทศ ไทยทุกภาคส่วนและยกระดับความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้สูงขึ้น อย่างยั่งยืน

แน่นอนว่าก่อนจะมี 3G ต้อง ผ่านเส้นกติกาแห่งความถูกต้องเสียก่อน ความถูกต้องแห่งกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ความถูกต้องและโปร่งใสในแผนงานธุรกิจ ลดความเสี่ยง หยุดความเสียหาย ประโยชน์ต่อประชาชนทั่วประเทศ การทำให้องค์กรรัฐวิสาหกิจไม่เสียเปรียบดังเช่นที่เคยผ่านมาและพนักงานของ องค์กรสามหมื่นกว่าครอบครัวก็อยู่รอดด้วย ทั้งหมดมีคำตอบพร้อมองค์ประกอบแห่งความถูกต้อง โปร่งใส เป็นธรรม ตามกติกาที่ประเทศนี้สังคมนี้กำหนดไว้ เราจะไม่เดินมาไกลเพื่อมาทำสิ่งที่ผิดกฎหมาย ทุกกติกามีไว้เพื่อใช้กับรัฐมนตรีทุกพรรคทุกรัฐบาลแบบเดียวกัน

และ 15-18 มีนาคม 2554 รัฐมนตรีเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นายจุติ ไกรฤกษ์ ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจพร้อมถูกยื่นถอดถอน ถ้าถามรัฐมนตรีว่ากลัวไหมเหตุผลข้างต้นคงประเมินได้ว่าควรกลัวหรือไม่กลัว ที่สำคัญกว่ากลัวถูกถอดถอนคือ “ กลัว จะไม่ถูกอภิปรายบางประเด็นที่โฆษณาไว้เพราะเห็นว่ามีพวกตะโกนดังๆแล้วได้ เปลี่ยนกระเป๋าใบใหม่ ก็อย่าเอาพ่อมาล่อเหยื่อแล้วจากไปเฉยๆ เพราะพ่อจะพูดให้หมดไม่อภิปรายก็ต้องพูดให้ฟังเพราะพาดพิงมาตั้งหลายเดือน ”

มัลลิกา บุญมีตระกูล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
E mail mstations@gmail.com

View :1460