Archive

Archive for October, 2011

ทรูมูฟ ทรูมูฟ เอช และฮัทช์ ประกาศขยายเขตความช่วยเหลือเพิ่มเติม แก่ลูกค้าผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ปทุมธานี นนทบุรี รวมถึงกรุงเทพฯ 9 เขตเสี่ยง

October 26th, 2011 No comments

กรุงเทพฯ 26 ตุลาคม 2554 – และฮัทช์ ขยายเขตความช่วยเหลือลูกค้า ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร 9 เขตเสี่ยง (ตามประกาศ ศปภ. ฉบับที่ 9 / 2554 เรื่องขอให้ประชาชนเฝ้าระวังระดับน้ำและเตรียมตัวอพยพ) ได้แก่ เขตหลักสี่ ดอนเมือง สายไหม หนองจอก มีนบุรี คันนายาว ลาดกระบัง บางพลัด และทวีวัฒนา ให้สามารถติดต่อสื่อสารในช่วงภาวะฉุกเฉินและจำเป็น โดยมีมาตรการช่วยเหลือเร่งด่วนอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

สำหรับลูกค้าทรูมูฟ และฮัทช์ แบบเติมเงิน

· เพิ่มวันใช้งานทันที 30 วัน ให้ลูกค้า เริ่มตั้งแต่ 25 ตุลาคม 2554
· เติมเงินทันทีหมายเลขละ 20 บาท ให้ลูกค้าที่เงินค่าโทรหมดหรือค่าโทรเหลือต่ำกว่า 5 บาท นอกจากนี้ ลูกค้าทรูมูฟกลุ่มดังกล่าวยังสามารถโทร *937# เพื่อขอค่าโทรช่วยเหลือฉุกเฉินได้อีกสัปดาห์ละ
20 บาท เมื่อเงินค่าโทรหมด

สำหรับลูกค้าทรูมูฟ ทรูมูฟ เอช และฮัทช์ แบบรายเดือน
· งดเว้นการระงับสัญญาณ สำหรับลูกค้าผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ไม่สามารถชำระค่าบริการรายเดือนได้ตามกำหนด ไปจนถึง 30 พฤศจิกายน 2554 ลูกค้าในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 28 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร ตาก ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร อุบลราชธานี ขอนแก่น ศรีสะเกษ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี รวมถึงกรุงเทพฯ 9 เขตเสี่ยง ได้แก่ เขตหลักสี่ ดอนเมือง สายไหม หนองจอก มีนบุรี คันนายาว ลาดกระบัง บางพลัด และทวีวัฒนา

นอกจากนี้ ทรูมูฟ ทรูมูฟ เอช และฮัทช์ ยังอำนวยความสะดวกเพิ่มช่องทางให้ลูกค้าแจ้งขอความช่วยเหลือหรือสอบถามข้อมูลได้ ดังนี้
· โทรฟรี! หมายเลขฉุกเฉิน ได้แก่
1111 กด 5 สำนักนายกรัฐมนตรี
1784 สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)
1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ บริการแพทย์ฉุกเฉินและนำส่งโรงพยาบาลฟรี
1146 ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท
1193 ตำรวจทางหลวง สอบถามเส้นทางน้ำท่วมได้ตลอด 24 ชั่วโมง
1690 การรถไฟแห่งประเทศไทย
1129 สายด่วน กฟภ.
1460 สายด่วนกรมชลประทาน
1490 สายด่วน บขส.สอบถามเส้นทางเดินรถต่างจังหวัด

· ส่ง SMS ฟรี! โดยพิมพ์ข้อความขอความช่วยเหลือส่งไปที่หมายเลข 4567892 ซึ่งข้อความจะส่งไปยังศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ต่อไป

· ทรูมูฟ และทรูมูฟ เอช เปิดจุดให้บริการโทรฟรีทุกเครือข่าย ใช้อินเทอร์เน็ตฟรี และเติมเงินให้ลูกค้าทรูมูฟฟรี พร้อมเติมวันใช้งาน 60 วัน ในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมและศูนย์อพยพต่างๆ อาทิ ท่าอากาศยานดอนเมือง อาคาร 2 และ อาคาร 3, ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ, ศูนย์อพยพ จ.อยุธยา ลพบุรี สระบุรี และค่ายอดิศร เพื่อช่วยเหลือประชาชนและลูกค้าผู้ประสบภัยน้ำท่วมให้สามารถติดต่อสื่อสารในช่วงภาวะฉุกเฉินและจำเป็น

View :1604

โซนี่ อีริคสัน เปิดตัว Xperia pro สมาร์ทโฟนที่เหมาะกับนักธุรกิจและความบันเทิง

October 26th, 2011 No comments


บริษัท โซนี่ อีริคสัน โมบายล์ คอมมิวนิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เปิดตัว สมาร์ทโฟนที่เหมาะกับนักธุรกิจและความบันเทิงเข้าด้วยกัน ที่มาพร้อมกับคีย์บอร์ดแบบสไลด์ที่รองรับการพิมพ์ภาษาไทย และระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2.3 เวอร์ชั่นล่าสุดและหน้าจอแสดงผลแบบ Mobile BRAVIA® Engine ที่ให้ภาพคมชัดสีสันสดใสเสมือนจริง นอกจากนี้ยังมีเซ็นเซอร์ Exmor-R™ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการถ่ายภาพในที่ๆมีแสงน้อย อีกทั้งยังสามารถเก็บรายละเอียดของภาพได้อย่างยอดเยี่ยมพร้อมให้คุณสนุกไปกับความบันเทิงที่หลากหลายด้วยหน้าจอทัชสกรีนขนาด 3.7 นิ้ว รวมถึงฟังก์ชั่นการถ่ายภาพด้วยกล้องความละเอียด 8.1 ล้านพิกเซล พร้อมไฟ LED และกล้องด้านหน้ารองรับ VDO Call และรองรับการถ่ายภาพเคลื่อนไหวในระดับ HD 720p อีกทั้งชมไฟล์ วีดีโอ Youtube ด้วยความละเอียด ระดับ HD ผ่านมือถือและอัพโหลดไฟล์ผ่านมือถือได้อย่างทันท่วงที ผ่าน 3G 900/2100 MHz ความเร็ว 7.2 Mbps รวมถึงรองรับเครื่องเล่น MP3 และ วิทยุ FM ตัวเครื่อง WIFI Bluetooth และ A-GPS สามารถตัดเสียงรบกวนรอบข้างขณะสนทนาได้เป็นอย่างดี คุณสามารถเพลิดเพลินไปกับความบันเทิงเต็มรูปแบบกับ Micro HDMI ที่สามารถต่อเข้ากับทีวีที่บ้านของคุณได้ทันที รวมถึงช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. และช่อง Micro USB รองรับภาษาไทยและภาษาอื่นๆกว่า 50 ภาษา โดย Sony Ericsson วางจำหน่ายแล้วในราคาเพียง 12,990 บาท ตัวเครื่องมีให้เลือก 2 สี ได้แก่ สีเงิน และ สีดำ ผู้สนใจสามารถหาซื้อได้แล้ววันนี้ที่ตัวแทนจำหน่ายโทรศัพท์มือถือโซนี่อีริคสันทั่วประเทศ ร้าน TG Phone , ร้าน Jay Mart และ ร้าน Power Buy หรือติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านทาง www.facebook.com/sethailand

View :1508

ดีแทคชี้แจงความคืบหน้าเกี่ยวกับการรับมือและช่วยเหลืออุทกภัย 2554

October 26th, 2011 No comments

ประจำวันที่ 26 ตุลาคม 2544

ดีแทคได้ให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมทั่วประเทศ ทั้งลูกค้า คู่ค้า และประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งการให้ความช่วยเหลือโดยตรงและการสนับสนุนร่วมมือกับภาครัฐ ตลอดจนติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อกำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ โดยที่ผ่านมามีมาตรการดังต่อไปนี้
มาตรการป้องกันและแก้ไขโครงข่ายดีแทค

ได้เตรียมมาตรการในการป้องกันสถานีชุมสาย และสถานีฐาน รวมทั้งเตรียมแผนรองรับกรณีฉุกเฉินในกรณีที่วิกฤตน้ำท่วมอาจส่งผลกระทบต่อการให้บริการของดีแทค ดังนี้

1. ป้องกันสถานีชุมสายหลักในเขตกรุงเทพฯ ด้วยผนังคอนกรีตกั้นน้ำ พร้อมกระสอบทราย และปั๊มน้ำกำลังสูง เพื่อให้โครงข่ายยังคงสามารถทำงานได้แม้จะมีน้ำท่วมในบริเวณนั้น
2. มีการประสานงานตลอดเวลากับการไฟฟ้าต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้มีการจ่ายไฟฟ้าให้กับชุมสายอย่างต่อเนื่องในกรณีที่ต้องมีการตัดกระแสไฟฟ้าบางส่วนในบริเวณพื้นที่
3. สำหรับกรณีฉุกเฉิน ได้มีการเตรียมน้ำมันสำรองไว้ประมาณ 4,000 – 10,000 ลิตร ต่อสถานีสำหรับในกรณีที่มีการตัดกระแสไฟฟ้า โดยสถานีจะสามารถดำเนินการเพื่อให้บริการโครงข่ายสื่อสารต่อเนื่องได้หลังจากที่มีการตัดกระแสไฟฟ้า
4. มีทีมวิศวกรคอยตรวจสอบ และดูแลโครงข่ายตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งในส่วนกลาง และภูมิภาค พร้อมทั้งประสานงานกับหน่วยงานภายใน และภายนอกเพื่อควบคุมคุณภาพของการให้บริการ
5. ดีแทคจัดเตรียมรถโมบายล์เคลื่อนที่พร้อมเครื่องปั่นไฟ เพื่อให้บริการโครงข่ายสื่อสารในกรณีฉุกเฉิน
มาตรการช่วยเหลือลูกค้าและประชาชนทั่วไปที่ประสบภัยน้ำท่วม
1. ดีแทคได้เติมเงินให้ลูกค้าแฮปปี้รายละ 30 บาท รวม 840,000 ราย ใน 7 จังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมคิดเป็นมูลค่าประมาณ 25 ล้านบาท
2. ดีแทคได้นำทีมพนักงานเดินทางไปยังศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่จังหวัดอยุธยาเพื่อตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โทรฟรี เติมเงิน ชาร์จแบตเตอรี่ให้ประชาชน และให้ความช่วยเหลือในกิจกรรมบรรเทาทุกข์ เช่น การลงทะเบียนผู้ประสบภัย ดูแลการแจกจ่ายสิ่งของ และจัดเตรียมถุงยังชีพมอบให้แก่ผู้ประสบภัยทีมพนักงานดีแทค โดยได้ร่วมกับทีมงานของสถานีวิทยุ “ร่วมด้วยช่วยกัน” ลงพื้นที่เพื่อนำถุงยังชีพไปมอบให้แก่ประชาชนที่เดือดร้อน ตลอดจนให้บริการเติมเงินแก่ลูกค้าในจุดที่ประสบภัยหลาย ๆ จุดในจังหวัด

3. ดีแทคบริการใจดีให้ยืม *100 ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบภัยน้ำท่วมช่องทางฉุกเฉินอีกช่องทางสำหรับลูกค้าแบบเติมเงินหรือแฮปปี้ สามารถยืมค่าโทรไปใช้ก่อนได้เมื่อค่าโทรหมดในสถานการณ์ฉุกเฉินผ่านทางบริการใจดีให้ยืม *100 ที่ใช้บริการจากมือถือได้ทันที โดยลูกค้าที่ใช้บริการตั้งแต่ 12.00 น. วันที่ 9 ต.ค. จนถึง 31 ต.ค.นี้แฮปปี้จะยกเว้นค่าธรรมเนียมบริการให้ทั่วประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างต่อเนื่อง
4. ดีแทคยืดระยะเวลาชำระค่าบริการรายเดือนสำหรับลูกค้าดีแทคประเภทรายเดือนออกไป
5. ดีแทคยังคงมุ่งให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบอุทกภัยอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนมาตรการเพื่อการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในพื้นที่ ตลอดจนพร้อมร่วมสนับสนุนมาตรการการเยียวยาและพื้นฟูต่างๆ หลังน้ำลด หรือการหาแนวทางในการป้องกันน้ำท่วมในระยะยาวต่อไป

นอกจากนี้ เมื่อมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ดีแทคยังได้เข้าร่วมกับ บมจ. ทีโอที และผู้ประกอบการอื่นๆ ในการจัดตั้งศูนย์รับเรื่องจากผู้ประสบภัย 1111 กด 5 ของ ศปภ. เพื่อให้หน่วยงานของรัฐสามารถให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะคนป่วยและคนชรา ซึ่งในแต่ละวันมีผู้ใช้บริการของศูนย์แห่งนี้มากกว่า 2 แสนราย ในส่วนของดีแทคเองก็ได้ร่วมกับมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อใช้ประโยชน์จากสายด่วน 1678 ที่มีอยู่แล้วในทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อรับข้อมูลจากผู้ประสบภัยและส่งต่อข้อมูลให้กับภาครัฐต่อไป

มาตรการช่วยเหลือพนักงานและครอบครัว

1. กรณีน้ำเข้าบ้าน มีทรัพย์สินเสียหาย สามารถแจ้งเพื่อเคลมประกันภัยได้

2. พนักงานหรือครอบครัว ที่ได้รับผลกระทบอย่างกะทันหัน และไม่สามารถออกจากพื้นที่น้ำท่วมได้ สามารถแจ้งขอความช่วยเหลือได้ โดยเจ้าหน้าที่สายด่วนจะประสานไปยังหน่วยงานสาธารณภัยในพื้นที่ และจะคอยติดตามความคืบหน้าจนกว่าผู้ประสบภัยจะได้รับความช่วยเหลือ

3. กรณีที่ได้รับแจ้งจากพนักงานที่ต้องอยู่ในพื้นที่น้ำท่วม อันเนื่องจากมีเหตุผลจำเป็นที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ บริษัทฯ จะพยายามส่งน้ำ อาหาร และสิ่งของจำเป็นเข้าไปให้กับพนักงาน แต่ทั้งนี้ การเข้าไปในพื้นที่จะต้องขึ้นกับคำสั่งและความเห็นของเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมพื้นที่นั้นๆ

4. พนักงานและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม หากไม่มีที่พักอื่น สามารถเข้าพักได้ในสำนักงานของบริษัทฯ คือ ดีแทคเฮ้าส์ จามจุรีสแควร์, รังสิตคลอง 5 และศรีนครินทร์ โดยบริษัทฯ ได้เตรียมเครื่องนอน อาหาร และน้ำไว้จำนวนหนึ่ง

5. พนักงานสามารถใช้สิทธิ์ลากิจ ในกรณีลาหยุดเนื่องจากน้ำท่วมได้ โดยแจ้งหัวหน้างานให้รับทราบล่วงหน้า ยกเว้นพนักงานที่สามารถทำงานที่บ้านได้ในระหว่างนั้น

View :1497

ผู้ประกอบการด้านสิ่งแวดล้อมไทยคว้ารางวัลชนะเลิศการประกวด E-idea โดยบริติช เคานซิล และ LRQA ที่จัดขึ้นในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิก

October 25th, 2011 No comments

ผู้ประกอบการด้านสิ่งแวดล้อมชาวไทย 6 คนสามารถเอาชนะผู้สมัครทั้งหมด 45 คนในการแข่งขันโครงการ ประเทศไทย และคว้าเงินรางวัลมูลค่ากว่า 200,000 บาท ซึ่งจะเป็นเงินทุนในการจัดทำโครงการ นอกจากนี้พวกเขาจะได้เข้าร่วมการอบรมในระดับนานาชาติเพื่อพัฒนาโครงการที่มีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน

รางวัลแบ่งออกเป็นรางวัลสำหรับโครงการประเภท “โครงการใหม่” 3 รางวัล และโครงการประเภท “โครงการต่อยอด” อีก 3 รางวัลซึ่งมอบให้กับโครงการที่ริเริ่มไปแล้วแต่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดได้ พิธีมอบรางวัลได้จัดขึ้นในกรุงเทพฯ ในวันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2554 โดยประธานในพิธีคือ เซอร์ เวอร์นอน เอลลิส ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ และ มร. ราจ กันการาม ผู้จัดการโครงการ E-idea จาก Lloyds Register Quality Assurance () ในฐานะตัวแทนของสององค์กรจากสหราชอาณาจักรผู้จัดโครงการประกวด E-idea ในประเทศไทยและอีก 6 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก

คณาเดช ธรรมนูญรักษ์ ผู้ชนะประเภท “โครงการใหม่” จากกรุงเทพฯ กล่าวว่า “การได้เข้าร่วมการอบรม ได้เปิดรับไอเดียใหม่ๆ รวมทั้งโอกาสในสร้างเครือข่ายผ่านโครงการ E-idea จะช่วยเพิ่มวิสัยทัศน์ในการทำงานและสร้างเครือข่ายพันธมิตรที่ช่วยสนับสนุนและทำให้โครงการของเราประสบความสำเร็จ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทีมผู้ชนะทีมอื่นๆ”

โครงการ “Urbie Urban Farming” ของคณาเดช หวังจะเปลี่ยนพื้นผิวคอนกรีตของสังคมเมืองให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียว โดยการปลูกพืชผักในพื้นที่ที่จำกัดหรือพื้นที่ที่ยังไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ โดยมีเป้าหมายระยะยาวที่จะผลักดันให้ชุมชนแออัดในกรุงเทพฯหันมาปลูกผักอย่างน้อย 50 ชุมชน ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้เสริมที่มั่นคงและยั่งยืนให้กับคนในชุมชน และสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองต้นแบบของการปลูกพืชผักในเมือง

“โครงการใหม่” อื่นๆ ที่ได้รับรางวัลได้แก่โครงการ “Easy to be Green” ที่มีเป้าหมายพัฒนา ผลิต และส่งเสริม “ถังย่อยขยะอินทรีย์” เพื่อกำจัดขยะอินทรีย์ในรูปแบบที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดปัญหาสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งไปที่การจัดการและกำจัดขยะอินทรีย์ในระดับครัวเรือน และโครงการ “Waste Separation and Biowaste Recycling” ที่จะผลักดันอำเภอปายให้เป็นต้นแบบเมืองท่องเที่ยวสีเขียวที่มีจุดเด่นเรื่องการจัดการขยะ เน้นการทำงานร่วมกันระหว่างเทศบาล โรงเรียน ชุมชน และผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่ รวมทั้งรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวตระหนักถึงการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม

“โครงการต่อยอด” ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศคือโครงการของแสงอาภา ศรีโสภาภรณ์ ร่วมกับบริษัทโคโคบอร์ดเจ้าของบริษัทผลิตวัสดุทดแทนไม้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ที่ต้องการพัฒนาพลังงานทางเลือกเพื่อใช้ในการผลิต เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เป็นมิตรต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง; ขวัญข้าว สิงห์เสนี เจ้าของโครงการลดหมอกควันจากการเผาขยะในจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีแนวคิดผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากขยะดังกล่าว; และสุดารัตน์ ชมรุ่ง ผู้นำเชื้อราปฏิปักษ์ในรูปอัดเม็ดมาเพิ่มระบบรากและใบแก่พืชป่าชายเลน เพื่อช่วยกระบวนการผลิตก๊าซอ๊อกซิเจนและการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ

คณะกรรมการตัดสินรางวัลประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม, นักออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและผู้จัดการด้านบรรษัทบริบาลจาก LRQA, บริติชเคานซิล และพันธมิตรในประเทศ อันได้แก่สถานทูตอังกฤษ กรุงเทพ, สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ, นิตยสาร a Day, องค์กรสร้างสรรค์สังคม iCARE และบริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น

ทีมผู้ประกอบการด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยที่ได้คัดเลือกจะได้รับรางวัลเป็นเงินทุนจำนวน 200,000 บาทในการจัดทำโครงการ นอกจากนี้จะได้รับการอบรมจากผู้เชี่ยวชาญและได้เข้าร่วมเครือข่ายธุรกิจของ LRQA ที่มีลูกค้ากระจายอยู่ทั่วโลกกว่า 50,000 ราย ได้อบรมพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ การบริหารธุรกิจ การจัดการโครงการ ทักษะด้านเทคนิค การระดมทุน และการตลาด เพื่อให้โครงการ E-ideas ของพวกเขาประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ผู้ชนะยังได้รับโอกาสเผยแพร่โครงการผ่านแผนการประชาสัมพันธ์กับสื่อมวลชนทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และสหราชอาณาจักร ซึ่งสนับสนุนโดยบริติชเคานซิลและ LRQA

ทั้งนี้ ทีมผู้ชนะจะได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการในเว็บไซต์ระดับภูมิภาค www.e-idea.org ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลและแหล่งรวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการของพวกเขา รวมทั้งยังสามารถนำเสนอข่าวสารข้อมูลใหม่ๆ โดยเว็บไซต์นี้และ “E-idealists Projects” ใน Facebook จัดทำขึ้นมาเพื่อสร้างเครือข่ายระดับภูมิภาคที่ผู้ประกอบการด้านสิ่งแวดล้อมทั้งรุ่นใหม่และมืออาชีพสามารถใช้เป็นช่องทางแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นำเสนอรูปภาพและเรื่องราวระหว่างกัน และยังสามารถเผยแพร่ข้อมูลไปสู่สาธารณชนได้อีกด้วย

ผู้ชนะทุกคนจะได้เข้าร่วมการอบรมระดับภูมิภาคและร่วมกิจกรรมพบปะสังสรรค์สร้างเครือข่าย ซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศอินโดนีเซียระหว่างวันที่ 3 – 5 ตุลาคม โดยพวกเขาจะเข้าร่วมการอบรมกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเป็นเวลาสองวัน และออกงานเพื่อนำเสนอโครงการ E-ideas และแนวคิดของพวกเขาแก่บุคคลทั่วไป และในช่วงต้นปีหน้า ตัวแทนหนึ่งคนจากแต่ละประเทศจะได้เดินทางไปดูงานที่สหราชอาณาจักรเพื่อทำความรู้จัก แลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นกับผู้ประกอบการด้านสิ่งแวดล้อมของสหราชอาณาจักรและกลุ่มองค์กรระดับชุมชน กิจกรรมสุดท้ายจะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2555 ซึ่งผู้ประกอบการด้านสิ่งแวดล้อมที่ประสบความสำเร็จสูงสุดจากทุกประเทศจะมารวมตัวกันเพื่อนำเสนอความสำเร็จของโครงการ E-idea ในแต่ละประเทศ

ฮิว โอลิฟานท์ ผู้จัดการโครงการ E-idea ระดับภูมิภาคของบริติชเคานซิล กล่าวว่า “บริติชเคานซิลยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกับ LRQA ในการสนับสนุนผู้ประกอบการด้านสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เราตระหนักดีถึงบทบาทอันสำคัญของผู้ประกอบการด้านสิ่งแวดล้อมในการเป็น ‘ผู้นำความเปลี่ยนแปลง’ ในการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ ด้วยการเป็นต้นแบบและนำเสนอโอกาสทางธุรกิจของระบบเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม บทบาทในการเผยแพร่แนวทางการอนุรักษ์ที่ยั่งยืนภายในชุมชน รวมทั้งเป็นตัวเชื่อมในการทำงานร่วมกับชุมชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งในระดับชุมชน ระดับชาติ และนานาชาติ และเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่นในการร่วมกันต่อสู้แก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง”

ไซมอน แบตเตอส์ ผู้อำนวยการโครงการประกวด E-idea ของ LRQA กล่าวว่า “เรายินดีมากที่ผู้ประกอบการด้านสิ่งแวดล้อมจำนวนมากให้ความสนใจโครงการนี้ ผู้สมัครทุกคนล้วนแล้วแต่มีแนวคิดที่สร้างสรรค์และหลากหลายในการพัฒนาสภาพแวดล้อมในแต่ละชุมชน การแข่งขันเป็นไปอย่างสูสีและคณะกรรมการต้องใช้เวลานานมากในการคัดเลือกผู้ชนะ!”

ชลธิรา ทิพย์อักษร เจ้าของโครงการ “Easy to be Green” กล่าวว่า “โครงการ E-idea เป็นโอกาสอันยอดเยี่ยมในการนำแนวคิดของเราไปสร้างให้เกิดเป็นจริงขึ้นมา พร้อมทั้งช่วยแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เนื่องจากผู้ได้คัดเลือกเข้าร่วมโครงการจะได้รับการฝึกฝนทักษะการบริหารจัดการโครงการ ได้เข้าร่วมการอบรมกับผู้เชี่ยวชาญ ได้รับประสบการณ์ที่จะช่วยสร้างเสริมความมั่นใจ และเข้าร่วมเครือข่ายระดับนานาชาติ

ขวัญข้าว สิงหเสนีแห่งเครือข่ายเชียงใหม่ เขียว สวย หอม กล่าวว่า “โครงการ E-idea สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมในกลุ่มผู้ประกอบการด้านสิ่งแวดล้อมรุ่นใหม่ นอกจากนี้การให้ความสนับสนุนและพัฒนาทักษะโดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการสื่อสารและบริหารจัดการโครงการจะช่วยยกระดับความสำเร็จของโครงการ E-idea และช่วยสร้างอนาคตที่ยั่งยืน”

โรเบิร์ต ฮานเซอร์ หัวหน้าฝ่ายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและบรรษัทบริบาลของ LRQA ในเอเชียกล่าวว่า “การสนับสนุนผู้ประกอบการคลื่นลูกใหม่ของเอเชียที่มองเห็นว่าการดำเนินธุรกิจและการให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมสามารถอยู่ควบคู่กันได้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับ LRQA โครงการ E-idea เป็นจุดเริ่มต้นที่จะเชื่อมโยงส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันและมอบสิ่งที่ผู้ประกอบด้านสิ่งแวดล้อมรุ่นใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ต้องการ นั่นคือให้ความสำคัญและเงินทุนในการเริ่มต้นกับพวกเขา ผมแน่ใจว่าผู้ประกอบการด้านสิ่งแวดล้อมเหล่านี้จะร่วมกันสร้างอนาคตที่สดใสและยั่งยืน พร้อมทั้งเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนอื่นๆ ในการดำเนินตามพวกเขา“

ฮิว โอลิฟานท์ ผู้จัดการโครงการ E-idea ระดับภูมิภาคของบริติชเคานซิล กล่าวว่า “ในฐานะองค์กรของสหราชอาณาจักรที่มีสาขาอยู่ทั่วโลกและมีนโยบายในการทำงานร่วมกับองค์กรอื่น บริติชเคานซิลและ LRQA ได้แสดงให้เห็นถึงจุดยืนของสหราชอาณาจักรในการร่วมมือสร้างสรรค์อนาคตที่ยั่งยืนบนโลกใบนี้ ตามที่ ฯพณฯ วิลเลี่ยม เฮก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวระหว่างพิธีแถลงข่าวเปิดโครงการประกวด E-idea ว่า ‘เราเชื่อมั่นว่าการตอบโต้ที่มีประสิทธิภาพต่อปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากต่ออนาคตของเรา เราเชื่อว่าระบอบเศรษฐกิจที่จะประสบความเร็จที่สุดในอนาคตคือระบอบเศรษฐกิจที่คำนึงถึงการลดปริมาณการใช้ก๊าซคาร์บอน […] สิ่งที่ท้าทายคือการพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส’ โครงการ E-idea เป็นคำตอบของความท้าทายระดับโลกนี้”

เกี่ยวกับโครงการประกวด E-idea

E-idea เป็นโครงการประกวดรูปแบบใหม่ที่มอบทั้งเงินรางวัลและจัดการอบรมให้กับผู้ประกอบการด้านสิ่งแวดล้อมรุ่นใหม่ ซึ่งจัดขึ้นในประเทศออสเตรเลีย, จีน, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ ไทย และเวียดนาม โครงการประกวด E-idea เป็นโครงการระดับภูมิภาคที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างบริติชเคานซิลและกลุ่มบริษัท Lloyd’s Register Quality Assurance (LRQA) โดย LRQA ได้ให้การสนับสนุนโครงการซึ่งจะเกิดขึ้นใน 7 ประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิกเป็นเงินจำนวน 260,000 ปอนด์

ผู้สมัครเข้าร่วมการประกวดต้องถือสัญชาติของประเทศนั้น ๆ ที่จัดการประกวดและมีอายุระหว่าง 18-35 ปี โดยผู้สมัครจะต้องส่งเอกสารนำเสนอโครงการเกี่ยวกับประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตั้งแต่หนึ่งประเด็นขึ้นไป อันได้แก่ การขนส่ง การลดปริมาณขยะ การลดการใช้พลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การออกแบบอย่างยั่งยืน แนวคิดริเริ่มด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และแผนการรณรงค์ด้านการสื่อสารเชิงบวก

ในแต่ละประเทศ คณะกรรมการซึ่งประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพภูมิอากาศและการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนจะคัดเลือกโครงการซึ่งแบ่งออกเป็นสองประเภทได้แก่ “โครงการใหม่” และ “โครงการต่อยอด” ที่มีศักยภาพในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โครงการจะถูกวัดจากความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย การให้ความสำคัญกับชุมชนใดชุมชนหนึ่งหรืออุตสาหกรรมด้านใดด้านหนึ่ง ความสามารถในการนำไปดัดแปลงหรือขยายต่อ แผนการสื่อสารที่ชัดเจน และแนวโน้มในการได้รับการสนับสนุนด้านการเงินในอนาคต

การแถลงข่าวอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับโครงการประกวดในระดับภูมิภาคได้จัดขึ้นที่ซิดนีย์โอเปร่าเฮาส์ เมื่อเดือนมกราคม 2554 โดย ฯพณฯ วิลเลี่ยม เฮก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สหราชอาณาจักร ซึ่งได้กล่าวตอนหนึ่งว่า “ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการนี้ โดยเฉพาะบริติชเคานซิลและ LRQA” และกล่าวว่า E-idea “เป็นโครงการที่หยิบยกประเด็นปัญหาที่สำคัญที่สุดปัญหาหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อคนทั่วโลก และเป็นโครงการที่สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการบริหารจัดการโครงการ ผมหวังว่าจะมีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการนี้เป็นจำนวนมาก”

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ E-idea และรายละเอียดโครงการที่ได้รับรางวัล กรุณาเข้าไปที่ www.e-idea.org

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ E-idea ในประเทศไทย กรุณาเข้าไปที่ http://th.e-idea.org/
แฟนเพจ: http://www.facebook.com/EideaThailand

View :2168

เอไอเอส พร้อมรับน้ำท่วมกรุงเทพ Standby ทีมวิศวกรเฝ้าตลอด24 ชั่วโมง

October 25th, 2011 No comments


นายวิเชียร เมฆตระการ, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ กล่าวว่า “จากสถานการณ์อุทกภัยที่คาดว่าจะกระทบถึงกรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้ดูแลระบบสื่อสารไร้สาย ซึ่งได้กลายมาเป็นโครงข่ายหลักในการติดต่อสื่อสาร ขอความช่วยเหลือ และค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับน้ำท่วม ได้เตรียมแผนรองรับที่จะทำให้เครือข่ายของเอไอเอสในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่น้ำท่วมยังคงให้บริการได้อย่างไม่ติดขัด โดย

1. ประสานงานกับการไฟฟ้านครหลวงในกรณีหากจำเป็นต้องมีการตัดไฟในบางพื้นที่ เพื่อให้สามารถเตรียมการ หรือ เชื่อมต่อโดยตรงกับการไฟฟ้านครหลวง อันจะทำให้เครือข่ายยังคงสามารถให้บริการได้
2. เตรียมสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องปั่นไฟ ในกรณีที่จำเป็นต้องตัดไฟในบางพื้นที่พร้อมเตรียมเรือเพื่อจัดส่งน้ำมันเชื้อเพลิงไปยังชุมสายและสถานีฐานสำคัญ
3. จัดทีมวิศวกร Standby ตลอด 24 ชั่วโมงมากกว่า 100 ชีวิต เพื่อติดตามและแก้ปัญหาอย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้เอไอเอสขอให้ความมั่นใจว่า เราจะดูแลเครือข่ายไร้สายตลอดจนบริการต่างๆ เพื่อให้ประชาชนใช้ติดต่อขอความช่วยเหลือได้อย่างไม่ติดขัดตลอดช่วงอุทกภัยนี้อย่างแน่นอน

View :1670

เอไอเอสพร้อมป้องกันเครือข่ายจากอุทกภัยน้ำท่วม

October 25th, 2011 No comments

นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ กล่าวถึงแผนการดูแลเครือข่ายใน สภาวะอุทกภัยว่า “ในยามเกิดภัยพิบัติ ไม่ว่าจากภัยธรรมชาติ หรือ จากเหตุอื่นๆ สิ่งที่ตามมาคือ ความต้องการสื่อสาร เพื่อขอความช่วยเหลือ และแจ้งข่าวระหว่างกัน โครง ข่ายสื่อสารที่มีความเสถียร และพร้อมที่จะเป็นสื่อกลางเสมอ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ดังเช่นในเหตุอุทกภัยครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นบททดสอบสำคัญถึงความมุ่งมั่นของผู้ให้บริการที่จะพิสูจน์ ให้เห็นถึงความพร้อมดังกล่าว”

“เครือข่ายและเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายได้กลายมาเป็นโครงข่ายสื่อสารหลักสำหรับ ประชาชน และหน่วยงานที่ส่งมอบความช่วยเหลือ เพราะสะดวก รวดเร็วต่อการใช้งาน เคลื่อนที่ได้ และสามารถเข้าถึงพื้นที่ภัยพิบัติได้อย่างไร้ข้อจำกัดที่สำคัญตอบสนองต่อการสื่อสารผ่าน Social Network ได้ดีที่สุด ดังจะเห็นถึงปริมาณการใช้งานทั้ง Voice และ Data ที่สูงขึ้นถึง 70% เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภัยพิบัติ”

นายวิเชียรกล่าว ย้ำว่า “เอไอเอส แม้จะเป็นผู้ให้บริการเอกชน แต่ตระหนักถึง ความสำคัญของระบบสื่อสารในท่ามกลางสถานการณ์ จึง ได้ทุ่มเททุกสรรพกำลังอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นกำลังคนและ Solutions ต่างๆ เพื่อให้สามารถเป็นช่องทางส่งมอบความช่วยเหลือและบริหารจัดการปัญหาอุทกภัยในครั้งนี้ให้ผ่านพ้นไปได้อย่างรวดเร็วที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันเครือข่ายและเตรียมการรองรับกรณีหากอุทกภัยส่งผลกระทบกับชุมสายและสถานีฐาน ซึ่งมีมาตรการหลัก ประกอบด้วย

1. เตรียมการป้องกันสถานีฐานและชุมสายที่มีความเสี่ยงน้ำท่วม โดยการยกระดับความสูงของอุปกรณ์ ตู้คอนเทนเนอร์ การวางแนวกระสอบทรายและกำแพงกันน้ำ

2. เตรียมระบบไฟสำรอง น้ำมันและการส่งกำลังบำรุง เพื่อให้ชุมสายยังคงให้บริการ ได้ตามปกติ ในกรณีที่มีการตัดไฟจากการไฟฟ้า

3. เตรียมแผน Business Continuity Planning ในการปรับ traffic การสื่อสารไปยังชุมสายอื่นๆให้สามารถรองรับและใช้งานแทนได้ทันที กรณีหากชุมสายแห่งนั้นไม่สามารถป้องกันน้ำเข้าในพื้นที่ได้

4. เตรียมสถานที่สำรองในกรณีเข้าปฏิบัติงานที่ศูนย์กลางการบริหารเครือข่าย ส่วนกลางไม่ได้ เพื่อให้วิศวกรสามารถดูแลเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง อย่างไม่ติดขัด รวมถึงประสานกับ Supplier ผู้ผลิตอุปกรณ์ Stand by อุปกรณ์และ Spare Part เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที

โดยแผนงานดังกล่าวเป็นแผนรองรับกรณีฉุกเฉิน ซึ่งได้มีการซักซ้อมอย่างสม่ำเสมอและนำมาปฏิบัติจริงแล้วในช่วงเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงตั้งแต่เหตุอุทกภัยครั้งนี้ได้เริ่มส่งผลกระทบในพื้นที่ต่าง จังหวัด ไม่ว่าจะเป็นที่ จังหวัดอุตรดิตถ์, ลพบุรี, อยุธยา เรื่อยมา ซึ่งผลกระทบหลักๆต่อเครือข่ายมือถือในกรณีน้ำท่วมจะเกิดจากสาเหตุ หลักเพียงประการเดียวคือ การตัดกระแสไฟจากการไฟฟ้าเพื่อป้องกันอันตรายแก่ประชาชน ส่วนความเสียหายของอุปกรณ์อันเกิดจากน้ำท่วม หรือ ปัญหาขัดข้องของเครือข่ายถือเป็นส่วนน้อยมาก อย่างไรก็ตามแม้ % ของเครือข่ายที่มีปัญหาจะน้อยมาก แต่เอไอเอสก็ไม่เคยละเลยที่จะแก้ปัญหา ดังนั้นการเตรียมระบบไฟฟ้าสำรองและการบริหาร Traffic ของเครือข่ายข้างเคียงให้สามารถ ส่งกำลังเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยเติมเต็ม Coverage ส่วนที่หายไป รวมถึงการรักษา Coverage ในพื้นที่ยุทธศาสตร์จึงเป็นเรื่องหลักของการป้องกันเครือข่ายในสถานการณ์นี้

“ส่วนการนำ Solutions ไร้สายเข้าไปสนับสนุนในเหตุการณ์อุทกภัยครั้งนี้ ประกอบด้วย

1. การเข้าไปในพื้นที่ศูนย์อพยพหลักๆ โดยตั้งจุดให้บริการโทรฟรี เติมเงินเคลื่อนที่ รวมถึงนำรถสถานีฐานเคลื่อนที่เข้าไปขยายความสามารถ ในการรองรับการใช้งาน

2. สนับสนุนการจัดตั้ง Call Center ให้แก่ภาครัฐเพื่อเป็นช่องทางรับเรื่อง ร้องทุกข์

3. นำ Solutions Mobile Wall Board เข้ามาประยุกต์ใช้ โดยให้อาสาสมัครใช้มือถือถ่ายวีดีโอคลิปจุดต่างๆและ เขียนข้อมูลประกอบ จากนั้นส่งผ่านเครือข่าย Data มายังศูนย์กลาง เพื่อประมวลข้อมูลและส่งต่อความช่วยเหลือ

4. สนับสนุน Data ให้แก่ Google เพื่อใช้เป็นช่อง ทางในการส่งข้อมูลจาก Application ของ Google ที่มีทั้งการแสดงข้อมูลจุดน้ำท่วม การขอความช่วยเหลือ

5. ติดตั้งเทคโนโลยี Wireless High Speed จาก Airnet ของเอไอเอส ให้แก่จุดสำคัญต่างๆที่เป็นศูนย์ ประสานงาน เช่น อยุธยาปาร์ค หรือที่อาคาร บบส. ทำให้เจ้าหน้าที่ประสานความช่วยเหลือผ่าน Wifi ทั้งบน เครือข่ายอินเตอร์เน็ตการโทรฟรีผ่าน VoIP

6. พัฒนาเมนู Flood Relief บน โมบายไลฟ์ พอร์ทัล เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวสา มารถเกาะติดสถานการณ์ข่าวสารความเคลื่อนไหวเรื่องน้ำท่วมอย่าง โดย ข้อมูลดังกล่าวประกอบด้วยความเคลื่อนไหวของสถานการณ์น้ำที่อัพ เดทล่าสุด จากทุกแหล่งข่าว, สายด่วน&รวมเบอร์ติดต่อฉุกเฉิน, สถานที่จอดรถฟรี, ภาพวีดีโอคลิป,ข้อ มูลที่เป็นประโยชน์ในการเตรียมความพร้อม, ฯลฯ

7. นำ Solutions “mPABX” หรือ Mobile Public Automatic Switching Board ที่เป็นเสมือนตู้สาขาอัตโนมัติ ทำให้ เบอร์โทรศัพท์มือถือเพียง 1 เบอร์สามารถมีคู่ สายรองรับได้ตั้งแต่ 20 คู่สายขึ้นไปเข้ามาสนับสนุนหน่วยงานที่มีความต้องการใช้คู่สายโทรศัพท์จำนวนมากอย่างเร่งด่วน ดังเช่นกรณีการนำเข้าไปใช้กับรายการ โทรทัศน์ในเครือ JSL ที่จัดรายการสดและเปิดให้ประชาชน โทรเข้ามาบริจาค

“นอกจากนี้การดูแลเครือข่ายและนำ Solutions เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการ เครือข่ายเพื่อให้สามารถเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารและแก้ปัญหา ในสถานการณ์อุทกภัยครั้งนี้แล้ว เอไอเอสยังร่วมช่วยเหลือประชาชน ผ่านทางการบริจาคเงินมากกว่า 35 ล้านให้แก่ รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ, ส่งมอบถุงยังชีพ, กระสอบทราย, น้ำดื่ม, เรือ , จัดตั้งโรงครัวเอไอเอสที่มีพนักงานอาสาสมัครทำอาหารกล่องให้บริการ ประชาชน, สนับสนุนซิมการ์ดพร้อมค่าโทรและตัวเครื่องโทรศัพท์ให้แก่ หน่วยงานอาสาสมัครต่างๆ รวมไปถึงการดูแลลูกค้า อาทิ การเติมเงินอัตโนมัติและ เติมวันให้แก่ลูกค้าพรีเพดด้วยงบประมาณเบื้องต้นมากกว่า 30 ล้านบาท, การขยายระยะเวลาตัดสัญญาณให้แก่ลูกค้าโพสต์เพด , การช่วยเหลือระบบสื่อสารให้แก่ลูกค้าองค์กร และการสนับสนุนพาร์ทเนอร์อย่างช่องทางการจัดจำหน่าย ทั้งนี้เพื่อให้ทุกๆส่วนสามารถก้าวผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน อย่างดีที่สุด” นายวิเชียร กล่าวในตอนท้าย

View :1367

ทรูมูฟ เอช ขยายบริการ 3G+ เร็วสูงสุด 42 Mbps ครอบคลุมรถไฟฟ้าใต้ดินตลอดเส้นทาง

October 25th, 2011 No comments


พร้อมเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ล่าสุด “ที่นี่กรุงเทพฯ”

ตอกย้ำผู้นำบริการ 3G ตัวจริง บนเครือข่ายใหม่ 3G+ ที่แรงกว่า เร็วกว่า ด้วยความเร็วสูงสุด 42 Mbps ร่วมกับ รถไฟฟ้า MRT ขยายบริการ 3G+ ให้ลูกค้าใช้งานได้ทุกสถานีและในรถไฟฟ้าใต้ดินตลอดเส้นทางได้แล้ววันนี้ อีกทั้งยังครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด* โดยเฉพาะทุกพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ พร้อมเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ “ที่นี่กรุงเทพฯ” เริ่มออกอากาศ 20 ตุลาคมนี้

นายสุภกิจ วรรธนะดิษฐ์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการพาณิชย์ บริษัท เรียล มูฟ จำกัด กล่าวว่า “ เอช ขยายบริการ 3G+ อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์การใช้งานของลูกค้าทุกกลุ่ม ล่าสุด ร่วมกับรถไฟฟ้า MRT เปิดบริการ 3G+ ให้คนกรุงเทพฯ ติดต่อสื่อสารได้สะดวกแม้จะเดินทางด้วยรถไฟฟ้าใต้ดิน สามารถใช้งานได้ทั้งที่สถานีและขณะโดยสารอยู่บนรถไฟฟ้าตลอดเส้นทาง ซึ่งรถไฟฟ้า MRT เป็นบริการขนส่งมวลชนที่คนกรุงเทพฯ ใช้บริการมากที่สุดช่องทางหนึ่ง โดยการเปิดบริการ 3G+ ที่รถไฟฟ้า MRT ตลอดเส้นทางครั้งนี้ เป็นการตอกย้ำผู้นำบริการ 3G ของทรูมูฟ เอช ที่ให้บริการครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด ทุกพื้นที่ ทุกเขตทั่วกรุงเทพฯ นอกจากนี้ ยังเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ “ที่นี่กรุงเทพฯ” สื่อถึงเครือข่าย 3G+ เร็วสูงสุด 42 Mbps ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด ทั่วกรุงเทพฯ และอีก 16 จังหวัดทั่วไทย รวมถึงบริการ Wi-Fi ความเร็วสูงสุด 8 Mbps** ครอบคลุม 100,000 จุดทั้งในและต่างประเทศ ติดตามชมภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ได้ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2554”

ทั้งนี้ ทรูมูฟ เอช เปิดให้ ด้วยความเร็วสูงสุด 42 Mbps ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด ทั่วกรุงเทพฯ และอีก 16 จังหวัดทั่วไทย ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ อยุธยา นครปฐม สมุทรสาคร ชลบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี เชียงใหม่ สงขลา สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต นครศรีธรรมราช และกระบี่ รวมถึงทางหลวงสายหลัก 4 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-ชลบุรี-พัทยา, กรุงเทพฯ-เขาใหญ่, กรุงเทพฯ-อยุธยา และกรุงเทพฯ-หัวหิน อีกทั้งยังสามารถใช้ ได้ที่สนามบินหลัก 10 สนามบินทั่วประเทศ รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ 42 แห่ง อาทิ พัทยา, หัวหิน, เกาะเสม็ด, เกาะพีพี, ภูกระดึง, หาดไร่เลย์, ดอยอินทนนท์, ดอยตุง เป็นต้น

* การให้บริการ 3G+ ขึ้นอยู่กับพื้นที่การให้บริการ และอุปกรณ์ที่รองรับ
** ความเร็วในการใช้บริการ 3G+ ขึ้นอยู่กับปริมาณผู้ใช้งาน ณ จุดที่ใช้งานและอุปกรณ์ที่รองรับ

View :2327

“เออาร์ไอพี” เลื่อนจัด คอมมาร์ต คอมเทค 2011 จาก 3-6 พ.ย.ไปเป็น 24 – 27 พ.ย. 2554

October 25th, 2011 No comments

นายปฐม อินทโรดม กรรมการบริหารและผู้จัดการทั่วไป บริษัท เออาร์ไอพี จำกัด (มหาชน) ผู้จัดงาน “คอมมาร์ต” เปิดเผยว่า ภายหลังจากได้หารือกับพันธมิตรผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าไอที เกี่ยวกับสถานการณ์อุทกภัยน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทางบริษัทจึงตัดสินใจพิจารณาเลื่อนกำหนดการจัดงานคอมมาร์ต คอมเทค ไทยแลนด์ 2011 จากเดิมที่กำหนดไว้วันที่ 3 – 6 พ.ย. 54 ที่ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ออกไป

“จากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นและค่อนข้างรุนแรงในขณะนี้ ส่งผลให้ลูกค้าจากต่างจังหวัดและปริมณฑลไม่สะดวกในการเดินทางมาร่วมงาน เราจึงจำเป็นที่จะต้องเลื่อนการจัดงานคอมมาร์ต คอมเทค ไทยแลนด์ 2011 ออกไปก่อน และคงต้องติดตามดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด”

ทั้งนี้ เนื่องจากความไม่สะดวกในการเดินทางและเพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าชมงานและพันธมิตรผู้ร่วมจัดงาน โดยมีกำหนดการจัดงาน “คอมมมาร์ต คอมเทค ไทยแลนด์ 2011” ระหว่างวันที่ 24 – 27 พฤศจิกายน 2554 เวลา 10.00 – 20.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่วงที่เหมาะสม เพราะขณะนี้ปัญหาน้ำท่วมได้สร้างความเดือดร้อนและความเสียหายให้กับประชาชนและภาคอุตสาหกรรมไอทีของประเทศ

View :1323

ไอดีซีระบุตลาดจีนและอินเดียช่วยกระตุ้นให้ยอดขายพีซีในเอเชียแปซิฟิกให้เติบโต 2 หลักในไตรมาสที่ 3 ปีนี้

October 25th, 2011 No comments

ผลการวิจัยเบื้องต้นของไอดีซีชี้ให้เห็นว่าตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นญี่ปุ่น) ในไตรมาสที่ 3 ของปี้นี้ได้เติบโตขึ้น 6% จากไตรมาสที่ 2 และขยายตัวถึง 13% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยมียอดจำหน่ายทั้งหมดกว่า 31.9 ล้านเครื่อง ซึ่งถือว่าเติบโตเกินกว่าที่ไอดีซีคาดการณ์ไว้ 2%

ผู้บริโภคในประเทศจีนได้หันกลับมาจับจ่ายซื้อสินค้าพีซีอีกครั้งหลังจากที่กระแสของมีเดีย แท็บเล็ทได้เริ่มอ่อนตัวลง ในขณะเดียวกันภาคธุรกิจเองก็มีการลงทุนซื้อพีซีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือ จากนี้ตลาดอินเดียเองก็ขยายตัวขึ้น อันเนื่องมาจากการที่อุปสงค์ในฝั่งของผู้บริโภคนั้นได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากที่ซบเซามาตลอดในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าการลงทุนของภาคเอกชนจะอยู่ในระดับต่ำอันเป็นผลมาจากความกังวลในเรื่องของวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกก็ตาม

นายไบรอัน มา รองประธานฝ่ายงานวิจัยตลาดอุปกรณ์ต่อพ่วงประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกของไอดีซีเผยว่า “ถึงแม้ว่าจะเป็นการดีที่เราได้เห็นยักษ์ใหญ่อย่างอินเดียและจีนช่วยขับเคลื่อนตลาดในภูมิภาค แต่บทบาทของประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ เช่นประเทศไทยก็เริ่มเพิ่มความสำคัญมากขึ้นเช่นกัน ถึงแม้ ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะยังคงไม่แน่นอน แต่การบริโภคก็ยังถือว่าคงตัวอยู่ในระดับสูง ซึ่งถ้าหากผลกระทบจากน้ำท่วมในประเทศไทยนั้นไม่ได้ขยายตัวเป็นวงกว้าง ไอดีซีเชื่อว่าภาพรวมของตลาดทั้งภูมิภาคน่าจะดีกว่าที่ไอดีซีได้คาดการณ์ไว้ ซึ่งก็คือโตเกินกว่า 12% นั่นเอง”

เลอโนโวยังคงรักษาตำแหน่งผู้นำตลาดในประเทศจีน และยังคงขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำทั้งในตลาดประเทศจีนและตลาดโลก ขณะเดียวกันอัสซุสที่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องของสินค้าคงคลังได้สำเร็จก็ทำผลงานได้ดีในประเทศจีนทั้งในเมืองใหญ่และจังหวัดต่างๆ และถึงแม้ ว่าผลงานของเดลล์จะทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 แต่ผู้ผลิตรายนี้ก็ยังคงลงทุนต่อเนื่องในการขยายส่วนแบ่งตลาดในประเทศจีน และรักษาส่วนแบ่งตลาดที่มากที่สุดในประเทศอินเดียได้สำเร็จ

View :1575

เอไอเอสพร้อมป้องกันเครือข่ายจากอุทกภัยน้ำท่วม

October 21st, 2011 No comments

นายวิเชียร  เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ กล่าวถึงแผนการดูแลเครือข่ายใน สภาวะอุทกภัยว่า “ในยามเกิดภัยพิบัติ ไม่ว่าจากภัยธรรมชาติ หรือ จากเหตุอื่นๆ สิ่งที่ตามมาคือ ความต้องการสื่อสาร เพื่อขอความช่วยเหลือ และแจ้งข่าวระหว่างกัน   โครง ข่ายสื่อสารที่มีความเสถียร และพร้อมที่จะเป็นสื่อกลางเสมอ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ดังเช่นในเหตุอุทกภัยครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นบททดสอบสำคัญถึงความมุ่งมั่นของผู้ให้บริการที่จะพิสูจน์ ให้เห็นถึงความพร้อมดังกล่าว”

“เครือข่ายและเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายได้กลายมาเป็นโครงข่ายสื่อสารหลักสำหรับ ประชาชน และหน่วยงานที่ส่งมอบความช่วยเหลือ  เพราะสะดวก รวดเร็วต่อการใช้งาน เคลื่อนที่ได้ และสามารถเข้าถึงพื้นที่ภัยพิบัติได้อย่างไร้ข้อจำกัดที่สำคัญตอบสนองต่อการสื่อสารผ่าน Social Network ได้ดีที่สุด ดังจะเห็นถึงปริมาณการใช้งานทั้ง Voice และ Data ที่สูงขึ้นถึง 70% เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภัยพิบัติ”

นายวิเชียรกล่าว ย้ำว่า “เอไอเอส แม้จะเป็นผู้ให้บริการเอกชน  แต่ตระหนักถึง ความสำคัญของระบบสื่อสารในท่ามกลางสถานการณ์  จึง ได้ทุ่มเททุกสรรพกำลังอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นกำลังคนและ Solutions ต่างๆ เพื่อให้สามารถเป็นช่องทางส่งมอบความช่วยเหลือและบริหารจัดการปัญหาอุทกภัยในครั้งนี้ให้ผ่านพ้นไปได้อย่างรวดเร็วที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันเครือข่ายและเตรียมการรองรับกรณีหากอุทกภัยส่งผลกระทบกับชุมสายและสถานีฐาน ซึ่งมีมาตรการหลัก ประกอบด้วย

1. เตรียมการป้องกันสถานีฐานและชุมสายที่มีความเสี่ยงน้ำท่วม โดยการยกระดับความสูงของอุปกรณ์ ตู้คอนเทนเนอร์ การวางแนวกระสอบทรายและกำแพงกันน้ำ

2. เตรียมระบบไฟสำรอง น้ำมันและการส่งกำลังบำรุง เพื่อให้ชุมสายยังคงให้บริการ ได้ตามปกติ ในกรณีที่มีการตัดไฟจากการไฟฟ้า

3. เตรียมแผน Business Continuity Planning ในการปรับ traffic การสื่อสารไปยังชุมสายอื่นๆให้สามารถรองรับและใช้งานแทนได้ทันที กรณีหากชุมสายแห่งนั้นไม่สามารถป้องกันน้ำเข้าในพื้นที่ได้

4. เตรียมสถานที่สำรองในกรณีเข้าปฏิบัติงานที่ศูนย์กลางการบริหารเครือข่าย ส่วนกลางไม่ได้ เพื่อให้วิศวกรสามารถดูแลเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง อย่างไม่ติดขัด รวมถึงประสานกับ Supplier ผู้ผลิตอุปกรณ์ Stand by อุปกรณ์และ Spare Part เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที

            โดยแผนงานดังกล่าวเป็นแผนรองรับกรณีฉุกเฉิน ซึ่งได้มีการซักซ้อมอย่างสม่ำเสมอและนำมาปฏิบัติจริงแล้วในช่วงเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงตั้งแต่เหตุอุทกภัยครั้งนี้ได้เริ่มส่งผลกระทบในพื้นที่ต่าง จังหวัด ไม่ว่าจะเป็นที่ จังหวัดอุตรดิตถ์, ลพบุรี, อยุธยา เรื่อยมา ซึ่งผลกระทบหลักๆต่อเครือข่ายมือถือในกรณีน้ำท่วมจะเกิดจากสาเหตุ หลักเพียงประการเดียวคือ การตัดกระแสไฟจากการไฟฟ้าเพื่อป้องกันอันตรายแก่ประชาชน  ส่วนความเสียหายของอุปกรณ์อันเกิดจากน้ำท่วม หรือ ปัญหาขัดข้องของเครือข่ายถือเป็นส่วนน้อยมาก อย่างไรก็ตามแม้ % ของเครือข่ายที่มีปัญหาจะน้อยมาก แต่เอไอเอสก็ไม่เคยละเลยที่จะแก้ปัญหา ดังนั้นการเตรียมระบบไฟฟ้าสำรองและการบริหาร Traffic ของเครือข่ายข้างเคียงให้สามารถ ส่งกำลังเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยเติมเต็ม Coverage ส่วนที่หายไป รวมถึงการรักษา Coverage ในพื้นที่ยุทธศาสตร์จึงเป็นเรื่องหลักของการป้องกันเครือข่ายในสถานการณ์นี้

            “ส่วนการนำ Solutions ไร้สายเข้าไปสนับสนุนในเหตุการณ์อุทกภัยครั้งนี้ ประกอบด้วย

1. การเข้าไปในพื้นที่ศูนย์อพยพหลักๆ โดยตั้งจุดให้บริการโทรฟรี เติมเงินเคลื่อนที่ รวมถึงนำรถสถานีฐานเคลื่อนที่เข้าไปขยายความสามารถ ในการรองรับการใช้งาน

2. สนับสนุนการจัดตั้ง Call Center ให้แก่ภาครัฐเพื่อเป็นช่องทางรับเรื่อง ร้องทุกข์

3. นำ Solutions Mobile Wall Board เข้ามาประยุกต์ใช้ โดยให้อาสาสมัครใช้มือถือถ่ายวีดีโอคลิปจุดต่างๆและ เขียนข้อมูลประกอบ จากนั้นส่งผ่านเครือข่าย Data มายังศูนย์กลาง เพื่อประมวลข้อมูลและส่งต่อความช่วยเหลือ

4. สนับสนุน Data ให้แก่ Google เพื่อใช้เป็นช่อง ทางในการส่งข้อมูลจาก Application ของ Google ที่มีทั้งการแสดงข้อมูลจุดน้ำท่วม การขอความช่วยเหลือ

5. ติดตั้งเทคโนโลยี Wireless High Speed จาก Airnet ของเอไอเอส ให้แก่จุดสำคัญต่างๆที่เป็นศูนย์ ประสานงาน เช่น อยุธยาปาร์ค หรือที่อาคาร บบส. ทำให้เจ้าหน้าที่ประสานความช่วยเหลือผ่าน Wifi ทั้งบน เครือข่ายอินเตอร์เน็ตการโทรฟรีผ่าน VoIP

6. พัฒนาเมนู   Flood Relief  บน โมบายไลฟ์ พอร์ทัล  เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวสา มารถเกาะติดสถานการณ์ข่าวสารความเคลื่อนไหวเรื่องน้ำท่วมอย่าง โดย ข้อมูลดังกล่าวประกอบด้วยความเคลื่อนไหวของสถานการณ์น้ำที่อัพ เดทล่าสุด จากทุกแหล่งข่าว, สายด่วน&รวมเบอร์ติดต่อฉุกเฉิน, สถานที่จอดรถฟรี,  ภาพวีดีโอคลิป,ข้อ มูลที่เป็นประโยชน์ในการเตรียมความพร้อม, ฯลฯ

7. นำ Solutions “mPABX” หรือ Mobile Public Automatic Switching Board  ที่เป็นเสมือนตู้สาขาอัตโนมัติ ทำให้ เบอร์โทรศัพท์มือถือเพียง 1 เบอร์สามารถมีคู่ สายรองรับได้ตั้งแต่ 20 คู่สายขึ้นไปเข้ามาสนับสนุนหน่วยงานที่มีความต้องการใช้คู่สายโทรศัพท์จำนวนมากอย่างเร่งด่วน   ดังเช่นกรณีการนำเข้าไปใช้กับรายการ โทรทัศน์ในเครือ JSL ที่จัดรายการสดและเปิดให้ประชาชน โทรเข้ามาบริจาค

“นอกจากนี้การดูแลเครือข่ายและนำ Solutions เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการ เครือข่ายเพื่อให้สามารถเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารและแก้ปัญหา ในสถานการณ์อุทกภัยครั้งนี้แล้ว เอไอเอสยังร่วมช่วยเหลือประชาชน ผ่านทางการบริจาคเงินมากกว่า 35 ล้านให้แก่ รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ, ส่งมอบถุงยังชีพ, กระสอบทราย, น้ำดื่ม, เรือ , จัดตั้งโรงครัวเอไอเอสที่มีพนักงานอาสาสมัครทำอาหารกล่องให้บริการ ประชาชน, สนับสนุนซิมการ์ดพร้อมค่าโทรและตัวเครื่องโทรศัพท์ให้แก่ หน่วยงานอาสาสมัครต่างๆ รวมไปถึงการดูแลลูกค้า อาทิ การเติมเงินอัตโนมัติและ เติมวันให้แก่ลูกค้าพรีเพดด้วยงบประมาณเบื้องต้นมากกว่า 30 ล้านบาท, การขยายระยะเวลาตัดสัญญาณให้แก่ลูกค้าโพสต์เพด , การช่วยเหลือระบบสื่อสารให้แก่ลูกค้าองค์กร และการสนับสนุนพาร์ทเนอร์อย่างช่องทางการจัดจำหน่าย ทั้งนี้เพื่อให้ทุกๆส่วนสามารถก้าวผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน อย่างดีที่สุด” นายวิเชียร กล่าวในตอนท้าย

View :1596