Archive

Archive for June, 2012

ทรู ดิจิตอล พลัส จับมือ มหาวิทยาลัยรังสิต จัดโครงการ “Good Game Developer Projects 2012″

June 24th, 2012 No comments

สานฝันคนสร้างเกมให้เป็นจริง ชิงเงินรางวัลมูลค่าสูงสุด 500,000 บาท

กลุ่มทรู โดย ดิจิตอล พลัส และมหาวิทยาลัยรังสิต เปิดโครงการ Good Game
Developer Projects 2012 เวทีแข่งขันประกวดการสร้างสรรค์เกมคุณภาพ ให้พัฒนา
ต่อยอดก้าวสู่ระดับมืออาชีพอย่างเต็มภาคภูมิ เฟ้นหานักพัฒนาเกมรุ่นใหม่ พิสูจน์
ศักยภาพเด็กไทยให้สามารถก้าวสู่ตลาดระดับสากล ชิงเงินรางวัลมูลค่าสูงสุด
500,000 บาท พร้อมโอกาสร่วมงานกับบริษัท ทรู ดิจิตอล พลัส จำกัด เพื่อผลิตผลงาน
ป้อนสู่อุตสาหกรรมเกมอย่างต่อเนื่อง สนใจสมัครผ่านเว็บไซต์ www.ggdp.in.th
ตั้งแต่วันนี้ – 4 กรกฎาคม 2555

นายธาดา เศวตศิลา ผู้อำนวยการกลุ่ม ด้านลูกค้าสถาบันการศึกษา บริษัท ทรู คอร์ปอ
เรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “กลุ่มทรูให้ความสำคัญเรื่องนวัตกรรมและการ
สนับสนุนให้มีการพัฒนานวัตกรรมมาโดยตลอด ด้วยเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าคนไทย
เยาวชนไทย มีศักยภาพ และความพร้อมที่จะสร้างสรรค์ผลงานให้เป็นที่ยอมรับในระดับ
โลก จึงเป็นแรงบันดาลใจที่จะเปิดเวทีใหม่ภายใต้โครงการ Good Game Developer
Projects 2012 สานฝันนักพัฒนาเกมสู่มืออาชีพ โดยความร่วมมือระหว่าง ทรู ดิจิตอล
พลัส ผู้นำธุรกิจเกมออนไลน์ และมหาวิทยาลัยรังสิต สถาบันการศึกษาระดับนานาชาติ
ที่ตั้งใจจัดขึ้นเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมนักพัฒนาเกมรุ่นใหม่ให้แสดงความคิด
สร้างสรรค์เกมหลากหลายรูปแบบ ซึ่งผลงานเกมที่ได้รับคัดเลือกจะถูกนำไปต่อยอดและ
เปิดให้บริการจริง โดย ทรู ดิจิตอล พลัส จะให้การสนับสนุนโครงการอย่างครบวงจร
ทั้งด้านการตลาด, ทีมงานบริการและคอลเซ็นเตอร์, ระบบบิลลิ่ง รวมทั้งเซิฟเวอร์
ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ชนะการประกวดทุกรางวัลจะมีโอกาสได้ร่วมงานกับ ทรู ดิจิตอล
พลัส ในฐานะนักพัฒนาเกมมืออาชีพ เพื่อพัฒนาผลงานเกมให้สามารถเปิดให้บริการจริง
ได้ต่อไป จึงนับว่าเป็นโอกาสสำคัญของผู้ที่สนใจหรือมีความใฝ่ฝันอยากเป็นนัก
พัฒนาเกม ได้เข้ามาเรียนรู้และหาประสบการณ์ใหม่ๆ รวมทั้งเป็นเวทีที่ผู้เข้าร่วม
โครงการจะได้แสดงฝีมือและความสามารถของตนเอง เพื่อก้าวไปสู่การเป็นนักออกแบบเกม
มืออาชีพ และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาวงการเกมไทยให้ก้าวไปสู่ระดับสากล”

ทั้งนี้ Good Game Developer Projects 2012 เป็นโครงการที่ ทรู ดิจิตอล พลัส
ตั้งใจจัดขึ้นเพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำธุรกิจเกมออนไลน์ และผู้ให้บริการ Good
Game (GG) ที่เน้นกลยุทธ์สร้างความต่างอย่างมีระดับ และความโดดเด่นของการเล่น
เกมดี สร้างสังคมดี โดยคาดว่าจะมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก
และเป็นการนำร่องไปสู่ความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมเกมของประเทศไทยต่อไปในอนาคต”

ผศ.ดร.นเรฏฐ์ พันธราธร รองอธิบการดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า “
ปัจจุบันอุตสาหกรรมเกมทั้งในประเทศและต่างประเทศมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และ
มีแนวโน้มที่จะสร้างรายได้ให้กับประเทศได้อย่างมากในอนาคต มหาวิทยาลัยรังสิตจึง
เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้างนักพัฒนาเกมขึ้นในประเทศไทย โดยจัดตั้งคณะ
เทคโนโลยีและสารสนเทศ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์เกมส์มัลติมีเดีย เพื่อให้ความรู้แก่
นักศึกษาที่สนใจ การได้รับโอกาสเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญตลอดจนมีประสบการณ์ในการ
พัฒนาเกมที่มีคุณภาพ จะส่งเสริมความรู้จนก้าวไปสู่การเป็นนักพัฒนาเกมมืออาชีพ
ดังนั้น มหาวิทยาลัยรังสิตจึงได้ร่วมมือกับบริษัท ทรู ดิจิตอล พลัส จำกัด จัด
โครงการ Good Game Developer Projects 2012 ขึ้นมา เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการ
ส่งเสริมเด็กไทยให้ได้พิสูจน์ศักยภาพและใช้ความคิดสร้างสรรค์จนเกิดการพัฒนาและ
ก้าวหน้าสู่ระดับมืออาชีพ”

สำหรับรางวัลในโครงการ Good Game Developer Projects 2012 นั้นแบ่งออกเป็น
• รางวัลชนะเลิศ เงินสด 3 แสนบาท จำนวน 1 รางวัล
• รางวัลรองชนะเลิศ เงินสด 1 แสนบาท จำนวน 2 รางวัล
• และรางวัลพิเศษ GGDP เงินสด 2 แสนบาท จำนวน 1 รางวัล

ทั้งนี้ ทีมที่ผ่านการคัดเลือกในรอบแรกทุกทีมจะได้รับเงินสนับสนุนทีมละ 5 หมื่น
บาท สำหรับนำไปใช้ต่อยอดในการพัฒนาเกมเพื่อประกวดในรอบตัดสินอีกด้วย ในส่วน
คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมประกวด คือ ประชาชนทั่วไปที่สนใจ โดยสมัครเข้าร่วมแข่ง
ขันเป็นทีม แต่ละทีมมีสมาชิกได้ 1-8 คน ทั้งนี้หัวหน้าทีมต้องถือสัญชาติไทย ใน
ส่วนของการแข่งขันจะถูกแบ่งออกเป็น 2 รอบ ได้แก่ รอบคัดเลือก เป็นการนำเสนอ
Game Design and Development Plan และรอบตัดสิน ที่ต้องพัฒนาเกมเพื่อให้สามารถ
ใช้งานและสร้างรายได้เกิดขึ้นจริง ตามเกณฑ์การตัดสินของคณะกรรมการ
ยึดกติกาและเงื่อนไขที่กองประกวดได้กำหนดไว้เป็นหลัก โดยการประกวดในครั้งนี้
ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ มาร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน อาทิ นายสำเร็จ
วจนะเสถียร ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท CASA W Production จำกัด ผู้ผลิตเกม
สำหรับ Playstation 3, XBox360, PSVita, Nintendo 3DS, Nintendo Wii และ
Nintendo DS และอาจารย์ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด

ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมแข่งขันในโครงการ Good Game Developer Projects 2012
ได้ที่เว็บไซต์www.ggdp.in.th ตั้งแต่วันนี้ – 4 กรกฎาคม 2555 หรือสอบถามราย
ละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2686-2222 ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมแข่งขัน
สามารถเข้ารับการสัมมนาอบรมให้ความรู้และอธิบายรายละเอียดในการแข่งขันได้ในวัน
ที่
7 กรกฎาคม 2555 ณ มหาวิทยาลัยรังสิต

View :1682
Categories: Press/Release Tags:

วัน-ทู-คอล! ชวนน้องๆ มหาวิทยาลัย ประกวดแผนพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยว ชิงทุนการศึกษา พร้อมร่วมแคมป์พัฒนาทักษะธุรกิจ รวมมูลค่ากว่า 600,000 บาท

June 22nd, 2012 No comments


นายอเนก อนันต์วัฒนพงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานบริหารกลุ่มลูกค้าพรีเพด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า “ วัน-ทู-คอล! จัดโครงการ ”วัน-ทู-คอล! แบรนด์เอจ อวอร์ด” ประกวดแผนพัฒนาธุรกิจที่มุ่งสนับสนุนกิจกรรมสำหรับนิสิต – นักศึกษา โดยการมอบทุนการศึกษาและการอบรมให้ความรู้ที่หาไม่ได้จากในห้องเรียน ซึ่งจัดมาจนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 6 โดยมีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นและให้ความสำคัญในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น (OTOP) เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นสินค้าและบริการต่างๆ ในชุมชน ผ่านช่องทางการตลาดในรูปแบบต่างๆ

สำหรับปีนี้ วัน-ทู-คอล! ตระหนักถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะปัญหาภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายอย่างมากมาย และส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในทุกภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวด้วย เนื่องจากทำให้ผู้บริโภคลดปริมาณการท่องเที่ยวและการใช้จ่าย ซึ่งทำให้รายได้ในชุมชนและท้องถิ่นต่างๆ ลดลง

ดังนั้นเพื่อร่วมส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ ซึ่งถือเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจในชุมชน ทำให้ชุมชนมีรายได้ เกิดการสร้างงาน โครงการ ”วัน-ทู-คอล! แบรนด์เอจ อวอร์ด ปีที่ 6” ในครั้งนี้จึงจัดขึ้นในตอน “Tic Tac Tour … ท่องทั่วไทย รีบแชะ รีบแชร์ แล้วโชว์ไอเดีย” โดยให้นิสิต นักศึกษานำเสนอแผนการสื่อสารการตลาด (IMC Plan) เพื่อเชิญชวนให้ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยว และแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ที่น่าสนใจในภูมิภาคของตนเองให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายผ่านการพักผ่อน-เที่ยว-ชม-ชิม-ช้อป โอท็อปไทย

โดยโครงการดังกล่าวเปิดรับสมัคร นิสิต นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ เข้าร่วมประลองไอเดียอิสระ โดยรวมกลุ่มสมาชิกในทีมไม่เกิน 4 คน สมัครเข้าร่วมโครงการ เขียนแผนพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยว ชิงรางวัลทุนการศึกษา พร้อมโอกาสในการเข้าร่วม Camp Workshop ที่เขาใหญ่ เพื่อพัฒนาทักษะด้านธุรกิจ โดยวิทยาการชั้นนำด้านการตลาด ให้น้องๆ สามารถนำความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับตลอดทั้งโครงการ ไปต่อยอดการพัฒนาแผนธุรกิจในการประกอบอาชีพในอนาคต เพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเอง พร้อมชิงทุนการศึกษารวมกว่า 600,000 บาท

นอกจากนี้ก่อนเข้าร่วมโครงการ วัน-ทู-คอล! ยังจัดกิจกรรม Road Show ขึ้นทุกภาคทั่วประเทศ โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงมาให้ความรู้ มุมมองทางการตลาดใหม่ๆ รวมถึงเทคนิคการเขียนแผนสื่อสารการตลาด (IMC) ของการท่องเที่ยวให้กับน้องๆ และวิทยากรพิเศษจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมาให้ความรู้สินค้าและสถานที่ท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาคอีกด้วย

สำหรับนิสิต นักศึกษาที่สนใจ เพียงดาวน์โหลดใบสมัครพร้อมดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.12callbrandageaward.com ตั้งแต่วันนี้ – 31 ก.ค.55 หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ 02-129-3857-8 ต่อ 212-214” นายอเนก กล่าวสรุป

View :1557
Categories: Press/Release Tags:

ทรู ยินดีให้ความร่วมมือ กสท. ในการปรับแก้สัญญาตามมติ กทค.

June 22nd, 2012 No comments

ตามที่มีการรายงานข่าวผ่านสื่อมวลชน เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2555 เกี่ยวกับมติของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ที่มีคำสั่งให้ บมจ. กสท โทรคมนาคม ดำเนินการแก้ไขข้อสัญญา โครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ระบบ HSPA ระหว่าง บมจ. กสท โทรคมนาคม และกลุ่มทรู เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 นั้น

นายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจโมบายล์ บมจ. คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า บริษัทฯ ยินดีให้ความร่วมมือกับ บมจ. กสท โทรคมนาคม ในการดำเนินการปรับปรุงรายละเอียดข้อสัญญาให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น และให้สอดคล้องกับมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ตามมติของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม โดยประเด็นต่างๆ ที่ กทค. มีคำสั่งให้ ดำเนินการแก้ไขนั้น เป็นข้อปฏิบัติที่บริษัทฯ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด บริษัทฯ จึงมั่นใจว่า และทรู จะสามารถร่วมมือกันในการดำเนินการดังกล่าวให้เรียบร้อยได้ด้วยดี และบริษัทฯ ขอยืนยันกับลูกค้าว่า การให้บริการทรูมูฟ เอช 3G+ ยังคงเป็นไปตามปกติ ขอให้ลูกค้ามั่นใจว่าจะไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด

View :1395
Categories: 3G Tags: ,

ก.ไอซีที เข้าร่วมประชุมการใช้ประโยชน์อวกาศส่วนนอกโดยสันติ ครั้งที่ 55

June 21st, 2012 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เข้าร่วมการประชุมสมัชชาคณะกรรมการว่าด้วยการใช้ประโยชน์อวกาศส่วนนอกโดยสันติ ครั้งที่ 55 (The 55th Session of General Assembly of The Committee on Peaceful Uses Outer Space) ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย โดยการประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมใหญ่ประจำปีของคณะกรรมการว่าด้วยการใช้ประโยชน์อวกาศส่วนนอกโดยสันติ (COPUOS) ซึ่งเป็นองค์กรภายใต้สำนักงานเลขาธิการสหประชาชาติ ที่มีบทบาทสำคัญทางด้านกิจการอวกาศทุกสาขา ได้แก่ ด้านการสื่อสาร ด้านการกำหนดพิกัดทางภูมิศาสตร์ การสำรวจทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และด้านกฎหมายอวกาศ ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก เมื่อปี 2547 โดยปัจจุบัน COPUOS มีจำนวนสมาชิก 71 ประเทศ และมีประเทศในกลุ่มอาเซียนร่วมเป็นสมาชิก 5 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

สำหรับการประชุมฯ ครั้งนี้ กระทรวงไอซีที ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมเพื่อรายงานกิจกรรมการใช้ประโยชน์อวกาศ ที่กระทรวงฯ ได้ดำเนินการตลอดปี 2554 ที่ผ่านมา ได้แก่ 1. โครงการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากดาวเทียม SMMS (Small Multi-Mission Satellite) ซึ่งกระทรวงไอซีที ได้ร่วมกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำข้อมูลดาวเทียม SMMS มาใช้เพื่อการประมาณเนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตพืชเศรษฐกิจ โดยได้นำร่องในโครงการพยากรณ์ผลผลิตข้าว ด้วยการใช้ข้อมูลดาวเทียมร่วมกับการตั้งแปลงสังเกต ซึ่งการดำเนินงานจะมีการนำข้อมูลดาวเทียม SMMS มาใช้ในการวิเคราะห์เนื้อที่เพาะปลูกข้าว และค่าดัชนี พืชพรรณ (Vegetation Index : VI) เพื่อหาความอุดมสมบูรณ์ของต้นข้าว และมีการวัดค่าการสะท้อนแสงจากเครื่องมือ Spectrometer ในทุกระยะการเจริญเติบโตของข้าว เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ช่วงการเจริญเติบโตของข้าว ซึ่งถือเป็นแนวทางใหม่ในการพัฒนาการพยากรณ์ผลผลิตให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นต่อไป

นอกจากนี้ ยังได้มีการตั้งสถานีรับสัญญาณดาวเทียมจุฬาภรณ์ขึ้น ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยใช้งบประมาณดำเนินการจัดสร้างสถานีจำนวน 60 ล้านบาท เพื่อนำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม SMMS ที่เป็นภาพในเวลาจริง หรือ Real Time ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ภายใน 1 ชั่วโมง และยังทำให้สามารถเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของภูมิประเทศได้อย่างชัดเจน จึงได้มีการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเตือนภัยพิบัติ สำรวจทรัพยากรธรรมชาติ การคาดการณ์การเพาะปลูก การเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมก่อนและหลัง การคาดคะเนผลผลิตทางการเกษตร และการบุกรุกป่า

2. โครงการความร่วมมือภายใต้อนุสัญญา APSCO ประเทศไทยในฐานะรัฐสมาชิกขององค์การ APSCO ได้สนับสนุนกิจกรรมและโครงการความร่วมมือภายใต้อนุสัญญา APSCO มาโดยตลอด ซึ่งได้แก่ 1) Proposal for Spatial Data Sharing Service Platform and Its Application Pilot Project. 2) Proposal for APSCO Applied High Resolution Satellite Project. 3) Research on Atmospheric Effects on: Ka Band Rain Attenuation Modelling; and Ionospheric Modelling through Study of Radio Wave Propagation and Solar Activity. 4) Development of Asia-Pacific Ground Based Optical Satellite Observation System (APOSOS). 5) Feasibility Study of the Applications of Compatible Navigation Terminal System. และ 6) Education and Training in the Applications of Satellite Remote Sensing Data, in particular from HJ-1 (SMMS) and Thailand Earth Observation Satellite (THEOS).

พร้อมกันนี้ ประเทศไทย ยังได้รับเกียรติจากที่ประชุมคณะมนตรีองค์การ APSCO ให้เป็นแกนนำในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ Research on Atmospheric Effects ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้โครงการดังกล่าว
3. โครงการดาวเทียมไทยคม 6 กระทรวงไอซีที ได้เห็นชอบให้ บมจ.ไทยคม ในฐานะผู้รับสัมปทานดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ดำเนินการจัดสร้างดาวเทียมไทยคม 6 ซึ่งเป็นดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 5 โดยคาดว่าจะส่งขึ้นสู่วงโคจรที่ 78.5 องศาตะวันออก ประมาณกลางปี 2556 ดาวเทียมดังกล่าวจะมีอายุการใช้งาน 15 ปี มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป และใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัย หรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง

โดยกิจกรรมการใช้ประโยชน์อวกาศดังกล่าว ที่กระทรวงฯ ได้ดำเนินการในปี 2554 นั้น จะได้รับการรวบรวมและจัดทำเป็นรายงานประจำปีเกี่ยวกับกิจกรรมทางอวกาศของประเทศไทยต่อไป

View :1280

อัลตร้า ไฮ-สปีด อินเทอร์เน็ต จากทรูออนไลน์ เสริมบริการใหม่ อัพสปีดรายเดือน (Up Speed) สั่งเพิ่มความเร็วแรงได้อีก สูงสุด 5 Mbps เพียง 100 บาท

June 21st, 2012 No comments

อัลตร้า ไฮ-สปีด อินเทอร์เน็ต จากทรูออนไลน์ เปิดบริการเสริมใหม่ครั้งแรกในไทย อัพสปีดรายเดือน (Up Speed) เอาใจลูกค้าอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั้งแบบผ่านสายโทรศัพท์ (ADSL) และผ่านสายเคเบิ้ล (DOCSIS) ทั่วประเทศ ให้เติมความเร็วเน็ตได้เฉพาะเดือนที่ต้องการใช้งาน เพิ่มความเร็วสูงสุดได้ถึง 5Mbps. ในราคาสุดคุ้มเพียง 100 บาท เพื่อการดาวน์โหลด/สตรีมมิ่ง คอนเทนต์ ได้รวดเร็วถูกใจไม่มีสะดุดทุกรูปแบบ ทั้ง ดูหนัง ฟังเพลง หรือเชียร์กีฬา สนใจสมัครที่ทรูช้อปทุกสาขา หรือ โทร 1686 ตลอด 24 ชั่วโมง

นายนนท์ อิงคุทานนท์ ผู้จัดการทั่วไป สายงานบริการบรอดแบนด์ บริษัท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ไลฟ์สไตล์คนไทย เริ่มเข้าสู่โลกยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว คนรุ่นใหม่นิยมรับชมความบันเทิงต่างๆ ในรูปแบบการสตรีมมิ่งคอนเทนต์ผ่านเน็ตที่เร็วแรงสูง เพื่อดูหนัง ฟังเพลง หรือรายการถ่ายทอดสดกีฬา ทรูออนไลน์ ในฐานะผู้นำตลาดบรอดแบนด์ จึงได้พัฒนาบริการเสริมใหม่ ครั้งแรกในไทย อัพสปีดรายเดือน หรือ Up Speed เพื่อตอบโจทย์ความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตของลูกค้าทรูออนไลน์ ซึ่งบางเดือนมีความต้องการใช้งานเน็ตเร็วแรงกว่าที่ใช้บริการตามปกติ ก็สามารถสั่งเพิ่มความเร็วแรงได้สูงสุดถึง 5 Mbps โดยคิดค่าบริการเพิ่มในเดือนนั้นๆ อีกแค่เพียง 100 บาทเท่านั้น ซึ่งบริการดังกล่าวเป็นลักษณะเดียวกับบริการเสริม Topping ของมือถือ

“จากการที่ ทรูออนไลน์ได้รับรางวัล Trusted Brand Award 2012 ในฐานะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตระดับแพล็ตตินัม ด้วยเหตุผลหลักที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นในเครือข่ายคุณภาพที่สามารถเติมเต็มทุกไลฟ์สไตล์การสื่อสารของคนไทยอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้เราจะไม่หยุดนิ่งที่จะสร้างสรรค์บริการ ซึ่งบริการเสริมใหม่

อัพสปีดรายเดือน หรือ Up Speed นี้ เป็นอีกหนึ่งบริการที่ตั้งใจพัฒนาขึ้นสำหรับ ลูกค้า ULTRA hi-speed Internet จากทรูออนไลน์ ทั้งที่ใช้ระบบผ่านสายโทรศัพท์ (ADSL) และแบบผ่านสายเคเบิ้ล (DOCSIS) ทั่วประเทศ เพื่อให้มีทางเลือกในการเพิ่มความเร็วของอินเทอร์เน็ต ในช่วงเวลาที่ตนเองต้องการแบบชั่วคราวๆ ละ 1 เดือน ในขณะที่มีค่าบริการเพิ่มแค่เพียง 100 บาท/ครั้งเท่านั้น ไม่ต้องมีภาระค่าใช้จ่ายคงที่เกินความจำเป็น ทั้งนี้ สามารถสมัครใช้บริการได้ปีละ 2 ครั้ง แต่ละครั้งจะใช้งานได้นาน 1 เดือน เมื่อครบกำหนด 30 วัน ระบบจะปรับระดับความเร็วให้กลับมาสู่ปกติ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายใดๆ อีก” นายนนท์ กล่าวสรุป

ผู้สนใจสามารถสมัครใช้บริการ อัพสปีดรายเดือน หรือ Up Speed ได้ตั้งแต่ วันที่ 20 มิถุนายนนี้
เป็นต้นไป ที่ทรูช้อป ทุกสาขา หรือสมัครผ่าน Call Center 1686

View :1339
Categories: Internet Tags:

สถาบันวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (SEI) ชูมาตรฐานอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยอันดับ 1 ของอาเซียนและ อันดับ 15 ของโลก ที่ผ่านมาตรฐาน CMMI®

June 21st, 2012 No comments


20 มิถุนายน 2555 ณ อาคารซอฟต์แวร์พาร์ค : ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นประธานในการแถลงข่าวความสำเร็จของบริษัทซอฟต์แวร์ไทย ที่สถาบันวิศวกรรม ซอฟต์แวร์ (Software Engineering Institute :SEI) แห่งมหาวิทยาลัย คาร์เนกี ประกาศให้บริษัท ซอฟต์แวร์ไทยผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ® (Capability Maturity Model Integration) เป็นลำดับที่ 15 ของ โลก จากบริษัทที่ผ่านการประเมินทั้งหมด 76 ประเทศ และเป็นลำดับที่ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ไทยสามารถแซงหน้าประเทศมาเลเซียได้สำเร็จ ทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ไทยได้รับความน่าเชื่อถือ เชื่อมั่น และมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น สร้างความภาคภูมิใจในการที่จะทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยเป็นที่ยอมรับและ สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ตลอดจนเป็นตัวเชื่อมคู่ค้าและพันธมิตรใหม่ๆให้กับผู้ ประกอบการธุรกิจซอฟต์แวร์ไทย และเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ทั้งนี้ ปัจจุบัน อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของ ประเทศ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมการเกษตร และอาหาร แฟชั่น ท่องเที่ยว ยานยนต์ และอัญมณี เนื่องจากความต้องการซอฟต์แวร์มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยเสริมจากการเติบโตของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดย ดร.ทวีศักดิ์ เปิดเผยว่า
“ความสำเร็จของบริษัทซอฟต์แวร์ไทยในวันนี้ เป็นผลมาจากการที่ซอฟแวร์พาร์คมีโครงการ สนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจซอฟต์แวร์ในการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือ SPI@ease โดยโครงการดังกล่าว มีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ยกระดับกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์ให้มีคุณภาพ ด้วยการทำงานที่มีกระบวนการตามมาตรฐาน CMMI® อันเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอม รับในระดับสากล อีกทั้งยังเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพ ลดความเสี่ยงด้านการบริหารบุคลากรโดยทำงานร่วมกันเป็นทีมสามารถ เปลี่ยนถ่ายงานภายในทีมงานได้ง่าย ทำให้สามารถส่งมอบงานที่มีคุณภาพได้ครบถ้วนตรงตามกำหนดเวลา ภายใต้งบประมาณที่กำหนด สร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยในการแข่งขันในระดับ เวทีโลก
ทั้งนี้ โครงการ SPI@ease เป็น การผนึกกำลังการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ซึ่งภาครัฐมี 2 หน่วย คือ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ภายใต้การดำเนินโครงการของ สวทช. โดยเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park Thailand) ฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ITAP) และ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (SIPA) ที่เล็งเห็น และตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว ร่วมกันก่อตั้งขึ้นในปี 2550 และนับจากนั้นมาโครงการได้มีส่วนผลักดันให้ ประเทศไทยมีบริษัทซอฟต์แวร์กว่า 50 บริษัทที่สามารถพัฒนากระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ ตามมาตรฐาน CMMI® และผ่านการประเมินในระดับต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
วันนี้ประเทศไทยมีบริษัทซอฟต์แวร์ที่ผ่านมาตรฐาน CMMI® เป็นลำดับที่ 15 ของโลก และเป็นลำดับที่ 1 ของเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ อันเป็นการ สร้างความน่าเชื่อถือ ความเชื่อมั่น และภาพลักษณ์ ของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยในตลาดโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2558 ที่จะมีการเปิดตลาดการค้าเสรี ในภูมิภาคอาเซียน หรือ AEC ซึ่งความสำเร็จในครั้งนี้ จะเป็นการตอกย้ำความมั่นใจว่า ไทยพร้อมเป็นอีกหนึ่งประเทศที่สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพออกสู่ตลาด สากลในระดับเท่าเทียมกับนานาประเทศได้ ซึ่งความสำเร็จในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งในความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของ สวทช. ที่มีพันธกิจหลักในการสร้าง เสริมความเข้มแข็งและสร้างโอกาสให้ภาคธุรกิจไทยด้วยวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ทั้งในแง่การพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆเพื่อส่งมอบภาคเอกชนให้ผลิตเป็น ผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ การสนับสนุนภาคเอกชน ในด้านการบริการวิจัย การ รับจ้างทดสอบ หรือแม้กระทั่งการร่วมลงทุนตั้งบริษัทกับเอกชน เพื่อนำนวัตกรรมใหม่ๆออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว โดย อาศัยองค์ความรู้และงานวิจัยต่างๆที่ สวทช.ได้ริเริ่มดำเนินการไว้ และการทำงานที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานหลักๆ ในภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งซอฟต์แวร์พาร์คเป็น โครงการแรกๆของ สวทช.ที่ริเริ่มและเป็นต้นแบบของการสร้าง Software Cluster ในประเทศ รวมไปถึงการพัฒนาและบ่มเพาะบุคลากรไอทีให้แก่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดการนำไอทีไปใช้ในอุตสาหกรรมและสร้างโอกาส ทางการตลาด“ ดร.ทวีศักดิ์ กล่าว

สำหรับมาตรฐาน CMMI (Capability Maturity Model Integration) เป็น กระบวนการผลิตซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดย Software Engineering Institutle (SEI) แห่งมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกประเทศต้องส่งเสริมให้บริษัทผู้ ผลิตแลพัฒนาซอฟต์แวร์ของตนเองหันมาให้ความสนใจ เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพและมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั้งใน ระดับสากล นอกจากนั้นยังเป็นการวางรากฐานในการยกระดับขีดความสามารถของ บริษัทผลิตซอฟต์แวร์ให้พร้อมแข่งขันในเวทีการค้าเสรี และในระดับสากล โดย CMMI กลายเป็นวัฒนธรรมของ องค์กร เพื่อให้ทุกคนมีขั้นตอนการปฏิบัติงานและการทำงานต่างๆ ชัดเจน ทุกคนรู้ว่าต้องทำอะไร ทำให้ปัญหาต่างๆ ลดน้อยลง และขอบเขตการทำงานของ CMMI ที่เข้ามาควบคุมยังทำให้คุณภาพซอฟต์แวร์ดีขึ้น อีกทั้งยังลดจำนวนของเสียจากกระบวนการผลิต หากกระบวนการทำงานไม่ชัดเจนอาจเกิดข้อผิดพลาดและนำมาซึ่งต้นทุนการผลิตที่ สูงขึ้นได้ ดังนั้นหากสามารถควบคุมคุณภาพและส่งงานได้ตามกำหนดเวลา จะทำให้ลูกค้าเกิดความพอใจใน”มาตรฐาน” ซึ่งถือว่าสำคัญไม่เฉพาะในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เท่านั้น หากมีอยู่ในทุกอุตสาหกรรม จะยิ่งเพิ่มมาตรฐานและเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันทางการค้ามากยิ่ง ขึ้น อีกด้วย

View :1731
Categories: Software Tags:

ทรูมูฟ เอช ปล่อยโปรฯ เด็ด “Special For You” สำหรับ The New iPad

June 16th, 2012 No comments

ผ่อนสบายๆ 0% พร้อมใช้แพ็กเกจเล่นเน็ตไม่อั้น ฟรี 6 เดือน เสริมความแรง ผนึก Jaymart เพิ่มช่องทางจัดหน่าย

จากรูป: บริษัท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดย กิตติณัฐ ทีคะวรรณ (ซ้าย) รองผู้อำนวยการสายงานการตลาดเชิงพาณิชย์และบริหารงานขาย ผสานความร่วมมือทางธุรกิจกับ บริษัท เจมาร์ท จำกัด (มหาชน) โดย นาย อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา (ขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ขยายช่องทางการจัดจำหน่าย จากทรูมูฟ เอช ผ่านร้านเจมาร์ท 30 สาขาทั่วประเทศ

ผู้นำในการจัดจำหน่าย Smart Devices สุดล้ำ จัดโปรโมชั่นสุดพิเศษ “SPECIAL FOR YOU” ให้ทุกคนเป็นเจ้าของ The New iPad ได้ง่ายขึ้น ผ่อน 0% นาน 10 เดือน จ่ายเริ่มต้นเพียงเดือนละ 2,050 บาท ผ่านบัตรเครดิต VISA/Master Card ที่ร่วมรายการ หรือ บัตรเรดดี้เครดิตเท่านั้น พร้อมรับสิทธิ์ใช้แพ็กเกจเล่นเน็ตไม่อั้น Net(i) 899 ฟรี 6 เดือน (มูลค่า 5,394 บาท) เมื่อสมัครแพ็กเกจ Net(i) 899 นาน 12 เดือนต่อเนื่องกัน จุใจกับประสบการณ์ออนไลน์แรงเต็มสปีดผ่าน 3G+/EDGE/GPRS และ Ultra Wi-Fi ได้ไม่จำกัด นอกจากนี้ยังได้ผนึกกำลังกับ Jaymart เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย The New iPad จากทรูมูฟ เอช ในโปรโมชั่น “Special For You” ตั้งแต่วันนี้ – 31 กรกฎาคม 2555 ที่ร้านทรูช็อปทุกสาขา และร้านเจมาร์ทที่ร่วมรายการ 30 สาขา โดยผู้ที่สนใจยังสามารถเลือกซื้อทรูมูฟ เอช iPhone 4S, iPhone 3GS 8GB, AIR CARD พร้อมซิมทรูมูฟเอชแบบรายเดือนและแบบเติมเงิน รวมถึงโปรโมชั่นสุดพิเศษอื่นๆ ได้อีกด้วย

View :1732

กรมการปกครองจับมือสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ผลักระบบเลข 13 หลักของบัตรชาชน เข้าสู่ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง

June 16th, 2012 No comments


หวังให้ทุกหน่วยงานดึงฐานข้อมูลหลักผ่านอินเทอร์เน็ต เชื่อประหยัดงบประมาณ และสร้างมาตรฐานการใช้งานภาครัฐใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการบริการประชาชนในระยะยาว

นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า แนวทางการพัฒนาระบบบริการภาครัฐให้เป็นระบบดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการประชาชน โดยต้องอิงจากฐานข้อมูลจริงเพื่อยืนยันการเป็นตัวตนของแต่ละคน
ดังนั้นข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร จากฐานข้อมูลทะเบียนกลาง กระทรวงมหาดไทย จึงมีความสำคัญอย่างมาก และเป็นความท้าทายของกระทรวงมหาดไทย ที่จะต้องพัฒนาให้มีความก้าวหน้า ปลอดภัย และรองรับการใช้งานของทุกส่วนราชการต่อไป
การเชื่อมต่อกับระบบไอทีของสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือสรอ.ในครั้งนี้จึงเป็นแนวทางที่สำคัญอย่างยิ่งของกระทรวงมหาดไทยที่ผ่านมากรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้วางรากฐานข้อมูลประชากรมาตั้งแต่ปี 2525 โดยการจัดเก็บข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร ไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ และสร้างดัชนีให้กับรายการบุคคลทุกคนที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูล ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 103 หน่วยงาน ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงในการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรเช่น กรมการกงสุล ใช้ในการบริการประชาชนด้านการออกหนังสือเดินทาง
กรมการขนส่งทางบก ใช้ในการออกใบอนุญาตขับรถ โดยเฉพาะกรมสรรพากรได้มีการปรับเปลี่ยนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
มาเป็นเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักแทน

นอกจากนั้น กระทรวงมหาดไทย ยังให้ความสำคัญกับคนไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ ให้สามารถจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนได้ ไม่ต้องเดินทางกลับมาทำที่ประเทศไทย ซึ่งในปี 2555 จะดำเนินการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนนำร่อง ณ สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ และสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย จำนวน 6 แห่ง รวมทั้งได้สนับสนุนคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในการพัฒนาระบบการเลือกตั้งทั่วไป สำหรับคนไทยที่อาศัยอยู่ต่างประเทศให้สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้ด้วย ซึ่งนับได้ว่า ในยุคของความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร จากฐานข้อมูลทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น การได้ร่วมมือกับสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครั้งนี้ จึงเป็นก้าวสำคัญในการขยายการใช้ประโยชน์จากข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรไปสู่การให้บริการต่อประชาชนอย่างแท้จริง

นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า หนึ่งในพันธกิจเร่งด่วนของกระทรวงไอซีทีในขณะนี้คือ การสร้างระบบการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบบริการภาครัฐโดยใช้ประโยชน์จากบัตรประจำตัวประชาชน หรือ Citizen Smart Info ขึ้นมา โดยเป้าหมายสูงสุดของระบบนี้คือ การที่ประชาชนทั่วไปสามารถนำข้อมูลของตนเองที่เกี่ยวกับธุรกรรมภาครัฐมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสะดวกสบายและทั่วถึงนโยบาย Citizen Smart Info นั้นต้องการทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบดิจิทัลแบบ Single Sign On หรือการใช้รหัสผ่านครั้งเดียว ก็สามารถดึงข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองขึ้นมาได้
ทำให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลของตน เพื่อทำให้เกิดการวางแผนและบริหารกิจกรรมต่างๆ ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งต้องนำข้อมูลบัตรประชาชนจากกรมการปกครองมาเป็นตัวอ้างอิงหลัก ไปสู่บริการของหน่วยงานรัฐต่างๆ ได้ง่ายขึ้น จากเดิมหากหน่วยงานใดต้องการใช้ข้อมูลของกรมการปกครองก็จำเป็นต้องเดินสายต่อเชื่อมข้อมูลเข้าหากรมการปกครองโดยตรง ซึ่งสร้างภาระงบประมาณทั้งกรมการปกครองและหน่วยงานต่างๆ และยังทำให้เกิดความยุ่งยากในการบริหารจัดการสถาปัตยกรรมทางด้านไอซีทีเป็นอย่างมาก

การลงนามสัญญาบันทึกข้อตกลงหรือ การทำ MOU ระหว่างกรมการปกครองกับสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือสรอ.จึงเป็นการจัดระบบและสร้างความร่วมมือให้เกิดระบบ Citizen Smart Info ด้วยการที่สรอ.จะเข้าไปเพิ่มขนาดเครือข่ายจากกรมการปกครอง
ซึ่งเป็นปลายทางหลักเข้ากับเซิร์ฟเวอร์ฟาร์มของสรอ. ผ่านระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ หรือ Government
Information Network หรือ GIN แล้วสร้างระบบเซิร์ฟเวอร์ของสรอ.ให้เป็นระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง

ดังนั้นสรอ.จะกลายเป็นแม่ข่ายหลักในการเชื่อมต่อกับหน่วยงานต่างๆ แทนกรมการปกครอง หน่วยงานต่างๆ ที่ต้องการใช้ฐานข้อมูลบัตรประชาชนก็สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในรูปแบบของข้อมูลดิบ หรือผ่านระบบแอพพลิเคชันที่เขียนขึ้นมาครอบฐานข้อมูลนี้

ในทางปฏิบัติต่อจากการลงนามบันทึกข้อตกลงนี้เสร็จแล้ว ทุกหน่วยงานหากจะใช้ข้อมูลจากบัตรประชาชนเพียงแค่ทำความตกลงกับกรมการปกครอง หลังจากนั้นไม่จำเป็นต้องลงทุนทางด้านไอทีเพิ่มเติมก็สามารถเชื่อมต่อข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยระบบ GIN ซึ่งไม่มีค่าบริการ ขณะเดียวกันเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพทุกหน่วยงานก็จะต้องเร่งพัฒนาแอพพลิเคชันของตนเองเป็นระบบ Web Services เพื่อเรียกการใช้งานผ่านคลาวด์คอมพิวติ้งของสรอ. ได้เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นจะเกิดมาตรฐานกลางของแอพพลิเคชันต่างๆขึ้นมา
ซึ่งทำให้การเชื่อมต่อฐานข้อมูลข้ามหน่วยงานด้วยกันทำได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกันถ้าหากแอพพลิเคชันและข้อมูลเหล่านั้นติดตั้งอยู่บนระบบคลาวด์คอมพิวติ้งของสรอ.ด้วยแล้วก็จะทำให้เกิดความรวดเร็วในการเรียกใช้บริการง่ายขึ้นอีกด้วย จากแผนงานหลักของสรอ.ในการเร่งพัฒนาระบบ GIN และคลาวด์คอมพิวติ้งให้มีประสิทธิภาพแล้ว คาดว่าภายในปีนี้จะมีบริการหลักของหน่วยงานรัฐมาเข้าสู่ระบบเพื่อบริการประชาชนได้ทันที ไม่ว่าจะเป็น โครงการพัฒนาระบบตรวจสอบข้อมูลสิทธิประโยชน์คนพิการ สปสช.,โครงการพัฒนาระบบตรวจสอบข้อมูลประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม เป็นต้น ซึ่งเมื่อหน่วยงานเข้ามาใช้บริการแล้ว จะดึงดูดให้บริการส่วนอื่นๆ เข้ามาต่อเชื่อมเพื่อใช้ฐานข้อมูลร่วมกันได้ง่ายขึ้น และคาดว่าภายในปีหน้าจะมีหน่วยงานไม่ต่ำกว่า 30 หน่วยงานเข้ามาเชื่อมต่อฐานข้อมูลร่วมกันได้ และคาดว่าภายใน 3 ปีนี้จะมีหน่วยงานรัฐที่พร้อมจะเข้ามาร่วมในโครงการ Citizen Smart Info มากกว่า 50%

นอกจากการผลักดัน Citizen Smart Info กระทรวงไอซีทียังดำเนินการในส่วนอื่นๆ ไปพร้อมกันไม่ว่าจะเป็น smart province, โครงการ ICT Free Wifi และอื่นๆ เพื่อทำให้เกิดสภาวะแวดล้อมในการใช้ Citizen Smart Info ได้อย่างสมบูรณ์แบบไปพร้อมๆ กัน

นายสุกิจ เจริญรัตนกุล อธิบดีกรมการปกครอง เปิดเผยว่า งานทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชนเป็นด่านแรกของการให้บริการภาครัฐ เนื่องจากข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพิสูจน์ ยืนยัน และรับรองตัวบุคคล เพื่อการเข้าถึงบริการภาครัฐและเอกชนได้ ดังนั้น หากมีการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของส่วนราชการต่าง ๆ กับกรมการปกครองแล้ว จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนได้อย่างแท้จริง ปัจจุบันกรมการปกครอง ได้อนุญาตให้ส่วนราชการต่าง ๆ เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ประโยชน์ข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรจากฐานข้อมูลทะเบียนกลาง จำนวน 103 หน่วยงาน ซึ่งในแต่ละปีจะมีปริมาณการใช้งานจากการเชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรของกรมการปกครอง มากกว่าปีละ 100 ล้านรายการ โดยหน่วยงานที่มีการใช้งานมากที่สุดคือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ใช้สูงถึง 24,500,547 รายการต่อปี รองลงมาคือ กรมการขนส่งทางบก 14,296,246 รายการ ขณะที่หน่วยงานอันดับสามคือ กรมสรรพากร 13,131,703 รายการ ทุกหน่วยงานมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น

สำหรับภาคเอกชน ที่กฎหมายยังไม่อนุญาตให้สามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ได้นั้น กรมการปกครองได้ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ การอนุญาตให้ใช้โปรแกรมสำหรับอ่านข้อมูลจากบัตรประจำตัวประชาชนแบบ Smart Card แทน หรือเรียกว่า Smart Card Off-line
ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้ลงนามข้อตกลงว่าด้วยการขอใช้โปรแกรมสำหรับอ่านข้อมูลจากบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว
จำนวน 86 หน่วยงาน เพื่อต้องการอ่านข้อมูลตามรายการที่ปรากฏตามหน้าบัตรประจำตัวประชาชนที่กรมการปกครองได้จัดเก็บไว้ใน IC Chip ซึ่งรวมถึงภาพใบหน้า

นอกจากนั้นยังได้จัดเก็บข้อมูลของส่วนราชการอื่น ๆ ที่จำเป็นไว้ในบัตรประจำตัวประชาชนด้วย เช่น ข้อมูลการแสดงสิทธิการรักษาพยาบาล ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้ประชาชนสามารถแสดงสิทธิการรักษาพยาบาลต่อสถานพยาบาลได้ ในส่วนของภาคเอกชน เช่น ธนาคาร รวมทั้งสถาบันการเงิน ได้เห็นประโยชน์ในการใช้งานโปรแกรมสำหรับอ่านข้อมูลจากบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อป้องกันการทุจริตในการแอบอ้าง สวมตัวเจ้าของรายการบุคคล ซึ่งการอ่านข้อมูลจาก IC Chip ในบัตรฯ สามารถพิสูจน์ ยืนยัน ตัวตนที่แท้จริงได้ และช่วยลดขั้นตอนการบันทึกข้อมูลใหม่ที่อาจเกิดความผิดพลาดได้ ลดการใช้กระดาษ ลดความเสี่ยงการใช้เอกสารปลอม ที่สำคัญประชาชนได้รับบริการที่ถูกต้อง สะดวก รวดเร็วมากขึ้น

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือสรอ. เปิดเผยว่า แผนดำเนินการ 3 ขั้นตอนเพื่อทำให้โครงการ การพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบบริการภาครัฐโดยใช้ประโยชน์จากบัตรประจำตัวประชาชน (Citizen Smart Info) ลุล่วงนั้นประกอบด้วย ขั้นที่ 1 คือการลงนามในบันทึกข้อตกลง หรือ MOU กับกรมการปกครองในครั้งนี้ จุดมุ่งหมายเพื่อให้ทุกหน่วยงานภาครัฐสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลของกรมการปกครองและนำไปใช้ได้ทันที โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ในขั้นตอนนี้ทางสรอ.ใช้วิธีบริหารจัดการระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Government Information Network: GIN) ขึ้นมาใหม่
จากเดิมเป็นการเชื่อมต่อระหว่างหน่วยงานรัฐในปริมาณที่เท่ากัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง

จากจุดเริ่มนี้สรอ.ได้เข้ามาตั้งค่าการใช้งาน GIN ให้กับหน่วยงานหลักที่มีความจำเป็นมากขึ้นตามความต้องการใช้งานจริง ในกรณีของระบบคอมพิวเตอร์ของกรมการปกครองที่จะต้องเป็นฐานข้อมูลหลัก ทางสรอ.ได้เพิ่มปริมาณขนาดของเครือข่ายเป็น 50 MPs ในปีนี้
และหากมีความต้องการดึงฐานข้อมูลจากหน่วยงานรัฐต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ทางสรอ.ก็พร้อมจะเพิ่มขนาดเครือข่ายให้เป็น 100 MPs ในปีหน้า ซึ่งถือเป็นขนาดเครือข่ายที่ใหญ่มากขณะเดียวกันฐานข้อมูลทั้งหมดของกรมการปกครองจะเข้ามาใช้ระบบคลาวด์คอมพิวติ้งของสรอ.
ที่เป็นศูนย์กลาง ดังนั้นหน่วยงานต่างๆ ที่ใช้ระบบ GIN อยู่แล้วสามารถดึงฐานข้อมูลผ่านเครือข่ายภายในนี้ได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องต่อสายตรงไปยังกรมการปกครองเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ประหยัดงบประมาณไปได้อย่างมาก

การดำเนินการประการที่สอง ทางสรอ.มีข้อตกลงกับทางกรมการปกครองในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด รวมถึงมีระบบความปลอดภัยสูงสุดด้วย ขณะเดียวกันก็สามารถขยายฐานการใช้งานไปได้อย่างไม่จำกัด
โดยมีสถาปัตยกรรมที่ทันสมัยมาสนับสนุน และยังทำให้หน่วยงานรัฐอื่นๆ ที่เข้ามาใช้งานสามารถเข้ามาใช้โครงสร้างพื้นฐานนี้ร่วมกัน
เพื่อทำให้เกิดเอกภาพในการใช้งานระหว่างกันในอนาคต โดยงบประมาณในส่วนของการพัฒนาศูนย์ดาตาเซ็นเตอร์และระบบคลาวด์คอมพิวติ้งนั้น ทางสรอ.จะเป็นผู้ดำเนินการและจัดหา โดยในปีแรกจะใช้ประมาณ 50 ล้านบาท และจะเร่งเพิ่มเติมงบประมาณมากขึ้นในปีต่อๆ ไป ซึ่งในปัจจุบันมีหน่วยงานรัฐ 30 หน่วยงานอยู่ระหว่างการติดตั้งระบบ

ดังนั้นทิศทางจากนี้ไป จะมีทั้งหน่วยงานรัฐที่เข้ามาใช้ฐานข้อมูลของกรมการปกครองมากขึ้น โดยลงทุนระบบคอมพิวเตอร์น้อยลง ขณะเดียวกันแต่ละหน่วยงานก็สามารถแบ่งปันข้อมูลของหน่วยงานตัวเองเข้ามาในระบบมากขึ้น และกรมการปกครองรวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ก็สามารถนำไปใช้งานได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งทางสรอ.จะทำหน้าที่ในการประสานงาน และเข้าไปเป็นที่ปรึกษาในการวางระบบสถาปัตยกรรมในส่วนนี้ต่อไปอีกประการหนึ่งที่เป็นหน้าที่ของสรอ.ในโครงการ Citizen Smart Info คือ การทำต้นแบบให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลของตนเองได้ง่าย โดยสรอ.จะนำไปเชื่อมโยงกับโครงการ Smart Province หรือจังหวัดอัจฉริยะ ด้วยการจัดทำกล่องอัจฉริยะต้นแบบไปติดตั้งที่จังหวัด เพื่อเป็นเครืองทดลองใช้ หรือ demo ซึ่งในกล่องนี้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลของรัฐทุกรูปแบบ โดยอิงกับฐานข้อมูลบัตรประชาชนของตนเอง ซึ่งในอนาคตกล่องรับสัญญาณนี้จะเหมือนกล่องรับชมทีวีดาวเทียมปกติ และสามารถไปติดตั้งตามบ้านได้ หรือเป็นแอพพลิเคชันเสริมให้กับผู้ผลิตกล่องรับสัญญาณที่นอกจากจะดูทีวีตามปกติ ยังสามารถใช้งานฐานข้อมูลส่วนบุคคลได้ต่อไป

View :1777

ก.ไอซีที จับมือ สภาการศึกษา จัดทำแผนแม่บท ICT สำหรับการศึกษาของไทย

June 16th, 2012 No comments

นายณัฐพงศ์ ศีตวรรัตน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ให้การต้อนรับคณะกรรมการ บริหารโครงการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับการศึกษาของประเทศไทย สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ชุดที่มีนายอานนท์ ทับเที่ยง ที่ปรึกษาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นประธาน โดยได้มีการประชุมหารือร่วมกันในเรื่อง “การจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับการศึกษาของประเทศไทย” เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาและลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับการศึกษาของประเทศ

นายอานนท์ ทับเที่ยง ที่ปรึกษาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาฯ กล่าวว่า แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับการศึกษาของประเทศไทย ถือเป็นงานสำคัญที่ต้องมีการตั้งคณะกรรมการที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์จาก ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็น กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้ามาร่วมดำเนินการขับเคลื่อน และพัฒนาเนื้อหาสาระให้เกิดขึ้น เพื่อให้ได้แผนแม่บทฯ ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ

ด้าน นางเมธินี เทพมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในช่วงของการใช้แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 2 ของประเทศไทย (พ.ศ.2552 -2556) โดยในแผนแม่บทฯ ฉบับนี้มียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา คือ การพัฒนากำลังคน ซึ่งมีเป้าหมาย คือ การเพิ่มทักษะการใช้ประโยชน์สารสนเทศ ที่กำหนดระดับทักษะการใช้ไว้ 5 ระดับ และมีโครงการเร่งด่วนรองรับ อาทิ โครงการนำร่องการจัดการเรียนการสอนสหกิจศึกษา ที่เน้นการปฏิบัติงานจริงกับภาคอุตสาหกรรม โครงการส่งเสริมการผลิตบุคลากรระดับปริญญาโทสายวิศวกรรมซอฟท์แวร์และวิทยาการซอฟต์แวร์ โครงการจัดตั้งสถาบันเฉพาะทางด้าน ICT เพื่อผลิตบุคลากรที่มีทักษะสูง เป็นต้น

นายณัฐพงศ์ ศีตวรรัตน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับโครงการสำคัญที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กำลังดำเนินการร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประกอบการเรียนการสอนอยู่ในขณะนี้ ก็คือ โครงการจัดซื้อคอมพิวเตอร์แบบพกพา (แท็บเล็ต) ให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั่วประเทศ (One Tablet PC per Child) ซึ่งได้มีการส่งมอบเครื่องแท็บเล็ตครั้งแรกจำนวน 2,000 เครื่อง ในเดือนพฤษภาคม 2555 เพื่อการทดสอบการใช้งาน จากนั้นจึงจะทยอยส่งมอบจนครบจำนวนภายในสิ้นปีงบประมาณ 2555 เพื่อแจกจ่ายให้แก่โรงเรียนที่มีความพร้อมในด้านเครือข่ายสัญญาณและสามารถรองรับการใช้งานเป็นลำดับแรก โดยจะดำเนินการควบคู่ไปกับการเร่งปรับปรุงความพร้อมของโครงข่ายบริการในพื้นที่โรงเรียนต่างๆ ตามกลุ่มเป้าหมาย

View :1687

อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ผนึกภาครัฐและเอกชนปลุกกระแสเยาวชนคนดี เปิดเวที “ไทยแลนด์ เอนิเมชั่น คอนเทสต์ 2012”

June 14th, 2012 No comments


ประชันฝีมือภาพยนตร์เอนิเมชั่นในหัวข้อ “เยาวชนรุ่นใหม่ ใฝ่ดี มีคุณธรรม”

กรุงเทพฯ – บมจ. ประกันชีวิต ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) มูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ สานต่อโครงการ “ไทยแลนด์ เอนิเมชั่น คอนเทสต์ โดย ” ประจำปี 2012 ภายใต้หัวข้อ “เยาวชนรุ่นใหม่ ใฝ่ดี มีคุณธรรม” ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หวังสร้างทัศนคติให้เยาวชนรุ่นใหม่ประพฤติดี มีคุณธรรม ผ่านการสร้างภาพยนตร์เอนิเมชั่นส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ตลอดจนพัฒนาฝีมือนักสร้างสรรค์ให้แก่อุตสาหกรรมเอนิเมชั่นไทย

นางสาวพัชรา ทวีชัยวัฒนะ กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบริหารการตลาด และการสื่อสารองค์กร บมจ. อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต เปิดเผยว่า ด้วยวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ ที่จะเป็นปัจจัยหลักแห่งความมั่นคง คุ้มครองทุกครอบครัวไทย ได้สะท้อนออกมาในรูปแบบนโยบายนอกเหนือจากการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสร้างความมั่นคงและคุ้มครองครอบครัวไทยผ่านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆของบริษัทแล้ว เรายังตระหนักถึงการทำกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิดที่ว่า ‘ปันความรู้สู่เด็กไทย’เพื่อสร้างเกราะคุ้มครองและสร้างความมั่นคงแก่สังคมไทยด้วยการวางรากฐานความรู้แก่เยาวชนไทยที่จะเป็นกำลังสำคัญในอนาคตของชาติต่อไป

ล่าสุด บมจ. อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต ได้ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) มูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จัดโครงการ “ไทยแลนด์ เอนิเมชั่น คอนเทสต์ 2012 โดย อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี.” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ภายใต้หัวข้อ “เยาวชนรุ่นใหม่ ใฝ่ดี มีคุณธรรม” ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทุนการศึกษารวมมูลค่า 256,000 บาท และกรมธรรม์ประกันภัยให้ความคุ้มครองชีวิตและอุบัติเหตุ ทุนประกันภัยรวมมูลค่ากว่า 13 ล้านบาท เป็นเวลา 1 ปี พร้อมนำทีมผู้ชนะเลิศทั้ง 2 ระดับ เดินทางทัศนศึกษางานเอนิเมชั่น ณ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลา 1 สัปดาห์ และรางวัล Popular Vote จำนวน 2 รางวัล ๆ ละ 3,000 บาท

“สำหรับการประกวดในปีนี้ เราตั้งหัวข้อ ‘เยาวชนรุ่นใหม่ ใฝ่ดี มีคุณธรรม’ เนื่องจากเราตระหนักว่าหลายปีที่ผ่านมาสังคม ผู้ใหญ่อย่างเราเน้นการพัฒนาเยาวชนให้มีความรู้ ความสามารถ ให้เด็กโตขึ้นเป็นคนเก่ง โดยเรามองข้ามที่จะเน้นย้ำในเรื่องของคุณธรรมที่ควบคู่ไปกับความสามารถ เราจึงตั้งหัวข้อการประกวดนี้ขึ้น เพื่อปลูกจิตสำนึกในเรื่องของความมีคุณธรรม ตอกย้ำให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับการประพฤติดี สามารถพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถควบคู่กับการดำรงไว้ซึ่งคุณธรรมในการดำเนินชีวิต และนอกจากจะเป็นการปลูกจิตสำนึกในเรื่องของคุณธรรมแล้ว ยังถือเป็นเวทีให้เยาวชนได้แสดงออกถึงความคิดที่จะทำความดี และสื่อสารออกมาในรูปแบบของภาพยนตร์เอนิเมชั่นด้วย”

“เราเริ่มโครงการไทยแลนด์ เอนิเมชั่น คอนเทสต์ มาตั้งแต่ปี 2550 ด้วยเจตนารมณ์ที่มุ่งกระตุ้นให้เยาวชนได้ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พัฒนาทักษะการสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์หรือ ภาพเอนิเมชั่น เพื่อวางรากฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านนี้ในอนาคต พร้อมทั้งส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ นับว่าโครงการฯประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากมาโดยตลอด มีเยาวชนจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศเข้าร่วมแข่งขันแล้วกว่า 8,500 คน ที่สำคัญเยาวชนให้ความสนใจสมัครเข้าแข่งขันเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสนใจของเด็กไทยต่อเวทีแสดงความสามารถในด้านนี้ ควบคู่ไปกับศักยภาพ และฝีมือของเด็กไทยก็ได้รับการพัฒนาสูงขึ้น สำหรับปีนี้เราตั้งเป้าจำนวนเยาวชนสมัครเข้าร่วมการแข่งขันไว้ที่ 500 ทีม หรือ 1,500 คน” นางสาวพัชรา กล่าว

นอกจากนี้ บริษัทฯได้มีโครงการต่อยอดความสามารถของเด็กไทยไปสู่เวทีระดับโลก ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 2 โดย อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ได้เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับวงการเอนิเมชั่นไทย ด้วยการส่งเด็กสร้างผู้เคยผ่านเวทีประกวด “ไทยแลนด์ เอนิเมชั่น คอนเทสต์ โดย อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี.” ไปคว้า 2 รางวัลยอดเยี่ยมจากเวทีประกวดเอนิเมชั่นระดับโลก ASIA DIGITAL ART AWARD 2011 ที่ประเทศญี่ปุ่น นับเป็นครั้งแรกที่มีเด็กไทยไปสร้างชื่อเสียงจนได้รับรางวัลในเวทีระดับโลก ถือเป็นความสำเร็จอันเยี่ยมยอดเกินคาดของโครงการฯ

ดร.จรินทร์ สวนแก้ว ประธานมูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช กล่าวว่า มูลนิธิ ๕ ธันวามหาราชได้ให้การสนับสนุนโครงการ “ไทยแลนด์ เอนิเมชั่น คอนเทสต์ โดย อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี.” มาต่อเนื่อง เพราะเห็นถึงเพราะเห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของโครงการฯ ที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาเยาวชนของชาติให้เติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวข้อการประกวดในปีนี้ จะช่วยกระตุ้นจิตสำนึกของเยาวชนให้สะท้อนมุมมองต่างๆ ในการทำความดีไม่ว่าจะเป็นการการช่วยเหลือผู้อื่นด้วยจิตอาสา คิดดี ทำดี ก็ล้วนต้องเริ่มต้นที่ตนเองก่อน และจะได้รับรางวัลเป็นความอิ่มใจ สุขใจอันเกิดจากได้ทำกิจกรรมนั้นๆ และมีความคิดริเริ่มที่จะทำประโยชน์ตอบแทนแก่สังคมต่อไป”

ด้าน ดร. วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กล่าวว่า “ในฐานะของผู้ร่วมจัดโครงการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
ก็ยังคงเน้นในเรื่องของการสนับสนุนทางด้านวิชาการและเทคโนโลยีสำหรับการสร้างผลงานเอนิเมชั่นของเยาวชนภายใต้โครงการThailand animation contest อย่างต่อเนื่องเหมือนเช่นทุกปี โดยในปีนี้ในหัวข้อ
“เยาวชนรุ่นใหม่ ใฝ่ดี มีคุณธรรม” เรามุ่งหวังผลงานมีคุณภาพมากขึ้นไม่เฉพาะแต่ในเรื่องของความสวยงามจากเครื่องมือและเทคนิคในการสร้างผลงานเท่านั้น แต่ยังมุ่งหวังถึงคุณภาพของผลงานในเรื่องของการเล่าเรื่อง (storytelling) ที่สร้างสรรค์ น่าสนใจ มีเหตุและผล รวมทั้งมีการลำดับเรื่องราวที่ดีน่าติดตามปีนี้เราจึงได้ปรับหลักสูตรของการอบรมเยาวชนที่ผ่านการคัดเลือกในรอบที่ 1 ให้เข้มข้นขึ้นทั้งในส่วนของการสร้างแนวคิด การเล่าเรื่อง และในส่วนของการใช้เครื่องมือในการสร้างผลงานซึ่งยังคงกำหนดเงื่อนไขให้ใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในการสร้างผลงานเช่นเดิมในปีนี้จึงมั่นใจได้ว่าเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการจะได้ความรู้และทักษะพื้นฐานในการสร้างงานด้านเอนิเมชั่นอย่างครบถ้วนสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งเยาวชนที่เข้ารอบสุดท้ายของทุกปีจะได้รับโอกาสในการที่จะต่อยอดผลงาน ความรู้และทักษะด้านเอนิเมชั่นเพื่อส่งผลงานไปยังเวทีระดับนานาชาติต่อไปซึ่งปีที่ผ่านมาก็มีเยาวชนไทยได้รับรางวัลจากเวทีระดับเอเชีย ในงาน Asia Digital Art Award 2011 ซึ่งจัดโดยประเทศญี่ปุ่นเหล่านี้จะเป็นการเตรียมความพร้อมในการสร้างบุคลากรให้กับอุตสาหกรรมเอนิเมชั่นของไทยซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักภายใต้เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ หรือ Creative economy”

ด้าน ดร. ดัชกรณ์ ตันเจริญรองคณบดีฝ่ายบริหารและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า “ “ในปีที่ผ่านมา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ได้ร่วมสนับสนุนโครงการ Thailand Animation Contest ในกิจกรรมอบรมโอเพ่นซอร์สเทนนิ่ง และเข้าค่ายแข่ง Reality 34 ชั่วโมงรอบสุดท้าย ในด้านสถานที่ และบุคลากรในการจัดกิจกรรมสันทนาการ ในปีนี้ทางสถาบันฯ ได้เป็นผู้สนับสนุนหลักเต็มตัวเป็นปีแรก ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาเยาวชนของประเทศให้มีทักษะความสามารถด้านแอนิเมชั่นให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และในปีนี้ทางสถาบันได้ร่วมสนับสนุนด้านสถานที่การจัดงานและสิ่งอำนวยความสะดวก ในการจัดอบรม Open Source Training ระหว่างวันที่ 10 – 15 สิงหาคม 2555 ตลอดจนมอบของรางวัลให้แก่เยาวชนที่เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ และพิเศษสำหรับผู้ชนะการแข่งขันในระดับมัธยมศึกษาจะได้รับทุนการศึกษาในระดับปริญญาตรีของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ รวมมูลค่ากว่า 7 แสนบาท นอกจากนี้ทางบริษัทซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมสนับสนุนของที่ระลึกสำหรับเยาวชนผู้เข้าร่วมอบรม ณ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะได้เห็นความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชนในการสะท้อนมุมมองตามหัวข้อ “เยาวชนรุ่นใหม่ ใฝ่ดี มีคุณธรรม” ผ่านผลงานแอนิเมชั่นกันครับ”

การประกวดการสร้างภาพเคลื่อนไหวของโครงการ “ไทยแลนด์ เอนิเมชั่น คอนเทสต์ 2012 โดยอยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี.” ภายใต้หัวข้อ “เยาวชนรุ่นใหม่ ใฝ่ดี มีคุณธรรม” แบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ระดับ สำหรับเยาวชนระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าแข่งขันเป็นทีมๆละ 3 คน โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาให้การรับรอง โดยผลงานเอนิเมชั่นที่ส่งเข้าประกวดจะต้องมีความยาวไม่เกิน 3 นาที และสร้างด้วยโปรแกรม Open Source เท่านั้น หมดเขตรับสมัครในวันที่ 14 กรกฎาคม 2555 ดูรายละเอียดและสมัครออนไลน์ได้ที่ www.aacp.co.th/thailandanimation สสอบถามรายละเอียดได้ที่ ฝ่ายการตลาด-กิจกรรมเพื่อสังคม บมจ. อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันชีวิต ชั้น 6 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ 898 ถนนเพลินจิต กรุงเทพฯ 10330 โทร. 02-305-7768 หรือ 02–305-7407

View :1413