Archive

Archive for December, 2012

AIS Wifi ร่วมส่งความสุขรับปีใหม่ ตอบแทนคอเน็ต มอบสิทธิพิเศษให้ลูกค้าเอไอเอสทุกท่านใช้ Wifi ฟรี 2 ชม.

December 11th, 2012 No comments


เพื่อเป็นการต้อนรับเทศกาลปีใหม่ที่กำลังจะถึงนี้ ขอร่วมส่งความสุขฉลองปีใหม่ พร้อมขอบคุณลูกค้าคอเน็ต ด้วยการมอบของขวัญพิเศษให้ลูกค้าเอไอเอสทุกท่านได้สนุกกับ Wifi 2 เครือข่ายทั้ง และ 3BB WiFi ฟรี 2 ชั่วโมง (เครือข่ายละ 1 ชั่วโมง) เพื่อสนุกกับการเชื่อมต่อออนไลน์ และส่งความสุขอวยพรปีใหม่ให้กับเพื่อนๆ และคนที่รักได้อย่างเต็มที่ ด้วยความเร็ว 10 Mbps ในพื้นที่ห้างดัง และคอมมูนิตี้ มอลล์สุดฮิปในกรุงเทพฯ และในพื้นที่อีกกว่า 50,000 จุดทั่วประเทศ โดยลูกค้าเอไอเอสสามารถรับสิทธิพิเศษได้ง่ายๆ เพียงกด *199*9# โทรออก ใช้งานได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 มกราคม 2556 ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www..co.th/wifi

View :1464
Categories: Internet Tags:

เอไอเอสเปิดตัว iPad mini และ iPad with Retina display รุ่นที่มาพร้อมทั้ง Wifi และ 3G

December 7th, 2012 No comments

7 ธันวาคม 2555 – เอไอเอส เปิดตัว iPad รุ่นที่ 4 “” และ ในรุ่นที่มาพร้อมทั้ง Wifi และ โดย iPad ทั้ง 2 รุ่นที่เอไอเอสนำมาจัดจำหน่ายจะมาพร้อมโปรโมชั่นสุดคุ้มจากเครือข่ายคุณภาพ Wifi และ HSPA

iPad รุ่นที่ 4 หรือที่เรียกว่า iPad with Retina display มาพร้อมกับสุดยอดคุณสมบัติ อาทิ หน้าจอ Retina ขนาด 9.7 นิ้ว , หน่วยประมวลผล Apple A6X chip รุ่นล่าสุด, กล้องหน้ารองรับการใช้งาน FaceTime HD โดยในส่วนของ iPad Mini นั้นถูกออกแบบให้มีความบางกว่า iPad รุ่นที่ 3 ถึง 23% และมีน้ำหนัก เบากว่าถึง 53% พร้อมด้วยสุดยอดหน้าจอแสดงผลแบบ Multi Touch ขนาด 7.9 นิ้ว กล้อง iSight camera ความละเอียด 5 ล้านพิกเซลและกล้องหน้ารองรับการใช้งาน FaceTime HD ความเร็วของการใช้งานไร้สายที่เพิ่มขึ้น* โดยอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ยังสามารถใช้ได้นานถึง 10 ชั่วโมง ** iPad ทั้ง 2 รุ่น มาพร้อมด้วยระบบปฏิบัติการ iOS 6 ซึ่งเป็นสุดยอดระบบปฏิบัติการล่าสุดของโลกที่มีคุณสมบัติการใช้งานให้เลือกเพิ่มมากขึ้นกว่า 200 แบบ

เบื้องต้นลูกค้าที่สนใจสามารถซื้อ iPad Mini รุ่นใหม่ได้ที่ Shop สยามพารากอน ชั้น 4 ส่วน iPad with Retina display สามารถซื้อได้ผ่าน online Shopping www..co.th/iPadmini ในช่วงสัปดาห์แรก หลังจากนั้นลูกค้าสามารถซื้อ iPad with Retina display ได้ที่ Shop และ ร้านเทเลวิซที่ร่วมรายการ ทั่วประเทศ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรโมชั่นของ รวมทั้งสินค้า iPad mini และ iPad with Retina display ได้ที่ www..co.th/iPadmini

*ความเร็วการใช้งานขึ้นอยู่กับเครือข่ายของผู้ให้บริการ
**อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าการใช้งาน, รูปแบบการใช้งานและปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

View :1897

ไซแมนเทคเผยผลสำรวจสถานะของดาต้าเซ็นเตอร์ ระบุโมบายล์คอมพิวติ้ง, เวอร์ช่วลไลเซชั่น และคลาวด์ ส่งผลให้ดาต้าเซ็นเตอร์ในไทยซับซ้อนมากขึ้น

December 7th, 2012 No comments

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – 7 ธันวาคม 2555 – บริษัท ไซแมนเทค คอร์ป (Nasdaq: SYMC) เปิดเผยว่า 79 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรรายงานถึงความซับซ้อนที่เพิ่มมากขึ้นในดาต้าเซ็นเตอร์ จากผลการสำรวจสถานะของดาต้าเซ็นเตอร์ (State of the Data Center Survey) ประจำปี 2555 ผลการสำรวจดังกล่าวซึ่งจัดหาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหาท้าทายสำคัญๆ ที่องค์กรทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าวฯ เมื่อดาต้าเซ็นเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นย้ำถึงปัจจัยหลักที่ทำให้ดาต้าเซ็นเตอร์มีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงผลกระทบต่อธุรกิจในปัจจุบัน และโครงการริเริ่มล่าสุดที่ฝ่ายไอทีกำลังดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา สาเหตุของความซับซ้อนในดาต้าเซ็นเตอร์เกิดจากหลายปัจจัย โดยผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าการปรับใช้แนวทางการบริหารจัดการข้อมูลอย่างโปร่งใสเป็นโครงการหลักที่องค์กรต่างๆ กำลังดำเนินการเพื่อรับมือกับปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นในดาต้าเซ็นเตอร์ แบบสำรวจสถานะของดาต้าเซ็นเตอร์เน้นย้ำถึงความสำคัญในการดำเนินมาตรการเพื่อจัดการทรัพยากรภายในองค์กรอย่างชาญฉลาด ควบคู่ไปกับการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และควบคุมปริมาณข้อมูลที่เพิ่มสูงขึ้น

นายประมุท ศรีวิเชียร ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ไซแมนเทค กล่าวว่า “ปัจจุบัน องค์กรธุรกิจในเมืองไทยมีการสร้างข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในดาต้าเซ็นเตอร์ ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจเปรียบเสมือนการขับเคลื่อนและผลักดันให้ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว หรืออาจฉุดรั้งองค์กรไม่ให้ก้าวไปข้างหน้า ความแตกต่างอยู่ที่ว่าองค์กรจะต้องสามารถรับมือกับปัญหาท้าทายที่รออยู่เบื้องหน้า ด้วยการปรับใช้แนวทางการควบคุม เช่น การกำหนดมาตรฐาน หรือสร้างกลยุทธ์การบริหารข้อมูลอย่างโปร่งใส เพื่อปกป้องข้อมูลให้ปลอดภัยและหลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น”

ความซับซ้อนของดาต้าเซ็นเตอร์เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง
องค์กรทุกขนาดในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมและทุกภูมิภาครายงานเกี่ยวกับความซับซ้อนที่เพิ่มมากขึ้นในดาต้าเซ็นเตอร์ จากผลสำรวจ พบว่าความซับซ้อนของดาต้าเซ็นเตอร์ส่งผลกระทบต่อทุกแง่มุมของการประมวลผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาความปลอดภัยและโครงสร้างพื้นฐาน รวมไปถึงการกู้คืนระบบ การจัดเก็บข้อมูล และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกให้คะแนนความซับซ้อนในทุกๆ ด้านในระดับที่ใกล้เคียงกัน (6.6 คะแนนขึ้นไป จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) โดยความปลอดภัยมีคะแนนสูงสุดที่ 7.1 คะแนน ระดับความซับซ้อนโดยเฉลี่ยสำหรับบริษัททั่วโลกอยู่ที่ 6.7 คะแนน ส่วนความซับซ้อนโดยเฉลี่ยในทวีปอเมริกาอยู่ในระดับสูงสุดที่ 7.8 ขณะที่เอเชีย-แปซิฟิกมีคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 6.2

ผลกระทบจากความซับซ้อนของดาต้าเซ็นเตอร์มีความหลากหลายและก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายสูงมาก
มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ดาต้าเซ็นเตอร์ซับซ้อนมากขึ้น ประการแรกคือ ผู้ตอบแบบสอบถามรายงานว่าต้องจัดการกับแอพพลิเคชั่นที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น และแอพพลิเคชั่นดังกล่าวมีความสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจ โดยในระดับโลก 65 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าแอพพลิเคชั่นที่สำคัญต่อธุรกิจมีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่วนในประเทศไทย 95 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทที่ตอบแบบสอบถามระบุว่าจำนวนแอพพลิเคชั่นที่สำคัญต่อธุรกิจมีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือเพิ่มขึ้นอย่างมาก และปัจจัยสำคัญอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดความซับซ้อนสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ในเมืองไทย ได้แก่ การเติบโตของแนวโน้มไอทีสำคัญๆ เช่น ปริมาณข้อมูลที่เพิ่มสูงขึ้น (54 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถาม), คลาวด์คอมพิวติ้งสาธารณะ (49 เปอร์เซ็นต์), เซิร์ฟเวอร์และเดสก์ท็อปเวอร์ช่วลไลเซชั่น (46 เปอร์เซ็นต์สำหรับแต่ละรายการ) และคลาวด์คอมพิวติ้งภายในองค์กร (46 เปอร์เซ็นต์)

ผลการสำรวจเผยให้เห็นว่าความซับซ้อนที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ในเมืองไทยก่อให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวาง โดยผลกระทบที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดในเมืองไทยก็คือ ต้องใช้เวลานานขึ้นในการค้นหาข้อมูล โดยเกือบครึ่งหนึ่ง (47 เปอร์เซ็นต์) ขององค์กรในประเทศไทยระบุว่าเป็นผลกระทบจากความซับซ้อน ผลกระทบอื่นๆ ได้แก่ ใช้เวลานานขึ้นในการจัดสรรสตอเรจ (40 เปอร์เซ็นต์), การโยกย้ายสตอเรจ (36 เปอร์เซ็นต์), ความคล่องตัวลดลง (36 เปอร์เซ็นต์), การละเมิดระบบรักษาความปลอดภัย (36 เปอร์เซ็นต์), ข้อมูลสูญหายหรือถูกจัดเก็บไว้ผิดที่ผิดทาง (36 เปอร์เซ็นต์), ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น (35 เปอร์เซ็นต์), ระบบหยุดทำงาน (35 เปอร์เซ็นต์) และความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องดำเนินคดี (33 เปอร์เซ็นต์)

องค์กรทั่วไปในระดับโลกประสบปัญหาดาต้าเซ็นเตอร์หยุดทำงานโดยเฉลี่ย 16 ครั้งในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายโดยรวม 5.1 ล้านดอลลาร์ โดยสาเหตุหลักที่พบเห็นได้มากที่สุดก็คือ ระบบหยุดทำงาน ตามมาด้วยข้อผิดพลาดของบุคลากร และภัยธรรมชาติ

ฝ่ายไอทีดำเนินมาตรการเพื่อบรรเทาปัญหาความยุ่งยากซับซ้อน
จากผลการสำรวจ พบว่าองค์กรต่างๆ ในประเทศไทยดำเนินมาตรการหลายอย่างเพื่อลดความยุ่งยากซับซ้อน รวมถึงการกำหนดมาตรฐานสำหรับระบบรักษาความปลอดภัย การฝึกอบรมบุคลากรเพิ่มเติม การกำหนดมาตรฐานสำหรับฮาร์ดแวร์ การเพิ่มงบประมาณ และการปรับใช้ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง ที่จริงแล้ว 69 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามในเมืองไทยมองว่าการเพิ่มงบประมาณและการจัดฝึกอบรมบุคลากรเพิ่มเติม (73 เปอร์เซ็นต์) ค่อนข้างมีความสำคัญหรือมีความสำคัญอย่างมากต่อการจัดการปัญหาความยุ่งยากซับซ้อนของดาต้าเซ็นเตอร์ อย่างไรก็ดี องค์กรในเมืองไทยดำเนินโครงการริเริ่มที่สำคัญที่สุดเพียงอย่างเดียว นั่นคือ การปรับใช้แนวทางการบริหารข้อมูลอย่างโปร่งใสและครบวงจร โดยเป็นโครงการที่จะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถจำแนกประเภท เก็บรักษา และค้นหาข้อมูล เพื่อลดความเสี่ยงที่เกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายในการจัดการข้อมูล กำหนดนโยบายการเก็บรักษา และเพิ่มความคล่องตัวให้กับกระบวนการสืบค้นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (eDiscovery) ทั้งนี้ 95 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรในประเทศไทยกำลังพูดคุยเรื่องการบริหารข้อมูลอย่างโปร่งใสหรือได้ดำเนินการทดลองหรือโครงการที่แท้จริง

ปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับการบริหารข้อมูลอย่างโปร่งใสในเมืองไทย ได้แก่ การรักษาความปลอดภัย (77 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าค่อนข้างสำคัญหรือสำคัญอย่างมาก), ความพร้อมใช้งานของเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการบริหารข้อมูลอย่างโปร่งใส (62 เปอร์เซ็นต์), ปัญหาเรื่องกฎระเบียบ (56 เปอร์เซ็นต์), ดาต้าเซ็นเตอร์มีความซับซ้อนมากขึ้น (55 เปอร์เซ็นต์), ปัญหาด้านกฎหมาย (46 เปอร์เซ็นต์) และการเพิ่มขึ้นของข้อมูล (43 เปอร์เซ็นต์)

องค์กรในเมืองไทยมีเป้าหมายหลายประการเกี่ยวกับการบริหารข้อมูลอย่างโปร่งใส รวมถึงการปรับปรุงความปลอดภัย (74 เปอร์เซ็นต์ระบุว่ามีความสำคัญ), การตั้งค่าการปกป้องตามคุณประโยชน์ของข้อมูล (71 เปอร์เซ็นต์), ความสะดวกในการค้นหาข้อมูลที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที (68 เปอร์เซ็นต์), ลดค่าใช้จ่ายในการจัดการและการจัดเก็บข้อมูล (63 เปอร์เซ็นต์สำหรับแต่ละรายการ) และลดความเสี่ยงทางกฎหมายและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (60 เปอร์เซ็นต์สำหรับแต่ละรายการ)

คำแนะนำของไซแมนเทค
ต่อไปนี้คือคำแนะนำที่จะช่วยให้องค์กรหลีกเลี่ยงผลกระทบจากความซับซ้อนของดาต้าเซ็นเตอร์:

- กำหนดให้ผู้บริหารระดับสูงเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารข้อมูลอย่างโปร่งใส เริ่มต้นด้วยโครงการที่ให้ผลตอบแทนสูง เช่น การป้องกันข้อมูลสูญหาย การจัดเก็บข้อมูลระยะยาว และ eDiscovery เพื่อเก็บรักษาข้อมูลสำคัญ รวมทั้งค้นหาข้อมูลที่คุณต้องการและลบข้อมูลส่วนที่เหลือ

- รองรับการตรวจสอบหลากหลายแพลตฟอร์ม เข้าใจบริการธุรกิจที่ฝ่ายไอทีจัดหา รวมถึงสิ่งต่างๆ ทั้งหมดที่เชื่อมโยง เพื่อลดปัญหาระบบหยุดทำงานและการสื่อสารผิดพลาด

- ทำความเข้าใจว่าคุณมีสินทรัพย์ไอทีอะไรบ้าง รวมไปถึงลักษณะการใช้งานและผู้ใช้ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและความเสี่ยง องค์กรไม่ต้องซื้อเซิร์ฟเวอร์และสตอเรจโดยไม่จำเป็น ขณะที่ทีมงานจะต้องรับผิดชอบต่อทรัพยากรที่ใช้ และบริษัทมั่นใจได้ว่าจะไม่ประสบปัญหาขาดแคลนทรัพยากร

- ลดจำนวนแอพพลิเคชั่นสำรองเพื่อรองรับการกู้คืนระบบตามข้อกำหนด และลดค่าใช้จ่ายในการลงทุน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม

- ปรับใช้เทคโนโลยีการขจัดข้อมูลซ้ำซ้อนในทุกๆ ที่ เพื่อรับมือกับข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการแบ็คอัพข้อมูล

-ใช้อุปกรณ์เพื่อเพิ่มความสะดวกในการแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูลบนเครื่องจริงและเวอร์ช่วลแมชชีน

การสำรวจสถานะของดาต้าเซ็นเตอร์ประจำปี 2555 ของไซแมนเทค
การสำรวจสถานะของดาต้าเซ็นเตอร์ (State of the Data Center Survey) ประจำปี 2555 ของไซแมนเทค ดำเนินการโดย ReRez Research เมื่อเดือนมีนาคม 2555 โดยผลการสำรวจอ้างอิงคำตอบจากบุคลากรฝ่ายไอที 2,453 คนจากองค์กรต่างๆ ใน 34 ประเทศ รวมถึง 100 องค์กรจากประเทศไทย ผู้ตอบแบบสอบถามประกอบด้วยพนักงานอาวุโสฝ่ายไอทีที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและกลยุทธ์รวมไปถึงพนักงานที่ดูแลเรื่องการวางแผนและการจัดการไอที

View :1795

Consumer and Commercial Printer Market Improves Despite Slower Government Spending, Says IDC

December 7th, 2012 No comments

Bangkok, December 6, 2012 – The overall multi function-printer (MFP) and single-function printer (SFP) market experienced a healthy quarter-on-quarter (QoQ) growth of 15.8% in 3Q 2012 after the market rebounded from a slower 2Q 2012. The total printer market registered a total of 528,827 units shipped in 3Q 2012 as compared to 456,799 units in the previous quarter. Out of the overall total, inkjet SFP and MFP registered a total of 368,723 units followed by laser SFP and MFP with a total of 143,434 units and Serial Dot Matrix (SDM) with 16,670 units shipped in 3Q 2012. (Refer to figure 1 for percentage share).

The inkjet SFP and MFP market registered a robust QoQ growth of 5.3% and 21.6% respectively with an overall shipment of 98,335 units for inkjet SFP and 270,388 units for inkjet MFP in 3Q 2012. The overall sales are contributed by the commercial based inkjet models as vendors have been constantly targeting the SOHO and SME sector with newer mid range inkjets offering more functionality with lower print cost.

On the other hand, the laser SFP and MFP market experienced a decent QoQ growth of 26.8% and 5.5% in 3Q 2012 respectively with an overall shipment of 90,051 units for laser SFP and 53,383 units for laser MFP in 3Q 2012.

Donovan Low, Associate Market Analyst for ’s Imaging, Printing and Document Solutions research in Thailand says, “The printer market has shown some signs of improvement after a slow quarter in 2Q 2012 as traditionally, the market is more dynamic in terms of overall corporate and consumer spending in 3Q 2012. However, there is not as much government spending on printers as anticipated before as much of the government’s budget being allocated elsewhere. The result is that most vendors have been targeting other verticals such as banking and manufacturing”.

“Although there is an increase in sales for consumer printers, particularly in the lower end inkjet and laser models, there has been indication that much of the consumer spending has been shifted to tablets and mobile devices which in recent times has seen an increase. On top of that the global economic issues have taken its toll and have caused uncertainty amongst consumers as retail sales are reportedly being the hardest hit”, adds Donovan.

FIGURE 1: 3Q 2012 Thailand HCP Shipments

Source: IDC Asia/Pacific Quarterly HCP Tracker, 3Q 2012

Note: Line printer shipments represented less than 1.0% of the total HCP market in 3Q 2012.
As the slower period approaches again, the printer market is affected by the slowdown especially in the retail market as well as fewer corporate and government projects kicking off. However, the government announcement to lower corporate taxes from 30% to 23% will likely help to boost the commercial printer market in 2013. IDC expects several slow months ahead especially toward the end of the year with a forecast of 12.7% decline for the rest of 2012.

View :1229
Categories: Press/Release, Technology Tags:

ดีแทคเปิดตัวแอพพลิเคชั่นใหม่ Watchever เปิดช่องทางความบันเทิงอย่างถูกต้องบนมือถือ

December 7th, 2012 No comments

6 ธันวาคม 2555 – ดีแทคแนะนำแอพพลิเคชั่น Watchever เอาใจลูกค้าดีแทคและแฮปปี้ให้ได้ชมภาพยนตร์และซีรี่ส์ลิขสิทธิ์ยอดนิยม พร้อมทั้งชมทีวีสด ๆ บนมือถือได้สะดวกทุกที่บน dtac เดินหน้าเพิ่มคอนเทนต์พิเศษ โดยจะมีทั้งภาพยนตร์ไทยจากค่ายดัง ภาพยนตร์ต่างประเทศจากฮอลลีวู้ด เกาหลี และทั่วโลก ที่คัดสรรมาให้เลือกชมเป็นจำนวนมาก เตรียมมอบความบันเทิงเต็มที่ในช่วงเปิดตัวอย่างเป็นทางการต้นปีหน้า

Watchever เปิดตัวใน App Store ให้ลูกค้าได้ดาวน์โหลดมาแล้วระยะหนึ่ง เพื่อเป็นการทดลองตลาด โดยที่ผ่านมามีลูกค้าเข้ามาใช้บริการกว่า 100,000 ราย และมียอดการใช้งานวิดีโอสตรีมมิ่งกว่า 350,000 ครั้งต่อเดือน คาดว่าในช่วงต้นปีหน้าเมื่อเปิดตัวอย่างเป็นทางการจะรองรับลูกค้าที่สนใจเพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก โดยดีแทคได้เตรียมนำภาพยนตร์ชื่อดังจากเกาหลีมาให้ลูกค้าได้ชมเป็นครั้งแรกในเมืองไทยด้วย

ลูกค้าแฮปปี้และดีแทคสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Watchever ได้ทั้ง App Store และ Google Play

View :1461
Categories: Press/Release Tags:

ความหลากหลายในกลยุทธ์คอนเวอร์เจนซ์ เทรนด์ใหม่ที่ผู้ให้บริการต่างจับตามองเพื่อการสื่อสารแบบครบวงจรในอนาคต

December 7th, 2012 No comments

กาย ฮิลตัน หัวหน้าฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์บริหารจัดการรายได้ บริษัท แอมด็อคส์


โดย กาย ฮิลตัน หัวหน้าฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์บริหารจัดการรายได้ บริษัท แอมด็อคส์

คอนเวอร์เจนซ์ (Convergence) เป็นรูปแบบการสื่อสารที่ถูกกล่าวถึงมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ช่วงสามปีมานี้ ตลาดการสื่อสารเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในหลายๆ ด้าน ล่าสุดมีกระแสที่เรียกว่า omni convergence ซึ่งเป็นแนวโน้มใหม่ที่เคลื่อนกระจายไปอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมการสื่อสารทั่วโลก กระแสนี้บอกถึงมิติอันหลากหลายของคอนเวอร์เจนซ์แบบเดิมๆ และกำลังเป็นตัวขับเคลื่อนประสบการณ์ของผู้บริโภคในปัจจุบัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่นในตลาด over-the-top (OTT) อุปกรณ์ประเภทสมาร์ทดีไวซ์ (smart device) และเทคโนโลยีการเข้าถึงข้อมูลหรือเนื้อหาการสื่อสารด้วยความเร็วสูง (super-fast access)

Omni convergence กำลังบีบให้ผู้ให้บริการการสื่อสาร ทบทวนวิธีการดำเนินธุรกิจ พฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการของพวกเขา วิธีการสร้างรูปแบบการคิดราคาในลักษณะที่ให้ความสะดวกแก่ลูกค้าและจะเป็นผลดีต่อผู้ให้บริการ และช่องทางการใช้ประโยชน์จากความร่วมมือกับผู้เล่นรายอื่นๆ ในตลาด

ยุคของ Omni convergence เกิดขึ้นจากประสบการณ์การใช้บริการสื่อสารของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้ผู้ให้บริการต้องพยายามก้าวให้ทันกับความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นของลูกค้า นั่นคือ ความคาดหวังที่จะได้รับบริการแบบเรียลไทม์ที่สามารถตอบสนองทุกความต้องการอย่างครบครัน โดยไม่จำกัดประเภทของอุปกรณ์ เทคโนโลยีการเข้าถึงเนื้อหาหรือข้อมูล หรือบริการที่พวกเขาใช้อยู่

ตัวอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น สมมติว่า นาย “ก” เป็นลูกค้าของผู้ให้บริการเครือข่าย “XYZ” นาย “ก” ขับรถและใช้โปรแกรมจีพีเอสในสมาร์ทโฟนเพื่อบอกเส้นทางจากสถานที่ A ไปยังสถานที่ B ขณะขับรถอยู่นั้น นาย “ก” ก็ได้รับการแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับราคาน้ำมันของสถานีบริการน้ำมัน บนเส้นทางที่เขากำลังขับขี่ไปถึงจุดหมาย และเมื่อนาย “ก” เติมน้ำมัน ณ สถานีบริการน้ำมันแห่งนั้น เขาก็จะได้รับสิทธิประโยชน์เป็นจำนวนนาทีที่จะได้โทรฟรี คุณเชื่อว่าเรื่องแบบนี้จะเกิดขึ้นได้จริงหรือ? Waze ผู้ซึ่งพัฒนาแอพพลิเคชั่นนำทาง ได้จับมือกับหลายบริษัทเพื่อนำเสนอบริการเหล่านี้แล้ว นี่เป็นตัวอย่างการรวมทรัพยากรโดยผู้เล่นในตลาดสื่อสาร บริษัทผู้พัฒนาแอพลิเคชั่น ธุรกิจค้าปลีก และเครื่องมือนำทาง สิ่งนี้จะกลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตเรามากขึ้น

หนึ่งในความท้าทายประการแรกของ Omni convergence คือธุรกิจที่ว่องไวปราดเปรียว (Business Agility*) ที่ต้องการให้องค์กรมีลักษณะเป็น “องค์กรที่ตอบสนองได้รวดเร็ว” ด้วยอัตราความเร็วที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของบริการใหม่ แอพพลิเคชั่น และประสบการณ์ต่างๆ ที่พร้อมรองรับการใช้งานของผู้บริโภคมากขึ้น ผู้ให้บริการจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเร่งสร้างสรรค์นวัตกรรมและการแสวงหาแนวร่วมในอนาคตเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ รวมถึงการกำหนดรูปแบบใหม่ๆ ในการคิดค่าบริการ

* Business Agility คือความสามารถของบริษัทในการตอบสนองข้อมูลที่รับเข้ามา รวมทั้งปรับตัวให้เข้ากับเงื่อนไขทางการตลาดใหม่ๆ โดยการเพิ่ม ลบ ควบรวม หรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางธุรกิจอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในบริการใหม่ๆ รวมถึงอุปกรณ์และรูปแบบธุรกิจ ผู้ให้บริการจำเป็นต้องหลีกหนีจากมุมมองด้านเครือข่ายและไอทีแบบเดิมๆ เพราะจากนี้ไปอุปสรรคไม่ได้มีเพียงแค่ ‘ปัญหาด้านเครือข่าย’ หรือ ‘ปัญหาด้านธุรกิจ’ ทั้งเครือข่ายและไอทีต่างเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์เดียวกันที่ต้องนำเสนอสู่ลูกค้า สิ่งที่ต้องการ คือ วิธีการแบบบูรณาการและครบครันมากขึ้น นับตั้งแต่เรื่องเครือข่ายไปจนถึงเรื่องรายได้ โดยต้องนำเรื่องเครือข่ายหลัก การให้บริการ การคิดค่าบริการ และแง่มุมทางธุรกิจมารวมไว้ด้วยกัน การบูรณาการองค์ประกอบทางธุรกิจและเครือข่ายเช่นนี้จะเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จของบริษัทที่ต้องการชนะในสนามแข่งขันในยุค omni convergence ในปัจจุบัน

นอกจากนี้ ผู้ให้บริการยังต้องตัดสินใจว่าจะเข้าถึงบริการประเภทดาต้าได้อย่างไร เพื่อนำเสนอประสบการณ์ที่แตกต่างแก่ทั้งผู้บริโภคและคู่ค้า หากมีความตระหนักว่าผู้บริโภคถูกขับเคลื่อนด้วยอุปกรณ์และบริการใหม่ๆ ผู้ให้บริการต้องพิจารณาว่าจะสามารถนำเสนอคุณค่าสูงสุดสู่ประสบการณ์ผ่านอุปกรณ์และแอพพลิเคชั่นดังกล่าวได้อย่างไรบ้าง นั่นหมายความว่าการเปิดตัวบริการประเภท ดาต้าที่แตกต่าง ซึ่งมุ่งเน้นที่คุณค่าของประสบการณ์จากการใช้บริการสื่อสารข้อมูลมากกว่าปริมาณของข้อมูลที่นำเสนอ การเปลี่ยนจากการเข้าถึง (access) ไปสู่ประสบการณ์ (experience) เช่นนี้ต้องอาศัยการบูรณาการของข้อมูลเครือข่ายและข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจที่มากขึ้นอีกขั้น ตัวอย่างเช่น นโยบายของเครือข่ายต้องมีวิวัฒนาการจากการควบคุมการไหลของข้อมูลเพียงอย่างเดียว ไปเป็นการเปิดประสบการณ์การสื่อสารข้อมูลในรูปแบบใหม่ๆ เช่น ไดนามิค ดาต้า พาส , แชร์วอลเล็ต และการมอบส่วนลดแบบเรียลไทม์ (real-time discounting)

การคิดค่าบริการ (ประเภท วอยซ์, ข้อความเมสเสจจิ้ง และดาต้า) แบบเรียลไทม์ได้กลายเป็นมาตรฐานในอุตสาหกรรมโดยปริยาย เช่นเดียวกับการควบคุมนโยบาย ความท้าทายยังคงอยู่ที่การกำหนดว่านโยบายกับวิธีการคิดค่าบริการควรจะบูรณาการกันอย่างไรในลักษณะเรียลไทม์ เนื่องจากเดิมสองส่วนนี้มีการจัดการแบบออฟไลน์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความคล่องตัวของผู้ให้บริการในการตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเครือข่ายหรือที่ผู้ใช้สร้างขึ้น ความท้าทายอีกด้าน ก็คือ จะมีรูปแบบการจัดการการสมัครใช้แพ็คเกจแบบเรียลไทม์อย่างไรที่เอื้อให้ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนหรืออัพเดทข้อเสนอได้ทันทีที่ต้องการ ขณะเดียวกันก็สามารถกระจายข้อมูลที่เกี่ยวข้องไปยังอุปกรณ์รับส่งข้อมูลของลูกค้า ตลอดจนระบบคิดค่าบริการและระบบกำหนดนโยบายในแบบเรียลไทม์ อย่างทั่วถึง

แนวทางแบบองค์รวมที่เปลี่ยนจากเรื่องเครือข่ายไปสู่เรื่องรายได้เช่นนี้ ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการทำให้การคิดค่าบริการเป็นส่วนหนึ่งของดิจิตอล แวลู เชน รูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ต่อผู้ให้บริการ จากมุมมองด้านการจัดการรายได้ ระบบการคิดค่าบริการและเรียกเก็บเงินจำเป็นต้องสามารถลดค่าใช้จ่าย และอุปสรรคด้านเวลาที่จะทำธุรกิจลงได้อย่างมาก โดยการบูรณาการหลากหลายผลิตภัณฑ์หลักแบบเรียลไทม์ให้เป็นหนึ่งเดียว ไม่เพียงแต่ระบบการคิดค่าบริการในตัวของมันเองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการบูรณาการระบบการคิดค่าบริการกับตัวควบคุมนโยบาย และแพลตฟอร์มบริการ ซึ่งต้องช่วยให้การสร้างสรรค์และสร้างรายได้จากบริการใหม่ๆ ง่าย และเร็วขึ้น ผ่านกรอบการให้นิยามความหมายของบริการอันเดียวกัน และเสริมสร้างประสบการณ์ของลูกค้าด้วยข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ และการควบคุมการใช้บริการผ่านอุปกรณ์ใดๆ และเทคโนโลยีการเข้าถึงด้วย

View :1647

ความเห็นต่อการที่ศาลปกครองไม่รับฟ้องคดีโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G

December 4th, 2012 No comments

ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
3 ธันวาคม 2555

ตามที่ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งไม่รับฟ้องกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นฟ้อง กสทช. ในการประมูล เนื่องจากผู้ฟ้องไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ผมเห็นว่า คำสั่งดังกล่าวเป็นข่าวดีในแง่ที่จะทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการใช้บริการ ในเวลาอีกไม่นาน อย่างไรก็ตาม คำสั่งดังกล่าวได้ทำให้เห็นถึงความยากลำบากของประชาชนในการตรวจสอบการดำเนินงานของ กสทช. ทั้งที่เชื่อได้ว่า มีความผิดปรกติหลายประการในการออกแบบการประมูล ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐและประชาชน

ผมมีความเห็นและข้อเสนอแนะดังนี้

ประการที่หนึ่ง กสทช. ไม่ควรแอบอ้างว่า การไม่รับฟ้องดังกล่าวเป็นการรับรองความถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมายของการออกแบบการประมูลของตน เนื่องจากศาลปกครองยังไม่ได้พิจารณาในประเด็นดังกล่าว ในทางตรงกันข้าม กสทช. ควรใช้ความระมัดระวังมากขึ้นในการออกแบบการประมูลในอนาคตให้เกิดการแข่งขันอย่างแท้จริง ไม่สร้างความเสียหายแก่รัฐและประชาชนซ้ำอีก

ประการที่สอง ปปช. ซึ่งเป็นกลไกที่เป็นอิสระในการตรวจสอบการประมูล 3G ที่เหลืออยู่ ควรเร่งพิจารณากรณีร้องเรียนเรื่องความผิดปรกติในการประมูลดังกล่าวโดยเร็ว เพื่อป้องกันการออกแบบการประมูลที่สร้างความเสียหายแก่รัฐและประชาชนในลักษณะเดียวกันอีกในอนาคต

ประการที่สาม ศาลปกครองควรให้คำอธิบายว่า ในอนาคตประชาชนจะสามารถตรวจสอบการออกกฏและการกำกับดูแลของ กสทช. ได้อย่างไร เนื่องจากศาลตีความผู้เสียหายที่สามารถฟ้องคดีในความหมายแคบ และแนะนำให้ผู้ฟ้องคดีในช่วงแรกให้ไปร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน แต่ต่อมาก็มีคำวินิจฉัยว่าผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีอำนาจในการฟ้องคดี จนนำมาสู่การไม่รับคำฟ้อง

นอกจากนี้ ศาลปกครองควรเร่งพิจารณาคดีสัญญาโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ที่ค้างอยู่โดยเร็ว เพื่อให้เกิดความชัดเจน และสร้างการแข่งขันที่เป็นธรรมในการแข่งขันในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์สูงสุด

View :1428
Categories: Article, Press/Release Tags:

ดีแทคแต่งตั้งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด คนใหม่

December 4th, 2012 No comments

บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ประกาศแต่งตั้งให้ นายซิกวาร์ท โวส เอริคเซน ดำรงตำแหน่ง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด ของบริษัทฯ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นต้นไป

นายซิกวาร์ท โวส เอริคเซน มีประสบการณ์อย่างกว้างขวาง ในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคม นับตั้งแต่ร่วมงานกับกลุ่มเทเลนอร์ เมื่อปี 2544 นายซิกวาร์ท ได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญต่างๆ ในหลายประเทศ อาทิ รัสเซีย นอร์เว ปากีสถาน และอินเดีย ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งที่ นายซิกวาร์ท ดำรงตำแหน่ง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด ที่บริษัท เทเลนอร์ ประเทศฮังการี ซึ่งนายซิกวาร์ท ได้ดูแลแผนงานที่สำคัญ อาทิ การเปิดตัวบริการ Hipernet ซึ่งเป็นบริการโครงข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ ที่มีความเร็วสูงที่สุดในประเทศ รวมทั้งได้ดูแลความคิดริเริ่มใหม่อื่นๆ ซึ่งส่งผลให้ผลประกอบการของบริษัทฯ เติบโตอย่างต่อเนื่อง ในสภาวะการแข่งขันของตลาดที่มีความท้าทายสูง

จากการที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ในครั้งนี้ นายซิกวาร์ท กล่าวว่า “ผมมีความยินดีที่จะได้ร่วมงานกับดีแทคและทำงานร่วมกับทีมงานที่ทุ่มเทของบริษัทฯ ธุรกิจของดีแทคกำลังก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้น ซึ่งจะสร้างโอกาสทางธุรกิจเป็นอย่างมากในการก้าวเข้าสู่ยุค ทั้งนี้ การที่บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการมุ่งให้ความสำคัญต่อนโยบาย การยึดถือลูกค้าเป็นศูนย์กลาง จะสามารถทำให้ดีแทคมีความโดดเด่นเหนือคู่แข่งอย่างต่อเนื่องต่อไปในอนาคต”
นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค กล่าวว่า “ผมมีความยินดี ที่จะแจ้งให้ทราบว่า นายซิกวาร์ท จะเข้าร่วมงานกับดีแทค ผมมั่นใจว่า เขาจะสามารถใช้ความรู้ ประสบการณ์ และความเป็นผู้นำของเขา ในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับความพยายามอย่างต่อเนื่องของบริษัท ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า การที่นายซิกวาร์ทมาร่วมทีมผู้บริหารระดับสูงของเราในครั้งนี้ จะช่วยให้ทีมของเรามีความหลากหลายและความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น เป็นการเสริมสร้างการที่ทุกคนในทีมผู้บริหารระดับสูง ได้นำคุณลักษณะที่ยอดเยี่ยมเหล่านั้นมาสู่บริษัทฯ อยู่แล้ว ผมขอเชิญให้ทุกท่านร่วมกับผมในการต้อนรับนายซิกวาร์ท และให้การสนับสนุนต่อเขาอย่างเต็มที่ ความร่วมมือร่วมใจกันจะทำให้พวกเราทุกคนประสบความสำเร็จตามเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ”

View :1246
Categories: Telecom Tags:

ซินเน็คฯ มั่นใจโค้งสุดท้ายยังโชว์ผลงานเยี่ยม หลังกำลังซื้อกลับคืนสู่ตลาดหนุนอุตฯ ไอทีฟื้นตัว

December 4th, 2012 No comments


“สุพันธุ์ มงคลสุธี” มั่นใจผลงานโค้งสุดท้ายของปีนี้ ยังโชว์ผลงานสวย หลังได้ซอฟต์แวร์ Windows 8 เข้ามาเพิ่มความคึกคัก แถมได้อานิสงส์จากการประมูลใบอนุญาต และการจัดงาน “Commart Comtech 2012” ช่วยหนุน คาดผลงานทั้งปีเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อนได้ พร้อมโชว์ผลประกอบการ Q3/55 ออกมาโดดเด่น กำไรพุ่งเกือบ 50% โดยมีกำไรสุทธิที่ 128.51 ลบ. จากงวดเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 87.35 ลบ. ขณะแผนลุยพม่ารับมือ AEC ปี 58 คาดชัดเจนใน Q1/56

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานกรรมการบริหารและซีอีโอ บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SYNEX ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ ระบบสารสนเทศและอุปกรณ์ไอที รายใหญ่ของประเทศไทย เปิดเผยถึง แนวโน้มผลประกอบการในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ว่า มีทิศทางเติบโตดีขึ้น เนื่องจากในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ มีการเปิดตัวซอฟต์แวร์ Windows 8 ลงสร้างมิติใหม่ให้คนใช้ พีซี คอมพิวเตอร์ และโน้ตบุ๊ค อย่างเป็นทางการ จึงกระตุ้นให้ทั้งตลาดโน้ตบุ๊คและพีซี เติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งส่งผลดีต่อบริษัทฯ ในฐานะตัวแทนจำหน่ายโน้ตบุ๊ครายใหญ่ของประเทศไทยให้เติบโตไปในทิศทางเดียวกันด้วย นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังได้รับอานิสงส์จากการประมูลใบอนุญาต 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ซึ่งจะส่งผลให้ยอดขายสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตคึกคัก และเชื่อว่ายอดขายสินค้าดังกล่าวจะเติบโตต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า

“คาดว่าในไตรมาส 4/2555 ซินเน็คฯ จะเติบโตต่อเนื่องจากไตรมาส 3/2555ได้ และมั่นใจว่าจะเติบโตมากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนด้วย หลังจากที่ภาพรวมอุตสาหกรรมไอทีในปีนี้มีแนวโน้มเติบโตขึ้น จากการเปิดตัวซอฟต์แวร์ Windows 8 และความชัดเจนของการประมูลคลื่น 3G รวมไปถึงการจัดงานมหกรรมสินค้าไอทีครั้งยิ่งใหญ่ส่งท้ายปีกับงาน “Commart Comtech 2012” ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งได้กระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภคให้กลับเข้าสู่ตลาดอีกครั้ง ซึ่งส่งผลดีต่อซินเน็คฯ อย่างชัดเจน และคาดว่าผลประกอบการในปีนี้จะเติบโตไม่น้อยกว่าปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าในช่วงครึ่งปีแรกธุรกิจไอทีจะชะลอตัวลงตามการชะตัวของภาวะเศรษฐกิจก็ตาม” นายสุพันธุ์ กล่าว

ทั้งนี้ บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการประจำงวดไตรมาส 3/2555 (กรกฎาคม-กันยายน 2555) บริษัทฯ มีผลกำไรสุทธิจำนวน 128.51 ล้านบาท หรือหุ้นละ 0.19 บาท เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2554 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 87.35 ล้านบาท หรือหุ้นละ 0.13 บาท โดยมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 41.16 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 47.13 และเมื่อเทียบกับงบการเงินรวมในไตรมาส 2/2555 ที่มีกำไรสุทธิ 80.14 ล้านบาท หรือหุ้นละ 0.12 บาท คิดเป็นการเติบโต 48.37 ล้านบาท หรือร้อยละ 60.35 ทั้งนี้ ผลประกอบการที่เพิ่มขึ้น มาจากสาเหตุหลักคือ การลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ดี และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 49.24 ล้านบาท ในขณะที่ปีก่อนมีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน17.07 ล้านบาท

เขากล่าวต่อถึงการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อขยายธุรกิจในประเทศพม่าว่า เป็นการสานต่อนโยบายการขยายตลาดในต่างประเทศเพื่อรองรับการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 ซึ่งจะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้ซินเน็คฯ แข็งแกร่งยิ่งขึ้นโดยคาดว่าการดำเนินการดังกล่าวจะชัดเจนภายในไตรมาส 1/2556 และ หลังจากนั้นจะเห็นการขยายตลาดในประเทศพม่าเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

View :1326

บลูโค้ทเผยโฉมโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยชั้นยอด ทำให้การนำอุปกรณ์และแอพพลิเคชั่น โมบายต่างๆมาใช้งานในองค์กรปลอดภัยยิ่งขึ้น

December 1st, 2012 No comments

บริการใหม่ที่ช่วยให้พนักงานเข้าถึงข้อมูลและเครือข่ายที่ต้องการ ขณะที่องค์กรได้รับ การรักษาความปลอดภัย

กรุงเทพฯ – ประเทศไทย–29 พฤศจิกายน, 2555 – บริษัท บลูโค้ท ซิสเต็มส์ ผู้นำด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับเว็บและโซลูชั่นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบ WAN ประกาศเปิดตัว Blue Coat Mobile Device Security (MDS) บริการที่ช่วยให้ธุรกิจขยายขอบเขตการรักษาความปลอดภัยครอบคลุมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ iOS ได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในเครือข่าย โดยบริการ MDS เป็นส่วนหนึ่งของบริการระบบคลาวด์ที่อยู่ในรูปแบบ security-as-a-service จะช่วยลดช่องว่างด้านการรักษาความปลอดภัย เพราะที่ผ่านมาธุรกิจไม่สามารถควบคุมการใช้งานแอพพลิเคชั่นผ่านเว็บบราวเซอร์ของอุปกรณ์โมบายได้ สิ่งผลให้องค์กรต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากภัยคุกคามผ่านเว็บและอินเทอร์เน็ต

“นักออกแบบของเราทำงานอยู่บนโลกออนไลน์ตลอดเวลา เรามีการติดต่อกับลูกค้าผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ รวมถึงติดตามสไตล์และแนวโน้มการออกแบบใหม่ๆ อย่างใกล้ชิด การสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับการทำงานคือภารกิจที่สำคัญของผมและทีมงาน“ นายจอห์น เนเวนเนอร์ ผู้จัดการฝ่ายไอที บริษัท แคนโทนิ (Cantoni) ซึ่งเป็นบริษัทให้คำปรึกษาด้านการออกแบบให้กับโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์แนวโมเดิร์นทั่วอเมริกากล่าวและว่า “บริการของบลูโค้ทช่วยให้พนักงานของเราปลอดภัยจากภัยคุกคามต่างๆ ไม่ว่าจะทำงานจากสำนักงานหรืออยู่ที่โชว์รูม ซึ่งเราก็ต้องการขยายการป้องกันนี้ไปใช้งานไม่ว่าเราจะทำงานอยู่ที่ไหนก็ตาม”

ปัจจุบันธุรกิจมีการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบรับต่อกระแสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ด้วยการนำอุปกรณ์โมบายต่างๆมาใช้งาน กระแสการนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ในองค์กร (Bring Your Own Device : BYOD) เพื่อให้พนักงานสามารทำงานได้ยืดหยุ่น มากขึ้น รวมถึงการอนุญาตให้แขกผู้มาติดต่อ คู่ค้า หรือลูกค้านำอุปกรณ์ของตนเองมาใช้งานในองค์กรได้ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างใกล้ชิด เช่นเดียวกับแนวโน้มการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ที่มีการขยายสภาพแวดล้อมการทำงานไปสู่อุปกรณ์โมบายมากขึ้นด้วยเช่นกัน

สิ่งเหล่านี้ทำให้องค์กรต้องเผชิญและจัดการกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น 3 รูปแบบหลักๆ ได้แก่

1.ภัยคุกคามจากเว็บและอินเทอร์เน็ต 2. การสูญหายของข้อมูลจากการใช้งานแอพพลิเคชั่นปรกติและแอพพลิเคชั่นบนเว็บบราวเซอร์ของอุปกรณ์โมบาย และ 3. การหลีกเลี่ยงนโยบายความปลอดภัยของพนักงานบริการ MDS ของบลูโค้ทจะทำงานในระดับเครือข่ายและอุปกรณ์ เพื่อเสริมการปกป้องและควบคุมที่มีใช้งานอยู่ในสำนักงานใหญ่ไปสู่อุปกรณ์โมบายของพนักงานไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ใดก็ตาม ซึ่งการทำให้อุปกรณ์ โมบายต่างๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมในองค์กรได้นั้น ต้องอาศัยคุณสมบัติที่สำคัญ 3 ประการได้แก่
การป้องกันขั้นสูง (Advanced Defenses) : บริการ MDS ทำงานภายใต้ระบบป้องกันภัยคุกคาม WebPulse และการป้องกันก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น (Negative Day Defense) ของบลูโค้ท เพื่อปกป้องจากภัยคุกคามก่อนที่จะเกิดขึ้น ซึ่งมีเป้าหมายอยู่ที่คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค เดสก์ท็อป สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตของผู้ใช้การควบคุมแอพพลิเคชั่นและการทำงานแบบละเอียด (Granular Application and Operation Controls): สิ่งที่บริการ MDS ต่างจากโซลูชั่นสำหรับอุปกรณ์โมบายทั่วไปคือ โซลูชั่นทั่วไปจะบล็อกการทำงาน โมบายแอพพลิเคชั่นและไม่สามารถควบคุมการทำงานของแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ของอุปกรณ์โมบายได้ แต่บริการ MDS สามารถควบคุมแอพพลิเคชั่นและการทำงานแบบละเอียดครอบคุลมทั้งโมบายแอพพลิเคชั่นปรกติและแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานผ่านโมบายเว็บบราวเซอร์ ซึ่งการควบคุมแอพพลิเคชั่นแบบละเอียดนี้ช่วยให้องค์กรกำหนดนโยบายการใช้งานที่ยืดหยุ่น ป้องกันการทำข้อมูลสูญหายโดยไม่ตั้งใจ

กำหนดนโยบายตามบริบท (Contextual Policies) : เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างความต้องการในการเข้าถึงระบบเครือข่ายของพนักงานและความต้องการในการรักษาความปลอดภัยของธุรกิจ บริการ MDS มาพร้อมกับกรอบการกำหนดนโยบายอันชาญฉลาด ที่ทำให้องค์กรสามารถกำหนดนโยบายรักษาความปลอดภัยและใช้งานตามผู้ใช้ อุปกรณ์ สถานที่ หรือชนิดของข้อมูล อันช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดนโยบายที่เหมาะสมทั้งกับการใช้งานของบุคคลและธุรกิจได้โดยยังคงการรักษาความปลอดภัยที่เข้มแข็ง

“ การทำงานขององค์กรยุคใหม่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในสำนักงานเท่านั้น แต่ต้องสามารถทำงานได้จากทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นสนามบิน ร้านกาแฟ หรือที่ใดก็ได้ที่พนักงานต้องการ การจะทำแบบนี้ได้ องค์กรต้องผสานรวมอุปกรณ์โมบายต่างๆ เข้ากับสภาพแวดล้อมระบบเครือข่ายขององค์กรอย่างลงตัว รวมถึงขยายการปกป้องและควบคุมนโยบายรักษาความปลอดภัยไปสู่อุปกรณ์เหล่านี้ด้วย “ นายคริสเตียน คริสเตียเซ่น รองประธานฝ่ายโปรแกรมและรักษาความปลอดภัย บริษัท ไอดีซี กล่าวและว่า “ความต้องการเข้าถึงระบบเครือข่ายทำให้ฝ่ายไอทีต้องพบกับความท้าทายในการบริหารจัดการอุปกรณ์ปลายทางในระดับหลายร้อยหรือหลายพันชิ้น ขณะเดียวกันก็ต้องจัดหาการรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุมและยืดหยุ่นสำหรับอุปกรณ์เหล่านี้ด้วย ”

บริการ MDS จากบลูโค้ทจะให้บริการผ่านทาง Blue Coat Cloud Service ซึ่งประกอบขึ้นจากโครงสร้างพื้นฐานระดับเอ็นเทอร์ไพรซ์ ซึ่งจะมอบประสิทธิภาพและการขยายเพิ่มเติม โดยมีการรับประกันระดับการให้บริการ (Service Level Guarantee) สูงถึง 99.999 เปอร์เซ็นต์

“อุปกรณ์โมบายต่างๆ กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างมากในองค์กร แต่ปัจจุบันผู้อุปกรณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่กลับไม่ได้รับการปกป้องจากความเสี่ยงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภัยคุกคามจากเว็บ การสูญหายของข้อมูลจากการใช้งานแอพพลิเคชั่นผ่านเว็บบราวเซอร์ของอุปกรณ์โมบาย” นายโจนาธาน แอนเดอร์สัน ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ผลิตภัณฑ์ ประจำภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก บริษัท บลูโค้ท ซิสเต็มส์ อิงค์ กล่าวและว่า “บริการ Mobile Device Security จาก บลูโค้ทช่วยขยายขอบเขตการปกป้องและควบคุมนโยบายที่มีอยู่ในระบบเครือข่ายขององค์กรไปสู่อุปกรณ์โมบายต่างๆ อันช่วยให้ธุรกิจมั่นใจได้ว่าทั้งผู้ใช้และข้อมูลได้ถูกปกป้องแล้วเช่นกัน”

บริการ MDS เป็นองค์ประกอบใหม่ล่าสุดของโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยแบบรวมศูนย์ Blue Coat Unified Security ซึ่งจะมอบการป้องกันภัยคุกคาม​แบบร่วมมือกัน​โดย​ผู้​ใช้ทั่ว​โลก (Global Threat Defense) การกำหนดน​โยบายที่สามารถครอบคลุม​ได้ทุกจุด (Universal Policy) ​และ​การรายงาน​แบบรวมศูนย์ (Unified Reporting) ของผู้ใช้ในแต่ละอุปกรณ์ โซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยแบบรวมศูนย์ (Unified Security) ประกอบด้วยอุปกรณ์ Blue Coat Secure Web Gateway และอุปกรณ์เสมือน (virtual appliances) และบริการในรูปแบบคลาวด์ Blue Coat Cloud Service ซึ่งจะมอบการรักษาความปลอดภัยในระดับที่องค์กรต้องการ

การวางจำหน่าย
บริการ Blue Coat Mobile Device Security จะเปิดให้บริการในวันที่ 10 ธันวาคม

View :1205