Archive

Archive for June, 2013

คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ เรียกร้องผู้ให้บริการ 3G รับประกันความเร็วขั้นต่ำ โฆษณาตรงไปตรงมา และกำหนด FUP ที่เป็นธรรมและเป็นมิตรกับผู้บริโภค

June 21st, 2013 No comments

สารี เรียกร้อง ผู้ให้บริการ 3Gต้องรับประกันความเร็วขั้นต่ำ โฆษณาตรงไปตรงมาและกำหนด FUP ที่เป็นธรรมและเป็นมิตรกับผู้บริโภค เผยข้อมูลต่างประเทศใช้วิธีกำหนดประเภทบริการที่ถูกควบคุมและจำกัดในช่วง พีคฮาวน์ ขณะที่เว็บเสิร์ชและอีเมล์ยังใช้งานได้ตามปกติ พร้อมระบุมีผู้ให้บริการบางรายล็อคความแรงของสัญญาณด้วย

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่าไม่เห็นด้วยกับสำนักงานกสทช.ที่ให้ข่าวว่าไม่สามารถควบคุมความเร็วหลังหมดโปรโมชั่นได้ เป็นเรื่องที่ผู้บริโภคยอมรับไม่ได้ เพราะอย่างน้อยกสทช.ต้องกำกับให้บริษัทรับประกันความเร็วและความเร็วขั้นต่ำต้องไม่น้อยกว่า 345 kbps ลักษณะของ FUP ที่ถือปฏิบัติกันทั่วไปคือ ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ 3G จะอนุญาตให้ผู้บริโภคที่สมัครใช้ แพ็คเกจแบบไม่จำกัด สามารถดาวน์โหลด-อัดโหลดข้อมูลด้วยอัตราความเร็วสูงสุด 42 เมกะบิตต่อวินาที (mbps) ในปริมาณข้อมูลที่จำกัด เช่น 5 ,3 หรือ 1 กิกะไบต์ และเมื่อใช้ข้อมูลครบตามปริมาณที่กำหนดไว้แล้ว ความเร็วในการดาวน์โหลด-อัพโหลดข้อมูลจะลดลงจาก 42 เมกะบิตต่อวินาที เหลือ 384 กิโลบิตต่อวินาที (kbps)

นางสาวสารีกล่าวต่อไปว่า สำหรับ FUP ที่ใช้กันแบบสากลนั้น พบว่า บริษัท T Mobile ของประเทศเยอรมันและ Vodafone ของประเทศอังกฤษ นั้นจะกำหนดบริการที่ถูกควบคุมคือ การฟังเพลงและดูวิดีโผ่านอินเทอร์เน็ต การดาวน์โหลด-อัพโหลด งานที่ต้องใช้การรับส่งไฟล์ระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ตด้วยกัน (P2P file sharing)รวมถึงการใช้งานแอปพลิเคชั่นบางตัวที่ต้องใช้การถ่ายโอนข้อมูลจำนวนมาก ขณะที่การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตยังคงใช้งานได้ตามปกติ

นอกจากนี้ยังมีรูปแบบการกำหนด FUP ใหม่ๆ ที่ผู้ให้บริการในแถบยุโรปเริ่มนำมาใช้ คือ การจำกัดความเร็วของการถ่ายโอนข้อมูลในบางบริการเฉพาะช่วงที่มีคนใช้งานจำนวนมาก (peak hour)) แทนการจำกัดความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลทั้งหมดหลังจากผู้บริโภคใช้บริการข้อมูลครบตามปริมาณที่จำกัดไว้แล้ว เช่น บริษัท British Telecom ของประเทศอังกฤษกำหนดให้จำกัดความเร็วของการใช้ P2P file sharing ในช่วงเวลา 16.00-24.00 น. ของวันทำการ และเวลา 09.00-24.00 ของวันหยุด ขณะที่บริษัท Orange จากประเทศฝรั่งเศส ได้กำหนดช่วง peak hour ไว้ตั้งแต่ 17.00-23.30 น.ในวันทำการและ 18.00-23.30 ในวันหยุด เป็นต้น

“FUP มีการใช้จริงทุกประเทศ แต่ ที่สำคัญคือ เมื่อใช้งานปริมาณข้อมูลเต็มตามแพ็คเกจแล้ว เช่น 5 หรือ 3 กิกะไบต์ เขาจะไม่เตะผู้ใช้บริการออกจากระบบ3G ทั้งระบบ แต่จะห้ามใช้เฉพาะบริการที่ต้องใช้ปริมาณข้อมูลสูงเท่านั้น ส่วนการใช้บริการประเภทค้นคว้าข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต (web search) หรืออีเมล์ ยังสามารถใช้ความเร็วตามมาตรฐานของระบบ 3G ได้ ผู้ให้บริการของไทยจึงควรกำหนด FUP ที่เป็นมิตรกับผู้บริโภคบ้าง การที่ผู้ให้บริการของไทยกำหนด FUP สำหรับการให้บริการ3จีไว้ที่ 64 กิโลบิตต่อวินาที (kbps) ถือว่าต่ำมาก ทั้งที่เมื่อประมูลคลื่น 2.1 กิกะเฮิร์ตมานั้นก็เพื่อให้บริการ 3G แต่ความเร็วที่ผู้บริโภคได้รับเมื่อใช้บริการเต็มตามแพ็คเกจกลับสูงกว่า GPRS เพียงเล็กน้อยเท่านั้น (ความเร็วสูงสุดของGPRS คือ 40 kbps) และที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ ผู้บริโภคบางรายร้องเรียนว่าสมัครใช้บริการ3Gกับผู้ให้บริการรายหนึ่งแพ็คเกจราคา 799 บาท แต่เมื่อใช้จริงกลับได้รับความเร็วไม่ถึง 1 mbps โดยบริษัทแจ้งกับผู้ร้องว่า ได้ล็อคความแรงของสัญญาณไว้หากต้องการความแรงสัญญาณมากขึ้นจะต้องสมัครแพ็คเกจที่ราคาสูงกว่านี้ ซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้ใช้บริการอย่างชัดเจน “นางสาวสารีกล่าว

นาวสาวสารีกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ผู้ให้บริการมักโฆษณาอัตราความเร็วสูงสุด เช่น 42 mbps แต่ที่สำคัญควรต้องแสดงข้อมูลอัตราความเร็วที่ดาวน์โหลดได้จริง ซึ่งหมายถึงช่วงความเร็วของอัตราความเร็วที่ผู้บริโภคร้อยละ 50 ซึ่งอยู่ส่วนกลางของการกระจายตัวของอัตราความเร็วสามารถดาวน์โหลดได้จริง เช่น 2-5 mbps หรืออาจใช้อัตราความเร็วเฉลี่ย เพื่อให้ความเร็วในการดาวน์โหลดของผู้ใช้บริการแต่ละรายไม่แตกต่างกันมาก

View :1457
Categories: 3G Tags:

จุฬาฯ ร่วมมือ 4 บริษัทชั้นนำด้านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ให้บริการระบบเครือข่ายไร้สายในจุฬาฯ โครงการ WiFi4CU

June 20th, 2013 No comments

MOU_WiFi4CU_8362X

วันพุธที่ 19 มิถุนายน 2556 เวลา 15.00 น. ณ ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานในพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือและแถลงข่าวโครงการ เพื่อติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครอบคลุมพื้นที่การให้บริการเครือข่ายไร้สายในแนวราบทั้งหมด ซึ่งจะทำให้นิสิตและบุคลากร รวมทั้งบุคคลภายนอกสามารถใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายของมหาวิทยาลัยได้อย่างทั่วถึง ตอบสนองการเป็น Digital University ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นโครงการที่ขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ “คล่องตัว” ของจุฬาฯ ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือโครงการ ประกอบด้วย นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) นายรังสรรค์ จันทร์นฤกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานบริการสื่อสาร ไร้สายและบริการเพื่อสังคม บมจ.ทีโอที และ นายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจโมบายล์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

ทั้งนี้ ความร่วมมือในข้อตกลงโครงการติดตั้งและให้บริการระบบเครือข่ายไร้สายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีระยะเวลาทั้งสิ้น 2 ปี และอาจขยายระยะเวลาในความร่วมมือครั้งนี้ต่อไปได้อีกในอนาคต

ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาฯ เปิดเผยว่า โครงการ WiFi4CU จะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารผ่านบริการเครือข่ายไร้สาย หรือ WiFi ในจุฬาฯ ที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ครอบคลุมทั่วทั้งมหาวิทยาลัย โครงการนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประชาคมจุฬาฯ ในการเข้าถึงแหล่งความรู้ต่างๆ ผ่านระบบเครือข่ายไร้สายในรอบรั้วจามจุรี ซึ่งประกอบด้วยนิสิตทุกระดับการศึกษากว่า 40,000 คน และบุคลากรจุฬาฯ กว่า 8,000 คน โครงการ WiFi4CU นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่ความสำเร็จของการเป็น Digital University ที่สมบูรณ์แบบของจุฬาฯ”

นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า “ปีนี้ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญของประเทศไทย เพราะได้มีการนำเทคโนโลยีอย่าง 3G ซึ่งเป็น Mobile และ Wifi ซึ่งเป็น Fix Mobile เข้ามาให้บริการแก่คนไทยอย่างเต็มรูปแบบ เทคโนโลยีดังกล่าว ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จะก่อให้เกิดการเข้าถึงโลกข้อมูลข่าวสารบนอินเตอร์เน็ต ที่จะทำให้ภาคการศึกษามีขีดความสามารถในการพัฒนาอย่างรวดเร็ว พร้อมต่อการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพร้อมรับการมาถึงของ AEC อย่างเต็มที่ ซึ่งการได้เข้ามามีส่วนเป็นผู้ให้บริการ Wifi ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเสมือนหนึ่งการทำหน้าที่ของคนไทยในการร่วมสนับสนุนการเดินหน้าของภาคการศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจหลักของประเทศ อีกทั้งยังเป็นการเสริมภาพลักษณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะ มหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศที่มีความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม อย่างชัดเจนอีกด้วย”

นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า “ดีแทคมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมในก้าวที่สำคัญใน “โครงการ WiFi4CU” ซึ่งมีเจตนารมณ์สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ “Internet for all”ของดีแทค ที่มุ่งมั่นที่จะนำความเป็นผู้นำในเทคโนโลยีการสื่อสารระดับโลกมาทำให้คนไทยทุกคนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ภายใน 3 ปี เพื่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและเข้าถึงโอกาสต่างๆ ที่เท่าเทียมกัน อันจะส่งผลให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศในภาพรวม และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น ดีแทคขอร่วมสนับสนุนและร่วมผลักดันกลยุทธ์ “Digital University” ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะผลักดันสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก เราเชื่อมั่นว่านี่คือก้าวที่สำคัญอีกก้าวที่จะเข้าสู่นวัตกรรมการเรียนการสอนรูปแบบใหม่อย่างสมบูรณ์แบบ คณะอาจารย์และนิสิตทุกคนจำนวนรวมมากกว่า 40,000 คน จะสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อการศึกษาจากทุกพื้นที่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ปัจจุบันไลฟ์สไตล์การใช้งานอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพียงแค่รูปแบบคอมพิวเตอร์แบบเดิม แต่มาในรูปแบบที่หลากหลายแพลตฟอร์ม เช่นแท็บเล็ต สมาร์ทโฟน เป็นต้น และการเรียนรู้ได้มุ่งสู่การใช้ประโยชน์จากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเป็นสำคัญ และ WiFi เป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่สามารถตอบสนองทุกรูปแบบของการสื่อสารเพื่อการศึกษาในโลกอินเทอร์เน็ตอย่างเต็มที่อีกด้วย

นายรังสรรค์ จันทร์นฤกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานบริการสื่อสารไร้สายและบริการเพื่อสังคม บมจ.ทีโอที กล่าวว่า โครงการ WiFi 4CU เป็นความร่วมมือครั้งสำคัญที่จะนำประเทศไปสู่ Smart Education เพื่อเพิ่มโอกาส สร้างความรู้ และเพิ่มศักยภาพทางการศึกษาของไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียน การสอน การติดต่อสื่อสาร และค้นคว้าหาข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยให้บรรลุประสิทธิผลสูงสุด ที่สำคัญจะเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับสถาบันการศึกษาในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน หรือ ASEAN Community ซึ่งทีโอที ขอขอบคุณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ไว้วางใจให้ ทีโอที เป็นหนึ่งในโอเปอร์เตอร์ในการติดตั้งให้บริการ TOT wifi ภายในมหาวิทยาลัยกว่า 600 จุด ซึ่งคาดว่าคณาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัยจะได้ใช้บริการที่มีคุณภาพสูง wifi ภายใน 2-3 เดือนนี้ โดย ทีโอที ได้วางยุทธศาสตร์ของ TOT wifi จะเป็นอีกหนึ่งบริการคุณภาพสูงที่รองรับขยายสู่กลุ่มนักเรียน นักศึกษา ซึ่งมีอัตราการใช้งานออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นมากอย่างต่อเนื่อง โดย ทีโอที จะร่วมมือกับพันธมิตรในการกระจายสัญญาณตามมหาวิทยาลัยและสถานศึกษาต่าง ๆ เพื่อให้ถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด โดยที่ผ่านมา ทีโอที มีประสบการณ์ในการติดตั้งและให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไร้สาย ICT Free Wi-Fi ในพื้นที่สาธารณะ จำนวน 30,000 จุด เพื่อรองรับนโยบาย Smart Thailand ของรัฐบาล นอกจากนี้ ทีโอที ยังได้รับความไว้วางใจจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้ติดตั้งและให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สาย ICT Free Wi-Fi เพิ่มอีก จำนวน 150,000 จุดทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน ปี 2557

นายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจโมบายล์ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า กลุ่มทรู ยินดีที่ได้มีส่วนร่วมสนับสนุนสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทย นำศักยภาพความเป็นผู้ให้บริการ WiFi คุณภาพที่เร็วและครอบคลุมกว่า 100,000 จุด ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ร่วมให้บริการภายใต้โครงการ WiFi4CU โดยกลุ่มทรูได้ติดตั้งฮอตสปอตคุณภาพ WiFi by TrueMove H เพิ่มเป็น 400 จุด ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 19 คณะ และอีก 2 สถาบันการศึกษาทั่วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยความสะดวกให้สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สายภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผ่านสมาร์ทโฟน และโน้ตบุ้ค ได้ทุกที่ทุกเวลาเอื้อประโยชน์ให้นิสิต และคณาจารย์ สามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ตอบโจทย์ชีวิตอิสระไร้สายของคนยุคดิจิทัล ทั้งนี้ ลูกค้าทรูมูฟ เอช แบบรายเดือน สามารถใช้ WiFi ได้ไม่จำกัด สำหรับลูกค้าทรูมูฟ เอช แบบเติมเงิน หรือลูกค้าทรูมูฟ เอช ที่ไม่มี WiFi รวมอยู่ในแพ็กเกจ สามารถรับสิทธิ ใช้ WiFi ฟรี ทุกวันๆละ 30 นาที เพียงกด *100# โทรออก รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.truewifi.net

โครงการการติดตั้งและให้บริการระบบเครือข่ายไร้สาย CU Wifi
ณ พื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ Mobile Operator 4 ราย ได้แก่ AIS, DTAC, TOT, และ Truemove เข้าร่วมโครงการการให้ติดตั้งและให้บริการระบบเครือข่ายไร้สาย (Wifi) ณ พื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย เบื้องต้น จะเป็นการติดตั้งจุดให้บริการ Wifi ในพื้นที่แนวราบของเขตพื้นที่การศึกษาแนวราบ
โดยลูกค้าของทั้ง 4 Mobile Operator ที่มีแพ็คเกจ Wifi จะสามารถใช้บริการได้ทันที ในเขตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริเวณพื้นที่แนวราบในเขตพื้นที่การศึกษาทั้งหมด
วิธีการใช้บริการ
ลูกค้าเอไอเอส
- สำหรับลูกค้า AIS ที่มี Wifi แพ็กเกจ สามารถใช้งานได้ทันที ทั้งการใช้งานผ่าน Username & Password และ Wifi Auto Login

- สำหรับลูกค้า AIS ผู้ที่ยังไม่มี Wifi แพ็กเกจ สามารถสมัครผ่าน *388# โทรออก แล้วรอรับ SMS แจ้ง Wifi Username & Password (อัตราค่าบริการ: 99 บาท/เดือน (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

ลูกค้าดีแทค
- ลูกค้าดีแทคและแฮปปี้ที่มีแพ็กเกจและใช้งาน dtac wifi อยู่แล้ว สามารถ Login ใช้งานในพื้นที่ได้ตามปกติ

- ลูกค้าดีแทคและแฮปปี้ที่มีบริการ dtac wifi ใช้ได้ไม่จำกัดรวมอยู่ในแพ็กเกจหลัก โทร. *4000# เพื่อขอรับชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านได้ทันที

ลูกค้า TOT
- TOT Wi-Fi ตอบทุกไลฟ์ ออนไลน์ได้ง่าย ๆ

Notebook

เลือก View Available Wireless Network เลือก TOT Wi-Fi Ò คลิก Connect เปิดใช้งานเว็บบราวเซอร์
และเลือกไปเว็บใดก็ได้ Ò ระบบจะเปิดหน้า log in โดยอัตโนมัติ ใส่ Username และ Password
Ò คลิก Sign in
หรือลงทะเบียนที่ TOT WIFI Smart Apps

Download “TOT WIFI Smart Apps” ลงใน Smartphone หรือ Tablet ได้ทั้งระบบ Android และ ios

1. กรณีมี Account อยู่แล้ว

Ø Icon บริหารจัดการ profile (มุมบนขวาสุด) Ò “Manage Profiles Ò “Add Profile”

Ò เลือก Username / Password Ò “Add Account” Ò log in เพื่อเข้าใช้งานได้ทันที

2. กรณี Account ใหม่

Ø Buy Account Ò Package ที่ต้องการ Ò ชำระเงิน Ò log in เพื่อเข้าใช้งานได้ทันที

ลูกค้า Truemove
- ลูกค้าทรูมูฟ เอช แบบรายเดือน สามารถใช้ WiFi ได้ไม่จำกัด

- สำหรับลูกค้าทรูมูฟ เอช แบบเติมเงิน หรือลูกค้าทรูมูฟ เอช ที่ไม่มี WiFi รวมอยู่ในแพ็กเกจ สามารถรับสิทธิ ใช้ WiFi ฟรี ทุกวันๆละ 30 นาที เพียงกด *100# โทรออก

View :1435
Categories: Internet Tags:

ก.ไอซีที เดินหน้าพัฒนา GCC 1111 เป็นศูนย์กลางคอลเซ็นเตอร์ของภาครัฐ

June 18th, 2013 No comments

นางเมธินี เทพมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน (Government Contact Center: ) ว่า ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน หรือ เป็นอีกโครงการหนึ่งที่รัฐบาลได้เห็นความสำคัญในการนำ ICT มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการแก่ประชาชน โดยได้เชื่อมโยงฐานข้อมูลครอบคลุม 20 กระทรวง 10 หน่วยงาน อาทิ สำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ ราชบัณฑิตยสถาน เป็นต้น และหน่วยงานอิสระอีก 3 หน่วยงาน คือ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ไว้บริการด้วยเลขหมายเดียว คือ 1111 ซึ่งประชาชนทั่วประเทศสามารถติดต่อขอข้อมูล ข่าวสาร รวมทั้งขอแบบฟอร์มต่างๆ หรือแจ้งเรื่องร้องเรียนการบริการของหน่วยงานภาครัฐได้ตลอดเวลา

สำหรับศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน หรือ GCC 1111 นี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้มอบหมายให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการให้บริการข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน ซึ่งได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 เป็นต้นมา ตลอดระยะเวลาทางศูนย์ฯ ได้มีการพัฒนาในด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากรที่ให้บริการประจำศูนย์ การพัฒนาข้อมูลที่ให้บริการให้ทันสมัย รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ และโปรแกรมต่างๆ เพื่อมารองรับในการให้บริการที่เพิ่มมากขึ้น และยังได้ให้บริการข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในโครงการเร่งด่วนของรัฐบาลอีกด้วย ซึ่งที่ผ่านมามีประชาชนสนใจใช้บริการอย่างต่อเนื่อง กระทรวงฯ จึงมีแนวความคิดปรับปรุงและพัฒนา GCC 1111 ให้มีการบริหารจัดการที่มีทิศทางชัดเจน รวมถึงการดำเนินงานที่มีขั้นตอนกระชับ ไม่ซ้ำซ้อน และการบริการที่ได้มาตรฐานระดับสากล สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และทันสมัย เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสารสนเทศและการบริการภาครัฐอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน โดยในปี 2556 นี้ได้มีการเพิ่มช่องทางการให้บริการผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ อาทิ Facebook Twitter Instagram และกระทู้ในเว็บไซต์ www.pantip.com เพื่อให้บริการประชาสัมพันธ์ข้อมูลภาครัฐ อาทิ การจัดกิจกรรม นิทรรศการ การรายงานสภาพอากาศ ราคาทองคำ ราคาน้ำมัน การรายงานสภาพการจราจร และสถานการณ์ด่วนต่างๆ เป็นต้น รวมทั้งพัฒนาการให้บริการข่าวสารข้อมูลผ่านระบบตอบรับอัตโนมัติ

ล่าสุดกระทรวงฯ ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “GCC 1111 : พลังภาครัฐ สรรค์สร้างสู่สังคม” ขึ้นระหว่าง ผู้ประสานงานโครงการ GCC 1111 ของทุกหน่วยงานภาครัฐกับทีมงานโครงการ GCC 1111 โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประสานงานโครงการ GCC 1111 ประจำหน่วยงานสามารถเข้าใจ และเห็นความสำคัญของภารกิจการเป็นตัวแทนของรัฐบาล และหน่วยงานภาครัฐ อีกทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างผู้ประสานงานกับทีมงานของโครงการ GCC 1111 ในการสนับสนุนด้านข้อมูล ข่าวสาร และรับเรื่องร้องเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการโครงการ GCC 1111 และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน
ประชาชนที่สนใจสามารถใช้บริการศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน รวมทั้งร้องเรียนเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐบาล ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน โดยผ่านทางโทรศัพท์หมายเลข 1111 โทรสาร อีเมลล์ และเว็บไซต์ http://www.gcc.go.th และผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ได้ที่ www.facebook.com/GCC1111, twitter.com/GCC_1111 เป็นต้น

View :1336

ก.ไอซีที หนุน สสช. แปลงแผนแม่บทฯ สู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่

June 18th, 2013 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)
สรุปผลการดำเนินงานการแปลงแผนแม่บทระบบสถิติของประเทศไทยสู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่ พ.ศ. 2556 ว่า เนื่องจากพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550 มาตรา 5 และมาตรา 6 (1) ได้กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นหน่วยงานกลางของรัฐในการดำเนินการเกี่ยวกับสถิติตามหลักวิชาการ และจัดทำแผนแม่บทเกี่ยวกับการดำเนินงานทางสถิติของรัฐ ดังนั้นสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) หน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงไอซีที จึงได้ดำเนินการจัดทำแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย พ.ศ. 2554 – 2558 โดยมีสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (Thailand Development Research Institute : TDRI) และ สหประชาชาติ (United Nations : UN) ร่วมในการศึกษา ซึ่งแผนฉบับดังกล่าวนี้มีวัถตุประสงค์เพื่อให้งานด้านสถิติของประเทศมีความเป็นเอกภาพ ข้อมูลสถิติมีมาตรฐาน ลดความซ้ำซ้อนของการจัดทำสถิติและนำไปสู่การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐและใช้ข้อมูลสถิติสารสนเทศร่วมกันและเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ผู้บริหารในพื้นที่สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจดำเนินนโยบายที่เร่งด่วนสำคัญและนำไปใช้ในการพัฒนาในพื้นที่ได้ สสช.จึงได้ดำเนินโครงการแปลงแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทยสู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่ขึ้น โดยในปี 2555 ได้ดำเนินการนำร่องไปแล้ว 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอ่างทอง นครนายก ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์และกำแพงเพชร ซึ่งผลการดำเนินการดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง

สำหรับโครงการแปลงแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทยสู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่ พ.ศ. 2556 นี้ สสช.ได้กำหนด กลุยุทธ์ในการดำเนินการไว้ 3กลยุทธ์ คือ การขับเคลื่อนด้วยกลไกคณะกรรมการจัดระบบสถิติประเทศไทย 3ด้าน (ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ซึ่งมีรัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีเป็นประธานคณะฯ กลยุทธ์ที่สองการสร้างพันธมิตรด้วยการลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เพื่อขยายผลการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ระดับกลุ่มจังหวัด ซึ่งได้มีการลงนามข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ เรื่อง การขยายผลการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในระดับพื้นที่ ภายใต้โครงการ การแปลงแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทยสู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่ ลงนามไปแล้วเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2556 และกลยุทธ์สุดท้ายการจัดระบบและรูปแบบการทำงานที่ผสมผสานระหว่างผู้ใช้และผู้ผลิตข้อมูล โดยนำความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล และประเด็นยุทธศาสตร์มากำหนดเป้าหมายในการทำงาน

โดยในปีนี้มีเป้าหมายในการลงพื้นที่ 2 กลุ่มจังหวัด คือ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 (ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ชัยนาท) ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ และผู้ว่าราชการจังหวัดอีก 3 ท่าน เป็นที่ปรึกษาฯ และกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 (สกลนคร นครพนม มุกดาหาร) ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ และผู้ว่าราชการจังหวัดอีก 2 ท่าน เป็นที่ปรึกษาฯ โดยคาดว่าภายในปี 2557 จะขยายผลการดำเนินงานไปให้ครบทั้ง 76 จังหวัด และ 18 กลุ่มจังหวัดทั่วประเทศ โดยจะดำเนินการตามยุทธศาสตร์จังหวัด และประเด็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการติดตามแผนพัฒนาสถิติระดับพื้นที่ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วม AEC
เมื่อโครงการนี้สำเร็จลุล่วงประเทศไทยจะมีชุดข้อมูลสถิติและสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ (Product Champion) และสนับสนุนการวิเคราะห์การกำหนดตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ (Positioning) ในระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด โดยชุดข้อมูลดังกล่าวจะเป็นชุดข้อมูลที่สำคัญ จำเป็นและเพียงพอต่อการตัดสินใจในเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดกลุ่มจังหวัด และประเด็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่โดยมีหน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบการผลิตข้อมูลอย่างแท้จริง รวมทั้งเป็นการสร้างนวัตกรรมในการใช้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจการจัดทำแผนพัฒนาสี่ปีหรือแผนพัฒนาแบบหมุนเวียน (Rolling Plan) ส่งผลให้เกิดธรรมาภิบาลในภาครัฐ (Good Governance) และยังเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านสถิติขององค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างวัฒนธรรมการผลิต และการใช้ข้อมูลสถิติและสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจโดยมีความเป็นมืออาชีพด้านการผลิตและใช้ข้อมูลสถิติและสารสนเทศ

View :1280

สมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) เสนอแนะแนวทางพัฒนาแผนการสำหรับการใช้โทรทัศน์ระบบดิจิตอล และการกำหนดคลื่นความถี่ ‘Digital Dividend’สำหรับให้บริการด้านการสื่อสารแบบเคลื่อนที่

June 18th, 2013 No comments

ขณะที่ทุกคนกำลังเฝ้าคอยการตัดสินใจของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในการจัดประมูลย่านความถี่ของคลื่นวิทยุแก่ผู้ให้บริการรับส่งสัญญาณวิทยุ สมาคมจีเอสเอ็ม (The GSM Association: GSMA) ยังคงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยจัดสรรคลื่นความถี่ 700MHz สำหรับให้บริการเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) แบบเคลื่อนที่ให้สอดคล้องกับแผนแม่บทเกี่ยวกับคลื่นวิทยุขององค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชีย และแปซิฟิก (Asia Pacific Telecommunity: APT)

“นี่เป็นช่วงเวลาที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย และไม่ว่า กสทช. จะกำหนดคลื่นความถี่สำหรับการสื่อสารไร้สายซึ่งสอดคล้องกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรืออาจเลือกที่แตกต่างไปจากภูมิภาค ก็ล้วนนำไปสู่ผลลัพธ์ราคาแพงสำหรับประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน” ทอม ฟิลลิปส์ (Tom Phillips) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่าย Government and Regulatory Affairs ของ GSMA กล่าว “เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า การเลือกความถี่สำหรับให้บริการระบบดิจิตอลสำหรับการสื่อสารเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในระยะยาว ซึ่งจะช่วยให้คนไทยสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างสะดวก ตลอดจนนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสังคมอันใหญ่หลวงต่อประเทศ และภูมิภาค”

ทั้งนี้ กสทช. เผชิญกับคำถามที่ว่า จะกำหนดคลื่นความถี่อิสระได้อย่างไร เมื่อมีการปรับเปลี่ยนการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์แบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน (digital terrestrial television: DTT) หรือที่เรียกว่า ‘Digital Dividend’ อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจของ กสทช. ในเรื่องดังกล่าวจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศตามที่ GSMA และบอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (BCG) ได้ระบุในรายงานเมื่อเดือนมี.ค. 2556 ที่ผ่านมา ซึ่งหาก กสทช. เลือกกำหนดความถี่ 700MHz สำหรับให้บริการการสื่อสารไร้สายตั้งแต่ปี 2558 ก็จะสามารถเพิ่มรายได้แก่ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) ภายในปี 2568 มากกว่าการกำหนดความถี่ดังกล่าวสำหรับให้บริการการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิตัลภาคพื้นดิน (DTT) ถึง 1.48 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังก่อให้เกิดการสร้างงานเพิ่มขึ้นอีกกว่า 55,000 ตำแหน่ง

“การจัดสรรคลื่นความถี่ 700MHz สำหรับให้บริการด้านการสื่อสารไร้สายไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญเท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางสังคมที่ยิ่งใหญ่ รวมถึงการกระจายความมั่งคั่ง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม บริการด้านการพัฒนา เช่น วงการศึกษา และเฮลธ์แคร์” นายไมเคิล เมเยอร์ (Michael Meyer) หุ้นส่วน และกรรมการผู้จัดการของ BCG กล่าว

ในทางกลับกัน หาก กสทช. ตัดสินใจเลือกใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวสำหรับให้บริการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์แทน ก็จะทำให้เกิดปัญหาการแทรกแซงข้ามเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านตามมา ได้แก่ อินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว มาเลเซีย และพม่า ซึ่งคาดว่า จะเลือกคลื่นความถี่ดังกล่าวสำหรับให้บริการด้านการสื่อสารไร้สาย โดยปัญหาที่เกิดขึ้นจะบั่นทอน และลดคุณภาพของบริการให้น้อยลงในบริเวณชายแดนระหว่างประเทศ โดยอาจกล่าวได้ว่า ความขัดแย้งเรื่องคลื่นความถี่อาจส่งผลให้ต้องสูญเสียจีดีพีที่ควรเพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งผลให้การสร้างงานใหม่ลดลง 96,000 ตำแหน่ง [1]

คำแนะนำสำหรับหน่วยงานกำกับดูแล
สมาคมจีเอสเอ็มขอเรียกร้องให้ กสทช. จัดทำแผนแม่บทฉบับสมบูรณ์เรื่องการปรับเปลี่ยนระบบโทรทัศน์ใหม่เป็นระบบดิจิตอล ซึ่งจะช่วยให้ตลาดเข้าใจ และมีความมั่นใจในระบบนิเวศด้านการสื่อสารไร้สาย โดยเนื้อหาในแผนแม่บทควรประกอบด้วย

1. คำมั่นอย่างเป็นทางการของหน่วยงานในการกำหนดคลื่นความถี่ 700MHz (ช่วงย่านความถี่ 698MHz – 806MHz) สำหรับให้บริการเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านบรอดแบนด์ไร้สาย
2. การปรับใช้แผนแม่บทที่สอดคล้องในระดับภูมิภาค (APT) ซึ่งใช้แผนคลื่นความถี่วิทยุ 700MHz 2x45MHz FDD โดยกำหนดขอบเขตคลื่นความถี่สำหรับให้บริการ DTT ไม่เกิน 694MHz
3. นโยบาย และกรอบเวลาสำหรับการยุติระบบโทรทัศน์แบบอนาล็อก (ASO)
4. นโยบาย และกรอบเวลาสำหรับปรับโครงสร้างคลื่นความถี่สำหรับ DTT ในระดับต่ำกว่า 694MHz

หมายเหตุถึงบรรณาธิการ
[1] รายงานฉบับเดือนมี.ค. 2556 เรื่อง “Socio-Economic Benefits of Assigning the Digital Dividend to Mobile in Thailand” จัดทำโดยบริษัทบอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (Boston Consulting Group)

เกี่ยวกับ Digital Switchover
การปรับเปลี่ยนระบบโทรทัศน์เป็นแบบดิจิตอล (DTT) จะสามารถนำเสนอรายการแก่ผู้รับชมได้เป็นจำนวนมาก ด้วยคุณภาพ และบริการที่ดียิ่งขึ้น เช่น การโต้ตอบ และโทรทัศน์ที่แสดงภาพคมชัด มีความละเอียดสูง (HDTV) เนื่องจากคุณภาพความถี่วิทยุสำหรับการรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลมีประสิทธิภาพสูงกว่าการรับส่งสัญญาณในระบบอนาล็อกเป็นอย่างมาก โดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU: International Telecommunication Union) เปิดเผยว่า โทรทัศน์ระบบดิจิตอลสามารถเผยแพร่รายการได้อย่างมีประสิทธิภาพถึง 20 รายการ ซึ่งมีแบนด์วิธเท่ากับรายการโทรทัศน์แบบอนาล็อกเพียงรายการเดียว ดังนั้น การปรับเปลี่ยนไปสู่โทรทัศน์ระบบดิจิตอลจะช่วยให้บริการเผยแพร่วิทยุโทรทัศน์ขยายตัวมากขึ้น และเปิดโอกาสให้สามารถใช้งานด้านอื่นๆจากคลื่นความถี่ที่เป็นอิสระได้ ทั้งนี้ การใช้เทคโนโลยีโทรทัศน์แบบดิจิตอลเป็นการพัฒนาที่ดี และสมบูรณ์ที่สุดในหลายประเทศ

เกี่ยวกับความกลมกลืนในระดับภูมิภาค
เมื่อเดือนก.พ. 2556 นายกรัฐมนตรีจากมาเลเซีย และสิงคโปร์ได้ประกาศเจตนาร่วมกันในการใช้ความถี่ย่าน 700MHz ซึ่งให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลสำหรับให้บริการด้านการสื่อสารไร้สาย เพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บทของ APT โดยประเทศอื่นๆที่เหลือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สนับสนุนแผนดังกล่าวประกอบด้วย บรูไน อินโดนีเซีย และเวียดนาม ทั้งนี้ การกำหนดความถี่สำหรับให้บริการด้านการสื่อสารไร้สายอย่างสอดคล้องกันนั้น ก่อให้เกิดผลประโยชน์เพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า
ดังนี้

· อุปกรณ์การสื่อสารไร้สายมีราคาถูกลง ตลาดขยายตัวขึ้น และช่วยให้ผู้ผลิตบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ
· ตลาดที่กว้างขึ้นนำเสนอตัวเลือกที่มากขึ้นให้แก่ผู้บริโภค
· ลดปัญหาการแทรกแซงตามพรมแดนระหว่างประเทศ
· นักท่องเที่ยวขาเข้า และขาออกของประเทศสามารถตรวจหาสัญญาณคลื่นความถี่เพื่อใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น

# # # # #

เกี่ยวกับสมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA)
สมาคมจีเอสเอ็ม (The GSM Association: GSMA) เป็นองค์กรปกป้องผลประโยชน์ของผู้ให้บริการด้านการสื่อสารไร้สายในกว่า 220 ประเทศทั่วโลก ประกอบด้วยสมาชิกเกือบ 800 ราย จาก 230 บริษัท ซึ่งดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับระบบนิเวศการสื่อสารไร้สาย ได้แก่ ผู้ผลิตหูโทรศัพท์ บริษัทซอฟต์แวร์ ผู้ให้บริการอุปกรณ์ และอินเทอร์เน็ต รวมถึงองค์กรในภาคอุตสาหกรรม อาทิ สถาบันบริการด้านการเงิน เฮลธ์แคร์ สื่อมวลชน การขนส่ง และสาธารณูปโภคทั่วไป นอกจากนี้ สมาคมจีเอสเอ็มยังเป็นผู้จัดงานชั้นนำต่างๆในแวดวงการสื่อสารไร้สาย เช่น งานโมบาย เวิลด์ คองเกรส (Mobile World Congress) และ งานโมบาย เอเชีย เอ็กซ์โป (Mobile Asia Expo)

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม เยี่ยมชมเว็บไซต์ของ GSMA ได้ที่ www.gsma.com หรือ Mobile World Live ที่ www.mobileworldlive.com เว็บไซต์สำหรับอุตสาหกรรมการสื่อสารไร้สาย

View :1339

สพธอ.ร่วมจัดงานประชุม ยกระดับมาตรฐานการรับมือและจัดการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

June 17th, 2013 No comments

DSC_0123

ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ThaiCERT) ภายใต้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับนานาชาติ “Forum of Incident Response and Security Teams (FIRST) : การประชุมสัมมนาประจำปี” ปีที่ 25 ระหว่างวันที่ 16 – 21 มิถุนายน 2556 ณ โรงแรมคอนราดกรุงเทพ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับสากลของผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก ภายใต้หัวข้อ “Incident Response: Sharing To Win” ซึ่ง FIRST เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1990 และประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ตอบสนองและจัดการกับเหตุการณ์ฉุกเฉินไซเบอร์มากกว่า 250 หน่วยงาน ทั้งจากภาคเอกชน ภาครัฐ มหาวิทยาลัย และสถาบันอื่น จากในทวีปอเมริกา เอเชีย ยุโรป แอฟริกา และกลุ่มหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ปัจจุบันถือได้ว่า FIRST เป็นผู้นำในการต่อต้านอาชญากรรมออนไลน์ การก่อวินาศกรรมและการก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งเป็นผู้ส่งเสริมความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานที่ตอบสนองและจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์กับหน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมาย

วัตถุประสงค์ของการจัดประชุมครั้งนี้ มุ่งให้เกิดความร่วมมือและประสานงานป้องกันเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยคอมพิวเตอร์ทั่วโลก ผ่านเวทีประชุมระดับนานาชาติ โดยประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพ เพื่อให้เกิดการแบ่งปันประสบการณ์ แลกเปลี่ยนแนวคิด และข้อมูลด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์ให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ซึ่งกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงานมีหลายส่วน เช่น Lightning Talk: การสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมการประชุม โดยใช้เวลาในการนำเสนอความคิดไม่เกินคนละ 5 นาที International gatherings of Special Interest Groups: การเข้าร่วมกลุ่มความสนใจพิเศษ เช่น CVSS v3, Botnet SIG and Metrics SIG. Security Challenge: การทดสอบความรู้ทางเทคนิค เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ ท้าทาย และเป็นประโยชน์กับผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไทยและผู้ที่สนใจทั่วไป

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวในฐานะประธานเปิดงานว่า ปัญหาภัยออนไลน์เป็นปัญหาใกล้ตัวที่เกิดได้ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับบุคคล ถึงระดับหน่วยงาน ในปัจจุบันพบว่าหลายหน่วยงานของประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมด้านการป้องกันและรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และพบว่าปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความตระหนักและความรู้เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของคนในองค์กร และไม่ได้วางแผนการบริหารและจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม ดังนั้นรัฐบาลจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เพื่อมาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ และเมื่อสัปดาห์ที่แล้วคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบในหลักการของร่างกรอบนโยบายเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วย

ยุทธศาสตร์หลัก 3 ด้าน คือ

1) การบูรณาการการจัดการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ
2) การสร้างศักยภาพในการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินทางความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
3) การปกป้องโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศของประเทศ และ
ยุทธศาสตร์รอง 5 ด้าน คือ
4) การประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
5) การสร้างความตระหนักและรอบรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
6) การพัฒนาระเบียบและกฎหมายเพื่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
7) การวิจัยและพัฒนาเพื่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ
8) การประสานความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

โดยรัฐบาลจะได้นำยุทธศาสตร์ทั้ง 8 นี้ มาเป็นกรอบในการพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สำหรับประเทศไทยใน 5 ปีข้างหน้า

นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ภายใต้กระทรวงเทคโนโลยีสารสรเทศและการสื่อสาร กล่าวเพิ่มเติมว่า การได้รับมอบหมายเป็นเจ้าภาพการจัดงานสัมมนาประชุมประจำปี FIRST ในครั้งนี้ ถือว่าเป็นเกียรติที่ประเทศไทยได้รับความไว้วางใจจากทีมผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก สพธอ. เป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ เพื่อลดความเสี่ยงของภาครัฐและเอกชนในการดำเนินการต่างๆ ทางออนไลน์ ซึ่งภัยคุกคามไซเบอร์ (Cybersecurity Threat) ในปัจจุบันมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตและมีความซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้น สพธอ. จึงได้ผลักดันการทำงานเชิงรุกของไทยเซิร์ต ให้ทำหน้าที่เป็นกลไกหลักของประเทศด้านความมั่นคงปลอดภัยทางสังคมออนไลน์ และมีการประสานงานความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานเซิร์ตทั่วโลก ที่ได้มาร่วมประชุมสัมมนา 25th Annual FIRST Conference 2013 ในครั้งนี้

View :1576

Ovum warns BYOD is here to stay as 70% of employees use personal devices to access corporate data

June 17th, 2013 No comments

London, 6 June 2013 – Bring-your-own-device () is here to stay, states , as it reveals the findings of its 2013 multi-market BYOX (bring-your-own-anything) employee study*. With corporate activity by full-time employees (FTEs) remaining steady at almost 60% over the past two years, the global industry analysts warn business leaders to respond and adapt now to this change in employee behaviour, rather than being steamrollered by it.

Launching the research at its BYOX World Forum today in London, Ovum revealed that the BYOX phenomenon shows no signs of disappearing, as nearly 70% of employees who own a smartphone or tablet choose to use it to access corporate data. The personal tablet market continues to grow, and with personal tablet ownership by FTEs rising from 28.4% to 44.5% over the last 12 months, more businesses will see these devices on their networks. Moreover, this activity will continue whether the CIO wants it to or not. Ovum’s study shows that 67.8% of smartphone-owning employees bring their own smartphone to work, and 15.4% of these do so without the IT department’s knowledge and 20.9% do so in spite of an anti-BYOD policy.

“Trying to stand in the path of consumerized mobility is likely to be a damaging and futile exercise,” says Richard Absalom, consumer impact technology analyst at Ovum. “We believe businesses are better served by exploiting this behaviour to increase employee engagement and productivity, and promote the benefits of enterprise mobility.”

Ovum’s research also depicts the rise of the bring-your-own-application (BYOA) trend. While email and calendar remains the most commonly used application on both corporately provisioned and personally owned devices, the usage of new-generation cloud productivity applications, such as enterprise social networking, file sync and share and IM/VoIP, is growing fast. Worryingly, Ovum found that these types of apps are increasingly being sourced by employees themselves and not through managed corporate channels – 25.6% of employees discovered their own enterprise social networking apps, while 22.1% and 30.7% of employees discovered their own file sync and share apps and IM/VoIP apps, respectively.

“The thread that runs through all of the data is that IT is not keeping up with the changing demands and behaviour patterns of the new mobilized, consumerized workforce. Nowhere is this clearer than in the BYOA data. If employees are sourcing their own applications to do their job, then IT is not delivering the right tools or a good enough user experience for its employees,” concludes Absalom.

View :1198
Categories: Press/Release Tags: ,

ไอบีเอ็มแนะสถาบันการเงินสร้างรายได้จากฐานลูกค้า ด้วยการพลิกโฉมธุรกิจสู่รูปแบบดิจิตอล

June 17th, 2013 No comments

การแข่งขันอย่างรุนแรงของธุรกิจให้บริการด้านการเงินส่งผลให้สถาบันการเงินต่างจำเป็นจะต้องเฟ้นหานวัตกรรมเพื่อมาปรับใช้กับรูปแบบธุรกิจและขยายช่องทางรายได้ใหม่ๆ เพื่อเอาชนะคู่แข่ง ไอบีเอ็มชี้การพลิกโฉมและปรับเปลี่ยนธุรกิจสู่ระบบดิจิตอลโดยให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลักเป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จ

นับจากที่เริ่มมีโซเชียลมีเดียเกิดขึ้น โลกของเราได้ก้าวสู่ยุคของโมบายล์คอมพิวติ้งอย่างเต็มตัว ในขณะที่คลื่นลูกที่สองของการปฏิวัติเทคโนโลยีโมบายล์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปรับใช้ระบบโมบายล์ในแวดวงธุรกิจกำลังจะมาถึง หลายๆ บริษัทหันมาใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีโมบายล์เพิ่มมากขึ้น เพื่อผลักดันการติดต่อสื่อสารอย่างใกล้ชิดกับลูกค้า ซึ่งจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ ส่งเสริมความผูกพันที่มีต่อแบรนด์ ปรับปรุงผลประกอบการธุรกิจ และก้าว “แซงหน้า” คู่แข่งในตลาดที่พัฒนาแล้ว

ควาโฟ โอโฟรี-โบอาเต็ง หัวหน้าฝ่ายโกลบอลโซลูชั่น – ตลาดบริการลูกค้าและข้อมูลเชิงลึก การธนาคารและการเงิน กล่าวว่า “เราได้กำหนดแนวทางหลัก 4 ข้อสำหรับการจัดการการปฏิรูปด้านดิจิตอล (Digital Trans-formation) และการ “สร้างรายได้” (Monetize) จากฐานลูกค้าที่มีอยู่ รวมถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแนวทางที่ว่านี้ได้แก่ 1. การผนวกรวมช่องทางจัดจำหน่ายที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นหลัก 2. การพัฒนาจาก “โซเชียลมีเดีย” ไปสู่ “โซเชียลบิสซิเนส” 3. การเพิ่มขีดความสามารถในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่โดยใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลแบบที่ไม่มีโครงสร้าง และ 4. การขยายขีดความสามารถเพื่อคาดการณ์ความต้องการในอนาคต”

ไอบีเอ็มระบุธุรกิจการเงินและประกันภัยจะได้รับประโยชน์จากแนวทางแต่ละข้อ ดังนี้

1. การผนวกรวมช่องทางจัดจำหน่ายที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นหลัก ช่วยให้สถาบันการเงินสามารถลดค่าใช้จ่ายในการประมวลผลธุรกรรม ด้วยอัตราส่วนธุรกรรมออนไลน์พื้นฐานที่เพิ่มขึ้นและ ประสบการณ์จากการใช้บริการผ่านหลายช่องทางที่มีประสิทธิภาพช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ลูกค้าสถาบันการเงินจะได้รับประโยชน์เพิ่มมากขึ้นจากบริการออนไลน์ของธนาคาร ทำให้ลูกค้ามีความภักดีต่อธนาคารมากขึ้น ลดอัตราการเปลี่ยนไปใช้บริการของสถาบันการเงินอื่น และปรับปรุงภาพลักษณ์ในสายตาของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

2. การพัฒนาจาก “โซเชียลมีเดีย” ไปสู่ “โซเชียลบิสซิเนส” ช่วยสถาบันการเงินเพิ่มรายได้ด้วยการจัดหานวัตกรรมทางด้านผลิตภัณฑ์และบริการให้แก่ลูกค้า เสริมสร้างความภักดีของลูกค้าด้วยการเพิ่มจำนวนลูกค้าที่ให้การสนับสนุนและช่วยโปรโมตผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคาร รวมถึงฟื้นฟูความเชื่อมั่นและปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า

3. การใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่โดยใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (unstructured data) ช่วยเพิ่มรายได้จากลูกค้า (คาดว่าสูงสุด 40% ในตลาดใหม่ๆ) เพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์และบริการเสริมที่เกี่ยวข้อง 10-15%และเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าและช่วยรักษาฐานลูกค้าที่มีอยู่

4. การขยายขีดความสามารถเพื่อคาดการณ์ความต้องการในอนาคต ทำให้สถาบันการเงินสามารถนำผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการนำบริการมาปรับใช้ใหม่และตอบสนองความท้าทายของตลาดและการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างฉับไวต เพิ่มประสิทธิภาพในการจำหน่ายบริการเสริมที่เกี่ยวข้องและการนำเสนอแคมเปญ รวมทั้งตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยสร้างเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์และเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า

ไอบีเอ็มเชื่อว่าธุรกิจบริการด้านการเงินจะเติบโตรุดหน้าได้ จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงระบบสารสนเทศให้สามารถพัฒนาและดำเนินการโดยอาศัยข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ ก่อนหน้าคู่แข่ง ทั้งนี้ ไอดีซีระบุว่าไอบีเอ็มครองตำแหน่งผู้นำอันดับ 1 ในด้านการจัดหาบริการและโซลูชั่นเทคโนโลยีด้านการเงินแก่ธนาคารชั้นนำระดับโลกที่ติดอันดับ Top 25 โดยไอบีเอ็มนำเสนอโซลูชั่นที่ครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุดในอุตสาหกรรม ครอบคลุมทั้งซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ บริการ พร้อมความเชี่ยวชาญเชิงลึกเกี่ยวกับอุตสาหกรรม ส่งผลให้ไอบีเอ็มมีความพร้อมมากกว่าในการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าเพื่อกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกที่จะผลักดันการปฏิรูปธุรกิจและการสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับการประสานงานร่วมกัน

View :1112

ก.ไอซีที เร่งแก้ไขร่างนิยามอาชีพและอุตสาหกรรมสาขา ICT

June 17th, 2013 No comments

นางเมธินี เทพมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาแก้ไขร่างนิยามอาชีพและอุตสาหกรรมสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และดิจิตอลคอนเทนต์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำร่างนิยามอาชีพและอุตสาหกรรมสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และดิจิตอลคอนเทนต์ ว่า เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้กระทรวงแรงงาน แต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพและอุตสาหกรรม โดยแต่งตั้งผู้แทนจากกระทรวงต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 34 ท่าน เป็นคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาแก้ไขร่างนิยามอาชีพและอุตสาหกรรมให้ทันสมัยและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งให้ข้อคิดเห็นแก้ไขปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะในการเขียนร่างนิยาม เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น คณะกรรมการที่ปรึกษาฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาแก้ไขร่างนิยามอาชีพและอุตสาหกรรมในสาขาต่างๆ ขึ้นอีก 31 คณะ อาทิ สาขาเกษตรกรรม ป่าไม้ และการประมง สาขาสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย สาขาการศึกษา สาขาการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น ซึ่งกระทรวงไอซีทีได้รับมอบหมายให้ศึกษาและพิจารณาแก้ไขร่างนิยามอาชีพและอุตสาหกรรมในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิตอลคอนเทนต์ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นอนุกรรมการอีก 15 ท่าน

สำหรับการจัดทำประเภทมาตรฐานอาชีพประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อการบริหารจัดการด้านแรงงาน และการจัดเก็บสถิติเศรษฐกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันในเรื่องอาชีพ มีระบบฐานข้อมูลเดียวกัน สามารถนำข้อมูลไปใช้อ้างอิงเปรียบเทียบได้ ทั้งในระดับหน่วยงานและในระดับประเทศ การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพประเทศไทยใช้หลักเกณฑ์การจัดแบ่งหมวดหมู่ และกำหนดรหัสตามการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพสากล (International Standard Classification of Occupations : ISCO) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) ซึ่งประเทศไทยได้จัดทำประเภทมาตรฐานอาชีพมาแล้วจำนวน 4 ครั้ง ส่วนการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิตอลคอนเทนต์ จัดทำมาแล้วจำนวน 2 ครั้ง โดยในครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 3

ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาแก้ไขร่างนิยามอาชีพและอุตสาหกรรมสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิตอลคอนเทนต์ โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เป็นผู้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานอาชีพสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิตอลคอนเทนต์ ซึ่งแบ่งเป็น 6 สาขาอาชีพ คือ สาขา Software & Application สาขา Hardware สาขา Project Management สาขา Telecommunication สาขา Network & Security และสาขาAnimation โดยจะแบ่งคณะทำงานย่อยแยกตามแต่ละสาขาอาชีพด้วย และเมื่อคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาร่างนิยามอาชีพเรียบร้อยแล้ว จะนำเสนอต่อคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพและมาตรฐานอุตสาหกรรม เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

View :1216

ดีแทคนำสัญญาณ TriNet บุกภาคเหนือ พร้อมดีแทคไตรเน็ตสมาร์ทโฟน ตอกย้ำวิสัยทัศน์ “Internet for All”กระตุ้นธุรกิจสร้าง SMEs เข้มแข็ง

June 17th, 2013 No comments

dtac
เผยโฉมคอลล์เซ็นเตอร์ 10 ภาษารองรับเศรษฐกิจเสรี AEC

14 มิถุนายน 2556 ดีแทครุกขึ้นเหนือเปิดสัญญาณ TriNet พร้อมนำมือถือ ดีแทคไตรเน็ตโฟน สมาร์ทโฟนคุณภาพ สอดรับวิสัยทัศน์ใหม่ “Internet for All” สมาร์ทโฟนสเป็คสูง ในราคาที่เป็นเจ้าของได้ง่าย ขยายโอกาสให้ทุกคนใช้ 3G เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้เร็วขึ้น พร้อมเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการลูกค้า พัฒนาศักยภาพดีแทคคอลล์ เซ็นเตอร์ ให้พนักงานบริการลูกค้าได้ถึง 10 ภาษา และขยายช่องทางจัดจำหน่ายร่วมมือกับพันธมิตรในภาคเหนือ เปิด TriNet Partner ช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าและบริการของดีแทคได้มากขึ้น และยังเป็นการช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้ชาวเหนือ

ปัจจุบันผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือมีแนวโน้มการใช้งานดาต้าเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีจำนวนลูกค้าดีแทคที่ใช้งานดาต้าถึง 9 ล้าน ในขณะที่การเปิดให้บริการเครือข่าย 3 จี บนคลื่น 2100 เมกะเฮิร์ตซ์ ส่งผลให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการรองรับการให้บริการสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล แต่ปัจจุบัน โทรศัพท์มือถือที่รองรับ 3 จี บนคลื่น 2100 ในเมืองไทยมีจำนวนเพียง 20% เท่านั้น ในขณะที่การใช้งานดาต้าในภาคเหนือ มีการใช้ปริมาณข้อมูลต่อคน ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ

จากข้อมูลหอการค้า จังหวัดเชียงใหม่ ภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือไตรมาส 1 ปี 2556 ขยายตัวดีแต่มีอัตราชะลอลง โดยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวหลังจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐสิ้นสุดในไตรมาสก่อนหน้า สาหรับการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมทรงตัว ด้านการท่องเที่ยวขยายตัวดีโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากจีน จากข้อมูลของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยในปีนี้ อันดับหนึ่งคือ นักท่องเที่ยวชาวจีน โตขึ้นถึง 60% เมื่อเทียบกับช่วง 3 เดือนแรกของปีที่แล้ว ซึ่งมาจากความนิยมหนังดัง Lost in Thailand ทำให้เกิดกระแสการทะลักเข้ามาของนักท่องเที่ยวชาวจีน ประกอบกับมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและประชุมสัมมนา การส่งออกที่ขยายตัวดีมาก โดยเฉพาะการค้าชายแดนไปประเทศเพื่อนบ้าน และนโยบายการเปิดประเทศของพม่าส่งผลให้มีความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น เป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการรายย่อย หรือ SMEs ที่มีผลิตผลทางการเกษตร และผลิตภัณฑ์ที่เป็นของพื้นบ้านที่มีคุณภาพ และสามารถทำรายได้ส่งออกให้กับประเทศ โดยมีการติดต่อค้าขายกับประเทศจีน พม่า ลาว เพื่อเปิดตลาดการค้าไปสู่ AEC

จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) ที่เป็นกุญแจสำคัญของการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยเฉพาะการเชื่อมโยงกับตลาดใหญ่อย่างประเทศ จีน สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก็คือการเป็นอนุภูมิภาคที่มีความเจริญรุ่งเรือง และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีทำเลที่ตั้งอยู่ บริเวณศูนย์กลางของทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือที่มีพลวัตมากที่สุดของโลก

นอกจากนี้เชียงใหม่ ยังเป็นหนึ่งในจังหวัดที่กำลังจะเป็น ไมซ์ ซิตี้” (Mice City) หรือศูนย์กลางการจัดการแสดงสินค้าภายในประเทศ เป็นหนึ่งแนวทางในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมไมซ์ หลังจากเปิดเขตประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ในปี 2558 ซึ่งถือเป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่จะช่วยส่งเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตได้อย่างมั่นคงและมีเสถียรภาพ ลดการพึ่งพิงจากต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นการกระจายรายได้จำนวนมหาศาลให้หมุนเวียนจากส่วนกลางไปยังส่วนภูมิภาค

นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค กล่าวว่า “ดีแทคได้จัดโครงการ 77/77 อินเตอร์เน็ต ฟอร์ ออล โรด ทริป (77/77 Internet for All Road Trip) ต่อไปยังภาคเหนือ เพื่อทดสอบสัญญาณ TriNet และนำวิสัยทัศน์ Internet For All เป้าหมายสำคัญที่ดีแทคได้ประกาศไว้ให้เป็นจริง ในการสร้างความเท่าเทียมเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทุกพื้นที่ เพื่อยกระดับคุณภาพ ชีวิตของประชากร และยังสร้างมิติใหม่ให้ภาคโทรคมนาคมช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ

ดังนั้นเมื่อตลาดมีศักยภาพการเติบโตที่ชัดเจน เครือข่ายดีแทค TriNet ก็พร้อมให้บริการในปลายเดือนมิถุนายนนี้ ประกอบกับการมี โทรศัพท์มือถือจากดีแทคไตรเน็ต สมาร์ทโฟนที่มีสเป็คสูงในราคาสมเหตุผล จึงเป็นจังหวะดีที่ดีแทคจะได้มุ่งมั่นพัฒนาสินค้าและบริการ ให้สนองตอบความต้องการของลูกค้า ได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากอินเตอร์เน็ตได้สะดวก รวดเร็ว นอกจากนี้ดีแทคยังได้เพิ่มศักยภาพ คอลล์ เซ็นเตอร์ รับสายลูกค้าได้มากถึง 10 ภาษา และยังได้มีการปรับโฉมหน้า ศูนย์บริการดีแทค และร่วมมือกับพันธมิตรแต่งตั้ง TriNet Partner ช่องทางจัดจำหน่ายให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายในการใช้บริการของดีแทคได้มากขึ้น”

นายชัยยศ จิรบวรกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มลูกค้า ดีแทค กล่าวเพิ่มเติมว่า “ ในปีนี้ดีแทคได้ปรับโฉมงานบริการลูกค้า และพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานในการให้บริการลูกค้าครั้งใหญ่ ด้วยงบลงทุนกว่า 800 ล้านบาท ด้วยปรัชญาในการให้บริการลูกค้ากว่า 26.5 ล้านราย โดยการยึดให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centricity) เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้แบบครบถ้วน ทั้งเรื่องการใช้งานและเรื่องของจิตใจเพราะดีแทครู้ว่าเราคือเพื่อนที่อยู่ด้วยกันมานาน ดีแทคจึงใส่ใจดูแลทุกรายละเอียด และพร้อมให้คำปรึกษากับผู้ใช้บริการทุกคนเหมือนกัน

ปัจจุบันลูกค้ามีหลากหลายเชื้อชาติและภาษา และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้งานที่มีแนวโน้มใช้ดาต้าในการค้นหาข้อมูล ข่าวสาร และติดต่อกันทางโซเชียลมีเดียมากขึ้น เมื่อมี 3G ลูกค้าเริ่มเปลี่ยนมาใช้สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์พกพา ซึ่งมีหลายคนที่เริ่มต้นใช้สมาร์ทโฟนเป็นครั้งแรก และต้องการคำแนะนำที่ถูกต้องทั้งการเลือกซื้อ รวมถึงการใช้งานฟังก์ชั่นและแอพพลิเคชั่นที่ถือเป็นเรื่องใหม่ ดีแทคจึงได้พัฒนาความสามารถในการให้บริการลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการเปิดดีแทค คอลล์ เซ็นเตอร์ 10 ภาษาได้แก่ ภาษาจีน, พม่า, ลาว, กัมพูชา, Bahasa มาลายู, Bahasa อินโดนีเซีย, เวียดนาม, ยาวี, ญี่ปุ่น, อังกฤษ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว และแรงงานต่างชาติ และยังพัฒนาการให้บริการลูกค้าทางโซเชียลมีเดีย ทั้ง Facebook บริการ E-Service ทางดีแทคเว็บไซต์ เว็บไซต์ Pantip และ Line เพื่อให้ตอบสนองไลฟ์สไตล์ของลูกค้ายุคใหม่

พร้อมกันนี้ดีแทคยังได้ปรับโครงสร้างช่องทางใหม่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าในการติดต่อกับดีแทค ให้ได้รับสะดวกสบาย สอดคล้องกับรูปแบบการใช้บริการของลูกค้ามากขึ้น สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดี
ให้กับลูกค้าทุกคน โดยการปรับโฉมศูนย์บริการดีแทค ที่มีทั้งการขายและบริการแบบครบวงจร (Sales & Service Integration) จัดเสนอให้ตรงใจลูกค้าแต่ละกลุ่ม ซึ่งได้ทยอยปรับปรุงจะครบ 100 สาขาไปแล้ว และมีแผนปรับปรุงกว่า 300 สาขาทั่วประเทศ

และการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายเพิ่มเติม ด้วยการแต่งตั้ง TriNet partner ซึ่งเป็นการยกระดับศักยภาพการขายและให้บริการของลูกตู้ขึ้นมาเป็นพันธมิตร ที่มีความพร้อมในการขายสินค้ามือถือไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์แบรนด์และ Phone สมาร์ทโฟนและบริการให้คำปรึกษาแนะนำการใช้งาน สมาร์ทโฟนและแท๊บเล็ต โดยตั้งเป้าที่จะขยายให้ครบ 300 แห่ง ทั่วประเทศ

การปรับปรุงประสิทธิภาพของงานบริการลูกค้าทั้งในส่วนของ Call Center และการขยายศูนย์บริการ ดีแทค ฮอลล์, ดีแทค เซ็นเตอร์ และดีแทค เอ็กซ์เพรส จะเป็นการสร้างงานสร้างรายได้เพิ่มขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ” นายชัยยศ กล่าวสรุปในตอนท้าย

View :1324
Categories: Press/Release Tags: