Archive

Posts Tagged ‘สบท.’

เที่ยวนอกช่วงปีใหม่ ระวัง! หมดสนุกเพราะโรมมิ่ง

December 27th, 2010 No comments

พกมือถือเที่ยวเมืองนอกหรือเมืองชายแดนช่วงปีใหม่ ระวังการใช้บริการโรมมิ่ง มิเช่นนั้นอาจต้องจ่ายค่าบริการอานหลังกลับถึงบ้าน ทางที่ดีควรเลือกเปิดบริการเท่าที่จำเป็น รู้เท่าทันเครื่องที่ใช้ และศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน

สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม หรือ เตือนคนไทยที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ หรือบริเวณจังหวัดชายแดนต่างๆ หากเคยสมัครใช้บริการโรมมิ่งโทรศัพท์เคลื่อนที่ไว้  ควรสอบถามและตรวจสอบกับเครือข่ายที่ใช้บริการก่อนว่า บริการโรมมิ่งที่เปิดไว้ครอบคลุมด้านใดบ้าง เช่น การโรมมิ่งเสียง โรมมิ่งดาต้า โรมมิ่งเอสเอ็มเอส และควรกำหนดการใช้ตามความจำเป็น โดยสามารถเลือกปิดบริการที่ไม่จำเป็น เช่น ขอโรมมิ่งเฉพาะเสียง แต่ปิดเอสเอ็มเอสและดาต้าหรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

เหตุที่ สบท. เป็นห่วงในเรื่องนี้ เนื่องจากว่า ในช่วงที่ผ่านมา สบท. ได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีการถูกเรียกเก็บค่าบริการการใช้บริการโรมมิ่ง หรือการเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างประเทศ ในอัตราที่สูงมาก ทั้งที่ไม่มีการใช้งาน หรือใช้งานเพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะในส่วนของการโรมมิ่งดาต้า หรือการเปิดบริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ซึ่งผู้ให้บริการจะเปิดให้เลย ขณะที่โทรศัพท์รุ่นใหม่จะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตอัตโนมัติ และบางกรณีเลือกเชื่อมสัญญาณที่ดีที่สุด ซึ่งอาจจะไม่ใช่เครือข่ายที่มีการทำข้อตกลงกับเครือข่ายผู้ให้บริการทางเมืองไทย

“ใครที่เปิดโรมมิ่งเที่ยวต่างประเทศ ให้ระบุว่าจะเปิดบริการ GPRS ด้วยหรือไม่ ส่วนใครที่ต้องการใช้โรมมิ่งจริงๆ ให้เลือกแพ็คเกจราคาพิเศษ ทั้งการโทรและการต่อเน็ต เพราะหากไม่เลือกแพ็คเกจพิเศษ ค่าบริการจะแพงมาก และให้ตรวจสอบการจำกัดวงเงินการใช้งานด้วย เพราะบางเครือข่ายจำกัดวงเงินการใช้ในต่างประเทศได้ บางเครือข่ายจำกัดไม่ได้ ทำให้บางรายโดนเรียกเก็บค่าใช้อินเตอร์เน็ตในต่างประเทศนับแสนบาท” นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการ สบท. กล่าว

ทั้งนี้ เมื่อเร็วๆ นี้ สบท. เพิ่งได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศและได้สมัครใช้บริการโรมมิ่งในแพคเก็จการใช้งานแบบไม่จำกัด  แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นเมื่อกลับมาและได้รับบิลเรียกชำระค่าบริการเป็นเงินมากกว่า 300,000 บาท นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ผู้ใช้บริการเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น และได้รับเอสเอ็มเอสรบกวน ซึ่งถูกเรียกเก็บค่ารับเอสเอ็มเอสในภายหลังด้วย

ปัญหาการโรมมิ่งยังเกิดขึ้นในกรณีของผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวหรือทำธุระบริเวณชายแดนภายในประเทศ หากมีการสมัครบริการโรมมิ่งไว้ก่อนและตัวเครื่องตั้งระบบเชื่อมต่อสัญญาณอัตโนมัติ ทำให้เครื่องโทรศัพท์จับสัญญาณของประเทศเพื่อนบ้าน กลายเป็นต้องเสียค่าโทรในอัตราต่างประเทศโดยไม่รู้ตัว

ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาต่างๆ เหล่านี้ สบท. จึงแนะนำว่า หากไม่จำเป็นต้องใช้บริการใดในระหว่างการเดินทางไปต่างประเทศ ก็ควรแจ้งระงับกับเครือข่ายผู้ให้บริการก่อนออกเดินทาง และที่สำคัญต้องเข้าใจระบบการทำงานของเครื่องโทรศัพท์มือถือที่ตัวเองใช้อยู่ รวมถึงต้องตรวจสอบเกี่ยวกับบริการโรมมิ่งของเครือข่ายที่ใช้บริการ เพราะในปัจจุบัน สำหรับเครือข่ายดีแทคจะคิดค่าบริการทันทีเมื่อมีสายเรียกเข้า แม้จะไม่มีการรับสายก็ตาม หรือหากมีการโทรออกแม้จะไม่มีผู้รับสาย ผู้ใช้บริการก็ต้องเสียค่าโทรศัพท์ขั้นต่ำ 1 นาที แต่สำหรับเครือข่ายอื่น เช่น เอไอเอสและทรูมูฟ จะไม่คิดค่าบริการหากไม่มีการรับสาย ยกเว้นถูกตัดสัญญาณเข้าบริการรับฝากข้อความ ดังนั้นผู้ใช้บริการเอไอเอสและทรูมูฟจึงควรยกเลิกการใช้บริการรับฝากข้อความก่อนเดินทางไปต่างประเทศ เป็นต้น

ส่วนผู้เดินทางไปใกล้ชายแดน ให้ตรวจสอบด้วยว่า สัญญาณโทรที่ใช้อยู่ตอนนั้นเป็นสัญญาณของประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่ หรืออาจป้องกันปัญหาด้วยการปิดระบบการเชื่อมต่ออัตโนมัติ เลือกตั้งเป็นระบบการเลือกเครือข่ายด้วยตัวเอง หรือโทรไประงับบริการโรมมิ่งในขณะที่ไม่ได้เดินทางไปต่างประเทศ

​“ขณะนี้อยู่ในช่วงเทศกาลของการพักผ่อนวันหยุดและการเดินทาง จึงอยากให้ผู้ใช้บริการมือถือระมัดระวังในการใช้บริการโรมมิ่งและการใช้โทรศัพท์มือถือ เพราะอาจทำให้เราหมดสนุก เมื่อกลับมาแล้วพบว่า ถูกคิดค่าโทรแพงมากแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว” ผอ.สบท.กล่าวในที่สุด

View :1420
Categories: Press/Release Tags: ,

สบท.สำรวจคุณภาพบริการมือถือทั่วกรุงฯ

December 14th, 2010 No comments

สบท.จับมือสองหน่วยงาน ตั้งทีมสำรวจตรวจสอบคุณภาพบริการ โทรศัพท์มือถือ 4 เครือข่าย พิสูจน์ปัญหาสายหลุด อับสัญญาณ โทรข้ามเครือข่ายยาก ทั่วกรุงฯ หวังเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคเลือกใช้บริการที่ตรงใจ

​เมื่อวานนี้(13 ธ.ค. 53)  สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม () ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ( TRIDI) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  จัดแถลงข่าว  โครงการทดสอบคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทเสียงในบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จากมิติการใช้งานของผู้บริโภค  เพื่อศึกษาคุณภาพการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในพื้นที่กรุงเทพมหาตครโดยการสะท้อนประสบการณ์ในการใช้งานของผู้บริโภค

​นายประวิทย์  ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการ สบท. เปิดเผยว่า เนื่องจากที่ผ่านมาการใช้บริการโทรศัพท์มือถือยังพบปัญหาเช่น ในรอบ 3 ปี ยังมีปัญหาการโทรข้ามเครือข่ายยาก  หรือแม้แต่ในกรุงเทพมหานคร แต่ละเครือข่ายก็ยังมีบางจุดที่อับสัญญาณ อีกทั้งในขณะนี้มีการให้บริการคงสิทธิเลขหมาย หรือการย้ายเครือข่ายใหม่เบอร์เดิม การให้ข้อมูลกับผู้บริโภคเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับคุณภาพการให้
บริการจึงเป็นสิ่งสำคัญ จึงทำให้เกิดการประสานงานเกิดโครงการนี้

​“ เป้าหมายของโครงการคือ เพื่อทดสอบคุณภาพบริการโทรศัพท์มือถือ ในแง่การติดต่อไปยังโทรศัพท์มือถือภายในเครือข่ายและนอกเครือข่าย ความถูกต้องของหมายเลขโทรศัพท์ที่แสดงในจอผู้รับ โดยเป็นการทดสอบที่เป็นวิทยาศาสตร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้ผู้บริโภคตัดสินใจในการเลือกใช้บริการโดยเครือข่ายที่จะถูกทดสอบครั้งนี้คือ เอไอเอส ดีแทค ทรูและฮัทช์ และมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือน ธันวาคมปีนี้ถึงเดือนมีนาคม 2554 โดยเรามีการทดสอบ 2 รอบเพื่อพิสูจน์ว่า ข้อมูลที่ได้ไม่ใช่เหตุบังเอิญ” ผอ.สบท.กล่าว

            ด้านผศ.ดร.เชาวน์ดิศ อัศวกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า  สำหรับการดำเนินโครงการนั้น ทีมสำรวจจะทำหน้าที่เป็นผู้บริโภค ออกสำรวจคุณภาพของบริการจากโทรศัพท์มือถือ ไปยังโทรศัพท์มือถือ  เกณฑ์ที่ใช้ในการตรวจวัด คือ อัตราสายหลุด อัตราการโทรไม่ติดหรือเจอฝากข้อความ อัตราการโทรสำเร็จ เวลาที่ใช้ตั้งแต่กดโทรจนถึงคู่สนทนารับสาย  อัตราที่ผู้รับสายไม่สามารถโทรกลับได้ เนื่องจากหน้าจอแสดงเบอร์ผิด หรือไม่แสดงเบอร์  โดยเกณฑ์ทั้งหมดจะสำรวจทั้งจากเครือข่ายเดียวกันและต่างเครือข่าย นอกจากนี้ยังรวมถึงพื้นที่ไหนสายหลุดบ่อย โทรติดยากด้วย

​“ทีมสำรวจจะออกทดสอบให้ครอบคลุมพื้นที่ภายในกรุงเทพมหานครตามเส้นทาง 49 เส้นทาง เช่น ถนนสาธร ถนนพระราม 4 ถนนวรจักร ถนนลาดพร้าว ตั้บงแต่วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง และมีการทำซ้ำบนถนนเส้นเดียวกันไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง รวมการทดสอบ 30,000-40,000 ครั้ง เป็นระยะเวลารวม 20 วันจากนั้นจึงนำผลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อเผยแพร่ให้ผู้บริโภครับทราบต่อไป “ผศ.ดร.เชาวน์ดิศ กล่าว

View :1564

พีซีทีเบี้ยวโปรฯ “เม้าท์ไม่อั้น” “เม้ากันให้มันส์” ยกเลิกสัญญากลางทาง

September 13th, 2010 No comments

ผู้ใช้บริการร้อนร้องสบท. ระบุไม่เป็นธรรมเหมือนถูกโกง สบท.เปิดโอกาสให้บริษัทฯชี้แจงแต่ยังไร้คำตอบ

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคมถึงขณะนี้มีผู้ใช้บริการ จำนวนเกือบ ๔๐ ราย ร้องเรียนเข้ามาที่ เกี่ยวกับการสมัครใช้บริการ we pct Promotion “เม้าท์กันให้มันส์ทุกเครือข่ายนาน ๑ ปี ตลอด 24 ชั่วโมง” และ “เม้าท์ไม่อั้น รีเทิร์น คุยมันส์ ทุกเครือข่าย นาน ๑ ปี ตลอด ๒๔ ชั่วโมง” โดยโปรโมชั่นนี้มีเงื่อนไขสำหรับลูกค้า we PCT ที่ซื้อ PLUS PHONE และ WE PHONE ในราคา 3,990 บาท และ 2,990 บาท จะได้รับสิทธิ์โทรไม่จำกัดทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง นาน 12 เดือน นับแต่วันที่เริ่มเปิดใช้บริการ แต่ปรากฏว่า หลังจากสมัครใช้บริการไปได้ 3 เดือน กลับถูกยกเลิกโปรโมชั่นดังกล่าวทั้งหมด เป็นเหตุให้ผู้ใช้บริการเดือดร้อนเสียหาย เนื่องจากผู้บริโภคที่สมัครใช้บริการก็เพราะต้องการใช้โปรโมชั่นนี้

“ ผู้ที่ร้องเรียนเข้ามาระบุว่า รู้สึกเหมือนถูกเอาเปรียบ ถูกโกง และถ้าพูดกันถึงเรื่องความเป็นธรรมแล้ว บริษัทควรที่จะคืนโปรโมชั่นนี้ให้กับผู้ใช้บริการ เนื่องจากได้โฆษณาออกมาแล้วย่อมถือว่าเป็นสัญญาในการให้บริการ ถึงแม้บริษัทจะระบุว่า สามารถเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่ในความเป็นจริง การที่จะกำหนดว่า สัญญาจะเปลี่ยนอย่างไรก็ได้ มันเป็นไปไม่ได้ เพราะตามประกาศ กทช. สัญญาจะเปลี่ยนแปลงต้องให้ผู้บริโภคยินยอมด้วย ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสงวนสิทธิเปลี่ยนฝ่ายเดียวไม่ได้ ดังนั้นถ้าบริษัทจะสงวนสิทธิยกเลิกโปรโมชั่น บริษัทก็ต้องกำหนดว่าจะเยียวยาความเสียหายให้ผู้บริโภคอย่างไร” ผอ.สบท.กล่าว

ที่ผ่านมา สบท. โดยหน่วยบริการประชาชน ได้ส่งเรื่องร้องเรียนนี้ให้กับผู้ให้บริการเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง และหาทางเยียวยาแก้ไขให้ผู้เดือดร้อน แต่บริษัทไม่ตอบกลับมา ผอ.สบท. เปิดเผยด้วยว่าขณะนี้ในตลาดโทรศัพท์ประจำที่ประเภท PCT มีผู้ใช้บริการอยู่ทั้งหมด 158,205 ราย ดังนั้นเชื่อว่า การยกเลิกโปรโมชั่น 2 รายการดังกล่าว น่าจะทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบจำนวนไม่น้อย

View :1451
Categories: Press/Release Tags: ,

เตือนการใช้วอยเมลบ๊อค วางสายช้าจะถูกคิดค่าบริการ

August 16th, 2010 No comments

เตือน ผู้บริโภคใช้ แจงแต่ละเครือข่ายหน่วงเวลาให้ 6 วินาทีตัดสินใจ ดังนั้นหากไม่ฝากข้อความให้รีบวางสายมิฉะนั้นจะถูกคิดค่าบริการ

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า ในบริการเสริมต่างๆของโทรศัพท์มือถือ จะมีการให้บริการรับฝากข้อความเสียง หรือ voice mail box รวมอยู่ด้วย ซึ่งผู้บริโภคจำนวนหนึ่งก็หันมาใช้บริการเพื่อไม่ให้พลาดการติดต่อในกรณีที่ผู้โทรเข้าแล้วโทรไม่ติด เนื่องจาก คู่สายปิดเครื่องหรืออยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีสัญญาณ เลขหมายปลายทางไม่ว่างรับสาย หรือถูกตัดสายทิ้ง บริการเสริมประเภทนี้ผู้ให้บริการแต่ละรายมีเงื่อนไขการให้บริการที่แตกต่างกันไป ผู้บริโภคควรทำความเข้าใจ หรือศึกษาให้ชัดเจน

ผอ.สบท.กล่าวว่า ค่าบริการที่เกิดขึ้นในการฝากข้อความเสียงเกิดได้ทั้งจากผู้โทรเข้าและผู้รับสาย ในกรณีไม่สามารถติดต่อได้ เครื่องของผู้รับจะตัดเข้าสู่ระบบรับฝากข้อความ ซึ่งจากการตรวจสอบ สำหรับโทรศัพท์มือถือ จะมีการหน่วงเวลาให้ผู้โทรเข้าประมาณ 6 วินาที เพื่อให้วางสายก่อนหากไม่ต้องการฝากข้อความ หากเลยจากนั้นจะถูกคิดค่าบริการ โดยของบริษัทดีแทคเป็นเช่นนั้นอยู่ ส่วนของบริษัท ทรูมูฟ จะเริ่มในวันที่ 14 กรกฏาคมที่ผ่านมาจะหน่วงเวลาให้ผู้ใช้บริการ 6 วินาที แต่มีบริการของบริษัทเอไอเอส ที่จะคิดค่าบริการหลังจบประโยคว่า กรุณาฝากข้อความหลังได้ยินเสียงสัญญาณ

“โดยปกติถ้าโทรไม่ติด เครื่องจะตัดเข้าสู่ระบบรับฝากข้อความ แล้วจะมีประโยคว่า ท่านกำลังเข้าสู่ระบบรับฝากข้อความของ 08xxxxx กรุณาฝากข้อความของท่านหลังจากได้ยินเสียงสัญญาณ …….. ซึ่งหากผู้โทรเข้าไม่ต้องการฝากข้อความจะต้องวางสายไปภายใน 5-6 วินาที มิฉะนั้นจะถูกคิดเงินทันทีตามโปรโมชั่นที่ผู้โทรเข้าใช้บริการอยู่ “ ผอ.สบท.กล่าว

สำหรับผู้รับสาย จะถูกคิดค่าบริการเมื่อต้องการฟังเสียงข้อความที่ฝากไว้โดยโทรไปตรวจสอบที่ กล่องรับฝากข้อความเสียงของตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะคิดค่าบริการตามโปรโมชั่นที่ใช้บริการอยู่ มีเพียงของ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ที่คิดแตกต่างคือ สำหรับลูกค้าระบบเติมเงินจะคิดค่าบริการนาทีละ 4 บาท โดยคิดค่าบริการเป็นวินาที ส่วนลูกค้าระบบรายเดือนจะคิดค่าบริการนาทีละ 3 บาทโดยคิดค่าบริการเป็นวินาทีเช่นกัน

View :1564