Archive

Posts Tagged ‘กรมทรัพย์สินทางปัญญา’

สวทช/ก.วิทย์ ฯร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา/ก.พาณิชย์ ร่วมมือกันในการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศ ด้วยการคุ้มครองผลงานวิจัย

September 19th, 2011 No comments

ร่วมกับ (สวทช.)จัดพิธีลงนาม “บันทึกความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนางานด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม” โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์) เป็นประธานและสักขีพยาน พร้อมด้วยผู้บริหารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสวทช. กล่าวว่า “ผลงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งมีมากมาย และล้วนแล้วแต่เป็นผลงานที่สำคัญของประเทศ ผลงานวิจัยเหล่านี้เป็นผลงานที่สามารถได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในประเภทต่างๆ อาทิ สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ แบบผังภูมิวงจรรวม เป็นต้น นอกเหนือจากที่ สวทช.ได้ดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนคุ้มครองผลงานของตนแล้ว ยังให้บริการแก่ประชาชนในการยื่นขอจดทะเบียนคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาด้วย และทางด้านกรมทรัพย์สินทางปัญญาในฐานะที่เป็นหน่วยงานให้บริการจดทะเบียนคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาก็ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของ สวทช. ที่จะร่วมมือกันในการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้หารือร่วมกันเกี่ยวกับการคุ้มครองผลงานวิจัย การส่งเสริมการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และการส่งเสริมความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ตามนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ ซึ่งกำหนดเป้าหมายในการยกระดับขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของไทย ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ 11”

ดร.ทวีศักดิ์ กล่าวเสริมอีกว่า“นอกจากนี้ เพื่อให้บันทึกความตกลงนี้มีผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง ทั้งสองหน่วยงานได้ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการแนบท้ายบันทึกความตกลง โดยในปี2555จะมุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาระบบการตรวจสอบสิทธิบัตรให้มีประสิทธิภาพโดยการจัดทำคู่มือและการจัดการอบรมในเรื่องการตรวจสอบการประดิษฐ์ให้แก่เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี( หรือ TLO) ทั้งภายใต้สังกัด สวทช. และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ทั่วประเทศ จัดให้มีการสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมด้านการออกแบบ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและให้คำปรึกษาแก่นักวิจัยในประเด็นการพิจาณาความใหม่และขั้นการประดิษฐ์ของสิทธิบัตร รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติงาน “

View :1559

ธุรกิจแห่เข้าร่วมสัมมนาบริหารจัดการซอฟต์แวร์

August 31st, 2011 No comments

การจัดสัมมนาเรื่องการบริการจัดการสินทรัพย์ประเภทซอฟต์แวร์ครั้งแรกของปีนี้ ภายใต้หัวข้อ “ทางออกสำหรับการบริหารสินทรัพย์ซอฟต์แวร์อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประสิทธิผลทางธุรกิจ” ได้รับความสนใจจากภาคธุรกิจอย่างล้นหลาม

งานสัมมนาวันนี้ จัดขึ้น ด้วยการสนับสนุนของ ภายใต้กระทรวงพาณิชย์ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ความรู้ความเข้าใจด้านทรัพย์สินไอที การจัดการและกฎหมายที่เกี่ยวข้องแก่ผู้บริหารองค์กร อันจะนำไปสู่การบริหารจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายหรือการหยุดชะงักทางธุรกิจที่อาจเกิดขึ้นได้

“ไม่ว่าจากมุมมองด้านธุรกิจหรือด้านกฎหมาย การบริหารจัดการซอฟต์แวร์นั้นสำคัญมาก” อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา นางปัจฉิมา ธนสันติ “เพื่อประโยชน์ของบริษัทเอง เจ้าของกิจการและผู้บริหารองค์กรธุรกิจ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้ทั้งหมดมีลิขสิทธิ์ถูกต้อง ตลอดจนทำความเข้าใจว่าการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง สามารถช่วยเพิ่มโอกาสและมูลค่าของธุรกิจได้”

งานสัมมนาครั้งนี้จัดโดยกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) โดยความร่วมมือของ กระทรวงพาณิชย์ กรมทรัพย์สินทางปัญญาและกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก. ปอศ.)

“ในวาระที่ประเทศไทยกำลังส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมด้านไอทีและพยายามผลักดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม การคุ้มครองและเคารพในสิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญายิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น” นางปัจฉิมา กล่าว “ประเทศคู่ค้าคาดหวังให้เราปฏิบัติตามกฎหมายลิขสิทธิ์ เช่นเดียวกับที่เราคาดหวังให้นานาชาติเคารพในสิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญาของเรา เป็นเรื่องของการเคารพซึ่งกันและกัน”

เนื้อหาของงานสัมมนา ได้รับการคัดเลือกให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย คือผู้บริหารระดับสูง ภายในงานมีการนำเสนอข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและด้านไอทีเรื่องการตรวจสอบซอฟต์แวร์ การบริหารจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ และการปรับเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง ตลอดจนแนวทางแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดสำหรับธุรกิจไทย

“ซอฟต์แวร์เป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจในแต่ละวัน” นางสาว วารุณี รัชตพัฒนากุล โฆษกของกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ ประจำประเทศไทย กล่าว “หากพิจารณาว่าเราใช้ซอฟท์แวร์บ่อยขนาดไหน ซอฟท์แวร์ช่วยเราทำงานได้มากและประหยัดเวลามากเพียงใด เราก็จะพบว่าจริงๆแล้ว ซอฟต์แวร์เป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ามากที่สุด ดังนั้นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ สมควรได้รับค่าตอบแทนจากการที่ช่วยให้ชีวิตเราง่ายขึ้น”

หลายปีที่ผ่านมา บก. ปอศ. ได้ดำเนินการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์และประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ อันเห็นได้จากที่อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนพีซีในประเทศไทยลดลงอย่างรวดเร็ว เป็นอันดับที่ 2 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รองจากฮ่องกงเท่านั้น ในปีนี้ทางกรมฯ ได้เร่งดำเนินงานด้านการสืบสวนกรณีละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ โดยตั้งเป้าว่าจะได้ครองอันดับหนึ่งในฐานะประเทศที่ลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ลงได้มากที่สุดในภูมิภาคนี้

“เราต้องการแสดงให้นานาประเทศเห็นว่าไทยเป็นประเทศที่น่านับถือ ในแง่ที่ว่าเราเคารพสิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญาและมีความตั้งใจจริงที่จะพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตนวัตกรรมชั้นเยี่ยม” พ.ต.อ. ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ โฆษกของบก. ปอศ. กล่าว

View :1799

กรมทรัพย์สินทางปัญญาเปิดผลประชุมร่วมคณะทำงานสืบสวนและปราบปรามสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

July 11th, 2011 No comments

กรมทรัพย์สินทางปัญญาเปิดผลประชุมร่วมคณะทำงานสืบสวนและปราบปรามสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาระบุสำนักงานตำรวจแห่งชาติเตรียมกวดขันปราบปรามการละเมิดในพื้นที่สีแดง ทั้งพันธุ์ทิพย์พลาซ่า คลองถม สะพานเหล็ก บ้านค้า ต่างจังหวัดโหมเชียงใหม่ และภูเก็ต  สั่งให้กรมสอบสวนคดีพิเศษเร่งสืบสวนขยายผลเพื่อจับกุมแหล่งผลิต แหล่งค้าส่งรายใหญ่ และให้กรมศุลกากรเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้าละเมิดทั้งสินค้าที่ส่งทางพัสดึ หรือไปรษณีย์ ลั่นจับกุมทุกรูปแบบสินค้าละเมิดภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรภาค 4 ไตรมาส 1- 2 ของปีนี้ จับกุมของกลางไปแล้วกว่า 3 ล้านชิ้น

นางปัจฉิมา ธนสินติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเปิดเผยผลการประชุมร่วมระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญากับคณะทำงานสืบสวน และปราบปรามสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาว่าที่ประชุมได้มอบหมายให้ทุกกองบัญชาการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติกวดขันการปราบปรามการละเมิดในพื้นที่สีแดง ได้แก่ ศูนย์การค้าพันธ์ทิพย์พลาซ่า ย่านการค้าคลองถม  ย่านการค้าสะพานเหล็ก ย่านการค้าบ้านหม้อ และย่านการค้าในจังหวัดเชียงใหม่ และภูเก็ต รวมถึงให้กรมสอบสวนคดีพิเศษสืบสวนขยายผลเพื่อจับกุมแหล่งผลิต แหล่งสินค้าส่งที่ตัวการอยู่เบื้องหลัง และให้กรมศุลกากรเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้าละเมิดรวมทั้งสินค้าที่ส่งเข้าทางพัสดุ หรือไปรษณีย์  นอกจากนี้ได้ขอความร่วมมือกรมทรัพย์สินทางปัญญาและภาคเอกชนเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาประสานงานกับต่างประเทศผู้เป็นเจ้าของสินค้าในการรวบรวมพยานหลักฐานในเรื่องโรงงานผลิตสินค้าละเมิด เส้นทางลำเลียง เครือข่าย เส้นทางการเงินเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการป้องกันและปราบปราม  และกวดขันไม่ให้มีสินค้าละเมิดภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรภาค 4 ทุกรูปแบบ

“ที่ประชุมมอบหมายให้กรมศุลกากร กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมสรรพสามิต และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจัดทำยุทธศาสตร์ในการปราบปราม และนำเสนอรวมถึงแจ้งต่ออธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อบูรณาการการทำงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและในการนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้จัดทำรายชื่อผู้รับผิดชอบงานป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติทั้ง 76 จังหวัด แจกให้แก่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประโยชน์ในการประสานการปราบปราม นอกจากนี้จะเข้มงวด

ในการจับกุมปราบปรามแห่งผลิต แหล่งเก็บ แหล่งพักสินค้าให้มีการกวดขันจับกุมในพื้นที่สีแดง และสีเหลือง กวดขันจับกุมพื้นที่ตามแนวชายแดนซึ่งเป็นช่องทางนำเข้าส่งออกสินค้าละเมิดทั้งทางบก ทางเรือ ทางอากาศ และพื้นที่ที่เป็นเส้นทางลำเลียง รวมถึงในการจับกุมให้บังคับใช้กฎหมายทุกฉบับเพราะการทำความผิดอาจเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ” นางปัจฉิมา กล่าว

อนึ่ง ในรอบไตรมาสที่ 1-2 ของปี 2554 นั้นได้มีการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จับกุม 4,502 คดี ของกลางจำนวน 2,925,600 ชิ้น กรมสอบสวนคดีพิเศษจับกุม 18 คดี ของกลาง 135,737 ชิ้น กรมศุลกากร จับกุม 31 คดี ของกลาง 83,215 ชิ้น รวมจำนวนทั้งสิ้นเท่ากับ 3,144,552 ชิ้น คิดเป็น 4,551 คดี

View :1592

เจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ทั่วประเทพร้อมปกป้องสิทธิผู้บริโภค นวัตกรรม และทรัพย์สินทางปัญญา

May 5th, 2011 No comments

เจ้าหน้าที่ตำรวจ จาก กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ สำนัก งานตำรวจแห่งชาติ ได้เข้าดำเนินการปราบปรามการจำหน่ายซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อคุ้มครอง และปกป้องสิทธิของผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมและผู้บริโภค ระหว่างวันที่ 9 – 19 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่ได้เข้าปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งมีการแจ้งเตือนและจุบกุมซอฟต์แวร์เถื่อนได้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์รายย่อยไปจนถึงผู้ประกอบกิจการขนาดใหญ่ที่ ผลิตซอฟต์แวร์เถื่อนจำนวนมหาศาลเพื่อจัดจำหน่ายให้กับร้านค้าไอทีทั่วประเทศ

พ.ต.อ. ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผู้บังคับการ กองบังคับการปราบปรามและการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ กล่าวว่า “ เมื่อ ปีที่ผ่านมา กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ได้ดำเนินคดีจับกุมผู้กระทำความผิดทั้งสิ้น 210 บริษัท ซึ่งใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์เถื่อนติดตั้งในคอมพิวเตอร์ โดยคิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 472 ล้านบาท ทั้งนี้ ด้วยความพยายามอย่างต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้จำนวนเครื่องพีซีที่ติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ลดลงจากร้อยละ 90 เหลือร้อยละ 75

เมื่อ เดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีการดำเนินคดีเข้าจับกุมร้านค้าทั้งสิ้น 12 ร้านซึ่งจำหน่ายซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย โดยรวมไปถึงร้านจำหน่ายซีดีที่มีสาขาอยู่ในห้างสรรพสินค้าไอทีทั่วประเทศ ทั้งนี้ จากการปราบปรามดังกล่าว เจ้าหน้าที่ตรวจพบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ของไมโครซอฟท์เป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บรรจุซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ของ ไมโครซอฟท์

ระหว่างการปราบปราม เจ้าหน้าที่ตำรวจพบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ของไมโครซอฟท์เป็นจำนวนมหาศาลประกอบไปด้วย Windows Ultimate, Windows XP Professional และ Office 2007 Enterprise ซึ่ง คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 18 ล้านบาท โดยพบว่าร้านค้าที่จัดจำหน่ายซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวได้หลอกลวง ให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าซอฟต์แวร์ที่ตนซื้อไปนั้นเป็นของจริง ทั้งนี้ เจ้าของร้านดังกล่าวกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินคดีตามกฎหมาย

สมพร มณีรัตนะกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยซอฟท์แวร์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด กล่าวว่า “ การปราบปรามซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ นับเป็นแนวทางในการปกป้องนวัตกรรมทางด้านไอทีแนวทางหนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องด้วยการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาจะช่วยให้นักพัฒนามีกำลังใจในการสร้าง สรรค์เทคโนโลยีที่มีประโยชน์ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้มีการใช้งานเทคโนโลยีมากขึ้น และทำให้การดำเนินชีวิตผู้ใช้งานชาวไทยสะดวกมากยิ่งขึ้น ”

“ ถึง แม้ว่าการใช้งานซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์จะฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทยมาเป็น เวลานาน แต่เราเชื่อมั่นว่าความเชื่อผิดๆ ดังกล่าวจะหมดไป เมื่อผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของนวัตกรรม และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการละเมิดลิขสิทธิ์ ประเทศไทยมีศักยภาพในการก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางทางด้านนวัตกรรม ซึ่งต้องอาศัยการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาเป็นปัจจัยสำคัญ เพื่อผลักดันประเทศไทยให้ก้าวไปสู่จุดหมายดังกล่าว เพื่อเป็นการส่งเสริมแนวทางดังกล่าว เราสนับสนุนให้ผู้คนมีความเข้าใจถึงความสำคัญและซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศปลอดการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างแท้จริง ” นางสาว วารุณี รัชตพัฒนากุล โฆษกประจำกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ ( บีเอสเอ) กล่าว ( www.bsa.org ) เป็นองค์กรระดับแนวหน้าที่จัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของอุตสาหกรรม ซอต์แวร์ โดยได้ดำเนินงานในประเทศต่างๆ กว่า 80 ประเทศทั่วโลก เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเจริญเติบโตของตลาดซอฟต์แวร์ รวมทั้งนวัตกรรมต่างๆ ทั้งนี้ พันธมิตรของบีเอสเอได้ลงทุนเป็นจำนวนเงินกว่าพันล้านดอลล่าร์ต่อปีเพื่อส่ง เสริมเศรษฐกิจ การสร้างงานและการสร้างสรรค์โซลูชั่นใหม่ๆ ที่จะช่วยให้ผู้คนทั่วโลกสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างสะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น

“ หาก เราสามารถควบคุมการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ เราจะมีทรัพยากรเพิ่มมากขึ้นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีคุณภาพในเวลาที่ รวดเร็วยิ่งกว่าเดิม ทั้งยังจะช่วยสร้างโอกาสใหม่ๆ ในแง่ของการสร้างงาน สร้างรายได้ รวมทั้งไอเดียใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศและสังคมโลก อย่างไรก็ตาม ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ในปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เราได้ใช้พลังงานและทรัพยากรไปกับการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญามากกว่าการ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ” สมพร มณีรัตนะกูล กล่าวเสริม

การ ผลิตซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์เป็นจำนวนมหาศาลเช่นนี้ นับได้ว่าเป็นการประกอบอาชญากรรมร้ายแรง ซึ่งรายงานจากรัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมชี้ชัดว่า เป็นแหล่งเงินให้กับเครือข่ายอาชญากรทั่วโลก โดยที่ผู้บริโภคต้องตกเป็นเหยื่อจากการสนับสนุนอาชญากรเหล่านั้น ด้วยการซื้อซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ นอกเหนือไปจากการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์แล้ว ภาครัฐยังจำเป็นที่จะต้องประกาศถึงผลจากการกระทำดังกล่าวให้ประชาชนทั่วไป ได้รับทราบเช่นเดียวกัน

การดำเนินการปราบปรามเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของกระบวนการการแก้ไขปัญหาที่รัฐบาล กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กำลังร่วมมือกันเพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในระยะยาวของธุรกิจและเศรฐกิจของประเทศ อีกแนวทางหนึ่งที่สำคัญคือการให้ความรู้แก่ผู้บริโภคให้เข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของการซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์

ด้าน นายไบรอัน วิลเลียมส์ ผู้จัดการอาวุโส แผนกสืบสวนต่อต้านการละเมิดลิขสิทธ์และการปลอมแปลง กลุ่มนิติการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ ปัญหา การละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศไทย นับเป็นปัญหาหลักสำหรับไมโครซอฟท์ ซึ่งไม่เพียงแต่เกี่ยวเนื่องกับการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการปกป้องผู้บริโภคด้วย โดยเราต้องการกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงคุณค่าที่แท้จริงของการซื้อ และการใช้งานซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ และหลีกเลี่ยงการใช้งานซอฟต์แวร์เถื่อน ซึ่งนอกจากจะเป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์แล้ว ยังจะส่งผลสัยต่ออุตสาหกรรมไอทีของประเทศโดยรวมอีกด้วย ”

ใน ขณะเดียวกันไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ก็ได้พยายามที่จะปกป้องผู้บริโภคในทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้บริโภค รวมถึงให้การสนับสนุนด้านการตรวจสอบในกรณีที่ผู้บริโภคไม่แน่ใจว่าซอฟต์แวร์ ที่ซื้อมาเป็นสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่

คำ แนะนำจากไมโครซอฟท์ในการปกป้องตนเอง คือการเลือกซื้อซอฟต์แวร์จากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น และเรียนรู้การแยกแยะซอฟต์แวร์ปลอมออกจากซอฟต์แวร์แท้ โดยการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเป็นภาษาไทยได้ที่ www..com/thailand/genuine/howtotell.aspx ทั้งยังควรอัพเดทซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสอย่างสม่ำเสมอ โดยสามารถเข้าไปดาวน์โหลดโปรแกรม Security Essentials ได้ฟรีที่

www.microsoft.com/security_essentials (มีภาษาไทย)

ผู้บริโภคที่สงสัยว่าถูกหลอกลวงให้ซื้อซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ สามารถแจ้งเรื่องดังกล่าวมายัง Microsoft Customer Contact Center ที่ 02 263 6888 หรือหากสนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปที่ www.microsoft.com/thailand/genuine

View :1668

กรมทรัพย์สินทางปัญญาจับมือ USPTO ติดอาวุธทางปัญญา ป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

March 21st, 2011 No comments

กรมทรัพย์สินทางปัญญาจับมือ ติดอาวุธทางปัญญาให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน ในการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งรูปแบบของการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยการแชร์ไฟล์ หรือดาวโหลดไฟล์ผ่านเว็บ Peer-to-peer (P2P) หรือเครือข่ายสังคม (social network) หรือการจำหน่ายสินค้าปลอมเครื่องหมายการค้าบน เว็บไซด์

นายสมศักดิ์ พณิชยกุล รองอธิบดี เปิดเผยว่ากรมทรัพย์สินทางปัญญาได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการร่วมกับ สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าสหรัฐ (United States Patent and Trademark Office: USPTO) เรื่อง การป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนา ประกอบด้วย ผู้แทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมศุลกากร กรมสรรพากร กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานอัยการสูงสุด ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลฎีกา และภาคเอกชนเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา รวม 150 คน ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญาและสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าสหรัฐ (United States Patent and Trademark Office: USPTO) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้แก่เจ้าหน้าที่ภาครัฐและภาคเอกชนอย่างครบวงจร เริ่มตั้งแต่สภาพปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนอินเทอร์เน็ต การหลีกเลี่ยงมาตรการ ทางเทคโนโลยีและการบริหารสิทธิ รวมถึงกลยุทธ์ในการสืบสวน ปราบปรามและฟ้องคดีอาญาผู้กระทำละเมิด ซึ่งในการสัมมนาในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและเอกชนของทั้งประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าสหรัฐ และกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ มาบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา
นายสมศักดิ์ พณิชยกุล เปิดเผยว่า การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เป็นการติดอาวุธทางปัญญาให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน ที่มีบทบาทที่สำคัญในการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะในรูปแบบของการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยการแชร์ไฟล์ หรือดาวโหลดไฟล์ผ่านเว็บ Bit torrent Peer-to-peer (P2P) หรือเครือข่ายสังคม (social network) หรือการจำหน่ายสินค้าปลอมเครื่องหมายการค้าบนเว็บไซด์ ซึ่งรวมทั้งสินค้าปลอมเครื่องหมายการค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรืออนามัย เช่น ยาปลอม เครื่องสำอางปลอม และโทรศัพท์มือถือปลอม เป็นต้น ทั้งนี้ ความรู้ที่ได้จากการสัมมนาในวันนี้ จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญามีความพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

View :1593

กรมทรัพย์สินทางปัญญาชวนคนรุ่นใหม่ไอเดียเก๋ ร่วมประกวดผลงานสร้างสรรค์

August 6th, 2010 No comments

เฟ้นหาสุดยอดนักสร้างสรรค์ ชิงเงินรางวัลกว่าสามแสนบาท

กรุงเทพฯ, 5 สิงหาคม 2553: ชวนคนรุ่นใหม่ไอเดียเจ๋ง ส่งผลงานสร้างสรรค์ เข้าร่วมประกวดในงาน Creative IP Fair & CLEA 2010 เวทีประชันไอเดียสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไป เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยผ่านไอเดียการออกแบบร่วมสมัย

นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ในขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลชุดนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์(นายอลงกรณ์ พลบุตร) จึงได้มอบหมายให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาจัดทำโครงการ Young Creative Award โดยร่วมกับเครือข่ายการ์ตูนไทยสร้างสรรค์สังคม จัดการประกวดออกแบบผลงานสร้างสรรค์ (Young Creative Award) ในงาน Creative IP Fair & CLEA 2010 เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้คนไทยเป็นนักสร้างสรรค์ นักประดิษฐ์ และเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยได้มีเวทีแสดงความสามารถ รวมถึงกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่เห็นความสำคัญของการสร้างสรรค์ การคุ้มครอง และการใช้ประโยชน์จากการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเป็นระบบและครบวงจร

อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการดังกล่าวฯ แบ่งการประกวดเป็น 4 ประเภท คือ การออกแบบลวดลายกราฟฟิกลงบนคาแรคเตอร์ CE การออกแบบคาแรคเตอร์อัตลักษณ์ของกีฬามวยไทย การออกแบบสินค้าจากภาพลักษณ์ของผีตาโขน และการออกแบบสินค้าโดยใช้ภาพลักษณ์คาแรคเตอร์ “หนูแจ๋ว” โดย การประกวดออกแบบลาดลายกราฟฟิกลงบนคาแรคเตอร์ CE จะเน้นการนำเสนอภายใต้แนวคิด Love & Friendship โดยผู้ที่เข้ารอบ 5 คนสุดท้ายจะได้ร่วมงานเป็นทีมกับนักออกแบบมืออาชีพชาวไทยและชาวต่างชาติ เพื่อร่วมออกแบบลวดลายกราฟิกลงบนผลงาน ในการแข่งขันรอบสุดท้าย

สำหรับการออกแบบคาแรคเตอร์อัตลักษณ์ของกีฬามวยไทย ผู้เข้าร่วมประกวดนำเสนอผลงานออกแบบคาแรคเตอร์โดยมีแรงบันดาลใจจากกีฬามวยไทย ผู้เข้ารอบสุดท้าย 5 คนจะต้องออกแบบผลงาน 2 ชิ้น ได้แก่ ออกแบบและจัดทำรูปแบบของคาแรคเตอร์ในท่าทางต่างๆ (Style Guide) และนำภาพลักษณ์ที่ออกแบบไปประกอบการออกแบบลงบนสินค้า (products guide) ตามกลุ่มสินค้าจากหัวข้อที่รับจากคณะกรรมการ ในส่วนของการออกแบบสินค้าจากภาพลักษณ์ของผีตาโขน ผู้เข้าประกวดส่งภาพร่างสินค้าต้นแบบที่มีแรงบันดาลใจมาจากภาพลักษณ์ของผีตาโขน ผู้เข้ารอบสุดท้าย 5 คนจะต้องออกแบบและจัดทำสินค้าตามที่นำเสนอไว้ในรอบแรกโดยไม่จำกัดเทคนิคจำนวน 2 ชิ้น โดยผู้ชนะเลิศรางวัลที่1 จะ ได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตรและถ้วยรางวัล รางวัลที่ 2 ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตรและถ้วยรางวัล รางวัลที่ 3 ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตรและถ้วยรางวัล และรางวัลชมเชย 2 รางวัลๆ ละ 5,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตรและโล่รางวัล

ในส่วนของการออกแบบสินค้าโดยใช้ภาพลักษณ์คาแรคเตอร์ “หนูแจ๋ว” จากการ์ตูนชุด Creative Kids ผู้เข้าประกวดส่งผลงานออกแบบสินค้า ชิ้นงานของแถม และบรรจุภัณฑ์ โดยผู้เข้าประกวดสามารถเลือกออกแบบสินค้าจากกลุ่มสินค้าดังนี้ สินค้าจากกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น สินค้าจากกลุ่มอุตสาหกรรมของเล่น สินค้าจากกลุ่มอุตสาหกรรมของขวัญ ของชำร่วย และของตกแต่งบ้าน สินค้าจากกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ในครัวเรือน และสินค้าจากกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงาน โดยผู้ชนะเลิศรางวัลที่ 1 จะได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท รางวัลที่ 2 เงินรางวัล 30,000 บาท รางวัลที่ 3 เงินรางวัล 20,000 บาท และรางวัลชมเชย 2 รางวัลๆ ละ 5,000 บาท

ผู้เข้าประกวดสามารถส่งผลงานสร้างสรรค์ไม่จำกัดจำนวนชิ้นได้ที่ CLEAASIA@hotmail.com ได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 22 สิงหาคม 2553 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-676 2676 และ 02-676-2999 หรือ www.ipthailand.go.th

View :1634