Archive

Posts Tagged ‘กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร’

ก.ไอซีที แจงแนวทางรักษาสิทธิวงโคจรดาวเทียม

June 18th, 2011 No comments

นางจีราวรรณ   บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยเกี่ยวกับแนวทางการรักษาสิทธิวงโคจรดาวเทียม ว่า กระทรวงฯ จะจัดทำรายงานสรุปผลการประชุมร่วมกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ไอทียู ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2554   เสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อทราบในสัปดาห์หน้า หรือ สัปดาห์ถัดไปเป็นอย่างช้า ซึ่งผลการเจรจาเกี่ยวกับสิทธิวงโคจรดาวเทียมในตำแหน่ง 120 องศา ที่กำลังจะหมดอายุลงช่วงปลายปีนี้ หากประเทศไทยยังไม่จัดส่งดาวเทียมขึ้นไปประจำตำแหน่งนั้นได้ทันตามกำหนด ไอทียู ได้แนะนำให้เช่าดาวเทียมมาประจำในตำแหน่งดังกล่าว เพื่อรักษาสิทธิเอาไว้ก่อนจะจัดส่งดาวเทียมดวงใหม่ขึ้นใช้งาน

“ในการดำเนินการจองสิทธิวงโคจรดาวเทียมจนถึงการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรนั้น อายุของเอกสารการจองจะมีระยะเวลา 7 ปี โดยในช่วงแรกเป็นขั้นตอนการยื่นเรื่องขอจองตำแหน่งวงโคจรกับทางไอทียูก่อน แล้วจึงดำเนินการเจรจากับประเทศต่างๆ ที่มีตำแหน่ง   วงโคจรใกล้เคียง เพื่อพิจารณาว่าข่ายงานดาวเทียมของประเทศไทยจะมีความถี่รบกวนการใช้งานดาวเทียมของประเทศเหล่านั้นหรือไม่   เมื่อประเทศต่างๆ ยินยอมก็จะแจ้งผลการประสานงานให้ ไอทียู แล้วประเทศไทยก็จะได้สิทธิในวงโคจรที่ขอจอง หลังจากนั้นจะต้องดำเนินการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรภายใน 2 ปี ซึ่งขณะนี้ตำแหน่งวงโจรที่ 120 องศา เหลือระยะเวลาที่จะต้องส่งดาวเทียมเพียง 6 – 7 เดือน จึงต้องเร่งดำเนินการ

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยคงต้องรักษาสิทธิที่ตำแหน่งดังกล่าว โดยทำตามคำแนะนำของ ไอทียู ที่ต้องมีดาวเทียมมาไว้ยังตำแหน่งนี้ชั่วคราวเป็นระยะเวลา 3 เดือน หรือมากกว่านั้น จนกว่าจะมีดาวเทียมดวงใหม่ของประเทศไทยขึ้นใช้งานต่อไป ซึ่งคาดว่าจะสามารถจัดหาได้ภายในเดือนสิงหาคม   – กันยายนนี้เป็นอย่างช้า เพื่อให้มีการรักษาสิทธิวงโคจรในตำแหน่งนั้นๆ ไว้ไม่น้อยกว่า 3 เดือน โดยในเบื้องต้น บมจ.กสท โทรคมนาคม ได้มีประสานงานหารือแนวทางการดำเนินการกับผู้ประกอบการด้านดาวเทียมไว้บ้างแล้ว   คาดว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเช่าดาวเทียมมาจองตำแหน่งเอาไว้ หรืออาจเจรจากับบริษัทผู้ผลิตและจัดส่งดาวเทียมให้จัดหาดาวเทียมสำรองมาประจำตำแหน่งเพื่อรักษาสิทธิให้ก่อนจัดสร้างดาวเทียมดวงจริง”   นางจีราวรรณ กล่าว

สำหรับสิทธิวงโคจรดาวเทียมอื่นที่ยังไม่มีดาวเทียม 3 ตำแหน่ง ได้แก่ 50.5 องศา 126 องศา และ 142 องศา นั้นยังมีเวลาที่จะดำเนินการแต่ก็ต้องพิจารณาดำเนินการควบคู่ไปกับตำแหน่ง 120 องศา โดยเฉพาะที่ 50.5 องศานั้นก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ประเทศไทยก็จะมีดาวเทียมไทยคม 6 อีกหนึ่งดวง ซึ่งคาดว่าน่าจะเพียงพอต่อความต้องการในระยะสั้น สำหรับการวางแผน    ระยะยาว กระทรวงฯ ได้มอบหมายให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม ไปดำเนินการศึกษาแนวทางการใช้และรักษาสิทธิวงโคจรทั้ง 4 ตำแหน่งดังกล่าว โดยเฉพาะในตำแหน่งวงโคจรที่ 120 องศานั้น ขอให้ดำเนินการแล้วเสร็จก่อนการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ เพื่อให้สามารถนำเสนอแนวทางการดำเนินการแก่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่พิจารณาได้ทันที

“ขณะนี้เหลือเวลาในการดำเนินงานเรื่องนี้น้อยมาก จึงต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการรักษาตำแหน่ง          วงโคจร ทั้งหมดไว้ให้ได้   โดยเฉพาะ กสทช. ควรให้ความร่วมมือกับกระทรวงฯ เนื่องจากในอนาคตความถี่ดาวเทียมก็จะอยู่ในการ    ดูแล ของ กสทช. ตามอำนาจหน้าที่ ส่วนวงโคจรเพื่อใช้วางดาวเทียมยังคงเป็นของรัฐบาลตามกฎหมายระหว่างประเทศด้านอวกาศ”    นางจีราวรรณ กล่าว

View :1497

ก.ไอซีที เปิดเวทีเสวนา กำหนดนโยบาย Cloud Computing แห่งชาติ

June 3rd, 2011 No comments

นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร   เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเสวนาเพื่อกำหนดนโยบาย ว่า ความก้าวหน้าทางวิทยาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร       เป็นตัวเร่งให้ต้องมีการพัฒนาการบริหารจัดการ และบูรณาการบริการภาครัฐสู่ประชาชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น   ซึ่งเทคโนโลยี Cloud Computing นี้จะเป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญในการพัฒนาดังกล่าว ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการเสวนาเพื่อกำหนดนโยบาย Cloud Computing แห่งชาติขึ้น เพื่อร่วมกันแสดงความคิดเห็น และนำไปสู่ข้อสรุปในการกำหนดทิศทางและนโยบายการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ   ตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 2 ของประเทศไทย (พ.ศ.2552 – 2556)   เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การนำเทคโนโลยี Cloud Computing มาสู่การปฏิบัติ

“การนำเทคโนโลยี Cloud Computing มาใช้ในการปฏิบัติงานนั้น นับเป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วนต่อการพัฒนาประเทศไทย แต่ในทางปฏิบัติยังมีความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมน้อยมาก   เนื่องจากบางหน่วยงานยังขาดความรู้ความเข้าใจในตัวระบบหรือการทำงานของระบบ Cloud Computing อย่างชัดเจนเพียงพอ ในขณะที่บางหน่วยงานอาจจะมีความกังวลในด้านความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ซึ่งอาจมีข้อมูลบางอย่างที่ต้องการให้รู้เฉพาะภายในหน่วยงาน โดยปัจจุบันแต่ละหน่วยงานต่างเป็นผู้จัดเก็บกันเอง และยังไม่มีการกำหนดนโยบายในเรื่องดังกล่าวที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมเพื่อใช้เป็นหลักในการปฏิบัติ

ดังนั้น เพื่อให้ภาพการทำงานเป็นไปอย่างชัดเจนมากขึ้น รวมถึงเพื่อให้แน่ใจว่านโยบายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตสามารถตอบสนองและครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้งานให้มากที่สุด กระทรวงฯ จึงได้จัดการเสวนาเพื่อกำหนดนโยบาย Cloud Computing แห่งชาติ ครั้งนี้ขึ้น โดยเชิญผู้แทนจากทุกกระทรวง รวมทั้งผู้แทนจากภาคเอกชน และสมาคมที่เกี่ยวข้อง มาร่วมหารือและนำเสนอความคิดเห็นร่วมกัน” นายธานีรัตน์ กล่าว

สำหรับ Cloud Computing คือการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบ Cloud Computing เพื่อให้ซอฟต์แวร์จัดสรรทรัพยากร ทั้งในส่วนของ Hardware, Software และ Network ให้บริการตรงกับความต้องการของผู้ใช้โดยใช้ทรัพยากรอย่างพอเหมาะ โดยมีผู้ให้บริการระบบ Cloud Computing เป็นผู้ลงทุนด้าน Hardware , Server หรือ Storage รวมถึง Network   และเปิดให้ผู้ที่สนใจเช่าใช้บริการระบบดังกล่าว ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานระบบ Cloud Computing สามารถประหยัดงบประมาณการลงทุนเกี่ยวกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ รวมทั้งลดความยุ่งยากในการบำรุงรักษาระบบได้   อีกด้วย

View :1885

ก.ไอซีที บูรณาการความร่วมมือหน่วยงานในสังกัดรับมือภัยพิบัติน้ำท่วมภาคใต้

March 31st, 2011 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า กระทรวงไอซีที ได้บูรณาการ ความ ร่วมมือกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ เพื่อเร่งแก้ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ตามคำสั่งของนายก รัฐมนตรี และเพื่อรับมือกับภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ทันต่อเหตุการณ์ โดยดำเนินการภายใต้ศูนย์บริหารข้อมูลช่วยเหลือผู้ประสบภัย หรือ War Room ในการบริหารและ บูรณาการข้อมูลที่ได้รับแจ้งเหตุภัยพิบัติและเรื่องราวความเดือดร้อน จากประชาชนและภาคส่วนต่างๆ พร้อมทั้งประสานงานกับหน่วยงานในจังหวัด หรือพื้นที่ประสบภัยผ่านเครือข่ายสื่อสารกลาง ซึ่งได้จัดวางระบบเครือข่ายสื่อสารกลางระหว่างพื้นที่ประสบภัยกับส่วนกลาง เพื่อรับข้อมูลข่าวสารและเหตุภัยพิบัติที่เกิดขึ้นไว้เรียบร้อยแล้ว

“ประชาชน ที่ประสบภัยน้ำท่วมและต้องการแจ้งเหตุ หรือมีเรื่องราวเดือดร้อนต้องการความช่วยเหลือ สามารถแจ้งเข้ามาที่ศูนย์บริหารข้อมูลช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ โดยกระทรวงฯ เปิดช่องทางรับแจ้งเหตุไว้หลายช่องทาง ได้แก่ หมายเลขโทรศัพท์ 1111 หรือศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน ( GCC 1111) และหมายเลข 0-2141-6588 ซึ่งข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการรับแจ้งเหตุนี้ทางศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จะนำมาบริหารและจัดระบบฐานข้อมูลแล้ว ส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่ประสบภัย เพื่อให้นำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ประชาชนได้ อย่างทันการณ์เป็นระบบ ตรงจุด และไม่เกิดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน” นายจุติ กล่าว

นอกจากนั้น กระทรวงฯ ยังได้ร่วมกับหน่วยงานในสังกัด ทั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักงานสถิติ แห่ง ชาติ บมจ.กสท โทรคมนาคม บมจ.ทีโอที และบจ.ไปรษณีย์ไทย บูรณาการความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นให้ทันต่อเหตุการณ์ โดยกระทรวงฯ จะตั้ง หน่วยเฉพาะกิจ สำหรับการรับมือภัยพิบัติทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นอุทกภัย ภัยหนาว ภัยแล้ง และนำเทคโนโลยีการเตือนภัยในรูปแบบต่างๆ มาใช้ เช่น การใช้เทคโนโลยีด้านแผนที่ของกูเกิ้ล หรือ Google Map การใช้เทคโนโลยีจากดาวเทียม SMMS และการสนับสนุนข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

“ใน การบูรณาการความร่วมมือครั้งนี้ หน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงฯ จะร่วมกันดำเนินการในด้านต่างๆ โดยสำนักงานสถิติฯ จะร่วมมือกับศูนย์เตือนภัยฯ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับภัยพิบัติ ด้วยการให้สถิติจังหวัดบูรณาการข้อมูลกับจังหวัดต่างๆ แล้วส่งให้ส่วนกลางดำเนินการวิเคราะห์เพื่อวางแผนรับมือ นอกจากนั้นยังร่วมมือกันเพิ่มช่องทางในการรวบรวมข้อมูลความเดือดร้อนของ ประชาชนเพื่อการช่วยเหลือ โดยขอให้บุคลากรของสำนักงานสถิติจังหวัดในพื้นที่ประสบอุทกภัยออกสำรวจความ ต้องการความช่วยเหลือของผู้ประสบภัยที่อาจตกหล่นจากการรับทราบข้อมูลของ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้ขอความร่วมมือจากเครือข่ายเพื่อนเตือนภัย หรือนักวิทยุสมัครเล่นในพื้นที่ให้ออกสำรวจความต้องการดังกล่าวด้วย การดำเนินงานดังกล่าวจึงเป็นการบูรณาการความร่วมมือกันระหว่างเจ้าหน้าที่ ของสำนักงานสถิติฯ เพื่อน เตือนภัย นักวิทยุสมัครเล่น ตลอดจนเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่น รวมถึงจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทั้งนี้ เพื่อให้ภารกิจสนับสนุนการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนอันเนื่องจากภัยน้ำ ท่วมรุนแรงในครั้งนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้ทุกภาคส่วนสามารถบริหารจัดการช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยได้ อย่างทั่วถึง พร้อมกันนี้ยังได้ให้ศูนย์เตือนภัยฯ เตรียมการรับมือในพื้นที่เกิดภัยพิบัติ โดยให้สร้างช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ทดสอบการใช้งานของหอกระจายข่าวให้พร้อมใช้งาน และให้ประสานข้อมูลในพื้นที่จากสำนักงานสถิติฯ เพื่อนำมาใช้ประเมินสถานการณ์ภัยพิบัติ และนำไปวางแผนแจ้งเตือนภัยแก่ประชาชนได้ทันต่อเหตุการณ์

ส่วนหน่วยงานอื่นในสังกัด คือ กรมอุตุนิยมวิทยาจะร่วมมือกับสำนักงานสถิติฯ ในพื้นที่ และเครือข่ายเพื่อนเตือนภัยของศูนย์ เตือนภัยฯ รวมทั้งทีมของจังหวัดต่างๆ เพื่อเข้าไปในพื้นที่และแจ้งข้อมูลข่าวสารการเตือนภัยกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างทันท่วงที ขณะที่ บมจ.กสทฯ และบมจ.ทีโอที ให้ดูแลเครือข่ายสื่อสาร คลื่นสัญญาณโทรศัพท์ในจุดที่ไม่สามารถทำงานได้ ให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ ด้าน บจ.ไปรษณีย์ไทย ให้ดูแลอำนวยความสะดวกเรื่องการขนส่งสิ่งของจำเป็นสำหรับผู้ประสบภัยน้ำท่วม ดังกล่าว” นายจุติ กล่าว

View :1584

ก.ไอซีที เดินหน้าผลักดันศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนสู่ระดับสากล

February 22nd, 2011 No comments

นายภุชพงค์ โนดไธสง ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง เปิดเผยว่า กระทรวงไอซีที ได้ดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน โดยติดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์พร้อมอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงตามสถานที่ต่างๆ ในชุมชนที่มีความพร้อมและเหมาะสม ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่รัฐบาลได้วาง นโยบายไว้ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านไอซีทีรองรับการพัฒนาประเทศ และขยายโอกาสการเข้าถึงสารสนเทศให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น ลดช่องว่างระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบท ด้วยการสร้างแหล่งเรียนรู้ด้านไอซีที แหล่งสืบค้นสารสนเทศ พัฒนาศูนย์ฝึกอบรมด้าน ไอซีที สร้างห้องเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เป็นแหล่งรับบริการข้อมูลข่าวสาร และบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ตลอดจนสร้างโอกาสทางการตลาดแก่สินค้าและอาชีพของชุมชน

“ โครงการฯ นี้ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 โดยขณะนี้สามารถจัดตั้งศูนย์ฯ ไปทั้งหมด 878 ศูนย์ ซึ่งแบ่งเป็น ปีงบประมาณ 2550 จัดตั้งได้ 20 ศูนย์ ปีงบประมาณ 2551 จัดตั้งได้ 40 ศูนย์ ปีงบประมาณ 2552 จัดตั้งได้อีก 219 ศูนย์ และปีงบประมาณ 2553 จัดตั้งเพิ่มอีก 600 ศูนย์ ให้กระจายตัวออกไปในระดับอำเภอทั่วประเทศ กล่าวคือ ภาคเหนือ จำนวน 84 ศูนย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 223 ศูนย์ ภาคกลาง 187 ศูนย์ และภาคใต้ 106 ศูนย์ ซึ่งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน บ้านคกมาด อ.เชียงคาน และ ต.ร่องจิก อ.ภูเรือ จ.เลย นี้ จัดตั้งขึ้นตามโครงการฯ ในปีงบประมาณ 2553 ส่วนในปีงบประมาณ 2554 กระทรวงฯ ได้ดำเนินโครงการดังกล่าวภายใต้ชื่อ โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เพื่อพ่อหลวง จำนวน 1 , 000 ศูนย์ โดยกระทรวงฯ ได้ลงนามสัญญาซื้อขายครุภัณฑ์และวัสดุสำนักงานโครงการดังกล่าว ร่วมกับบริษัท สุพรีม ดิสทิบิวชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด ที่ชนะการประกวดราคาเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2554 ที่ผ่านมา พร้อมกันนี้ กระทรวงฯ ยังจะมีการพัฒนาหลักสูตรออนไลน์สำหรับ ICT ชุมชน จำนวน 10 หลักสูตร และเพิ่มการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อให้เกิดกิจกรรมสร้างสรรค์แก่ประชาชนผ่านทางศูนย์ฯ ต่างๆ จำนวน 1,800 แห่ง ” นายภุชพงค์กล่าว

และเพื่อให้การดำเนินงานพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ของประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนารูปแบบและทิศทางการดำเนินโครงการที่สอดคล้องกับความต้องการของ ประชาชน จึงได้มีการจัดทำโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอีกหลายโครงการ อาทิ การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนให้ก้าวสู่ระดับสากล ด้วยการจัดทำโครงการ Thai Telecentre Academy เพื่อเป็นการสร้างโอกาสการเรียนรู้ที่เท่าเทียมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยให้ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนเป็นเสมือนห้องเรียนตามอัธยาศัย ซึ่งโครงการฯ นี้เป็นความร่วมมือระดับสากล ที่กระทรวงฯ ได้ดำเนินการร่วมกับ Global Telecentre โดยขั้นแรกจะเริ่มจากการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับชุมชน

พร้อมกันนี้ กระทรวงฯ ยังได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มคนทำงานที่บ้าน หรือ Homeworker ซึ่งเป็นโครงการเสริมทักษะด้าน ICT ให้ แก่กลุ่มอาชีพในชุมชน เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ในเชิงอาชีพ ทั้งในเรื่องการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด การจัดทำบัญชีอย่างง่าย และสามารถต่อยอดโดยการจัดตั้งร้านค้าชุมชนออนไลน์เพื่อสร้างช่องทางการ จำหน่ายสินค้าชุมชนให้ครบวงจร ซึ่งรวมถึงระบบการสั่งซื้อ การชำระเงิน และการขนส่งสินค้า เพื่อให้กลุ่มคนทำงานที่บ้านสามารถค้าขายได้อย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น

โครงการ พัฒนาระบบสารสนเทศชุมชน เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ของชุมชน ทั้งที่เป็นองค์ความรู้ ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ประเพณี ของดี และสิ่งที่น่าสนใจ ตลอดจนสถานที่ท่องเที่ยว โดยจะทำการรวบรวมและจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ พร้อมจัดแสดงในรูปแบบของภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และสินค้าชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งโครงการต่างๆ ที่กล่าวมานั้น เป็นเพียงตัวอย่างจากหลายแนวทางที่ กระทรวงฯ ได้ดำเนินการเพื่อต่อยอดให้ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชนอย่างแท้จริง และยั่งยืนอยู่กับชุมชนต่อไปได้

View :1656

ก.ไอซีที ร่วมมือคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ฯ ระดมสมองบริหารจัดการ CCTV หวังลดอาชญากรรม

January 21st, 2011 No comments

นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังการสัมมนาระดมสมองครั้งที่ ๒ เรื่อง “การบริหารจัดการระบบโทรทัศน์วงจรปิด () เชิงบูรณาการเพื่อป้องกันและลดอาชญากรรม” ว่า สืบเนื่องจากคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร และโทรคมนาคม วุฒิสภา ได้จัดการสัมมนาระดมสมองเรื่อง “โทรทัศน์วงจรปิด () ช่วยลดอาชญากรรมได้อย่างไร” ไปเมื่อปลายปี ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา ซึ่งผลสรุปจากการสัมมนาครั้งดังกล่าวนั้นแสดงให้เห็นโดยชัดเจนว่า มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ในการลดอาชญากรรม อีกทั้งยังสามารถลดการสูญเสียทางสังคมและ เศรษฐกิจได้อีกด้วย ซึ่งการที่ระบบ จะสามารถใช้ประโยชน์ได้จริงนั้นต้องสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายอย่างเป็นระบบ โดยที่ภาคเอกชน ประชาชน และชุมชนจะต้องเห็นความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วมในระบบด้วย รวมทั้งจะต้องมีการกำหนดให้ เป็นเสมือน สาธารณูปโภคชนิดหนึ่ง ที่ภาครัฐต้องทำหน้าที่ลงทุนด้าน infrastructure เพื่อความมั่นคงและปลอดภัย
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีของระบบ CCTV นี้มีการเปลี่ยนแปลงและหมดสภาพในเวลาอันรวดเร็ว จึงไม่เหมาะสมกับระบบจัดซื้อ จัดจ้างของภาครัฐที่มีขั้นตอนและใช้เวลานาน รวมทั้งไม่ควรมีความซ้ำซ้อนในการดำเนินการติดตั้งระบบ CCTV ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมี องค์กรหลักในการบริหารจัดการ CCTV เชิงนโยบาย มีงบประมาณดูแลระบบได้อย่างเป็นเอกเทศ ซึ่งต้องไม่ใช่หน่วยงานภาครัฐ แต่ควรเป็นลักษณะขององค์การมหาชนที่มีกฎหมายรองรับ โดยอาจจะทำในรูปของเทศบัญญัติ กฎกระทรวง หรือ พระราชบัญญัติตามแต่ความเหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อให้ระบบ CCTV ของประเทศโดยรวมมีประสิทธิภาพ
“จากผลสรุปของการสัมมนาระดมสมองครั้งที่ผ่านมา ทำให้คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ฯ ต้องดำเนินการต่อยอดการจัดสัมมนาเกี่ยวกับเรื่อง CCTV อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การบริหารจัดการและการบูรณาการระบบ CCTV เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ดังนั้น กระทรวงไอซีที จึงได้ร่วมกับคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ฯ จัดการสัมมนาเพื่อพิจารณาแนวทาง มาตรการ ตลอดจนแผนการดำเนินงาน และติดตามความคืบหน้าการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้มีการกำหนดเป้าหมายไว้ว่าจะให้ได้ผลการดำเนินงานโดยภาพรวมในเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดสรรงบประมาณ และความฉับไว ทันการณ์ต่อการป้องกัน ปราบปรามอาชญากรรม ตลอดจนลดความสูญเสียทางสังคมและเศรษฐกิจ อันจะส่งผลต่อความสงบสุขของสังคมโดยรวม” นายธานีรัตน์กล่าว
สำหรับการสัมมนาระดมสมองครั้งที่ ๒ เรื่อง “การบริหารจัดการระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) เชิงบูรณาการเพื่อป้องกันและลดอาชญากรรม” นี้ จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนร่วมกันพิจารณาถึงแนวทาง มาตรการ ตลอดจนแผนการดำเนินงานเพื่อเร่งรัดติดตามการดำเนินการบูรณาการระบบ CCTV ของประเทศให้มีความคืบหน้าและบรรลุเป้าหมายตามข้อเสนอแนะของการสัมมนาครั้งที่ ๑ รวมทั้งบรรลุเป้าหมายที่ต้องการให้โครงการติดตั้ง CCTV จำนวน ๒๐,๐๐๐ กล้องของกรุงเทพมหานคร แล้วเสร็จก่อนกำหนดในปี ๒๕๕๕ ซึ่งกระทรวงไอซีที รวมทั้งหน่วยงานในสังกัด คือ บมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคม เป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพในการผลักดันให้ CCTV เกิดขึ้นได้รวดเร็วมากขึ้น เนื่องจากมีปัจจัยเกื้อหนุน ได้แก่ เครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Government Information Network : GIN) ซึ่งมีอุปกรณ์และบุคลากรที่น่าจะดำเนินการได้โดยทันที อันจะช่วยลดความซ้ำซ้อนด้านงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐลงได้
นอกจากนั้นการสัมมนาครั้งที่ ๒ นี้ยังจะมีการระดมสมองเพื่อให้ได้ข้อมูลข้อกำหนดต่างๆ ไปใช้ในการยกร่างกฎหมายรองรับให้ถูกต้อง และเร่งดำเนินการให้สามารถบังคับใช้ได้อย่างรวดเร็ว โดยอาจกำหนดเป็นเทศบัญญัติเรื่องกล้องโทรทัศน์วงจรปิด พร้อมกันนี้ยังจะมีการพิจารณาเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางและมาตรการด้านภาษี เพื่อสร้างแรงจูงใจในกรณีที่จะให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตั้งกล้อง CCTV ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้ได้วางเป้าหมายเชิญผู้เข้าร่วมสัมมนาจากภาคส่วนต่างๆ จำนวน ๓๐๐ คน อาทิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผู้กำกับการสถานีตำรวจในพื้นที่กรุงเทพฯ ผู้แทนกระทรวงไอซีที กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร บมจ.กสทฯ และบมจ.ทีโอที เป็นต้น
“การจัดทำระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ด้วยการติดตั้งกล้อง CCTV นี้ ถือเป็นหนึ่งในโครงการตามนโยบายรัฐมนตรีทางด้านความปลอดภัยสาธารณะ (Public Safety) ที่จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มความสามารถในการป้องกันและลดอาชญากรรม อันเป็นการสร้างความเข้มแข็งของประเทศ และส่งผลต่อความร่มเย็นเป็นสุขของประชาชน อย่างไรก็ตาม การมีระบบ CCTV ของภาครัฐเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้สังคมเกิดความสงบสุขได้ แต่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนร่วมสอดส่องดูแลให้ข้อมูล และร่วมกันติดตั้งระบบ CCTV เพื่อสร้างระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งความร่วมมือร่วมใจเอาใจใส่ต่อสังคมโดยรวมจากผู้ที่เกี่ยวข้องนี้ ถือเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้สังคมพบกับความสงบสุขอย่างยั่งยืน” นายธานีรัตน์ กล่าว

View :1390

นายกรัฐมนตรีร่วมถวายพระพรออนไลน์

August 11th, 2010 No comments

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีถวายพระพรออนไลน์ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยมี นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงฯ หน่วยงานในสังกัด และผู้บริหารหน่วยงานใกล้เคียงร่วมให้การต้อนรับ สำหรับกิจกรรมเฉลิมพระเกียรตินี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการถวายพระพรออนไลน์ที่กระทรวงฯ ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 – 12 สิงหาคม 2553 ณ ลานอเนกประสงค์ ชั้น 2 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารบี ถ.แจ้งวัฒนะ โดยร่วมมือกับหน่วยงานในสังกัด องค์กร และภาคเอกชนต่างๆ จัดแสดงนิทรรศการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ พร้อมแสดงสินค้าด้านการสื่อสารจากภาคเอกชน ตลอดจนการแสดงนิทรรศการพร้อมจำหน่ายสินค้าของหน่วยงานต่างๆ และกิจกรรมบนเวที นอกจากนี้ยังมีการให้บริการถวายพระพรผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยการส่งเป็นข้อความสั้น (SMS) ผ่านหมายเลข 4567890 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และกระทรวงฯ จะได้รวบรวมข้อความถวายพระพรแสดงความจงรักภักดีของประชาชนผ่านโครงการถวายพระพรออนไลน์นี้ จัดทำเป็นข้อความ “ทรงพระเจริญ” ทูลเกล้าถวายต่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ต่อไป

View :1451

ก.ไอซีที เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเกี่ยวกับการทำงานระหว่างผู้ให้บริการ CA ในภูมิภาคอาเซียน

August 6th, 2010 No comments

นายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยถึงการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการทำงานระหว่างผู้ให้บริการ CA ในภูมิภาคอาเซียน ว่า กระทรวงไอซีที ในฐานะ ของประเทศไทย และเป็นภาคีหนึ่งในกลุ่มประเทศอาเซียน ได้รับคัดเลือกให้เป็นประเทศเจ้าภาพในการดำเนินโครงการ CA-CA Interoperability Project ภายใต้งบประมาณสนับสนุนจาก ASEAN ICT Fund เพื่อสร้างแนวทางในการทำ Interoperability ให้กับผู้ให้บริการในภูมิภาคอาเซียน โดยได้ดำเนินการทดสอบ Interoperability ร่วมกับผู้ให้บริการ CA ของประเทศสิงคโปร์ โดยผลการทดสอบพบว่าสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้เป็นอย่างดี จึงได้พัฒนาแนวทางการทำ CA Interoperability เป็น ที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการผลักดันให้เกิดการทำธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศที่มีความมั่นคง ปลอดภัย และน่าเชื่อถือ

ดังนั้น ประเทศไทย จึงได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม TELSOM ครั้งที่ 10 และการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 9 (9 th TELMIN) ให้ดำเนินโครงการต่อเนื่องในระยะที่ 2 ในวงเงิน 45 , 000 เหรียญสหรัฐฯ เพื่อจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการทำงานระหว่างผู้ให้บริการ CA ในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งเพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการทำงานระหว่างผู้ให้บริการ CA ในภูมิภาคอาเซียน และเป็นการขยายความร่วมมือด้านการทำ CA Interoperability ไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้

“การ ประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งนี้ นอกจากจะมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการ ทำงานระหว่างผู้ให้บริการ CA ในภูมิภาคอาเซียนแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจเกี่ยวกับการพัฒนาด้านเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะ ( Public Key Infrastructure: PKI) ของประเทศสมาชิกในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งเพื่อส่งเสริมให้มีการยอมรับร่วมกันสำหรับการจัดทำ CA-CA Interoperability Framework ระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน และเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดตั้งผู้ให้บริการ CA สำหรับประเทศในภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย” นายสือ กล่าว

สำหรับเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะ ( PKI) เป็น เทคโนโลยีที่ช่วยในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการทำธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ สามารถนำมาใช้ในการยืนยันตัวตนของบุคคลผู้ทำธุรกรรมนั้น รวมไปถึงการรักษาความลับของข้อมูล ความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล และการห้ามปฏิเสธการกระทำเมื่อมีธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้การติดต่อสื่อสาร การทำธุรกรรมในโลกอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันนี้มีความสะดวก รวดเร็ว และน่าเชื่อถือ โดยจะมีผู้ให้บริการออกใบรับรอง ( Certification Authority: CA) เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อยืนยันตัวตนของบุคคลหรือสิ่งที่มีอยู่จริงว่ามีตัวตนจริงในโลกอิเล็กทรอนิกส์

โดยปัจจุบันประเทศในภูมิภาคอาเซียนหลายประเทศได้มีการจัดตั้งผู้ให้บริการ CA ขึ้น แต่ยังคงประสบปัญหาการทำงานร่วมกันระหว่างระบบ ( Interoperability) เนื่องมาจากผู้ให้บริการในแต่ละประเทศมีรูปแบบการดำเนินงานที่แตกต่างกัน จึงไม่สามารถทำ Interoperability ระหว่าง กันได้ ส่งผลให้ภาระตกอยู่กับผู้ใช้บริการ เนื่องจากเมื่อมีการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศเกิดขึ้น ผู้ใช้บริการจะต้องให้การยอมรับใบรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการจากประเทศ อื่นๆ เอง โดยใบรับรองดังกล่าวอาจไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในระดับภูมิภาค ซึ่งจะส่งผลให้ไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่น ขณะเดียวกันก็ทำให้การทำธุรกรรมระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียนไม่อาจเติบโต และแพร่หลายได้เท่าที่ควร

View :1388

ก.ไอซีที เดินหน้าเพิ่มศักยภาพผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนทั่วประเทศ

August 3rd, 2010 No comments

นายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนภาคกลาง ภายใต้โครงการการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนอย่างยั่งยืน ว่า การจัดกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลศูนย์ฯ เป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักที่กระทรวงฯ ให้ความสำคัญและดำเนินการควบคู่ไปกับการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน โดยจัดในรูปแบบที่หลากหลาย ตามความเหมาะสมของแต่ละชุมชน เช่น การประชุมร่วมกัน การสัมมนาและการฝึกอบรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อเน้นการสร้าง “ผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน” ให้มีความรู้ มีทักษะที่จำเป็นต่อการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนของตนเอง ภายใต้โครงการการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนอย่างยั่งยืน

“ในปีนี้กระทรวงฯ ได้ร่วมกับศูนย์วิจัยการจัดการความรู้การสื่อสารและการพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สถิติจังหวัด จัดกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพของผู้แลศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนขึ้น โดยแบ่งเป็น 2 กิจกรรมหลัก คือ การสัมมนา และการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อมอบนโยบายและแนวคิดใหม่ๆ ในการจัดกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลศูนย์ฯ เช่น การกระจายอำนาจในการบริหารจัดการศูนย์ฯ การทำงานร่วมกับแกนนำในแต่ละภูมิภาค การออกแบบวิธีการเรียนการสอน การอบรมที่เน้นการศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตามความพร้อมและความต้องการของแต่ละชุมชนในรูปแบบของการอบรมเชิงบูรณาการด้วยระบบ Offline และ Online จำนวน 12 หลักสูตร รวมทั้งหลักสูตรพิเศษอื่นๆ ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง Global-Thai Telecentre Academy และ Thai Cyber University และ มสธ.

ส่วนการอบรมเชิงปฏิบัติการ กระทรวงฯ ได้จัดเตรียมหลักสูตรที่มีเนื้อหาเข้มข้นเพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้ดูแลศูนย์ฯ ได้ฝึกปฏิบัติเพื่อเพิ่มทักษะทางด้านเทคนิคและการบริหารจัดการโดยสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจ ประกอบด้วย หลักสูตร Online จำนวน 6 หลักสูตร และหลักสูตร Offline จำนวน 12 หลักสูตร” นายสือ กล่าว

สำหรับการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนในวันที่ 2-7 สิงหาคมนี้ เป็นการจัดเฉพาะในพื้นที่ ภาคกลาง โดยมีผู้เข้าร่วมที่เป็นผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนทั้งที่เป็นศูนย์ฯ เดิมที่มีการจัดตั้งแล้ว และศูนย์ใหม่ที่อยู่ระหว่างดำเนินการจัดตั้ง ตลอดจนตัวแทนจากสำนักงานสถิติจังหวัดในภาคกลาง รวมทั้งสิ้น 350 คน ซึ่งนอกจากในภาคกลางแล้วกระทรวงฯ จะได้ดำเนินการจัดกิจกรรมในระดับภูมิภาคอีก 4 ครั้ง โดยครั้งต่อไปจะเป็นการจัดกิจกรรมในภาคเหนือ ช่วงระหว่างวันที่ 16-21 สิงหาคม ณ จังหวัดเชียงใหม่

View :1652

ก.ไอซีที ชวนประชาชนร่วมกิจกรรม “โครงการถวายพระพรออนไลน์”

August 3rd, 2010 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า กระทรวงฯ ได้เริ่มจัดทำโครงการถวายพระพรออนไลน์ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2553 แล้ว โดยสำนักงานปลัดกระทรวงฯ และ 6 หน่วยงานในสังกัดได้ร่วมกันจัดกิจกรรมถวายพระพรออนไลน์ขึ้น เพื่อเป็นช่องทางให้กับประชาชนทุกหมู่เหล่าได้ร่วมแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ และสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยโครงการถวายพระพรออนไลน์นี้ เป็นการร่วมกันเปิดช่องทางให้บริการถ่าย e-Postcard พร้อมลงนามถวายพระพรออนไลน์ในทุกสำนักงานสาขาของกระทรวงฯ และหน่วยงานในสังกัดทุกแห่งทั่วประเทศ รวมไปถึงส่วนราชการทุกระทรวง องค์กรของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรส่วนท้องถิ่น ภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ และภาคเอกชน ด้วยนำหน้าเว็บไซต์ถวายพระพรออนไลน์ขึ้นบนหน้าแรกเว็บไซต์ของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้บริการประชาชน พร้อมทั้งเปิดให้ประชาชนสามารถร่วมถวายพระพรโดยการส่งข้อความสั้นผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (SMS) ฟรีทุกระบบที่หมายเลข 4567890 อีกด้วย

นอกจากนี้ กระทรวงฯ ยังได้กำหนดจัดกิจกรรมถวายพระพรออนไลน์ขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 5 – 12 สิงหาคม 2553 ณ ชั้น 2 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารบี ถ.แจ้งวัฒนะ โดยได้ร่วมมือกับหน่วยงานในสังกัด องค์กร และภาคเอกชนต่างๆ ได้แก่ ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร บจ.ธนารักษพัฒนาสินทรัพย์ (ธพส.) สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์ สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย สมาคมอิเล็คโทรนิคบันเทิง บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) และบมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (ทรู)

“และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการฯ ให้ประชาชนทั่วประเทศได้รับทราบ และเข้าร่วมกิจกรรม กระทรวงฯ จึงได้จัดพิธีเปิด ซุ้มถวายพระพรออนไลน์ขึ้นในวันที่ 5 สิงหาคม 2553 เวลา 10.00 -11.00 น. ณ ชั้น 2 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารบี โดยมี ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ให้เกียรติเป็นประธาน รวมทั้งได้จัดพิธีถวายพระพรออนไลน์เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถขึ้น ในวันที่ 11 สิงหาคม 2553 เวลา 10.00 -11.00 น. ณ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ เช่นกัน โดยจะมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และครอบครัวให้เกียรติเป็นประธาน พร้อมทั้งนำประชาชนในงานร่วมถวายพระพร ซึ่งพิธีการดังกล่าวจะมีการถ่ายทอดสดด้วย” นายจุติ กล่าว
สำหรับรายละเอียดการจัดกิจกรรมฯ ในระหว่างวันที่ 5 -12 สิงหาคม 2553 นั้น นอกจากจะมีการถวายพานพุ่มต่อหน้าพระสาทิสลักษณ์ในวันจัดพิธีเปิดซุ้มฯ และวันจัดพิธีถวายพระพรออนไลน์แล้ว กระทรวงฯ ยังได้จัดให้มีการแสดงนิทรรศการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ พร้อมการแสดงสินค้าด้านการสื่อสารจากภาคเอกชนทั้ง เอไอเอส ดีแทค และทรู การแสดงนิทรรศการและการจำหน่ายสินค้าของหน่วยงานต่างๆ และกิจกรรมบนเวที

“กระทรวงไอซีที จึงขอเชิญชวนประชาชนทั่วประเทศร่วมกิจกรรมโครงการดังกล่าว ของกระทรวงฯ โดยการลงนามถวายพระพรบนเว็บไซต์ของแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งขอเชิญประชาชน ผู้มาติดต่อราชการร่วมกิจกรรม ณ ซุ้มถวายพระพรที่จัดตั้งขึ้นตามหน่วยงาน สำนักงาน สาขาของกระทรวงฯ และหน่วยงานในสังกัดประมาณ 2,000 แห่งทั่วประเทศ ตลอดจนเชิญร่วมกิจกรรม ณ ศูนย์ราชการเฉลิม พระเกียรติฯ ด้วย ซึ่งกระทรวงฯ หวังว่า จะมีประชาชนให้ความสนใจร่วมลงนามถวายพระพรในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนกว่า 2 ล้านคนขึ้นไป และครอบคลุมไปถึงประชาชนในต่างจังหวัดทุกพื้นที่ทุกจังหวัด ส่วนกิจกรรมคู่ขนานการส่งข้อความถวายพระพรผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น มีเป้าหมายจะเชิญชวนผู้ร่วมลงนามประมาณ 1,000,000 ข้อความ สำหรับข้อมูลภาพและข้อความที่มีผู้ร่วมถวายพระพรในโครงการฯ นี้ กระทรวงฯ จะรวบรวมมาจัดทำเป็นข้อความ “ทรงพระเจริญ” ทูลเกล้าถวายในภายหลังด้วย” นายจุติ กล่าว

View :1767

รมว.ไอซีที แถลงผลงาน 30 วันหลังเข้ารับตำแหน่ง

July 23rd, 2010 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้แถลงนโยบายความคืบหน้าในการดำเนินงานภายหลังเข้ารับ ตำแหน่งครบ 30 วัน ว่า ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาได้ดำเนินงานในโครงการ และกิจกรรมต่างๆ หลายโครงการซึ่งแต่ละโครงการมีความคืบหน้าดังนี้ โครงการถนนไร้สาย จะมีการเสนอร่างโครงการฯ ให้คณะกรรมการนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้ พิจารณาเพื่อรับเป็นนโยบายของรัฐบาล ภายในเดือนสิงหาคมนี้

ซึ่งเมื่อผ่านการพิจารณาแล้วจะเป็นหน้าที่ของ 2 หน่วยงาน คือ บมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคม ร่วมกันดำเนินการ รวมทั้งจะมีการบูรณาการวางแผนงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ หรือ กทช. และจะมีการร่างข้อตกลงร่วมกับกทช.เพื่อทำข้อตกลงอย่างเป็นทางการและประกาศ เป็นวาระสำคัญต่อสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนต่อไป โดยโครงการนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 ปี และมีราคาค่าบริการที่ความเร็ว 2 เมกะบิตต่อวินาทีในเบื้องต้นประมาณไม่เกิน 150 บาทต่อเดือน

ส่วนงบประมาณการดำเนินงานนั้นของ ทีโอที คาดว่าจะใช้งบประมาณไม่เกิน 14,000 ล้านบาท ขณะที่ กสทฯ นั้นจะเป็นการขยายการดำเนินงานจากโครงการ CDMA ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว 817 ล้านบาท และเตรียมจะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างอีก 3,800 ล้านบาท

โครงการที่สองเป็น โครงการถวายพระพรออนไลน์เพื่อประสานทุกองคาพยพถวายความจงรักภักดีเนื่องใน วโรกาส 12 สิงหาคม และ 5 ธันวาคม อันเป็นกิจกรรมเทิดพระเกียรติเพื่อความปรองดองและประสานสามัคคี ซึ่งจะเริ่มดำเนินการที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ระหว่าง 5-12 สิงหาคม 2553 โดยมีศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานเปิดงานในวันที่ 5 สิงหาคม 2553 และในวันที่ 11 สิงหาคม 2553 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีจะมาเป็นประธานในพิธีเปิดซุ้มถวายพระพรออนไลน์พร้อมทั้งเชิญคณะ รัฐมนตรีเข้าร่วมกิจกรรมนี้ด้วย และกระทรวงฯ จะได้ประสานงานกับหน่วยงานในท้องถิ่นทั่วประเทศเพื่อเปิดช่องทางให้ประชาชน ทั่วประเทศได้เข้าร่วมในกิจกรรมถวายพระพรออนไลน์เนื่องในวโรกาส 12 สิงหาคม และ 5 ธันวาคม

โครงการที่สามเป็นการ จัดตั้งสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นองค์การมหาชน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2553 และสำนักงาน ก.พ.ร.จะประชุมหารือในวันที่ 23 กรกฎาคมนี้ ก่อนส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ โดยกระทรวงฯ จะพยายามผลักดันให้สามารถประกาศกฎหมายจัดตั้งในราชกิจจานุเบกษาภายใน 2 เดือน หรือแล้วเสร็จประมาณเดือน ส.ค.2553 และใช้งบประมาณ 250 ล้านบาท “ส่วน

โครงการที่สี่ เป็นความคืบหน้าในการดำเนินโครงการสนธิกำลังร่วม 3 กระทรวงเพื่อปกป้องเทิดทูนสถาบัน สังคม และประชาชนจากผลกระทบของสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ไม่เหมาะสม และผิดกฎหมาย โดยได้ดำเนินการปิดกั้นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการพนันฟุตบอล 1,308 URL เว็บลามกอนาจาร 977 URL และเว็บยาเสพติด 392 URL ซึ่งทั้งหมดเป็นผลงานของศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทาง อินเตอร์เน็ต หรือ ISOC นอกจากนี้ยังมีความคืบหน้าการจัดตั้งสำนักงานป้องกันและ ปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ โดยจะมีการเพิ่มอัตรากำลังจาก 22 อัตราเป็น 57 อัตราเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้เพิ่มขึ้น” นายจุติ กล่าว

โครงการต่อมา คือ ไซเบอร์ สเกาท์ เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อลดช่องว่าง เปิดโอกาสและช่องทางในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับเยาวชน ซึ่งจะช่วยให้สามารถใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตในการศึกษาค้นคว้าหา ข้อมูลความรู้ในการเรียน อันจะเป็นการเพิ่มองค์ความรู้ให้กับสังคมได้เพิ่มมากขึ้นด้วย และในปีงบประมาณ 2554 กระทรวงฯ จะจัดสรรงบประมาณจัดการอบรมผู้ฝึกสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพในการเรียนรู้และเนื้อหาสาระของโครงการฯ ให้เป็นมาตรฐานสากลหรือ IC 3 รวมทั้งอบรมผู้อำนวยการโครงการฯ เพื่อให้เยาวชนที่ร่วมโครงการฯ รู้จักใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์

นอกจากนี้กระทรวงฯ ยังจะได้ลงนามความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั้งรัฐและเอกชน ในกรุงเทพฯ และภูมิภาคต่างๆ เพื่อพัฒนาหลักสูตรที่มีมาตรฐานสากลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับบุคลากร ด้านไอซีทีของประเทศในระยะยาว เนื่องจากหลักสูตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถผ่านการสอบที่เป็น มาตรฐานสากล เช่น การสอบประกาศนียบัตรของไมโครซอฟต์ เป็นต้น

พร้อมกันนี้กระทรวงฯ ยังจะได้ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏต่างๆ เพื่อผลิตครู อาจารย์ด้านไอซีทีที่มีประสิทธิภาพ สามารถให้ความรู้แก่เด็ก เยาวชนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาเป็นต้นไป ซึ่งถ้าผนวกผลการดำเนินงานของโครงการนี้กับการวางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความ เร็วสูงของ ทีโอที และกสทฯ เข้าด้วยกัน ก็จะทำให้ตัวชี้วัดการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศให้เพิ่มขึ้นด้วย สำหรับการตรวจเยี่ยม หน่วยงานในสังกัดนั้น ทั้งบมจ.ทีโอที บมจ.กสท โทรคมนาคม บจ.ไปรษณีย์ไทย และสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) นั้น คาดว่าจะได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมภายใน 4 เดือนนี้

View :1643