Archive

Posts Tagged ‘ก.ไอซีที’

ก.ไอซีที เร่งแก้ไขร่างนิยามอาชีพและอุตสาหกรรมสาขา ICT

June 17th, 2013 No comments

นางเมธินี เทพมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาแก้ไขร่างนิยามอาชีพและอุตสาหกรรมสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และดิจิตอลคอนเทนต์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำร่างนิยามอาชีพและอุตสาหกรรมสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และดิจิตอลคอนเทนต์ ว่า เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้กระทรวงแรงงาน แต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพและอุตสาหกรรม โดยแต่งตั้งผู้แทนจากกระทรวงต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 34 ท่าน เป็นคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาแก้ไขร่างนิยามอาชีพและอุตสาหกรรมให้ทันสมัยและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งให้ข้อคิดเห็นแก้ไขปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะในการเขียนร่างนิยาม เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น คณะกรรมการที่ปรึกษาฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาแก้ไขร่างนิยามอาชีพและอุตสาหกรรมในสาขาต่างๆ ขึ้นอีก 31 คณะ อาทิ สาขาเกษตรกรรม ป่าไม้ และการประมง สาขาสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย สาขาการศึกษา สาขาการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น ซึ่งกระทรวงไอซีทีได้รับมอบหมายให้ศึกษาและพิจารณาแก้ไขร่างนิยามอาชีพและอุตสาหกรรมในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิตอลคอนเทนต์ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นอนุกรรมการอีก 15 ท่าน

สำหรับการจัดทำประเภทมาตรฐานอาชีพประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อการบริหารจัดการด้านแรงงาน และการจัดเก็บสถิติเศรษฐกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันในเรื่องอาชีพ มีระบบฐานข้อมูลเดียวกัน สามารถนำข้อมูลไปใช้อ้างอิงเปรียบเทียบได้ ทั้งในระดับหน่วยงานและในระดับประเทศ การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพประเทศไทยใช้หลักเกณฑ์การจัดแบ่งหมวดหมู่ และกำหนดรหัสตามการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพสากล (International Standard Classification of Occupations : ISCO) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) ซึ่งประเทศไทยได้จัดทำประเภทมาตรฐานอาชีพมาแล้วจำนวน 4 ครั้ง ส่วนการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิตอลคอนเทนต์ จัดทำมาแล้วจำนวน 2 ครั้ง โดยในครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 3

ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาแก้ไขร่างนิยามอาชีพและอุตสาหกรรมสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิตอลคอนเทนต์ โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เป็นผู้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานอาชีพสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิตอลคอนเทนต์ ซึ่งแบ่งเป็น 6 สาขาอาชีพ คือ สาขา Software & Application สาขา Hardware สาขา Project Management สาขา Telecommunication สาขา Network & Security และสาขาAnimation โดยจะแบ่งคณะทำงานย่อยแยกตามแต่ละสาขาอาชีพด้วย และเมื่อคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาร่างนิยามอาชีพเรียบร้อยแล้ว จะนำเสนอต่อคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพและมาตรฐานอุตสาหกรรม เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

View :1218

ก.ไอซีที ร่วมมือกับหัวเว่ยฯให้ความรู้ด้าน ICTแก่ประชาชนไทย

January 2nd, 2013 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางการศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระหว่างกระทรวงไอซีทีกับบริษัท หัวเว่ยเทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด(Huawei Technology) ว่า “การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การสนับสนุนและยกระดับการพัฒนาการเรียนรู้ และการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในประเทศไทยซึ่งเป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภาในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อ 3.6.1ที่ระบุให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเร่งรัดพัฒนาโครงข่ายสื่อสารความเร็วสูงให้ครอบคลุม ทั่วถึง เพียงพอ มีคุณภาพ ด้วยราคาที่เหมาะสม และการแข่งขันที่เป็นธรรม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมแห่งความรู้ภูมิปัญญา นวัตกรรม และ ความคิดสร้างสรรค์ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างสังคมเมืองและชนบทส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลและข่าวสาร ยกระดับคุณภาพการศึกษา เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล รวมถึงการลดการใช้พลังงาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นการจะเป็นการเปิดโอกาสให้กับนักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป และผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้ ชุมชนที่มีกระจายอยู่ทุกภาคของประเทศไทย ในการแสวงหาประสบการณ์โดยตรงจากการปฏิบัติงานในสถานที่จริง ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ด้านICTทัดเทียมกับประเทศภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก

ทั้งนี้ บจ. จะให้การสนับสนุนความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารแก่กระทรวงไอซีที ในหลายมิติด้วยกัน อาทิ จัดการบรรยายทางวิชาการ ฝึกทดลองงาน ฝึกอบรม สัมมนาเชิงปฏิบัติ และกิจกรรมทางวิชาการอื่นเป็นระยะเวลารวมทั้งสิ้น 2, ชั่วโมงผ่านสถาบันการศึกษาหรือศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน รวมทั้งการจัดหาผู้บรรยาย เอกสารประกอบการบรรยายและสื่อการเรียนการสอน พร้อมประกาศนียบัตรให้กับนักเรียนที่สำเร็จการฝึกอบรมตามโครงการโดยกระทรวงไอซีทีจะให้ความช่วยเหลือเรื่องการประสานงานรวมถึงจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นให้กับ บจ.หัวเว่ยฯ ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ จะมีระยะเวลาในการดำเนินการทั้งสิ้น 4 ปี

สำหรับบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว ไม่เพียงแต่ยืนยันความมุ่งมั่นร่วมกันในการที่จะส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงาน ให้ประสบความสำเร็จเท่านั้น แต่ยังจะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาบุคลากรของประเทศไทยให้มีทักษะ ความรู้ และความสามารถทางวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่การยกระดับคุณภาพชีวิตอีกด้วยนาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ กล่าว

View :1538

ก.ไอซีที จัดซื้อแท็บเล็ตเพิ่มจาก เซิ่นเจิ้น สโคปฯ อีก 54,945 เครื่อง

September 23rd, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามสัญญาจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) เพิ่มเติม ภายใต้โครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพา ระหว่าง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กับ บริษัท เซิ่นเจิ้น สโคป ซายเอ็นทิฟิก ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (Shenzhen Scope Scientific Development Co.,Ltd) ว่า กระทรวงฯ ได้ทำการสั่งซื้อเพิ่มเติม หรือ Repeat Order โดยทำสัญญาจัดซื้อเครื่องแท็บเล็ตกับบริษัท ในส่วนที่เหลือตามสัญญาจัดซื้อลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2555 ที่ระบุว่า กระทรวงฯ สามารถทำ คำสั่งซื้อเพิ่มเติมสำหรับเครื่องแท็บเล็ต จำนวนไม่เกิน 1,, โดยกระทรวงฯ ได้เคยทำสัญญา Repeat Order ครั้งแรกไปแล้วเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2555 จำนวน 403,941 เครื่อง ส่วนการลงนามในสัญญาสั่งซื้อเครื่องแท็บเล็ตเพิ่มเติมในครั้งที่สองนี้ กระทรวงฯ ได้สั่งซื้อเป็นจำนวน 54,945 (ห้าหมื่นสี่พันเก้าร้อยสี่สิบห้า) เครื่อง คิดเป็นมูลค่า 4,505,490 USD (สี่ล้านห้าแสนห้าพันสี่ร้อยเก้าสิบดอลลาร์สหรัฐ) หรือประมาณ 135,164,700 บาท (หนึ่งร้อยสามสิบห้าล้านหนึ่งแสนหกหมื่นสี่พันเจ็ดร้อยบาท) โดยหากรวมเครื่องแท็บเล็ต ทั้งหมดที่กระทรวงฯ ได้ทำสัญญาสั่งซื้อนั้นมีจำนวนทั้งสิ้น 858,886 เครื่อง

สำหรับสัญญาสั่งซื้อเครื่องแท็บเล็ตเพิ่มเติมในครั้งที่สองนี้ มีนายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงฯ เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย และนายธารธรรม อุประวงศา ผู้อำนวยการกลุ่มงานมาตรฐาน สำนักส่งเสริมและพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ลงนามเป็นพยาน ส่วนฝ่ายจีนมี Mr.Liu Jun ประธานบริษัทฯ เป็นผู้ลงนาม และตัวแทนสถานทูตประเทศจีนประจำประเทศไทย ลงนามเป็นพยาน
โดยบริษัท เซิ่นเจิ้น สโคปฯ ได้ดำเนินการจัดส่งเครื่องแท็บเล็ตตามสัญญาจัดซื้อล็อตแรก จำนวน 400,000 เครื่อง ครบแล้วเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555 ขณะที่เครื่องแท็บเล็ตที่ได้จัดซื้อเพิ่มเติม (Repeat Order) ครั้งที่ 1 จำนวน 403,941 เครื่องนั้น บริษัท เซิ่นเจิ้น สโคปฯ ได้จัดส่งมาแล้วจำนวน 141,304 เครื่อง และจะทยอยส่งมอบพร้อมกับเครื่องแท็บเล็ตที่จัดซื้อเพิ่มเติมครั้งที่สองนี้ ภายในวันครบกำหนดส่งมอบ คือ วันที่ 30 กันยายน 2555

ด้านคุณลักษณะของเครื่องแท็บเล็ตนั้น เป็นไปตามรายละเอียดที่ได้ระบุไว้ในสัญญาจัดซื้อครั้งแรกฉบับที่ 208/2555 ลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2555 คือ เป็นหน้าจอแบบสัมผัสขนาด 7 นิ้ว มีหน่วยบันทึกข้อมูล 8 GB มีหน่วยประมวลผลกลางมีความเร็วสัญญาณนาฬิกา (Clock speed) 1.2 GHz มีหน่วยความจำหลัก (RAM) จำนวน 1 GB ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 4.0 แบบ Ice Cream Sandwich และใช้แบตเตอรี่ชนิด Lithium Polymer ขนาดความจุ 3600 mAh มีการรับประกันเป็นระยะเวลา 2 ปี

View :1676

ก.ไอซีที พร้อมร่วมมือยกระดับผู้ประกอบการ OTOP

September 6th, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการยกระดับผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แบบบูรณาการ ( Plus) ว่า โครงการยกระดับผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แบบบูรณาการ หรือ PLUS เป็นโครงการที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ริเริ่มขึ้น เพื่อบูรณาการความร่วมมือการดำเนินงานโครงการดังกล่าวตามนโยบายรัฐบาล กับ 6 หน่วยงาน คือ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด องค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาด ตลอดจนเพื่อพัฒนาและสร้างมาตรฐานผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

ในส่วนของกระทรวงไอซีที มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานภายใต้สังกัด 2 หน่วยงาน คือ ไปรษณีย์ไทย และ กสทฯ ได้ร่วมมีบทบาทในการสนับสนุนการยกระดับความสามารถในการแข่งขัน และขยายช่องทางการตลาดธุรกิจแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ซึ่ง ไปรษณีย์ไทย นั้น เป็นหน่วยงานที่ไม่เคยหยุดนิ่งมีการพัฒนาเครือข่ายขนส่งสู่บริการโลจิสติกส์ครบวงจร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งทั้งระบบ ด้วยการเชื่อมโยงกับทุกโครงข่ายเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพ ความสะดวก รวดเร็ว คุ้มค่า ตอบสนองการทำธุรกิจของคนไทย โดยเฉพาะ SMEs และ ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ จึงเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้แข่งขันได้อย่างมืออาชีพ สำหรับบทบาทของ ไปรษณีย์ไทย ในโครงการฯ นี้ คือ การอำนวยความสะดวกโดยเปิดช่องทางการสั่งซื้อสินค้า OTOP และให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านหน้าเว็บไซต์ www.postshop.co.th และ Call Center 1545 รวมทั้งการนำศักยภาพที่มีอยู่ในด้านเครือข่ายทั่วประเทศ และระบบ logistic มาเป็น ผู้จัดส่งสินค้าให้แก่ผู้สั่งซื้อ

ด้าน กสทฯ นั้น มีพันธกิจในการให้บริการเครือข่ายการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีและการบริการที่ดีที่สุด และเป็นพันธมิตรชั้นนำขององค์กรทั้งในและต่างประเทศในด้านการติดต่อสื่อสาร ส่วนบทบาทของ กสทฯ ในโครงการ OTOP PLUS คือ การจัดทำ e-Commerce System เพื่อให้มีการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะมีการแสดงสินค้าในรูป e-Exhibition การจัดทำ e-Smart OTOP เพื่อให้มีการตรวจสอบข้อมูลของสินค้าผ่านทาง QR code และสามารถสั่งซื้อซ้ำได้ทาง Smart phone รวมทั้งการจัดอบรมผู้ประกอบการ สมาชิก สสว. กว่า 1, ราย เพื่อให้ความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินการค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต

“กระทรวงไอซีที พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการฯ เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการยกระดับสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์ OTOP ให้ประชาชนมีทางเลือกใหม่ในการเข้าถึงสินค้าในระดับชุมชนมากยิ่งขึ้น ตลอดจนสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีช่องทางในการกระจายสินค้าโดยทำหน้าที่เป็นหน้าร้านออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบการอีกด้วย ส่วนผู้บริโภคก็สามารถซื้อสินค้า OTOP ได้อย่างสะดวกง่ายดายผ่านช่องทางสายด่วนหมายเลข 1545 ซึ่งรับบริการทั้งสั่ง และ ส่ง รวมทั้งผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตที่จะเกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นความสามารถในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาโครงการฯ ให้ก้าวไปสู่การให้บริการในรูปแบบ Smart OTOP Plus ต่อไปในอนาคต” นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ กล่าว

View :1353

ก.ไอซีที เดินหน้าส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

September 4th, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า ภายหลังจากกฎกระทรวงฯ ตามมาตรา 20 (6) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2554 ที่ผ่านมา กระทรวงฯ ได้จัดตั้งศูนย์ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร สำหรับคนพิการขึ้นตามข้อกำหนดของกฎกระทรวงดังกล่าว เพื่อให้บริการทั้งการให้ การให้ยืม อุปกรณ์ เครื่องมือ และโปรแกรมที่ใช้กับคนพิการ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางในการประสานงานระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมถึงมีห้องฝึกอบรมด้าน ให้กับคนพิการ ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล ผู้ดูแล และผู้ช่วยคนพิการ โดยศูนย์ดังกล่าวตั้งอยู่ที่ชั้น 7 สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อเป็นศูนย์กลางประสานงานผู้ให้บริการ และมีสำนักงานสถิติจังหวัด รวมทั้งสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เป็นผู้ให้บริการในส่วนภูมิภาค

นอกจากการจัดตั้งศูนย์ให้บริการฯ ดังกล่าว กระทรวงฯ ยังได้ดำเนินงานต่างๆ ภายใต้กฎกระทรวงฯ โดยการประสานกับหน่วยงานภาครัฐ 20 กระทรวงฯ พร้อมให้คำปรึกษา ข้อแนะนำ รวมถึงจัดการฝึกอบรมการพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ จัดทำรูปแบบ (Templet) การพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ จัดการประกวดเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ และผลักดันหลักสูตรการพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ให้เข้าสู่ระดับอุดมศึกษา

พร้อมกันนี้ กระทรวงฯ ยังได้จัดงบประมาณ เพื่อจัดการฝึกอบรมให้คนพิการและผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ โดยประสานกับสมาคมคนพิการแต่ละประเภทเพื่อร่วมมือกันในการจัดกิจกรรม รวมทั้งได้จัดสรรงบประมาณ 23.5 ล้านบาท เพื่อใช้จัดหาอุปกรณ์และเครื่องมือด้าน ICT และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับคนพิการ ตามบัญชีแนบท้ายของกฎกระทรวงฯ 18 รายการ จำนวน 2, กว่าชิ้น ได้แก่ 1.โปรแกรมอ่านหน้าจอ (Screen Reader) 2.เครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ (Braille Printer) 3.โปรแกรมขยายหน้าจอ (Zoom Text) 4.เครื่องคอมพิวเตอร์ 5.เครื่องสแกนเนอร์ 6.อุปกรณ์สื่อสาร 7.เครื่องช่วยสื่อสารพร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับ คนพิการ 8.เครื่องแสดงผลอักษรเบรลล์ 9.เครื่องอ่านหนังสือสำหรับคนพิการ 10.อุปกรณ์ควบคุมตัวชี้ตำแหน่ง 11.โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแปลสื่อพิมพ์เป็นอักษรเบรลล์ หรืออักษรเบรลล์เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ 12.โปรแกรมคอมพิวเตอร์แปลภาพเป็นอักษร และมีเสียงสังเคราะห์ 13.โปรแกรมคอมพิวเตอร์อ่านหนังสือสำหรับคนพิการ 14.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการพิมพ์สำหรับคนพิการ 15.โปรแกรมพจนานุกรมสำหรับคนพิการ 16.โปรแกรมสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสาร 17. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ช่วยในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับคนพิการ และ 18.ชุดอุปกรณ์สำหรับฝึกการใช้แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์

โดยการดำเนินการทั้งหมดเป็นไปตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารและบริการสื่อสาธารณะ สำหรับคนพิการ พ.ศ. 2554 มาตรา 20 (6) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550

View :1769

ก.ไอซีที ส่งเสริม e-Commerce ไทยก้าวไกลสู่ AEC 2015

August 16th, 2012 No comments

นายวรพัฒน์ ทิวถนอม รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดงานประชุมวิชาการโครงการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง “ส่งเสริม ไทยก้าวไกลสู่ ” ว่า ในปี พ.ศ.2558 หรือ ในปี ค.ศ. 2015 ทั้ง 10 ชาติอาเซียนจะมีการรวมตัวกัน ภายใต้ชื่อ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community : AEC) เพื่อสร้างตลาดรวมทั้งฐานการผลิตเดียวกัน และแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน ตลอดจนสร้างอำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้า ในภูมิภาคอื่นๆ โดยได้มีการกำหนดให้แต่ละประเทศมีจุดเด่นด้านต่างๆ เช่น ประเทศพม่า มีจุดเด่นด้านสาขาเกษตรและประมง ประเทศมาเลเซีย มีจุดเด่นด้านสาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ ประเทศสิงคโปร์ มีจุดเด่นด้านสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ ส่วนประเทศไทย มีจุดเด่นด้านสาขาการท่องเที่ยว และสาขาการบิน

“ประเทศไทยนั้น มีภูมิประเทศอยู่ตรงกลางของอาเซียน จึงเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ อย่างไร ก็ตาม ไทยยังมีโอกาสในการส่งเสริมอุตสาหกรรมอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย หากมีการพัฒนาโดยหน่วยงานภาครัฐ เช่น การจัดให้มีสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างทั่วถึง มีระบบการเงินการธนาคารที่เข้มแข็ง สนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับภาคเอกชนตั้งแต่การเป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร และการบริการไปจนถึงการตลาด เพื่อให้เกิดการค้าขายอย่างครบวงจรเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงานได้ดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตลอด แต่สิ่งสำคัญ คือ ผู้ประกอบการที่อยู่ในแต่ละอุตสาหกรรมซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศที่สามารถสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศคิดเป็นมูลค่ากว่า 3.7 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 38 ของจีดีพี จากจำนวนSMEs ที่มีมากถึง 2.9 ล้านราย และจากการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีความต้องการในการเข้าถึงตลาด และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาช่วยในการพัฒนาศักยภาพให้กับธุรกิจ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” นายวรพัฒน์ กล่าว

ด้าน นางสมใจ ประเสริฐจีรังกุล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า ในแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้าน e-Commerce โดยบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานดังกล่าว ซึ่งจากการสำรวจสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย พ.ศ. 2554 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น จากปีแรกที่ทำการสำรวจ คือ ปี พ.ศ. 2550 ที่มีมูลค่าขายรวม 305,159 ล้านบาท มาเป็น 608,587 ล้านบาท ในการสำรวจรอบปี พ.ศ. 2553 ซึ่งพบว่ามีมูลค่าสูงขึ้นถึงร้อยละ 199.432 หรือประมาณ 2 เท่าตัว

ดังนั้น จึงได้มีการดำเนินการโครงการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้มีการจัดประชุมแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมายเพื่อรวบรวมข้อมูลมาจัดทำเป็นแนวทางในการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 5 อันดับแรก คือ 1. อุตสาหกรรมแฟชั่น เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับ 2. อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอินเทอร์เน็ต 3. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 4. อุตสาหกรรมบริการด้านสุขภาพ และ 5. อุตสาหกรรมบริการด้านการศึกษา

นอกจากนี้ ยังมีการจัดงานประชุมวิชาการโครงการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ในหัวข้อ “ส่งเสริม e-Commerce ไทยก้าวไกลสู่ AEC 2015” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และผู้สนใจทั่วไปในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 รวมทั้งเพื่อร่วมวิเคราะห์ถึงแนวโน้มของธุรกิจ e-Commerce ไทย ในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ.2558 ตลอดจนเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และผู้สนใจทั่วไป รวมทั้งเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้มีการนำข้อมูลไปใช้ในการสนับสนุนการดำเนินงานของภาคธุรกิจต่อไป

View :1668

ก.ไอซีที จับมือ กลุ่มบีเอสเอ ศึกษาแนวทางนำ Cloud Computing มาใช้พัฒนาเศรษฐกิจเพื่อรองรับ AEC 2015

May 29th, 2012 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในงานสัมมนาเชิงวิชาการ หัวข้อ “Thailand’s Economic Growth in Digital Environment and amid Transmission to : Readiness of Laws and Regulations” ว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ร่วมกับกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) จัดงานสัมมนาครั้งนี้ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทศึกษาเปรียบเทียบเรื่องนโยบายและกฎหมายของประเทศต่างๆ ทั้งหมด 24 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียน สำหรับการประเมินความพร้อมของนโยบายและกฎหมายของประเทศต่าง ๆ เหล่านี้ ในมุมมองที่เกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจในโลกยุคดิจิตอล (Digital Economy) บนสิ่งแวดล้อม Cloud Computing รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการเติบโตของเศรษฐกิจระหว่างการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

“กระทรวงฯ มีหลักการและนโยบายที่ชัดเจนเพื่อใช้ประโยชน์จากระบบ Cloud Computing ในการส่งเสริมศักยภาพด้านการแข่งขันทางธุรกิจในตลาดภูมิภาคนี้ รวมถึงสร้างศักยภาพทางธุรกิจแก่ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจ ประชาชนโดยทั่วไป และภาครัฐ ซึ่งรายงานการศึกษาดังกล่าวถือเป็นเครื่องมือสำคัญอันหนึ่งที่จะช่วยให้ประเทศไทยมีความพร้อมในการส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจบนระบบ Cloud Computing และนำไปสู่การสนับสนุนภาคธุรกิจและระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศให้เดินหน้าเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” นางจีราวรรณ กล่าว

งานสัมมนาเชิงวิชาการครั้งนี้ เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากงานสัมมนาเชิงวิชาการ ในหัวข้อ “Digital Economy and Cloud Computing Scorecard” ซึ่งกระทรวงฯ ได้เคยร่วมกับ บีเอสเอ จัดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา โดยเนื้อหาหลักของงานสัมมนาปีนี้ได้เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับประเด็นด้านนโยบายและกฎหมาย เพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจในยุคดิจิตอล (Digital Economy) และ Cloud Computing รวมทั้งเน้นเรื่องการเชื่อมโยงเข้ากับการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศไทยและอาเซียน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักในการสัมมนาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารระดับสูง หรือผู้มีอำนาจสั่งการ (CIO) ของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน

สำหรับสาระสำคัญที่น่าสนใจของการสัมมนาฯ ครั้งนี้ ได้แก่ 1. เกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพของ Cloud Computing ที่ใช้สำหรับวัดความพร้อมของประเทศไทย และผลกระทบต่อการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย 2. Cloud Computing มีส่วนช่วยในการกำหนด ASEAN Master Plan ได้อย่างไร 3.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศในโลก Cloud Computing และนโยบายด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสำหรับ Cloud Computing ในระดับชาติ เป็นต้น

ส่วน มร.โรเจอร์ ซัมเมอร์วิลล์ ผู้อำนวยการอาวุโส ด้านนโยบายภาครัฐของบีเอสเอ ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก กล่าวว่า Cloud Computing เป็นระบบใหม่ที่ใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก โดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาล หน่วยงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในประเทศต่างๆ ทั่วโลก จะต้องวางโครงสร้างพื้นฐานที่ดีเพื่อให้ระบบ Cloud Computing เติบโตต่อไป และสร้างประโยชน์สูงสุดในการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันให้แก่ประเทศนั้นๆ ในตลาดโลก ซึ่งรายงานการศึกษาที่จัดทำโดย บีเอสเอ ฉบับนี้ยังจะช่วยประเทศไทย และประเทศอื่นๆ อีก 23 ประเทศ สำรวจตรวจสอบสิ่งแวดล้อมด้านกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อดูว่ามีปัจจัยใดบ้างที่จะส่งผลกระทบทำให้ประเทศต่างๆ ไม่สามารถรับประโยชน์สูงสุดจากระบบ Cloud Computing ได้

รายงานการศึกษาดังกล่าวได้นำเสนอแนวทางการริเริ่มและวางนโยบายที่ประเทศต่างๆ สามารถนำไปใช้ และควรจะพิจารณานำไปใช้ เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากระบบ Cloud Computing และในรายงานยังนำเสนอการพิจารณาปัจจัยสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการสร้างงานบนระบบ Cloud Computing ที่จะเพิ่มโอกาสความได้เปรียบทางเศรษฐกิจได้อย่างมากมาย

นอกจากนี้ รายงานการศึกษาดังกล่าว ยังระบุว่าประเทศไทยได้รับคะแนนสูงในบางด้าน เช่น ความพร้อมของกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่สนับสนุนการทำธุรกรรมบนระบบอิเล็กทรอนิกส์ () และการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature) แต่สำหรับความพร้อมด้านอื่นๆ ได้แก่ ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เช่น การป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy Protection) กลับมีคะแนนไม่สูงมากนัก ถึงกระนั้น ประเทศไทยยังคงมีความพร้อมในเรื่องอาชญากรรมบนโลกไซเบอร์ (Cybercrime) เพราะมีการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้อง และประกาศใช้แล้ว ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจในการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลบนระบบ Cloud Computing โดยไม่ได้รับอนุญาต อย่างไรก็ตาม ยังต้องส่งเสริมและสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว รวมถึงการสืบสวน สอบสวนอาชญากรรมบนโลก ไซเบอร์ และการพัฒนาเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy) การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Rights) มาตรฐานการระงับและการคัดกรองข้อมูลข่าวสาร (Censorship, Filtering) รวมทั้งการบังคับใช้ระบบเทคโนโลยีเฉพาะทาง (Technology Mandates) อีกด้วย

View :1689

ก.ไอซีที ร่วมมือ ทีดีอาร์ไอ วางกรอบนโยบายโทรคมนาคมแห่งชาติ

May 16th, 2012 No comments

นางเมธินี เทพมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นโครงการจัดทำกรอบนโยบายโทรคมนาคมแห่งชาติ ว่า ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ได้ปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ของรัฐบาล รัฐสภา ประชาชน และ กสทช. ให้ชัดเจนขึ้น และภายใต้กฎหมายดังกล่าวได้กำหนดให้ กสทช.ต้องมีการจัดทำแผนบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม โดยการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนบริการดังกล่าวให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล

“และเพื่อให้การดำเนินการของรัฐบาลเป็นไปตามบทบาทที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งเพื่อให้การดำเนินนโยบายด้านโทรคมนาคมของประเทศไทยในสภาพแวดล้อมปัจจุบันและอนาคตเป็นไปอย่างมีทิศทางที่เหมาะสม ตลอดจนสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทยให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างยั่งยืน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะหน่วยงานฝ่ายบริหารที่ดูแลนโยบายด้านการสื่อสารของประเทศ จึงจำเป็นจะต้องมีการจัดทำกรอบนโนบายโทรคมนาคมแห่งชาติขึ้น” นางเมธินี กล่าว

โดยกระทรวงฯ ได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย () ดำเนินการศึกษาวิจัยในโครงการ “” ที่ครอบคลุมทั้งระยะกลาง 3 – 5 ปี และระยะยาว 10 ปี ซึ่งได้มีการวางเป้าหมายของกรอบนโยบายโทรคมนาคมแห่งชาติเอาไว้ คือ 1. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศด้วยการลดต้นทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานสำหรับธุรกิจต่างๆ ทั้งอัตราค่าบริการโทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของประเทศไทยให้อยู่ในระดับต่ำอย่างน้อยเป็นอันดับที่สองของภูมิภาคอาเซียนภายในปี 2557

2. เพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั้งระบบมีสายและไร้สายให้สูงขึ้นโดยรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าระดับ ร้อยละ 35 ของประชากร ในปี 2557 และร้อยละ 70 ของประชากร ในปี 2564 รวมทั้งสร้างโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสื่อสารที่สำคัญ และบริการโทรศัพท์ฉุกเฉินอย่างเท่าเทียม 3. สร้างกลไกในการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีประสิทธิภาพทั้งด้านการเปิดเผยข้อมูล การกำกับดูแลคุณภาพ และอัตราค่าบริการ และ 4. วางโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมที่มีความมั่นคงปลอดภัยจากภัยคุกคาม และสามารถรับมือกับภัยธรรมชาติและเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ได้

“หลังจากที่กระทรวงฯ ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยโครงการดังกล่าวแล้ว จึงได้มีการจัดสัมมนาขึ้นในทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อนำเสนอผลการศึกษาการจัดทำกรอบนโยบายโทรคมนาคมแห่งชาติ รวมทั้งนำเสนอร่างกรอบนโยบายโทรคมนาคมแห่งชาติ ตลอดจนเปิดรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เข้าร่วมการสัมมนาจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นเหล่านั้น ไปใช้ในการปรับปรุงร่างกรอบนโยบายโทรคมนาคมแห่งชาติให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดย ที่ผ่านมา กระทรวงฯ ได้ร่วมกับ ทีดีอาร์ไอ จัดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นในระดับภูมิภาคไปแล้ว 2 ครั้ง ที่จังหวัดนครราชสีมา และที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์” นางเมธินี กล่าว

View :1476

ก.ไอซีที จับมือ ITU และ UNESCAP จัดประชุมเพื่อพัฒนาด้าน ICT และโทรคมนาคมในภูมิภาค

May 16th, 2012 No comments


นายวรพัฒน์ ทิวถนอม รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุม Asia – Pacific Regional Development Forum ว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ร่วมกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ) และคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific: ) ได้จัดการประชุม ITU Asia – Pacific Regional Development Forum ขึ้นในระหว่างวันที่ 16 – 18 พฤษภาคม 2555 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ

“การประชุมฯ ครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อใช้เป็นเวทีสำหรับผู้กำหนดนโยบาย ผู้กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม ผู้นำจากภาคธุรกิจ/ อุตสาหกรรม และผู้เชี่ยวชาญจากภาควิชาการ ในการนำเสนอข้อมูลและร่วมหารือเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาด้าน และโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยจะเปิดโอกาสให้มีการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์การดำเนินงานของภาคส่วนต่างๆ ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการโทรคมนาคมและ ซึ่ง ITU ได้กำหนดหัวข้อหลักของการประชุมไว้ว่า “ICTs for Sustainable and Inclusive Development” หรือ “เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและครอบคลุมประชากรทุกกลุ่ม” นายวรพัฒน์ กล่าว

สำหรับรายละเอียดของการประชุมฯ นั้น จะแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อย่อย คือ 1. การปกครองที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล (Transparent and Effective Governance in the Digital Age) เน้นประเด็นการให้ความสำคัญกับบทบาทของบรอดแบนด์ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่างๆ รวมถึงการมีกรอบนโยบายด้านบรอดแบนด์ที่เหมาะสม ซึ่งที่ประชุมจะพิจารณาเกี่ยวกับปัจจัยเชิงนโยบายสำคัญๆ ที่จะเอื้อให้เกิดการสร้างโอกาสในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม / ICT รวมทั้งการเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง

2. สังคมดิจิทัลที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Safer and Greener Digital Society) จะมุ่งเน้นบทบาทและประโยชน์ของ ICT ในบริบทต่างๆ อาทิ การพัฒนาไปสู่เป้าหมายแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) การประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยสังคมสารสนเทศ (World Summit on the Information Society: WSIS) ประเด็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกและการรับมือ การใช้งาน ICT ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การลดความเสี่ยงในการเกิดภัยพิบัติ ความมั่นคงปลอดภัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3. การลดช่องว่าง/ ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึง ICT โดยใช้เศรษฐกิจดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์ – นวัตกรรม (Bridging Digital Divide through Innovative and Creative Digital Economy) การประชุมในช่วงนี้จะเน้นย้ำถึงการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจดิจิทัล ที่สร้างโอกาสในการพัฒนา การสร้างงาน และการขยายตลาดโลกสำหรับเทคโนโลยีและบริการ ตลอดจนลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในสภาพการณ์ดังกล่าว ซึ่งผู้กำหนดนโยบายควรจะมีเป้าหมายในการให้บริการอย่างทั่วถึงแก่ประชาชนทุกกลุ่ม

และ 4. การก้าวไปสู่สังคมที่ชาญฉลาด (Moving towards Smart Society) การประชุมช่วงนี้จะมุ่งเน้นการอภิปรายในเรื่องบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นโยบาย และกฎข้อบังคับต่างๆ ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสังคมที่ชาญฉลาด หรือ “Smart Society” โดยจะมีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น Intelligence transportation, Smart Grid, Intelligent Car, Intelligent Home and Workplace เป็นต้น

นอกจากการประชุมดังกล่าวแล้ว ยังมีการจัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมฉลองวันโทรคมนาคมและสังคมสารสนเทศโลกซึ่งตรงกับวันที่ 17 พฤษภาคม ของทุกปี โดยหัวข้อหลักของการจัดงานวันโทรคมนาคมและสังคมสารสนเทศโลก ประจำปี ค.ศ. 2012 นี้ คือ “Women and Girls in ICT” ซึ่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะเป็นผู้แทน นายกรัฐมนตรี นำเสนอถ้อยแถลงในพิธีเฉลิมฉลองดังกล่าว พร้อมกันนี้ กระทรวงฯ ยังมีกิจกรรมคู่ขนานด้วยการจัดแสดงนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ รวมถึงผลงานของกระทรวงฯ และหน่วยงานด้าน ICT และโทรคมนาคมต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับ “” อีกด้วย

View :1466

ก.ไอซีที ลงนามจัดซื้อแท็บเล็ต 1,000,000 เครื่อง จาก เสิ่นเจิ้น สโคปฯ

May 10th, 2012 No comments


นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยในการแถลงข่าว ภายหลังพิธีลงนามสัญญาจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ภายใต้โครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพาระหว่างกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กับ บริษัท เสิ่นเจิ้น สโคป ไซแอนทิฟิก ดีเวลอปเมนต์ จำกัด (Shenzhen Scope Scientific Development Co.,Ltd) ว่า รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่าด้วยความร่วมมือเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทยเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะดำเนินความร่วมมือในด้านต่างๆ รวมถึงการพัฒนาการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรบุคคลในประเทศไทยโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทผ่านการส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และอุปกรณ์การศึกษาที่ทันสมัย เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต)

ขณะเดียวกันรัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2554 โดยมีนโยบายหนึ่งที่จะเริ่มดำเนินการอย่างเร่งด่วนในปีแรก คือ การจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่องสำหรับระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา พ.ศ. 2555 ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสม ตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต รวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานการให้บริการในสถานศึกษาที่กำหนดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงมติเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555 มอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เป็นผู้ดำเนินการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) จัดวางระบบเครือข่าย Wi – Fi จัดทำระบบบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ และการวางระบบความปลอดภัยในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) โดยมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตร สื่อการเรียนการสอน การพัฒนาบุคลากร และสร้างความเข้าใจ เพื่อการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต)

และภายหลังการดำเนินการจัดหา กระทรวงไอซีที ได้นำเสนอแนวทางการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2555 อนุมัติการจัดซื้อจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) จากสาธารณรัฐประชาชนจีน บนพื้นฐานของบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนดังกล่าวข้างต้น โดยรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้แนะนำบริษัทผู้ส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ที่มีคุณภาพของประเทศจีน เพื่อให้ผู้ซื้อเลือกหนึ่งบริษัทจากกลุ่มบริษัทเหล่านี้ในการจัดหาและการส่งมอบเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต)มายัง ประเทศไทย

“กระทรวงไอซีที ได้ตกลงที่จะจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) จากบริษัท เสิ่นเจิ้น สโคป ไซแอนทิฟิก ดีเวลอปเมนต์ จำกัด ซึ่งเป็น 1 ใน 4 บริษัทที่รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนแนะนำ ซึ่งการลงนามครั้งนี้มีเงื่อนไขที่จะสั่งซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) จำนวนทั้งสิ้น 400, ( สี่แสน) เครื่อง มูลค่าทั้งหมดจำนวน USD 32,800, (สามสิบสองล้านแปดแสนดอลลาร์สหรัฐ) มีกำหนดให้ส่งมอบภายใน 60 วัน และจะมีการซื้อเพิ่มเติม (Repeat order) โดยทำคำสั่งซื้อเพิ่มเติมสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) อีกจำนวนไม่เกิน 1,,000 (หนึ่งล้าน) เครื่องต่อไป” นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ กล่าว

สำหรับคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ที่ บริษัท เสนอมานั้น คือ มีหน่วยประมวลผลกลางมีความเร็วสัญญาณนาฬิกา (Clock speed) 1.2 GHz มีหน่วยความจำหลัก (RAM) จำนวน 1 GB ใช้แบตเตอรี่ชนิด Lithium Polymer ขนาดความจุ 3600 mAh มีการรับประกันเป็นระยะเวลา 2 ปี

View :1795