Archive

Posts Tagged ‘คลาวด์คอมพิวติ้ง’

วีเอ็มแวร์ แต่งตั้งไอเน็ตเป็นพันธมิตรทางธุรกิจในโครงการ VMware Service Provider Program (VSPP) ในไทย

February 28th, 2012 No comments

ไอเน็ต เตรียมนำเสนอบริการคลาวด์บนแพลตฟอร์มเทคโนโลยีของวีเอ็มแวร์ ช่วยลูกค้าใช้งานระบบคลาวด์อย่างปลอดภัย พร้อมทั้งจัดการระบบคลาวด์แบบไพรเวทและ พับบลิคอย่างมีประสิทธิภาพ

วีเอ็มแวร์ อิงค์ (NYSE: VMW) ผู้นำระดับโลกในด้านระบบเวอร์ช่วลไลเซชั่นและโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ เปิดเผยในวันนี้ว่า บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ไอเน็ต ได้เข้าร่วมโครงการผู้ให้บริการของวีเอ็มแวร์ (VMware Service Provider Program – VSPP) และเข้าร่วมงานสัมมนาประจำปี VMware vSeminar Series ในกรุงเทพฯ

ไอเน็ต จะนำเสนอบริการคลาวด์ที่หลากหลายโดยใช้เทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่นและโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ของวีเอ็มแวร์ ทั้งในส่วนของ VMware vSphere®, กลุ่มผลิตภัณฑ์ VMware vCenter™, VMware vCloud® Director และกลุ่มผลิตภัณฑ์ VMware vShield™

ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีนของวีเอ็มแวร์ กล่าวว่า “โซลูชั่นของวีเอ็มแวร์ช่วยให้ฝ่ายไอทีสามารถเลือกใช้รูปแบบโครงสร้างพื้นฐาน ระดับบริการ และโครงสร้างต้นทุนได้อย่างอิสระและยืดหยุ่น เพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กรอย่างลงตัว ควบคู่ไปกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ องค์กรต่างๆ จะสามารถเลือกแนวทางการทำเวอร์ช่วลไลเซชั่นที่เหมาะสม รวมไปถึงกำหนดเวลาและวิธีการเปลี่ยนย้ายไปสู่ระบบคลาวด์แบบไฮบริด ไพรเวทหรือพับบลิค”

บริการคลาวด์ที่นำเสนอในรูปแบบที่เหมาะกับคุณ

ในฐานะพันธมิตร VMware vCloud Powered ไอเน็ตจะสามารถใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อนำเสนอโซลูชั่นคลาวด์แบบไฮบริดในระดับองค์กรให้แก่ลูกค้า และในทางกลับกัน ลูกค้าจะสามารถเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงานโดยอาศัยระบบคลาวด์ที่ปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่น ทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ในส่วนของระบบการดำเนินงานและโครงสร้างพื้นฐาน

คุณวัลล์ชัย เวชชีวะดำรงค์ ผู้อำนวยการอาวุโส กลุ่มงานวิศวกรรมของไอเน็ต กล่าวว่า “จากวิกฤตการณ์อุทกภัยช่วงปลายปี 2554 ไอเน็ตได้ตั้งโครงการ ‘ไอเน็ตเตรียมพร้อมรองรับภัยพิบัติตลอด 24 ชม.’ โดยได้ปฏิบัติการช่วยเหลือลูกค้าอย่างต่อเนื่องกว่า 600 ชั่วโมงทั้งด้านการให้บริการ Business Center และ Infrastructure เพื่อให้ลูกค้าดำเนินกิจการและธุรกิจได้ต่อเนื่อง และจากความสำเร็จของโครงการดังกล่าว ไอเน็ตได้สานต่อความร่วมมือกับวีเอ็มแวร์ พร้อมทั้งเสริมสร้างการให้บริการ Disaster Recovery Plan (DRP) ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น และตอนนี้ไอเน็ตสามารถบริหารการจัดการ DRP จาก Cool site เป็น Warm และ Hot site ด้วยต้นทุนที่น้อยลง และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น”

“50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามเรื่อง คลาวด์คอมพิวติ้งในเอเชียแปซิฟิก : ดัชนีชี้วัดการพัฒนาคลาวด์ประจำปี (Cloud Computing in Asia Pacific: The Annual Cloud Maturity Index[1]) คาดหมายว่าคลาวด์คอมพิวติ้งจะเพิ่มความสำคัญให้กับผู้ให้บริการโทรคมนาคมและบริการโฮสติ้ง ความร่วมมือระหว่างวีเอ็มแวร์และไอเน็ต รวมไปถึงพันธมิตรโครงการ VSPP รายอื่นๆ นับว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อกลยุทธ์ไฮบริดคลาวด์ของเรา และเราพร้อมที่จะสนับสนุนผู้ให้บริการเหล่านี้ เพื่อช่วยให้ลูกค้าเพิ่มความคล่องตัวและประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ” ดร.ชวพล กล่าวเพิ่มเติม

นอกจากนี้ เดอะแวลลูซิสเตมส์เข้าร่วมงานสัมมนา VMware vSeminar Series เช่นกัน ในฐานะ VSPP Aggregator โดยบริษัทฯ นำเสนอเครื่องมือและกระบวนการที่ปรับแต่งเป็นพิเศษสำหรับพันธมิตรผู้ให้บริการของวีเอ็มแวร์ เช่น การจัดทำรายงานรายเดือน ระบบบิลลิ่ง และการเรียกเก็บเงินตามรอบระยะเวลาที่สัมพันธ์กับรูปแบบการให้บริการ

คุณสมศักดิ์ เพ็ชรทวีพรเดช ประธานกรรมการบริหาร บริษัทเดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด กล่าวว่า “ที่ผ่านมาแวลลูฯ ได้ติดตามและศึกษาเทคโนโลยีคลาวด์อย่างใกล้ชิด รวมถึงได้เข้าไปให้ความรู้แก่ตลาดและคู่ค้าของเราอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทุกอย่างล้วนต้องใช้เวลาและความพยายามเป็นอย่างมาก จนในวันนี้ ในฐานะที่แวลลูฯ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ให้บริการ VMware Service Provider Program หรือ VSPP เราจึงสามารถกล่าวได้อย่างภาคภูมิว่าเรามีความพร้อมที่จะให้บริการทั้งก่อนและหลังการขายแก่ลูกค้าของเราอย่างเต็มที่ ซึ่งการให้บริการของเรานั้นจะเริ่มตั้งแต่การคัดสรร นำเสนอ แนะนำและสาธิตการใช้งานโซลูชันที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าแต่ละรายได้อย่างตรงจุด, การดูแลด้านเอกสารสัญญาการให้บริการ ซึ่งรวมถึงการส่งมอบสินค้า การคิดค่าบริการ และการจัดทีมวิศวกรที่พร้อมสนับสนุนและช่วยแก้ไขปัญหาหลังการขาย ทั้งนี้เพื่อให้ลูกค้าของเราได้รับการบริการที่ตรงกับความต้องการและให้ความคุ้มค่าสูงสุด”

วีเอ็มแวร์พร้อมใช้ประโยชน์จากโอกาสทางธุรกิจในระดับท้องถิ่น

จากผลการศึกษาคลาวด์คอมพิวติ้งในเอเชีย-แปซิฟิก: ดัชนีชี้วัดการพัฒนาคลาวด์ประจำปี(Cloud Computing in Asia Pacific: The Annual Cloud Maturity Index) พบว่าองค์กรในประเทศไทยกว่า 90 เปอร์เซ็นต์เชื่อว่า คลาวด์คอมพิวติ้งมีความเกี่ยวข้องกับบริษัท และ 32 เปอร์เซ็นต์กำลังดำเนินโครงการริเริ่มเกี่ยวกับคลาวด์ เพิ่มขึ้นจาก 21 เปอร์เซ็นต์เมื่อ 12 เดือนที่แล้ว นอกจากนี้ อีก 40 เปอร์เซ็นต์มีแผนที่จะดำเนินโครงการคลาวด์อย่างจริงจัง นับเป็นอัตราสูงสุดใน 8 ประเทศในเอเชีย-แปซิฟิกที่ทำการศึกษาในครั้งนี้

พร้อมกันนี้ วีเอ็มแวร์ได้จัดงานสัมมนาภายใต้หัวข้อ “ระบบคลาวด์เพิ่มความรวดเร็วให้กับไอทีและธุรกิจ” (Your Cloud: Accelerate IT, Accelerate Your Business) โดยจะนำเสนอข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการคลาวด์ใหม่ๆ โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์และระบบการจัดการของวีเอ็มแวร์ รวมถึงแพลตฟอร์มแอพพลิเคชั่นคลาวด์ และวิสัยทัศน์เกี่ยวกับระบบประมวลผลสำหรับผู้ใช้ โซลูชั่นเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรเป็นอิสระจากระบบเดสก์ท็อปแบบเดิมๆ ที่มุ่งเน้นอุปกรณ์เป็นหลัก และเพิ่มความรวดเร็วในการพัฒนาไปสู่แนวทางใหม่ๆ สำหรับการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในยุค Post-PC

View :1663

ทรัพย์สินทางปัญญากับการเติบโตของคลาวด์คอมพิวติ้ง

March 13th, 2011 No comments

เนื่อง ด้วยในปัจจุบันองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ต่างก็ขานรับต่อการเข้ามาของคลาวด์คอม พิ้วติ้งกันมากขึ้น การออกกฎข้อบังคับต่างๆ ในการใช้งานบริการคลาวด์จึงได้รับการพิจารณาและอยู่ในความสนใจมากขึ้นตาม ลำดับ ขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจและภาครัฐต่างก็ตื่นตัวในการนำคลาวด์คอมพิวติ้งมาใช้งานเพื่อ ประโยชน์ในด้านต่างๆ ที่แตกต่างกันไปอีกด้วย อาทิ เพิ่มประสิทธิภาพของการบริการ การประเมินผลและการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิผล อย่างไรก็ตาม บริการคลาวด์คอมพิวติ้ง หรือ Software as a Service ก็มาพร้อมกับความซับซ้อนบางอย่างที่ยังต้องคำนึงถึง

การศึกษาวิจัยของไมโครซอฟท์ ระหว่างปี 2009 – 2010 เกี่ยวกับทัศนคติของผู้คนต่อคลาวด์คอมพิวติ้งในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า ร้อยละ 86 ของนักธุรกิจชั้นนำตื่นเต้นกับเทคโนโลยี ในขณะที่ ร้อยละ 90 ยังคงรู้สึกเป็นกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัย การเข้าถึงข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล อย่างไรก็ตาม นักธุรกิจส่วนใหญ่เชื่อว่ารัฐบาลจำเป็นที่จะต้องวางมาตรการทางกฎหมายและ นโยบายเกี่ยวกับคลาวด์คอมพิวติ้งที่เหมาะสมยิ่งขึ้นสำหรับการใช้งานคลาวด์ คอมพิ้วติ้งต่อไปในอนาคต

พัฒนาการ ทางด้านคอมพิวเตอร์เปลี่ยนแปลงไปอย่างก้าวกระโดดในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ กลายมาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเมื่อ 30 ปีที่แล้ว และกลายเป็นเครื่องพีซีที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ในยุคปัจจุบัน การเข้ามาของคลาวด์คอมพิวติ้งในตอนนี้จึงนับเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจ ให้ดียิ่งขึ้น

จู ล แอล ซิกัล ที่ปรึกษาทั่วไปทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา ฝ่ายกฎหมายและกิจการองค์กร ไมโครซอฟท์ ที่รับผิดชอบด้านทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า “ สิ่งแรกที่เราควรจะทำ คือ ทำความเข้าใจว่า คลาวด์ คอมพิวติ้งคืออะไร ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างสิ่งที่ผู้ใช้งานพูดถึงคลาวด์คอมพิวติ้งกับ เทคโนโลยียุคเก่า คือ การทำงานของคอมพิวเตอร์ การประมวลผล และการทำงานบนคลาวด์คอมพิวติ้ง หากพิจารณาถึงการเปลี่ยนผ่านของคอมพิวเตอร์ที่ผ่านมา การก้าวไปสู่ยุคคลาวด์คอมพิวติ้งนับเป็นการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่จากโมเดลการ ทำงานรูปแบบเดิม อย่างไรก็ตาม ความท้าทายดังกล่าวอาจจะสามารถแก้ไขได้ผ่านทางกฎหมายที่มีอยู่

แต่จะเกิดอะไรขึ้นหากกฎเหล่านั้นถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้กับโลกของคอมพิวเตอร์ที่ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดเวลา ?

“ ทรัพย์สินทางปัญญาถูกกำหนดขึ้นสำหรับการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ใน ตลาด กฎส่วนใหญ่จึงถูกกำหนดขึ้นตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว คำถามคือว่า จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อซอฟต์แวร์ ซึ่งถูกคุ้มครองด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ได้ถูกบรรจุไว้ในแผ่นดิสก์ หรือ ไฟล์สำหรับการดาวน์โหลดลงบนคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง แต่ถูกโฮสต์ (Host) ไว้บนคลาวด์ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ”

ข้อ กำหนดดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นของการบัญญัติกฎหมายใหม่ ซึ่งองค์กรธุรกิจและรัฐบาลจะต้องร่วมมือกันเพื่อหาทางออกให้แก่ปัญหาดัง กล่าว ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง อาทิ การปกป้องข้อมูล สิทธิและการใช้งาน ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย รวมถึงการดำเนินการตามกฎหมาย ลำดับของกฎหมายในบริบทของการใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้งครอบคลุมในหลายแง่มุม

นายสุชาติ อิ่มบัญชร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท บีทามส์ โซลูชั่น จำกัด หนึ่งในพาร์ทเนอร์หรือคู่ค้าทางด้านคลาวด์ คอมพิวติ้ง ของไมโครซอฟท์ในประเทศไทย ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวว่า “ สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า ได้รับการกำหนดขึ้นเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของต่อนวัตกรรมต่างๆ รวมถึงการบรรจุนวัตกรรมเหล่านั้นไว้ในอุปกรณ์ หรือ เครื่องมือที่ผู้คนสามารถมองเห็น และสัมผัสได้ แต่จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อสิทธิบัตรถูกนำมาใช้แสดงความเป็นเจ้าของโปรแกรมบน คลาวด์คอมพิวติ้ง ซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นได้ เรื่องดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเตรียมรับการเข้ามาของคลาวด์คอมพิวติ้งในประเทศไทย ”

จุด แตกต่างที่สำคัญอย่างหนึ่งของการทำงานในรูปแบบบริการคลาวด์คอมพิวติ้งคือ การละเมิดลิขสิทธิ์สามารถกระทำได้เบื้องหลังไฟร์วอลโดยที่เราไม่สามารถมอง เห็นได้

“ เนื่องด้วยผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ได้บน คลาวด์คอมพิวติ้งและควบคุมแนวทางการใช้งานสำหรับผู้ใช้งานและการตอบโต้กับ ซอฟต์แวร์ดังกล่าวผ่านทางอินเทอร์เฟซ ซึ่งหมายความว่าเครื่องหมายการค้าอาจมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นสำหรับการให้ บริการคลาวด์คอมพิวติ้งในอนาคต เพราะสิ่งที่ผู้ใช้งานจะรับรู้และประทับใจต่อซอฟต์แวร์นั้นขึ้นอยู่กับการ ตอบโต้ต่ออินเทอร์เฟซของซอฟต์แวร์ ” จูล แอล ซิกัล กล่าวเสริม

“ จะทำอย่างไรหากเกิดการลอกเลียนแบบส่วนหนึ่งของอินเทอร์เฟซ จากบริการคลาวด์คอมพิวติ้งที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะนำไปสู่คำถามที่ว่ากฎหมายเครื่องหมายการค้าจะจัดการกับการแข่งขันที่ ไม่เป็นธรรมเช่นนี้ได้อย่างไร ”

“ เราอาจจะยังไม่มีคำตอบให้กับเรื่องดังกล่าวในตอนนี้ ถ้าเราต้องการจะเปิดตัวบริการคลาวด์คอมพิวติ้งสู่ตลาดและตั้งมาตรฐานให้กับ เทคโนโลยีบนคลาวด์คอมพิวติ้ง เราอาจจะต้องมองหาทฤษฎีทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ ที่แตกต่างกันออกไปเพื่อช่วยปกป้องการลงทุนของบริษัท ”

บริษัท ซอฟต์แวร์ขนาดเล็กอาจถูกมองว่าไม่มีบทบาทมากนักสำหรับบริการคลาวด์คอม พิวติ้ง แต่ซิกัลเชื่อว่าบริษัทเหล่านี้จะได้รับประโยชน์มหาศาลจากบริการดังกล่าว เนื่องด้วยการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ในงบประมาณที่ต่ำกว่า ผนวกกับประโยชน์จากการชำระค่าบริการตามที่ใช้งานจริง “ มันง่ายขึ้นกว่าเดิมมากในการให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้ง เนื่องด้วยมีตัวแปรจำนวนมากที่ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงคลาวด์คอมพิวติ้งได้ ง่ายขึ้น และช่วยประหยัดงบประมาณลงได้เป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ราย ใหม่ ”

อย่าง ไรก็ตาม และการคุ้มครองทางกฎหมายควรได้รับการวางแผนอย่างรอบคอบยิ่งขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทเหล่านี้ปกป้องผลประโยชน์ของตนเองจากการแข่งขันที่ ไม่เป็นธรรม

ใน ขณะที่บริษัทขนาดเล็กยังคงไม่กล้าเสี่ยงที่จะลงทุนกับบริการคลาวด์คอมพิวติ้ งอย่างเต็มตัว แต่บริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งได้เริ่มสร้างระบบนิเวศน์ทางด้านทรัพย์สินทาง ปัญญาของตนเองผ่านทางการแข่งขันในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่

“ เราได้เห็นการแทรกซึมของบริการคลาวด์คอมพิวติ้งในบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่างๆ รวมทั้ง app stores ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาในหลายแพล็ตฟอร์ม วินโดวส์โฟนมี app store ส่วน Apple ก็มี app store สำหรับ iPhone กูเกิลก็มี app store สำหรับแอนดรอยด์ บริษัทจำนวนมากต่างกำลังเสริมสร้างระบบนิเวศน์ทางทรัพย์สินทางปัญญาผ่านทาง app stores ของตน ซึ่งนักพัฒนาจะได้รับเครื่องมือในการสร้างสรรค์แอพพลิเคชั่นที่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์ ”

ซิกัล ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “ ระบบทรัพย์สินทางปัญญาแบบเสมือนจริงยังคงพัฒนาไปอย่างต่อ เนื่อง ในขณะที่กฎเกณฑ์ต่างๆ ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อพิจารณาว่าใครคือผู้ที่มีสิทธิในการเผยแพร่แอพพลิเค ชั่น และใครที่จะต้องแก้ไขแอพพลิเคชั่นของตนเองเพื่อเคารพต่อกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยที่เราสามารถใช้กฎหมายเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร หรือ โอเพ่นซอร์สที่เกี่ยวข้องกับแอพพลิเคชั่นมาใช้ได้ เพราะทุกๆ อย่างล้วนมีความสำคัญต่อการสร้างระบบนิเวศน์ทางทรัพย์สินทางปัญญาขึ้นมาทั้ง สิ้น ”

บริบท เหล่านี้มีความหลากหลายและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น นักพัฒนาจึงควรได้รับการคุ้มครองและต้องการระบบนิเวศน์ทรัพย์สินทางปัญญาที่ จะส่งผลดีต่อพวกเขาอย่างแท้จริง

คำถามคือ แล้วกฎหมายในปัจจุบันเหมาะสมในการรองรับบริการดังกล่าวมากน้อยเพียงใด

“ กฎหมายที่มีอยู่ถูกร่างขึ้นมาเพื่อสามารถนำมาปรับใช้ได้ใน เกือบทุกกรณี ขึ้นอยู่ว่ากฎหมายดังกล่าวจะถูกยกมาบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพได้มากน้อย เพียงใด ” จูล แอล ซิกัลกล่าวทิ้งท้าย

ผู้สนใจเกี่ยวกับคลาวด์ คอมพิวติ้งของไมโครซอฟท์ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.microsoft.com/cloud หรือ สอบถามที่เบอร์ 02 263 6888

View :1317